Tuesday, 22 April 2025
POLITICS

'พุทธะอิสระ' เผยสถานการณ์ม็อบวันนี้ จากม็อบล้มเจ้า เอาไม่ชนะเลยต้องไปผสมพันธุ์กับคนปล้นชาติ แฉ 'ฝรั่ง - นักโทษหนีคดีผู้มั่งคั่ง' ส่งสัญญาณนักรบรับจ้างรุ่นเก่ามาสมทบ สารพัดสีเสื้อผสมโรงเหม็นหน้ารัฐบาล หวังจะเผด็จศึกรัฐบาล

พุทธะอิสระ อดีตเจ้าอาวาสวัดอ้อน้อย ในฐานะอดีตแกนนำกปปส. โพสต์ข้อความในเพจเฟซบุ๊ก "หลวงปู่พุทธะอิสระ (Buddha Isara)" เมื่อวันที่ 1 เมษายน 64 โดย ระบุว่า...

ฝนตกขี้หมูไหล คนจัญไรมาเจอกัน

๑ เมษายน ๒๕๖๔

สถานการณ์ม็อบวันนี้ จากม็อบล้มเจ้า เอาไม่ชนะเลยต้องไปผสมพันธุ์กับคนปล้นชาติ เพื่อหวังจะเผด็จศึกรัฐบาล

แต่เนื้อแท้แล้ว เป้าก็คือ สถาบันพระมหากษัตริย์ นั่นเอง

วันนี้จึงขอแนะนำกลุ่มคนที่กำลังเอาคนไทย ประเทศไทยเป็นตัวประกัน ทั้งยังซ้ำเติมสถานการณ์ในวิกฤตโควิด ให้คนไทยต้องมาทุกข์ยากมากขึ้น

เดิมทีก็มี กลุ่มสามสัส ที่หลอกใช้เด็กให้ติดคุกแทนตน

กลุ่มอาจารย์ปลวก ที่คอยเสี้ยมสอนให้ลูกไทยเกลียดชังรากเหง้าเผ่าไทย

กลุ่มนักการเมือง ที่มีภารกิจจำเป็นเร่งด่วนในการล้มกฎหมายคุ้มครอง สถาบันพระมหากษัตริย์ และล้มรัฐบาล

กลุ่มนักโทษ ที่อ้างว่าเป็นนักวิชาการ หนีคดีไปอยู่เมืองนอก ที่คอยส่งเสียงเห่าหอนอย่างโหยหวน ขับกล่อมให้เด็กไทยไร้สมองหลงเชื่อ

กลุ่มผู้ตกเป็นเหยื่อถูกยุยงให้หลงเชื่อ และกำลังจะทยอยติดคุกกันทั่วหน้า

กลุ่มแกนนำรับจ้าง ซึ่งก็มีชีวิตเป็นอยู่อย่างอู้ฟู่

กลุ่มฝรั่งล่าอาณานิคม ที่ตั้งตัวเป็นศาสดาประชาธิปไตย และเรียกร้องให้ทุกคนเคารพสิทธิในความเท่าเทียมกันของมนุษย์ แต่ก็ไล่กระทืบคนผิวสีและคนเอเชีย

แต่หลังจากยุยงปลุกปั่นม็อบ รุกไล่รัฐบาล จ้องล้มสถาบัน มาเป็นเวลาแรมปี ก็ยังไม่ประสบความสำเร็จ

บัดนี้หุ้นส่วนใหญ่ในต่างประเทศ ซึ่งก็มีทั้งฝรั่งและนักโทษหนีคดีผู้มั่งคั่ง ได้พยายามส่งสัญญาณให้นักรบรับจ้างรุ่นเก่า เตรียมออกมาสมทบ

เห็นว่างานนี้ มีบรรดาสารพัดสีเสื้อ ที่เหมือนจะเหม็นหน้ารัฐบาล เหม็นหน้านายก แว่ว ๆ มาว่าจะเข้าร่วมด้วย โทษฐานรัฐบาลชอบตัดหางพวกเดียวกันและพวกที่เคยสนับสนุน

