Monday, 13 May 2024
การลงทุน

นักลงทุนต่างชาติ แห่ตั้งฐานการผลิตใน ‘ไทย’ ด้าน J.P.Morgan ชี้!! ‘ไทย’ น่าลงทุนที่สุดในอาเซียน

ดูเหมือนว่าภูมิภาคเอเชียจะเป็นที่จับจ้องสนใจของนักลงทุนต่างชาติอย่างมาก นักลงทุนหลายๆ เจ้าอยากจะย้ายฐานการผลิตมาตั้งในภูมิภาคนี้ เนื่องจากมีปัจจัยต่างๆ ที่ดึงดูดนักลงทุน ไม่ว่าจะเป็นค่าแรงที่ถูกว่ายุโรป-สหรัฐฯ จำนวนแรงงานที่มีมากกว่า และที่สำคัญ ไม่มีเรื่องสงครามการค้าในปวดหัวด้วย

และประเทศที่เนื้อหอมเป็นที่ถูกตาต้องใจนักลงทุน ก็คือ ‘ประเทศไทย’ บ้านเรานั่นเอง โดยล่าสุดทาง J.P.Morgan ธนาคารระดับโลก ได้ออกมาบอกว่า ‘ประเทศไทย’ เป็นประเทศที่น่าลงทุนมากที่สุดในอาเซียนด้วย

เกี่ยวกับเรื่องนี้ช่องยูทูบ ‘Kim Property Live’ โดยคุณคิม ชัชวาลย์ วัฒนะโชติ ได้อธิบายไว้อย่างน่าสนใจ ว่า…

การวิจัยของทาง McKinsey ได้ออกมาบอกว่า Asia’s Future is now หรือว่า ‘อนาคตของเอเชียอยู่ตรงนี้แล้ว’ โดยประเมินว่าในปี 2040 เอเชียจะกินสัดส่วน GDP ของโลกอยู่ที่ราว ๆ 50% เลยทีเดียว และจะเป็นคนขับเคลื่อนการบริโภคของโลกมากถึง 40% ทั้งนี้เอเชียจะเป็นศูนย์กลางของโลกแห่งใหม่ในอนาคต และถ้าหากมองไปถึงด้านองค์กร/บริษัทของเอเชียจะพบว่าสร้างรายได้กว่า 19 ล้านล้านเหรียญฯ ให้กับเศรษฐกิจของโลกในทุก ๆ ปี

บริษัทเล็กใหญ่ของเอเชีย เช่น Alibaba หรือ Toyota ก็มีพวกเทคโนโลยีขั้นสูง ไม่ต่างจากประเทศโซนยุโรป หรือสหรัฐอเมริกา และในเอเชียก็มีการผลิตเทคโนโลยีขั้นสูงออกมาใช้แล้วด้วย

ระดับการพัฒนาเทคโนโลยีของเอเชียก็เป็นหนึ่งในระดับที่สูง อย่างเช่น จีน เกาหลีใต้ ญี่ปุ่น มีส่วนแบ่งรวมกันถึง 30% ในการส่งออกอุตสาหกรรมความรู้ และเทคโนโลยีเร่งรัดทั่วโลก หรือเรียกว่า KTI (เช่น ยานยนต์ คอมพิวเตอร์)

ส่วนอุตสาหกรรม EV จะยังคงเติบโตอย่างมหาศาล แบรนด์ในฝั่งเอเชียค่อนข้างแกร่งเลยทีเดียว อย่างเช่น BYD ที่สร้างยอดขายอันดับหนึ่งของโลก รวมถึงแบรนด์จากจีนอีกหลายแบรนด์เลย ส่วนอุตสาหกรรมแบตเตอรี่ จีนก็เป็นผู้นําด้วยเช่นกัน โดยอันดับหนึ่ง คือ CATL. อันดับสองเป็น BYD อันดับสาม LG ของเกาหลีใต้

อีกทั้งอุตสาหกรรมไมโครชิพ ทางจีนก็สร้างได้ค่อนข้างเยอะ รวมถึงทาง TSMC ทางไต้หวัน และก็ยังมีทางญี่ปุ่น หมายความว่าทางเอเชียบ้านเรา เริ่มครอบครองอุตสาหกรรมที่เป็นดิฟเทค แล้วก็เชิงลึกความรู้ข้อมูลในอนาคตอยู่เยอะพอสมควรเลย

'บิ๊กตู่' ปลื้ม!! เอกชนญี่ปุ่น เชื่อมั่นศักยภาพ ศก.ไทย จ่อขยายการลงทุน มั่นใจ ศก.ปี 66 พุ่งจากการท่องเที่ยว

(17 ก.พ. 66) นายอนุชา บูรพชัยศรี รองเลขาธิการนายกรัฐมนตรีฝ่ายการเมือง ปฏิบัติหน้าที่โฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี เปิดเผยว่า พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม รับทราบรายงานผลสำรวจแนวโน้มทางเศรษฐกิจของบริษัทร่วมทุนญี่ปุ่นในประเทศไทย ประจำครึ่งปีหลัง พ.ศ. 2565 ระหว่างวันที่ 29 พ.ย. - 23 ธ.ค.2565 โดยหอการค้าญี่ปุ่น-กรุงเทพฯ (Japanese chamber of commerce, Bangkok: JCCB) และยินดีที่ภาคเอกชนญี่ปุ่น ให้ความเชื่อมั่นศักยภาพทางเศรษฐกิจของไทย และมีแผนที่จะขยายการลงทุนมากขึ้น โดยคาดการณ์จีดีพี ปี 2566 จะเติบโตมากขึ้นจากภาคการท่องเที่ยวที่ฟื้นตัวต่อเนื่อง

นายอนุชา กล่าวว่า ผลการ สำรวจฯ คาดการณ์ว่าดัชนีแนวโน้มเศรษฐกิจ ในช่วงครึ่งแรกของปี 2566 จะอยู่ที่ 28 สูงขึ้นจากช่วงครึ่งหลังของปี 2565 อยู่ที่ 21 โดยผู้ประกอบการญี่ปุ่นคาดว่า การเพิ่มขึ้นของนักท่องเที่ยวขาเข้า จะส่งผลดีต่อเศรษฐกิจ และปัญหาการขาดแคลนวัตถุดิบและชิ้นส่วนจะได้รับการแก้ไข

