Monday, 20 May 2024
สุริยะจึงรุ่งเรืองกิจ

‘สุริยะ’ ผนึก METI สานต่อความร่วมมือ ไทย-ญี่ปุ่น ยัน ‘โซนี่กรุป’ ปักหมุดไทย ขยายรง.เซมิคอนดัคเตอร์

รมว.อุตสาหกรรรม ผนึก METI ดึงบริษัทยักษ์ใหญ่ญี่ปุ่นลงทุนในไทยเพิ่ม ยกระดับผู้ประกอบการเอสเอ็มอี เสริมศักยภาพเศรษฐกิจไทย ยัน ‘โซนี่กรุปคอร์ปอเรชัน’ เตรียมขยายโรงงานการผลิตเซมิคอนดัคเตอร์ในไทย ส่วนโตโยต้า ลุย EV

(16 พ.ย. 65) กระทรวงอุตสาหกรรม พร้อมด้วย กระทรวงเศรษฐกิจ การค้า และอุตสาหกรรม หรือ METI ประเทศญี่ปุ่น หารือกรอบความร่วมมือการพัฒนาอุตสาหกรรม 2 ประเทศ หวังดึงกลุ่มทุนข้ามชาติร่วมพัฒนาศักยภาพเอสเอ็มอีไทย กระตุ้นการเติบโตทางเศรษฐกิจด้วยศักยภาพต่างแดน พร้อมเร่งสร้างบุคลากรเชี่ยวชาญเทคโนโลยีดิจิทัลเข้าสู่ภาคอุตสาหกรรม ภายใต้กรอบการทำงานร่วมกันตลอดจนพัฒนาระบบการขึ้นทะเบียนที่ปรึกษาเพื่อรองรับบุคลากรที่ผ่านการพัฒนาทักษะและองค์ความรู้จากโครงการต่าง ๆ ในฐานะผู้เชี่ยวชาญด้าน Digitalization เพื่อตอบสนองต่อเป้าหมายการสร้าง System Integrator ตลอดจนยกระดับภาคการผลิตเข้าสู่อุตสาหกรรม 4.0 ให้ประเทศไทยเป็นผู้นำการผลิตและใช้หุ่นยนต์และระบบอัตโนมัติของอาเซียน ล่าสุดข้อมูลต้นปี 2565 ญี่ปุ่นยังเชื่อมั่นการลงทุนไทย ผ่านการลงทุนโครงการต่าง ๆ เป็นจำนวนร้อยละ 23 ของโครงการลงทุนจากต่างประเทศทั้งหมด

นายสุริยะ จึงรุ่งเรืองกิจ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงอุตสาหกรรม เปิดเผยว่า กระทรวงอุตสาหกรรม และกระทรวงเศรษฐกิจ การค้า และอุตสาหกรรม (Ministry of Economy, Trade and Industry, METI) ได้ร่วมมือกันในด้านการพัฒนาและยกระดับภาคอุตสาหกรรมของทั้งสองประเทศมาอย่างต่อเนื่อง ล่าสุดได้ร่วมประชุมกับ นายนิชิมุระ ยาสึโทชิ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเศรษฐกิจ การค้า และ อุตสาหกรรม (METI) ประเทศญี่ปุ่น ผ่านการหารือเพิ่มเติมเกี่ยวกับแนวทางการดำเนินงานด้านการส่งเสริมภาคอุตสาหกรรมและกำหนดแนวทางการดำเนินงานความร่วมมือในอนาคต ระหว่างการประชุมเอเปค 2022 ที่ประเทศไทยเป็นเจ้าภาพ 

โดยการประชุมครั้งนี้มุ่งส่งเสริมภาคอุตสาหกรรม พร้อมกำหนดความร่วมมือในอนาคต ภายใต้ กรอบการทำงาน Cooperation Framework on Human Resource Development for Realizing Industry 4.0 ผ่าน 3 ประเด็นหลัก ประกอบด้วย 1. แนวทางการร่วมกันพัฒนาทักษะด้านเทคโนโลยีดิจิทัลให้แก่บุคลากรในภาคอุตสาหกรรม 2. การขับเคลื่อนนโยบาย BCG ในสาขาอุตสาหกรรมเป้าหมาย และ 3. การเสริมสร้างความเข้มแข็งให้กับห่วงโซ่อุปทานผ่านแนวคิดการร่วมสร้าง (Co-creation) และการพัฒนาความร่วมมือระหว่างภาคเอกชนไทยและญี่ปุ่น 

“การแลกเปลี่ยนกรอบความร่วมมือครั้งนี้ จะเป็นการสร้างบุคลากรที่มีคุณภาพเข้าสู่ภาคอุตสาหกรรมไทย มุ่งเน้นการสร้างโอกาสด้านการค้าและการลงทุน ตลอดจนโอกาสทางเศรษฐกิจใหม่ ๆ ผ่านการถอดบทเรียนหลังการระบาดของโรคโควิด-19 รวมทั้งสอดคล้องกับโมเดลเศรษฐกิจชีวภาพ เศรษฐกิจหมุนเวียน และเศรษฐกิจสีเขียว หรือ Bio-Circular-Green Economy : BCG Model ของไทย” นายสุริยะ กล่าว

