Wednesday, 4 December 2024
POLITICS

เมื่อ ‘ธนาธร’ LIVE จนเกิดประเด็นร้อน

เมื่อ ‘ธนาธร’ LIVE จนเกิดประเด็นร้อน

.

 

กรณ์ สอนเชิง ธนาธร ไม่ใช่ช่วงเวลามาเล่นเกมการเมือง แนะคนไทยควรช่วยกันหาทางออก ชี้โชคดีแค่ไหนที่ในหลวงทรงห่วงใยคนไทยวางรากฐานเทคโนโลยีไว้ เพื่อคนไทยในวันนี้

นายกรณ์ จาติกวณิช หัวหน้าพรรคกล้า โพสต์ข้อความลงเฟสบุ๊ก กรณีนายธนาธร จึงรุ่งเรืองกิจ ประธานคณะก้าวหน้า วิจารณ์การจัดหาวัคซีนโควิด-19 และพาดพิงถึงบริษัทสยามไบโอไซน์ว่า "ในภาวะวิกฤตของชาติ การช่วยกันหาทางออกที่สร้างสรรค์คือหน้าที่ของนักการเมืองทุกคน

การวิจารณ์กระบวนการบริหารจัดการเรื่อง 'วัคซีน' ต้องสร้างสรรค์ สิ่งที่คุณธนาธรพูดเมื่อคืนนี้มีแต่ทำลายน้ำใจคนอื่น หน้าที่ของนักการเมืองที่ดีต้องชี้ทางออกให้สังคม ไม่ใช่มุ่งโจมตีคนทำงาน

การ 'ลงมือทำ' ของบริษัท และองค์กรที่เกี่ยวข้อง ผมว่าเป็นเรื่องน่าชื่นชม และคุณธนาธรอย่าดึงสถาบันมาเกี่ยวข้องเลยครับ

น่าภูมิใจที่บริษัท SCG ประสานกับ Oxford ผู้วิจัยและพัฒนาวัคซีนแอสตราเซเนก้า ทำให้บริษัทสยามไบโอไซเอนซ์ได้รับสิทธิ์ในผลิตวัคซีนโควิดให้กับภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ คนไทยโชคดีที่มีในหลวง ร.9 วางรากฐานให้บริษัทเหล่านี้ไว้ และมีในหลวง ร.10 มาพัฒนาสานต่ออย่างเข้มแข็ง ทำให้ต่างชาติเชื่อถือ ลำพังเทคโนโลยีของรัฐบาลคงไม่มีสิทธิ์ได้ผลิตวัคซีนแบบนี้ได้

คณะแพทย์ จุฬาฯ, แพทย์ ศิริราช, คณะเภสัชฯ จุฬาฯ, บริษัทใบยา, คณะวิทยาศาสตร์ มหิดล ,สวทช. ,ศูนย์วัคซีน มหิดล และ บริษัท ไบโอเนท-เอเชีย ต่างก็มีศูนย์ทดลองของตนเอง เร่งพัฒนาประดิษฐ์วัคซีน เพื่อถ่ายทอดส่งไปให้บริษัทผลิตยา

วันนี้ต้องช่วยกันคิด ว่าเราจะจัดหาวัคซีนมาให้พอกับความต้องการคนไทยโดยเร็วได้อย่างไร ต้องช่วยกันเร่งรัดระบบราชการให้จัดคิวฉีดวัคซีนให้คนไทยทุกคนอย่างทั่วถึง โปร่งใส และเป็นธรรม

เราตัองเร่งรัดให้รัฐบาลดูแลประชาชน และผู้ประกอบการที่วันนี้เดือดร้อนแสนสาหัสให้อยู่รอดจนกว่าจะถึงวันที่คนไทยทุกคนจะได้รับการคุ้มครองจากวัคซีน

และเราต้องช่วยกันคิดว่า หลังได้รับการฉีดวัคซีนไปแล้ว ประเทศไทยต้องปรับตัวอย่างไร อะไรต้องแก้ไข และอะไรคือโอกาสของประเทศไทย และคนไทย

เวลานี้ไม่ใช่เวลาที่จะมาเล่นเกมการเมืองสร้างความแตกแยกไปวันๆ ครับ มาช่วยกันหาทางออกดีกว่า

ยังคงมีการตั้งคำถามอย่างต่อเนื่อง ถึงกลุ่มที่จะได้รับการฉีดวัคซีนโควิด-19 ก่อน-หลัง ทำไมต้องให้ใครได้อภิสิทธิ์ก่อน

ล่าสุด นายแพทย์ยง ภู่วรวรรณศ หัวหน้าศูนย์เชี่ยวชาญเฉพาะทางด้านไวรัสวิทยาคลินิก คณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ได้โพสต์ข้อความผ่าน “Yong Poovorawan” โดยมีเนื้อความที่อธิบายไวอย่างชัดแจ้งว่า

ทำไมวัคซีนจึงไม่เลือกให้ไปถึงคนหนุ่มสาวหรือวัยแรงงานที่พบการระบาด ทั้งๆ ที่ตอนนี้มีการแพร่ระบาดของโรคเป็นจำนวนมาก ซึ่งจะได้ช่วยลดการแพร่กระจายของโรค ไม่ให้ไปติดผู้สูงอายุ และกลุ่มอื่นๆ

โดย หมอยง อธิบายว่า การพัฒนาวัคซีนมาจนถึงปัจจุบัน มีหลักฐานอย่างชัดเจนว่า สามารถลดความรุนแรงของโรค และลดการตายจากโรค แต่ก็ยังไม่มีข้อมูลเพียงพอที่จะบอกว่า วัคซีนสามารถป้องกันการติดโรค โดยเฉพาะการติดเชื้อแบบไม่มีอาการ แต่มีข้อมูลชัดเจนว่าลดความรุนแรง และลดอัตราการตาย

การให้ในวัยแรงงานที่พบมีผู้ป่วยจำนวนมาก ยังไม่มีบทพิสูจน์ที่จะลดการแพร่กระจาย เมื่อได้รับวัคซีนในกลุ่มนี้ อาจมีการติดเชื้อแบบไม่มีอาการก็ยังสามารถแพร่กระจายโรคได้อยู่ดี

ดังนั้น ในวัยแรงงานเมื่อป่วยเป็นโรค โอกาสเสียชีวิตน้อยมาก

การให้วัคซีนในกลุ่มนี้ ก็ยังไม่มีหลักประกันว่าจะลดการติดเชื้อ โดยเฉพาะการติดเชื้อแบบไม่มีอาการ เมื่อเกิดขึ้น ก็ยังสามารถแพร่กระจายโรคได้

จึงมีเหตุผลที่ให้ในกลุ่มเสี่ยงสูง (ผู้สูงอายุ) และบุคลากรทางการแพทย์ด่านหน้าก่อน เพื่อไม่ให้ป่วยและเสียชีวิต


ที่มา: เฟซบุ๊ก Yong Poovarawan

'บิ๊กตู่' ยันไม่ปิดกั้นนำเข้าวัคซีน แต่ช่วงแรกจำเป็นควบคุมเหตุเป็นสถานการณ์ฉุกเฉิน ต้องให้ อย.รับรองเท่านั้น แย้มพิจารณาประเมินสถานการณ์รายวันก่อนตัดสินใจคลายล็อค เหน็บสื่ออย่าเพิ่มขยะสังคม เพราะวันนี้ขยะพิษเยอะอยู่แล้ว

พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี และ รมว.กลาโหม เป็นประธานการประชุมคณะรัฐมนตรี (ครม.)ผ่านระบบวิดีโอคอนเฟอร์เร้นท์ ตามมาตรฐานกระทรวงสาธารณสุข ในการป้องกันการแพร่ระบาดของไวรัส โควิด-19 ทั้งนี้ก่อนประชุมกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัย และนวัตกรรม ได้นำผลงานวิจัยและนวัตกรรม เพื่อรองรับสถานการณ์โรค covid-19 ซึ่งเป็นงานวิจัยที่ได้รับรางวัลการวิจัยแห่งชาติ รางวัลผลงานประดิษฐ์คิดค้นประจำปีงบประมาณ 2564 มาจัดแสดงให้คณะรัฐมนตรีได้รับชม

เช่น การใช้ประโยชน์จากระบบปัญญาประดิษฐ์ ในการประเมินการใส่หน้ากากอนามัยของประชาชน เพื่อเฝ้าระวังการป้องกันการแพร่ระบาดของโรคโควิด-19, เครื่องฆ่าเชื้อโควิด-19 โดยละอองนาโนและตู้อบฆ่าเชื้อไวรัสระบบไฮบริด โดยมีศ.นพ.ยง ภู่วรวรรณ หัวหน้าศูนย์เชี่ยวชาญเฉพาะทางด้านไวรัสวิทยาคลินิก คณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย นำเสนอด้วย

นายกรัฐมนตรี กล่าวย้ำว่าเชื้อที่แพร่ระบาดในขณะนี้มาจากพม่าแน่นอน ไม่ใช่สายพันธ์ที่มาจากอังกฤษที่ตรวจพบในสถานกักตัว ซึ่งโชคดีที่เราสามารถควบคุมไว้ได้ โดยเฉพาะที่มาจากต่างประเทศ โชคดีเราควบคุม ตรวจสอบคัดกรองได้และหาตัวได้เจอ

ขณะที่ นพ.ยง กล่าวว่า เชื้อต่อที่มาจากต่างประเทศ เป็นการติดเชื้อเร็วขึ้นแต่ความรุนแรงเท่าเดิม วัคซีนในขณะนี้ใช้ได้ เพราะระบบภูมิต้านทานอยู่ในกลุ่มเดียวกัน

พล.อ.ประยุทธ์ จึงกล่าวว่า แค่สองเชื้อก็วุ่นพออยู่แล้ว ต้องไม่ให้มีเชื้อสายอื่นเข้ามาในประเทศ ซึ่งพื้นฐานของเชื้อเหล่านี้ใกล้เคียงกัน แต่สายพันธุ์ใหม่เพียงแพร่ได้เร็วขึ้น โดยเฉพาะต้องดูที่มาจากไกลๆ รอบบ้าน เพราะเราไม่รู้ว่าเขาดำเนินการได้ดีแค่ไหนอย่างไร จึงต้องไม่ประมาท เพราะอยากให้เพื่อนบ้านทุกประเทศปลอดภัย หากเขาปลอดภัยเราก็ปลอดภัย

"ทุกวัคซีนที่จะนำเข้ามาเราไม่ปิดกั้น ไม่ใช่แอสตร้าเซนเนก้าอย่างเดียว แต่ต้องมีมาตรฐานการรับรองจากต้นทางมาด้วย แล้วต้องมาผ่านมาตรฐานเรา แต่ในเรื่องการฉีด เมื่อเราได้วัคซีนมา และไม่ใช่อย.อนุญาตแล้วฉีดได้ทันที เพราะวัคซีนทยอยเข้ามาตามคิว หมายความว่าตอนนี้เรายังไม่มีวัคซีน ดังนั้นระหว่างนี้เราต้องศึกษา เพื่อให้เกิดความรอบคอบว่าเมื่อฉีดแล้วเป็นอย่างไร และเตรียมมาตรการป้องกัน ทำให้ดีที่สุดเท่าที่ทำได้ และวันหน้าหากของที่อื่นได้ผลเราก็ซื้อได้ เราไม่ผูกขาดใครอยู่แล้ว" พล.อ.ประยุทธ์ กล่าว

นายกรัฐมนตรี กล่าวว่า วันนี้เรายังเลือกวัคซีนไม่ได้มาก แต่ต่อไปเมื่อมีการพัฒนาการแข่งขันก็มีคุณภาพมากขึ้น ราคาถูกลง ซึ่งวัคซีนเหล่านี้ต้องฉีดหลายครั้งและหลายปีตราบใดที่มีการระบาดอยู่ เหมือนไข้หวัดธรรมดา แต่เป็นไข้หวัดสายพันธุ์ใหม่ สิ่งสำคัญสินค้าที่นำเข้ามาถือเป็นสินค้าควบคุมดูแลก่อนระยะแรก ถือว่าเราใช้ในช่วงมีสถานการณ์ฉุกเฉินในขณะนี้ที่มีการแพร่ระบาดของโรค ไม่ใช่ใครก็ได้ที่จะนำเข้าในระยะนี้ เป็นเรื่องของรัฐบาลที่เรามีความรับผิดชอบในขณะนี้ วันข้างหน้าถ้าดีแล้ว ในทางพาณิชย์ค่อยว่ากันอีกที แต่วันนี้ใครจะมาฉีดเองไม่ได้ทั้งนั้น วัคซีนทั้งหมดต้องมาจากเรา เพราะเรารับผิดชอบตรงนี้ จึงต้องดูแล แต่ถ้าดำเนินการแล้วเกิดอะไรขึ้นมา ก็อยู่ที่บริษัทที่ผลิตยาและวัคซีนด้วยที่ต้องรับผิดชอบ

พล.อ.ประยุทธ์ กล่าวย้ำว่า ครั้งนี้เป็นสถานการณ์ฉุกเฉินจำเป็นต้องใช้ มีผลข้างเคียงอะไรบ้างก็แล้วแต่กลุ่ม ดังนั้นขอสื่อไปดูรายละเอียดด้วยก่อนเสนอข่าว ไม่เช่นนั้นสับสนอลหม่านไปหมด และวันนี้แม้ใครพร้อมดำเนินการและมีงบฯ พอก็ไม่สามารถดำเนินการได้ เพราะยังไม่มีวัคซีน ซึ่งเรื่องวัคซีนให้รัฐบาลเตรียมดูแลตรงนี้ก่อนให้เพียงพอ ขอร้องสื่อลงข่าวให้ดีด้วย เพราะรัฐบาลดูแลคนทั้งประเทศ บางทีลงข่าวไปก็งง