ไทยเนื้อหอม!! 5 อันดับต่างชาติที่เข้ามาลงทุนในไทยมากที่สุด (ม.ค. 66)

1. ญี่ปุ่น 14 ราย (ร้อยละ 27) เงินลงทุน 3,588 ล้านบาท
2. สิงคโปร์ 6 ราย (ร้อยละ 12) เงินลงทุน 410 ล้านบาท
3. สหรัฐอเมริกา 6 ราย (ร้อยละ 12) เงินลงทุน 9 ล้านบาท
4. สหราชอาณาจักร 5 ราย (ร้อยละ 10) เงินลงทุน 98 ล้านบาท
5. จีน 3 ราย (ร้อยละ 6) เงินลงทุน 548 ล้านบาท

นายอนุชา บูรพชัยศรี รองเลขาธิการนายกรัฐมนตรีฝ่ายการเมือง ปฏิบัติหน้าที่โฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี เปิดเผยว่า ตัวเลขการลงทุนผ่านช่องทางการขอรับใบอนุญาตประกอบธุรกิจของคนต่างด้าว เดือนมกราคม ปี 2566 ได้อนุญาตให้คนต่างชาติเข้ามาลงทุนประกอบธุรกิจในประเทศไทย ภายใต้พระราชบัญญัติการประกอบธุรกิจของคนต่างด้าว พ.ศ.2542 จำนวน 52 ราย โดยเป็นการลงทุนผ่านช่องทางการขอรับใบอนุญาตประกอบธุรกิจของคนต่างด้าว จำนวน 22 ราย และการขอหนังสือรับรองการประกอบธุรกิจของคนต่างด้าว จำนวน 30 ราย เงินลงทุนทั้งสิ้น 5,129 ล้านบาท จ้างงานคนไทย 298 คน

1. ญี่ปุ่น 14 ราย (ร้อยละ 27) เงินลงทุน 3,588 ล้านบาท
2. สิงคโปร์ 6 ราย (ร้อยละ 12) เงินลงทุน 410 ล้านบาท
3. สหรัฐอเมริกา 6 ราย (ร้อยละ 12) เงินลงทุน 9 ล้านบาท
4. สหราชอาณาจักร 5 ราย (ร้อยละ 10) เงินลงทุน 98 ล้านบาท
5. จีน 3 ราย (ร้อยละ 6) เงินลงทุน 548 ล้านบาท

นายอนุชา บูรพชัยศรี รองเลขาธิการนายกรัฐมนตรีฝ่ายการเมือง ปฏิบัติหน้าที่โฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี เปิดเผยว่า ตัวเลขการลงทุนผ่านช่องทางการขอรับใบอนุญาตประกอบธุรกิจของคนต่างด้าว เดือนมกราคม ปี 2566 ได้อนุญาตให้คนต่างชาติเข้ามาลงทุนประกอบธุรกิจในประเทศไทย ภายใต้พระราชบัญญัติการประกอบธุรกิจของคนต่างด้าว พ.ศ.2542 จำนวน 52 ราย โดยเป็นการลงทุนผ่านช่องทางการขอรับใบอนุญาตประกอบธุรกิจของคนต่างด้าว จำนวน 22 ราย และการขอหนังสือรับรองการประกอบธุรกิจของคนต่างด้าว จำนวน 30 ราย เงินลงทุนทั้งสิ้น 5,129 ล้านบาท จ้างงานคนไทย 298 คน

BOI ไฟเขียว!! ลงทุนโครงการขนาดใหญ่ 5 หมื่นล้านบาท เสริมแกร่งโครงสร้างพื้นฐานด้าน ‘พลังงาน-ดิจิทัล’ ไทย

(20 มี.ค.66) พลเอก ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม เป็นประธานการประชุมคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุน วันนี้ โดยที่ประชุมได้อนุมัติส่งเสริมการลงทุนโครงการขนาดใหญ่ รวมมูลค่า 56,615 ล้านบาท เพื่อเสริมความแข็งแกร่งโครงสร้างพื้นฐานในด้านพลังงานของประเทศ เช่น โครงการท่าเทียบเรือขนถ่ายก๊าซธรรมชาติเหลว (LNG) มูลค่าเงินลงทุน 32,710 ล้านบาท และโครงการโรงไฟฟ้าระบบ Cogeneration ซึ่งเป็นโครงการร่วมทุนระหว่างไทยและสิงคโปร์ มูลค่าเงินลงทุน 5,005 ล้านบาท 

รวมทั้งยังได้อนุมัติให้การส่งเสริมกิจการดาต้า เซ็นเตอร์ ขนาดใหญ่ 2 ราย มูลค่าเงินลงทุนรวม 10,371 ล้านบาท โดยหนึ่งในนั้นเป็นโครงการร่วมทุนระหว่างอังกฤษและสิงคโปร์ ซึ่งเป็นกิจการดาต้า เซ็นเตอร์ ที่เน้นความยั่งยืนด้านสิ่งแวดล้อมและจะใช้พลังงานหมุนเวียน เพื่อลด Carbon Footprint ด้วย เพื่อตอบสนองการเติบโตอย่างรวดเร็วของอุตสาหกรรมดิจิทัล โดยเฉพาะความต้องการที่เพิ่มสูงขึ้นสำหรับบริการด้านการจัดการและจัดเก็บข้อมูลขนาดใหญ่ขององค์กรทั้งในและต่างประเทศ รวมทั้งการใช้งานแพลตฟอร์มต่าง ๆ อีกด้วย

นอกจากนี้ ที่ประชุมได้อนุมัติให้การส่งเสริมโครงการขนาดใหญ่อื่น ๆ เช่น โครงการผลิตเหล็กแผ่นรีดเย็นเพื่อใช้เป็นวัตถุดิบในการผลิตชิ้นส่วนต่าง ๆ ในอุตสาหกรรมยานยนต์และเครื่องใช้ไฟฟ้า โครงการผลิตโลหะทองคำและเงินภายใต้รูปแบบโลหะผสม และโครงการกำจัดของเสียอุตสาหกรรม มูลค่าเงินลงทุนรวมกว่า 8,500 ล้านบาท โดยโครงการที่ได้รับการส่งเสริมการลงทุนในครั้งนี้ เป็นโครงการที่ช่วยเสริมความแข็งแกร่งด้านโครงสร้างพื้นฐานของประเทศ ทั้งพลังงาน และดิจิทัล 

ยุทธศาสตร์คานงัดเศรษฐกิจไทย 10 ล้านล้าน โอกาสที่ 'อาเซียน-จีน-ตะวันออกกลาง' พร้อมเสิร์ฟ

“...ปีนี้จะเป็นปีแห่งโอกาสในวิกฤติทางด้านการค้า การลงทุน การท่องเที่ยวของไทย...”

