Friday, 19 April 2024
สุขภาพ

ผลวิจัยชี้ 'สูบบุหรี่ไฟฟ้า' เสี่ยงเบาหวานเพิ่ม 22% อันตรายเท่าสูบ 'บุหรี่' ธรรมดา 

เมื่อวันที่ 13 มีนาคม ดร.พญ.เริงฤดี ปธานวนิช อาจารย์ภาควิชาเวชศาสตร์ชุมชน คณะแพทยศาสตร์โรงพยาบาลรามาธิบดี เผยงานวิจัยใหม่จาก มหาวิทยาลัยจอนส์ ฮอปกินส์ สหรัฐอเมริกา ที่พบว่า “การสูบบุหรี่ไฟฟ้ามีความสัมพันธ์กับภาวะก่อนเบาหวาน หรือ Prediabetes” โดยการศึกษาครั้งนี้เป็นการใช้ข้อมูลสำรวจสุขภาพและพฤติกรรมเสี่ยงของประชาชนอเมริกา (Behavioral Risk Factor Surveillance System Survey : BRFSS) ซึ่งถือว่าเป็นการสำรวจที่ใหญ่ที่สุดมีกลุ่มตัวอย่างกว่า 600,000 คนทั่วประเทศ เพื่อหาความสัมพันธ์ระหว่างการ สูบบุหรี่ไฟฟ้า กับภาวะก่อนเบาหวาน (การมีระดับน้ำตาลในเลือดสูงกว่าปกติแต่ยังไม่เข้าเกณฑ์ของโรคเบาหวาน)

ซึ่งผลการศึกษาพบว่า คนที่สูบบุหรี่ไฟฟ้า มีความเสี่ยงต่อการมีระดับ น้ำตาลในเลือด สูงกว่าปกติหรือภาวะก่อนเบาหวานเพิ่มขึ้น 22% ส่วนในคนที่สูบบุหรี่ไฟฟ้าโดยที่ไม่เคยมีประวัติสูบบุหรี่ธรรมดามาก่อนเลย ยิ่งพบความเสี่ยงเพิ่มขึ้นเป็น 54% โดยคนที่ถูกวินิจฉัยว่ามีภาวะก่อนเบาหวาน มีแนวโน้มสูงที่จะเป็น เบาหวาน ในอนาคต

“ตะคริว” ตอนกลางคืน…ปัญหาสุขภาพที่ไม่ควรมองข้าม

เชื่อว่าหลายคนคงเคยประสบปัญหาการเป็นตะคริวตอนกลางคืนขณะนอนหลับ ทำให้เกิดความทุกข์ทรมานเป็นอย่างมากจนต้องสะดุ้งตื่นกลางดึก ทั้งนี้อาการ “ตะคริว” ยังเป็นหนึ่งในสัญญาณเตือนปัญหาสุขภาพในร่างกายอีกด้วย

อาการ “ตะคริว” ที่ขาช่วงเวลากลางคืน เป็นการหดเกร็งเป็นก้อนแข็งของกล้ามเนื้อที่เกิดขึ้นฉับพลัน มักเกิดความเจ็บปวดมากอยู่ช่วงระยะเวลาหนึ่งก่อนอาการจะทุเลาลง โดยมักจะเกิดกับกล้ามเนื้อด้านหลัง ต้นขา (Hamstrings) หรือ ด้านหลังน่อง (Calf) 

การเป็นตะคริวนี้อาจเกิดขึ้นกับกล้ามเนื้อส่วนใดของร่างกายก็ได้ และอาจเกิดกับกล้ามเนื้อเพียงมัดเดียวหรือหลายๆ มัดพร้อมกันก็ได้ พบได้บ่อยในวัยกลางคนและผู้สูงอายุ มักพบในเพศหญิงมากกว่าเพศชาย ในช่วงอายุ 50 ปีขึ้นไป รวมถึงหญิงตั้งครรภ์