จากนั้น พล.อ.ประยุทธ์ รับชมระบบตรวจจับการใส่หน้ากากอนามัย โดยนายกฯ กำชับว่า ต้องไปดูในพื้นที่ที่มีความเสี่ยงสูงมาก แต่ทุกคนต้องมีวินัย สื่อเองก็สอนให้คนมีวินัยด้วย ตนขอแค่นั้น อย่าสอนให้คนไม่มีวินัย ซึ่งสื่อก็ต้องเรียนรู้ไปด้วยกันไม่เช่นนั้นก็เป็นแบบเดิม พูดคนละภาษา นอกจากนี้ขอขอบคุณหมอและทีมวิจัยขอให้เร่งพัฒนาสิ่งเหล่านี้วิจัยได้รวดเร็วขึ้น ทั้งนี้ขอย้ำวัคซีนการนำเข้ามาอะไรต่าง ๆ ต้องเตรียมความพร้อมของเราาซึ่ง 20 กว่าล้านโดสที่ทยอยมา มีคณะกรรมการฯ พิจารณารอบคอบ และใช้ในภาวะฉุกเฉินไม่ใช่ภาวะปกติ

ขณะเดียวกัน นายอนุชา นาคาศัย รมต.ประจำสำนักนายกรัฐมนตรี และคณะผู้บริหาร เข้าพบนายกรัฐมนตรี เพื่อประชาสัมพันธ์โครงการ “ฮาวทูแยก-แยกอย่างไรไม่ให้ติดเชื้อ” รับมอบถุงขยะสีแดง จำนวน 35,000 ใบ และถังขยะสีแดง ความจุ 120 ลิตร จำนวน 300 ใบ สำหรับใช้บรรจุ ขยะมูลฝอยติดเชื้อ เช่น หน้ากากอนามัย กระดาษชำระ เสื้อกาวน์จากเม็ดพลาสติก ชุดอุปกรณ์ป้องกันบุคลากรทางการแพทย์ และ ถุงมือ จากบริษัทเอกชน เพื่อให้กระทรวงมหาดไทย และสำนักนายกรัฐมนตรี นำไปใช้จัดเก็บขยะในพื้นที่เสี่ยง โดยนำร่องที่ 3 จังหวัด ได้แก่ ชลบุรี ระยอง และสมุทรสาคร

โดยนายกรัฐมนตรี กล่าวว่า ขอให้ทุกคนทิ้งขยะให้ถูกที่ โดยเฉพาะขยะมีพิษ ขยะติดเชื้อไม่ใช่เรื่องหน้ากากอนามัยย่างเดียว และยังมีขยะติดเชื้อตามโรงพยาบาลอีกจำนวนมาก จึงต้องบริหารจัดการขยะให้ดี ส่วนการสร้างโรงงานขยะ บางพื้นที่ติดปัญหาบ้าง เพราะหาพื้นที่ไม่ได้ ประชาชนไม่ยอม ก็ไม่รู้แก้ปัญหาได้อย่างไร จึงต้องขอความร่วมมือประชาชนในพื้นที่ด้วย โดยยืนยันความปลอดภัย แต่ถ้าโรงงานขยะไม่กระจายตามพื้นที่ก็จะมีการนำขยะไปเผาทิ้งข้ามจังหวัด ซึ่งจะอันตราย แต่ถ้าทุกจังหวัดหรือทุกภาคมี การขนส่งก็จะถูกลง ดังนั้นท้องถิ่นต้องร่วมมือกันและต้องคิดให้ครบ ถ้าพูดหรือคิดเพียงชั้นเดียวก็เป็นเรื่องแค่ชั้นเดียว เราต้องดูว่าเหตุผลและความจำเป็นคืออะไร เรามีอะไรดี ๆ อยู่เยอะ อย่าว่ากันนักเลย

"สาระสำคัญในการทำงานมีเยอะมากในแต่ละเรื่อง มีข้อปลีกย่อยเยอะ จึงขอให้ช่วยกันคิดและศึกษาจะได้ทำความเข้าใจไปพร้อมกัน ไม่เช่นนั้นประชาชนอ่านสื่อแล้วไม่เข้าใจ ผมไม่โทษพวกท่านหรอก แต่ท่านต้องพัฒนาให้ตรงกับที่เราคิดว่าใช่หรือไม่ใช่ ถูกหรือไม่ถูก สื่อเสนอไปผมไม่ว่า แต่ถ้าเสนอไม่ตรงเลยแบบนี้ก็ลำบาก วันนี้ขยะพิษหน้ากากพิษจากการป้องกันโควิดเยอะอยู่แล้ว อย่าสร้างขยะอย่างอื่นขึ้นมาอีก พวกขยะสังคมอะไรพวกนี้" นายกฯ กล่าว

ในช่วงท้ายพล.อ.ประยุทธ์ กล่าวว่า นายกฯ เป็นห่วงทุกคนจึงสั่งให้ตรวจ Swab ผู้สื่อข่าวที่ทำเนียบทั้งหมด ซึ่งวานนี้ (18 ม.ค.) ตนเองก็ตรวจไปแล้ว และผลไม่ติดเชื้อ

ผู้สื่อข่าวถามว่า เราจะมีข่าวดีในการผ่อนปรนมาตรการต่างๆ ในสิ้นเดือนนี้หรือไม่ พล.อ.ประยุทธ์ กล่าวว่า ขณะนี้ก็มีการพิจารณาอยู่ โดยจะต้องดูสถานการณ์เป็นวัน ๆ

'ณัฐชา บุญไชยอินสวัสดิ์' โฆษกฝีปากกล้าแห่ง 'พรรคก้าวไกล' | Contributor EP.4

พูดคุยกับ ผู้แทนราษฎรหนุ่ม ที่ยังคง ‘จิตวิญญาณ’ ของ ‘ประชาชนคนไทย’ ไว้เต็มขั้นกับ... กาย - ณัฐชา บุญไชยอินสวัสดิ์ โฆษกฝีปากกล้าแห่ง ‘พรรคก้าวไกล’

.

พรรคกล้า เสนอ รมว.ศึกษาฯ – รมว.อุดมศึกษา เลื่อนสอบทีแคส 64 , สอบ Gat/Pat , 9 วิชาสามัญ , O-Net ออกไป 1 เดือน แก้ปัญหาไม่ให้ทับซ้อนสอบปลายภาคเดือน มี.ค. ลดความเครียดเด็กม.6 รับผลกระทบการเรียนช่วงโควิด-19

นายมนต์ชีพ ศิวะสินางกูร กรรมการบริหารพรรคกล้า กลุ่มการศึกษา กล่าวแสดงความเป็นห่วงนักเรียนชั้น ม.6 เนื่องจากได้รับผลกระทบจากการระบาดโควิด-19 รอบแรก ทำให้การสอบปลายภาคจากเดิมสอบช่วงเดือนกุมภาพันธ์ ต้องเลื่อนไปสอบปลายเดือนมีนาคมถึงต้นเดือนเมษายน ซึ่งเป็นช่วงเวลาทับซ้อนกับการสอบ Gat/Pat , 9 วิชาสามัญ , O-Net ของสถาบันทดสอบทางการศึกษาแห่งชาติ หรือ สทศ. ที่เด็กนักเรียนต้องสอบ และยื่นเข้าสู่ระบบการคัดเลือกบุคคลเข้าศึกษาต่อในระดับมหาวิทยาลัย หรือ TCAS64

