Monday, 29 April 2024
สุริยะ_จึงรุ่งเรืองกิจ

'​​​สุริยะ' ดันแผนพัฒนาอุตฯ กัญชง ยกระดับสู่พืชเศรษฐกิจใหม่ ตั้งเป้าเป็นศูนย์กลางพืชกัญชงเชิงอุตฯ แห่งอาเซียนภายใน 5 ปี

กระทรวงอุตสาหกรรม (อก.) ผลักดันแผนการพัฒนาอุตสาหกรรมพืชกัญชงสู่เชิงพาณิชย์ มุ่งพัฒนาอุตสาหกรรมแปรรูปพืชกัญชงเป็นพืชเศรษฐกิจใหม่ ยกระดับเศรษฐกิจฐานราก สร้างรายได้และการจ้างงานตลอดห่วงโซ่อุปทาน พร้อมตอบสนองนโยบายเศรษฐกิจ BCG เน้นการเติบโตอย่างยั่งยืน เผยตั้งเป้าหมายให้ประเทศไทยเป็นศูนย์กลางพืชกัญชงเชิงอุตสาหกรรมแห่งอาเซียน (Industrial Hemp Hub of ASEAN) ภายใน 5 ปี สร้างรายได้ให้ผู้ประกอบการไม่น้อยกว่า 25,000 ล้านบาท และสร้างรายได้ให้แก่เกษตรกรเพิ่มขึ้นไม่น้อยกว่า 20,000 บาทต่อไร่

นายสุริยะ จึงรุ่งเรืองกิจ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงอุตสาหกรรม (อก.) เปิดเผยว่า อุตสาหกรรมกัญชงในตลาดโลกมีแนวโน้มการเติบโตอย่างก้าวกระโดดในนานาประเทศ อาทิ สหรัฐอเมริกา, แคนาดา, ออสเตรเลีย, สหภาพยุโรป, จีน รวมถึงญี่ปุ่น และเกาหลีใต้ หลังจากเริ่มผ่อนคลายกฎหมายเพื่อเปิดโอกาสให้มีการพัฒนาผลิตภัณฑ์กัญชงเพื่อใช้ประโยชน์ในเชิงพาณิชย์มากขึ้น โดยคาดว่ามูลค่าตลาดอุตสาหกรรมทั่วโลกในปี 2565 อยู่ที่ประมาณ 1.42 แสนล้านบาท มีอัตราการเติบโตเฉลี่ยที่ร้อยละ 22.4 ต่อปี และคาดว่าภายในปี 2570 จะมีมูลค่าประมาณ 5.58 แสนล้านบาท 

ดังนั้น กระทรวงอุตสาหกรรมจึงได้ผลักดันการพัฒนาอุตสาหกรรมพืชกัญชงสู่เชิงพาณิชย์และมอบหมายให้สำนักงานเศรษฐกิจอุตสาหกรรม (สศอ.) จัดทำแผนปฏิบัติการ ด้านการพัฒนาอุตสาหกรรมพืชกัญชงสู่เชิงพาณิชย์ซึ่งเป็นพืชเศรษฐกิจใหม่ สร้างมูลค่าเพิ่มให้กับระบบเศรษฐกิจไทย ตลอดจนสร้างรายได้ให้แก่ธุรกิจที่เกี่ยวเนื่อง ก่อให้เกิดการจ้างงานตลอดห่วงโซ่อุปทานกัญชง ยกระดับเศรษฐกิจฐานราก พร้อมตอบสนองนโยบายเศรษฐกิจ BCG ที่เน้นการเติบโตอย่างยั่งยืน และเป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม นอกจากนี้ยังตั้งเป้าหมายให้ประเทศไทยเป็นศูนย์กลางพืชกัญชงเชิงอุตสาหกรรมแห่งอาเซียน (Industrial Hemp Hub of ASEAN) ภายใน 5 ปี สร้างรายได้ให้แก่ผู้ประกอบการไม่น้อยกว่า 25,000 ล้านบาท และสร้างรายได้ให้แก่เกษตรกรเพิ่มขึ้นไม่น้อยกว่า 20,000 บาทต่อไร่

‘อินเดีย’ บล็อกนำเข้าแอร์ไทยที่ใส่สารทำความเย็น อ้าง!! ปฏิบัติตามพันธกรณีพิธีสารมอนทรีออล

ก.อุตฯ เร่งช่วยเหลือผู้ส่งออกเครื่องปรับอากาศของไทย เหตุอินเดียห้ามนำเข้าเครื่องปรับอากาศที่มีสารทำความเย็น อ้างความปลอดภัยด้านสุขภาพ ตามพันธกรณีพิธีสารมอนทรีออล สั่ง สมอ. จี้อินเดียแจ้งเวียนมาตรการต่อ WTO พร้อมขอหลักฐานพันธกรณีที่อ้าง

นายสุริยะ จึงรุ่งเรืองกิจ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงอุตสาหกรรม เปิดเผยว่า จากกรณีที่ประเทศอินเดียกำหนดมาตรการห้ามนำเข้าเครื่องปรับอากาศที่บรรจุสารทำความเย็น (น้ำยาแอร์) ได้ส่งผลกระทบต่ออุตสาหกรรมเครื่องปรับอากาศและเครื่องทำความเย็นของไทยเป็นอย่างมาก ตนจึงสั่งการให้สำนักงานมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม (สมอ.) ในฐานะผู้แทนประเทศไทยในคณะกรรมการว่าด้วยอุปสรรคทางเทคนิคต่อการค้า (Committee on Technical Barriers to Trade : TBT) ภายใต้องค์การการค้าโลก (WTO) ดำเนินการให้ความช่วยเหลือผู้ประกอบการไทยอย่างเร่งด่วน

