Monday, 13 May 2024
การลงทุน

เมื่อรัฐบาลรักษาการ ไม่ใช่จะทำได้ทุกเรื่อง  ปล่อยนาน ‘ศก.ฟุบ-ลงทุนหด-ประเทศชาติพัง’

มีบางคนเสนอว่า ให้รออีก 10 เดือน เพื่อให้ 250 สว.หมดวาระ และหมดสิทธิ์โหวตเลือกนายกรัฐมนตรี

ผมไม่เข้าใจว่าทำไมเสนอเช่นนั้น ผมตั้งสมมติฐานว่า เป็นการเสนอเป็นทางออกให้กับพรรคก้าวไกล ในการเสนอชื่อ ‘พิธา ลิ้มเจริญรัตน์’ หัวหน้าพรรคก้าวไกล เป็นนายกรัฐมนตรีรอบใหม่เมื่อไม่มี สว.คอยขัดขวางแล้ว

แต่ส่วนตัวมองว่า ไม่ใช่เป็นการเสนอเพื่อให้เป็นทางออกของการเมือง ไม่ใช่ทางออกของประเทศ เวลานี้การเมืองยังมีไพ่ให้เล่นอีกหลายใบ บางพรรคอาจจะอมสเปโตอยู่ แต่ตีบทใจแข็ง ‘ก็ไม่ถอย’ ระวังเพื่อน ‘น็อคมืด’ ตัวเองติดสเปโตด้วย

แต่บางพรรคอาจจะไม่มีไพ่ดีในมือ แค่ส่งเสียงขู่ คำราม ตีไพ่เสียงดัง หรือตีไพ่ให้เพื่อนกิน เผื่อตัวเอง ‘น็อคมืด’

พรรคการเมืองที่ผ่านการเลือกตั้งมาแล้ว ควรเร่งรีบเดินหน้าจัดตั้งรัฐบาล ไม่ว่าจะเป็นขั้วไหนก็แล้วแต่ เพราะยิ่งช้าประชาชนจะยิ่งเสียโอกาส

รัฐบาลรักษาการไม่ใช่ทำได้ทุกเรื่อง บางอย่างมีข้อจำกัดอยู่ ปล่อยให้มีรัฐบาลรักษาการไปนานๆ ประเทศชาติจะเสียหาย กระทบกับเศรษฐกิจ การลงทุน

สิ่งที่จะเกิดกับเศรษฐกิจไทย คือ ต้องยอมรับความจริงว่า เศรษฐกิจไทยส่วนใหญ่ขับเคลื่อนจากการลงทุนภาครัฐเป็นหลัก ภาคเอกชนเป็นตัวเสริม

อีกสองเดือนพระราชบัญญัติงบประมาณรายจ่ายประจำปี 2566 ก็จะจบลงแล้ว และ 1 ตุลาคม ต้องเริ่มต้นปีงบประมาณให้ 2567 แต่จนถึงขณะพระราชบัญญัติงบประมาณรายจ่ายประจำปี 2567 ยังไม่เสนอเข้าสู่การพิจารณาของสภา 100% ไม่อาจพิจารณาให้ทันใช้วันที่ 1 ตุลาคมนี้เป็นแน่แท้

กระบวนการพิจารณางบประมาณประจำปี ต้องใช้เวลาไม่น้อยกว่า 3-4 เดือน จึงเชื่อได้ว่า วงเงินงบประมาณใหม่ปี 2567 น่าจะใช้ได้ประมาณเดือนมกราคม หรือกุมภาพันธ์ ขึ้นอยู่กับการเมืองว่าจะจบ หรือเข้ารูปเข้ารอยเมื่อไหร่ แต่รัฐบาล พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา ได้วางกรอบและจัดทำร่างไว้เสร็จแล้ว รอเสนอเข้าสู่การพิจารณาของสภาเท่านั้นเอง

เมื่อพระราชบัญญัติงบประมาณรายจ่ายประจำปี 2567 ยังไม่สามารถพิจารณาให้แล้วเสร็จได้ จึงต้องใช้กรอบวงเงินงบประมาณปี 2566 ไปก่อนได้ สำหรับใช้เป็นงบบริหาร เช่น เงินเดือนข้าราชการ แต่จะใช้งบลงทุนใหม่ไม่ได้ ตรงงบลงทุนที่ทำอะไรไม่ได้นี้แหละจะกระทบต่อเศรษฐกิจโดยรวมของประเทศ และอาจจะส่งผลให้เศรษฐกิจชะลอตัวได้ แน่นอนว่าเมื่อเศรษฐกิจชะลอตัวย่อมกระทบต่อประชาชนด้วย การจ้างงานก็อาจจะมีปัญหา

รัฐบาลหน้าจึงมีเวลาในการใช้จ่ายงบประมาณปี 2567 เพื่อการลงทุนภาครัฐเพียงประมาณ 8 เดือนเท่านั้นเอง

ปัญหาที่เห็นอยู่ข้างหน้า...

1. การจัดทำ พระราชบัญญัติงบประมาณรายจ่ายประจำปี 2567 ล่าช้าออกไปอีก 
2. นักลงทุนต่างชาติเข้าสูโหมด Wait&See รอนโยบายจากรัฐบาลใหม่
3. ภาคเอกชนในประเทศรอนโยบายจากรัฐบาลใหม่เช่นกัน
4. ประเทศขาดรัฐบาลมาวางนโยบาย ในการเดินหน้าขับเคลื่อนประเทศ
5. GDP ปีหน้าน่าจะขยายตัวได้ในระดับที่เรียกว่า ‘แย่’ ไม่เป็นไปตามที่ตั้งเป้าไว้

ฉะนั้นการเสนอให้รออีก 10 เดือนจะยิ่งไปกันใหญ่ พรรคการเมืองก็ไม่ควรคิดในกรอบนี้ อันเป็นข้อเสนอที่หาทางออกให้พรรคการเมืองบางพรรค ไม่ใช่หาทางออกให้ประเทศ ประเทศชาติยังมีทางออก ถ้าพรรคการเมืองบางพรรคผ่อนคลายเงื่อนไขในการจัดตั้งรัฐบาลลงมาบ้าง ไม่ใช่ตึงจนขาด

รัฐบาลผสมไม่มีพรรคไหน หรือใครได้ไป 100% เพราะรัฐบาลผสมก็ต้องมาจากนโยบายของหลายพรรคการเมือง จึงเป็นเรื่องของการเจรจา ต่อรอง บนผลประโยชน์ของประเทศชาติ และประชาชน อย่ารักชาติ รักประชาชนแค่ลมปากบนเวทีปราศรัยต่อหน้ามวลชน หรือให้สัมภาษณ์สื่อ ต่างกอดรัดฟัดประชาชนไว้ด้วยความรัก

ไม่ว่าจะเป็นฝ่ายที่อ้างตัวว่าเป็นฝ่ายประชาธิปไตย หรือฝ่ายที่ถูกส่งให้ไปเป็นฝ่ายอนุรักษ์ก็ตาม ควรจะใช้ทันสมองที่มีอยู่คิดร่วมกันหาทางออกให้ประเทศ อันไหนยอมได้ก็ต้องยอม ผ่อนได้ก็ต้องผ่อน เพื่อให้ประเทศเดินหน้าไปได้