ขณะเดียวกันการระบาดโควิด-19 รอบสอง ทำให้เด็กกลุ่มนี้ต้องเรียนออนไลน์ตลอดเดือนมกราคม ซึ่งเป็นเรื่องผิดธรรมชาติการเรียนปกติ ทำให้ไม่สามารถเก็บได้ทุกวิชา รวมถึงยังไม่มีความชัดเจนว่าจะใช้วิธีการสอบกลางภาคและปลายภาคอย่างไร

นายมนต์ชีพ กล่าวว่า จึงเรียกร้องไปถึงรัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม ขอให้หารือกันและตัดสินใจเลื่อน TCAS64 ออกไปก่อน และเลื่อนการสอบ Gat/Pat , 9 วิชาสามัญ , O-Net ตามออกไป ซึ่งจะเสียเวลาประมาณ 1 เดือน โดยเชื่อว่าจะไม่กระทบต่อการเปิดเทอมปีการศึกษาหน้า เพื่อจะได้ไม่ทับซ้อนกับการสอบปลายภาค ทำให้เด็ก ม.6 มีเวลาคิด มีช่วงเวลาให้หายใจมากขึ้น ลดความเครียดของเด็ก ลดความไม่สบายใจของผู้ปกครอง

เทคนิครับมือ​ ของ​ 'คน​สายชง'​ประจำปี 'ฉลู' โดย สมศักดิ์ ชาคริตฐากูร (พี่อ๋า) | Contributor EP.3-2

เทคนิครับมือ​ ของ​ 'คน​สายชง'​ประจำปี 'ฉลู' โดย สมศักดิ์ ชาคริตฐากูร (พี่อ๋า) นักออกแบบฮวงจุ้ยธุรกิจ ด้วยศาสตร์จีนโบราณแบบดั้งเดิม แห่งรายการ ‘ฮวงจุ้ยดี มีเฮ’

.

ผ่าดวง ‘ตู่’ พบ ‘ธร’ โดย สมศักดิ์ ชาคริตฐากูร (พี่อ๋า) | Contributor EP.3-1

ดวงเมืองจะเป็นอย่างไร? - ดวงโควิด-19 จะคลี่คลายแค่ไหน? - ดวง ‘ตู่’ พบ ‘ธร’ - ขอโทษ ๆ ผิด ๆ!! - ดวง ลุงตู่ พลเอก ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี และ - ดวง ธนาธร จึงรุ่งเรืองกิจ ประธานคณะก้าวหน้า จะเป็นเช่นไร? หาคำตอบทั้งหมดนี้ได้ จากเขาผู้นี้...  สมศักดิ์ ชาคริตฐากูร (พี่อ๋า) นักออกแบบฮวงจุ้ยธุรกิจ ด้วยศาสตร์จีนโบราณแบบดั้งเดิม แห่งรายการ ‘ฮวงจุ้ยดี มีเฮ’

.

“หมอประสิทธิ์” เผยข่าวดี!!! อาการผวจ. สมุทรสาคร ดีขึ้น เตรียมถอดเครื่องช่วยหายใจพรุ่งนี้ เชื่อไม่มีปัญหา ระบุหากออกไอซียู กักตัวต่อ 14 วันก่อนกลับไปทำงานที่บ้านต่อได้

ศ.นพ.ประสิทธิ์ วัฒนาภา คณบดีคณะแพทย์ศาสตร์ศิริราชพยาบาล ออกมาเปิดเผยถึงอาการของนายวีระศักดิ์ วิจิตร์แสงศรี ผู้ว่าราชการจังหวัดสมุทรสาคร หลังติดเชื้อโควิด-19 ตั้งแต่วันที่ 28 ธ.ค. โดยระบุว่า วันนี้มีข่าวดี เพราะขณะนี้ผู้ว่าฯ อาการดีขึ้นมาก รู้สึกตัวดี และสามารถหายใจได้ดี คาดว่าช่วงเช้าวันที่ 14 ม.ค. จะสามารถถอดท่อ และเครื่องช่วยหายใจออกได้ เพื่อให้ผู้ว่าฯหายใจได้ด้วยตนเอง โดยไม่ต้องใช้เครื่องช่วยหายใจ

รวมถึงตอนนี้แพทย์ได้ถอนยาออกหมดแล้ว เพื่อให้ผู้ว่าฯตื่น และจะประเมินการหายใจ พร้อมทั้งดูการทำงานของสมองต่อไป ส่วนอวัยวะอื่นๆ และการให้อาหารดี ทางเดินอาหารสามารถให้อาหารได้เต็มที่ ดูดซึมได้ดี ผลเลือดดีหมด ซึ่งสามารถฟื้นตัวได้แล้วกว่า 90 เปอร์เซ็นต์แล้ว สำหรับไตก็ดีมาพักใหญ่ ไม่น่ามีปัญหาอะไร อย่างไรก็ตามเมื่อออกจากห้องไอซียูแล้ว ทางผู้ว่าฯ ต้องพักดูอาการก่อน 14 วันที่โรงพยาบาล จากนั้นสามารถกลับไปทำงาน หรือเวิร์ค ฟอร์ม โฮมที่บ้าน จ. สมุทรสาครได้

‘ดร.นิว’ ศุภณัฐ อภิญญาณ โพสต์เฟซบุ๊ก โพสต์เปรียบเทียบความมั่นคงทางไซเบอร์ของไทย ห่างไกลสหรัฐอเมริกาหลายขุม ระบุแค่ส่งข้อความขู่บุคคลสำคัญ ถูก FBI เยี่ยมถึงบ้าน ส่วนเมืองไทย ทั้งๆ ที่รู้อยู่เบื้องหลังม็อบ แต่ปล่อยนั่งในสภาฯ สบาย

ดร.ศุภณัฐ อภิญญาณ หรือ ‘ดร.นิว’ นักวิจัยภายใต้สถาบันวิจัย MAST Center และ คณะวิศวกรรมชีวการแพทย์ University of Arkansas ประเทศสหรัฐอเมริกา โพสต์ข้อความผ่านเฟซบุ๊ก ‘Suphanat Aphinyan (ดร.ศุภณัฐ)’ โดยระบุว่า

#ความมั่นคงทางไซเบอร์ของสหรัฐอเมริกาที่ประเทศไทยไม่เคยมี

แค่ผู้ชายคนหนึ่ง (นาย Cleveland Grover Meredith) ส่งข้อความไปหาเพื่อน ในทำนองขู่ว่าจะทำร้ายประธานสภาผู้แทนราษฎรของสหรัฐอเมริกา (นาง Nancy Pelosi) แล้วเขาก็ถูกจับกุมตัวโดยตำรวจ FBI จากสำนักงานสอบสวนกลางในระยะเวลาอันรวดเร็ว

เหตุการณ์ในครั้งนี้บ่งบอกถึงอะไร?