ด้าน นายบรรจง สุกรีฑา เลขาธิการสำนักงานมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม (สมอ.) กล่าวเพิ่มเติมว่า จากข้อสั่งการของท่านรัฐมนตรีว่าการกระทรวงอุตสาหกรรม และข้อร้องเรียนจากผู้ประกอบการที่สมอ. ได้รับเมื่อเดือนกันยายน 2564 สมอ. ได้ติดตามเรื่องนี้อย่างใกล้ชิด โดยหยิบยกประเด็นดังกล่าวเข้าในการประชุม Committee on TBT ครั้งที่ 86 เมื่อวันที่ 8-11 มีนาคม 2565 ณ นครเจนีวา สมาพันธรัฐสวิส ตามพันธกรณีความตกลงที่ประเทศสมาชิกต้องถือปฏิบัติอย่างเท่าเทียมกันระหว่างสินค้าที่ผลิตในประเทศและนำเข้าจากต่างประเทศ และถือเป็นอุปสรรคทางการค้าโดยไม่จำเป็น 

'สุริยะ' กำชับ กรอ.ดูแลถ่ายโอนภารกิจกำกับโรงงาน จำพวก 1 และ 2 ให้ องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น

'สุริยะ' กำชับ กรมโรงงานอุตสาหกรรม (กรอ.) เป็นพี่เลี้ยงดูแลการถ่ายโอนภารกิจกำกับโรงงานจำพวกที่ 1 และจำพวกที่ 2 ให้ องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น (อปท.) จนกว่าบุคลากร อปท. จะสามารถดูแล 1,860 โรงงาน ที่ได้รับการถ่ายโอนได้อย่างถูกต้อง และมีประสิทธิภาพ ตามที่กฎหมายกำหนด

นายสุริยะ จึงรุ่งเรืองกิจ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงอุตสาหกรรม เปิดเผยว่า กระทรวงอุตสาหกรรม (อก.) รับนโยบายรัฐบาล ในการถ่ายโอนภารกิจกำกับดูแลโรงงานจำพวกที่ 1 และจำพวกที่ 2 ให้แก่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น (อปท.) ได้แก่ กรุงเทพมหานคร (กทม.) เทศบาล และเมืองพัทยา ซึ่งปัจจุบันถ่ายโอนภารกิจให้ อปท. เรียบร้อยแล้ว จำนวน 1,860 โรงงาน เพื่อให้ อปท. มีบทบาทอำนาจในการควบคุมดูแลกิจการโรงงานในพื้นที่ตามกฎหมายว่าด้วยโรงงาน ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2552 ตามประกาศคณะกรรมการการกระจายอำนาจให้แก่ อปท. โดยแต่งตั้งให้ข้าราชการส่วนท้องถิ่นของ อปท. เป็นพนักงานเจ้าหน้าที่ตามกฎหมายว่าด้วยโรงงาน จึงกำชับกรมโรงงานอุตสาหกรรม (กรอ.) และสำนักงานอุตสาหกรรมจังหวัดทั่วประเทศ เป็นพี่เลี้ยง โดยการสนับสนุนให้คำปรึกษาแนะนำแก่พนักงานเจ้าหน้าที่ของ อปท. ให้ปฏิบัติภารกิจตามกฎหมายว่าด้วยโรงงานได้อย่างถูกต้อง เป็นไปด้วยความเรียบร้อย สอดคล้องกับแนวทางการปฏิบัติงาน และเกิดประสิทธิผลสูงสุด

นายวันชัย พนมชัย อธิบดีกรมโรงงานอุตสาหกรรม กล่าวเพิ่มเติมว่า กรอ. เดินหน้าสนับสนุนแนะนำและให้คำปรึกษาแก่ อปท. ในการควบคุมดูแลโรงงานจำพวกที่ 1 และ จำพวกที่ 2 โดยได้ถ่ายโอนภารกิจการกำกับดูแล ให้แก่ กทม. เทศบาล และเมืองพัทยา ไปแล้วทั้งสิ้น 1,860 โรงงาน โดยในส่วนของ กทม. 660 โรงงาน เทศบาลและเมืองพัทยา 1,200 โรงงาน ที่ผ่านมา กรอ. ได้ให้การสนับสนุน แนะนำและให้คำปรึกษาทางเทคนิควิชาการ และดำเนินการฝึกอบรมแก่พนักงานเจ้าหน้าที่ กทม. เทศบาล และเมืองพัทยา ในการปฏิบัติภารกิจตามกฎหมายว่าด้วยโรงงานอย่างต่อเนื่อง โดยในปีนี้ กรอ. ได้จัดโครงการฝึกอบรมเชิงปฏิบัติการ “การใช้งานระบบสารสนเทศ เพื่อออกใบรับแจ้งการประกอบกิจการโรงงานจำพวกที่ 2 สำหรับข้าราชการ กทม.” เพื่อให้ข้าราชการ กทม. มีความเข้าใจ สามารถใช้งานระบบสารสนเทศในการรับฟังความคิดเห็นของประชาชน รับแจ้งการประกอบกิจการโรงงานจำพวกที่ 2 และการติดตามชำระค่าธรรมเนียมรายปีได้อย่างถูกต้อง เป็นการเพิ่มพูนความรู้ให้กับเจ้าหน้าที่ผู้ปฏิบัติงานรายเดิม และเตรียมความพร้อมให้กับเจ้าหน้าที่ผู้ปฏิบัติงานรายใหม่