❤️ สาเหตุการเกิดตะคริวตอนกลางคืน ❤️
1.) การนั่งหรือยืนอยู่ในท่าเดิมนานๆ เช่น พนักงานออฟฟิศที่ต้องนั่งประชุมทั้งวันและไม่ได้ขยับร่างกาย อาจส่งผลให้เกิดตะคริวที่ขาขณะนอนหลับได้ 
2.) ผู้ที่ออกกำลังกายหรือทำกิจกรรมอย่างหนักที่ต้องใช้แรงขามาก เช่น การเล่นกีฬา หรือ ปีนเขา ทำให้กล้ามเนื้อขาทำงานหนัก เป็นปัจจัยนำไปสู่การหดเกร็งของกล้ามเนื้อขาและอาการตะคริวขณะนอนหลับ
3.) การนอนหลับในท่าเหยียดขาตรง ข้อเท้าและปลายเท้าชี้ลง ช่วยส่งเสริมให้กล้ามเนื้อน่องอยู่ในท่า      หดสั้น อาจทำให้เสี่ยงต่อการเป็นตะคริวได้ง่าย
4.) อากาศเย็นหรือฤดูหนาวเป็นช่วงที่มีอาการตะคริวเกิดขึ้นบ่อย โดยเฉพาะช่วงกลางคืนระหว่างนอนหลับอุณหภูมิในร่างกายจะลดต่ำลง ทำให้ปวดมากขึ้น 
5.) การทำงานผิดปกติของเซลล์ประสาทและเส้นประสาทที่ควบคุมการหดและคลายตัวของกล้ามเนื้อทำงานผิดปกติ
6.) การไหลเวียนของเลือดไปเลี้ยงกล้ามเนื้อไม่ดี 

❤️ ตะคริวตอนกลางคืน อาจเกี่ยวข้องกับภาวะต่างๆ ดังนี้ ❤️
- หญิงตั้งครรภ์อาจเป็นตะคริวได้บ่อย เนื่องจากระดับของแคลเซียมในเลือดต่ำหรืออาจเกิดจากการไหลเวียนของเลือดไปที่กล้ามเนื้อขาไม่สะดวก
- ภาวะผิดปกติของต่อมไทรอยด์
- ความผิดปกติของระบบประสาท เช่น โรคพาร์กินสัน
- โรคทางระบบประสาท เช่น โรคปลายประสาทอักเสบ (Peripheral Neuropathy) หรือ โรคเซลล์ประสาทนำคำสั่งเสื่อม (Motor neuron disease)
- ความผิดปกติของการเผาผลาญ เช่น โรคเบาหวาน
- โรคหัวใจและหลอดเลือด เช่น โรคหัวใจ หรือโรคหลอดเลือดส่วนปลายอุดตัน (Peripheral vascular disease)
- โครงสร้างร่างกาย เช่น เท้าแบน หรือโรคโพรงกระดูกสันหลังตีบแคบ (Spinal stenosis)
- การใช้ยาเพื่อรักษาโรคบางชนิด เช่น ยาที่ใช้ลดระดับคอเลสเตอรอล ยาขับปัสสาวะ และยาลดความดัน
- การดื่มน้ำน้อยเกินไป ทำให้เซลล์กล้ามเนื้อขาดน้ำ
- ภาวะเกลือแร่ในร่างกายไม่สมดุล โดยเฉพาะโซเดียมและโพแทสเซียม ได้แก่ ท้องเดิน อาเจียน เสียเหงื่อมาก ซึ่งอาจทำให้เป็นตะคริวรุนแรงได้
- ผู้ที่มีภาวะแคลเซียมในเลือดต่ำ ก็อาจเป็นตะคริวได้บ่อย
- กล้ามเนื้ออ่อนล้าหรือกล้ามเนื้ออ่อนแรง จากการใช้งานติดต่อกันเป็นเวลานาน หรือการทำงานหนัก จะทำให้เกิดตะคริวได้บ่อย
- การได้รับบาดเจ็บที่กล้ามเนื้อ อาจเกิดจากการกระแทก ทำให้เกิดการฟกช้ำที่กล้ามเนื้อ
- กล้ามเนื้อขาดการยืดหยุ่น กล้ามเนื้อที่ตึงจะเกิดตะคริวได้บ่อย
- ผู้ที่มีภาวะหลอดเลือดแดงแข็งหรือหลอดเลือดตีบตัน เช่น ผู้สูงอายุอาจเป็นตะคริวขณะที่เดินนานๆ เนื่องจากการไหลเวียนของเลือดไปที่ขาไม่ดี

❤️ การรักษาและการบรรเทาอาการตะคริวตอนกลางคืน ❤️
1.) หยุดพักการใช้กล้ามเนื้อที่เป็นตะคริวทันที
2.) ยืดกล้ามเนื้อน่อง โดยเหยียดขาให้ตรงแล้วค่อยๆ กระดกข้อเท้าขึ้นให้ปลายนิ้วเท้าเข้าหาตัวหรือหันหน้าเข้ากำแพง ยืนห่างจากกำแพงออกมาประมาณ 1 ก้าว แล้วก้าวขาข้างหนึ่งไปข้างหลัง พร้อมกับเอียงตัวไปข้างหน้า โดยวางส้นเท้าให้แบนราบไปกับพื้น ใช้มือดันกำแพงทั้ง 2 ข้าง จะรู้สึกตึงบริเวณน่อง ทำค้างไว้ 10-15 วินาที ทำซ้ำ 5-10 ครั้ง โดยอาจประคบด้วยความร้อนบริเวณที่เป็นตะคริวเพื่อช่วยให้เลือดไหลเวียนดีขึ้น

