‘LGBTQ+’ ตรวจสุขภาพเฉพาะทางได้ที่ไหนบ้าง มาดูกัน!!

เนื่องจากเดือนมิถุนายนของทุกปีถือเป็น Pride Month สำหรับกลุ่มผู้มีความหลากหลายทางเพศหรือ LGBTQ+ ซึ่งปัจจุบันมีการรณรงค์สนับสนุนความเท่าเทียมและความภาคภูมิใจในตัวเอง โดยเฉพาะเรื่องการดูแลสุขภาพนับเป็นสิทธิขั้นพื้นฐานสำหรับประชาชนทุกคนรวมถึงกลุ่มผู้มีความหลากหลายทางเพศ
การตรวจสุขภาพ คือ การตรวจร่างกายในภาวะที่ร่างกายเป็นปกติดี ไม่มีอาการเจ็บป่วย โดยมีวัตถุประสงค์ในการค้นหาปัจจัยเสี่ยงและภาวะผิดปกติ เพื่อให้ทราบแนวทางป้องกันการเกิดโรคร้ายแรง ในทุกช่วงอายุควรเข้ารับการตรวจสุขภาพ ซึ่งสามารถเลือกตรวจสุขภาพประจำปีกับโรงพยาบาลรัฐหรือเอกชนก็ได้

>> การตรวจสุขภาพในกลุ่มเด็กและวัยรุ่น
มุ่งเน้นไปที่การตรวจร่างกายทั่วไป (ชั่งน้ำหนัก วัดส่วนสูง) เพื่อค้นหาความผิดปกติ ประเมิน การเจริญเติบโตตามวัย และเฝ้าระวังด้านพัฒนาการ รวมไปถึงการรับวัคซีนต่าง ๆ ตามกำหนดเวลา เพื่อป้องกันการเกิดโรค



>> การตรวจสุขภาพในกลุ่มวัยทำงาน
สำหรับผู้ที่มีอายุระหว่าง 18 - 60 ปี โดยการซักประวัติเพื่อค้นหาความเสี่ยงของโรค โดยเฉพาะในกลุ่มที่ครอบครัวเคยมีประวัติป่วยด้วยโรคหัวใจและหลอดเลือดสมอง เบาหวาน ประกอบกับการตรวจร่างกายทั่วไป เช่น ชั่งน้ำหนัก วัดส่วนสูง วัดความดันโลหิต เพื่อช่วยในการคัดกรองภาวะเสี่ยงของโรค ซึ่งควรตรวจร่างกายอย่างน้อยปีละ 1 ครั้ง


 

- ตรวจสุขภาพช่องปากเป็นประจำทุกปี ปีละ 1 ครั้ง
- ตรวจการได้ยินปีละ 1 ครั้ง
- แบบประเมินสภาวะสุขภาพ เช่น ภาวะซึมเศร้า การใช้ยาและสารเสพติด การดื่มแอลกอฮอล์ การติดนิโคตินในผู้สูบบุหรี่ เป็นต้น
- การตรวจตา สำหรับผู้ที่มีอายุ 40 ปีขึ้นไป ควรได้รับการตรวจวัดสายตาและตรวจคัดกรองโรคต้อหิน ภาวะความดันลูกตาสูง และความผิดปกติอื่นๆ โดยทีมจักษุแพทย์ อย่างน้อย 1 ครั้ง
- การถ่ายภาพรังสีทรวงอก (Chest x-ray) โดยเฉพาะผู้ที่มีความเสี่ยง เช่น ไอเรื้อรัง เจ็บหน้าอก หรือมีอาการสงสัยว่าเป็นวัณโรคและมะเร็งปอด
- ตรวจความสมบูรณ์ของเม็ดเลือด (CBC) ช่วยคัดกรองภาวะโลหิตจางหรือความผิดปกติอื่นของเม็ดเลือดหรือเกล็ดเลือด

