Tuesday, 14 May 2024
ราคาน้ำมัน

‘พิชัย’ ชี้!! ผูกขาดโรงกลั่น ทำราคาน้ำมันพุ่ง แนะ!! จำกัดการผูกขาดให้น้อย เพิ่มโอกาสคนรุ่นใหม่

(8 พ.ย. 65) เมื่อเ วลา 10.00 น. ที่พรรคเพื่อไทย (พท.) นายพิชัย นริพทะพันธุ์ รองประธานยุทธศาสตร์ด้านเศรษฐกิจ กล่าวว่า น่าเสียดายที่สุราเสรีไม่ผ่านการโหวตในสภา โดยแพ้ไปเพียง 2 เสียงเท่านั้น หากผ่านได้จะทำให้จำกัดการผูกขาดสุราในประเทศ เกิดการกระจายรายได้ให้กับประชาชนเป็นจำนวนมาก ซึ่งพรรคไทยรักไทยเคยคิดเรื่องนี้แล้วตั้งแต่ปี 2546 จึงหวังว่าในอนาคตเมื่อมีการเปลี่ยนแปลงทางการเมือง สุราเสรีจะเกิดขึ้นได้จริง 

ทั้งนี้ ประเทศไทยมีปัญหาการผูกขาดอย่างมาก ขนาดองค์กรระหว่างประเทศยังจัดอันดับประเทศไทยในลำดับท้าย ๆ ที่จัดการการผูกขาดได้ย่ำแย่ จึงต้องหาทางจำกัดการผูกขาดในทุกด้าน เพื่อให้โอกาสคนรุ่นใหม่สามารถพัฒนาตนเองขึ้นมาได้ ทำให้ประเทศพัฒนาขึ้นเมื่อมีการแข่งขันที่แท้จริง 

นายพิชัย กล่าวต่อว่า อยากให้มีการจำกัดการผูกขาดผลิตน้ำมันและกลั่นน้ำมันในประเทศไทย เพราะมีปัญหามาตลอด เพราะโรงกลั่น 6 โรงใน 7 โรงกลั่น เป็นของ บมจ.ปตท. ซึ่งคุมปริมาณน้ำมันสำเร็จรูปที่กลั่นแล้วเกือบทั้งหมด ทำให้มีปัญหาราคาโครงสร้างราคาน้ำมัน ดังนี้ 

1.) ราคาหน้าโรงกลั่นจะต้องเท่ากับสิงคโปร์โดยไม่บวกค่าขนส่ง ราคาขายในประเทศจะต้องเท่ากับราคาส่งออก เพราะบริษัทในเครือ บมจ.ปตท. ขยายการกลั่นเพื่อการส่งออก แสดงว่าราคาส่งออกก็กำไรอยู่แล้ว 

2.) ค่าการตลาดควรจะถูกจำกัดที่ลิตรละ 1.40 บาท ตามที่รัฐบาลได้กำหนดไว้ อย่าปล่อยให้ราคาค่าการตลาดพุ่งสูงแบบไม่สมเหตุผล 

สรุปสถานการณ์ตลาดน้ำมันสัปดาห์ที่ 28 พ.ย. - 2 ธ.ค. 65 จับตาปัจจัย ‘บวก-ลบ’ พร้อมแนวโน้ม 5 - 9 ธ.ค. 65

สถานการณ์ตลาดน้ำมันสัปดาห์ที่ 28 พ.ย. - 2 ธ.ค. 65 และแนวโน้ม 5 - 9 ธ.ค. 65

ราคาน้ำมันดิบ ICE Brent เฉลี่ยสัปดาห์ล่าสุดลดลงต่อเนื่องเป็นสัปดาห์ที่ 4 จากความไม่แน่นอนของมาตรการ Zero-COVID ในจีน ของประธานาธิบดี Xi Jinping ที่กระทบต่อการดำรงชีวิตของประชาชน และไม่สามารถควบคุมการแพร่ระบาดได้ อย่างไรก็ดี ในวันพุธที่ 7 ธ.ค. 65 รัฐบาลจีนอาจผ่อนคลายมาตรการควบคุม COVID-19 ซึ่งบังคับใช้ทั่วประเทศเพื่อลดแรงกดดันจากการประท้วง