1. สหรัฐอเมริกาให้ความสำคัญกับความมั่นคงทางไซเบอร์ (Cyber Security) อย่างมาก และมีระบบปฏิบัติการสอดแนมทางไซเบอร์ (Cybersurveillance Operation) ที่ทันสมัย สามารถสอดแนมและตรวจสอบทุกสิ่งทุกอย่างที่เกิดขึ้นในโลกไซเบอร์ แม้แต่การส่งข้อความหากัน เพื่อเฝ้าระวังภัยคุกคามที่อาจเกิดขึ้นได้ในด้านความมั่นคงของประเทศ ซึ่งเทคโนโลยีนี้ถูกเปิดเผยขึ้นครั้งแรกโดยนายเอ็ดเวิร์ด สโนว์เดน ภายใต้ชื่อโครงการ PRISM ของ สำนักงานความมั่นคงแห่งชาติ หรือ National Security Agency (NSA) แม้จะถูกมองว่ามีแนวโน้มเป็นการละเมิดสิทธิเสรีภาพส่วนบุคคล แต่โครงการดังกล่าวยังคงดำเนินการเรื่อยมาอย่างถูกต้องตามกฎหมาย

2. สหรัฐอเมริกาให้ความสำคัญกับการบังคับใช้กฎหมายความมั่นคงอย่างสูงสุด หลังจากมีการส่งข้อความที่เข้าข่ายเป็นภัยต่อความมั่นคง บุคคลดังกล่าวก็ถูกจับกุมตัวทันทีภายในระยะเวลาราว 1 วัน อีกทั้งยังสามารถตรวจค้นและยึดวัตถุพยานที่เกี่ยวข้องทั้งหมดได้อย่างเต็มที่

3. สหรัฐอเมริกามีกระบวนการบังคับใช้กฎหมายความมั่นคงที่รวดเร็ว มีการบูรณาการ และการประสานงานระหว่างเทคโนโลยี อัยการ ศาล รวมถึงตำรวจ ที่ดำเนินไปด้วยกันอย่างเป็นระบบ และมีประสิทธิภาพ

ถ้าประเทศไทยมีความมั่นคงทางไซเบอร์อย่างสหรัฐอเมริกา ขบวนการปลุกม็อบสร้างความแตกแยก รวมถึงผู้ที่อยู่เบื้องหลังคงถูกจับกุม และล้างบางด้วยการบังคับใช้กฎหมายความมั่นคงอย่างที่ควรจะเป็นไปตั้งนานแล้ว อีกทั้งคนไทยทั้งประเทศ คงไม่ต้องมาเห็นภาพจับๆ ปล่อยๆ จนดูเป็นเรื่องตลกดังเช่นทุกวันนี้ เสมือนว่าทั้งระบบของประเทศไทยไม่เข้าใจบริบทของ “กฎหมายความมั่นคง” แถมยังอ่อนข้อให้ผู้บ่อนทำลายความมั่นคงจน “กฎหมายความมั่นคง” แทบจะไม่มีความหมายอะไรเลย

แต่ที่น่าอับอายที่สุด คือ ประเทศไทยมี ส.ส. กบฏ ที่วันๆ คอยแต่สนับสนุนขบวนการบ่อนทำลายความมั่นคงของชาติ และสร้างความแตกแยก นอกจากนั้นก็ทำตัวเป็นสุนัขรับใช้ของนายทุน เจ้าของพรรคการเมือง ซึ่งเป็นผู้อยู่เบื้องหลังม็อบคนสำคัญ โดยที่ไม่ได้รับใช้ประชาชนเหมือนที่พูดจาไว้สวยหรู ประชาชนที่พวกเขาแอบอ้างจึงมีเพียงแค่ม็อบ ซึ่งก็คือมวลชนผู้ตกเป็นเหยื่อและเครื่องมือทางการเมืองของเจ้านายพวกเขา ไม่ใช่ประชาชนชาวไทยทั้งประเทศ หรือความมั่นคงของชาติอันเป็นตัวแทนความมั่นคงของประชาชนชาวไทยทั้งประเทศแต่อย่างใด

ดร.ศุภณัฐ

13 มกราคม พ.ศ. 2564

#ประชาธิปไตยTheseries by ดร.ศุภณัฐ


อ้างอิง...

https://ojs.imodev.org/index.php/RIDDN/article/view/302/491

https://www.thesun.ie/.../cleveland-grover-meredith.../

Cr เพจ Suphanat Aphinyan (ดร.ศุภณัฐ)

'ปกป้องสถาบัน’ และ ‘ดำรงไว้ซึ่งแก่นแท้ของวัฒนธรรมไทย' กับ 'นพ.วรงค์ เดชกิจวิกรม' | Contributor EP.2

นพ.วรงค์ เดชกิจวิกรม ประธานกลุ่มไทยภักดี ถอดรหัส ‘อุดมการณ์’ การเมืองไทยแบบ ‘ชัดสุดขั้ว’ ‘ปกป้องสถาบัน’ และ ‘ดำรงไว้ซึ่งแก่นแท้ของวัฒนธรรมไทย

.

.

หลังจากมีโอกาสกวาดสายตาไปอ่านความคิดเห็นในทวิตเตอร์ของคนญี่ปุ่นบางส่วน ที่กำลังเผชิญกับภาวะโควิด-19 หนักหนากว่าไทยเรามากนักนั้น

ก็ทำให้แอบตกใจในความคิดของคนในประเทศเขา เพราะถึงแม้ญี่ปุ่นจะมีการประกาศภาวะฉุกเฉินในประเทศเพื่อยกระดับป้องกันโควิด-19 ไประดับหนึ่ง แต่วิถีการใช้ชีวิต สภาพการเดินทางในขนส่งสาธารณะก็ยังเหมือนเดิม ซึ่งพฤติกรรมต่างๆ สะท้อนให้เห็นถึง ‘การ์ดตก’ จากตัวเองล้วน ๆ

คำตอบของการแพร่ระบาดแบบไม่ลด มันเลยถูกชำแหละออกว่าทำไมหลายๆ​ ประเทศถึงไม่สามารถคุมเชื้ออยู่ และไม่มีโอกาสใดๆ เลยที่จะทำให้เกิดการหยุดการแพร่ระบาดเชื้อโควิด-19 ในระยะเวลาอันใกล้ได้

ว่าแล้ว!! ดีดออกจากรั้วชาวบ้าน แล้วมาดูรั้วบ้านเราบ้าง​ เพราะรั้วบ้านเราก็มีวิธีคิดไม่ได้ยิ่งหย่อนไปจากประเทศเขานัก

จากโพสต์เฟซบุ๊กของ นพ.ธนรักษ์ ผลิพัฒน์ รองอธิบดีกรมควบคุมโรค ศิษย์เก่าสงขลานครินทร์ ผู้จัดระบบและวางยุทธศาสตร์รับมือโควิด-19 ที่ได้เคยโพสต์เนื้อหาเชิง ‘ถาม-ตอบ’ เกี่ยวกับมุมคิดของคนไทยที่เริ่ม ‘การ์ดตก’ จนเกิดความหย่อนยานในการระวังตัวให้อ่าน

ในเนื้อหา ถาม - ตอบ ของ นพ.ธนรักษ์ มันทำให้รู้สึกถึงความน่ากังวล เพราะระหว่างที่คนกลุ่มหนึ่งกลัวและหาทางระวัง แต่คนอีกกลุ่มหนึ่งพร้อมจะไม่สนใจ!!

หมอถาม: คนไทยรู้มั้ยว่าเรามีโอกาสที่โควิด จะกลับมาระบาดอีก?

ไทยตอบ: รู้

หมอถาม: คนไทยกลัวมั้ย ถ้าโควิด จะกลับมาระบาดอีก?

