Sunday, 19 May 2024
ผู้มีความหลากหลายทางเพศ

‘LGBTQ+’ ตรวจสุขภาพเฉพาะทางได้ที่ไหนบ้าง มาดูกัน!!

เนื่องจากเดือนมิถุนายนของทุกปีถือเป็น Pride Month สำหรับกลุ่มผู้มีความหลากหลายทางเพศหรือ LGBTQ+ ซึ่งปัจจุบันมีการรณรงค์สนับสนุนความเท่าเทียมและความภาคภูมิใจในตัวเอง โดยเฉพาะเรื่องการดูแลสุขภาพนับเป็นสิทธิขั้นพื้นฐานสำหรับประชาชนทุกคนรวมถึงกลุ่มผู้มีความหลากหลายทางเพศ
การตรวจสุขภาพ คือ การตรวจร่างกายในภาวะที่ร่างกายเป็นปกติดี ไม่มีอาการเจ็บป่วย โดยมีวัตถุประสงค์ในการค้นหาปัจจัยเสี่ยงและภาวะผิดปกติ เพื่อให้ทราบแนวทางป้องกันการเกิดโรคร้ายแรง ในทุกช่วงอายุควรเข้ารับการตรวจสุขภาพ ซึ่งสามารถเลือกตรวจสุขภาพประจำปีกับโรงพยาบาลรัฐหรือเอกชนก็ได้

>> การตรวจสุขภาพในกลุ่มเด็กและวัยรุ่น
มุ่งเน้นไปที่การตรวจร่างกายทั่วไป (ชั่งน้ำหนัก วัดส่วนสูง) เพื่อค้นหาความผิดปกติ ประเมิน การเจริญเติบโตตามวัย และเฝ้าระวังด้านพัฒนาการ รวมไปถึงการรับวัคซีนต่าง ๆ ตามกำหนดเวลา เพื่อป้องกันการเกิดโรค



>> การตรวจสุขภาพในกลุ่มวัยทำงาน
สำหรับผู้ที่มีอายุระหว่าง 18 - 60 ปี โดยการซักประวัติเพื่อค้นหาความเสี่ยงของโรค โดยเฉพาะในกลุ่มที่ครอบครัวเคยมีประวัติป่วยด้วยโรคหัวใจและหลอดเลือดสมอง เบาหวาน ประกอบกับการตรวจร่างกายทั่วไป เช่น ชั่งน้ำหนัก วัดส่วนสูง วัดความดันโลหิต เพื่อช่วยในการคัดกรองภาวะเสี่ยงของโรค ซึ่งควรตรวจร่างกายอย่างน้อยปีละ 1 ครั้ง


 

- ตรวจสุขภาพช่องปากเป็นประจำทุกปี ปีละ 1 ครั้ง
- ตรวจการได้ยินปีละ 1 ครั้ง
- แบบประเมินสภาวะสุขภาพ เช่น ภาวะซึมเศร้า การใช้ยาและสารเสพติด การดื่มแอลกอฮอล์ การติดนิโคตินในผู้สูบบุหรี่ เป็นต้น
- การตรวจตา สำหรับผู้ที่มีอายุ 40 ปีขึ้นไป ควรได้รับการตรวจวัดสายตาและตรวจคัดกรองโรคต้อหิน ภาวะความดันลูกตาสูง และความผิดปกติอื่นๆ โดยทีมจักษุแพทย์ อย่างน้อย 1 ครั้ง
- การถ่ายภาพรังสีทรวงอก (Chest x-ray) โดยเฉพาะผู้ที่มีความเสี่ยง เช่น ไอเรื้อรัง เจ็บหน้าอก หรือมีอาการสงสัยว่าเป็นวัณโรคและมะเร็งปอด
- ตรวจความสมบูรณ์ของเม็ดเลือด (CBC) ช่วยคัดกรองภาวะโลหิตจางหรือความผิดปกติอื่นของเม็ดเลือดหรือเกล็ดเลือด

'กาชาด' โต้ กสม. ยันไม่เคยเลือกปฏิบัติต่อกลุ่มหลากหลายทางเพศ กรณีการจำกัดสิทธิบริจาคโลหิตในผู้ที่มีความหลากหลาย

(11 ก.ค.66) 'กาชาด' แจงข้อเท็จจริง เหตุ ‘กสม.’ แถลงคลาดเคลื่อน หวั่นเกิดความเข้าใจผิด ยันไม่มีการเลือกปฏิบัติ ตระหนักถึงหลักการ #ความเท่าเทียม

จากกรณี ‘สำนักงานคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ (กสม.)’ แถลงข่าวผ่านสื่อมวลชน (6 ก.ค. 2566) ถึงประเด็นเรื่อง 'การจำกัดสิทธิการบริจาคโลหิตในผู้ที่มีความหลากหลายทางเพศ' อันเป็นข้อมูลคลาดเคลื่อนจากความเป็นจริง ซึ่งทำให้ผู้บริจาคโลหิตและประชาชนเกิดความเข้าใจผิด

‘ศูนย์บริการโลหิตแห่งชาติ สภากาชาดไทย’ ยังคงตระหนักถึงหลักการความเท่าเทียมกันของมนุษย์ และมาตรฐานสากลในการคัดเลือกผู้บริจาคโลหิต ที่ต้องคำนึงถึงความปลอดภัยของผู้บริจาคและผู้ป่วยผู้รับโลหิตเป็นสำคัญ รวมถึงมีการทบทวนเกณฑ์การรับบริจาคโลหิตมาอย่างต่อเนื่อง มีการปรับคำถามในการคัดกรองและประชาสัมพันธ์มาอย่างสม่ำเสมอ โดยขณะนี้ ศูนย์บริการโลหิตแห่งชาติ อยู่ระหว่างดำเนินโครงการวิจัยเพื่อพัฒนาเกณฑ์การรับบริจาคโลหิตของประเทศ ร่วมกับ สมาคมฟ้าสีรุ้งแห่งประเทศไทย

โอกาสนี้ ‘ศูนย์บริการโลหิตแห่งชาติ สภากาชาดไทย’ ขอยืนยันข้อเท็จจริงว่า มิได้มีการเลือกปฏิบัติหรือตีตราผู้มีความหลากหลายทางเพศแต่อย่างใด หากแต่มุ่งมั่นในการให้บริการโลหิตที่ปลอดภัยทั้งผู้ให้และผู้รับ และขอให้ ‘สำนักงานคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ’ ทบทวนประเด็นดังกล่าวและแถลงข้อเท็จจริงต่อไป


TRENDING
© Copyright 2021, All rights reserved. THE STATES TIMES
Take Me Top