นอนหลับอย่างไรให้สุขภาพดี

ในแต่ละวันการนอนหลับใช้เวลาเกือบ 1 ใน 3 ของช่วงเวลาทั้งวัน ดังนั้นหากนอนหลับอย่างมีประสิทธิภาพจะช่วยให้ร่างกายฟื้นฟูตัวเองอย่างเต็มที่ ส่งผลให้ฮอร์โมนต่างๆ ทำงานอย่างปกติและเสริมสร้างภูมิคุ้มกัน โดยเฉพาะในขณะที่นอนหลับสนิท ร่างกายจะผลิตฮอร์โมนที่กระตุ้นการเจริญเติบโต (Growth hormone) ออกมาเป็นจำนวนมาก

การนอนหลับบนที่นอนและหมอนที่เหมาะสมมีส่วนช่วยให้เกิดความผ่อนคลายและความสบาย ดังนั้นการเลือกที่นอนและหมอนที่ดีจึงมีความสำคัญและไม่ควรมองข้าม

✨ที่นอนที่ดีเป็นอย่างไร ?

ที่นอนที่ดีต้องรองรับน้ำหนักตัวได้อย่างเต็มที่ สามารถกระจายน้ำหนักตัวออกไปได้มากที่สุดจนร่างกายทุกส่วนรู้สึกผ่อนคลายและกล้ามเนื้อต่างๆ ทำงานน้อยที่สุด ทำให้กล้ามเนื้อได้พักผ่อนตลอดการนอนหลับ        6-8 ชั่วโมง ในทางตรงข้ามหากนอนหลับบนที่นอนที่ไม่เหมาะสม ไม่สามารถรองรับและกระจายน้ำหนักตัวได้เต็มที่ กล้ามเนื้อบางมัดอาจอยู่ในท่าเกร็งหรือไม่ผ่อนคลาย ส่งผลให้ปวดเมื่อยร่างกายได้

1.) ที่นอนที่ดีต้องเรียบ ตึง และแน่น
อาจทำจากนุ่น ใยสังเคราะห์ สปริงหรือใยมะพร้าว โดยมีความยืดหยุ่นพอสมควร นอกจากนี้ต้องไม่มีส่วนนูนโค้งเพราะทำให้รับน้ำหนักไม่สม่ำเสมอและกล้ามเนื้อบางมัดต้องทำงานขณะนอนหลับ 

2.) ที่นอนที่ดีต้องไม่นิ่มหรือแข็งจนเกินไป
ถ้าที่นอนนิ่มเกินไป ร่างกายจะจมลงไปในที่นอน ส่วนที่หนักจะถูกกดทับและรับน้ำหนักมากกว่าส่วนอื่น การกระจายน้ำหนักไม่ดี ทำให้รู้สึกปวดเมื่อยได้ง่าย ส่วนที่นอนที่แข็งเกินไป อาจทำให้รู้สึกเจ็บบริเวณปุ่มกระดูกต่างๆ 

3.) ควรเลือกที่นอนที่เหมาะสมกับรูปร่างของตัวเอง
สำหรับคนรูปร่างผอมอาจเลือกที่นอนที่มีลักษณะนิ่มกว่าเพื่อรองรับปุ่มกระดูกต่างๆ ของร่างกาย ส่วนคนรูปร่างใหญ่อาจเลือกที่นอนที่มีความแข็งกว่า เพราะกล้ามเนื้อและไขมันจะช่วยรองรับและกระจายน้ำหนักตัวได้ แต่ถ้าคนรูปร่างใหญ่ใช้ที่นอนนิ่ม ส่วนของร่างกายจะจมลงไปในที่นอน ทำให้รู้สึกไม่สบายตัว

นอกจากที่นอนที่ดีแล้ว อุปกรณ์ในการนอนที่มีความสำคัญเช่นกันก็คือ “หมอน” เพราะช่วยรองรับและกระจายน้ำหนัก โดยเฉพาะร่างกายช่วงคอบ่าไหล่

มาดูแลผิวรับหน้าร้อนกันเถอะ

เมื่อถึงหน้าร้อนเป็นช่วงเวลาที่อุณหภูมิสูงขึ้น แสงแดดจัด ส่งผลให้ผิวหนังเกิดความระคายเคือง หน้ามันเยิ้ม ผิวไหม้แดด ฝ้า กระ ชัดขึ้น หากไม่ได้รับการดูแลอาจส่งผลให้เกิดริ้วรอย จุดด่างดำ ความหมองคล้ำ ผิวเสื่อมสภาพตามมาได้