ทางด้านอุปทาน ที่ประชุม The OPEC and non-OPEC Ministerial Meeting ครั้งที่ 34 ของกลุ่ม OPEC และพันธมิตร (OPEC+) มีมติคงแผนลดการผลิตน้ำมันดิบ 2 ล้านบาร์เรลต่อวัน ตั้งแต่เดือน พ.ย. 65 จนถึงอย่างน้อยในเดือน มิ.ย. 66 (สวนทางกับที่นักวิเคราะห์คาดการณ์ว่า OPEC+ จะตัดสินใจลดการผลิตเพิ่มอีก 0.25 - 2 ล้านบาร์เรลต่อวัน) โดย OPEC+ จะมีการประชุมอีกครั้งในวันที่ 4 มิ.ย. 66 

ขณะที่กลุ่ม G7 พร้อมด้วยออสเตรเลียและสหภาพยุโรป (EU) ตกลงการกำหนดเพดานราคา (Price Cap) ของน้ำมันดิบรัสเซียที่ขนส่งทางทะเลไว้ที่ 60 เหรียญสหรัฐฯ ต่อบาร์เรล เริ่มบังคับใช้วันที่ 5 ธ.ค. 65 ทั้งนี้ น้ำมันดิบที่ขนจากท่าเรือรัสเซียก่อนวันที่ 5 ธ.ค. 65 และถึงท่าเรือปลายทางก่อนวันที่ 19 ม.ค. 66 ไม่อยู่ในข้อกำหนด Price Cap อย่างไรก็ดี โฆษกรัฐบาลรัสเซีย นาย Dmitry Peskov ชี้ว่ารัสเซียพร้อมที่จะตอบโต้และจะไม่ยอมรับการกำหนดเพดานราคาน้ำมันดังกล่าว ที่ผ่านมารัสเซียเน้นย้ำว่าจะไม่จัดส่งน้ำมันให้กับประเทศที่ดำเนินการตามข้อตกลง Price Cap 

ผลสำรวจของนักเศรษฐศาสตร์จาก Reuters คาดว่าราคาน้ำมันดิบ ICE Brent ในปี 65 จะเฉลี่ยที่ 100.5 เหรียญสหรัฐฯ ต่อบาร์เรล และในปี 66 จะเฉลี่ยที่ 95.56 เหรียญสหรัฐฯ ต่อบาร์เรล ทั้งนี้ สัปดาห์นี้คาดว่าราคา ICE Brent จะเคลื่อนไหวอยู่ระหว่าง 80 - 88 เหรียญสหรัฐฯ ต่อบาร์เรล

สรุปสถานการณ์ตลาดน้ำมันสัปดาห์ที่ 5 - 9 ธ.ค. 65 จับตาปัจจัย ‘บวก - ลบ’ พร้อมแนวโน้ม 12 - 16 ธ.ค. 65

ราคาน้ำมันดิบ ICE Brent เฉลี่ยสัปดาห์ล่าสุดลดลงต่อเนื่องเป็นสัปดาห์ที่ 5 แต่ในช่วงปลายสัปดาห์ปรับเพิ่มขึ้น หลังจากท่อ Keystone (622,000 บาร์เรลต่อวัน) ที่ขนส่งน้ำมันดิบจากเมือง Hardisty รัฐ Alberta ในแคนาดาสู่แถบ Mid-West ในสหรัฐฯ ปิดดำเนินการตั้งแต่วันที่ 7 ธ.ค. 65 โดยล่าสุดบริษัท TC Energy ผู้ดำเนินการท่อดังกล่าวรายงานการกู้คืนน้ำมันดิบรั่วไหลปริมาณ 2,600 บาร์เรล อย่างไรก็ตามมีการรั่วไหลทั้งหมด 14,000 บาร์เรล ตั้งแต่วันที่ 7 ธ.ค. 65 และขณะนี้ท่อ Keystone ยังคงปิดดำเนินการ