'สุริยะ' จี้!! ทุกหน่วยงาน ก.อุตฯ ติดตามสถานการณ์น้ำ หากกระทบ 'ธุรกิจ-ประชาชน' ในพื้นที่ท่วม ให้รุดช่วยทันที

'สุริยะ' สั่งการหน่วยงานกระทรวงอุตสาหกรรม ติดตามสถานการณ์ฝนตกหนัก เตรียมความพร้อมหากเกิดผลกระทบแก่ผู้ประกอบการ และประชาชนในพื้นที่ที่ประสบอุทกภัย

นายสุริยะ จึงรุ่งเรืองกิจ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงอุตสาหกรรม เปิดเผยว่า ได้สั่งการให้ทุกหน่วยงานในกระทรวงอุตสาหกรรม ติดตามสถานการณ์ เตรียมมาตรการป้องกันน้ำท่วมผลกระทบความเสียหายที่อาจเกิดขึ้นแก่ผู้ประกอบการและประชาชนในพื้นที่ที่ประสบอุทกภัย โดยให้เข้าช่วยเหลือผู้ประกอบการที่ได้รับความเสียหาย รวมทั้งให้เตรียมมาตรการต่าง ๆ รองรับในทุกสถานการณ์ ทั้งในส่วนของอุตสาหกรรมจังหวัดที่กำกับดูแลสถานประกอบการอุตสาหกรรม การนิคมอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทยที่ดูแลนิคมอุตสาหกรรมในนิคมฯ กรมโรงงานอุตสาหกรรมที่ดูแลเขตประกอบการอุตสาหกรรมทั่วประเทศ และรวมไปถึงธนาคารพัฒนาวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมแห่งประเทศไทย กองทุนเอสเอ็มอีตามแนวประชารัฐ ให้ดูแลสินเชื่อผู้ประกอบการเอสเอ็มอีที่ได้รับผลกระทบจากน้ำท่วม

‘สุริยะ’ ชี้!! บอร์ด สมอ. ดีเดย์ 1 ม.ค.67 คุมมลพิษยานยนต์ ตามมาตรฐานยูโร 5

บอร์ด สมอ. เห็นชอบให้บังคับใช้มาตรฐานยูโร 5 คุมมลพิษรถบรรทุก, รถบัส, รถกระบะ และรถยนต์เล็ก ที่ใช้เครื่องยนต์ดีเซลและเบนซิน มีผล 1 มกราคม 2567 มุ่งแก้ปัญหาฝุ่น PM 2.5 และรักษาสิ่งแวดล้อม ตามนโยบายรัฐบาล

นายสุริยะ จึงรุ่งเรืองกิจ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงอุตสาหกรรม เปิดเผยภายหลังการประชุมคณะกรรมการมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม (กมอ.) หรือบอร์ด สมอ. ประจำเดือนสิงหาคม 2565 ว่า บอร์ด สมอ. ได้มีมติเห็นชอบให้ สมอ. ควบคุมรถบรรทุก, รถบัส, รถกระบะ และรถยนต์เล็ก ทุกรุ่นทุกคัน ต้องได้มาตรฐานยูโร 5 โดยจะมีผลบังคับใช้ตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม 2567 เพื่อควบคุมปริมาณสารมลพิษที่ปล่อยออกมา ไม่ให้เกินเกณฑ์ที่เป็นอันตรายต่อประชาชน ซึ่งเป็นไปตามนโยบายกระทรวงอุตสาหกรรมที่ได้ขานรับนโยบายรัฐบาลในการแก้ปัญหาฝุ่น PM 2.5 และแก้ปัญหาสิ่งแวดล้อมของประเทศ ได้กำชับให้ สมอ. เร่งรัดกำหนดมาตรฐานเพื่อควบคุมปริมาณสารมลพิษจากยานยนต์อย่างต่อเนื่อง ซึ่งปัจจุบันได้กำหนดมาตรฐานแล้วจำนวน 34 มาตรฐาน อาทิ รถยนต์ขนาดใหญ่และขนาดเล็กที่ใช้เครื่องยนต์ดีเซลและเบนซิน รถมอเตอร์ไซค์ การทดสอบสารมลพิษจากเครื่องยนต์ และมลพิษทางเสียงที่เกิดจากรถยนต์ตั้งแต่ 4 ล้อขึ้นไปเป็นต้น

นายบรรจง สุกรีฑา เลขาธิการสำนักงานมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม กล่าวเพิ่มเติมว่า มาตรฐานยูโร 5 นี้จะควบคุมปริมาณสารมลพิษที่ปล่อยออกมา ได้แก่ คาร์บอนมอนอกไซด์ ไฮโดรคาร์บอน ออกไซด์ของไนโตรเจน และปริมาณสารมลพิษอนุภาคหรือฝุ่นจากเครื่องยนต์ โดยมีระบบวินิจฉัยอุปกรณ์ควบคุมสารมลพิษ ซึ่งเป็นระบบที่จะแจ้งผู้ขับขี่ในกรณีที่อุปกรณ์ควบคุมสารมลพิษทำงานผิดปกติ รวมทั้งมีข้อกำหนดเรื่องความทนทานของอุปกรณ์ควบคุมมลพิษ เพื่อให้มั่นใจได้ว่ารถยนต์ที่ผ่านการใช้งานไประยะเวลาหนึ่งแล้ว ยังคงสามารถควบคุมมลพิษตามเกณฑ์ที่กำหนดในมาตรฐานได้