“…เราทำเงินจากโอกาสการค้าของไทยกว่า 10 ล้านล้านบาท ในตลาดอาเซียน-จีน-ตะวันออกกลาง...”

นี่คือคำกล่าวโดยนายอลงกรณ์ พลบุตร รองหัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์, ที่ปรึกษารัฐมนตรีเกษตรฯ และอดีตรัฐมนตรีช่วยพาณิชย์ ซึ่งถือเป็นภาคต่อ (ติดตามตอนแรก >> https://thestatestimes.com/post/2023031438) ในการฉายภาพเศรษฐกิจไทยที่กำลังพุ่งทะยาน โดยมีประชาธิปัตย์ทันสมัยเป็นส่วนสำคัญในการขับเคลื่อนผ่านกระทรวงเกษตรฯ 

สำหรับในตอนล่าสุดนี้ นายอลงกรณ์ ได้พา THE STATES TIMES ไปโฟกัสถึงโอกาสขนาดใหญ่ที่ไทยกำลังปั้นให้เกิดเป็นผลลัพธ์จาก ตลาดอาเซียน-จีน-ตะวันออกกลาง ซึ่งเข้ามามีบทบาทต่อการเติบโตของภาคเศรษฐกิจไทยเป็นอย่างยิ่ง โดยมีรายละเอียดที่น่าสนใจ ดังนี้...

ปลายปี 2565 ไทยเป็นเจ้าภาพในการประชุม APEC ซึ่งเป็นเหตุการณ์ที่สำคัญและมีผลต่อเศรษฐกิจของไทยและภูมิภาคอาเซียนอย่างมาก รวมถึงการฟื้นความสัมพันธ์ระหว่างไทยกับซาอุดีอาระเบีย ในรอบ 30 ปี ถือเป็น 'ลมส่งท้าย' ถึงปีนี้ ซึ่งจะเป็นปีแห่งโอกาสในวิกฤติของไทยทางด้านการค้า, การลงทุน, การท่องเที่ยว

เริ่มต้นปีด้วยข่าวดี เมื่อจีนเริ่มผ่อนคลายนโยบายการควบคุมโควิดและเปิดประเทศในเดือนมกราคม

ทั้งนี้ภาคการเกษตรของไทยถือเป็นกลไกสําคัญในการขับเคลื่อนเศรษฐกิจของประเทศไทยพร้อมกับยกระดับคุณภาพชีวิตของเกษตรกรและเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันของภาคเกษตรไทย ภายใต้วิสัยทัศน์เปลี่ยนวิกฤติเป็นโอกาสสร้างเศรษฐกิจที่แข็งแกร่งในประเทศ พร้อมทั้งมุ่งเน้นการขับเคลื่อนการผลิตสินค้าเกษตรมูลค่าสูงด้วยเทคโนโลยีสมัยใหม่และนวัตกรรม องค์ความรู้ ศาสตร์พระราชาภูมิปัญญาไทยโดยจัดตั้งศูนย์เทคโนโลยีเกษตรและนวัตกรรม (Agritech and Innovation Center : AIC) ทั้ง 77 จังหวัด และศูนย์ AIC ประเภทศูนย์ความเป็นเลิศ (Center of Excellence) อีก 23 ศูนย์ เมื่อ 1 มิถุนายน 2563 ซึ่งถือเป็นโครงสร้างพื้นฐานด้านเทคโนโลยีที่สำคัญของการยกระดับอัพเกรดการพัฒนาประเทศภายใต้ยุทธศาสตร์เทคโนโลยีเกษตร 4.0 และยุทธศาสตร์ตลาดนำการผลิตบนความร่วมมือระหว่าง นายจุรินทร์ ลักษณวิศิษฏ์ รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีพาณิชย์กับ ดร.เฉลิมชัย ศรีอ่อน รัฐมนตรีเกษตรฯ

สำหรับโอกาสการค้าการลงทุนของไทยในจีน-ตะวันออกกลาง และอาเซียน ประเทศไทยถือได้ว่ามีศักยภาพสูงโดยใช้จุดแข็งของไทยที่ขอเรียกว่า...

>> '8 ลมใต้ปีก' ช่วยผลักดันโอกาสของไทยและหุ้นส่วนเศรษฐกิจให้เดินหน้าสู่ความสำเร็จ ได้แก่...

1. การฟื้นสัมพันธ์ไทย-ซาอุดีอาระเบีย 
- สร้างระเบียงเศรษฐกิจใหม่ (New Economic Corridor) ระหว่างไทย-ซาอุดีอาระเบีย อาเซียนและตะวันออกกลาง

2. รถไฟลาว-จีน เชื่อมไทย เชื่อมโลก 
- การพัฒนาโลจิสติกส์เชื่อมการขนส่งการค้า และการลงทุนของไทยไปยังตลาดทุกมณฑลในจีน อาเซียนตะวันออกกลาง เอเซียกลาง ยุโรป และอังกฤษเพราะการขนส่งสินค้าจะเร็วขึ้น ต้นทุนจะลดลง โดยเฉพาะอีสานเกตเวย์ และท่าเรือหวุ่งอ๋างเปิดเส้นทางสู่แปซิฟิก

3. 'ความตกลงหุ้นส่วนทางเศรษฐกิจระดับภูมิภาค' (RCEP:Regional Comprehensive Economic Partnership)
- เป็นเขตการค้าเสรี (FTA) ที่ใหญ่ที่สุดของโลก ทำให้ภาษีนำเข้าสินค้าไทยเหลือศูนย์ทันทีเกือบ 30,000 รายการ ใน 14 ประเทศที่ร่วมเป็น FTA Partner ของ RCEP เริ่มมีผลบังคับใช้อย่างเป็นทางการวันที่ 1 มกราคม พ.ศ. 2565 โดยมีสมาชิก 15 ประเทศรวมทั้งจีน และประเทศอาเซียนซึ่งผู้มีบทบาทสำคัญคือรองนายกรัฐมนตรีนายจุรินทร์ ลักษณวิศิษฏ์ รัฐมนตรีพาณิชย์และหัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์เป็นประธานการประชุมตั้งแต่ต้นจนบรรลุข้อตกลงRCEP