จับตาการประชุมคณะกรรมการนโยบายการเงินของสหรัฐฯ (FOMC) ในวันที่ 13-14 ธ.ค. 65 ซึ่ง Reuters Poll คาดการณ์ว่าจะมีมติปรับเพิ่มอัตราดอกเบี้ยนโยบาย (Federal Funds Rate: FFR) ขึ้น 0.5% อยู่ที่ 4.25-4.5% และติดตามการประชุมธนาคารกลางยุโรป (ECB) ในวันที่ 15 ธ.ค. 65 ซึ่งกรรมการ ECB นาย Gabriel Makhlouf คาดการณ์ว่าจะมีมติขึ้นอัตราดอกเบี้ยนโยบาย สำหรับการปล่อยสภาพคล่องให้ระบบธนาคารพาณิชย์ (Main Refinancing Operations Rate) อีก 0.5% อยู่ที่ 2.25%

>> ปัจจัยที่กระทบต่อราคาน้ำมันดิบในเชิงลบ
- Kpler รายงานยุโรปนำเข้าน้ำมันดิบทางทะเล ในเดือน พ.ย. 65 ลดลงจากเดือนก่อนหน้า 300,000 บาร์เรลต่อวัน อยู่ที่ 8.86 ล้านบาร์เรลต่อวัน

สรุปสถานการณ์ตลาดน้ำมันสัปดาห์ที่ 12 – 16 ธ.ค. 65 จับตาปัจจัย ‘บวก - ลบ’ พร้อมแนวโน้ม 19 – 23 ธ.ค. 65

ราคาน้ำมันดิบ ICE Brent และ Nymex WTI เฉลี่ยรายสัปดาห์เพิ่มขึ้นกว่า 2 เหรียญ จากสัปดาห์ก่อนหน้า จากตลาดคาดจีนซึ่งเป็นผู้นำเข้าน้ำมันรายใหญ่ที่สุดของโลกจะเปิดประเทศอย่างเต็มรูปแบบ หลังจากเริ่มทยอยผ่อนคลายมาตรการควบคุม COVID-19 ขณะเดียวกัน ตลาดน้ำมันยังได้รับแรงสนับสนุนจาก รัฐบาลสหรัฐฯ ประกาศแผนซื้อน้ำมันดิบเติมเข้าคลังสำรองปิโตรเลียมเชิงยุทธศาสตร์ (Strategic Petroleum Reserve: SPR) ปริมาณ 3 ล้านบาร์เรล ส่งมอบเดือน ก.พ. 66 นับเป็นการซื้อเพื่อเก็บเป็น SPR ครั้งแรกหลังระบายน้ำมันดิบปริมาณ 180 ล้านบาร์เรล ตั้งแต่เดือน มี.ค. 65  

อย่างไรก็ตาม ปัจจัยด้านเศรษฐกิจยังคงกดดันราคาน้ำมัน โดยล่าสุด S&P Global รายงานดัชนีผู้จัดการฝ่ายจัดซื้อรวมภาคการผลิตและการบริการ (Composite Purchasing Managers’ Index: PMI) ของสหรัฐฯ ในเดือน ธ.ค. 65 ลดลงจากเดือนก่อน 1.8 จุด  มาอยู่ที่ 44.6 จุด ต่ำสุดในรอบ 4 เดือน หดตัวเป็นเดือนที่ 6 ติดต่อกัน และ PMI ต่ำกว่า 50 จุด บ่งชี้ภาวะหดตัว 

สำหรับในสัปดาห์นี้คาดว่าราคาน้ำมันดิบ ICE Brent จะเคลื่อนไหวระหว่าง $78-83/BBL ประเด็นที่ต้องจับตา ได้แก่ การตอบโต้ของรัสเซียต่อการกำหนดเพดานราคา (Price Cap) น้ำมันดิบรัสเซียที่ขนส่งทางทะเล ตั้งแต่วันที่ 5 ธ.ค. 65 ของกลุ่ม G7 พร้อมด้วยออสเตรเลียและสหภาพยุโรป (EU) โดยรัฐบาลรัสเซียเผยว่าได้ข้อสรุปมาตรการตอบโต้ชาติตะวันตก และเตรียมที่จะเปิดเผยรายละเอียดภายในสัปดาห์นี้  และกล่าวย้ำว่ารัสเซียจะไม่จัดส่งน้ำมันให้กับประเทศที่ดำเนินการตามข้อตกลง Price Cap 