‘สุริยะ’ เผย 5 อุตสาหกรรม รับอานิสงส์เปิดปท. ดันดัชนีผลผลิตอุตฯ ก.ค. ขยายตัว 6.37%

อก. เผย MPI เดือนกรกฎาคม 2565 ขยายตัวร้อยละ 6.37 อานิสงส์จากการเปิดประเทศเต็มรูปแบบ ด้านส่งออกสินค้าอุตฯ ขยายตัวต่อเนื่องเดือนที่ 20

นายสุริยะ จึงรุ่งเรืองกิจ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงอุตสาหกรรม (อก.) เปิดเผยว่า สถานการณ์การผลิตภาคอุตสาหกรรมกลับมาฟื้นตัวอีกครั้งหลังรัฐบาลได้ผ่อนคลายมาตรการควบคุมต่าง ๆ โดยเฉพาะมาตรการเปิดประเทศ ส่งผลให้จำนวนนักท่องเที่ยวเพิ่มขึ้นมากกว่าเป้าและช่วยหนุนการบริโภคในประเทศปรับตัวดีขึ้นต่อเนื่อง มีคำสั่งซื้อและมีการเพิ่มการผลิตในภาคอุตสาหกรรมที่เกี่ยวข้องมากขึ้น ส่งผลให้ดัชนีผลผลิตอุตสาหกรรม (MPI) เดือนกรกฎาคม 2565 อยู่ที่ 95.71 ขยายตัวเพิ่มขึ้นร้อยละ 6.37 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน สำหรับภาพรวม MPI ใน 7 เดือนแรกของปี 2565 ขยายตัว ร้อยละ 1.23 และอัตราการใช้กำลัง การผลิต 7 เดือนแรก อยู่ที่ระดับ 63.42 ทั้งนี้ คาดว่า MPI ในครึ่งปีหลังมีแนวโน้มปรับเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง รวมถึงการส่งออกสินค้าอุตสาหกรรม (ไม่รวมทองคำ) ที่ขยายตัวอย่างต่อเนื่อง โดยเฉพาะในอุตสาหกรรมอาหารของไทยที่ขยายตัวท่ามกลางวิกฤตความมั่นคงทางอาหารของโลก

นางศิริเพ็ญ เกียรติเฟื่องฟู รองผู้อำนวยการสำนักงานเศรษฐกิจอุตสาหกรรม (สศอ.) กล่าวว่า ดัชนีผลผลิตอุตสาหกรรม (MPI) เดือนกรกฎาคม 2565 ปรับตัวดีขึ้นร้อยละ 6.37 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกัน ของปีก่อน และอัตราการใช้กำลังการผลิตอยู่ที่ร้อยละ 61.01 จากการเปิดประเทศอย่างเต็มรูปแบบ อุตสาหกรรมหลักกลับมาขยายตัว ได้แก่ ยานยนต์ ผลิตภัณฑ์คอนกรีตและปูนซีเมนต์ โดยเฉพาะอุตสาหกรรมน้ำมันปิโตรเลียมขยายตัวต่อเนื่องเป็นเดือนที่ 10 ติดต่อกัน สะท้อนให้เห็นถึงกิจกรรมทางเศรษฐกิจที่ทยอยฟื้นตัว อีกทั้งภาคการท่องเที่ยวช่วยฟื้นการบริโภคภายในประเทศ จำนวนนักท่องเที่ยวที่เพิ่มขึ้นอย่างมีนัยสำคัญ โดยมีการปรับคาดการณ์จำนวนนักท่องเที่ยวจากเดิม 6 ล้านคน เป็น 8 ล้านคน ในปีนี้ รวมถึงการอ่อนค่าของเงินบาทส่งผลดีต่อภาคการส่งออกทำให้สินค้าไทยสามารถแข่งขันได้ในตลาดโลก ได้แก่ อุตสาหกรรมสิ่งทอและเครื่องนุ่งห่มที่ขยายตัวต่อเนื่องเป็นเดือนที่ 17 ติดต่อกัน จากความต้องการที่เพิ่มขึ้นต่อเนื่องทั้งในและต่างประเทศ และอุตสาหกรรมเครื่องปรับอากาศที่การส่งออกขยายตัวเพิ่มขึ้น ส่งผลให้การส่งออกสินค้าอุตสาหกรรม (ไม่รวมทองคำ) เดือนกรกฎาคม ขยายตัวร้อยละ 0.50 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน ต่อเนื่องเป็นเดือนที่ 20 ติดต่อกัน 

นอกจากนี้ ภาพรวมสถานการณ์เงินเฟ้อที่ยังคงส่งผลกระทบต่อผู้ประกอบการในภาคอุตสาหกรรม แต่มีทิศทางชะลอตัวลง สะท้อนได้จากดัชนีราคาผู้ผลิต (PPI) ของสำนักงานนโยบายและยุทธศาสตร์การค้าหมวดสินค้าอุตสาหกรรมเดือนกรกฎาคมขยายตัวที่ร้อยละ 10.5 ชะลอตัวลงจากเดือนมิถุนายนขยายตัวที่ร้อยละ 12.9