ไทยตอบ: รู้สึกว่าคนไทยจะไม่ค่อยกลัวเท่าไหร่นะ สังเกตได้จากการปฏิบัติตัว

หมอถาม: สังเกตจากอะไร?

ไทยตอบ: จากการที่คนไทยบางคนเริ่มไม่ระมัดระวัง

- ร้านค้าไม่คัดกรอง

- ร้านค้าให้ความสำคัญกับเงินมากกว่าการป้องกัน

- ร้านค้าไม่ใส่ใจที่จะไม่ยอมให้คนไม่ใส่หน้ากากเข้าร้าน

- ร้านค้าไม่ยอมบอกให้ลูกค้าใส่หน้ากาก

- ลูกค้าก็มีความสุขที่จะไม่ต้องใส่หน้ากาก

***เห็นแบบนี้แล้ว มันก็ทำให้แอบ ‘เบ้ปากมองบน’ ได้เหมือนกัน เพราะหากคนไทยมีมุมคิดแบบนี้เพิ่มมากขึ้นเรื่อยๆ โควิดจะไหลไปแบบ Super Spread และยากเกินคุม จาก ‘พฤติกรรมของคนไทย’ ล้วน ๆ

แต่อันที่จริง ลองหันมามองมุมกลับและให้ความเป็นธรรมกับพฤติกรรมที่เกิดขึ้นมาบ้าง ซึ่งหากวิเคราะห์กันแบบฉาบฉวย เรื่องมันก็มาจาก ‘ความอัดอั้น’ ของคนนั่นแหละ!!

...แล้วอะไรคือ ‘ความอัดอั้น’?

แม้ประเทศไทยจะได้รับคำยกย่องชมเชยในการจัดการโควิดระยะแรกเมื่อปีก่อน (2563) ได้ดี แต่อย่าลืมว่าต้นตอของการแพร่ระบาดในแต่ละครั้ง มักมีปมมาจาก ‘รอบรั้วรัฐบาล’ เข้ามาเอี่ยวเกือบทั้งสิ้น

- สนามมวย คนของใคร?

- บ่อนระยอง คนจากที่ไหน?

- และไหนจะย่านสถานบันเทิงที่เปิดกันแบบไม่เกรง พรก.

แค่จั่วหัวแบบนี้ขึ้นมา วงเป้าของการ์ดที่ตกลง ก็คงจะไม่ใช่แค่ ‘พฤติกรรมคน’ อย่างเดียว

แต่มันเกิดขึ้นจาก ‘แรงเหวี่ยง’ ของความไร้สำนึกจากคนแค่บางกลุ่มที่เร่งกระตุ้นพฤติกรรมให้คนที่เคย​ 'ใส่ใจ'​ เริ่ม​ 'หมดใจ'​ ลุกลามจนคิดสั้นแบบชาติตะวันตกที่ว่าโควิดมันก็แค่เชื้อหวัดอย่างหนึ่ง​ แล้วก็​ 'ปลดการ์ด' ตนเองลง​ แม้จะมีภัยมาเยือนถึงตัวแบบ​ 'จ่อคอหอย'​

จนเชื่อได้ว่าวันนี้น่าจะมี​ 'คนไทย'​ บางกลุ่มเริ่มอยากตั้งคำถาม 'กันเอง' ที่อาจจะดูย้อนแย้งกับสิ่งที่ นพ.ธนรักษ์ โพสต์ไว้!!

ไทยถาม: คิดว่าทหาร ตำรวจ และหน่วยงานต่างๆ ของรัฐ เขาจะรู้ไหมว่าโควิดมีโอกาสที่จะกลับมาระบาดอีกครั้ง?

ไทยตอบ: รู้

ไทยถาม: แล้วคิดว่าหน่วยงานเหล่านี้เกรงกลัวหรือไม่ หากโควิดจะกลับมาระบาดอีกรอบ?

ไทยตอบ: อาจจะไม่ค่อยกลัวเท่าไรนะ เพราะเคยคุมอยู่แล้วครั้งหนึ่ง รอบนี้ก็คงเอาอยู่ ลองสังเกตดูได้จากการปฏิบัติตัวก็รู้แล้ว?

ไทยถาม: สังเกตจากอะไร?

ไทยตอบ: ก็จากการที่หน่วยงานของรัฐ ทหาร ตำรวจและอื่นๆ เริ่มไม่ค่อยระมัดระวังแล้วน่ะสิ

- เอาจากเรื่องคนเข้าประเทศแล้วไม่ต้องคัดกรองในบางกลุ่ม

- หน่วยงานของรัฐเริ่มไม่ใส่ใจ และยอมให้คนไม่ตรวจคัดกรองสามารถวางแผนเดินทางเข้าประเทศได้

- แถมหน่วยงานของรัฐอนุมัติให้เข้ามาไม่ควบคุมให้ผู้มาเยือนปฏิบัติตัวตามระเบียบ

- ยิ่งไปกว่าไอผู้มาเยือนก็มีความสุขที่จะไม่ต้องคัดกรอง ไม่ต้องอยู่ในที่จัดไว้ให้ โดยเจ้าหน้าที่ก็ยินยอมให้เป็นไปตามนั้น

- และยิ่งของยิ่งไปกว่านั้น ตอนเกิดเหตุแพร่ระบาดสถานที่ต่างๆ ที่เป็นตัวระบาด ก็มาจากความหละหลวมของรัฐที่ยังปล่อยให้ไปรวมตัวกันเหมือนครั้งสนามมวยรอบแรกเกือบทั้งสิ้น

หน่วยงานของรัฐบางหน่วยไม่มีสติ ไม่มีความรับผิดชอบต่อประชาชน และต่อให้บางหน่วยอยากทักท้วง ก็ไม่กล้าพอที่จะพูดอะไร

***ฉะนั้นถ้าโควิดจะหนักจนเอาไม่อยู่ในรอบนี้ มันก็มีส่วนมาจากความหย่อนยานของหน่วยงานของรัฐด้วยเช่นกัน!!***

สรุปแล้ว ถ้ามองรอบด้าน มันคือความผิดที่เกิดขึ้นแล้ว ไม่ว่าจะทั้งจาก ‘พฤติกรรมคน’ หรือแม้แต่ ‘พฤติกรรมรัฐ’

- มันจึงไม่น่าจะใช่แค่ใครฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งที่ผิด

- เพราะมัน ‘ผิดทั้งคู่’

- แต่ผิดแล้ว ผิดอีก ไม่ว่าจะใครหรือใคร อันนี้แหละน่าเขกกะโหลก ทั้งนั้น!!

อยากให้คนไทยได้เที่ยวได้ใช้ชีวิตอย่างปลอดภัย และกลับมาช่วยกันดูแลธุรกิจ/เศรษฐกิจให้สามารถพอเดินไปได้

ก็อย่า ‘การ์ดตก’ จน ‘หย่อนยาน’

ทั้ง ‘คน’ ทั้ง ‘รัฐ’...นะจ๊ะ!!

หมอชนะ/ไทยชนะ.....แต่ปู่แพ้นะ เพราะไม่มีสมาร์ตโฟน

หมอชนะ/ไทยชนะ.....แต่ปู่แพ้นะ เพราะไม่มีสมาร์ตโฟน

.