4. มินิ-เอฟทีเอ (Mini-FTA)
- เป็นกลยุทธ์ใหม่เพิ่มโอกาสความร่วมมือทางเศรษฐกิจการค้าการลงทุนเปิดตลาดเมืองรองในประเทศต่างๆ ปูทางสร้างโอกาสสำหรับผู้ประกอบการไทย โดยรัฐมนตรีพาณิชย์เดินหน้าเชื่อมสัมพันธ์กับเมืองต่างๆในหลายประเทศ เช่น ไห่หนาน, กานซู และเสิ่นเจิ้นของจีน / เมืองโคฟุของญี่ปุ่น / เมืองเตลังกานาของอินเดีย และปูซานของเกาหลีใต้ เป็นต้น

5. FTA และการเปิดเจรจา FTA รอบใหม่ 
- ไทยมีความตกลงการค้าเสรี (FTA) ที่มีผลบังคับใช้แล้วถึง 14 ฉบับ กับ 18 ประเทศ ทำให้ไทยมีศักยภาพในการเป็นจุดหมายการลงทุนและการค้า รวมทั้งการเปิดเจรจา FTA กับสหภาพยุโรป อังกฤษ EFTA และ UAE

6. การลงทุนโครงสร้างพื้นฐานขนาดใหญ่
- เป็นอีกปัจจัยที่มีบทบาทสำคัญต่อการค้าการลงทุนในการสร้างศักยภาพเศรษฐกิจ และขีดความสามารถในการแข่งขันของประเทศ เช่น โครงการรถไฟสี่รางทางคู่ โครงการรถไฟความเร็วสูง โครงการพัฒนาท่าเรือมาบตาพุดระยะที่ 3 โครงการพัฒนาสนามบินอู่ตะเภาและเมืองการบินภาคตะวันออก โครงการท่าเรือแหลมฉบังระยะที่ 3 โครงการทางหลวงระหว่างเมือง (มอเตอร์เวย์)

ย้อนไทม์ไลน์ความสัมพันธ์ ‘ไทย-ซาอุดีอาระเบีย’ รอยร้าวฉานที่กำลังถูกผสานให้เชื่อมต่อกันอีกครั้ง

หากย้อนอดีตกลับไป จุดเริ่มต้นของความสัมพันธ์ที่ร้าวฉาน กรณีความสัมพันธ์ไทย – ซาอุดีอาระเบีย คือ การที่เจ้าหน้าที่ทูตซาอุดีอาระเบียถูกลอบสังหารกลางเมืองกรุงเทพฯ เมื่อวันที่ 4 มกราคม 2532 โดยที่ตำรวจไทยไม่สามารถสืบสวนจับคนร้ายมาดำเนินคดีได้

ต่อมาในวันที่ 1 กุมภาพันธ์ 2533 คนร้ายได้ลงมือฆ่าเจ้าหน้าที่การทูตซาอุดีอาระเบียอีก 3 ศพรวดในเวลาเดียวกัน และในเดือนเดียวกัน ‘นายมูฮัมหมัด อัลรูไวลี’ นักธุรกิจชาวซาอุดีอาระเบียและเป็นสมาชิกราชวงศ์ของตระกูลอัล-ซะอูด ได้หายตัวไปอย่างลึกลับ จนทำให้มีการจับกุมเจ้าหน้าที่ตำรวจนครบาลชุดหนึ่ง ข้อหา ‘อุ้ม’ นายอัลรูไวลีไปเค้นข้อมูล เพราะเชื่อเป็นผู้อยู่เบื้องหลังการตายของเจ้าหน้าที่การทูตของซาอุดีอาระเบียที่เกิดขึ้นก่อนหน้านี้

กรณีนี้ ทำให้ทางการซาอุดีอาระเบียไม่พอใจอย่างยิ่ง จนถึงขั้นลดระดับความสัมพันธ์ทางการทูต ออกข้อจำกัดเกี่ยวกับแรงงานไทย ห้ามประชาชนของซาอุดีอาระเบียเดินทางมาประเทศไทย และลดระดับความร่วมมือระดับสูงในทุกด้านลงมาอยู่ระดับต่ำสุด

ความสัมพันธ์ระหว่างไทย - ซาอุดีอาระเบียไม่ได้เลวร้ายลงเพียงเพราะคดีฆาตกรรมเท่านั้น แต่ยังเกิดจากกรณีที่คนงานไทย ‘นายเกรียงไกร เตชะโม่ง’ ซึ่งไปทำงานในวังของเจ้าชายแห่งซาอุดีอาระเบีย แล้วได้ลักลอบโจรกรรมเพชรกลับประเทศไทย แต่ตำรวจไทยก็ยังไม่สามารถติดตามเพชรของกลางหลายรายการส่งกลับคืนให้ซาอุดีอาระเบียได้ทั้งหมด โดยเฉพาะเพชร ‘บลูไดมอนด์’ ซึ่งเป็นเพชรเม็ดใหญ่ที่สุด

ความสัมพันธ์กลับเลวร้ายลงไปอีก เมื่อของกลางส่วนหนึ่งที่ติดตามกลับมาได้ มีการเอาไปปลอมแปลงก่อนนำกลับไปคืนให้ซาอุดีอาระเบีย ทั้งหมดจึงเป็นเหตุที่ทำให้ความสัมพันธ์ของไทยกับซาอุดีอาระเบียสะบั้นลงทันที

และในสมัยรัฐบาลของ ‘นายกทักษิณ ชินวัตร’ จะหมดอำนาจ เขาได้เสนอเงินจำนวน 2 หมื่นล้านบาท ให้แก่รัฐบาลซาอุฯ เพื่อฟื้นความสัมพันธ์ระหว่างสองประเทศ และเพื่อให้แรงงานไทยกลับไปทำงานได้ตามปกติ แต่ยังไม่ทันได้รับการตอบรับหรือปฏิเสธก็มีการเปลี่ยนแปลงอำนาจในประเทศไทยเสียก่อน