ตัวการที่ทำร้ายผิวประกอบด้วย แสงแดด, ความร้อน, มลภาวะ, ฝุ่น, ควัน, การใช้ชีวิต, อาหารการกิน ก็มีส่วนทำให้ผิวเสื่อมสภาพได้

💥ปัจจัยทำให้ผิวเสื่อมสภาพ
1.) ปัจจัยภายใน การเสื่อมตามธรรมชาติหรืออายุที่เพิ่มมากขึ้น
2.) ปัจจัยภายนอกหรือสิ่งแวดล้อม
- รังสีอัลตราไวโอเลต (UV) ที่มากับแสงแดด
- แสงช่วงที่มองเห็นด้วยตาเปล่าโดยเฉพาะแสงสีฟ้า (Blue light) จากหน้าจอคอมพิวเตอร์และโทรศัพท์มือถือ
- รังสีอินฟราเรด เช่น ความร้อนจากการทำงาน, เครื่องยนต์ต่างๆ 
- มลภาวะเป็นพิษทางอากาศ ทั้งควันบุหรี่ (PM10) และฝุ่นขนาดเล็ก (PM2.5) ล้วนส่งผลเสียให้ผิวหนังเสื่อมสภาพเร็วหรือแก่ก่อนวัยได้
- การใช้ชีวิต เช่น การใช้โทรศัพท์มือถือด้านใด ผิวหน้าด้านนั้นจะมีฝ้าเข็มขึ้นกว่าอีกด้านหนึ่ง

นอกจากนี้ อนุมูลอิสระ (free radicals) ภายในชั้นผิวหนัง ยังทำให้เกิดปฏิกิริยาออกซิเดชัน ทำให้ผิวแพ้ง่าย, ผิวหนังอักเสบ, เส้นเลือดฝอยขยาย, เซลล์ผิวเสื่อมสภาพและตายเร็วขึ้น ทั้งยังลดการสร้างคอลลาเจนและอิลาสติน, เกิดการทำลายดีเอ็นเอ, อาจมีเนื้องอกหรือมะเร็งผิวหนังเกิดขึ้นได้

การเกิดริ้วรอยและความหย่อนยาน ผิวหยาบกร้าน ไม่สดใส เกิดจากชั้นหนังกำพร้าที่หนาตัวขึ้นและชั้นหนังแท้ที่บางลงจากการสูญเสียคอลลาเจนและอิลาสติน 

💥รังสีอัลตราไวโอเลต (UV)

รังสีอัลตราไวโอเลต (UV) ที่มากับแสงแดด ทำให้เซลล์ผิวหนังทำงานผิดปกติ มีการเปลี่ยนแปลงของผนังเซลล์ ไขมันและโปรตีนในเซลล์ เกิดภาวะผิวเสื่อมจากแสงแดด (Photo aging) รังสีอัลตราไวโอเลตจะทำลายดีเอ็นเอหรือยีนในเซลล์ผิวหนัง ทำให้เสี่ยงต่อการเป็นมะเร็งผิวหนังมากขึ้น

- ยูวีเอ (UVA) พบได้ทั้งกลางแจ้งและภายในอาคาร สามารถทะลุผ่านเสื้อผ้าและกระจกได้ ยูวีเอจะกระตุ้นให้เกิดอนุมูลอิสระในเซลล์ชั้นหนังแท้ ทำลายคอลลาเจน, อิลาสตินและดีเอ็นเอ ส่งผลเสียต่อระบบภูมิต้านทาน เป็นสาเหตุของผิวแก่ก่อนวัย ริ้วรอยและมะเร็งผิวหนัง

- ยูวีบี (UVB) แม้จะไม่สามารถทะลุผ่านกระจกได้ แต่จะถูกดูดซับโดยดีเอ็นเอในเซลล์หนังกำพร้าหรือรอยต่อระหว่างชั้นหนังกำพร้าและชั้นหนังแท้ ทำให้เกิดผิวไหม้แดด (Sun burn) มีการสร้างเม็ดสีส่วนเกินและมะเร็งผิวหนัง

- ยูวีซี (UVC) มักพบในประเทศที่มีภาวะเรือนกระจก เช่น ประเทศออสเตรเลีย พบผู้ป่วยมะเร็งผิวหนังมากที่สุดในโลก

💥แสงสีฟ้า (Blue light)

แสงสีฟ้าเป็นแสงที่มองเห็นด้วยตาเปล่าและมีช่วงความยาวคลื่นใกล้เคียงกับรังสีอัลตราไวโอเลต (UV) ดังนั้นจึงสามารถก่อให้เกิดปัญหาสุขภาพได้ เช่น การทำลายเลนส์แก้วตา ผิวหมองคล้ำ สีผิวไม่สม่ำเสมอเช่นเดียวกับภาวะผิวเสื่อมจากแสงแดด