‘โออาร์’ มอบของขวัญปีใหม่ให้คนไทย ตรึงราคาน้ำมันนาน 11 วัน

โออาร์ คาดแนวโน้มผลประกอบการไตรมาส 4 ดีขึ้น รับอานิสงส์การท่องเที่ยวกลับมา ด้านการจับจ่ายใช้สอยมากขึ้น เตรียมมอบของขวัญให้คนไทย ไม่ปรับขึ้นราคาน้ำมัน 11 วัน ระหว่างวันที่ 24 ธ.ค. 65 – 3 ม.ค. 66 เติมเต็มความสุขช่วงเทศกาลปีใหม่

(21 ธ.ค. 65) นายดิษทัต ปันยารชุน ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท ปตท. น้ำมันและการค้าปลีก จำกัด (มหาชน) หรือ OR เปิดเผยว่า จากการที่สถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคโควิด-19 และมาตรการจำกัดการเดินทางต่าง ๆ คลี่คลาย การเปิดประเทศอย่างเต็มรูปแบบ ประชาชนเริ่มออกเดินทาง ท่องเที่ยวช่วง High season และจับจ่ายใช้สอยกันมากขึ้น ประกอบสภาพเศรษฐกิจในประเทศที่เริ่มฟื้นตัว จึงน่าจะส่งผลให้ผลการดำเนินการไตรมาส 4 ของ OR ที่น่าจะมีแนวโน้มดีขึ้นทั้ง Mobility Lifestyle และ Global ซึ่งเป็นไปตามคาดการณ์และความเห็นของนักวิเคราะห์ 

ส่วนกรณีข่าวเกี่ยวกับประเด็นกองทุนต่างประเทศอ้างว่า OR ละเมิดสิทธิมนุษยชนในประเทศเมียนมานั้น ขอยืนยันว่าการลงทุนของ OR ในเมียนมามุ่งสร้างและยกระดับคุณภาพชีวิตที่ดีให้กับประชาชนชาวเมียนมา รวมทั้งยึดมั่นในการดำเนินธุรกิจตามหลักการสิทธิมนุษยชนตามหลักสากล โดยปัจจุบันมี PTT Station 3 แห่งและร้าน cafe amazon 8 สาขาดำเนินการโดยผู้แทนจำหน่ายและแฟรนไชซีในเมียนมา และไม่ได้มีส่วนสนับสนุนหรือเกี่ยวข้องกับกับการละเมิดสิทธิมนุษยชนที่เกิดขึ้นในเมียนมาแต่อย่างใด

สำหรับในช่วงเทศกาลปีใหม่ 2566 ที่จะมาถึงนี้ OR ได้เตรียมจัดกิจกรรมเพื่อเติมเต็มความสุขให้ผู้บริโภค ด้วยโปรโมชั่นพิเศษมากมายสำหรับลูกค้าที่ใช้บริการสถานีบริการ พีทีที สเตชั่น และร้านค้าต่าง ๆ ในเครือ OR ดังนี้

‘รัสเซีย’ แฉ!! ‘สหรัฐฯ’ ได้ประโยชน์จากการคว่ำบาตร ส่วน ‘ยุโรป’ รับเคราะห์ ต้องซื้อพลังงานราคาสูงจากสหรัฐฯ

มาตรการคว่ำบาตรที่ตะวันตกกำหนดเล่นงานรัสเซียต่อความขัดแย้งในยูเครน กำลังก่อความเสียหายใหญ่หลวงแก่เศรษฐกิจยุโรป ส่วนสหรัฐฯ เป็นตัวแสดงเดียวที่ได้ประโยชน์จากข้อจำกัดต่าง ๆ นานาเหล่านั้น อันทอน ซีลูอานอฟ รัฐมนตรีกระทรวงการคลังรัสเซียกล่าวอ้างเมื่อวันเสาร์ (24 ธ.ค.)

