Friday, 4 July 2025
อาเซียน

🔎ส่องราคาน้ำมันเฉลี่ยในประเทศอาเซียน ราคา ณ วันที่ 24 มิ.ย. 67

‘กระทรวงพลังงาน’ รายงานราคาน้ำมันเฉลี่ยในอาเซียน ประจำวันที่ 24 มิถุนายน 2567 โดยราคาน้ำมันเบนซินที่ขายในประเทศไทยมีราคา 38.45 ต่อลิตร ขณะที่ราคาน้ำมันดีเซลที่ขายในประเทศไทยมีราคา 32.94 ต่อลิตร ทั้งนี้ ราคาขายน้ำมันแต่ละประเทศ มีปัจจัยทางด้านราคา ดังนี้

1.แต่ละประเทศมีมาตรการภาษี และระบบการเก็บเงินเข้ากองทุนหรืออุดหนุนราคาพลังงานที่แตกต่างกัน
2.ในหลายประเทศเพื่อนบ้านยังมีการอุดหนุนราคากันอยู่
3.ประเทศไทยสนับสนุนการใช้น้ำมันแก๊สโซฮอล์ ให้การอุดหนุนราคาโดยกองทุนน้ำมันฯ จึงทำให้ราคาน้ำมันแก๊สโซฮอล์ถูกกว่าเบนซิน

หมายเหตุ : ราคา ณ วันที่ 24 มิถุนายน 2567 อัตราแลกเปลี่ยน (อัตรากลาง) ณ วันที่ 17 มิถุนายน 2567

*ประเทศไทย อ้างอิงราคาจาก ปตท. และ บางจาก และเป็นราคาน้ำมันแก๊สโซฮอล์ 95E10 ซึ่งมีสัดส่วนการใช้มากที่สุด

🔎ส่องราคาน้ำมันเฉลี่ยในประเทศอาเซียน ราคา ณ วันที่ 19 ส.ค. 67

รายงานราคาน้ำมันเฉลี่ยในอาเซียน ประจำวันที่ 19 สิงหาคม 2567 โดยราคาขายน้ำมันแต่ละประเทศ มีปัจจัยทางด้านราคา ดังนี้

1.แต่ละประเทศมีมาตรการภาษี และระบบการเก็บเงินเข้ากองทุนหรืออุดหนุนราคาพลังงานที่แตกต่างกัน

2.ในหลายประเทศเพื่อนบ้านยังมีการอุดหนุนราคากันอยู่

3.ประเทศไทยสนับสนุนการใช้น้ำมันแก๊สโซฮอล์ ให้การอุดหนุนราคาโดยกองทุนน้ำมันฯ จึงทำให้ราคาน้ำมันแก๊สโซฮอล์ถูกกว่าเบนซิน

หมายเหตุ : ราคา ณ วันที่ 19 สิงหาคม 2567 อัตราแลกเปลี่ยน (อัตรากลาง) ณ วันที่ 16 สิงหาคม 2567 *ประเทศไทย อ้างอิงราคาจาก ปตท. และ บางจาก และเป็นราคาน้ำมันแก๊สโซฮอล์ 95E10 ซึ่งมีสัดส่วนการใช้มากที่สุด

สามารถดูราคาย้อนหลังได้ที่ EPPO - Energy Data Visualization หรือคลิกที่ https://public.tableau.com/app/profile/epposite/viz/EPPO_Inter_OilPrice/SUMMARYOILPRICING 

🔎ส่องราคาน้ำมันเฉลี่ยในประเทศอาเซียน ราคา ณ วันที่ 16 ก.ย. 67

รายงานราคาน้ำมันเฉลี่ยในอาเซียน ประจำวันที่ 16 กันยายน 2567 โดยราคาขายน้ำมันแต่ละประเทศ มีปัจจัยทางด้านราคา ดังนี้

1.แต่ละประเทศมีมาตรการภาษี และระบบการเก็บเงินเข้ากองทุนหรืออุดหนุนราคาพลังงานที่แตกต่างกัน

2.ในหลายประเทศเพื่อนบ้านยังมีการอุดหนุนราคากันอยู่

3.ประเทศไทยสนับสนุนการใช้น้ำมันแก๊สโซฮอล์ ให้การอุดหนุนราคาโดยกองทุนน้ำมันฯ จึงทำให้ราคาน้ำมันแก๊สโซฮอล์ถูกกว่าเบนซิน