และเมื่อปี 2563 ประเด็นความสัมพันธ์ระหว่างไทย-ซาอุดีอาระเบีย กลับมาเป็นกระแสอีกครั้ง หลังจากที่รัฐมนตรีต่างประเทศของไทย ‘นายดอน ปรมัตถ์วินัย’ ให้สัมภาษณ์ระหว่างเดินทางไปร่วมประชุมรัฐมนตรีต่างประเทศอาเซียน ณ ประเทศเวียดนาม ระหว่างวันที่ 11-13 มกราคม 2563 ว่าตนเองได้เดินทางเยือนประเทศบาห์เรน ซาอุดีอาระเบีย และโอมาน พร้อมทั้งกล่าวว่า การเดินทางเยือนซาอุดีอาระเบียนั้น เป็นการเดินทางเยือนตามคำเชิญของฝ่ายซาอุดิอาระเบีย ซึ่งมีการนัดหมายกันไว้ล่วงหน้าและยังถือเป็นการเดินทางเยือนซาอุดิอาระเบียครั้งแรกของรัฐมนตรีต่างประเทศของไทยในรอบ 30 ปี

ระหว่างการเยือนได้มีการหารือกับ ‘เจ้าชายฟัยศ็อล บิน ฟัรฮาน อัลซะอูด’ รัฐมนตรีต่างประเทศซาอุดีอาระเบีย กับ ‘นายอาดิล บิน อะหมัด อัล-นูบีร’ รัฐมนตรีแห่งรัฐด้านกิจการต่างประเทศและอดีตรัฐมนตรีต่างประเทศซาอุดีอาระเบีย  โดยประเด็นหลักที่ได้มีการพูดคุยกันคือ การฟื้นฟูความสัมพันธ์ระหว่าง 2 ประเทศ รัฐมนตรีดอน ปรมัตถ์วินัย ได้กล่าวทิ้งท้ายว่า “การเยือนครั้งนี้ได้รับการตอบรับจากซาอุดีอาระเบียเป็นอย่างดี และถือเป็นพัฒนาการในทางบวกที่จะเป็นประโยชน์สำหรับทั้งสองประเทศต่อไป”

และในปี 2565 พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรีได้เดินทางไป เยือนซาอุฯ ตามคำเชิญของ เจ้าชายมุฮัมมัด บิน ซัลมานฯ มกุฎราชกุมาร รองนายกรัฐมนตรี และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหมแห่งซาอุดีอาระเบีย การฟื้นความสัมพันธ์ครั้งนี้ ถือเป็นความสัมพันธ์ทางการทูตที่พัฒนาขึ้นสู่ระดับสูงสุด หลังจาก 32 ปี ไทยมีตัวแทนซาอุฯ แค่ระดับอุปทูต ซึ่งจะส่งผลให้ความสัมพันธ์ทุกด้านยกระดับตามไปด้วย เช่น ด้านแรงงาน, การท่องเที่ยว, วัฒนธรรม, การลงทุน, การส่งออกอาหารฮาลาล การเดินทางไปประกอบพิธีฮัจญ์ของชาวมุสลิมในไทย การสนับสนุนการอยู่ร่วมกันอย่างสันติสุขของชาวมุสลิมในพื้นที่ 3 จังหวัดภาคใต้ ความสัมพันธ์กับองค์การความร่วมมืออิสลาม หรือ ‘โอไอซี’ แม้การส่งแรงงานไปซาอุฯ อาจไม่ได้มากเท่าเดิม แต่ก็รับทราบว่า ซาอุฯ ยืนยันจะใช้แรงงานไทย

วันนี้ (22 มี.ค. 66) ด้านโฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี นายอนุชา บูรพชัยศรี กล่าวว่า พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี ยินดีกับความสำเร็จหลังการฟื้นความสัมพันธ์ประเทศไทยและราชอาณาจักรซาอุดีอาระเบีย ช่วงต้นปี 2565 เป็นผลสำเร็จ เปิดโอกาสความร่วมมือระหว่างกัน 9 ด้าน ได้แก่ ด้านการท่องเที่ยว, ด้านแรงงาน, ด้านอาหาร รวมถึงความร่วมมือใน ด้านสุขภาพ, ด้านพลังงาน, ด้านการศึกษาและศาสนา, ด้านความมั่นคง, ด้านกีฬา และด้านการค้าและการลงทุน ทั้งภาครัฐและเอกชนของทั้ง 2 ฝ่าย โดยภาคเอกชนไทยสนใจลงทุนธุรกิจผลิตภัณฑ์อาหาร สินค้าอุปโภคบริโภค สินค้าตกแต่งภายใน

ปตท.กางแผนลงทุน 5 ปี 4 แสนล้านบาท ลุ้น!! เจรจา 5 ดีลธุรกิจใหม่ เน้นร่วมทุนในปีนี้

กลุ่ม ปตท.ได้ปรับเปลี่ยนบทบาททางธุรกิจสำคัญจากบริษัทน้ำมันและก๊าซไปสู่ธุรกิจใหม่ เพื่อสร้างความยั่งยืนให้กับธุรกิจ โดยที่ผ่านมามีทั้งการลงทุนเอง การเข้าซื้อกิจการและการร่วมลงทุน และในปี 2566 กลุ่ม ปตท.ยังคงเดินหน้าการลงทุนในธุรกิจใหม่ต่อเนื่อง

นายอรรถพล ฤกษ์พิบูลย์ ประธานเจ้าหน้าที่บริหารและกรรมการผู้จัดการใหญ่ บริษัท ปตท.จำกัด (มหาชน) เปิดเผยว่า ปัจจุบัน ปตท.อยู่ระหว่างเจรจาธุรกิจกับพันธมิตรทั้งในและต่างประเทศ เพื่อขยายโอกาสความร่วมมือด้านการลงทุนจำนวนมาก ซึ่งส่วนใหญ่จะเป็นกลุ่มธุรกิจใหม่พลังงานแห่งอนาคตที่เป็นเป้าหมายดำเนินงานของ ปตท. โดยคาดว่าในปีนี้จะทำสัญญาร่วมลงทุนแล้วเสร็จไม่ต่ำกว่า 5 โครงการ ขณะเดียวกันในปี 2566 ปตท.ยังมีแผนลงทุนต่อเนื่องในวงเงินประมาณ 33,344 ล้านบาท