เวลานี้พรรคหนึ่ง อย่างก้าวไกลก็ไม่ยอมเรื่องแก้ ม.112 อ้างว่าเป็นเรื่องที่รับปากไว้กับประชาชน ยังยืนยันเดินหน้าด้วยกลไกของสภา แม้ไม่มีอยู่ใน MOU ก็ตาม กลัวว่าจะเสียสัจจะ จนทำให้แพ้โหวตในสภามาแล้ว เมื่อสมาชิกวุฒิสภาไม่ยกมือสนับสนุน

อีกขั้วหนึ่ง 4-5 พรรค ทั้งพลังประชารัฐ, รวมไทยสร้างชาติ, ชาติไทยพัฒนา เป็นต้น ต่างเสียงแข็งไม่เอาก้าวไกล ไม่อาจทำงานร่วมกันได้ ไม่ร่วมงานกับพรรคที่แก้ ม.112

การเมืองจึงมาติดกับดักอยู่ตรงนี้ เดินหน้าไปยาก แต่ถ้าพรรคการเมืองผ่อนหนักผ่อนเบา อันไหนยอมได้ก็ยอม เพื่อให้ประเทศเดินหน้าต่อไปได้ แล้วไปหาเหตุผลอธิบายกับประชาชน อธิบายกับมวลชนของพรรค เวลานี้แต่ละพรรคผวากับ ‘ผิดสัจจะ’ หรือ ‘ตระบัดสัตย์’ จนขยับตัวไปไหนไม่ได้ กลัวเลือกตั้งสมัยหน้าจะสูญพันธุ์บ้าง

การเมืองอธิบายได้หมด ขอให้เป็นทางออกที่เป็นประโยชน์กับประเทศชาติ ประชาชน แต่อาจจะไม่ถูกใจคนทั้ง 100 เท่านั้นเอง

ไม่อยากเห็นวงจรอุบาทว์เข้ามาอาศัยจังหวะเบียดแทรกเข้ามาในสถานการณ์ที่การเมืองยังไม่ลงตัว

BullMoon Exclusive เปิดหลักสูตรการลงทุน รุ่น 2 ไขความลับความมั่งคั่งผ่าน Passion โดย ‘วิชัย ทองแตง’

#ประชาสัมพันธ์ #ขยายกำแพงแห่งการลงทุน

#วิชัยทองแตง
หลายคนคุ้นชื่อนักลงทุนหมื่นล้านชื่อดัง ที่ผันตัวจากทนายความสู่นักลงทุน จนได้ฉายาว่า ‘พ่อมดตลาดหุ้น’ ท่านนี้

คุณวิชัย ลงทุนและบริหารบริษัทมหาชนหลายบริษัท ถือเป็นหนึ่งในผู้มีอิทธิพลและเป็นที่เคารพของคนในวงการมายาวนาน

แต่ในช่วงหลายปีมานี้ งานและการลงทุนของคุณวิชัยได้เปลี่ยนไปด้วย Passion ใหม่ ท่านออกจากงานบริหารในหลายบริษัท เพื่อมาโฟกัสใน Passion ใหม่นี้ 

ในหลักสูตร BullMoon Exclusive รุ่น 2 เราจะได้ฟังวิสัยทัศน์ และแนวคิดในการลงทุนใหม่ๆ ของคุณวิชัย ซึ่งจะมีโอกาสอะไรบ้าง ที่คุณวิชัยเห็น และจะมาแบ่งปันให้เราแบบ Exclusive รอฟังได้เลยในรุ่นนี้เลย

ดูรายละเอียดได้ที่ 👉 https://bit.ly/3Ybxkqn

มาเปิดโลก เปิดโอกาสการลงทุน ในหลักสูตร BullMoon Exclusive 

#รุ่น2เปิดรับสมัครแล้ว
เริ่มเรียน 17 ส.ค.นี้

สอบถามหรือขอความช่วยเหลือ
🟢 Line : @‌stock2morrow
📞 โทร : 09 0980 2196
-----
#BullMoonExclusive #BridgeYourInvestment #หุ้น #อสังหาฯ #digitalassets

‘บิ๊กตู่’ ปลื้มใจ!! อนุมัติลงทุนใน EEC ทะลุ 2 ลลบ. มั่นใจช่วยขับเคลื่อนเศรษฐกิจ-สังคม-พัฒนาชีวิต ปชช.

(10 ส.ค. 66) สำนักนายกรัฐมนตรี เปิดเผยว่า พลเอก ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม กล่าวถึงความสำคัญและความสำเร็จการพัฒนาเขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก (EEC) ซึ่งมีการลงทุนเกินเป้าหมายที่วางไว้ โดยวางเป้าหมายมูลค่าการลงทุนที่ 1.5 ล้านล้านบาท แต่อนุมัติการลงทุนแล้วถึง 2 ล้านล้านบาท และเป็นการลงทุนที่ส่วนใหญ่มาจากเอกชน

ความสำเร็จของ EEC ในช่วงเวลาที่ผ่านมา การลงทุนปี 2561 - ไตรมาสที่ 2 ปี 2566 ในส่วนของมูลค่าการลงทุนในอุตสาหกรรมเป้าหมายนั้น มีจำนวนถึง 1,360,349 ล้านบาท โดย 3 อุตสาหกรรมเป้าหมายที่มีมูลค่าการออกบัตรส่งเสริมการลงทุนสูงสุด ได้แก่ อุตสาหกรรมปิโตรเคมี และเคมีภัณฑ์ อุตสาหกรรมยานยนต์และชิ้นส่วน และ อุตสาหกรรมเครื่องใช้ไฟฟ้า และอิเล็กทรอนิกส์ ซึ่งประเทศ/เขตบริหารพิเศษ ที่มีมูลค่าการลงทุนสูงสุด 5 อันดับแรก ได้แก่ ญี่ปุ่น สาธารณรัฐประชาชนจีน สิงคโปร์ สหรัฐอเมริกา และฮ่องกง

ทั้งนี้ ในส่วนของโครงการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานที่รัฐบาลได้ดำเนินการเพื่อเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขัน ได้แก่ โครงการรถไฟความเร็วสูงเชื่อม 3 สนามบิน โครงการสนามบินอู่ตะเภาและเมืองการบินภาคตะวันออก โครงการท่าเรืออุตสาหกรรมมาบตาพุด ระยะที่ 3 และโครงการพัฒนาท่าเรือแหลมฉบัง ระยะที่ 3 ท่าเทียบเรือ F

การพัฒนา EEC ให้เป็นต้นแบบพัฒนาเชิงพื้นที่ที่สมบูรณ์แบบเป็นเป้าหมายของนักลงทุน ช่วยผลักดันการพัฒนาเศรษฐกิจ สังคม และคุณภาพชีวิตอย่างยั่งยืน โดยมีกรอบการพัฒนา คือ ‘Ecosystem’ พัฒนาระบบนิเวศรองรับการเติบโตในทุกมิติ ให้เอื้อต่อการพัฒนานวัตกรรม การลงทุนในอุตสาหกรรมเป้าหมาย การประกอบธุรกิจ รวมถึงการพัฒนาเมือง และการยกระดับชีวิต ความเป็นอยู่ของชุมชนอย่างยั่งยืน ‘Exclusive’ กำหนดสิทธิประโยชน์และมาตรการพิเศษ ในการชักชวนการลงทุนที่มีลักษณะเฉพาะตัว โดยคำนึงถึงประโยชน์ที่ประเทศจะได้รับจากโครงการการลงทุนนั้น ๆ และ ‘Collaborative’ บูรณาการความร่วมมือกับทุกภาคส่วน ในการทำให้การลงทุน เกิดผลประโยชน์สูงสุดต่อการพัฒนาเศรษฐกิจ สังคม ชุมชน