หมายเหตุ : ราคา ณ วันที่ 16 กันยายน 2567 อัตราแลกเปลี่ยน (อัตรากลาง) ณ วันที่ 13 กันยายน 2567 *ประเทศไทย อ้างอิงราคาจาก ปตท. และ บางจาก และเป็นราคาน้ำมันแก๊สโซฮอล์ 95E10 ซึ่งมีสัดส่วนการใช้มากที่สุด

🔎ส่องราคาน้ำมันเฉลี่ยในประเทศอาเซียน ราคา ณ วันที่ 26 ก.ย. 67

รายงานราคาน้ำมันเฉลี่ยในอาเซียน ประจำวันที่ 26 กันยายน 2567 โดยราคาขายน้ำมันแต่ละประเทศ มีปัจจัยทางด้านราคา ดังนี้

1.แต่ละประเทศมีมาตรการภาษี และระบบการเก็บเงินเข้ากองทุนหรืออุดหนุนราคาพลังงานที่แตกต่างกัน

2.ในหลายประเทศเพื่อนบ้านยังมีการอุดหนุนราคากันอยู่

3.ประเทศไทยสนับสนุนการใช้น้ำมันแก๊สโซฮอล์ ให้การอุดหนุนราคาโดยกองทุนน้ำมันฯ จึงทำให้ราคาน้ำมันแก๊สโซฮอล์ถูกกว่าเบนซิน

หมายเหตุ : ราคา ณ วันที่ 26 กันยายน 2567 อัตราแลกเปลี่ยน (อัตรากลาง) ณ วันที่ 20 กันยายน 2567 *ประเทศไทย อ้างอิงราคาจาก ปตท. และ บางจาก และเป็นราคาน้ำมันแก๊สโซฮอล์ 95E10 ซึ่งมีสัดส่วนการใช้มากที่สุด

ส่องราคาน้ำมันเฉลี่ย ในประเทศอาเซียน ราคา ณ วันที่ 30 ก.ย. 67

รายงานราคาน้ำมันเฉลี่ยในอาเซียน ประจำวันที่ 30 กันยายน 2567 โดยราคาขายน้ำมันแต่ละประเทศ มีปัจจัยทางด้านราคา ดังนี้

1.แต่ละประเทศมีมาตรการภาษี และระบบการเก็บเงินเข้ากองทุนหรืออุดหนุนราคาพลังงานที่แตกต่างกัน
2.ในหลายประเทศเพื่อนบ้านยังมีการอุดหนุนราคากันอยู่
3.ประเทศไทยสนับสนุนการใช้น้ำมันแก๊สโซฮอล์ ให้การอุดหนุนราคาโดยกองทุนน้ำมันฯ จึงทำให้ราคาน้ำมันแก๊สโซฮอล์ถูกกว่าเบนซิน

หมายเหตุ : ราคา ณ วันที่ 30 กันยายน 2567 อัตราแลกเปลี่ยน (อัตรากลาง) ณ วันที่ 27 กันยายน 2567

*ประเทศไทย อ้างอิงราคาจาก ปตท. และ บางจาก และเป็นราคาน้ำมันแก๊สโซฮอล์ 95E10 ซึ่งมีสัดส่วนการใช้มากที่สุด
สามารถดูราคาย้อนหลังได้ที่ EPPO - Energy Data Visualization
หรือคลิกที่ https://public.tableau.com/.../EPPO.../SUMMARYOILPRICING

ส่องราคาน้ำมันเฉลี่ยในประเทศอาเซียน ราคา ณ วันที่ 15 ต.ค. 67

(15 ต.ค 67) รายงานราคาน้ำมันเฉลี่ยในอาเซียน ประจำวันที่ 15 ตุลาคม 2567 โดยราคาขายน้ำมันแต่ละประเทศ มีปัจจัยทางด้านราคา ดังนี้

1.แต่ละประเทศมีมาตรการภาษี และระบบการเก็บเงินเข้ากองทุนหรืออุดหนุนราคาพลังงานที่แตกต่างกัน

2.ในหลายประเทศเพื่อนบ้านยังมีการอุดหนุนราคากันอยู่

3.ประเทศไทยสนับสนุนการใช้น้ำมันแก๊สโซฮอล์ ให้การอุดหนุนราคาโดยกองทุนน้ำมันฯ จึงทำให้ราคาน้ำมันแก๊สโซฮอล์ถูกกว่าเบนซิน