แสงสีฟ้ามาจากหน้าจออุปกรณ์คอมพิวเตอร์ โทรทัศน์ รวมทั้งโทรศัพท์มือถือ การได้รับแสงสีฟ้าต่อเนื่องเป็นระยะเวลานานจะทำให้เกิดความเครียดที่ผิวหนัง ผิวหนังอักเสบ ผิวหนังเสื่อม เกิดอนุมูลอิสระที่ผิวหนัง ส่งผลในการทำลายดีเอ็นเอ คอลลาเจน และอิลาสตินสลาย เกิดริ้วรอยเหี่ยวย่นและหย่อนยาน รวมทั้งกระ ฝ้า 

สังเกตว่ารอยดำจากสิวอักเสบและฝ้า มักจะหายช้าและมีสีเข้มขึ้นที่ด้านข้างใบหน้าโดยเฉพาะข้างที่สัมผัสกับโทรศัพท์มือถือ 

‘LGBTQ+’ ตรวจสุขภาพเฉพาะทางได้ที่ไหนบ้าง มาดูกัน!!

เนื่องจากเดือนมิถุนายนของทุกปีถือเป็น Pride Month สำหรับกลุ่มผู้มีความหลากหลายทางเพศหรือ LGBTQ+ ซึ่งปัจจุบันมีการรณรงค์สนับสนุนความเท่าเทียมและความภาคภูมิใจในตัวเอง โดยเฉพาะเรื่องการดูแลสุขภาพนับเป็นสิทธิขั้นพื้นฐานสำหรับประชาชนทุกคนรวมถึงกลุ่มผู้มีความหลากหลายทางเพศ
การตรวจสุขภาพ คือ การตรวจร่างกายในภาวะที่ร่างกายเป็นปกติดี ไม่มีอาการเจ็บป่วย โดยมีวัตถุประสงค์ในการค้นหาปัจจัยเสี่ยงและภาวะผิดปกติ เพื่อให้ทราบแนวทางป้องกันการเกิดโรคร้ายแรง ในทุกช่วงอายุควรเข้ารับการตรวจสุขภาพ ซึ่งสามารถเลือกตรวจสุขภาพประจำปีกับโรงพยาบาลรัฐหรือเอกชนก็ได้

>> การตรวจสุขภาพในกลุ่มเด็กและวัยรุ่น
มุ่งเน้นไปที่การตรวจร่างกายทั่วไป (ชั่งน้ำหนัก วัดส่วนสูง) เพื่อค้นหาความผิดปกติ ประเมิน การเจริญเติบโตตามวัย และเฝ้าระวังด้านพัฒนาการ รวมไปถึงการรับวัคซีนต่าง ๆ ตามกำหนดเวลา เพื่อป้องกันการเกิดโรค



>> การตรวจสุขภาพในกลุ่มวัยทำงาน
สำหรับผู้ที่มีอายุระหว่าง 18 - 60 ปี โดยการซักประวัติเพื่อค้นหาความเสี่ยงของโรค โดยเฉพาะในกลุ่มที่ครอบครัวเคยมีประวัติป่วยด้วยโรคหัวใจและหลอดเลือดสมอง เบาหวาน ประกอบกับการตรวจร่างกายทั่วไป เช่น ชั่งน้ำหนัก วัดส่วนสูง วัดความดันโลหิต เพื่อช่วยในการคัดกรองภาวะเสี่ยงของโรค ซึ่งควรตรวจร่างกายอย่างน้อยปีละ 1 ครั้ง


 

- ตรวจสุขภาพช่องปากเป็นประจำทุกปี ปีละ 1 ครั้ง
- ตรวจการได้ยินปีละ 1 ครั้ง
- แบบประเมินสภาวะสุขภาพ เช่น ภาวะซึมเศร้า การใช้ยาและสารเสพติด การดื่มแอลกอฮอล์ การติดนิโคตินในผู้สูบบุหรี่ เป็นต้น
- การตรวจตา สำหรับผู้ที่มีอายุ 40 ปีขึ้นไป ควรได้รับการตรวจวัดสายตาและตรวจคัดกรองโรคต้อหิน ภาวะความดันลูกตาสูง และความผิดปกติอื่นๆ โดยทีมจักษุแพทย์ อย่างน้อย 1 ครั้ง
- การถ่ายภาพรังสีทรวงอก (Chest x-ray) โดยเฉพาะผู้ที่มีความเสี่ยง เช่น ไอเรื้อรัง เจ็บหน้าอก หรือมีอาการสงสัยว่าเป็นวัณโรคและมะเร็งปอด
- ตรวจความสมบูรณ์ของเม็ดเลือด (CBC) ช่วยคัดกรองภาวะโลหิตจางหรือความผิดปกติอื่นของเม็ดเลือดหรือเกล็ดเลือด