ทั้งนี้ นายกรัฐมนตรีขอบคุณการทำงานของรัฐบาล ทุกหน่วยงานที่ร่วมมือกันจนเห็นความสำเร็จอย่างเป็นรูปธรรมที่เกิดขึ้นกับพื้นที่ EEC ไม่ใช่เพียงความสำเร็จด้านโครงสร้างความเชื่อมโยง แต่รวมถึงการลงทุนจำนวนมาก มากกว่าที่ตั้งเป้าหมายไว้ ทั้งเห็นความสำเร็จถึงประโยชน์ที่ส่งตรงถึงคนไทย พัฒนาเศรษฐกิจ สังคม ชุมชน สร้างงาน พัฒนาการศึกษา นวัตกรรม โดยไม่มองข้ามการพัฒนาอย่างสมดุล ยั่งยืน นายกรัฐมนตรีเชื่อมั่นว่า EEC ที่รัฐบาลภูมิใจ ให้ความสำคัญในการดำเนินการตลอดมานั้น จะเกิดประโยชน์ถึงประชาชนทุกคน

‘BOI’ เผย ‘จีน’ นักลงทุนหลักในประเทศไทย ครึ่งแรกปี 66 ลงทุนแล้วกว่า 6.15 หมื่น ลบ.

เมื่อวันที่ 5 ส.ค. สำนักข่าวซินหัวรายงานว่า เว็บไซต์ไชน่านิวส์ (Chinanews.com) รายงานโดยอ้างอิงรายงานที่เผยแพร่โดยคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุน (BOI) ของไทยไม่นานนี้ ว่าจีนได้กลายเป็นแหล่งการลงทุนหลักสำหรับไทยในช่วงครึ่งแรกของปี 2023

รายงานระบุว่าช่วงครึ่งแรกของปี 2023 ไทยดึงดูดโครงการลงทุนใหม่จากต่างประเทศ 507 โครงการ ในจำนวนนี้เป็นโครงการจากจีน 132 โครงการ ซึ่งมีมูลค่าการลงทุนรวม 6.15 หมื่นล้านบาท คิดเป็นร้อยละ 20 ของการลงทุนจากต่างประเทศทั้งหมด

การลงทุนส่วนใหญ่ครอบคลุมด้านต่าง ๆ ได้แก่ การผลิตยางล้อและผลิตภัณฑ์ยาง การผลิตยานยนต์และชิ้นส่วนยานยนต์ การผลิตเหล็ก อสังหาริมทรัพย์ การจัดหาและการจัดจำหน่ายพลังงาน

รายงานระบุว่าสืบเนื่องจากการลงทุนจากจีนที่เพิ่มขึ้น เศรษฐกิจของไทยจึงเติบโตอย่างแข็งแกร่ง

ทั้งนี้ ช่วง 6 ปีที่ผ่านมา มีนักลงทุนจากจีนได้ยื่นคำขอการลงทุนมากกว่า 900 โครงการ โดยมีมูลค่าการลงทุนรวมกว่า 5.26 แสนล้านบาท

‘บิ๊กตู่’ ปลื้ม!! ค่ายรถเมืองจีนเลือก ‘ไทย’ เป็นฐานผลิตใหญ่ ประเดิมลงทุนเฟสแรก 8.8 พันล้าน เดินหน้าดันไทยสู่ฮับ EV

(16 ส.ค. 66) สำนักนายกรัฐมนตรี เปิดเผยว่า พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม มุ่งเน้นให้ไทยเดินตามนโยบาย 30@30 คือการตั้งเป้าการผลิตรถ ZEV (Zero Emission Vehicle) หรือรถยนต์ที่ปล่อยมลพิษเป็นศูนย์ให้ได้อย่างน้อย 30% ของการผลิตยานยนต์ทั้งหมดในปี ค.ศ.2030 หรือ พ.ศ. 2573 เพื่อก้าวเข้าสู่สังคมคาร์บอนต่ำ (Low Carbon Society) และการเป็นฐานการผลิตยานยนต์ไฟฟ้าและชิ้นส่วนที่สำคัญของโลกหรือศูนย์กลางของภูมิภาค (EV Hub) ซึ่งขณะนี้มีบริษัทผู้ผลิตรถ EV หลายสัญชาติ ได้ตัดสินใจเข้ามาสร้างโรงงานในประเทศไทยอย่างต่อเนื่อง

“คณะกรรมการส่งเสริมการลงทุน (บีโอไอ) ที่มี พล.อ.ประยุทธ์เป็นประธาน ได้รายงานผลสำเร็จของการเดินทางเข้าพบกับนาย Zhu Huarong ประธานกรรมการและคณะผู้บริหาร บริษัท ฉางอัน ออโตโมบิล จำกัด (Changan Automobile) ผู้ผลิตรถยนต์ไฟฟ้ายักษ์ใหญ่ของจีน เมื่อเดือน มิถุนายน 2566 ที่ผ่านมา โดยได้นำเสนอภาพการเติบโตของตลาดรถยนต์ไฟฟ้าในไทย มาตรการสนับสนุน รวมทั้งให้ความมั่นใจเรื่องความต่อเนื่องของนโยบายสนับสนุนรถยนต์ไฟฟ้าของรัฐบาลไทย ทำให้รัฐบาลจีนเห็นชอบให้บริษัทดังกล่าวยื่นขอรับการส่งเสริมการลงทุนจากบีโอไอแล้ว โดยมีการลงทุนในเฟสแรกมูลค่ากว่า 8,800 ล้านบาท เพื่อจัดตั้งฐานการผลิตรถยนต์พวงมาลัยขวาทั้งประเภท BEV, PHEV, REEV (Range Extended EV) กำลังการผลิตในระยะแรก 1 แสนคันต่อปี เพื่อตอบสนองความต้องการรถยนต์ไฟฟ้าที่เติบโตขึ้นอย่างรวดเร็ว โดยจะจำหน่ายทั้งในประเทศและส่งออกไปยังกลุ่มอาเซียน รวมถึงออสเตรเลีย นิวซีแลนด์ อังกฤษ แอฟริกาใต้ และตลาดอื่นๆ โดยบริษัทมีแผนเปิดตัวรถยนต์ไฟฟ้าในไทยช่วงปลายปีนี้” สำนักนายกรัฐมนตรี เผย

สำนักนายกรัฐมนตรี เผยว่า นอกจากจะมาตั้งฐานผลิตที่ประเทศไทยแล้ว บริษัท ฉางอัน ออโตโมบิลยังมีแผนจัดตั้งศูนย์วิจัยและพัฒนาชิ้นส่วนสำคัญ ซึ่งจะเป็นการเสริมศักยภาพอุตสาหกรรมยานยนต์ไทยและถ่ายทอดเทคโนโลยีความรู้ให้กับคนไทยอีกด้วย ซึ่งบริษัท ฉางอัน เป็นผู้นำด้านเทคโนโลยียานยนต์ไฟฟ้าและระบบขับขี่อัจฉริยะ และเป็น 1 ใน 4 ผู้ผลิตรถยนต์รายใหญ่ของจีน