ทั้งยังมีกลุ่มภิกษุ ผู้ได้รับผลกระทบจากการบังคับใช้กฎหมายของรัฐบาล เริ่มตั้งแต่อดีตกรรมการมหาเถรและกองเชียร์ ผสมโรงกับลัทธิธรรมกาย ที่เจ้าสำนักยังลี้ภัยอยู่ในรู

ตามด้วยกลุ่มที่มีคดี หากล้มรัฐบาล ล้มรัฐธรรมนูญชุดนี้ลงได้ จะได้แก้ไขกฎหมายให้เอื้อต่อคดี หรือถ้าล้มไม่ได้ก็จะใช้สถานการณ์ม็อบต่อรองกับรัฐบาลและผู้มีอำนาจ ให้ต้องออกกฎหมายพ้นโทษ

แต่ไม่ว่าจะกลุ่มไหนก็ตาม ล้วนแต่ได้รับการสนับสนุนจากกลุ่มสามสัสทุนหนา และนักโทษปล้นชาติหนีคดีผู้ร่ำรวย และฝรั่งศาสดาประชาธิปไตยผู้ล่าอาณานิคม

โดยมีเป้าเดียวกันคือ ล้มสถาบันพระมหากษัตริย์ และพยายามกำจัดรัฐบาลที่แสดงพฤติกรรมปกป้องสถาบันอย่างเด่นชัด

ที่หยิบยกมาให้ท่านได้รู้ ก็เพื่อจะได้เตรียมตัว รับสถานการณ์ที่จะเกิดในบ้านเมืองนี้ อย่างมีสติปัญญา

พุทธะอิสระ


ที่มา : https://www.facebook.com/photo?fbid=157354712923473&set=a.107732904552321

ไทยพบผู้ติดเชื้อ 58 ราย มี 1 ราย เชื่อมโยงสถานบันเทิง กลุ่มสัมผัสเพียบ ศบค.ผวาซ้ำรอยห่วง สงกรานต์นี้ ให้ทุกคนดูแลตัวเอง - ครอบครัว ย้ำ สถานบันเทิง เป็นเรื่อง น่ากังวลใจ 

ที่ทำเนียบรัฐบาล นพ.ทวีศิลป์ วิษณุโยธิน โฆษกศูนย์บริหารสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (โควิด-19) หรือ ศบค. แถลงสถานการณ์ประจำวัน ว่า มีผู้ติดเชื้อรายใหม่ 58 ราย เป็นการติดเชื้อในประเทศ 45 ราย มาจากระบบเฝ้าระวังและระบบบริการ 42 ราย มาจากค้นหาเชิงรุก 3 ราย นอกจากนี้ เป็นผู้ที่เดินทางมาต่างประเทศ 13 ราย ทำให้มียอดผู้ติดเชื้อสะสม 28,947 ราย หายป่วยสะสม 27,606 ราย อยู่ระหว่างรักษา 1,247 ราย ไม่มีรายงานผู้เสียชีวิตเพิ่มเติม ยอดสะสมคงที่ 94 ราย ขณะที่สถานการณ์โลก มีผู้ติดเชื้อสะสม 130,157,191 ราย เสียชีวิตสะสม 2,839,987 ราย

