Wednesday, 1 May 2024
อาเซียน

'ดร.วชิรศักดิ์' มั่นใจ!! ไทยขึ้นแท่นมหาอำนาจในเร็ววัน ก้าวย่างอย่างมั่นคงสู่การเป็นศูนย์กลางของอาเซียน

(29 ม.ค. 67) เพจ 'Bangkok I Love You' โพสต์ข้อความในหัวข้อ 'ก้าวย่างอย่างมั่นคงสู่การเป็นศูนย์กลางของอาเซียน มหาอำนาจตัวจริง' ระบุว่า...

"คนลาว คนเวียดนาม มาเห็นถนนสาย ตจว. บ้านเราถึงกับร้อง ทำไมมันดีกว่าบ้านเขามาก อนาคตบ้านเราเก็บค่าต๋ง ค่าผ่านทางก็รวยแล้วครับ"

ประเทศไทยเป็น Corridor

Corridor คืออะไร?

ผมว่าหลายคนยังไม่ทราบ คนในวงการก่อสร้าง Infrastructure หรือ Mega project การลงทุนระหว่างประเทศจะใช้คำนี้เสมอ เราก็ไม่เข้าใจเพราะเรามองไม่ไกลขนาดนั้น ตอน Ford มาตั้งโรงงานในบ้านเรา ผมได้มีโอกาสเจอ First team ก็เลยถามตรง ๆ ว่า มาทำไมเพราะคู่แข่งแต่ละรายแกร่งยิ่งนัก เขาตอบว่า Corridor ช่วง 10 ปีแรก ขายในประเทศ อีก 20 ปี ไปขายเพื่อนบ้าน ตอนนี้เขมรขับ Ford กันแล้ว อีก 30 ปี ไปขายพม่าได้ Vision 20 ปี มันเป็นแบบนี้นี่เอง

มือถือสองค่ายแย่งกันขาย รายที่สามมาทำไม เขาตอบว่า อัตราส่วนเมื่อเทียบกับที่อื่นทั่วโลกถือว่า ตึงเต็มที่ Reserve ratio มันต่ำกว่ามาตรฐานแล้ว อนาคตยอดเพิ่มแน่นอน มีตัวเลขต่างประเทศมายืนยัน มันเป็นแบบนี้นี่เองการค้าระดับโลกมันมีฐานข้อมูลอ้างอิง เรามองแค่ในบ้านเราถึงไม่เข้าใจว่าเขามาลงทุนทำไม ตัวเลขสำคัญคือจำนวนประชากรต่อ ???

เห็นสิงคโปร์ CNA ทำรายงานเรื่อง การลงทุนของญี่ปุ่นใน AEC มีภาพหนึ่ง Corridor ชัดเจนมาก ทำเลทอง EEC มันเป็นทางผ่านชัด ๆ นี่ไม่รวมรถไฟจากจีน คุณหมิง ผ่านลาว ลงมาอ่าวไทย แบบนี้เรียกว่า Center point วัยรุ่นคงเข้าใจ คนตจว. อาจจะเรียกว่าโคราช อนาคตประเทศเราจะเป็นทางผ่านแบบโคราช แปลว่า แน่นทั้งปี

ไม่แปลก...อะไรที่ถนนบ้านเราโดยเฉพาะในต่างจังหวัดพัฒนาขึ้นดีมาก คนต่างจังหวัดคงเข้าใจไม่ต้องอธิบาย Logistic ต่างชาติแห่กันมาหา Hub คนลาว คนเวียดนาม มาเห็นถนนสาย ตจว. บ้านเราถึงกับร้อง ทำไมมันดีกว่าบ้านเขามาก ถนนสายจากน่านไปออกหลวงพระบางเคยเห็นหรือยัง อนาคตบ้านเราเก็บค่าต๋ง ค่าผ่านทางก็รวยแล้วครับ