“การที่ บริษัท ฉางอัน ตัดสินใจเลือกไทยเป็นฐานการผลิต สะท้อนถึงความเชื่อมั่นต่อมาตรการส่งเสริมการลงทุนของไทย รวมถึงศักยภาพและความพร้อมในด้านต่างๆ ที่สนับสนุนการแข่งขันอันเป็นผลงานเชิงประจักษ์ ของ พล.อ.ประยุทธ์ จึงเชื่อว่าจะผลักดันให้ไทยก้าวสู่เป้าหมายการเป็นฮับ EV ได้ไม่ยาก ทั้งยังช่วยส่งเสริมลงทุนธุรกิจที่เกี่ยวเนื่อง เกิดการกระตุ้นเศรษฐกิจ กระจายรายได้ พลิกโฉมประเทศไทยตามกลยุทธ์ 3 แกนขับเคลื่อนการพัฒนาประเทศสำหรับอนาคต” สำนักนายกรัฐมนตรี เผย

‘ทล.’ เปิดขายสัญญาร่วมลงทุนที่พักริมทาง ‘ศรีราชา บางละมุง’  ตั้งแต่ 23 ส.ค.- 22 ก.ย.นี้ คาดเริ่มสร้างปี 67 เปิดเต็มรูปแบบปี 69

(17 ส.ค. 66) กรมทางหลวงเปิดขายซองชิงงานร่วมลงทุนที่พักริมทางบนมอเตอร์เวย์สาย 7 ‘ศรีราชา และบางละมุง’ จำนวน 2 สัญญาตั้งแต่ 23 ส.ค. ถึง 22 ก.ย. 66 คาดเริ่มก่อสร้างปี 67 ใช้เวลา 2 ปี เปิดบริการเต็มรูปแบบปี 69 อำนวยความสะดวกผู้ใช้ทาง

นายสราวุธ ทรงศิวิไล อธิบดีกรมทางหลวง เปิดเผยว่า ในวันที่ 16 สิงหาคม 2566 กรมทางหลวงได้ออกประกาศเชิญชวนโครงการร่วมลงทุน สำหรับการให้เอกชนร่วมลงทุนในการพัฒนาและบริหารจัดการที่พักริมทาง (Rest Area) บนทางหลวงพิเศษระหว่างเมืองหมายเลข 7 สายกรุงเทพมหานคร-บ้านฉาง จำนวน 2 โครงการ ประกอบด้วย โครงการศูนย์บริการทางหลวงศรีราชา และโครงการสถานที่บริการทางหลวงบางละมุง เพื่ออำนวยความสะดวกผู้ใช้ทางและยกระดับการให้บริการของระบบทางหลวงพิเศษระหว่างเมืองหมายเลข 7 สู่มาตรฐานสากล โดยจะเป็นจุดแวะพักที่ผู้เดินทางสามารถพักผ่อนอิริยาบถจากการเดินทาง ทำธุระส่วนตัว ช่วยลดการเกิดอุบัติเหตุ และความสูญเสียจากความเหนื่อยล้า หรือหลับในของผู้ขับขี่ ตลอดจนช่วยให้ผู้ใช้ทางประหยัดเวลา และลดค่าใช้จ่ายจากการเดินทางเข้า-ออกทางหลวงพิเศษระหว่างเมืองโดยไม่จำเป็นอีกด้วย

สำหรับโครงการศูนย์บริการทางหลวงศรีราชา เป็นที่พักริมทางขนาดใหญ่ ตั้งอยู่บริเวณ กม.93+500 ของทางหลวงพิเศษระหว่างเมืองหมายเลข 7 ช่วงชลบุรี-พัทยา ระหว่างทางแยกต่างระดับบางพระ (คีรี) และทางแยกต่างระดับหนองขาม อำเภอศรีราชา จังหวัดชลบุรี แบ่งพื้นที่เป็นสองฝั่ง คือ ฝั่งทิศทางมุ่งหน้าออกจากกรุงเทพมหานคร และฝั่งทิศทางมุ่งหน้าเข้ากรุงเทพมหานคร มีขนาดพื้นที่ฝั่งละประมาณ 59 ไร่

ส่วนโครงการสถานที่บริการทางหลวงบางละมุง เป็นที่พักริมทางขนาดกลาง ตั้งอยู่บริเวณ กม.137+100 ของทางหลวงพิเศษระหว่างเมืองหมายเลข 7 ช่วงพัทยา-มาบตาพุด อยู่ระหว่างทางแยกต่างระดับห้วยใหญ่ และทางแยกต่างระดับเขาชีโอน อำเภอบางละมุง จังหวัดชลบุรี แบ่งพื้นที่เป็นสองฝั่ง คือ ฝั่งทิศทางมุ่งหน้าออกจากกรุงเทพมหานคร และฝั่งทิศทางมุ่งหน้าเข้ากรุงเทพมหานคร มีขนาดพื้นที่ฝั่งละประมาณ 38 ไร่

โดยที่พักริมทางทั้ง 2 แห่งจะมีสิ่งอำนวยความสะดวกภายในโครงการที่ครบครัน ประกอบด้วย ที่จอดรถ พื้นที่พักผ่อน พื้นที่สีเขียว ห้องสุขา ที่จำหน่ายอาหารและเครื่องดื่ม ที่จำหน่ายสินค้าและบริการ สถานีบริการน้ำมันเชื้อเพลิง สถานีอัดประจุไฟฟ้าสำหรับรถยนต์พลังงานไฟฟ้า ศูนย์บริการข้อมูลจราจรและเส้นทางการเดินทาง และการบริการอื่นๆ ที่เป็นประโยชน์ต่อผู้เดินทาง

สำหรับการดำเนินงานโครงการฯ จะเป็นการร่วมลงทุนระหว่างรัฐกับเอกชน (Public Private Partnership : PPP) ในรูปแบบ PPP Net Cost โดยกรมทางหลวงจะส่งมอบพื้นที่โครงการฯ ให้เอกชนเป็นผู้ลงทุนก่อสร้างที่พักริมทางและสิ่งอำนวยความสะดวกต่างๆ รวมถึงมีหน้าที่บริหารจัดการและดูแลบำรุงรักษาโครงการฯ ตลอดจนเป็นผู้มีสิทธิ์ในการบริหารจัดการเชิงพาณิชย์และเป็นเจ้าของกรรมสิทธิ์ในรายได้ของโครงการฯ โดยต้องชำระค่าตอบแทนให้กรมทางหลวงตามเงื่อนไขที่กำหนด ภายในระยะเวลาดำเนินโครงการ 32 ปี แบ่งเป็นงาน 2 ระยะ ดังนี้

ระยะที่ 1 การออกแบบและก่อสร้าง เอกชนมีหน้าที่จัดหาแหล่งเงินทุน ออกแบบและก่อสร้างองค์ประกอบและสิ่งปลูกสร้างต่างๆ รวมถึงจัดให้มีสิ่งอำนวยความสะดวกและบริการต่างๆ ให้เป็นไปตามเงื่อนไขและข้อกำหนดที่เกี่ยวข้อง ระยะเวลาไม่เกิน 2 ปี