หมายเหตุ : ราคา ณ วันที่ 15 ตุลาคม 2567 อัตราแลกเปลี่ยน (อัตรากลาง) ณ วันที่ 11 ตุลาคม 2567
*ประเทศไทย อ้างอิงราคาจาก ปตท. และ บางจาก และเป็นราคาน้ำมันแก๊สโซฮอล์ 95 E10 ซึ่งมีสัดส่วนการใช้มากที่สุด

ดูราคาน้ำมันย้อนหลังได้ที่ https://public.tableau.com/.../EPPO.../SUMMARYOILPRICING

‘อัครเดช’ ปลื้ม บรรลุ 4 ข้อตกลงประชุมสภาอาเซียน หนุนการพัฒนาทั่วทั้งภูมิภาค เกาะกระแสเทคโน-AI

(21 ต.ค. 67) นายอัครเดช วงษ์พิทักษ์โรจน์ สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร จังหวัดราชบุรี ในฐานะกรรมาธิการด้านเศรษฐกิจ ในรัฐสภาอาเซียน ได้เข้าร่วมประชุมในการประชุมใหญ่สมัชชารัฐสภาอาเซียน ครั้งที่ 45 หรือ AIPA-45 ที่นครหลวงเวียงจันทน์ สาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว ซึ่งมีนายวันมูหะมัดนอร์ มะทา ประธานสภาผู้แทนราษฎร ในฐานะประธานรัฐสภานำสมาชิกรัฐสภาไทยเข้าร่วมประชุม 

นายอัครเดช ได้เปิดเผยว่า ในฐานะกรรมาธิการด้านเศรษฐกิจ ของรัฐสภาอาเซียนที่ได้เข้าร่วมประชุมกับ 10 ชาติสมาชิกของสมัชชารัฐสภาอาเซียน ได้บรรลุข้อตกลงร่วมกัน 8 เรื่อง โดยมีเรื่องที่สำคัญ ๆ คือ 

เรื่องแรก คือ การเสริมสร้างความร่วมมือและพัฒนาระบบป้องกันภัยคุกคามทางไซเบอร์ข้ามพรมแดน ซึ่งจะตอบโจทย์ของปัญหาที่ชาติสมาชิกต่างเผชิญร่วมกันคือ การหลอกลวงทางออนไลน์ หรือแก๊งคอลเซ็นเตอร์ เป็นต้น  

เรื่องที่ 2 จากการที่ชาติสมาชิกได้เล็งเห็นถึงความสำคัญของ Artificial Intelligence หรือ AI ที่มีความสำคัญเพิ่มมากขึ้นอย่างมีนัยสำคัญ ดังนั้นชาติสมาชิกจึงตัดสินใจร่วมกันพัฒนา Asian Digital Master Plan เพื่อให้มีการพัฒนา AI ระหว่างชาติสมาชิกอย่างเป็นรูปธรรม  

รวมถึงริเริ่ม Digital Integration Initiative ที่จะทำให้เกิดการแลกเปลี่ยนองค์ความรู้ระหว่างชาติสมาชิกของภูมิภาคในด้าน AI ซึ่งเป็นเรื่องใหม่ที่ไม่เคยเกิดขึ้นมาก่อน

เรื่องที่ 3 เป็นการขนส่งระหว่างประเทศในภูมิภาค โดยมีการหยิบกรณีตัวอย่างซึ่งประสบความสำเร็จจากการเชื่อมโยงการขนส่งแบบไร้รอยต่อ (Seamless Transportation) ในอนุภูมิภาค(Sub Religion) ของภูมิภาคอาเซียน คือ กลุ่มประเทศ BIMP อันประกอบด้วย บรูไน อินโดนีเซีย มาเลเซีย และฟิลิปปินส์

กลุ่มประเทศดังกล่าวนั้นสามารถเชื่อมต่อการขนส่งทั้งการขนส่งคน และการขนส่งของได้อย่างไร้รอยต่อเป็นอันสำเร็จ ซึ่งทาง AIPA จะได้มีการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐาน ระบบการขนส่ง และกฎหมายร่วมกันเพื่อให้เกิดการขนส่งแบบไร้รอยต่อ(Seamless Transportation) ภายในภูมิภาคอาเซียน

ซึ่งการพัฒนากฎหมายนี้จะต้องมีการพัฒนาในเรื่องมาตรฐานการขนส่ง มาตรการในการลดอุปสรรคในการขนส่งคนและสิ่งของข้ามพรมแดน โดยการพัฒนากฎระเบียบดังกล่าวจะยึดหลักความปลอดภัยและความยั่งยืนต่อไปในอนาคต