บทความจาก ดร.วชิรศักดิ์ จึงสถาพร

'รัดเกล้า' เผย!! สาระสำคัญการประชุม รมต.เศรษฐกิจอาเซียน 9 มี.ค.นี้ มุ่ง 'ยกระดับ-เชื่อมโยง' เศรษฐกิจภาคบริการในภูมิภาคอาเซียน

(3 มี.ค.67) นางรัดเกล้า อินทวงศ์ สุวรรณคีรี รองโฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี กล่าวว่า เมื่อวันที่ 27 ก.พ.ที่ผ่านมา ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ครม.) มีมติเห็นชอบร่างเอกสารกรอบการอำนวยความสะดวกด้านบริการของอาเซียน (ASEAN Services Facilitation Framework: ASFF) โดยมีกำหนดการร่วมรับรองเอกสารในการประชุมรัฐมนตรีเศรษฐกิจอาเซียนอย่างไม่เป็นทางการ ในวันที่ 9 มี.ค.นี้ ซึ่ง สปป.ลาว ในฐานะประธานอาเซียน ปี 67 กำหนดจัดการประชุมรัฐมนตรีเศรษฐกิจอาเซียนอย่างไม่เป็นทางการ ครั้งที่ 30 โดยในระหว่างการประชุมจะมีการรับรองร่างเอกสาร ASFF จำนวน 1 ฉบับ ซึ่งประกอบด้วยประเด็นที่เกี่ยวข้องกับการค้าบริการต่างๆ ที่นำมาจากความตกลงการค้าบริการอาเซียน ความตกลงอาเซียนว่าด้วยการเคลื่อนย้ายบุคคลธรรมดา และข้อริเริ่มร่วมว่าด้วยกฎระเบียบภายในประเทศภาคบริการขององค์การการค้าโลก ซึ่งไทยเป็นภาคีสมาชิกแล้ว 

รองโฆษกรัฐบาล กล่าวว่า สำหรับสาระสำคัญของร่างเอกสาร ASFF มี 5 ด้านดังนี้...

1.การสร้างความเป็นธรรม และการเปิดโอกาสให้เศรษฐกิจการค้าบริการของอาเซียน 
2.การสนับสนุนการเคลื่อนย้ายและการเชื่อมโยงเศรษฐกิจภาคบริการในภูมิภาคอาเซียน 
3.การพัฒนาเศรษฐกิจดิจิทัลด้านการค้าบริการของอาเซียน 
4.การสร้างเศรษฐกิจบริการของอาเซียนที่ยั่งยืนและมีนวัตกรรม 
และ 5.การเป็นหุ้นส่วนกับภาคธุรกิจเพื่อกำหนดอนาคตของเศรษฐกิจบริการของอาเซียนร่วมกัน

“ASFF จะทำให้เกิดการเชื่อมโยงเศรษฐกิจภาคบริการในภูมิภาคอาเซียน และการปรับปรุงนโยบายด้านการค้าบริการ และการกำกับดูแลเพื่อสร้างสภาพแวดล้อม ที่เอื้ออำนวยต่อการค้าบริการ รวมถึงช่วยอำนวยความสะดวกในการเข้าเมืองของผู้ให้บริการ และเป็นแนวทางกำกับดูแลการใช้กฎระเบียบภายในประเทศ มีความโปร่งใส มีประสิทธิภาพ และคาดการณ์ได้” รองโฆษกรัฐบาล กล่าว

ส่อง 10 เมืองเก่าแก่แห่ง 'อาเซียน' ที่ยังมีคนอาศัยอยู่อย่างต่อเนื่อง

ในอาเซียนหรือประเทศในย่านเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ถือเป็นโซนที่มีอารยธรรมโบราณเกิดขึ้นมากมายหลายพันปี ซึ่งมีทั้งที่ผ่านยุครุ่งเรืองถึงขีดสุด และล่มสลายไปนานแล้ว 