ระยะที่ 2 การดำเนินงานและบำรุงรักษา เอกชนมีหน้าที่ดูแลและบำรุงรักษา รวมถึงการบริหารจัดการโครงการฯ ให้เป็นไปตามเงื่อนไขและข้อกำหนดที่เกี่ยวข้อง ระยะเวลาไม่เกิน 30 ปี

ทั้งนี้ การดำเนินการคัดเลือกเอกชนร่วมลงทุนฯ ดังกล่าว เป็นไปตามขั้นตอนการคัดเลือกเอกชนที่กำหนดไว้ในพระราชบัญญัติการร่วมลงทุนระหว่างรัฐและเอกชน พ.ศ. 2562 และระเบียบที่เกี่ยวข้อง โดยกรมทางหลวงจะจำหน่ายเอกสารสำหรับการคัดเลือกเอกชน (Request for Proposal : RFP) ของทั้ง 2 โครงการพร้อมกัน ตั้งแต่วันที่ 23 สิงหาคม ถึง 22 กันยายน 2566 ระหว่างเวลา 09.00 น. ถึง 15.00 น. สำหรับผู้ที่สนใจสามารถเข้าไปดูรายละเอียดเพิ่มเติมเกี่ยวกับโครงการฯ ข้อกำหนดคุณสมบัติต่างๆ และขั้นตอนการคัดเลือกเอกชน ได้จากประกาศเชิญชวนฯ (ฉบับทางการ) ที่เว็บไซต์ www.doh.go.th หรือ www.doh-motorway.com

โดยกรมทางหลวงกำหนดให้เอกชนยื่นข้อเสนอช่วงปลายเดือนพฤศจิกายน 2566 และคาดว่าจะดำเนินการคัดเลือกเอกชนแล้วเสร็จในต้นปี 2567 พร้อมลงนามสัญญาและเริ่มต้นก่อสร้างช่วงกลางปี 2567 เพื่อเปิดให้บริการสิ่งอำนวยความสะดวกและบริการบางส่วนในปี 2568 และเปิดให้บริการเต็มรูปแบบในปี 2569 ต่อไป

สำหรับการพัฒนาและบริหารจัดการที่พักริมทาง (Rest Area) บนทางหลวงพิเศษระหว่างเมืองหมายเลข 7 สายกรุงเทพมหานคร-บ้านฉาง ช่วงชลบุรี-พัทยา และช่วงพัทยา-มาบตาพุด เพื่อเปิดโอกาสให้เอกชนที่มีศักยภาพและประสบการณ์มีส่วนร่วมในการลงทุนพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานของภาครัฐ ตามพระราชบัญญัติการร่วมลงทุนระหว่างรัฐและเอกชน พ.ศ. 2562 เพื่อยกระดับการให้บริการของระบบทางหลวงพิเศษระหว่างเมืองสู่มาตรฐานสากล

‘รัฐบาล’ เผย ตัวเลข BOI พบ การลงทุนด้านอุตสาหกรรมฟื้นตัว ‘อิเล็กทรอนิกส์-อาหารแปรรูป-EV’ ปังสุด มูลค่าลงทุนกว่า 3 แสนลบ.

(25 ส.ค. 66) น.ส.รัชดา ธนาดิเรก รองโฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี กล่าวว่า ข้อมูลสำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุน (BOI) เรื่องการฟื้นตัวด้านอุตสาหกรรมในประเทศไทย โดยเฉพาะกลุ่มอิเล็กทรอนิกส์ อาหารแปรรูป และรถยนต์ไฟฟ้า ซึ่งเดือนมกราคม – มิถุนายน 2566 มีมูลค่าเงินลงทุน 364,420 ล้านบาท สะท้อนความสำเร็จมาตรการส่งเสริมการลงทุน โดยเฉพาะการกระตุ้นการลงทุนอุตสาหกรรม EV แบบครบวงจรของรัฐบาล

น.ส.รัชดา กล่าวว่า ยอดขอรับการส่งเสริมการลงทุนช่วง 6 เดือนแรกของปี 2566 เพิ่มขึ้นทั้งจำนวนโครงการและเงินลงทุน ซึ่งแหล่งเงินทุนจากต่างประเทศมาจากจีน สิงคโปร์ และญี่ปุ่น โดยกลุ่มอุตสาหกรรมที่น่าจับตามองคือ กลุ่มรถยนต์ไฟฟ้า ซึ่งรัฐบาลได้เดินหน้าลงทุนไทยอย่างต่อเนื่อง ทั้งบริษัทผลิตรถยนต์ไฟฟ้า ชิ้นส่วน และสถานีชาร์จไฟฟ้า ทำให้ไทยก้าวขึ้นเป็นฐานการผลิตหลักของยานยนต์ไฟฟ้าในภูมิภาคอาเซียน โดยปัจจุบันมีผู้ผลิตรถยนต์ไฟฟ้าแบบ BEV ได้รับการส่งเสริมแล้ว 14 โครงการ เงินลงทุนรวม 33,970 ล้านบาท คิดเป็นกำลังการผลิต 276,640 คันต่อปี

น.ส.รัชดา กล่าวว่า ในช่วงที่ผ่านมาอุตสาหกรรมรถยนต์ของไทยมีการพัฒนามากขึ้น ถือเป็นหนึ่งในผู้ส่งออกรถยนต์รายใหญ่ของโลก เนื่องจากมีห่วงโซ่อุปทานที่ครบวงจรจากการดำเนินการในอุตสาหกรรมนี้มาอย่างยาวนาน และจากการดำเนินนโยบายของรัฐบาลตามมาตรการส่งเสริมการลงทุนใหม่ โดยเฉพาะการเปลี่ยนผ่านไปสู่การผลิตยานยนต์ไฟฟ้า (EV) ออกมาตรการให้เงินอุดหนุนการซื้อรถยนต์ EV เพื่อสร้างตลาดในประเทศ และจะก่อให้เกิดการขยายตัวของอุตสาหกรรมอื่น ๆ ที่เกี่ยวเนื่องตามมา โดยเฉพาะการผลิตชิ้นส่วนอิเล็กทรอนิกส์ และการพัฒนาดิจิทัลแพลตฟอร์มต่าง ๆ สำหรับ EV

น.ส.รัชดา กล่าวว่า รัฐบาลดำเนินนโยบายเพื่อสนับสนุนการพัฒนาอุตสาหกรรมอย่างต่อเนื่อง โดยเฉพาะอุตสาหกรรมหลัก ภายใต้แนวทางการพัฒนาเศรษฐกิจอย่างยั่งยืน ในการส่งเสริมการเติบโตของอุตสาหกรรมรถยนต์ไฟฟ้า รัฐบาลดำเนินมาตรการสนับสนุนแบบครบวงจร ทำให้ตลาดรถยนต์ไฟฟ้าเติบโต เท่าทันประเทศอื่นในภูมิภาค และมีศักยภาพตอบโจทย์การลงทุน ตามมาตรฐานสากล

‘INTERLINK’ เปิดบ้านนำนักลงทุนทัวร์กิจการ-สอบถามเชิงลึก มั่นใจ!! รัฐบาลชุดใหม่จะช่วยฟื้นเศรษฐกิจ หนุนภาคธุรกิจเติบโต