การพัฒนาการขนส่งแบบไร้รอยต่อนี้ซึ่งจะช่วยส่งเสริมเศรษฐกิจของภูมิภาคผ่านการระบบขนส่งที่มีประสิทธิภาพ และประเทศไทยจะได้รับผลดีทางเศรษฐกิจเป็นอย่างมาก จากข้อได้เปรียบทางยุทธศาสตร์จากการเป็นศูนย์กลางทางภูมิศาสตร์ของภูมิภาคอาเซียน  

เรื่องที่สำคัญเรื่องที่ 4 เป็นเรื่องของตลาดการซื้อขายคาร์บอนเครดิต (Carbon Credit Market) ที่เป็นกลไกสำคัญในการรักษาสิ่งแวดล้อม เพื่อให้เกิดการเติบโตที่ยั่งยืน ทางที่ประชุมจึงมีมติให้ส่งเสริมให้มียุทธศาสตร์หลักเพื่อจะเปลี่ยนให้เป็นการปฏิบัติจริง ซึ่งสอดคล้องกับเป้าหมายการเปลี่ยนแปลงด้านภูมิอากาศของโลก (Climate Changes Goals)

โดยยุทธศาสตร์นี้จะอำนวยความสะดวกให้เกิดการเปลี่ยนผ่านเข้าสู่ตลาดคาร์บอนเครดิตที่ยั่งยืน บนพื้นฐานของการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อม รวมถึงร่วมมือกันลดการใช้เชื้อเพลิงพลังงานจากฟอสซิล

นอกจากนี้ในที่ประชุมกรรมาธิการด้านเศรษฐกิจ สมัชชารัฐสภาอาเซียน ครั้งที่ 45 หรือ AIPA-45 ยังได้มีการหยิบยกอีกหลายเรื่องขึ้นมาหารือ อาทิ การติดตามความร่วมมือการส่งเสริมการลงทุนทางด้านการเกษตรและอาหาร การติดตามความร่วมมือเพื่อสนับสนุนการเติบโตของเมืองอย่างยั่งยืน การสนับสนุนความร่วมมือด้านดิจิทัลและเทคโนโลยีตาม ASEAN Connectivity 2025 ซึ่งเป็นแผนแม่บทของชาติสมาชิก และการส่งเสริมทางท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรมและการท่องเที่ยวเชิงอนุรักษ์(Eco and Culture Tourism)

ไทย เบอร์ 2 ในอาเซียน เงินเดือนสูงสุดเฉลี่ย100,000 ต่อเดือน เป็นรองแค่เพียงสิงคโปร์

(8 พ.ย.67) สิงคโปร์ครองแชมป์ประเทศเงินเดือนสูงสุดในอาเซียน ไทยอันดับ 2 เริ่มต้นที่ 20,000 บาทสูงสุดเฉลี่ย 100,000 บาท จากการสำรวจโดยเว็บไซต์ TEMPO.CO ในจาการ์ตา ประเทศอินโดนีเซีย โดยอ้างอิงข้อมูลจาก Time Doctor เผยให้เห็นอันดับเงินเดือนเฉลี่ยในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ (อาเซียน) โดยพบว่าสิงคโปร์เป็นประเทศที่มีเงินเดือนเฉลี่ยสูงสุด ขณะที่ไทยครองอันดับ 2

อันดับที่ 1 ตกเป็นของสิงคโปร์ ด้วยเงินเดือนเฉลี่ยประมาณ 6,332 ดอลลาร์สหรัฐ ซึ่งสะท้อนถึงค่าครองชีพและเศรษฐกิจที่แข็งแกร่งที่สุดในภูมิภาค เงินเดือนเริ่มต้นในประเทศนี้อยู่ในระดับสูงสุดของอาเซียน

อันดับที่ 2 คือประเทศไทย ที่เป็นหนึ่งในจุดหมายสำคัญของแรงงานในอาเซียน โดยเงินเดือนเฉลี่ยสำหรับพนักงานเริ่มต้นอยู่ที่ 20,000-25,000 บาทต่อเดือน ขณะที่ตำแหน่งระดับกลางถึงสูงอาจได้รับเงินเดือนสูงสุดถึง 100,000 บาทต่อเดือน