ทั้งนี้ รัฐมนตรีอุตสาหกรรม ยังได้กล่าวเพิ่มเติมอีกว่า ที่ผ่านมา กระทรวงอุตสาหกรรม และ METI ร่วมกันยกระดับภาคอุตสาหกรรมสู่ Thailand 4.0 อย่างเป็นรูปธรรม ทั้งการใช้เทคโนโลยีเข้ามายกระดับภาคการผลิตตามเป้าประสงค์ต่าง ๆ อาทิ โครงการ Lean Automation and System Integrators (LASI) และการใช้วิธีการแก้ปัญหาด้วยความคิดสร้างสรรค์ หรือ โมโนซึกุริ ที่ใช้พลังกลที่มีอยู่ในธรรมชาติแก้ปัญหาซึ่งสามารถลดต้นทุนค่าพลังงาน ทั้งยังเป็นการเสริมสร้างความเป็นอันหนึ่งเดียวกัน โดยกรอบการทำงานที่ทั้งสองกระทรวง ได้มีการแลกเปลี่ยนกันไปเมื่อวันที่ 13 มกราคม 2565 และจะได้รับการยกระดับไปอีกขั้น โดยเฉพาะในด้านการสร้างบุคลากรเข้าสู่ภาคอุตสาหกรรมด้วยการแลกเปลี่ยนกรอบความร่วมมือในวันนี้ 

ยิ่งไปกว่านั้นภายใต้กรอบความร่วมมือดังกล่าว ยังมุ่งเน้นให้เกิดการพัฒนาระบบการขึ้นทะเบียนที่ปรึกษาเพื่อรองรับบุคลากรที่ได้รับการพัฒนาทักษะและองค์ความรู้จากโครงการต่าง ๆ ในฐานะผู้เชี่ยวชาญด้าน Digitalization เพื่อตอบสนองต่อเป้าหมายการสร้าง System Integrator เพื่อยกระดับภาคการผลิตเข้าสู่อุตสาหกรรม 4.0 ให้ประเทศไทยเป็นผู้นำการผลิตและใช้หุ่นยนต์และระบบอัตโนมัติของอาเซียน

กระทรวงอุตสาหกรรม ประกาศมาตรฐาน มอก. เอส “การบริการดัดแปลงรถยนต์และรถจักรยานยนต์ไฟฟ้า” รับกระแสความนิยมยานยนต์ไฟฟ้าของผู้บริโภค พร้อมเปิดโผ มอก.เอสที่จะประกาศปีหน้าอีก 80 มาตรฐาน 

นายสุริยะ  จึงรุ่งเรืองกิจ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงอุตสาหกรรม เปิดเผยว่า กระทรวงอุตสาหกรรม ได้เร่งรัดให้สำนักงานมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม (สมอ.) จัดทำมาตรฐานยานยนต์ไฟฟ้าและที่เกี่ยวข้องออกมาอย่างต่อเนื่อง  โดยล่าสุดได้ออกประกาศมาตรฐานอุตสาหกรรมเอส หรือ มอก.เอส ซึ่งเป็นมาตรฐานที่กำหนดขึ้นเพื่อให้การรับรองคุณภาพผลิตภัณฑ์และบริการของผู้ประกอบการ SMEs หรือวิสาหกิจชุมชนที่ต้องการเครื่องหมายการันตีสินค้าหรือบริการ เพื่อสร้างความเชื่อมั่นแก่ผู้บริโภค จำนวน 2 มาตรฐาน ได้แก่ การบริการดัดแปลงรถยนต์ไฟฟ้าและการบริการดัดแปลงรถจักรยานยนต์ไฟฟ้า หลังผู้บริโภคให้ความสนใจเปลี่ยนมาใช้ยานยนต์ไฟฟ้าเพิ่มมากขึ้นอย่างต่อเนื่อง 

ในขณะเดียวกันผู้บริโภคบางส่วนเลือกที่จะนำรถยนต์หรือรถจักรยานยนต์ที่มีอยู่ไปดัดแปลงให้เป็นรถยนต์ไฟฟ้าหรือรถจักรยานยนต์ไฟฟ้า เพื่อประหยัดค่าใช้จ่ายในการซื้อรถไฟฟ้าคันใหม่ จึงนับว่าเป็นโอกาสที่ผู้ประกอบการ SMEs ที่อยู่ในอุตสาหกรรมชิ้นส่วนยานยนต์ หรือ อู่ซ่อมรถต่าง ๆ จำนวนหลายร้อยรายในประเทศ จะได้มีโอกาสพัฒนาศักยภาพการให้บริการ และมีเวลาปรับตัวเพื่อเข้าสู่อุตสาหกรรมยานยนต์ไฟฟ้าในอนาคต และหากพัฒนาจนได้รับการรับรองมาตรฐานการบริการดัดแปลงรถไฟฟ้า ก็สามารถสร้างโอกาสเติบโตทางธุรกิจดัดแปลงรถยนต์สันดาปเป็นรถยนต์ไฟฟ้า  (EV Conversion) ได้ 

'สุริยะ' สั่งเร่งเครื่องหนุนอุตสาหกรรมยานยนต์ไฟฟ้าเต็มสูบ หลังยอดจองรถไฟฟ้าในงาน Motor Expo 2022 พุ่ง!!

'สุริยะ' เผยยอดจองรถยนต์ไฟฟ้าทะลุ 5,800 คัน ในงาน Motor Expo 2022 สั่งเร่งเครื่องหนุนอุตสาหกรรมยานยนต์ไฟฟ้าเต็มสูบ!