แต่ก็ยังมีหลายแห่งที่ยังคงอยู่จนถึงปัจจุบัน และยังมีผู้คนอาศัยใช้ชีวิตอยู่ยังที่แห่งนั้นดังเดิม แม้ผู้ที่อยู่อาจไม่ใช่ลูกหลานของผู้ก่อตั้งเมืองนั้นมาก็ตาม 

และต่อไปนี้คือ 10 เมืองโบราณที่เก่าแก่ที่สุดในอาเซียน ที่ยังมีคนอาศัยอยู่ถึงปัจจุบัน 

'ผอ. ภูวดล มิ่งขวัญ' เทคนิคบุรีรัมย์ ศึกษาพลังงานนำล้ำอาเซียน สอนทำจริง บริหารพร้อมวิจัย การจัดการพลังงานสะอาดและอนุรักษ์พลังงาน ก้าวสู่ Smart College Energy Real Time Net Zero Energy Real Time (IoT) College

นายภูวดล มิ่งขวัญ  ผู้อำนวยการวิทยาลัยเทคนิคบุรีรัมย์ กล่าว ขอขอบคุณ บริษัท เจริญชัยหม้อแปลงไฟฟ้า จำกัด มอบ platform สื่อการสอน ระบบไฟฟ้าและค่าพลังงานไฟฟ้าด้วยกราฟ แบบ Online และ Real Time เป็นสื่อการเรียนการสอนทันสมัยที่สุดในอาเซียน จาก นาย ประจักษ์ กิตติรัตนวิวัฒน์ ตำแหน่ง รองกรรมการผู้จัดการ บริษัท เจริญชัยหม้อแปลงไฟฟ้า จำกัด ณ ห้องประชุมบุรีรายา วิทยาลัยเทคนิคบุรีรัมย์ 

จากที่รัฐมนตรี ว่าการกระทรวงศึกษาธิการแถลงนโยบายการศึกษา และแนวทางการขับเคลื่อนนโยบาย “เรียนดี มีความสุข” ทางวิทยาลัยเทคนิคบุรีรัมย์ ได้ตะหนักถึงนโยบายของกระทรวงศึกษาธิการการปรับปรุงโครงสร้าง ปรับปรุงองค์กร พร้อมทำตึกอนุรักษ์พลังงาน และนำหม้อแปลง Low Carbon ลงดิน โดยมีโซล่าเซลล์ Solar Cell, Energy Storage สอนพร้อม ปฏิบัติจริง และอนาคตสนามฟุตบอล, สนามบาสเกตบอล และสนามกีฬาจะเปิดให้บุคคลทั่วไปได้เข้าเล่นกีฬาทุกชนิด ตั้งแต่เวลา 18.00 – 20.00 น. โดยจะใช้ไฟจากพลังงานสะอาด 100% จึงนับว่าเป็นสิ่งที่ดีต่อทางวิทยาลัยเทคนิคบุรีรัมย์ และเป็นสื่อการเรียนการสอนที่ทันสมัยแบบ Real Time นำโปรแกรม Energy Management System Smart Building ในด้าน Net Zero & Near Zero, Peak Demand และ Demand Response พร้อมคาดการว่าจะประหยัดพลังงานถึง 10% และโครงการดังกล่าว 3 สถานบัน จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี และมหาวิทยาลัยเชียงใหม่ จะมาให้ความร่วมมือในอนาคต 