นพ.ทวีศิลป์ กล่าวว่า สำหรับผู้ติดเชื้อวันนี้ มี 1 ราย อยู่ใน กทม. เป็นนักศึกษา อายุ 19 ปี วันที่ 20 – 24 มีนาคม พักอยู่ที่หอพักย่านศาลายา อ.พุทธมณฑล จ.นครปฐม โดยวันที่ 23 มีนาคม ไปเที่ยวสถานบันเทิงย่านพุทธมณฑลกับเพื่อน 11 คน จากวันที่ 25 – 29 มีนาคม เดินทางโดยเครื่องบินไปเที่ยว จ.ภูเก็ตกับเพื่อน 9 คน และเข้าพักที่รีสอร์ท เช่ารถขับ ต่อมาวันที่ 29 มีนาคม เดินทางโดยเครื่องบินกลับ กทม. ซึ่งมารดาขับรถส่วนตัวมารับที่สนามบิน วันที่ 30 มี.ค. ไปตีแบดมินตันกับเพื่อนที่ศาลายา 8 คน วันที่ 31 มีนาคม ไปเรียนที่มหาวิทยาลัย มีเพื่อนในห้องเรียน 50 คน 

มีการรับประทานอาหารที่โรงอาหารมหาวิทยาลัย มีการเดินทางโดยรถส่วนตัวกับเพื่อน 1 คนไป กทม. โดยวันเดียวกันทราบว่ามีพนักงานในสถานบันเทิงย่านศาลายาติดโควิด-19 จึงไปตรวจที่โรงพยาบาลรามาธิบดีแล้วพบว่าติดเชื้อโควิด-19 นอกจากนี้ มีผู้ติดเชื้อ 1 ราย ที่ อ.วังสะพุง จ.เลย มีประวัติเชื่อมโยงกับสถานบันเทิงแห่งหนึ่งใน กทม. อย่างไรก็ตาม ขณะนี้เรากำลังเข้าสู่เทศกาลสงกรานต์ที่มีการหยุดยาว ซึ่ง ศบค.ได้ผ่อนคลายให้ แต่เรากังวลใจว่าจากการระบาดในตลาดและกำลังไปสู่สถานบันเทิง ปีที่แล้วเราเคยเผชิญสถานการณ์แบบนี้ ต้องใช้เวลาถึงช่วงหนึ่งกว่าจะควบคุมได้ 

นพ.ทวีศิลป์ กล่าวว่า สำหรับการกระจายวัคซีนตั้งแต่วันที่ 28 กุมภาพันธ์ – 1 เมษายน มีการจัดสรรวัคซีนซิโนแวค 322,040 โดส แอสตราเซเนกา 85,880 โดส มีจำนวนผู้ได้รับวัคซีนเข็มที่หนึ่ง 166,243 ราย เข็มที่สอง 37,407 ราย อย่างไรก็ตาม ที่มีข่าวเกี่ยวกับผู้ได้รับผลกระทบจากการฉีดวัคซีนที่ระบุว่าบางคนถึงกับเสียชีวิต อย่างกรณีหมอในต่างประเทศฉีดแล้วมีเส้นเลือดแตกในช่องท้องนั้นไม่ใช่ ส่วนกรณีผู้ช่วยเจ้าอาวาสวัดสัมพันธวงศ์มรณภาพหลังฉีดวัคซีนได้วันเดียวอยู่ระหว่างการหาสาเหตุที่แท้จริง ส่วนผู้ที่ฉีดแล้วมีอาการไม่พึงประสงค์ เช่น แพ้ ผื่นขึ้น หายใจติดขัด ขณะนี้มีอยู่ 4 ราย ซึ่งหายเป็นปกติแล้ว 

นพ.ทวีศิลป์ ตอบข้อซักถามถึงการลดจำนวนวันกักตัวของผู้ที่จะเดินทางเข้าประเทศไทย ว่า ราชกิจจานุเบกษาได้ประกาศรายละเอียดข้อกำหนดแล้วกว่า 30 หน้า ซึ่งผู้ที่จะเดินทางเข้าประเทศไทยต้องศึกษาและทำความเข้าใจ ทั้งนี้มีวัคซีนเข้ามาแล้วบรรยากาศของการผ่อนคลายจึงต้องมีเพื่อลดระยะเวลาการกักตัว