- ตรวจระดับไขมันในเลือด ควรตรวจทุก 5 ปี เพื่อช่วยประเมินความเสี่ยงต่อโรคหัวใจและหลอดเลือด
- ตรวจระดับน้ำตาลในเลือด สำหรับผู้ที่มีอายุ 35 ปีขึ้นไป ควรได้รับการตรวจทุกปี 
- ตรวจปัสสาวะ เพื่อช่วยตรวจคัดกรองโรคไตบางชนิด
- ตรวจอุจจาระ สำหรับผู้ที่มีอายุ 50 ปีขึ้นไป ควรได้รับการตรวจเพื่อคัดกรองมะเร็งลำไส้ใหญ่ อย่างน้อยปีละ 1 ครั้ง
- ตรวจวัดระดับกรดยูริก โดยเฉพาะผู้ที่มีอาการปวดข้อ ข้ออักเสบ หรือเสี่ยงต่อการเป็นโรคเกาต์
- การตรวจการทำงานไต 
- การตรวจการทำงานตับ 
- ตรวจเชื้อไวรัสตับอักเสบบี (HBsAg) โดยเฉพาะผู้ที่เกิดก่อนปี พ.ศ. 2535 
- ตรวจเต้านม สำหรับผู้หญิงในช่วงอายุ 30-39 ปี ควรได้รับการตรวจเต้านมทุก 3 ปี และผู้หญิงอายุ 40 ปีขึ้นไป ควรได้รับการตรวจเต้านมเป็นประจำทุกปี
- ตรวจคัดกรองมะเร็งปากมดลูก สำหรับผู้หญิงอายุ 30 ปีขึ้นไป ควรได้รับการตรวจคัดกรองด้วย Pap’s smear ทุก 3 ปี

>> การตรวจสุขภาพในกลุ่มผู้สูงอายุ
สำหรับผู้ที่มีอายุ 60 ปีขึ้นไป นอกจากการตรวจสุขภาพขั้นพื้นฐานแล้วควรได้รับการตรวจเพิ่มเติมดังนี้
-การตรวจตา ควรได้รับการตรวจทุก 1-2 ปี
- ตรวจอุจจาระ ควรได้รับการตรวจทุกปี
- การประเมินภาวะสุขภาพ ได้แก่ ภาวะโภชนาการ ความเสี่ยงภาวะกระดูกพรุน ประเมินสมรรถภาพการทำงานของสมอง เป็นต้น
- ตรวจระดับไขมันในเลือดทุก 5 ปี
- ตรวจระดับน้ำตาลในเลือดทุกปี
- ตรวจระดับ Creatinine ในเลือดทุกปี เพื่อประเมินการทำงานของไต
- ตรวจปัสสาวะทุกปี
- หากอายุ 70 ปีขึ้นไป ควรได้รับการตรวจความสมบูรณ์ของเม็ดเลือด (CBC) ทุกปี
- ตรวจเต้านม สำหรับผู้หญิงวัย 60 ปีขึ้นไป ควรได้รับการตรวจเต้านมทุกปี
- ตรวจคัดกรองมะเร็งปากมดลูก สำหรับผู้หญิงวัย 60 ปีขึ้นไป ควรได้รับการตรวจได้รับการตรวจคัดกรองด้วยวิธี Pap smear ทุก 3 ปี

สำหรับกลุ่มผู้มีความหลากหลายทางเพศ หรือ LGBTQ+ แม้ว่าปัจจุบันจะมีคลินิกสาธารณสุข เฉพาะทางด้านสุขภาพของกลุ่ม LGBTQ+ ในโรงพยาบาลของรัฐเพียง 2 แห่งเท่านั้น คือ...
1. คลินิกสุขภาพเพศ โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ สภากาชาดไทย 
2. คลินิกสุขภาพเพศหลากหลาย โรงพยาบาลรามาธิบดี
แต่ก็นับเป็นจุดเริ่มต้นสำหรับการพัฒนาในอนาคตสำหรับกลุ่มผู้มีความหลากหลายทางเพศในการเข้ารับบริการทางสุขภาพอย่างเท่าเทียมและไม่เลือกปฏิบัติ

เอกสารอ้างอิง
- https://chulalongkornhospital.go.th/kcmh/
- https://www.rama.mahidol.ac.th/
- https://humanrights.gov.au/our-work/education/face-facts-lesbian-gay-bisexual-trans-and-intersex-people
-เพศภาวะกับสุขภาพจิต [Mental health and gender โดย สมพร รุ่งเรืองกลกิจ แผนงานพัฒนานวัตกรรมเชิงระบบเพื่อการสร้างเสริมสุขภาพจิตปี 2564


👍 ติดตามผลงาน กภ.คณิต คล้ายแจ้ง เพิ่มเติมได้ที่ : https://thestatestimes.com/author/กภ.คณิต%20คล้ายแจ้ง