สำหรับสถานการณ์เศรษฐกิจอุตสาหกรรมของประเทศไทยเริ่มส่งสัญญาณเฝ้าระวัง โดย สศอ. ใช้เครื่องมือระบบเตือนภัยด้านเศรษฐกิจอุตสาหกรรมไทย (The Early Warning System Industry Economics : EWS-IE) สศอ. จึงคาดการณ์จากดัชนีชี้นำสถานการณ์การผลิตโลก (PMI) ว่า ภาพรวมเศรษฐกิจไทยใน 1-2 เดือนข้างหน้า ปัจจัยภายในประเทศยังขยายตัวอย่างต่อเนื่อง อุปสงค์ในประเทศทยอยฟื้นตัว ความเชื่อมั่นภาคอุตสาหกรรมปรับตัวดีขึ้นจากการเปิดรับนักท่องเที่ยวและปลดล็อกมาตรการควบคุมโรคโควิด-19 ความเชื่อมั่นทางธุรกิจปรับตัวเพิ่มขึ้น ในขณะที่ปัจจัยต่างประเทศเริ่มส่งผลกระทบต่อภาคอุตสาหกรรม ประเทศคู่ค้าอยู่ในภาวะไม่ปกติ ส่งผลให้คำสั่งซื้อชะลอตัวลง ทั้งนี้ ต้องจับตาดูสถานการณ์การขึ้นอัตราดอกเบี้ยนโยบายของธนาคารกลางประเทศต่าง ๆ ความขัดแย้งระหว่างรัสเซียและยูเครนยังคงยืดเยื้อ ส่งผลต่อราคาพลังงานและวัตถุดิบ สภาวะเศรษฐกิจโลกถดถอย รวมถึงปัญหาข้อพิพาททางการเมืองระหว่างประเทศ

สำหรับอุตสาหกรรมหลักที่ดัชนีผลผลิตส่งผลบวกในเดือนกรกฎาคม 2565 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน ได้แก่

‘สุริยะ’ เคาะ 4 แนวทางขับเคลื่อนอุตสาหกรรมไทย เน้นสอดรับแผนพัฒนาประเทศสู่ความยั่งยืน

กอช. เคาะ 4 แนวทางขับเคลื่อนอุตสาหกรรมไทยฝ่าวิกฤตสู่ความยั่งยืน เน้นบูรณาการพัฒนาอุตสาหกรรมไทยภายใต้ความร่วมมือของทุกภาคส่วน

นายสุริยะ จึงรุ่งเรืองกิจ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงอุตสาหกรรม เปิดเผยว่า ในวันนี้ การประชุมคณะกรรมการพัฒนาอุตสาหกรรมแห่งชาติ (กอช.) ครั้งที่ 1/2565 มีการพิจารณา 4 เรื่องสำคัญที่จะขับเคลื่อนภาคการผลิตเพื่อการฟื้นฟูเศรษฐกิจของประเทศไทยในขณะนี้ โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อให้การพัฒนาอุตสาหกรรมของประเทศมีทิศทางที่สอดรับกับแผนพัฒนาประเทศในทุกระดับ รวมทั้งจะเป็นการขับเคลื่อนการพัฒนาอุตสาหกรรมไทยให้เกิดผลเป็นรูปธรรมได้อย่างรวดเร็วภายใต้การบูรณาการของทุกภาคส่วน 

นายกอบชัย สังสิทธิสวัสดิ์ ปลัดกระทรวงอุตสาหกรรม กล่าวว่า การประชุมในครั้งนี้จะเป็นการขับเคลื่อนการพัฒนาอุตสาหกรรมให้เป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพและมีเอกภาพภายใต้การบูรณาการของหน่วยงานและคณะกรรมการที่เกี่ยวข้องกับการพัฒนาอุตสาหกรรมของประเทศอย่างรอบด้าน ครอบคลุม ตลอดห่วงโซ่มูลค่าในทุกมิติ โดยที่ประชุม กอช. ได้มีมติเห็นชอบใน 4 เรื่องสำคัญ ดังนี้

1. (ร่าง) แผนปฏิบัติการด้านการพัฒนาออุตสาหกรรมอิเล็กทรอนิกส์อัจฉริยะ (Smart Electronics) ระยะที่ 1 (พ.ศ. 2565-2570)

สาระสำคัญของเรื่อง เพื่อเสนอที่ประชุมพิจารณา (ร่าง) แผนปฏิบัติการด้านการพัฒนาอุตสาหกรรมอิเล็กทรอนิกส์อัจฉริยะ (Smart Electronics) ระยะที่ 1 (พ.ศ. 2565-2570)  โดยตั้งเป้าหมายให้ประเทศไทยเป็นศูนย์กลางในการผลิตอุปกรณ์และระบบอิเล็กทรอนิกส์อัจฉริยะในอาเซียน และมีเทคโนโลยีเป็นของตนเองภายในปี 2570 ภายใต้แผนปฏิบัติการฯ ประกอบด้วย 3 มาตรการ ได้แก่ มาตรการที่ 1 : ยกระดับศักยภาพการแข่งขันของอุตสาหกรรมอิเล็กทรอนิกส์อัจฉริยะเดิม และส่งเสริมให้เกิดการพัฒนาระบบอิเล็กทรอนิกส์อัจฉริยะ มาตรการที่ 2 : กระตุ้นอุปสงค์เพื่อสร้างตลาดการใช้อุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์อัจฉริยะในประเทศ และต่อยอดการสร้างหรือพัฒนาระบบอิเล็กทรอนิกส์อัจฉริยะ และมาตรการที่ 3 : สร้างและพัฒนา Eco System สําหรับอุตสาหกรรมอิเล็กทรอนิกส์