รัฐมนตรีว่าการกระทรวงอุตสาหกรรม ปลื้มกระแสตอบรับรถยนต์ไฟฟ้าในประเทศมาแรง ดันยอดจองรถยนต์ไฟฟ้า ภายในงาน Motor Expo 2022 รวมทั้งสิ้น 5,800 คัน สั่งการเร่งขับเคลื่อนปัจจัยแวดล้อมให้เอื้อต่อการลงทุนเพื่อสร้างศักยภาพและความเข้มแข็งให้กับอุตสาหกรรมยานยนต์ไฟฟ้า หลังพบว่าประชาชนมีความต้องการซื้อรถยนต์ไฟฟ้ามากขึ้น 

นายสุริยะ จึงรุ่งเรืองกิจ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงอุตสาหกรรม กล่าวถึงงานมหกรรมยานยนต์ ครั้งที่ 39 หรือ Motor Expo 2022 ที่ปิดฉากลงไปเมื่อวันที่ 12 ธันวาคมที่ผ่านมา มีผู้เข้าชมงานสูงถึง 1.3 ล้านคน และมียอดจองรถยนต์ภายในงานรวมทั้งสิ้น 36,679 คัน เพิ่มขึ้นร้อยละ 16.1 จากปีที่ผ่านมา คิดเป็นมูลค่ากว่า 50,000 ล้านบาท โดยเป็นยอดจองรถยนต์ไฟฟ้ามากถึง 5,800 คัน คิดเป็นร้อยละ 15 ของยอดรวมจองรถยนต์ แบ่งเป็น BYD 2,714 คัน ORA 1,212 คัน MG 600 คัน Neta 827 คัน Mine 32 คัน Volt  210 คัน Pocco 30 คัน Porsche 70 คัน Mercedes-Benz 30 คัน และอื่น ๆ 75 คัน 

โดยส่วนหนึ่งมาจากปัจจัยด้านราคาน้ำมันที่ยังคงผันผวน มาตรการอุดหนุนรถยนต์ไฟฟ้าของภาครัฐทำให้มีราคาลดลง ประกอบกับค่ายรถยนต์ต่าง ๆ มีการเปิดตัวรถไฟฟ้ารุ่นใหม่ ๆ ที่แนะนำในช่วงงานหลายรุ่น ขณะที่ผู้บริโภคเริ่มให้ความเชื่อมั่นในมาตรฐานมากขึ้น รวมถึงแคมเปญกระตุ้นยอดขายของแต่ละค่ายที่อัดโปรโมชันแบบจัดเต็ม 

นอกจากนี้ ในปีที่ผ่านมาเริ่มเห็นสัญญาณการลงทุนจากค่ายรถต่าง ๆ เข้ามาประกอบกิจการรถยนต์ไฟฟ้าในประเทศไทยเพิ่มขึ้น สอดคล้องกับนโยบายรัฐบาลที่ต้องการให้ประเทศไทยเป็นศูนย์กลางในการผลิตรถยนต์ไฟฟ้า โดยอุตสาหกรรมยานยนต์และชิ้นส่วนยานยนต์เป็นหนึ่งในอุตสาหกรรมหลักที่ขับเคลื่อนเศรษฐกิจของประเทศไทย มียอดการผลิตรถยนต์ตั้งแต่เดือนมกราคม – ตุลาคม 2565 กว่า 1,534,754 คัน เพิ่มขึ้นจากช่วงเวลาเดียวกันของปี 2564 ร้อยละ 12.36 ทำให้คาดการณ์ว่าสิ้นปี 2565 ประเทศไทยจะสามารถผลิตรถยนต์ได้มากกว่า 1.75 ล้านคัน ได้อย่างแน่นอน

ทั้งนี้ ทางกระทรวงอุตสาหกรรม ได้หารือร่วมกับหน่วยงานภาครัฐ สมาคมยานยนต์ไทย สมาคมผู้ผลิตชิ้นส่วนยานยนต์ไทย และภาคเอกชนที่เกี่ยวข้องกำหนดวิสัยทัศน์ให้ไทยเป็นศูนย์กลางการผลิตยานยนต์ไฟฟ้าและชิ้นส่วนที่สำคัญของภูมิภาค โดยกำหนดเป้าหมายในปี 2568 การผลิตรถยนต์ไฟฟ้าในประเทศรวม 225,000 คันต่อปี คิดเป็นร้อยละ 10 ของการผลิตรถยนต์ทั้งหมด และในปี 2573 การผลิตรถยนต์ไฟฟ้าในประเทศรวม 725,000 คันต่อปี คิดเป็นร้อยละ 30 ของการผลิตรถยนต์ทั้งหมด ซึ่งจะทำให้ภายในปี 2573 สามารถสร้างมูลค่าเพิ่มให้กับผลิตภัณฑ์มวลรวมในประเทศ (GDP) ไม่น้อยกว่า 200,000 ล้านบาท และสร้างความต้องการแรงงานยานยนต์สมัยใหม่ประมาณ 30,000 อัตราต่อปี

‘สุริยะ’ เร่งนโยบายพัฒนา EV คู่มาตรฐานยูโร 6 ชี้ ไทยต้องเร่งปรับตัว ก่อนเสียตลาดส่งออกรถยนต์