ระหว่างให้สัมภาษณ์กับหนังสือพิมพ์ Asharq News รัฐมนตรีรายนี้เชื่อว่ามาตรการคว่ำบาตรของตะวันตกช่วยให้วอชิงตันบรรลุเป้าหมาย “พวกเขาป้อนอุปทานน้ำมันและก๊าซสู่ตลาดยุโรปได้เพิ่มขึ้น”

อย่างไรก็ตามอุปทานทางพลังงานจากรัสเซีย มีราคาสูงมากสำหรับยุโรป ผลก็คือมันโหมกระพือเงินเฟ้อพุ่งทะยานและทำให้ภาคธุรกิจของยุโรปสูญเสียความสามารถในการแข่งขัน ซีลูอานอฟกล่าว

รัฐมนตรีรายนี้อ้างด้วยว่า ทั้งมาตรการคว่ำบาตรของตะวันตกและเหตุระเบิดที่ทำให้ท่อลำเลียงก๊าซนอร์ดสตรีม 1 และนอร์ดสตรีม 2 เกิดรอยรั่ว เมื่อช่วงปลายเดือนกันยายน เป็นการจัดฉากเพื่อให้ยุโรปต้องจัดหาก๊าซธรรมชาติเหลวที่มีราคาแพงกว่าเดิมจากอเมริกา ‘อเมริกาได้ประโยชน์ ยุโรปสูญเสีย’ เขาระบุ

มอสโกเรียกเหตุการณ์ดังกล่าวว่าเป็นการลอบก่อวินาศกรรมโจมตีก่อการร้าย พร้อมอ้างว่าสหรัฐฯได้ประโยชน์จากเหตุท่อลำเลียงระเบิดมากที่สุด ส่วนทางวอชิงตันแม้ปฏิเสธความเกี่ยวข้องใด ๆ แต่ แอนโทนี บลิงเคน รัฐมนตรีกลาโหมอเมริกา ให้คำจำกัดความเหตุการณ์นี้ว่า “เป็นโอกาสอันใหญ่โตที่ยุโรปจะเบี่ยงตนเองออกจากพลังงานรัสเซีย”

ซีลูอานอฟ ยอมรับว่ามาตรการคว่ำบาตรส่งผลกระทบกับเศรษฐกิจของรัสเซีย “แต่มันก่อความเจ็บปวดแก่ตะวันตกไม่น้อยไปกว่ากัน และบางทีอาจเจ็บปวดมากกว่าด้วยซ้ำ”

สรุปสถานการณ์ตลาดน้ำมันสัปดาห์ที่ 23 - 27 ม.ค. 66 จับตาปัจจัย ‘บวก-ลบ’ พร้อมแนวโน้ม 30 ม.ค - 3 ก.พ.66

ราคาน้ำมันดิบเฉลี่ยสัปดาห์ที่ผ่านมาปรับตัวเพิ่มขึ้น ท่ามกลางคาดการณ์อุปสงค์น้ำมันโลกฟื้นตัว จากจีน อินเดีย ญี่ปุ่น และเกาหลีใต้ นำเข้าน้ำมันดิบในเดือน พ.ย.65 รวมเพิ่มขึ้น 1.2 ล้านบาร์เรลต่อวัน จากปีก่อนหน้า อยู่ที่ 21.4 ล้านบาร์เรลต่อวัน โดยเฉพาะจีนหลังผ่อนคลายมาตรการควบคุม COVID-19 และเปิดประเทศ โดยองค์การสหประชาชาติ (United Nations: UN) คาดการณ์อัตราการเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจ (GDP) ของจีนในปี 66 จะขยายตัวอยู่ที่ +4.8% จากปีก่อนหน้า