“ดีลที่เรากำลังเจรจาอยู่ก็มีทั้งในและต่างประเทศ แต่ส่วนใหญ่จะเป็นต่างประเทศที่กำลังคุยอยู่ โดยมีหลายรูปแบบทั้งเข้าไปซื้อหุ้น การควบรวมและการซื้อกิจการ (M&A) และ Joint Venture หรืออาจจะเป็นความร่วมมือในรูปแบบที่ไม่ต้องใช้งบประมาณ ซึ่งจะปิดดีลปีนี้ไม่ต่ำกว่า 5 ดีล ส่วนใหญ่เป็นธุรกิจใหม่ที่เรากำลังสนใจทำ” นายอรรถพล กล่าว

ทั้งนี้ ในช่วงที่ผ่านมา ปตท.ได้ลงทุนในธุรกิจใหม่และมีความคืบหน้าอย่างต่อเนื่อง โดยแบ่งเป็น 4 ธุรกิจ ประกอบด้วย

1.Mobility& Lifestyle ซึ่งเป็นการสร้างการขนส่งแบบไร้รอยต่อและเป็นการปรับแนวทางการดำเนินธุรกิจของ ปตท.จากธุรกิจน้ำมันและแก๊สไปสู่ธุรกิจ Energy Solution ประกอบด้วย

- การตั้งบริษัทร่วมทุน บริษัท Phnom Penh Aviation Fuel Service จำกัด โดยบริษัท ปตท.น้ำมันและการค้าปลีก จำกัด (มหาชน) หรือ OR เพื่อบริการเติมน้ำมันเชื้อเพลิงอากาศยาน ณ สนามบินนานาชาติแห่งใหม่ในกรุงพนมเปญ

- Otteri โดยบริษัทลูกของ OR เข้าไปซื้อหุ้นเพิ่มทุน ของบริษัท เค-เน็กซ์ คอร์ปอเรชั่น จำกัด ซึ่งดำเนินธุรกิจจำหน่ายเครื่องซักผ้าและเครื่องอบผ้าแบบอุตสาหกรรม รวมถึงประกอบกิจการร้านสะดวกซักภายใต้แบรนด์ Otteri เงินลงทุนขั้นต้น 1,105 ล้านบาท

- ดุสิตฟู้ด โดยบริษัทย่อยของ OR ลงทุนถือหุ้นสัดส่วน 25% ในดุสิตฟู้ดส์ เพื่อสร้างความแข็งแกร่งให้ธุรกิจอาหาร ด้วยการผสานจุดแข็งของกลุ่มดุสิตธานีที่เชี่ยวชาญด้านธุรกิจอาหาร ตั้งแต่ต้นน้ำ กลางน้ำถึงปลายน้ำ

- การตั้งบริษัทร่วมทุนกับกลุ่มบุญรอด โดยบริษัทย่อยของ OR เข้าไปถือหุ้นร่วมกับบริษัท บุญรอดเทรดดิ้ง จำกัด ในสัดส่วนฝ่ายละ 50% เพื่อดำเนินธุรกิจผลิตภัณฑ์เครื่องดื่มสำเร็จรูปพร้อมบริโภค (RTD)

- Traveloka โดย OR เข้าลงทุนใน Traveloka แพลตฟอร์มออนไลน์ด้านการจองบริการท่องเที่ยวและไลฟ์สไตล์ในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้

- Café Amazon โดย OR เข้าไปเปิดสาขาแรกในซาอุดีอาระเบีย สาขา InterHealth Hospital หรือ IHH ที่กรุงริยาด โดยได้ประเมินศักยภาพตลาดค้าปลีกในซาอุดีอาระเบีย โดยเฉพาะอย่างยิ่งในตลาดร้านกาแฟพรีเมียม

รวมทั้งมีการร่วมลงทุนในสตาร์ทอัป ประกอบด้วย Pomelo แพลตฟอร์มและแบรนด์ Fast Fasion , GoWabi แพลตฟอร์มบริการความงามและสุขภาพ , Freshket แพลตฟอร์มจำหน่ายวัตถุดิบอาหารครบวงจร , Carsome แพลตฟอร์มซื้อขายรถยนต์มือ 2 ออนไลน์

Protomate ผู้นำฮาร์ดแวร์และ AI สัญชาติไทย , Hangry สตาร์ทอัปด้านอาหาร พัฒนา Clound Kitchen

>>ต่อยอดไฮแวลู-โลจิสติกส์

2.High Value Business โดยบริษัท พีทีที โกลบอล เคมิคอล จำ กัด (มหาชน) หรือ GC ได้เพิ่มสัดส่วนถือหุ้น Vencorex เป็น 100% ซึ่งจะเป็นการต่อยอดการสร้าง Synergy ร่วมกับ Allnex หลังจากที่บริษัทย่อยของ GC เข้าไปซื้อหุ้นของ Allnex รวมมูลค่า 148,000 ล้านบาท ซึ่งผลิต Coating Resins และสาร Additives ที่ใช้ในงานสถาปัตยกรรมอุตสาหกรรม

3.Logistic & Infrastructure ได้มีการตั้งบริษัท Global Multimodal Logistics (GML) เชื่อมเครือข่ายขนส่งในประเทศและระหว่างประเทศ โดย GML ร่วมมือกับกลุ่มมิตรผล ขนส่งน้ำตาลทรายทางระบบราง 10,000 ตู้ จากขอนแก่นไปชลบุรี 

รวมทั้งมีการศึกษากับองค์การคลังสินค้า (อคส.) พัฒนาธุรกิจห้องเย็นสำหรับสินค้าเกษตร เพื่อเพิ่มช่องทางจำหน่ายสินค้าไปตลาดต่างประเทศ ร่วมกับผู้ประกอบการคลังห้องเย็นให้บริการแช่แข็งและจัดส่งแบบควบคุมอุณหภูมิ นำร่องโดยทุเรียนแช่แข็งเพื่อรองรับนโยบายระเบียงผลไม้ภาคตะวันออก (EFC)

นอกจากนี้ OR ได้ร่วมกับการรถไฟแห่งประเทศไทย (ร.ฟ.ท.) และ JR Freight ทดสอบส่ง LNG ด้วยถัง ISO Container Tank รวมทั้งมีการขนส่งเม็ดพลาสติกทางรถไฟเส้นทางไทย-ลาว-จีน เที่ยวปฐมฤกษ์ จำนวน 25 ตู้ น้ำหนัก 620 ตัน

>>เร่งแผนธุรกิจ‘เอไอ-หุ่นยนต์’