กระทรวงอุตสาหกรรม เร่งพัฒนาอุตสาหกรรมยานยนต์สู่ยานยนต์ไฟฟ้า ควบคู่ผลักดันการใช้มาตรฐานยูโร 6 เพื่อยกระดับเทคโนโลยีในอุตสาหกรรมยานยนต์ พร้อมก้าวเข้าสู่สังคมคาร์บอนต่ำ ชี้ หากไม่ปรับตัวอาจสูญเสียตลาดส่งออกรถยนต์

นายสุริยะ จึงรุ่งเรืองกิจ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงอุตสาหกรรม (อก.) เปิดเผยว่า กระทรวงอุตสาหกรรมมีนโยบายในการพัฒนาอุตสาหกรรมยานยนต์ไปสู่ยานยนต์ไฟฟ้า ควบคู่ไปกับผลักดันยานยนต์ที่มีมาตรฐานการปล่อยมลพิษตามมาตรฐานยูโร 6 (EURO 6) ให้เร็วขึ้น เพื่อยกระดับการส่งออกและการผลิตตามมาตรฐานที่ประเทศคู่ค้ากำหนด ซึ่งประเทศชั้นนำส่วนใหญ่ในตลาดโลกได้ปรับตัวใช้มาตรฐานยูโร 6 แล้ว เช่น สหภาพยุโรป ออสเตรเลีย ญี่ปุ่น และ จีน ดังนั้น อก. จึงมีนโยบายเร่งผลักดันอุตสาหกรรมให้เปลี่ยนผ่านไปสู่ยานยนต์ไฟฟ้า และยานยนต์สมัยใหม่ที่สอดรับกับเทรนด์ตลาดโลก และเป็นแนวทางสำคัญที่ช่วยลดการปล่อยมลพิษ รวมถึงฝุ่น PM 2.5 เพื่อให้คุณภาพชีวิตของประชาชนดีขึ้น ลดอัตราการเจ็บป่วย ก้าวเข้าสู่สังคมคาร์บอนต่ำ (Low Carbon Society) ตลอดจนเป็นการผลักดันให้ประเทศไทยบรรลุเจตนารมณ์ที่จะช่วยลดภาวะโลกร้อน รวมทั้งสอดรับกับการขับเคลื่อนเศรษฐกิจไทยภายใต้โมเดลเศรษฐกิจใหม่ (BCG Model) ที่มุ่งเน้นยกระดับศักยภาพการผลิตให้เป็นมาตรฐานสากลและเป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม โดยเริ่มต้นจากการสร้างความเข้มแข็งจากภายใน และเชื่อมโยงประเทศไทยเข้าเป็นห่วงโซ่อุปทานการผลิตโลกได้อย่างยั่งยืน

“การก้าวข้ามการพัฒนามาตรฐานการปล่อยมลพิษจากยูโร 4 ไปสู่ยูโร 6 ถือเป็นยุทธศาสตร์ที่สร้างความได้เปรียบในการแข่งขันให้กับอุตสาหกรรมยานยนต์ไทยในหลากหลายมิติ ทั้งการสร้างความเชื่อมั่น การดึงดูดการลงทุนจากต่างชาติที่เน้นการพัฒนาเทคโนโลยีขั้นสูงและพลังงานสะอาด ช่วยสนับสนุนการจ้างงานภายในประเทศ สร้างแต้มต่อในการเป็นศูนย์กลางการผลิต และส่งออกรถยนต์ในภูมิภาค ซึ่งหากประเทศไทยไม่เร่งปรับตัวอย่างจริงจังอาจสูญเสียโอกาสในการเป็นฐานการผลิต 10 อันดับแรกในตลาดโลก และอันดับ 1 ในอาเซียนได้ ดังเช่นเวียดนามที่มีการตั้งโรงงานผลิตรถยนต์ไฟฟ้า VINFAST รวมทั้งประกาศใช้มาตรฐานยูโร 5 ตั้งแต่ปี 2565 ซึ่งเป็นการสร้างสภาพแวดล้อมเพื่อเอื้อให้เกิดการลงทุนในประเทศ และพยายามแย่งชิงโอกาสในการเป็นฐานการผลิตยานยนต์สมัยใหม่ในภูมิภาค หากประเทศไทยไม่ปรับตัว อาจสูญเสียตลาดส่งออกรถยนต์ที่มีการบังคับใช้มาตรฐานการปล่อยมลพิษที่สูงกว่า และในระยะยาวอาจเกิดการย้ายฐานการผลิตยานยนต์ ซึ่งจะส่งผลกระทบต่อเนื่องต่อแรงงานในอุตสาหกรรมยานยนต์ประมาณ 650,000 คน” นายสุริยะ กล่าว

'สุริยะ' กำชับเลิกเผาอ้อย – ขอโรงงานเลิกรับซื้อ หวังคืนอากาศบริสุทธิ์ให้คนไทย – หนุนการท่องเที่ยว

'สุริยะ' สั่ง กอน. เร่งประชุมเคาะมาตรการดูแลชาวไร่ กำชับเลิกเผาอ้อย ขอโรงงานเลิกรับซื้อ ประสานมหาดไทย-ทส. อัพเดตข้อมูลลอบเผาอ้อยแบบเรียลไทม์แจ้งเตือน ปชช.ทั่วประเทศ พร้อมคืนอากาศบริสุทธิ์ให้คนไทย-หนุนการท่องเที่ยว