วิเคราะห์ ‘ข้อดี-ข้อเสีย’ 3 กลุ่ม ‘วัคซีนโควิด-19’ ที่อนุญาตให้ใช้ฉุกเฉินในมนุษย์ By ‘หมอยง’

สัญชาติญาณโดยอัตโนมัติของมนุษย์ทุกคนที่มี คือ "การเอาตัวรอด"

อารมณ์ว่าถ้าภัยมาถึงตัว ไม่ว่าจะ "ภัยเล็ก" หรือ "ภัยใหญ่" เราจะพยายามหาวิธีดิ้นรน เพื่อให้มันผ่านพ้นไปให้ได้ แม้วิธีการนั้นมันจะ "ชัวร์" หรือ "มั่วนิ่ม" ก็ไม่ติดขัดอันใด

ผลลัพธ์ของวัคซีนโควิด-19 ก็เช่นกัน ตอนนี้ เริ่มมีการนำเข้าวัคซีนป้องกันไวรัสโควิด-19 ของประเทศต่างๆ จากหลายบริษัทผู้ผลิตมาใช้กันมากขึ้น

นี่คือ "ทางรอด" แต่มันก็มี "ทางร่วง" แทรกปนมา เพราะกระแสของผลข้างเคียงต่าง ๆ นานาที่เป็นข่าว จากวัคซีนของบางประเทศ เช่น ฉีดไปอีก 8 วันกลับมาติดเชื้อใหม่ หรือฉีดไป แพ้หนัก ตายเลย

มันก็เลยเป็นอะไรที่เริ่มแยกไม่ออก ระหว่าง "ความเสี่ยง" กับ "ความซวย" ว่าตกลงผลของมันดีหรือร้ายกันแน่

พอเป็นแบบนี้ มันก็เลยเกิดกระแสวิจารณ์ในวงกว้างทั้งทั่วโลก และรวมถึงในประเทศไทย ที่กังวลในผลลัพธ์ที่อาจกระทบชีวิตพอสมควร

เพราะต้องยอมรับว่าการเร่งผลิตวัคซีนในครั้งนี้มีความเสี่ยงต่อผลข้างเคียงสูง...

สูงยังไง?

อย่าลืมนะว่าระยะเวลาการพัฒนาและทดสอบวัคซีนส่วนใหญ่โควิด-19 ในครั้งนี้ ‘สั้นมาก’ แค่ 10 เดือน ก็เริ่มเห็นนำวัคซีนเวอร์ชั่นต่างๆ ออกมาปล่อยของกันให้ว่อน

ซึ่งในความเป็นจริงนั้นกลุ่มวัคซีนของ "โรคอุบัติใหม่" ในอดีตก่อนหน้านี้ ยังต้องใช้เวลาพัฒนาและทดสอบกันร่วม 2 - 5 ปี ขึ้นไปเลย นั่นก็เพื่อให้เกิดความมั่นใจว่าวัคซีนที่ได้มานั้นใช้ได้ผล ปลอดภัย และป้องกันเชื้อไวรัสที่กลายพันธุ์ไปเป็นชนิดย่อยๆ ได้ครอบคลุมที่สุด

แต่กับโควิด-19 มันต่างกัน!!

เพราะนี่คือโจทย์ที่ "ทิ้งเวลา" นาน ๆ ไม่ได้ วัคซีนจากแต่ละประเทศ ถูกดันออกมาเพื่อแข่งกับเวลา

• เวลาที่จำนวนผู้ติดเชื้อเพิ่มขึ้น

• เวลาที่จำนวนผู้เสียชีวิตไม่มีหยุดหย่อน

• และเวลาเดิมพันด้วยเศรษฐกิจของโลกใบนี้ที่หยุดชะงักไปเพราะไวรัสทำพิษ

มันจึงกลายเป็นการบีบแบบไม่มีทางเลือกนอกจากเร่งทำมันออกมาให้เร็วที่สุด

เอาเป็นว่าสุดท้าย ถ้ามันหมดทางเลือก เราก็ต้องยอมฉีด แต่จะฉีดทั้งทีก็ต้องรู้สรรพคุณ "ข้อดี - ข้อเสีย" ของแต่ละเวอร์ชั่นวัคซีนไว้บ้างก็ดี ซึ่งเกี่ยวกับเรื่องนี้ นายแพทย์ยง ภู่วรวรรณยศ หัวหน้าศูนย์เชี่ยวชาญเฉพาะทางด้านไวรัสวิทยาคลินิก คณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ได้โพสต์ข้อความผ่านเฟซบุ๊ก ถึงหลักการทำงาน และข้อดี ข้อเสีย ของวัคซีนโควิด-19 แต่ละชนิดไว้อย่างน่าสนใจ

โดยหมอยง ระบุว่า "วัคซีนมีหลายชนิด ขณะนี้ที่อนุญาตให้ใช้ในมนุษย์ในภาวะปกติและฉุกเฉินที่ผ่านการทดลองมี 3 กลุ่ม และ 2 ใน 3 กลุ่ม ก็เป็นวัคซีนที่จะใช้จริงกับคนไทยด้วย"

1.) mRNA วัคซีน เช่น วัคซีนของบริษัทไฟเซอร์ / Moderna

วัคซีนชนิดนี้จะเป็น mRNA ที่ถูกห่อหุ้มด้วย lipid nanoparticle เมื่อฉีดเข้าไปที่กล้ามเนื้อ particle จะเข้าสู่ เซลล์กล้ามเนื้อ mRNA จะถูกถอดออก ใน cytoplasm หรือของเหลวในเซลล์ แล้วmRNA จะเข้าสู่ ribosome ทำการสร้างโปรตีน ตามรูปแบบที่กำหนด messenger RNA

ดังนั้น RNA ที่ใส่เข้าไปจะต้องมี Cap, 5’ UTR, spike RNA, 3’UTR และ poly A tail อยากให้พวกเราสนใจวิทยาศาสตร์ จะเข้าใจง่ายขึ้น ในรูปแบบที่กล่าวถึงโรงงาน ribosome จะสร้างโปรตีนตามกำหนดและ ส่งผ่านออกทาง golgi ออกสู่นอกเซลล์

โปรตีนที่สร้างออกมาจะเป็นแอนติเจนไปกระตุ้นร่างกายสร้างแอนติบอดี ที่เป็นภูมิต้านทานต่อโรคโควิด 19

ข้อดี >> วัคซีนชนิดนี้ทำได้ง่าย และเป็นจำนวนมากอย่างรวดเร็ว เพราะทำในโรงงาน กระตุ้นภูมิต้านทานได้สูง

ข้อเสีย >> อยู่ที่ว่า RNA สลายตัวได้ง่าย เก็บที่อุณหภูมิต่ำมากๆ และวัคซีนชนิดนี้เป็นชนิดแรกที่ใช้ในมนุษย์ อาการข้างเคียงหลังฉีดพบได้บ่อยกว่า วัคซีนที่ทำโดยชนิดเก่า เช่นมีไข้ ปวดเมื่อย และผลระยะยาวคงต้องรอการศึกษาต่อไป เช่นติดตามเป็นปีหรือหลายปี