โดยโมเดลที่กล่าวมาข้างต้นจะเหมือนกับ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ที่ได้วิจัยพัฒนาเกี่ยวกับการตรวจเช็ค วิเคราะห์พลังงาน บำรุงรักษา ด้านความปลอดภัย อัคคีภัย แบบ IoT ในการให้ความรู้ด้านการจัดการพลังงานแบบเรียลไทม์ (IoT)  และบริหาร Green Energy Low Carbon ส่งเสริมหลักสูตร สื่อการเรียนการสอนทันสมัยสุดในอาเซียนเรื่องบำรุงรักษาและมาตรฐานความปลอดภัย อัคคีภัย ของหม้อแปลงไฟฟ้า สามารถลดการใช้พลังงาน ลดต้นทุนค่าไฟฟ้า สอดคล้องกับนโยบายของรัฐบาลในการแก้ปัญหาด้านการประหยัดพลังงาน เพื่อเป็นประโยชน์และตรงต่อความต้องการของ ภาคประกอบการ เป็นกำลังคนอาชีวศึกษาสมรรถนะสูงเพื่อการพัฒนาอุตสาหกรรม เศรษฐกิจของประเทศต่อไป

หม้อแปลงดังกล่าวได้รับรางวัลนวัตกรรมแห่งชาติ (NiA) และได้รับการยอมรับจากหน่วยงานรัฐ และสถาบันมากมาย เป็นเครื่องหมายการันตีคุณภาพของนวัตกรรม ด้วยรางวัล และประกาศเกียรติคุณ อาทิ Thailand energy awards 2023, ASEAN ENERGY AWARDS 2023, กระทรวงพลังงาน, กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม โดยองค์การบริหารจัดการก๊าซเรือนกระจก (องค์การมหาชน) TGO, สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ (สวทช.), กรมบัญชีกลาง, สำนักงบประมาณ, สภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย และรางวัลประหยัดพลังงาน ลดคาร์บอน อีกทั้งยังตีพิมพ์วรสารระดับโลก IEEE journal  ด้านการประหยัดพลังงานอีกด้วย

ส่องราคาน้ำมันเฉลี่ยในประเทศอาเซียน (11 มี.ค. 67)

รายงานราคาน้ำมันเฉลี่ยในอาเซียน เมื่อวันที่ 11 มี.ค. 67 โดยราคาขายน้ำมันแต่ละประเทศ มีปัจจัยทางด้านราคา ดังนี้

1.แต่ละประเทศมีมาตรการภาษี และระบบการเก็บเงินเข้ากองทุนหรืออุดหนุนราคาพลังงานที่แตกต่างกัน

2.ในหลายประเทศเพื่อนบ้านยังมีการอุดหนุนราคากันอยู่

3.ประเทศไทยสนับสนุนการใช้น้ำมันแก๊สโซฮอล์ ให้การอุดหนุนราคาโดยกองทุนน้ำมันฯ จึงทำให้ราคาน้ำมันแก๊สโซฮอล์ถูกกว่าเบนซิน

หมายเหตุ : อัตราแลกเปลี่ยน (อัตรากลาง) ณ วันที่ 8 มี.ค. 67 และประเทศไทย อ้างอิงราคาจาก ปตท. และ บางจาก และเป็นราคาน้ำมันแก๊สโซฮอล์ 95E10 ซึ่งมีสัดส่วนการใช้มากที่สุด

ทั้งนี้สามารถดูราคาย้อนหลังได้ที่ EPPO - Energy Data Visualization หรือคลิกที่ https://public.tableau.com/app/profile/epposite/viz/EPPO_Inter_OilPrice/SUMMARYOILPRICING 

ส่องราคาน้ำมันเฉลี่ยในประเทศอาเซียน (18 มี.ค. 67)

รายงานราคาน้ำมันเฉลี่ยในอาเซียน เมื่อวันที่ 18 มี.ค. 67 โดยราคาขายน้ำมันแต่ละประเทศ มีปัจจัยทางด้านราคา ดังนี้

1.แต่ละประเทศมีมาตรการภาษี และระบบการเก็บเงินเข้ากองทุนหรืออุดหนุนราคาพลังงานที่แตกต่างกัน

2.ในหลายประเทศเพื่อนบ้านยังมีการอุดหนุนราคากันอยู่

3.ประเทศไทยสนับสนุนการใช้น้ำมันแก๊สโซฮอล์ ให้การอุดหนุนราคาโดยกองทุนน้ำมันฯ จึงทำให้ราคาน้ำมันแก๊สโซฮอล์ถูกกว่าเบนซิน