4.AI,Robotics & Digitization ได้ตั้ง T-ECOSYS พัฒนา Industrial Digital Platform , ตั้ง P-DICTOR ดำเนินธุรกิจ AI หุ่นยนต์ ดิจิทัล 

รวมทั้งปรับโครงสร้างการถือหุ้นและเพิ่มทุน Mekha Tech และเปลี่ยนชื่อเป็น Mekha V เพื่อเป็นเรือธงในธุรกิจ AI&Robotics

นอกจากนี้ ร่วมกับธนาคารกรุงไทย ทดสอบระบบ National Corporate Identification (NCID) อละได้ร่วมกับ Kongsberg Ferrotech พัฒนา Nautilus เทคโนโลยีหุ่นยนต์สำรวจและซ่อมบำรุงท่อปิโตรเลียมใต้ทะเลแบบครบวงจรครั้งแรกของโลก

รวมทั้งได้ลงนามกับ HMC Polymers เพื่อใช้เทคโนโลยี UAV และ Digital Platform เพื่อตรวจสอบ Flare และ Confined Space ในการผลิตเม็ดพลาสติก และร่วมมือกับ ปตท.พัฒนาเทคโนโลยีประเมิน Carbon stock สำหรับภาคป่าไม้ และลงนามกับโรงพยาบาลธรรมศาสตร์ฯ บริการเครื่องมือคัดกรองสุขภาพและเก็บรวบรวมในรูปแบบดิจิทัล

>> ลุยแผนลงทุน 5 ปี 4 แสนล้านบาท

ส่วนแผนลงทุนระยะ 5 ปี (2566-2570) ปตท.คาดการณ์ใช้งบภายใต้วงเงินรวม 4 แสนล้านบาท แบ่งเป็นวงเงินลงทุนในโครงการที่มีความชัดเจนและได้รับอนุมัติจากคณะกรรมการ (บอร์ด) ปตท.แล้ว 100,227 ล้านบาท แบ่งเป็น 

1.การลงทุนในธุรกิจก๊าซธรรมชาติ 36,322 ล้านบาท 
2.การลงทุนในบริษัทที่ ปตท.ถือหุ้น 100% มูลค่า 32,773 ล้านบาท 
3.การลงทุนในธุรกิจท่อส่งก๊าซธรรมชาติ 18,988 ล้านบาท 
4.การลงทุนในธุรกิจใหม่และโครงสร้างพื้นฐานและสำนักงานใหญ่ 8,828 ล้านบาท 
5.การลงทุนธุรกิจการค้าระหว่างประเทศและปิโตรเลียมขั้นปลาย 3,316 ล้านบาท

สำหรับการลงทุนที่มีความชัดเจนแล้ว จะมีโครงการหลัก อาทิ โรงแยกก๊าซธรรมชาติหน่วยที่ 7, โรงแยกก๊าซธรรมชาติหน่วยที่ 8, โครงการท่อส่งก๊าซฯ บางปะกง-โรงไฟฟ้าพระนครใต้, โครงการท่อส่งก๊าซธรรมชาติบนบกเส้นที่ 5, ลงทุนในธุรกิจยานยนต์ไฟฟ้า, ขยายธุรกิจของกลุ่ม บริษัท Innobic (Asia), พัฒนาท่าเรืออุตสาหกรรมมาบตาพุดระยะที่ 3 และการพัฒนาท่าเรือแหลมฉบังระยะที่ 3

ขณะที่โครงการลงทุนในอนาคต (Provisional Capital Expenditure) ปตท.ประเมินงบลงทุนอยู่ที่ 302,168 ล้านบาท ซึ่งจะเน้นลงทุนโครงการตามวิสัยทัศน์ Powering Life with Future Energy and Beyond

'ซาอุดีอาระเบีย' ปักหมุด EEC ลงทุนในไทย ร่วม 3 แสนล้านบาท!!

สำหรับการฟื้นฟูความสัมพันธ์ระหว่าง 2 ราชอาณาจักร ‘ไทย-ซาอุดีอาระเบีย’ ที่ห่างหายมานานกว่า 32 ปี ได้สำเร็จนั้น ส่งผลในทางบวกที่ประชาชนทั้ง 2 ประเทศต่างรอคอย และชาวโลกก็เฝ้าติดตามเช่นกัน ในที่สุดความหวังที่มีมาอย่างยาวนานถึง 14 รัฐบาล ก็เกิดขึ้นจริงในปี 2565 มีการแลกเปลี่ยนการเยือนอย่างเป็นทางการ ในฐานะแขกของรัฐบาล (Official Visit) 

โดย พลเอกประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม ได้เดินทางเยือนซาอุดีอาระเบีย เมื่อวันที่ 25 ม.ค.65 และเจ้าชายมุฮัมมัด บิน ซัลมาน บิน อับดุลอะซีซ อาล ซะอูด มกุฎราชกุมาร และนายกรัฐมนตรีแห่งราชอาณาจักรซาอุดีอาระเบีย เสด็จเยือนไทย เมื่อวันที่ 18 พ.ย.65 

2 เหตุการณ์ครั้งประวัติศาสตร์นี้นำมาสู่การยกระดับความร่วมมือเบื้องต้นที่สำคัญ ๆ ได้แก่ ด้านพลังงาน, ด้านการท่องเที่ยว และด้านการค้า-การลงทุน

อีกทั้งมีการจัดตั้ง ‘สภาความร่วมมือไทย-ซาอุดีอาระเบีย’ และการแต่งตั้ง ‘เอกอัครราชทูต’ ในเวลาต่อมา ถือเป็นการสิ้นสุด 3 ทศวรรษแห่งหมองมัว เพื่อเริ่มต้นศักราชใหม่แห่งความร่วมมือ สร้างสรรค์ และพัฒนาร่วมกัน

และแม้ยังไม่ทันข้ามปี...ผลสัมฤทธิ์ในการผูกมิตร ฟื้นสัมพันธ์ของ ‘2 ราชอาณาจักร’ ก็เกิดขึ้น คือ ภาคเอกชนไทย-ซาอุดีอาระเบีย รับลูกการเจรจาการค้า-การลงทุนในอนาคตทันที แล้วข่าวดีก็ปิดไม่มิด เมื่อฝ่ายซาอุดีอาระเบียประกาศว่า ในปี 2566 ปีเดียวจะขยายการลงทุนขนานใหญ่ กว่า 300,000 ล้านบาท ในอุตสาหกรรมท่องเที่ยว, อุตสาหกรรมเมดิคัลแคร์, อุตสาหกรรมน้ำมัน และอุตสาหกรรมปิโตรเคมี ในพื้นที่เขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก (EEC) ที่รัฐบาลนี้ ได้เตรียมความพร้อมไว้รอการลงทุนจากทั่วโลกแล้ว