1.) คนที่ได้รับวัคซีนครบสองเข็ม แล้วนับจากวันที่ได้รับวัคซีนไปอีก 14 วันก่อนสามารถเดินทางเข้าประเทศไทยได้ และได้รับการกักตัว 7 วัน โดยต้องนับจากเข็มที่สองไปครบ 14 วันก่อน เพื่อให้มีภูมิคุ้มกันเกิดขึ้นในร่างกายอย่างเต็มที่ คือ 14 วันหลังเข็มสอง 

2.) ผู้ที่ได้รับวรรคสี่แต่ยังไม่ครบสองเข็มจะต้องได้รับการกับตัว 10 วัน เนื่องจากมีเปอร์เซ็นต์ในการติดเชื้อไม่มากนักสามารถรอรับความเสี่ยงได้ กักตัว 10 วันก็พอ จะได้เป็นการลดค่าใช้จ่ายของรัฐ 

3.) ผู้ที่มาจากประเทศที่สงสัยว่ามีการติดเชื้อของไวรัส โควิด-19 กลายพันธุ์ เช่น จากประเทศ แอฟริกา แทนซาเนีย โมซัมบิก ต้องได้รับการกักตัว 14 วัน อย่างไรก็ตามในรายละเอียดในเรื่องของ การตรวจหาเชื้อ ตามกำหนดซึ่งแต่ละกลุ่มจะต้องแตกต่างกันไป แต่ที่สำคัญทั้งสามกลุ่มจะต้องมีระบบการติดตามตัวซึ่ง ศบค. ได้หารือกันว่าจะต้องมีระบบไทยแลนด์พลัส ซึ่งเป็นแอพพลิเคชั่นที่ชาวต่างชาติคุ้นเคย เพื่อติดตามตัวในการควบคุมโรคโควิด-19

และในขณะที่เราเน้นย้ำผู้ที่กำลังจะเข้ามาในประเทศไทยเราก็ต้องเน้นย้ำโรงแรมในประเทศ ที่เป็นสถานที่กักตัว ที่เข้าร่วมโครงการกับ ศบค. ขอให้ประสานไปยังกรมสนับสนุนบริการสุขภาพเพื่อที่จะปรับช่วงเวลา และการดูแล รวมถึงวัน และระบบการรายงานต่าง ๆ เพื่อให้ทางกรมฯติดต่อและจัดทำเทเลคอนเฟอร์เรน ขอให้โรงแรมทุกแห่งให้ความสนใจในการปรับมาตรการนี้ไปพร้อมกันด้วย เพื่อปรับมาตรการไปพร้อมกันและเพื่อประโยชน์ของคนไทยและคนต่างชาติที่จะเข้ามาในประเทศไทย

ผู้สื่อข่าวถามถึงกรณีการมรณภาพของผู้ช่วยเจ้าอาวาสวัดสัมพันธวงศ์ นพ. ทวีศิลป์ กล่าวว่า จากที่เป็นข่าวคือผู้ช่วยเจ้าอาวาสซึ่งมีโรคประจำตัวเป็นเบาหวาน ความดันสูง ฉีดวัคซีนไปตั้งแต่เวลาประมาณ 11.00 น. ของวันที่ 31 มีนาคม หลังสังเกตุอาการก็ไม่มีสิ่งผิดปกติ เมื่อกลับวัดและพบครั้งสุดท้ายเมื่อเวลาประมาณ 16.00 น. ของวันที่ 1 เมษายน หลังจากนั้นข้ามคืนไปท่านไม่ได้ออกจากกุฎิ เมื่อมีคนไปเคาะประตูไม่มีเสียงตอบรับจึงได้เข้าดูพบว่ามรณภาพแล้ว ซึ่งต้องขอแสดงความเสียใจต่อครอบครัวและทางวัดด้วย ขณะนี้ยังต้องดำเนินการชันสูตรศพ โดยโรงพยาบาลตำรวจ แต่จะมีผลออกมาอย่างไรต้องให้โรงพยาบาลดูแลก่อน 