เช็คสุขภาพเบื้องต้น ด้วยเลือดหยดเดียว ทราบผลใน 90 วินาที

จริงหรือ ตรวจความเสี่ยงโรคด้วยเลือดหยดเดียว ทราบผลใน 90 วินาที ด้วยวิธีใด อะไรจะไวปานนั้น?!
ล่าสุดวงการแพทย์และพยาบาลของเมืองไทยมีนวัตกรรมเทคโนโลยี ชนิดอ่านผลจากเลือดหยดเดียว ใน 90 วินาที ด้วย เครื่องมือ+แถบตรวจ ความเสี่ยงต่อโรคไม่ติดต่อเรื้อรัง อาทิ เบาหวาน หัวใจ  เส้นเลือด ในสมองตีบ หรือแม้แต่มะเร็ง

การตรวจ hs-CRP เป็นนวัตกรรมล่าสุดในเวชศาสตร์ชะลอวัย ที่ได้รับการยอมรับในระดับสากล ใช้ในการตรวจค่าระดับการอักเสบในร่างกายด้วยเลือดปลายนิ้วเพียงหนึ่งหยด โดยผู้รับการตรวจไม่ต้องงดน้ำและอาหารให้ยุ่งยากวุ่นวายอีกต่อไป 

ที่สำคัญ สามารถรับทราบ แนวโน้มความเสี่ยงต่อโรค จากการอ่านค่า วัดผล ตามหลักการทางวิทยาศาสตร์การแพทย์ ได้ทันที

กล่าวคือ การรู้ก่อน ป้องกันก่อน ที่จะเกิดโรคย่อมดีกว่าป่วยหนักแล้วมีค่าใช้จ่ายค่ารักษาพยาบาลสูง

• ตรวจทำไม...ใครต้องตรวจ
โลกหลังยุคปฏิวัติอุตสาหกรรม ผู้คนต่างใช้ชีวิตเพื่อทำงาน สร้างอนาคต ไม่เพียงละเลยดูแลสุขภาพในการรับประทานอาหาร หรือพักผ่อนน้อย  แต่อาจมีหลายท่านที่ใช้ชีวิตหนักหน่วง ทั้งการกินดื่มตามสะดวก ทำงานหนักอย่างต่อเนื่อง ขาดการออกกำลังกาย และอาจละเลยการตรวจสุขภาพเป็นประจำ นั่นหมายความว่า เรามีความเสี่ยงต่อโรคชนิดไม่ติดต่อ (เบาหวาน หัวใจ ไขมันในเลือดสูง และมะเร็ง) ยิ่งซ้ำเติมด้วย วิกฤตโควิด19 ระบาดในช่วง 3 ปีที่ผ่านมา ทำให้ผู้คนที่เคยติดเชื้อ เกิดความเสี่ยงสูงต่อโรคภัยอื่นมากขึ้น
1 คนทั่วไป ที่มีสิ่งบ่งชี้จากพฤติกรรมความเสี่ยง    
1.1 คนที่ไม่ได้ออกกำลังกายเป็นประจำ 
1.2 คนที่ไม่ดูแลการกินดื่มตามโภชนาการมาอย่างต่อเนื่อง 
1.3 คนที่ดื่มสุราหรือสูบบุหรี่ เป็นประจำ
2 คนที่อายุ 40 ปีขึ้นไป

คณะกรรมาธิการฯ เผยผลการศึกษา ตลาดบุหรี่ไฟฟ้าผิดกฎหมายเติบโตก้าวกระโดด เยาวชนเข้าถึงง่ายเกินกว่าจะควบคุม

คณะอนุกรรมาธิการพิจารณาปัจจัยที่ส่งผลต่อสุขภาพและการบังคับใช้กฏหมายด้านสาธารณสุข ได้มีการ พิจารณาปัญหาการควบคุมยาสูบที่ไม่สามารถลดอัตราผู้สูบบุหรี่ได้ตามเป้าหมายที่วางไว้ของแผนควบคุมการ บริโภคยาสูบ มีการเติบโตขึ้นของตลาดบุหรี่ลักลอบนำเข้า และตลาดบุหรี่ไฟฟ้า รวมทั้งมีการพิจารณาข้อมูลวิชาการทั้งจากของไทยและข้อมูลวิชาการจากต่างประเทศ พิจารณาปัญหาการบัง คับใช้กฏหมาย ปัญหาการปฏิบัติหน้าที่ของหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง และ พิจารณาข้อร้องเรียนจากเกษตรกรชาวไร่ยาสูบ ข้อร้องเรียนเพื่อคุ้มครองสิทธิของทั้งผู้สูบบุหรี่และผู้ไม่สูบ บุหรี่ ข้อร้องเรียนเกี่ยวกับการคุกคามสื่อ เรื่องผลประโยชน์ทับซ้อนของบุคคลบางกลุ่ม