หมายเหตุ : อัตราแลกเปลี่ยน (อัตรากลาง) ณ วันที่ 15 มี.ค. 67 และประเทศไทย อ้างอิงราคาจาก ปตท. และ บางจาก และเป็นราคาน้ำมันแก๊สโซฮอล์ 95E10 ซึ่งมีสัดส่วนการใช้มากที่สุด

ทั้งนี้สามารถดูราคาย้อนหลังได้ที่ EPPO - Energy Data Visualization หรือคลิกที่ https://public.tableau.com/app/profile/epposite/viz/EPPO_Inter_OilPrice/SUMMARYOILPRICING 

‘ผลโพล’ ชี้!! ‘อาเซียน’ เลือกข้าง ‘จีน’ มากกว่า ‘อเมริกา’ ยกเว้นแค่ ‘ผิน-เหงียน’ ที่ยังกังขาข้อพิพาททะเลจีนใต้

เมื่อไม่นานมานี้ ผลสำรวจล่าสุดชี้ว่าประชาชนส่วนใหญ่ในชาติอาเซียนเล็งคบหาจีนมากกว่าอเมริกา ถ้าหากถึงเวลาที่จะต้องเลือกข้างกันแล้ว โดยมีเพียงบางประเทศอย่างฟิลิปปินส์ และ เวียดนาม ที่รู้สึกถูกปักกิ่งคุกคามเกี่ยวกับการอ้างสิทธิในทะเลจีนใต้ ซึ่งยังปักใจกับอเมริกามากกว่า ขณะเดียวกัน ผู้คนในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ยังคงแสดงความกังวลเกี่ยวกับความไม่แน่นอนทางเศรษฐกิจในทั่วโลก โดยผู้ตอบแบบสำรวจเกินครึ่งบอกว่าห่วงเรื่องการว่างงานและเศรษฐกิจถดถอย

นี่เป็นครั้งแรกที่ปักกิ่งได้คะแนนมากกว่าวอชิงตันนับจากที่เริ่มทำการสำรวจความคิดเห็นประจำปีในประเด็นนี้ในปี 2020 โดยในปีนี้จำนวนคนที่เลือกอเมริกาเหลือแค่ 49.5% ลดลงจาก 61.1% เมื่อปีที่แล้ว

การสำรวจความคิดเห็นนี้จัดทำโดยศูนย์อาเซียนศึกษา (ASEAN Studies Centre) แห่งสถาบันเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ศึกษา-ยูซอฟ อิสฮัค (ISEAS-Yusof Ishak Institute) กลุ่มคลังสมองของสิงคโปร์ ระหว่างวันที่ 3 มกราคมถึง 23 กุมภาพันธ์ โดยมีผู้ตอบแบบสำรวจ 1,994 คน ซึ่งมาจากทั้งภาควิชาการ ธุรกิจ รัฐบาล ประชาสังคม และสื่อมวลชน ในสมาคมประชาชาติเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ (อาเซียน) และประเทศที่มีผู้เข้าร่วมการสำรวจมากที่สุดคือสิงคโปร์ และอินโดนีเซีย

ผลสำรวจพบว่า จีนได้คะแนนกว่า 50% ในฐานะหุ้นส่วนที่มีความเกี่ยวข้องสอดคล้องทางยุทธศาสตร์มากที่สุดสำหรับอาเซียน ขณะที่ญี่ปุ่นยังคงเป็นมหาอำนาจที่ไว้วางใจได้มากที่สุด

ทั้งนี้ จีนและอาเซียนเป็นคู่ค้ารายใหญ่ที่สุดของกันและกันติดต่อกัน 4 ปีซ้อนแล้ว โดยในปี 2023 ที่ผ่านมา มีมูลค่าการค้าถึง 911,700 ล้านดอลลาร์แล้ว