โดยที่ประชุมคณะกรรมการ กอช. มีมติเห็นชอบ (ร่าง) แผนปฏิบัติการด้านการพัฒนาอุตสาหกรรมอิเล็กทรอนิกส์อัจฉริยะ (Smart Electronics) ระยะที่ 1 (พ.ศ. 2565-2570) และมอบหมายให้ อก. นำ (ร่าง) แผนปฏิบัติการฯ เสนอสํานักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ (สศช.)/ คณะรัฐมนตรี (ครม.) เพื่อพิจารณาตามระเบียบและขั้นตอนต่อไป

2. (ร่าง) แผนปฏิบัติการด้านการพัฒนาอุตสาหกรรมพืชกัญชงสู่เชิงพาณิชย์ (พ.ศ. 2566-2570)
สาระสำคัญของเรื่อง เพื่อเสนอที่ประชุมพิจารณา (ร่าง) แผนปฏิบัติการด้านการพัฒนาอุตสาหกรรมพืชกัญชงสู่เชิงพาณิชย์ (พ.ศ. 2566- 2570) โดยตั้งเป้าหมายให้ไทยเป็นศูนย์กลางพืชกัญชงเชิงอุตสาหกรรม  แห่งอาเซียน (Industrial Hemp Hub of ASEAN)  ภายใน 5 ปี ภายใต้แผนปฏิบัติการฯ ประกอบด้วย 4 มาตรการสำคัญ ได้แก่ 1) สนับสนุนการวิจัยและพัฒนานวัตกรรมผลิตภัณฑ์ตลอดห่วงโซ่กัญชง 2) ส่งเสริมการผลิตและแปรรูปเชิงพาณิชย์ 3) ส่งเสริมด้านการตลาด และ 4) สร้างปัจจัยสนับสนุนให้เอื้อต่อการประกอบการ โดยแบ่งการดําเนินการเป็น 3 ระยะ คือ 1. ระยะ 1 ปี : เร่งสร้าง Enabling และความมั่นคงทางวัตถุดิบ 2. ระยะ 3 ปี : ยกระดับการผลิตเพื่อสร้างมูลค่าเพิ่มผลิตภัณฑ์กัญชง และ 3. ระยะ 5 ปี : สนับสนุนการผลิตนวัตกรรมผลิตภัณฑ์เพื่อการส่งออก ระยะ 5 ปี

โดยที่ประชุมคณะกรรมการ กอช. มีมติเห็นชอบ (ร่าง) แผนปฏิบัติการด้านการพัฒนาอุตสาหกรรมพืชกัญชงสู่เชิงพาณิชย์ (พ.ศ. 2566-2570) และมอบหมายให้ อก. นํา (ร่าง) แผนปฏิบัติการฯ เสนอ สศช./ ครม. เพื่อพิจารณาตามระเบียบและขั้นตอนต่อไป

3. การส่งเสริมและแก้ไขปัญหาอุปสรรคเพื่อพัฒนาภาคอุตสาหกรรมอย่างยั่งยืน
สาระสำคัญของเรื่อง เพื่อเสนอที่ประชุมพิจารณาให้ความเห็นชอบ เรื่อง การส่งเสริมและแก้ไขปัญหาอุปสรรคเพื่อพัฒนาภาคอุตสาหกรรมอย่างยั่งยืน ซึ่งประกอบด้วยประเด็นพิจารณา 2 ประเด็น คือ 1. พิจารณาให้ความเห็นชอบในหลักการ กรอบแผนปฏิบัติการด้านการพัฒนาเมืองอุตสาหกรรมเชิงนิเวศ ปี พ.ศ. 2566-2570 ซึ่งเป็นแผนระดับ 3 ด้านการพัฒนาเมืองอุตสาหกรรมเชิงนิเวศของประเทศไทย ภายใต้การบูรณาการระหว่างหน่วยงานที่เกี่ยวข้องกว่า 10 กระทรวง 2. พิจารณาให้ความเห็นชอบในหลักการ การจัดตั้งกองทุนอุตสาหกรรมเพื่อแก้ไขปัญหาด้านสิ่งแวดล้อมและความปลอดภัย ซึ่งมีวัตถุประสงค์หลักเพื่อแก้ไขปัญหามลพิษ หรือลดผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมจากการประกอบกิจการโรงงาน เยียวยาผู้ได้รับผลกระทบ แก้ไขปัญหาการกระทําผิดตามกฎหมายว่าด้วยโรงงาน รวมทั้งใช้เป็นเงินช่วยเหลือ อุดหนุนกิจการใด ๆ ที่เกี่ยวกับการส่งเสริมและรักษาคุณภาพสิ่งแวดล้อมจากการประกอบกิจการโรงงาน หรือเพื่อเป็นมาตรการป้องกันการเกิดอันตรายหรือความเสียหายที่อาจเกิดขึ้นแก่ประชาชนและสิ่งแวดล้อม อันเกิดจากการประกอบกิจการโรงงาน

โดยที่ประชุมคณะกรรมการ กอช. มีมติเห็นชอบในหลักการกรอบแผนปฏิบัติการด้านการพัฒนาเมืองอุตสาหกรรมเชิงนิเวศ ปี พ.ศ. 2566-2570 และแนวทางการจัดตั้งกองทุนอุตสาหกรรมเพื่อแก้ไขปัญหาด้าน สิ่งแวดล้อมและความปลอดภัย