ในวันนี้ถือเป็นการประชุมครั้งสุดท้ายของอนุกรรมาธิการในเรื่องปัญหาการควบคุมยาสูบ ก่อนที่จะสรุปเป็นเล่ม รายงานส่งถึงหน่วยงานที่เกี่ยวข้องต่อไป

การประชุมวันนี้จะเป็นเรื่องพิจารณาข้อร้องเรียนจากสื่อมวลชนที่ถูกคุกคามเสรีภาพการเสนอข่าวเกี่ยวกับบุหรี่ ด้วยการตีความกฏหมาย พรบ.ควบคุมยาสูบ ในเรื่องการโฆษณาที่กว้างเกินกว่าที่ตัวบทกฏหมายกำหนด ด้วย การใช้อำนาจของเจ้าหน้าที่เรียกสื่อมวลชนเข้าพบ หรือบางกรณีก็ถึงขั้นส่งดำเนินคดีก็มี และ อีกเรื่องที่สำคัญ คือ การจับกุมผู้ครอบครองบุหรี่ไฟฟ้า ตามที่เป็นข่าวในช่วงที่ผ่านมาหลายครั้ง ซึ่งทางอนุกรรมาธิการได้เคยมีการประชุมวาระประเด็นนี้โดยเชิญผู้แทนจากสำนักงานตำรวจแห่งชาติ ผู้แทน จากสำนักงานอัยการสูงสุดมาพิจารณาข้อกฏหมายร่วมกัน ได้ข้อสรุปจากการประชุมว่า บุหรี่ไฟฟ้าถือเป็นของต้องห้ามตามประกาศกระทรวงพาณิชย์ และมีประกาศคณะ กรรมการคุ้มครองผู้บริโภคเรื่องการห้ามจำหน่าย จ่าย แจก ให้บริการ แต่สำหรับผู้ครอบครองนั้น ตาม พรบ.ศุลกากร ฉบับเดิม มีมาตรา 27ทวิ เขียนถึงความผิดเกี่ยวกับการครอบ ครอง การรับไว้ การเอาไปเสีย ซึ่งของต้องห้าม แต่ใน พรบ.ศุลกากร 2560 ได้ตัดมาตราเดิมนั้นออก และในส่วนของการลักลอบสินค้าที่ไม่ผ่านพิธีการศุลกากร นั้น ตามาตรา 242, 246 ไม่ได้กล่าวถึง ของต้องห้าม โดยใจความเป็นการเอาผิดกับของที่้ลักลอบหนีภาษีไม่ ผ่านพิธีการศุลกากร

สรุปคือ เจ้าพนักงานตำรวจจะตั้งข้อกล่าวหาผิด พรบ.ศุลกากร กับผู้ครอบครองบุหรี่ไฟฟ้าไม่ได้ จะถือว่าเป็นการ ตั้งข้อกล่าวหาดำเนินคดีโดยมิชอบ

ในส่วนของผลการศึกษาของอนุกรรมาธิการ เราได้ข้อสรุปเบื้องต้นว่า การดำเนินการด้านการควบคุมยาสูบควร ต้องมีการทบทวนทั้งในส่วนของการดำรงตำแหน่งของกรรมการควบคุมยาสูบแห่งชาติโดยเฉพาะในกลุ่มผู้ทรง คุณวุฒิ ซึ่งทางอนุกรรมาธิการได้ส่งเรื่องกรณีคุณสมบัติในการดำรงตำแหน่ง และ กรณีการขัดกันแห่งผล ประโยชน์ให้กรรมาธิการ ปปช. สอบหาข้อเท็จจริงต่อไปแล้ว

โรคร้ายหน้าร้อน!! รู้วิธีรับมือไว้...ไม่ป่วย! | TIME TO KNOW EP.12

หน้าร้อนมาแล้ว!! TIME TO KNOW ขอแชร์วิธีเตรียมตัวรับมือกับโรคร้าย

ที่คุณอาจคาดไม่ถึง พร้อมเคล็ดไม่ลับ

วิธีการดูแลสุขภาพในช่วงหน้าร้อนกับนักวิชาการชำนาญพิเศษจากกระทรวงสาธารณสุข 

 

ดำเนินรายการโดย วสันต์ มนต์ประเสริฐ Content Manager THE STATES TIMES 

 