กระนั้น ผู้ตอบแบบสำรวจเกือบครึ่งหนึ่งยังคงแสดงความไม่ไว้ใจจีน โดย 45.5% บอกว่า กลัวว่าปักกิ่งจะใช้อำนาจทางเศรษฐกิจและการทหารคุกคามผลประโยชน์และอธิปไตยของประเทศของตน

พฤติกรรมก้าวร้าวของจีนในทะเลจีนใต้เป็นประเด็นที่น่ากังวลมากที่สุดสำหรับคนฟิลิปปินส์ (90.2%) และคนเวียดนาม (72.5%) ซึ่งเป็น 2 ประเทศแนวหน้าที่มีกรณีพิพาทด้านดินแดนกับปักกิ่งในน่านน้ำดังกล่าว

ในเดือนมีนาคมที่ผ่านมา ประธานาธิบดีเฟอร์ดินานด์ มาร์กอส จูเนียร์ ให้สัมภาษณ์กับสำนักข่าวบลูมเบิร์กว่า การที่มะนิลาอ้างสิทธิเหนือทะเลจีนใต้เป็นบางส่วนไม่ควรถูกมองว่า เป็นการยั่วยุจีน ในทางกลับกัน ฟิลิปปินส์ต้องการทำให้สิ่งต่าง ๆ อยู่ในระดับที่สามารถจัดการได้ และเดินหน้าเจรจาต่อไม่ว่าในระดับใด อย่างไรก็ดี ในช่วงหลัง ๆ นี้ ฟิลิปปินส์มีนโยบายหันไปร่วมมือด้านความมั่นคงมากขึ้นอย่างชัดเจนทั้งกับสหรัฐฯ และชาติพันธมิตรของสหรัฐฯ ในภูมิภาค อย่างเช่น ญี่ปุ่น และออสเตรเลีย

สำหรับเวียดนามก็อ้างสิทธิเหนือเกาะหลาย ๆ แห่งในทะเลจีนใต้ ทับซ้อนกับจีนเช่นเดียวกัน โดยที่ปักกิ่งคัดค้านการเรียกร้องเหล่านั้น ทั้งนี้ เวียดนามแสดงท่าทีพยายามมุ่งผูกมิตรกับสหรัฐฯ เพิ่มขึ้นมากเช่นกัน แม้ยังไม่ได้ไปถึงระดับของฟิลิปปินส์

ไม่น่าแปลกใจที่ผลสำรวจคราวนี้แสดงให้เห็นว่า อเมริกายังคงได้รับความสนับสนุนจากคนส่วนใหญ่ในฟิลิปปินส์ (83.3%) และเวียดนาม (79%) ซึ่งแสดงความโน้มเอียงที่ต้องการผูกพันธมิตรกับวอชิงตันมากกว่าปักกิ่ง

เคนด์ดริก ชาน แห่ง แอลเอสอี ไอเดียส์ (LSE IDEAS) กลุ่มคลังสมองด้านนโยบายการต่างประเทศของ LSE (ลอนดอน สกูล ออฟ อิโคโนมิกส์ แอนด์ โพลิทิคัล ไซนส์) แสดงความเห็นว่า ถึงแม้จีนได้รับการสนับสนุนมากขึ้นในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้เมื่อมองจากความเข้าใจความรับรู้ของสาธารณชนซึ่งให้ความนิยมชมชื่นเพิ่มขึ้น แต่ควรต้องสังเกตว่า ข้อพิพาทด้านดินแดนที่รุนแรงที่สุดของจีนก็อยู่ในภูมิภาคนี้เช่นเดียวกัน

นอกจากนั้นแล้ว ผู้ตอบแบบสำรวจเกือบครึ่งยังคิดว่าอาเซียนควรเพิ่มความยืดหยุ่นและความเป็นเอกภาพของตน เพื่อเป็นเครื่องปกป้องการถูกบีบคั้นจาก 2 ชาติมหาอำนาจคือ จีนและอเมริกา