สัปดาห์นี้คาดว่าราคา ICE Brent จะเคลื่อนไหวอยู่ระหว่าง 85 - 90 เหรียญสหรัฐฯ ต่อบาร์เรล โดยปัจจัยที่ต้องติดตาม ด้านปัจจัยเคลื่อนย้ายเงินทุนคาดว่าจะมีทิศทางที่ชัดเจนขึ้นหลังการประชุมนโยบายการเงิน Federal Open Market Committee (FOMC) ของสหรัฐฯ วันที่ 31 ม.ค. - 1 ก.พ. 66 โดยนักลงทุนคาดการณ์ว่า Fed จะปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยเพียงครั้งละ 0.25% สู่ระดับ 4.75-5.0% ในการประชุมวันที่ 31 ม.ค. - 1 ก.พ. 66 และวันที่ 15 - 16 มี.ค. 66 และจะคงอัตราดอกเบี้ยที่ระดับดังกล่าวจนถึงปลายปี 66

จับตามาตรการกำหนดเพดานราคา (Price Cap) น้ำมันสำเร็จรูปรัสเซียซึ่งขนส่งทางทะเล วันที่ 5 ก.พ. 66 โดยกลุ่มชาติมหาอำนาจ G7 (แคนาดา, ฝรั่งเศส, เยอรมนี, อิตาลี, ญี่ปุ่น, สหราชอาณาจักร และสหรัฐฯ) และสหภาพยุโรป (EU) เห็นพ้องกำหนดเพดานราคา Diesel ที่ 100-110 เหรียญสหรัฐฯ ต่อบาร์เรล (ปัจจุบันราคา Diesel รัสเซียอยู่ที่ 115-120 เหรียญสหรัฐฯ ต่อบาร์เรล ต่ำกว่าราคาตลาดยุโรปซึ่งอยู่ที่ประมาณ 125 เหรียญสหรัฐฯ ต่อบาร์เรล) ซึ่งมาตรการดังกล่าวอาจส่งผลต่ออุปสงค์น้ำมันดิบ

สรุปสถานการณ์ตลาดน้ำมันสัปดาห์ที่ 30 ม.ค. - 3 ก.พ.66 จับตาปัจจัย ‘บวก-ลบ’ พร้อมแนวโน้ม 6 - 10 ก.พ.66

ราคาน้ำมันดิบเฉลี่ยรายสัปดาห์ปรับตัวลดลงเป็นครั้งแรกในรอบกว่า 1 เดือน จากธนาคารกลางหลักทั่วโลกทยอยปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยนโยบายพร้อมกันในช่วงสัปดาห์ที่ผ่านมา กดดันกิจกรรมทางเศรษฐกิจ โดยธนาคารกลางสหรัฐฯ (Fed) ประกาศปรับขึ้นดอกเบี้ยนโยบาย 0.25% สู่ระดับ 4.50-4.75%, ธนาคารกลางอังกฤษ (BoE) ปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยนโยบาย 0.50% สู่ระดับ 4.0% และธนาคารกลางยุโรป (ECB) ปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยนโยบาย 0.5% โดยอัตราดอกเบี้ยเงินฝากสำรองของธนาคารพาณิชย์ (Deposit Facility Rate) และอัตราดอกเบี้ยสำหรับปล่อยสภาพคล่องให้แก่ธนาคารพาณิชย์ (Main Refinancing Operations Rate) มาอยู่ที่ 2.5% และ 3.0% ตามลำดับ

นอกจากนี้ กระทรวงแรงงานสหรัฐฯ รายงานยอดจ้างงานนอกภาคเกษตร (Nonfarm Payroll) ในเดือน ม.ค. 66 เพิ่มขึ้น517,000 ราย จากเดือนก่อนหน้า สูงกว่านักวิเคราะห์คาดการณ์ว่าจะเพิ่มขึ้น 187,000 ราย จากเดือนก่อนหน้า ขณะที่อัตราว่างงาน (Unemployment Rate) อยู่ที่ 3.4% ต่ำสุดในรอบ 54 ปี ซึ่งอาจทำให้ธนาคารกลางสหรัฐฯ (Fed) ปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยนโยบายต่อเนื่อง กดดันให้เศรษฐกิจชะลอตัว อย่างไรก็ดี ประธาน Fed นาย Jerome Powell คาดว่า Fed จะปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยอีก 2-3 ครั้ง เพื่อให้อยู่ในระดับที่เหมาะสมและสามารถลดอัตราเงินเฟ้อสู่ระดับเป้าหมายที่ 2% (อัตราเงินเฟ้อสหรัฐฯ เดือน ธ.ค. 65 อยู่ที่ 6.5%)