พบกับแขกรับเชิญสุดพิเศษ ดร.โอ นิตินันท์ พันทวี

นักวิชาการเผยแพร่ชำนาญการพิเศษ กรมสนับสนุนบริการสุขภาพ กระทรวงสาธารณสุข 

 

รับชม TIME TO KNOW ตอนอื่นๆ ได้ที่ : https://youtube.com/playlist?list=PL60bae1syuyLeCUW3J3YQWxrNs4ZAeXBp

 

🎥 ช่องทางรับชม

Facebook: THE STATES TIMES PODCAST

YouTube: THE STATES TIMES PODCAST

TikTok: THE STATES TIME PODCAST 

‘บิ๊กตู่’ สั่ง ติดตามการพัฒนาระบบคลาวด์กลางของ สธ. เชื่อมโยงข้อมูลแบบดิจิทัลให้เข้าถึงได้สะดวก-ปลอดภัย

(7 มี.ค. 66) นายอนุชา บูรพชัยศรี รองเลขาธิการนายกรัฐมนตรีฝ่ายการเมือง ปฏิบัติหน้าที่โฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี กล่าวว่า พล.อ. ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม ให้ความสำคัญระบบการดูแลสุขภาพของประชาชนทุกคนทั่วประเทศ สั่งการหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ติดตามใกล้ชิด ย้ำการทำงานของรัฐบาลต้องพัฒนาระบบคลาวด์กลางด้านสาธารณสุขของไทย (National Health Information Platform) เชื่อมโยงข้อมูล เพิ่มความปลอดภัยให้กับทุกชีวิต และอำนวยความสะดวกให้ประชาชนเข้าถึงระบบสาธารณสุขอย่างทั่วถึง

นายอนุชา กล่าวว่า ตามผลการประชุมคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ 24 มกราคม 2566 เห็นชอบให้กระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม ดำเนินโครงการพัฒนาระบบคลาวด์กลางด้านสาธารณสุขของไทย วงเงิน 1,514 ล้านบาท เพื่อพัฒนาระบบบริการและระบบบริหารจัดการสุขภาพ เชื่อมโยงระบบการดูแลสุขภาพแบบดิจิทัลเพื่ออนาคต (Digitally connected health care system of the future) เชื่อมโยงและแลกเปลี่ยนข้อมูลสุขภาพได้อย่างมีประสิทธิภาพ ปลอดภัย ไร้รอยต่อและได้รับการคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคลตามกฎหมาย ตลอดจนประชาชนสามารถเข้าถึงข้อมูลสุขภาพของตนเอง

ทางรอดวิกฤตฝุ่น ‘แพทย์’ แนะ 6 วิธีเอาตัวรอด ท่ามกลางฝุ่น PM 2.5 เลี่ยงภัยอันตราย หวั่นกระทบสุขภาพ ปชช. ในระยะยาว

แพทย์แนะการปฏิบัติตัวของประชาชนในช่วงวิกฤติ 'ฝุ่น PM 2.5'

ราชวิทยาลัยอายุรแพทย์แห่งประเทศไทย ร่วมกับ 5 สมาคมวิชาชีพเวชกรรม อาทิ สมาคมอุรเวชช์แห่งประเทศไทยในพระบรมราชูปถัมภ์ , สมาคมโรคไตแห่งประเทศไทย , สมาคมแพทย์โรคหัวใจแห่งประเทศไทยในพระบรมราชูปถัมภ์ , สมาคมประสาทวิทยาแห่งประเทศไทย และสมาคมพิษวิทยาคลินิก ได้ออกคำแนะนำการปฏิบัติตัวของประชาชนในช่วงวิกฤติ "ฝุ่น PM 2.5"

เป็นที่ทราบ และตระหนักกันดีถึงพิษภัยต่อสุขภาพจาก ฝุ่น PM 2.5 ทั้งผลเฉียบพลัน และผลเรื้อรัง ไม่เฉพาะผลต่อระบบการหายใจที่เป็นช่องทางนําพาฝุ่นเข้าสู่ร่างกายเท่านั้น ฝุ่น PM 2.5 ยังมีผลต่อการเกิดโรคระบบต่าง ๆ เช่น ระบบหลอดเลือดและหัวใจ ระบบประสาท หลอดเลือดสมอง และโรคไต

ประชาชนกลุ่มเสี่ยงที่จะได้รับอันตรายได้มากคือ เด็ก หญิงตั้งครรภ์ ผู้สูงอายุ และผู้ที่มีโรคเรื้อรัง (โรคปอด หัวใจ สมอง และไต) ในขณะที่ทุกภาคส่วนกําลังระดมสมองแก้ไขปัญหาทั้งในระยะสั้น และระยะยาว 


TRENDING
© Copyright 2021, All rights reserved. THE STATES TIMES
Take Me Top