4. กลไกขับเคลื่อนการดําเนินงานของคณะกรรมการพัฒนาอุตสาหกรรมแห่งชาติ 
สาระสำคัญของเรื่อง เพื่อให้การขับเคลื่อนการดําเนินงานของ กอช. เป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ อก. จึงเสนอที่ประชุมพิจารณาให้ความเห็นชอบการแต่งตั้งคณะอนุกรรมการ ภายใต้ กอช. เพื่อทําหน้าที่กําหนดกรอบและแนวทางการดําเนินงาน จัดทําและเสนอแนะนโยบาย แผนยุทธศาสตร์ มาตรการ และแนวทางการแก้ไขปัญหาอุปสรรค รวมทั้งประสานและบูรณาการการดําเนินงานในประเด็นการพัฒนาอุตสาหกรรมที่เกี่ยวข้อง และรายงานผลการปฏิบัติงานต่อ กอช. เป็นระยะ ตามความเหมาะสม ประกอบด้วย 3 กลไกสำคัญ ดังนี้

‘สุริยะ’ สั่ง กนอ.สำรวจความพร้อมรับมือน้ำท่วม คลายกังวลให้นักลงทุน - ชุมชนใกล้เคียงนิคมฯ

‘สุริยะ’ สั่ง กนอ.สำรวจความพร้อมรับมือน้ำท่วมในทุกนิคมฯ อย่างใกล้ชิด ด้าน ‘วีริศ’ มั่นใจ ทุกนิคมอุตสาหกรรมบริหารจัดการสถานการณ์ได้ แม้ปีนี้มีแนวโน้มปริมาณฝนมากกว่าปีก่อน 

นายสุริยะ จึงรุ่งเรืองกิจ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงอุตสาหกรรม สั่งการให้ทุกหน่วยงานในกระทรวงอุตสาหกรรม ติดตามสถานการณ์ พร้อมทั้งเตรียมมาตรการป้องกันน้ำท่วม เพื่อลดผลกระทบจากความเสียหายที่อาจเกิดขึ้นกับผู้ประกอบการและประชาชนในพื้นที่ที่ประสบอุทกภัย โดยได้ให้การนิคมอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย (กนอ.) กำชับไปยังนิคมอุตสาหกรรมทั้ง 67 แห่งทั่วประเทศ ให้ติดตามและเฝ้าระวังการเกิดน้ำท่วมฉับพลัน โดยเฉพาะพื้นที่ที่มีความเสี่ยง เช่น นิคมอุตสาหกรรมบางปะอิน นิคมอุตสาหกรรมบ้านหว้า (ไฮเทค) และนิคมอุตสาหกรรมนครหลวง ที่ตั้งอยู่ในพื้นที่จังหวัดพระนครศรีอยุธยา ซึ่งเป็นพื้นที่ราบลุ่มต่ำและติดแม่น้ำเจ้าพระยา เนื่องจากมีความเสี่ยงที่จะเกิดน้ำท่วมฉับพลันได้ รวมถึงนิคมอุตสาหกรรมบางปู จังหวัดสมุทรปราการ ที่พื้นที่อยู่ใกล้ทะเล อาจจะเกิดน้ำทะเลหนุนได้ในบางช่วง และยังอยู่ใกล้กับชุมชนอีกด้วย

“ผมได้สั่งการไปยัง กนอ.ให้กำชับทุกนิคมอุตสาหกรรมติดตามสถานการณ์น้ำอย่างใกล้ชิด เพื่อเตรียมความพร้อมรับมือน้ำท่วม รวมถึงกรณีที่อาจมีฝนตกหนักอย่างต่อเนื่องด้วย เพื่อป้องกันไม่ให้นักลงทุน ผู้พัฒนานิคมอุตสาหกรรม รวมทั้งชุมชนที่อยู่ใกล้เคียงเกิดความวิตกกังวล โดยเฉพาะแรงงานที่ต้องเดินทางมาทำงานในนิคมฯ นั้น ต้องหาแนวทางเพื่ออำนวยความสะดวกให้เท่าที่สามารถจะทำได้ ทั้งนี้ได้รับรายงานจาก กนอ.ว่าแต่ละนิคมอุตสาหกรรมมีมาตรการป้องกันน้ำท่วมอย่างชัดเจน และบางนิคมอุตสาหกรรมยังมีการสร้างเขื่อนป้องกันน้ำท่วมไว้ล่วงหน้าแล้ว ซึ่งเชื่อมั่นว่าจะสามารถรับมือกับสถานการณ์น้ำได้อย่างแน่นอน ขณะเดียวกันได้มีการติดตามข้อมูลการระบายน้ำจากทั้ง 3 เขื่อน ได้แก่ เขื่อนเจ้าพระยา เขื่อนป่าสักชลสิทธิ์ และเขื่อนพระราม 6 อย่างใกล้ชิด พร้อมจัดเจ้าหน้าที่เฝ้าระวังตรวจสอบระดับน้ำและปริมาณน้ำฝนตลอด 24 ชั่วโมง” นายสุริยะ กล่าว

‘สุริยะ’ เผย ก.อุตฯ เร่งผลักดันอุตฯ อิเล็กทรอนิกส์ มุ่งสู่มาตรฐาน IEC ลดข้อกีดกันทางการค้าผู้ส่งออก

“ก.อุตฯ” เร่งผลักดันแผนการดำเนินงานด้านมาตรฐานอุตสาหกรรมไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์ของไทย ตาม IEC ลดข้อกีดกันทางการค้าให้ผู้ส่งออกไทย