3 ปัจจัยที่ทำให้ไทยด้อยกว่า 'เวียดนาม' 'การเมือง-ข้อตกลงการค้า-วัยทำงานสะพัด'

หลังจากได้ดูผลสรุปตารางเหรียญ กีฬาซีเกมส์ 2023 ที่ประเทศกัมพูชา เมื่อวันพุธที่ 17 พ.ค. 2566 โดยอันดับ 1 ได้แก่ เวียดนาม มี 136 เหรียญทอง 105 เหรียญเงิน 118 เหรียญทองแดง รวม 359 เหรียญ ส่วนอันดับ 2 ไทย มี 108 เหรียญทอง 96 เหรียญเงิน 108 เหรียญทองแดง รวม 312 เหรียญ

อาจจะเป็นคนละเรื่องเดียวกันที่ตอนนี้ พัฒนาการหลายด้านของเวียดนามเริ่มจะทำให้ไทยตุ้ม ๆ ต่อม ๆ

หากย้อนไปเมื่อ 30 กว่าปีที่แล้ว ประเทศเวียดนามเคยขึ้นชื่อเป็นประเทศที่ยากจนอันดับต้น ๆ ของโลก แต่ทุกวันนี้เวียดนามกำลังกลายเป็นประเทศแห่งโอกาส จนบางครั้งก็ถูกมองว่าเสือตัวใหม่แห่งเอเชีย และนี่คือเรื่องที่น่าห่วงต่อสถานภาพของประเทศไทย ในวันที่ยังทะเลาะกันเองไม่เลิก

เชื่อหรือไม่ว่า ในวันนี้ หากมองกลุ่มประเทศในอาเซียนที่น่าลงทุนนอกจากประเทศไทยเรา ชื่อชั้นของ เวียดนาม กำลังเนื้อหอมอย่างแรง ภายใต้เศรษฐกิจเวียดนามที่ทะยานเติบโตรอบด้าน มีแรงหนุนจนจีดีพีประเทศโตทะลุ 13% ไปแล้วเมื่อปี 2564 ส่วนปี 2565 ก็เติบโตมากถึง 8% 

เหตุผลสำคัญที่ทำให้เวียดนามเปลี่ยนแปลงได้เช่นนั้น มาจากการปรับเปลี่ยนแผนปฏิรูปเศรษฐกิจและการเมือง มาเป็นแบบระบบเศรษฐกิจตลาด แบบเชิงสังคมนิยม หรือ 'โด่ยเหมย' ด้วยการเพิ่มบทบาทของเอกชน แล้วลดบทบาทของภาครัฐลง ทำให้เศรษฐกิจเวียดนาม พลิกมาเติบโตอย่างรวดเร็ว 

ผลลัพธ์ภายในเวลาเพียงไม่กี่ปี จากเดิมที่ก่อนหน้านี้เวียดนามเน้นส่งออกสินค้าเกษตกรเป็นหลัก แต่ทุกวันนี้ภาพเปลี่ยนไป เวียดนามกลายเป็นผู้ส่งออกอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ มีบริษัทที่เกี่ยวข้องกับธุรกิจในประเทศมากกว่า 67,000 แห่ง มีการเปลี่ยนแปลงกฎหมายให้เป็นสากลมากขึ้น รวมทั้งมีแรงงานในภาคอุตสาหกรรมเป็นจำนวนมาก ปัจจัยเหล่านี้ ทำให้เวียดนามเนื้อหอมขึ้นมาเลยทีเดียว

ทั้งนี้ หากมองในแง่นักลงทุนว่าทำไมต้องเลือกมาลงทุนเวียดนาม ก็จะมีปัจจัยสำคัญ ได้แก่...

>> ปัจจัยแรก เพราะการเมืองของเวียดนามมีเสถียรภาพ เนื่องจากมีพรรคคอมมิวนิสต์เวียดนาม เป็นองค์กรที่มีอำนาจ สูงสุดเพียงพรรคการเมืองเดียว 

>> ปัจจัยที่ 2 สิทธิประโยชน์ด้านการลงทุนที่น่าสนใจ เวียดนามมีข้อตกลงทางการค้ากับหลายประเทศ มากกว่า 15 ฉบับ ครอบคลุมไปกว่า 50 ประเทศ

>> และอีกปัจจัยสำคัญ คือ ค่าแรงยังต่ำกว่าไทยมาก เฉลี่ยไม่ถึง 1 ดอลลาร์สหรัฐต่อชั่วโมง

นอกจากเวียดนามจะมี 3 สิ่งใหญ่ ๆ ที่ไทยไม่มีแล้ว หากลองเทียบดูตอนนี้กลุ่มประชากรไทยส่วนใหญ่ ก็กำลังก้าวสู่สังคมผู้สูงวัย ในขณะที่ประชากรเวียดนามส่วนใหญ่ อยู่ในกลุ่มคนทำงานอีกด้วย

สรุปได้ว่า หากประเทศไทยไม่อยากถูกเวียดนามแซงในทุก ๆ มิติของการเป็นหนึ่งแห่งอาเซียน ก็คงต้องเร่งเครื่องให้แรง เริ่มตั้งแต่สร้างเสถียรภาพการเมืองให้เข้มแข็ง ขณะเดียวกันก็คงต้องสร้างแรงดึงดูดนักลงทุนด้วยการให้สิทธิประโยชน์ที่ดูดใจนักลงทุนให้มาก ส่วนเรื่องสังคมสูงวัย เรื่องนี้เป็นโจทย์ใหญ่ ที่น่าหนักใจต่อไทยจริง

ย้อนไทม์ไลน์ ‘บิตคอยน์’

ย้อนไทม์ไลน์เส้นทางการเติบโตของ ‘บิตคอยน์’ มาดูกันว่าตลอดระยะเวลา 14 ปีที่ผ่านมา มีเหตุการณ์เกิดอะไรขึ้นบ้าง

 


TRENDING
© Copyright 2021, All rights reserved. THE STATES TIMES
Take Me Top