(5 ก.ย. 66) ‘INTERLINK’ โดยคุณสมบัติ อนันตรัมพร ประธานกรรมการ กลุ่ม บมจ. อินเตอร์ลิ้งค์ คอมมิวนิเคชัน (ILINK) เปิดบ้านต้อนรับนักลงทุนกว่า 35 ท่าน พร้อมแถลงผลประกอบการผ่านงาน Opportunity Day จากนั้นได้พากลุ่มนักลงทุนเยี่ยมชมกิจการ และสอบถามผลประกอบการในเชิงลึก

โดยในงานนี้ คุณสมบัติยังกล่าวอีกด้วยว่า กลุ่มบริษัทอินเตอร์ลิ้งค์ฯ มีความมั่นใจว่า ในภาคธุรกิจจะสามารถดำเนินได้อย่างราบรื่น เติบโตทั้งรายได้และกำไรอย่างต่อเนื่อง ยั่งยืน และมีคุณภาพ ตามนโยบายของคณะกรรมการบริษัท

คุณสมบัติได้ตอบคำถามที่นักลงทุนถามว่า เหตุใดตนถึงมั่นใจว่าภาคธุรกิจจะสามารถเติบโตได้อย่างแน่นอน? ว่า…

“ผมมั่นใจว่า ภายหลังเมื่อสามารถตั้งรัฐบาลเสร็จ โดยการบริหารงานภายใต้การนำของ ‘นายกเศรษฐา’ ครั้งนี้ ปรากฏการณ์ที่จะเกิดขึ้นอย่างแน่นอน คือ

1.) ความรู้สึกหรือความเชื่อว่า เศรษฐกิจภายหลังจากนี้จะดีกว่ารัฐบาลที่แล้วอย่างแน่นอน

2.) งบประมาณภาครัฐ โดยเฉพาะงบลงทุนและงบก่อสร้างปรับปรุง ซึ่งสูงกว่าปีที่ผ่านมาประมาณ 20% จะถูกเร่งรัดให้เกิดการก่อสร้างและปรับปรุง อันจะส่งผลต่อการสั่งซื้อสายสัญญาณของบริษัทไปติดตั้งเพิ่มเติม

3.) คู่แข่งโรงงานผลิตสาย Sola Cable, สายโทรศัพท์ และสาย Control รายใหญ่ของประเทศไทยเกิดปัญหาเรื่องของตลาดทุน ทำให้ไม่สามารถผลิตสินค้าได้ทันตามเวลา ส่งผลให้ลูกค้าต้องเปลี่ยนมาสั่งซื้อจากบริษัทอย่างมากมาย

4.) เมื่อเศรษฐกิจดีขึ้น ประชาชนมีความต้องการกับชีวิตที่ดีขึ้น และมีการเปลี่ยนแปลงไปใช้เทคโนโลยีที่อำนวยความสะดวกได้มากขึ้น ทำให้กระแสสัญญาณของสาย FTTR (Fiber To The Room) ถูกบังคับให้ต้องเตรียมการติดตั้งในคอนโดมิเนียม หรือบ้านพักที่สร้างใหม่

ซึ่งผลิตภัณฑ์ LINK มาตรฐานอเมริกา ของบริษัท มี Outlet รุ่นใหม่ที่มีขนาดเท่ากับหน้ากากไฟฟ้า สามารถติดตั้งเป็นเฟอร์นิเจอร์ที่สวยงามในห้อง และใช้งานได้อย่างทรงประสิทธิภาพ คาดว่า หลังจากนี้จะเกิดกระแสการรับอย่างมาก

5.) เมื่อเศรษฐกิจดีขึ้น ทุกคนต้องการความปลอดภัยและใช้ชีวิตด้วยความสะดวกสบาย โดยบริษัทมีผลิตภัณฑ์สายสัญญาณในหมด Security and Control มารองรับการก่อสร้างอาคาร Intelligent และที่พักอาศัยของคนรุ่นใหม่ รวมทั้งช่วยแก้ปัญหาของสายคอนโทรลที่โรงงานในประเทศไทย จำเป็นต้องหยุดการผลิต

“สุดท้ายต้องขอขอบคุณทุกท่านจากใจจริง และเป็นบรรยากาศการพบปะระหว่างประธานบริษัทฯ กับนักลงทุนที่คุยกันอย่างเป็นกันเองในทุกเรื่อง และยืนยันว่า นอกจากนักลงทุนจะทราบข้อมูลเชิงลึกแล้ว บริษัทฯ ยังได้รับคำแนะนำดีๆ จากนักลงทุนอีกด้วย” คุณสมบัติ กล่าว

ส่องตัวแปร ‘เงินทุนจีนทิ้งประเทศ’ กับโอกาสครั้งใหญ่ของไทย สะท้อนผ่าน ‘บีโอไอ’ งานล้นมือ เพราะทุนจีนถือหมุดรอปักสยาม

เมื่อไม่นานนี้ คุณมัทนา มูลจันทร์ กรรมการผู้จัดการ บริษัทสำนักกฎหมายดีทีแอลจำกัด บริษัทเอ็มแอนด์ทีโฮลดิ้งแอนดด์ดีเวลลอปเม้นท์จำกัด ได้ให้สัมภาษณ์ผ่านรายการ ‘Money Chat Thailand’ ตอน เงินทุนจีนทิ้งประเทศ ครั้งใหญ่! ประจำวันที่ เมื่อวันที่ 4 ก.ย. 2566 ดำเนินรายการโดย คุณเนาวรัตน์ เจริญประพิณ ผู้ผลิต Content เศรษฐกิจ ธุรกิจ การเงิน การลงทุน เริ่มต้นจากแนวคิด ‘ลงทุนง่าย ๆ แค่ปลายนิ้ว’ ส่งเสริมให้ทุกคนรู้จักและเข้าใจการรับลงทุนในยุคดิจิทัล

โดยคุณมัทนา ได้ให้มุมมองเกี่ยวกับประเด็น การแข่งขันกันทางภาคธุรกิจในประเทศจีน จนส่งผลให้มีคนจีนจำนวนมาก พยายามจะย้ายมาอยู่ที่ต่างประเทศ อีกทั้ง ทางรัฐบาลยังได้มีการปรามปราบเพื่อจัดระเบียบภายในประเทศ ให้เกิดความเท่าเทียม และลดความเหลื่อมล้ำในสังคม นอกจากนี้ ยังเป็นการป้องกันอำนาจจากกลุ่มทุนใหญ่ ที่พยายามจะใช้อิทธิพลและอำนาจมืด เข้ามาแทรกแซงการบริหาร รวมถึงนโยบายต่างๆ ของรัฐบาล ว่า…