นายสุริยะ จึงรุ่งเรืองกิจ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงอุตสาหกรรม เปิดเผยว่า เมื่อวันที่ 26 ธันวาคม 2565 กระทรวงอุตสาหกรรมได้เชิญตัวแทน 4 องค์กรชาวไร่อ้อย ได้แก่ สหพันธ์ชาวไร่อ้อยแห่งประเทศไทย ชมรมสถาบันชาวไร่อ้อยภาคอีสาน สหสมาคมชาวไร่อ้อยแห่งประเทศไทย และสมาพันธ์ชาวไร่อ้อยแห่งประเทศไทย มาหาทางออกร่วมกันสำหรับมาตรการส่งเสริมอ้อยและน้ำตาลทรายในปีนี้ ซึ่งรวมถึงการกำหนดราคา และมาตรการลดฝุ่น PM2.5 ที่เกิดจาการลักลอบเผาอ้อยที่ส่งผลกระทบต่อสังคมในวงกว้าง โดยที่ประชุมได้ขอให้กระทรวงอุตสาหกรรมเร่งประชุมคณะกรรมการอ้อยและน้ำตาลทราย (กอน.) เพื่อขับเคลื่อนมาตรการต่าง ๆ เพื่อดูแลชาวไร่ ตลอดจนอุตสาหกรรมอ้อยและน้ำตาลทรายทั้งระบบ 

ทั้งนี้ กระทรวงอุตสาหกรรมและชาวไร่อ้อย จะร่วมกันเร่งเดินหน้าแก้ไขปัญหามลพิษด้านฝุ่นละอองของประเทศที่เกิดจากการเผาอ้อย โดยกำหนดเป้าหมาย ลดการเผาอ้อยในฤดูการผลิตปี 2565/2566 เป็น 0% ตามมติคณะรัฐมนตรี(ครม.) โดยเกษตรกรที่ให้ความร่วมมือตัดอ้อยสดรัฐบาลพร้อมช่วยเหลือแน่นอน

‘สุริยะ’ เผยดัชนี MPI 11 เดือน โต 1.55% คาดปี 2566 จะขยายตัวช่วง 2.5 – 3.5%

กระทรวงอุตสาหกรรม เผย MPI เดือน พ.ย. ปี 65 ขยายตัวจากเดือนก่อน 1.55% รับเศรษฐกิจในประเทศฟื้น คาดปีหน้าดัชนีภาคอุตฯ ขยายตัวต่อเนื่องหลังเศรษฐกิจในประเทศและการท่องเที่ยวขยายตัว 

นายสุริยะ จึงรุ่งเรืองกิจ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงอุตสาหกรรม (อก.) เปิดเผยว่า สถานการณ์การผลิตภาคอุตสาหกรรมยังคงขยายตัวต่อเนื่องจากการบริโภคในประเทศเป็นหลัก ส่งผลให้ดัชนีผลผลิตอุตสาหกรรม (MPI) เดือนพฤศจิกายน ปี 2565 อยู่ที่ 95.11 ขยายตัวร้อยละ 1.55 เมื่อเทียบกับเดือนก่อน และมีอัตราการใช้กำลังการผลิตอยู่ที่ร้อยละ 62.63 สำหรับภาพรวมดัชนี MPI สะสม 11 เดือนของปี 2565 เฉลี่ยอยู่ที่ 98.68 ขยายตัวร้อยละ 1.41 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน โดยมีอัตราการใช้กำลังการผลิต สะสม 11 เดือน เฉลี่ยอยู่ที่ร้อยละ 63.02 เป็นผลจากการขยายตัวของกิจกรรมทางเศรษฐกิจในประเทศและการท่องเที่ยวที่ฟื้นตัวดีขึ้น สะท้อนจากตัวเลขนักท่องเที่ยวต่างชาติที่กลับเข้ามาท่องเที่ยวในไทยเพิ่มขึ้น นอกจากนี้ ปัญหาข้อจำกัดในการผลิตได้คลี่คลายลง อาทิ ค่าระวางเรือมีทิศทางลดลง รวมถึงปัญหาการขาดแคลนเซมิคอนดักเตอร์ที่ปรับตัวดีขึ้น ทำให้คาดว่าดัชนีอุตสาหกรรมจะขยายตัวต่อเนื่องในปี 2566