2.) ไวรัสvector (ของอังกฤษ, AstraZineca และรัสเซีย Spuknic V)

วัคซีนนี้จะใช้วิธีการเอาสารพันธุกรรมของไวรัส ใส่เข้าไปในไวรัสที่จะเป็นเวกเตอร์ หรือ ตัวฝากนั่นเอง ที่ใช้อยู่เป็น adenovirus, vesicula stomatitis virus ไม่ก่อโรคในคน

การใส่เข้าไปเข้าใจว่าเป็น cDNA ของ covid 19 เพื่อให้ไวรัส vector ส่งสารพันธุกรรม ของ covid-19 เข้าไปในเซลล์มนุษย์ เมื่อเข้าไปแล้ว ไวรัสจะถอดรูปพันธุกรรมที่ส่งเข้าไป จะต้องเข้าไปในนิวเคลียสของเซลล์ เพื่อลอกแบบ และเปลี่ยนให้เป็น mRNA ออกมาในไซโตพลาสซึม แล้วส่วนของ mRNA จะไปที่ ไรโบโซม เพื่อทำการสร้างโปรตีน ตามรูปแบบที่กำหนดไว้ คือ spike โปรตีน ส่งผ่านออกมาทาง golgi ออกนอกเซลล์เช่นเดียวกับ mRNA

โปรตีนที่ส่งออกมา จะทำหน้าที่เป็นแอนติเจนกระตุ้นให้ร่างกายสร้างแอนติบอดี ต่อเชื้อโควิค 19

ข้อดี >> วัคซีนชนิดนี้ผลิตได้จำนวนมากได้ง่าย เพราะทำจากโรงงาน เป็น DNA จะมีความคงทนกว่า จึงสามารถเก็บได้ในอุณหภูมิ 2 - 8 องศา ราคาจะถูก เพราะทำได้จำนวนมาก

ข้อเสีย >> วัคซีนนี้เป็นชนิดใหม่เช่นเดียวกัน ผลระยะยาวจึงยังไม่ทราบ และ จะต้องคำนึงอีกประการหนึ่งคือขั้นตอนที่ผ่านนิวเคลียสของเซลล์ เราไม่ทราบว่าจะมีการรวมตัว integrate กับ DNA ของมนุษย์หรือไม่ หวังว่าคงไม่ ผลระยะยาวก็คงต้องติดตามต่อไป

3.) วัคซีนเชื้อตาย (ของจีน Sinovac, Sinopharm)

วิธีการผลิตจะใช้หลักการกับวัคซีน ที่ทำมาแต่ในอดีตเช่น วัคซีนตับอักเสบเอ วัคซีนโปลิโอ พิษสุนัขบ้าและอื่นๆอีกหลายชนิด

นักวิทยาศาสตร์จะใช้เชื้อโควิด 19 เพราะเลี้ยงบน Vero cell เซลล์ชนิดนี้ ใช้ทำวัคซีนหลายชนิดเช่นวัคซีนป้องกันโรคพิษสุนัขบ้า และใช้กันมานานมาก อย่างที่เราฉีดวัคซีนป้องกันพิษสุนัขบ้า

เมื่อเพาะได้จำนวนไวรัสจำนวนมาก ก็จะเอามาทำลายฤทธิ์หรือฆ่าเชื้อให้ตายแล้วนำมา formulation ใส่สารกระตุ้นภูมิต้านทาน

ข้อดี >> วัคซีนชนิดนี้ โดยวิธีการทำจะเป็นวิธีที่เรารู้กันมาแต่โบราณ ในเรื่องความปลอดภัย เป็นเชื้อตายสามารถให้ในคนที่มีภูมิคุ้มกันบกพร่องได้ ภูมิคุ้มกันต่ำ เชื้อไม่ไปเพิ่มจำนวน แต่การกระตุ้นภูมิต้านทานจะได้ระดับต่ำกว่าวัคซีนที่กล่าวมาจากข้างต้น

ข้อเสีย >> ของวัคซีนชนิดนี้คือการผลิตจำนวนมาก จะทำได้ยาก เพราะไวรัสชนิดนี้เป็นไวรัสก่อโรค จะต้องเพาะเลี้ยง ในห้องชีวนิรภัยระดับสูง ต้นทุนในการผลิตจะมีต้นทุนสูง ไม่สามารถลดราคาลงให้ถูกลงได้ ในทำนองเดียวกันการผลิตจำนวนมากของวัคซีนโควิด-19 ชนิดเชื้อตาย ก็จะมีขีดจำกัดด้วย

อินโดนีเซีย จัดทัพตำรวจและทหารกว่า 8 หมื่นนาย คุ้มกัน ‘วัคซีนโควิด-19’ เต็มอัตราศึก แต่วัคซีนถูกส่งถึงสนามบินซูการ์โน-ฮัตตา จนถึงบริษัทเภสัชภัณฑ์ในจังหวัดชวาตะวันตก

พ.ต.อ รุสดี ฮาร์โตโน โฆษกตำรวจอินโดนีเซีย เปิดเผยว่า อินโดนีเซียจัดส่งเจ้าหน้าที่ตำรวจและทหารรวม 83,566 นาย ไปปฏิบัติงานคุ้มกันวัคซีนป้องกันโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนาสายพันธุ์ใหม่ (โควิด-19) นับตั้งแต่วัคซีนถูกส่งถึงสนามบินซูการ์โน-ฮัตตา เพื่อนำไปส่งมอบให้ไบโอ ฟาร์มา (Bio Farma) บริษัทเภสัชภัณฑ์ในจังหวัดชวาตะวันตก และจัดสรรไปยังหลายภูมิภาคทั่วประเทศ

ฮาร์โตโน กล่าวว่า งานคุ้มกันเป็นส่วนหนึ่งของปฏิบัติการร่วมระหว่างบุคลากรกองทัพ ตำรวจ และหน่วยงานอื่นที่เกี่ยวข้อง เพื่อกำกับดูแลระเบียบสาธารณสุข และส่งเสริมโครงการฉีดวัคซีนของประเทศให้ประสบความสำเร็จ

อินโดนีเซียจะเริ่มโครงการฉีดวัคซีนโรคโควิด-19 วันที่ 13 ม.ค. นี้ และตั้งเป้าฉีดวัคซีนให้ประชาชน 181.5 ล้านคนจนถึงปี 2022

การฉีดวัคซีนระยะแรกจะมีขึ้นช่วงเดือนมกราคม-เมษายน 2021 โดยจะจัดสรรวัคซีนให้เจ้าหน้าที่ทางการแพทย์ 1.3 ล้านคน คนงานบริการสาธารณะ 17.4 ล้านคน และผู้สูงอายุ 21.5 ล้านคน ส่วนการฉีดวัคซีนระยะที่ 2 จะมีขึ้นช่วงเดือนเมษายน 2021-มีนาคม 2022 โดยจะจัดสรรวัคซีนให้คนกลุ่มเสี่ยง 63.9 ล้านคน และประชาชนกลุ่มอื่นอีก 77.4 ล้านคน


Cr : www.xinhuathai.com


© Copyright 2021, All rights reserved. THE STATES TIMES
Take Me Top