“ความจริงแล้ว ประเทศจีนมีกฎหมายหนึ่งที่ประเทศไทยเองก็มีเช่นกัน แต่ของจีนจะค่อนข้างเข้มงวดกว่า คือ ‘การผูกขาดทางการค้า’ ซึ่งเป็นความพยายามของรัฐบาลที่จะจัดการในส่วนนี้ ดังนั้น จึงเห็นได้ว่า ทุกอย่างจะถูกผลักเข้าไปสู่กลไกของธุรกิจ การแข่งขันก็มักเป็นการแข่งขันกันในเชิงธุรกิจ อย่างประเทศไทยเรามีรัฐวิสาหกิจในบางสายงาน ในบางองค์กร หรือในบางกระทรวง ทบวง กรม อาจจะมีรัฐวิสาหกิจอยู่แค่ไม่กี่บริษัท แต่ในประเทศจีนมีบริษัทที่เป็นรัฐวิสาหกิจเป็นร้อย หรืออาจจะหลายร้อยบริษัท ยกตัวอย่างเช่น ในกระทรวงคมนาคมมีบริษัทลูกที่เป็นรัฐวิสาหกิจเป็นร้อยบริษัท จึงทำให้การแข่งขันกันระหว่างสายงานต่างๆ นั้น มีค่อนข้างสูง เนื่องจากต้องแข่งขันกันเพื่อความอยู่รอดของธุรกิจต่างๆ ทำให้ขาดการช่วยเหลือกัน”

“นอกจากนี้ หลักการในการลงทุนของประเทศจีน มีแนวทางนโยบายบางประการ ที่ทางภาคธุรกิจ ‘จำใจ’ ต้องยอมจ่าย เนื่องจากถูกกดดันจากทางรัฐบาล 2 อย่างด้วยกัน คือ

‘กำแพงภาษี’ หากคุณผลิตสินค้าในจีน คุณจะถูกเก็บภาษีสูงมาก ซึ่งเป็นเหมือนการบังคับให้ต้องยอมจ่าย ดังนั้น กลุ่มนายทุนจึงต้องออกมาตั้งโรงงานกันในต่างประเทศ เพื่อไม่ให้สินค้าของบริษัท เป็นสินค้าที่ผลิตในจีนจนต้องเสียภาษีมหาโหด

สินค้าของกลุ่มทุนจีนที่ผลิตในต่างประเทศ ยกตัวอย่างเช่น สินค้าด้านพลังงาน อย่างแผงโซลาร์เซลล์ ที่สามารถสังเกตได้ว่า เกือบจะถูกแบรนด์ใหญ่ๆ ของจีน ต้องมาตั้งโรงงานในประเทศไทย เพื่อผลิตสินค้า จากนั้นจึงคอยส่งกลับไปขายในจีน

แต่ตอนนี้ก็เริ่มมีปัญหาตามมา คือ ทางรัฐบาลจีนเขาไม่ได้ดูแค่สินค้าชิ้นนี้ผลิตที่ประเทศจีนหรือไม่ แต่เขาตรวจสอบไปจนถึงวัสดุที่เป็นส่วนประกอบในการผลิตสินค้าเลยทีเดียว

แต่อย่างไรก็ตาม กระบวนการเรียกเก็บภาษีนี้ ก็มีขั้นตอนเป็นระบบ และให้มีประกาศทางการอย่างชัดเจน เพื่อให้ระยะเวลาภาคธุรกิจในการตั้งตัวรับมือได้ทัน”

“เรื่องต่อมา ซึ่งเป็นเรื่องล่าสุด คือ บริษัทต่างๆ จะต้องตั้งโรงงานการผลิตนอกประเทศจีน และไต้หวัน เนื่องจากเกิดปัญหาความน่าเชื่อถือที่ลดลง เพราะรัฐบาลตั้งกฎหมายเกี่ยวกับภาคธุรกิจออกมามากมาย เพื่อที่จะควบคุมการผูกขาดทางการค้า ทำให้ลูกค้าในประเทศต่างๆ ไม่มีความเชื่อมั่นว่า หากสั่งซื้อสินค้าไปแล้ว จะได้รับสินค้าตามกำหนดหรือไม่

และที่สำคัญที่สุด คือ ความขัดแย้งทางการเมืองโลก ระหว่างประเทศจีนกับประเทศต่างๆ โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ประเทศสหรัฐอเมริกา ที่อาจส่งผลกระทบต่อความมั่นคงทางเศรษฐกิจ การค้า รวมถึงการลงทุนได้ ทำให้นักลงทุนกลัวการเกิดปัญหาต่างๆ ตามมาในภายหลัง”

“ด้วย 2 ปัจจัยหลักนี้เอง ทำให้ประเทศไทย กลายเป็น ‘หมุดหมายหลัก’ ที่เหล่ากลุ่มทุนจากจีน จะแห่กันเข้ามาลงทุน เพราะนอกจากที่ไทยจะเป็นประเทศที่มีศักยภาพและกำลังในการผลิตสูงแล้ว จุดเด่นของประเทศไทยอีกเรื่องคือ ไทยเป็นประเทศที่ไม่เคยมีท่าทีต่อต้านชาวจีน อีกทั้งยังพร้อมอ้าแขนเปิดรับชาวจีนมากที่สุด กว่าทุกประเทศในภูมิภาคอาเซียนอีกด้วย”

“สิ่งนี้ส่งผลให้ประเทศไทยรับประโยชน์จากไปเต็มๆ อีกทั้ง ทาง ‘สำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุน’ หรือ BOI ยังร่วมหน้าที่ส่งเสริมการลงทุนในประเทศ ทั้งในด้านการเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขัน และอำนวยความสะดวกด้านการลงทุน รวมถึงการบริการสนับสนุนธุรกิจให้แก่นักลงทุนต่างชาติ ยิ่งทำให้นักลงทุนจากทั่วทุกสารทิศ โดยเฉพาะจากในจีนแผ่นดินใหญ่ ต่างหลั่งไหลกันมาปักหมุดหมายในไทย โดยหลายๆ แบรนด์ยังมีแผนที่จะยกให้ไทยเป็นศูนย์กลางในการผลิตที่ใหญ่ที่สุดในภูมิภาคอาเซียนอีกด้วย”

แม้จะมีกระแสบางส่วนมองว่า การที่กลุ่มนักลงทุนจีนมาตั้งโรงงานผลิตในประเทศไทยนั้น เป็นเรื่องที่ทำให้คนไทยเสียเปรียบ เนื่องจากทาง BOI ได้ให้สิทธิประโยชน์ทางด้านภาษีในการลงทุนแก่กลุ่มทุนจีน โดยในเรื่องนี้ คุณมัทนาได้ให้ความคิดว่า…

“หากลองย้อนกลับไปดูดีๆ การก่อตั้งโรงงานนั้นไม่ได้สามารถทำกำไรได้ตั้งแต่ภายในปีแรก บางโรงงานเพิ่งสามารถทำกำไรได้ภายใน 3-5 ปีต่อมาเสียด้วยซ้ำ ซึ่งก็สอดคล้องกับระยะเวลาที่ทาง BOI ให้สิทธิไว้ตามเงื่อนไขการลงทุน อีกทั้งไม่ใช่ธุรกิจทุกประเภทจะได้รับการยกเว้นเสียภาษี ธุรกิจแต่ละประเภทก็มีระยะเวลาการยกเว้นเสียภาษีที่แตกต่างกันออกไป

ดังนั้น การที่ประเทศไทยมีกลุ่มทุนมาลงทุนนั้น นับว่าเป็นเรื่องที่ดีเป็นอย่างยิ่ง เพราะนอกจากจะทำให้อัตราการลงทุนเพิ่มแล้ว ยังเกิดการจ้างแรงงานเพิ่มขึ้น คนไทยมีงานทำมากขึ้น ช่วยให้คนไทยได้เพิ่มพูนศักยภาพ พัฒนาทักษะการทำงานให้คนไทยมากขึ้น และยังส่งผลให้มีเม็ดเงินหมุนเวียนในระบบเศรษฐกิจ ช่วยให้การค้าขายระหว่างประเทศเติบโตก้าวหน้า เป็นประโยชน์ต่อไปเป็นทอดๆ อีกด้วย”