นางวรวรรณ ชิตอรุณ ผู้อำนวยการสำนักงานเศรษฐกิจอุตสาหกรรม (สศอ.) กล่าวว่า ดัชนีผลผลิตอุตสาหกรรม (MPI) เดือนพฤศจิกายน 2565 หดตัวร้อยละ 5.60 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน เนื่องจากการปิดซ่อมบำรุงใหญ่ของโรงงานในอุตสาหกรรมน้ำมันปิโตรเลียมและอุตสาหกรรมเม็ดพลาสติก ซึ่งจะกลับมาผลิตเป็นปกติในเดือนธันวาคม 2565 โดยอุตสาหกรรมหลักที่ขยายตัวในเดือนพฤศจิกายน 2565 ยังคงเป็นยานยนต์ จากรถบรรทุกปิกอัพ รถยนต์นั่งขนาดเล็ก และรถยนต์นั่งขนาดกลาง ที่สามารถผลิตได้ต่อเนื่อง น้ำมันปาล์มจากน้ำมันปาล์มดิบและน้ำมันปาล์มบริสุทธิ์ หลังจากราคาปาล์มน้ำมันในปีก่อนปรับสูงขึ้น จึงเป็นแรงจูงใจให้เกษตรกรมีการบำรุงต้นและลูกปาล์ม ส่งผลให้ปีนี้ปริมาณผลผลิตปาล์มน้ำมันออกสู่ตลาดจำนวนมากกว่าปีก่อน และเครื่องปรับอากาศที่กลับมาเร่งผลิตได้อีกครั้ง ทั้งนี้ ในเดือนธันวาคม 2565 คาดว่าดัชนี MPI จะขยายตัวจากปัญหาการขาดแคลนเซมิคอนดักเตอร์คลี่คลาย ทำให้อุตสาหกรรมต่อเนื่องสามารถกลับมาเร่ง การผลิตได้อีกครั้ง รวมถึงเศรษฐกิจในประเทศมีทิศทางที่ดีขึ้น จากการฟื้นตัวของภาคการท่องเที่ยวและการบริโภคในประเทศ แต่อย่างไรก็ตาม อุปสงค์สินค้าในตลาดโลกเป็นปัจจัยที่ต้องติดตามใกล้ชิด ด้วยตลาดส่งออกสำคัญมีแนวโน้มจะเข้าสู่เศรษฐกิจถดถอยจากภาวะเงินเฟ้อและราคาพลังงาน

ทั้งนี้ สศอ. ได้คาดการณ์ดัชนี MPI ปี 2566 จะขยายตัวอยู่ที่ร้อยละ 2.5 – 3.5 จากแนวโน้มเศรษฐกิจในประเทศมีทิศทางที่ดีขึ้น การฟื้นตัวของภาคการท่องเที่ยวและการบริโภคในประเทศ รวมถึงมาตรการช่วยเหลือของภาครัฐ อย่างไรก็ตาม ปัจจัยเสี่ยงที่ควรเฝ้าระวังและติดตาม ได้แก่ ราคาพลังงานที่ทรงตัวในระดับสูง การปรับค่าไฟฟ้าผันแปรอัตโนมัติ (Ft) และการปรับขึ้นค่าแรงขั้นต่ำ ส่งผลให้ต้นทุนการผลิตเพิ่มขึ้น ปัญหาเงินเฟ้อ ความผันผวนของอัตราแลกเปลี่ยนกระทบต่อภาคการส่งออก และทิศทางเศรษฐกิจโลกชะลอตัวจากภาวะเศรษฐกิจที่ชะลอตัวในหลาย ๆ ประเทศทั่วโลก รวมถึงตลาดส่งออกที่สำคัญของไทย 

สำหรับอุตสาหกรรมหลักที่ส่งผลบวกต่อดัชนีผลผลิตในเดือนพฤศจิกายน 2565 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน ได้แก่

'สุริยะ' ชี้!! 6 เมกะเทรนด์เปลี่ยนโลกธุรกิจในอีก 3 ปี ผู้ประกอบการต้องปรับ 'สินค้า-บริการ' ให้สอดคล้อง

กระทรวงอุตสาหกรรม หรือ MIND แนะผู้ประกอบการปรับตัวรับ 6 เมกะเทรนด์เพื่อสร้างโอกาสทางธุรกิจ พร้อมพุ่งเป้าปรับโครงสร้างการผลิตสู่เศรษฐกิจฐานนวัตกรรม ภายใต้แนวคิด 'Industry 4.0' ที่ขับเคลื่อนด้วยองค์ความรู้และเทคโนโลยีขั้นสูง มีความคิดสร้างสรรค์และนวัตกรรม ที่จะช่วยเพิ่มมูลค่าสินค้า และเป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม เพื่อพัฒนาอุตสาหกรรมไทยให้พร้อมเดินไปข้างหน้าอย่างมั่นคง และยั่งยืน

(29 ธ.ค. 65) นายสุริยะ จึงรุ่งเรืองกิจ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงอุตสาหกรรม หรือ MIND เผย 6 เมกะเทรนด์ที่จะเข้ามามีบทบาทในการดำเนินธุรกิจในอีก 3 ปีข้างหน้า ผู้ประกอบการควรพัฒนาสินค้าและบริการให้สอดคล้องกับเมกะเทรนด์และพฤติกรรมผู้บริโภคที่เปลี่ยนแปลงไป เพื่อสร้างโอกาสการเติบโตทางธุรกิจ ซึ่งแบ่งเป็น 3 แนวทาง...

โดยแนวทางแรก คือ 2 เทรนด์ต้องเร่งทำ ได้แก่...