อันดับที่ 3 ได้แก่ บรูไน ดารุสซาลาม ซึ่งแม้จะมีประชากรน้อย แต่มีทรัพยากรธรรมชาติอุดมสมบูรณ์ โดยเงินเดือนเฉลี่ยสูงสุดอยู่ที่ประมาณ 3,230 ดอลลาร์บรูไน หรือประมาณ 83,000 บาท

ในอันดับที่ 4 เป็นของมาเลเซีย โดยเงินเดือนเฉลี่ยสูงสุดอยู่ที่ 6,610 ริงกิต หรือประมาณ 52,000 บาทต่อเดือน ส่วนอันดับที่ 5 คือฟิลิปปินส์ ตามด้วยอินโดนีเซีย เวียดนาม สปป.ลาว กัมพูชา และเมียนมา โดยเมียนมามีเงินเดือนต่ำที่สุดในอาเซียนที่ 311,000 จ๊าต หรือประมาณ 5,100 บาท

30 พฤศจิกายน 2560 ดร. สุรินทร์ พิศสุวรรณ อดีตเลขาธิการอาเซียน ถึงแก่อนิจกรรม จากหัวใจล้มเหลวเฉียบพลัน ในวัย 68 ปี

ดร. สุรินทร์ พิศสุวรรณ เกิดเมื่อวันที่ 28 ตุลาคม พ.ศ. 2492 ที่บ้านตาล ต.กำแพงเซา อ.เมือง จ.นครศรีธรรมราช เรียนจบระดับปริญญาตรีจากคณะรัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ โดยเรียนปีที่ 1-2 ก่อนที่จะได้รับทุนการศึกษา Frank Bell Appleby เพื่อศึกษาต่อในระดับปริญญาตรีปีที่ 3-4 ด้านรัฐศาสตร์ที่ Claremont Men’s College, Claremont University และศึกษาต่อในระดับปริญญาโทและเอกที่ Harvard University ด้านรัฐศาสตร์ โดยได้รับทุนจาก Rockefeller

หลังจากจบการศึกษาปริญญาเอกจาก Harvard University ดร. สุรินทร์ กลับมาเป็นอาจารย์ที่คณะรัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ตามเงื่อนไขของทุนการศึกษาที่ได้รับ โดยเริ่มทำงานในปี พ.ศ. 2525

ชีวิตการเมืองของดร. สุรินทร์เริ่มต้นในปี พ.ศ. 2529 เมื่อได้รับการชักชวนจากสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร (สส.) จังหวัดนครศรีธรรมราช จากพรรคประชาธิปัตย์ แม้ว่าในตอนแรก ดร. สุรินทร์ จะไม่ตอบรับทันที แต่ในที่สุดเขาก็ยอมรับคำชวนและได้รับเลือกตั้งเป็น สส. 

เมื่อเข้ารับตำแหน่ง สส. ชวน หลีกภัย ประธานสภาผู้แทนราษฎร ได้ชักชวนให้ ดร. สุรินทร์ มารับหน้าที่เป็นเลขานุการประธานสภาฯ หลังจากนั้น เมื่อมีการยุบสภาและเลือกตั้งใหม่ในปี พ.ศ. 2531 ดร. สุรินทร์ ได้รับเลือกตั้งอีกครั้งและได้รับแต่งตั้งให้เป็นเลขานุการของ ไตรรงค์ สุวรรณคีรี รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงมหาดไทย

จากประสบการณ์การศึกษาด้านรัฐศาสตร์ ทำให้ ดร. สุรินทร์ ถูกมองว่าเหมาะสมในการทำงานในกระทรวงมหาดไทย และในปี พ.ศ. 2535 เมื่อชวน หลีกภัย ได้รับเลือกตั้งเป็นนายกรัฐมนตรี ดร. สุรินทร์ จึงได้รับการแต่งตั้งเป็นรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงการต่างประเทศในรัฐบาลชวน หลีกภัย 1 (พ.ศ. 2535-2538)

ในปี พ.ศ. 2540 เมื่อประเทศไทยเผชิญวิกฤตเศรษฐกิจ ต้มยำกุ้ง และรัฐบาล พล.อ. ชวลิต ยงใจยุทธ ลาออกจากตำแหน่ง ทำให้ชวน หลีกภัย กลับมาเป็นนายกรัฐมนตรีอีกครั้ง ดร. สุรินทร์ ได้รับแต่งตั้งเป็นรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศในรัฐบาลชวน หลีกภัย 2 (พ.ศ. 2540-2544) และมีบทบาทสำคัญในการดำเนินนโยบายต่างประเทศ รวมถึงการผลักดันบทบาทของอาเซียนในการแก้ปัญหาภายในกลุ่มสมาชิก