ขณะเดียวกัน ความไม่แน่นอนทางเศรษฐศาสตร์มหภาคในทั่วโลก ยังคงเป็นข้อกังวลในภูมิภาคนี้ โดยคนส่วนใหญ่ (57.7%) กังวลกับการว่างงานและเศรษฐกิจถดถอย ซึ่งภาวะเศรษฐกิจชะลอตัวในจีนอาจมีส่วนกระตุ้นความกังวลเหล่านี้

ข้อกังวลอื่น ๆ ยังรวมถึงความขัดแย้งระหว่างอิสราเอลกับฮามาสที่เริ่มต้นตั้งแต่เดือนตุลาคมปีที่แล้ว และการโจมตีเรือสินค้าในทะเลแดงของกลุ่มกบฏฮูตี ซึ่งแม้เหตุการณ์เหล่านี้ถึงแม้เกิดขึ้นในภูมิภาคอื่นที่ไกลออกไปจากอาเซียน แต่ส่งผลให้ห่วงโซ่อุปทานหยุดชะงักซึ่งอาจมีผลโดยตรงต่อราคาพลังงานและอาหารได้

ชอย ชิง กว็อก ผู้อำนวยการและซีอีโอของ ISEAS ระบุว่า ผลสำรวจปีนี้สะท้อนอย่างชัดเจนว่า ภูมิภาคนี้มีความกังวลเพิ่มมากขึ้นในเรื่องปัญหาทางเศรษฐกิจ และในความเสี่ยงที่ว่าการเป็นปฏิปักษ์กันในทางภูมิศาสตร์รัฐศาสตร์ที่ไร้การบันยะบันยังอาจส่งผลลบต่อผลประโยชน์ของภูมิภาคในระยะสั้นจนถึงระยะกลาง

“ผลสำรวจนี้แสดงให้เห็นว่า อาเซียนยังคงมีความหวังว่าชาติมหาอำนาจสามารถร่วมมือกันได้ในประเด็นต่าง ๆ ที่เป็นผลประโยชน์ร่วมกัน และยินดีต้อนรับมหาอำนาจชาติอื่น ๆ เข้ามามีปฏิสัมพันธ์อย่างใกล้ชิดยิ่งขึ้นกับอาเซียน”

ส่องราคาน้ำมัน ในอาเซียน 'เบนซิน-ดีเซล' ใครแพงที่สุด-ถูกที่สุด?

จัดอันดับราคาน้ำมัน 'เบนซิน-ดีเซล' ในอาเซียน ใครแพงที่สุด-ถูกที่สุด? แล้วไทยอยู่ตรงจุดไหน? ✨✨

ข้อควรรู้ : การเก็บข้อมูลราคาน้ำมันในอาเซียน

- แต่ละประเทศสมาชิกมีมาตรการภาษี และระบบการเก็บเงินเข้ากองทุนหรืออุดหนุนราคาพลังงานที่แตกต่างกัน
- หลายประเทศเพื่อนบ้านยังมีการอุดหนุนราคาอยู่
- ไทยสนับสนุนการใช้น้ำมันแก๊สโซฮอล์ให้การอุดหนุนราคาโดยกองทุนน้ำมันฯ จึงทำให้ราคาน้ำมันแก๊สโซฮอล์ถูกกว่าเบนซิน

(หมายเหตุ : ข้อมูลราคาน้ำมันข้างต้น ประเทศไทย อ้างอิงราคาจาก ปตท. และ บางจาก และเป็นราคาน้ำมันแก๊สโซฮอล์ 95, E10 ซึ่งมีสัดส่วนการใช้มากที่สุด)


TRENDING
© Copyright 2021, All rights reserved. THE STATES TIMES
Take Me Top