1) Digitalization หรือระบบเศรษฐกิจดิจิทัล ทุกธุรกิจต้องปรับตัวให้ทันกับการค้าในรูปแบบออนไลน์ผ่านแพลตฟอร์มต่างๆ เนื่องจากตลาดสินค้าและบริการในปัจจุบันกลายเป็น 'ตลาดของผู้บริโภค' ที่ผู้บริโภคสามารถเลือกซื้อสินค้าได้อย่างรวดเร็ว ส่งผลให้สินค้ามีการหมุนเวียนเร็วขึ้น ผู้ประกอบการจึงต้องปรับตัว นำสินค้าเข้าสู่หน้าร้านออนไลน์ให้ไว ตอบโจทย์ความต้องการของผู้บริโภคที่ต้องการความรวดเร็ว 

และ 2) Globalization หรือโลกาภิวัตน์ ที่เชื่อมโยงทุกสรรพสิ่งเข้าด้วยกัน เป็นโอกาสและความท้าทายที่ทุกธุรกิจต้องเผชิญ ผู้ประกอบการควรศึกษาการเข้าสู่ตลาดแพลตฟอร์มออนไลน์ต่างประเทศเพื่อเพิ่มโอกาสเติบโตและขยายตลาดให้กว้างขึ้น พร้อมบริหารจัดการความเสี่ยง ควบคุมปัจจัยการผลิต
อย่างระมัดระวัง 

แนวทางที่ 2 คือ 2 เทรนด์ต้องเร่งเสริม ได้แก่...

1) New Technologies ความก้าวหน้าทางเทคโนโลยี ทั้งทางด้านเทคโนโลยีการส่งผ่านข้อมูลดิจิทัล และเทคโนโลยีการประหยัดพลังงานและสิ่งแวดล้อม ที่จะช่วยอำนวยความสะดวกให้การทำธุรกิจมีประสิทธิภาพมากขึ้น ทั้งความรวดเร็ว แม่นยำ ซึ่งจะทำให้ผู้ประกอบการประหยัดงบประมาณได้มากขึ้น 

และ 2) Collaborative Business Models การผสานความร่วมมือทางธุรกิจ เพื่อความยั่งยืนของธุรกิจ การร่วมมือและช่วยเหลือพึ่งพากันเป็นสิ่งสำคัญที่จะช่วยกระจายความเสี่ยงและผลกำไรของกิจการระหว่างกันเป็นกลุ่มก้อนซึ่งจะส่งผลดีต่อทุกภาคส่วน

‘สุริยะ’ ปัดตอบ ‘สามมิตร’ ย้ายตามบิ๊กตู่ ย้อนถามสื่อ “ถามหลายครั้งไม่เบื่อเหรอ”

(10 ม.ค. 66) ที่ทำเนียบรัฐบาล นายสุริยะ จึงรุ่งเรืองกิจ รมว.อุตสาหกรรม ในฐานะรองหัวหน้าพรรคพลังประชารัฐ (พปชร.) ให้สัมภาษณ์หลังประชุมคณะรัฐมนตรี ถึงความชัดเจนทางการเมือง จะไปร่วมงานกับพล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี และรมว.กลาโหม ที่พรรครวมไทยสร้างชาติหรือไม่ และที่ยังตัดสินใจไม่ถือว่าช้าเกินไปหรือไม่ 

‘สุริยะ’ หนุนภาคอุตฯ ใช้ ‘ปูนไฮดรอลิก’ ทำคอนกรีต แทนปูนปอร์ตแลนด์ เพื่อลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจก

กระทรวงอุตสาหกรรม หนุนภาคอุตสาหกรรมใช้ปูนซีเมนต์ไฮดรอลิกแทนปูนซีเมนต์ปอร์ตแลนด์ ชี้เกิดก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์น้อยกว่า เร่ง สมอ. แก้ไขมาตรฐานคอนกรีตและปูนทั้ง 71 มาตรฐาน ให้สามารถใช้ปูนซีเมนต์ ไฮดรอลิกเป็นส่วนผสม เพื่อช่วยลดปริมาณก๊าซเรือนกระจก

(2 ก.พ. 66) นายสุริยะ จึงรุ่งเรืองกิจ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงอุตสาหกรรม เปิดเผยว่า ปัญหาโลกร้อนเป็นปัญหาที่ทุกฝ่ายต้องร่วมมือกันแก้ไข เพื่อบรรเทาผลกระทบทางด้านสิ่งแวดล้อมที่จะเกิดแก่ประชากรโลก กระทรวงอุตสาหกรรม ในฐานะหน่วยงานที่กำกับดูแลภาคอุตสาหกรรม จึงได้กำหนดนโยบายเพื่อร่วมแก้ไขปัญหาภาวะโลกร้อน โดยมอบหมายให้สำนักงานมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม (สมอ.) เร่งรัดดำเนินการกำหนดมาตรฐานเพื่อช่วยแก้ปัญหาดังกล่าว 

สุริยะ กล่าวว่า "ผมได้รับรายงานว่า สมอ. ได้มีการกำหนดและแก้ไขมาตรฐานผลิตภัณฑ์ที่เกี่ยวข้องกับคอนกรีตและปูนซีเมนต์ โดยให้สามารถใช้ปูนซีเมนต์ไฮดรอลิกเป็นวัตถุดิบในการทำผลิตภัณฑ์คอนกรีตต่าง ๆ แทนการใช้ปูนซีเมนต์ปอร์ตแลนด์ ซึ่งการผลิตปูนซีเมนต์ไฮดรอลิก ทำให้เกิดก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ ซึ่งเป็นหนึ่งในก๊าซเรือนกระจกน้อยกว่าการผลิตปูนซีเมนต์ปอร์ตแลนด์ โดยมีการคิดค้นพัฒนาการผลิตปูนซีเมนต์ไฮดรอลิก ซึ่งมีส่วนประกอบของปูนเม็ดในอัตราส่วนที่น้อยกว่าปูนซีเมนต์ปอร์ตแลนด์ประมาณร้อยละ 10 ของปริมาณทั้งหมด โดยใช้วัสดุอื่นมาผสมทดแทน เช่น หินปูน กากถลุง และปอซโซลาน เป็นต้น"