โดยทางเทคนิค สัปดาห์นี้คาดว่าราคา ICE Brent จะเคลื่อนไหวอยู่ระหว่าง 80 - 85 เหรียญสหรัฐฯ ต่อบาร์เรล

>> ปัจจัยที่กระทบต่อราคาน้ำมันดิบในเชิงบวก
-Caixin/Markit รายงานดัชนีผู้จัดการฝ่ายจัดซื้อภาคการผลิตและภาคบริการ (Composite Purchasing Manager Index: PMI) ของจีน ในเดือน ม.ค. 66 เพิ่มขึ้น 2.8 จุด จากเดือนก่อนหน้า อยู่ที่ 51.1 จุด ขยายตัวครั้งแรกตั้งแต่เดือน ส.ค. 65 โดยได้แรงหนุนจากการยกเลิกมาตรการควบคุมการแพร่ระบาดของ COVID-19

-วันที่ 1 ก.พ. 66 ที่ประชุม Joint Ministerial Monitoring Committee (JMMC) ของกลุ่ม OPEC และพันธมิตร (OPEC+) คงนโยบายลดปริมาณการผลิตน้ำมันดิบตามผลการประชุมเมื่อวันที่ 5 ต.ค. 65 ที่ 2 ล้านบาร์เรลต่อวัน ไปจนถึงสิ้นปี 2566 ทั้งนี้ จะมีการประชุมครั้งถัดไปวันที่ 3 เม.ย. 2566

‘พิชัย’ ข้องใจ รัฐลดราคาดีเซล 50 สตางค์ เหตุใดต้องรอ 15 ก.พ. ทั้งที่ควรทำตั้งนานแล้ว

'พิชัย' ติงลดราคาดีเซลลิตรละ 0.50 บาทน้อยและช้าเกินไป ชี้ควรลด 2 บาทเหมือนที่พรรคเสนอ ถามข้องใจทำไมต้องรอวันที่ 15 ก.พ. หรือหวังกลบอภิปรายไม่ไว้วางใจ

(8 ก.พ. 66) นายพิชัย นริพทะพันธุ์ รองประธานยุทธศาสตร์พรรคเพื่อไทย ด้านเศรษฐกิจ กล่าวว่า ตามที่รัฐบาลโดยคณะกรรมการบริหารนโยบายพลังงาน (กบง.) จะประกาศลดราคาน้ำมันดีเซลลงลิตรละ 0.50 บาท เหลือ ลิตรละ 34.50 บาท ในวันที่ 15 ก.พ.นี้ ซึ่งเป็นแนวทางที่พรรคเพื่อไทยเรียกร้องให้รัฐบาลลดราคาน้ำมันดีเซลมาโดยตลอด และได้ออกเป็นนโยบายของพรรคในเรื่องนี้ อีกทั้งจากราคาน้ำมันดิบของโลกที่มีราคาลดลง ดังนั้นการลดลงของราคาน้ำมันดีเซลเพียงลิตรละ 0.50 บาท จึงเป็นการลดราคาที่น้อยเกินไปและลดช้าเกินไป เพราะราคาน้ำมันดิบของโลกได้ลดลงมานานแล้ว และน่าจะต้องลดราคาน้ำมันดีเซลลงมากกว่านี้ ขนาด รมว.การคลังยังบอกเองว่าน่าจะลดลงลิตรละ 2 บาทตามแนวทางที่พรรคเพื่อไทยบอกไว้แต่แรก


TRENDING
© Copyright 2021, All rights reserved. THE STATES TIMES
Take Me Top