ในปี พ.ศ. 2551 ประเทศไทยได้รับสิทธิในการเสนอชื่อผู้ดำรงตำแหน่งเลขาธิการอาเซียน กระทรวงการต่างประเทศได้เสนอชื่อ ดร. สุรินทร์ พิศสุวรรณ เป็นเลขาธิการอาเซียน ซึ่งเขาดำรงตำแหน่งตั้งแต่ปี พ.ศ. 2551 ถึง 2555 ในระหว่างนั้น ดร. สุรินทร์ ได้ดำเนินการให้ประเทศสมาชิกอาเซียนให้สัตยาบันกฎบัตรอาเซียน และรณรงค์ให้ประชาชนในประเทศสมาชิกตระหนักถึงความสำคัญของอาเซียน

หลังจากหมดวาระการดำรงตำแหน่งเลขาธิการอาเซียน ดร. สุรินทร์ ยังคงทำงานเผยแพร่ความรู้เกี่ยวกับอาเซียนต่อไป ปัจจุบัน มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ได้มอบตำแหน่งธรรมศาสตราภิชาน ประจำคณะรัฐศาสตร์ เพื่อเป็นเกียรติแก่ ดร. สุรินทร์

Skoda รถสัญชาติเช็ก โผล่วิ่งทดสอบในไทย หลังโรงงานในเวียดนามเริ่มผลิต เล็งเจาะขายอาเซียน

(26 พ.ย. 67) ผู้ใช้เฟซบุ๊กคนหนึ่งได้โพสต์ภาพและข้อความในกลุ่ม EV Club Thailand Group หลังพบรถยนต์แบรนด์ใหม่ไม่คุ้นเคย ติดป้ายทะเบียนรถทดสอบ กำลังวิ่งอยู่ในจังหวัดภูเก็ต หลังโพสต์ดังกล่าวเผยแพร่ มีผู้แสดงความคิดเห็นจำนวนมาก โดยส่วนใหญ่ระบุว่ารถยนต์ดังกล่าวคือ Skoda แบรนด์รถยนต์จากสาธารณรัฐเช็ก รุ่นที่กำลังทดสอบคือ Skoda Superb รถเก๋ง 4 ประตู D-segment ที่มีขนาดใกล้เคียงกับ Toyota Camry หรือ Honda Accord  

หาก Skoda เข้าสู่ตลาดไทยจริง คาดว่าจะดำเนินการผ่านตัวแทนจำหน่ายของ Audi ซึ่งอยู่ในเครือ Volkswagen Group  

ก่อนหน้านี้เมื่อเดือนกันยายนที่ผ่านมา มีรายงานข่าวจากสื่อเวียดนามว่า Skoda Auto เตรียมเปิดโรงงานผลิตแห่งแรกในเวียดนาม เพื่อรองรับตลาดเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ โรงงานตั้งอยู่ในจังหวัดกวางนิญทางภาคเหนือของเวียดนาม ซึ่งสร้างเสร็จแล้ว 90% และเริ่มทดลองใช้งานบางส่วนในเดือนพฤษภาคม คาดว่าโรงงานขนาด 36.5 เฮกตาร์แห่งนี้จะมีกำลังการผลิตสูงถึง 120,000 คันต่อปี โดยการประกอบรถยนต์จะเริ่มในช่วงปลายปี 2024 และวางจำหน่ายในปี 2025  

ในช่วงแรก โรงงานจะผลิตรถซีดานและ SUV ระดับ B ก่อนขยายสู่รถยนต์ไฟฟ้า (EV) เพื่อรุกตลาดอาเซียน Skoda เปิดตัวอย่างเป็นทางการในเวียดนามเมื่อกันยายน 2023 และตั้งเป้าขยายตัวแทนจำหน่ายเป็น 20 รายภายในปี 2025 และ 30 รายภายในปี 2028 พร้อมตั้งเป้ายอดขายปีละ 40,000 คันในปี 2030 โดยมองว่าเวียดนามเป็นประตูสำคัญสู่ภูมิภาคอาเซียน

อนึ่ง ก่อนหน้า Skoda เคยทำตลาดในไทยโดยมีดีลเลอร์ผู้จัดจำหน่ายคือ ยนตรกิจ เมื่อหลายสิบปีก่อนจะออกจากตลาดประเทศไทยไป


© Copyright 2021, All rights reserved. THE STATES TIMES
Take Me Top