นายสุริยะ จึงรุ่งเรืองกิจ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงอุตสาหกรรม เปิดเผยว่า “กระทรวงอุตสาหกรรม เร่งผลักดันแผนการดำเนินงานด้านมาตรฐานอุตสาหกรรมไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์ของไทยให้สอดคล้องกับความต้องการของตลาดโลก และสอดคล้องกับแผนยุทธศาสตร์ของคณะกรรมาธิการระหว่างประเทศว่าด้วยมาตรฐานสาขาอิเล็กทรอเทคนิกส์ (International Electrotechnical Commission – IEC)  ที่จะประกาศใช้ต้นปี 2566 โดยยังคงให้สอดคล้องกับนโยบายรัฐบาลในการขับเคลื่อน BCG Economy Model และการปล่อยก๊าซเรือนกระจกสุทธิเป็นศูนย์ (Net Zero) ที่เน้นการใช้ทรัพยากรอย่างคุ้มค่า คำนึงถึงการนำวัสดุต่าง ๆ กลับมาใช้ประโยชน์ให้มากที่สุด ซึ่งจะนำไปสู่การแก้ไขปัญหาสิ่งแวดล้อมอย่างยั่งยืน เพื่อให้อุตสาหกรรมไฟฟ้าของไทยก้าวสู่สังคมดิจิทัลทัดเทียมกับประชาคมโลกได้ โดยที่ผู้ประกอบการไทยจะต้องไม่เสียโอกาสในการแข่งขันทางการค้ากับต่างประเทศด้วย” นายสุริยะฯ กล่าว

นายจุลพงษ์ ทวีศรี รองปลัดกระทรวงอุตสาหกรรม ในฐานะประธานคณะกรรมการแห่งชาติว่าด้วยมาตรฐานเทคนิคทางไฟฟ้าระหว่างประเทศ (บอร์ด กมฟท.) กล่าวว่า บอร์ด กมฟท. ตั้งขึ้นเพื่อทำหน้าที่กำหนดนโยบายและพัฒนางานมาตรฐานที่เกี่ยวข้องกับ IEC เพื่อปกป้องผลประโยชน์ของผู้ประกอบการไทย โดยมีคณะกรรมการซึ่งเป็นผู้แทนจากหน่วยงานที่เกี่ยวข้องทั้งภาครัฐและเอกชน อาทิ กรมพัฒนาพลังงานทดแทนและอนุรักษ์พลังงาน สถาบันวิจัยวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งประเทศไทย การไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย สถาบันไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์ และสภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย เป็นต้น โดยมีสำนักงานมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม เป็นฝ่ายเลขานุการ ซึ่งในการประชุมประจำเดือนกันยายนที่ผ่านมา ได้มีมติเห็นชอบกรอบแผนการดำเนินงานด้านมาตรฐานอุตสาหกรรมไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์ของประเทศไทย ให้รองรับสังคมดิจิทัลที่มีความปลอดภัย รวมทั้งพัฒนามาตรฐานและการตรวจสอบรับรองสาขาอัจฉริยะ (SMART) ให้สอดคล้องกับความต้องการของตลาดโลก พร้อมทั้งจัดทำแนวทางการแก้ไขปัญหาก๊าซเรือนกระจกอีกด้วย และในการประชุมบอร์ดครั้งต่อไปในเดือนมีนาคม 2566 จะเชิญผู้แทนจาก IEC มานำเสนอแผนยุทธศาสตร์ของ IEC เพื่อนำมาใช้เป็นแนวทางในการจัดทำแผนการดำเนินงานด้านมาตรฐานอุตสาหกรรมไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์ของไทยด้วย

'สุริยะ' ยันชาวไร่อ้อยเตรียมรับเงินตัดอ้อยสด อัตรา 120 บาท/ตัน พ.ย.นี้ หวังช่วยลดฝุ่น PM 2.5

ครม. อนุมัติ 8,319.74 ล้านบาท โครงการช่วยเหลือเกษตรกรชาวไร่อ้อยตัดอ้อยสดเพื่อลดฝุ่น PM 2.5 ฤดูการผลิตปี 2564/65 คาดจ่ายเงินช่วยเหลือได้ภายในเดือนพฤศจิกายน 2565"

นายสุริยะ จึงรุ่งเรืองกิจ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงอุตสาหกรรม เปิดเผยว่า จากมติคณะรัฐมนตรี เมื่อวันที่ 20 กันยายน 2565 เห็นชอบโครงการช่วยเหลือเกษตรกรชาวไร่อ้อยตัดอ้อยสดเพื่อลดฝุ่น PM 2.5 ฤดูการผลิตปี 2564/65 โดยมีนโยบายช่วยเหลือชาวไร่อ้อยทุกรายที่ตัดอ้อยสดคุณภาพดีส่งโรงงานเท่านั้น ในอัตรา 120 บาทต่อตัน เช่นเดียวกับฤดูการผลิตปี 2563/64 ซึ่งมีเกษตรกรชาวไร่อ้อยที่ตัดอ้อยสดส่งโรงงานเพื่อผลิตน้ำตาลทราย ผลิตเอทานอล และผลิตน้ำตาลทรายแดงได้ประโยชน์รวมกว่า 200,000 ราย คาดว่าจะสามารถเริ่มจ่ายเงินช่วยเหลือภายในเดือนพฤศจิกายน 2565 โครงการช่วยเหลือเกษตรกรชาวไร่อ้อยตัดอ้อยสดดังกล่าว เป็นอีกหนึ่งโครงการที่เกิดขึ้นตามนโยบายแก้ไขปัญหามลพิษด้านฝุ่นละอองขนาดเล็ก (PM 2.5) ของรัฐบาล


TRENDING
© Copyright 2021, All rights reserved. THE STATES TIMES
Take Me Top