‘คนกัมพูชา’ เซ็ง!! ทำไมค่ายรถยักษ์ใหญ่ไหลไป ‘ไทย’ แค่ ‘ดึงดูดดี-มีพันธมิตรมาก-ยึดผลประโยชน์ชาติเป็นที่ตั้ง’

เมื่อวันที่ 18 ก.ย. 66 รายการ ‘ส่องโลกคอมเมนต์’ ตอน ไทยดียังไง? ทำไมค่ายรถยนต์ไม่มาลงทุนที่กัมพูชา? ได้ข้อสังเกตเกี่ยวกับสาเหตุที่ว่า เพราะเหตุใด ‘ไทย’ ถึงเป็นประเทศที่มีแรงดึงดูดกลุ่มนักลงทุนต่างชาติ ให้แห่กันมาลงทุนด้านอุตสาหกรรม EV มากกว่าประเทศอื่นรอบข้าง และเพราะเหตุใด แบรนด์ EV ดังหลายเจ้า อาทิ MG, BYD, Great Wall Motor, Changan Automobile หรือแม้แต่ GAC AION ยังย้ายโรงงานออกมานอกประเทศเป็นครั้งแรก โดยเลือก ‘ไทย’ เป็นที่ตั้งฐานการผลิตใหญ่ที่แรกในโลก

อีกทั้ง ล่าสุด KIA Motors แบรนด์รถยนต์เจ้าใหญ่ของเกาหลีใต้ และ BMW ค่ายรถยักษ์ใหญ่ชื่อดังระดับโลกจากเยอรมนี ก็เพิ่งตัดสินใจมาตั้งฐานการผลิตใหญ่ในไทยอีกด้วย

ด้วยประการทั้งหมดที่กล่าวมาข้างต้นนี้เอง ที่สร้างความฉงนใจให้แก่ประเทศกัมพูชาไม่น้อย จนทำให้รายการดังรายการนึงของกัมพูชาต้องออกมาทำการวิเคราะห์อย่างจริงจัง ถึงข้อได้เปรียบและศักยภาพในการดึงดูดนักลงทุนต่างชาติของประเทศไทย โดยระบุไว้ดังนี้…

เหตุเพราะแบรนด์ EV สัญชาติญี่ปุ่น ที่มีโรงงานผลิตรถยนต์ในประเทศไทยอยู่แล้ว ยังมีแนวโน้ม ‘สงวนท่าที’ ในปริมาณกำลังการผลิต EV ในไทย จึงทำให้ค่ายรถยนต์จีนต่างสบโอกาส แห่มาลงทุนในไทยกันอย่างเต็มที่ และนั่นก็ทำให้ได้รับการสนับสนุนจากรัฐบาลไทย ทั้งในแง่การอำนวยความสะดวกต่อค่ายรถยนต์ ตลอดจนสิทธิพิเศษในเรื่องของภาษี เช่น งดเว้นการเก็บภาษีรถยนต์ และภาษีแบตเตอรี่ในช่วงแรก

อีกทั้งรัฐบาลไทย ยังมีมาตรการสนับสนุนให้คนไทยหันมาใช้รถ EV โดยมีส่วนลดภาษีจูงใจกว่าคันละ 150,000 บาท จนทำให้ประเทศไทยมียอดขายรถไฟฟ้าสูงที่สุดในภูมิภาคอาเซียนอีกด้วย

ในขณะที่ประเทศกัมพูชา ถูกสหภาพยุโรป หรือ ‘EU’ ตัดสิทธิพิเศษทางภาษี หรือ ‘GSP’ สำหรับอุตสาหกรรมสิ่งทอ ซึ่งถือเป็นรายได้หลักของประเทศมากกว่า 80% เนื่องจากมีการละเมิดสิทธิมนุษยชนและแรงงาน รวมถึงสถานการณ์ความไม่สงบของการเมืองในกัมพูชา จนเป็นส่วนนึงที่ทำให้ EU ยกเลิก GSP ซ้ำร้ายกว่านั้น GSP ระหว่างกัมพูชากับสหรัฐฯ ก็กำลังจะหมดอายุลง ทำให้กลุ่มนักลงทุนต่างประเทศเกิดการชะลอตัวในการมาตั้งฐานการผลิตในกัมพูชากันหมด

นอกจากนี้ ก็มีชาวเน็ตกัมพูชา มาร่วมแสดงความคิดเห็นกันเป็นจำนวนมาก อาทิ...

- รัฐบาลไทย รู้วิธีดึงดูดและต่อรอง เพื่อประโยชน์ของชาติมากกว่าผลประโยชน์ส่วนตัวและพรรค

- ประเทศไทย มีแนวโน้มหันเหไปทางฝั่งตะวันตก เหมือนกับเวียดนาม คบกับประเทศร่ำรวย ที่เป็นพันธมิตรของสหรัฐอเมริกา เช่น ญี่ปุ่น เกาหลีใต้ และประเทศต่างๆ ในสหภาพยุโรป ส่วนนโยบายกับจีน ไทยจะให้ความสำคัญกับชาติตัวเองก่อนเป็นอันดับแรก นักการเมืองไทยไม่รับสินบนจากจีนเทา จีนจะค้าขายอะไรต้องได้รับอนุมัติจากทางการไทยก่อน

- เพราะประเทศไทยมีข้อได้เปรียบ 3 ประเด็น ดังนี้ 1.) มีการทุจริตน้อย 2.) มีทรัพยากรบุคคลจำนวนมาก อีกทั้งยังมีการศึกษาดีและมีทักษะสูง และ 3.) สถานการณ์การเมืองอยู่ในเกณฑ์ดี

- ประเทศไทยฉลาดมากและไม่เคยมีสงคราม ดังนั้น ประเทศไทยจึงมีการพัฒนาทั้งด้านภูมิศาสตร์และประชากร

- ในประเทศไทย มีทรัพยากรคนที่มีทักษะ มีความคิดสร้างสรรค์ และมีศักยภาพ สอดคล้องกับวิชาชีพ ไม่ได้มีแต่แรงงานไร้ฝีมือ ประเทศไทยให้ความสำคัญ กับบุคคลที่มีความสามารถ ไม่ใช่การเลียนาย

- ไทยคอร์รัปชันน้อยกัมพูชา จริงจังกับกฎหมาย ไทยฉลาดที่อยู่ตรงกลาง ไทยไม่เสียเปรียบทั้งกับจีนและสหรัฐฯ ไม่เหมือนกัมพูชา ที่เลือกข้างจีนฝ่ายเดียว เพราะผู้นำที่โง่เขลา จนสูญเสีย EBA และ GSP

- โรงงานผลิตขึ้นส่วนรถยนต์มีหลายแห่งในประเทศไทยมี จึงมีความสะดวกทั้งด้านทรัพยากรบุคคล อะไหล่ สภาพการทำงาน ตลอดจนซับพลายเชนพร้อมอยู่แล้ว

เหตุผลแค่นี้เอง!!


TRENDING
© Copyright 2021, All rights reserved. THE STATES TIMES
Take Me Top