สุริยะ กล่าวอีกว่า จากองค์ประกอบที่มีอัตราส่วนของปูนเม็ดน้อยลง จึงทำให้เกิดก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ในกระบวนการผลิตน้อยลงตามไปด้วย โดยปูนซีเมนต์ไฮดรอลิกนั้นมีคุณสมบัติและประสิทธิภาพในการนำไปใช้งานที่ดีเทียบเท่ากับปูนซีเมนต์ปอร์ตแลนด์ หากประมาณการเบื้องต้นในเชิงของการผลิตปูนซีเมนต์ไฮดรอลิก 1 ตัน จะสามารถลดการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ได้ถึง 0.05 ตัน (CO2) เมื่อเทียบกับการผลิตปูนซีเมนต์ปอร์ตแลนด์ในปริมาณที่เท่ากัน ดังนั้น การนำปูนซีเมนต์ไฮดรอลิกมาใช้งานทดแทนปูนซีเมนต์ปอร์ตแลนด์ จึงเป็นอีกหนทางหนึ่งที่จะช่วยลดปริมาณการปล่อยก๊าซเรือนกระจก เพื่อช่วยบรรเทาปัญหาภาวะโลกร้อนได้

ในส่วนของกระทรวงอุตสาหกรรม สมอ. ได้กำหนดและแก้ไขมาตรฐานให้สามารถใช้ปูนซีเมนต์ไฮดรอลิกในการทำผลิตภัณฑ์คอนกรีตต่างๆ แล้วจำนวน 71 มาตรฐาน ปูนซีเมนต์ไฮดรอลิกจึงเป็นอีกทางเลือกหนึ่งในการแก้ปัญหาโลกร้อน ช่วยลดปริมาณการปล่อยก๊าซเรือนกระจกได้ จึงขอเชิญชวนให้ภาคอุตสาหกรรมและหน่วยงานทั้งภาครัฐและเอกชน นำปูนซีเมนต์ไฮดรอลิกมาใช้งานทดแทนปูนซีเมนต์ปอร์ตแลนด์ เพื่อนำไปสู่การแก้ไขปัญหาภาวะโลกร้อนร่วมกัน

'สุริยะ' สั่ง!! กรมโรงงานฯ เฝ้าระวังฝุ่น PM 2.5 จากโรงงาน หากพบเกินค่า สั่งหยุดและดำเนินคดีทันที

(9 ก.พ. 66) นายสุริยะ จึงรุ่งเรืองกิจ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงอุตสาหกรรม เปิดเผยว่า ได้สั่งการให้กรมโรงงานอุตสาหกรรม (กรอ.) และอุตสาหกรรมจังหวัดในปริมณฑล 5 จังหวัด เร่งดำเนินการมาตรการป้องกันและกำกับการตรวจฝุ่น PM2.5 จากการประกอบกิจการอย่างต่อเนื่อง โดยใช้ 3 มาตรการ คือ...

1.) มาตรการเร่งด่วน เข้มงวด กรณีตรวจพบโรงงานปล่อยเกินมาตรฐาน ให้ออกคำสั่งหยุดปรับปรุงแก้ไข และส่งดำเนินคดีทันที 

2.) มาตรการระยะกลาง พัฒนาระบบเฝ้าระวังและเตือนภัยมลพิษทางอากาศระยะไกล (Pollution Online Monitoring System: POMS) 

และ 3.) มาตรการระยะยาว ทบทวนและปรับปรุงมาตรฐานการระบายมลพิษทางอากาศจากโรงงานอุตสาหกรรมให้เทียบเท่ามาตรฐานสากล 

หลังดำเนินการตรวจเชิงรุกด้านฝุ่นละอองโรงงานที่มีกระบวนการเผาไหม้ โรงงานที่ใช้ถ่านหินเป็นเชื้อเพลิง โรงงานที่มีการใช้หม้อน้ำ โรงงานหลอมเหล็กหรือโลหะ โรงงานผลิตคอนกรีตผสมเสร็จ และโรงงานผลิตแอสฟัลติก ที่มีความเสี่ยงที่จะก่อให้เกิดฝุ่นละอองขนาดเล็กในกรุงเทพฯ และปริมณฑล จำนวน 896 โรงงาน ผลจากการตรวจวัดคุณภาพอากาศรอบพื้นที่เขตประกอบการ และชุมชนอุตสาหกรรม ในช่วงเดือนตุลาคม - ธันวาคม 2565 พบว่าค่า PM2.5 เป็นไปตามเกณฑ์มาตรฐานที่กำหนดไว้ตามประกาศคณะกรรมการสิ่งแวดล้อมแห่งชาติ คือ ค่าเฉลี่ยในเวลา 24 ชั่วโมง จะต้องไม่เกิน 50 ไมโครกรัมต่อลูกบาศก์เมตร และในปีนี้โรงงานมีความตื่นตัวเรื่องฝุ่นละอองขนาดเล็กมากยิ่งขึ้น ด้วยการกำกับการประกอบกิจการของตนเองให้ดีขึ้นกว่าปีที่ผ่านมา


TRENDING
© Copyright 2021, All rights reserved. THE STATES TIMES
Take Me Top