ยืนยัน ว่าอาการที่ไม่พึงประสงค์ ที่มีความรุนแรง เช่น มีผื่นขึ้น หายใจติดขัด หายใจลำบาก เมื่อได้รับการฉีดยาแก้แพ้ก็หายเป็นปกติ ตามที่ได้รับรายงานล่าสุดจนถึงปัจจุบันนี้ยังคงตัวเลขอยู่ที่ 4 คนเท่านั้น และขณะนี้หายเป็นปกติแล้ว ดังนั้นผู้ที่เสียชีวิตไม่ได้โยงกับ4รายดังกล่าว เพราะเป็นการเสียชีวิตจากโรคอื่นๆซึ่งเป็นโรคประจำตัว ส่วนผู้ช่วยเจ้าอาวาสรายนี้ขอให้รอผลชันสูตรก่อน ยังไม่มีข้อสรุปที่ชัดเจน ทั้งนี้การฉีดวัคซีนยังเดินหน้าต่อ ตนเองก็ฉีดแล้ว อาการปกติดี

ในช่วงท้ายนี้ขอฝากว่าเทศกาลสงกรานต์เป็นช่วงที่สำคัญของประชาชนที่จะต้องใช้ชีวิตวิถีใหม่ ซึ่งจากการรายงานพบว่าวัคซีนคือทางออกแต่พบว่าในเวลานี้ยังไม่ได้เป็นคำตอบถึงที่สุดเนื่องจากวัคซีนจะต้องได้รับการฉีดถึง 60% จึงจะมีภูมิคุ้มกันของประเทศซึ่งตอนนี้วัคซีนกำลังทยอยเข้ามา และในต่างประเทศก็ทยอยฉีด และเราจะพบประสบการณ์ที่เป็นอุทาหรณ์แล้วว่าหากมีความย่อหย่อนในเรื่องการสวมหน้ากากอนามัย การ์ดตก จึงยังมีความจำเป็น และในช่วงเทศกาลสงกรานต์นี้ขอฝากให้ทุกคนดูแลตัวเองและครอบครัว และขอย้ำว่าสถานบันเทิงยังเป็นเรื่องที่น่ากังวลใจในขณะนี้

กกล.เทพสตรี ลาดตระเวนพบการลักลอบขนยางพาราหนีภาษี พื้นที่ อ.กระบุรี จ.ระนอง   

ที่บริเวณชายแดน พื้นที่ริมแม่น้ำกระบุรี ม.2 ต.ปากจั่น อ.กระบุรี จ.ระนอง กองกำลังเทพสตรี โดย หน่วยเฉพาะกิจกรมทหารราบที่ 25 ขณะปฏิบัติหน้าที่ซุ่มเฝ้าตรวจตามแนวชายแดนพื้นที่ริมแม่น้ำกระบุรี ตามช่องทางธรรมชาติ เพื่อป้องกันการลักลอบหลบหนีเข้าเมือง และลักลอบขนสินค้าทางการเกษตร ตรวจพบผู้ลักลอบนำเข้ายางพาราหนีภาษีจากประเทศเพื่อนบ้าน ขณะทำการลักลอบขนยางพาราแผ่น จึงแสดงตนเข้าทำการตรวจสอบ ทำให้ผู้ที่กำลังขนย้ายยางพารากระโดดน้ำหลบหนีไปได้

จากการตรวจสอบ พบรถยนต์กระบะ ยี่ห้อโตโยต้า สีดำ ทะเบียน บฉ 2530 ระนอง จำนวน 1 คัน บรรทุกยางพาราแผ่น น้ำหนักประมาณ 2,500 กก. และพบยางพาราแผ่น กองอยู่ริมน้ำ น้ำหนักประมาณ 500 กก. และเรือหางยาว บรรทุกยางพาราแผ่น อีกประมาณ 500 กก. รวมยางพาราแผ่นทั้งหมด น้ำหนักประมาณ 3,500 กก. เจ้าหน้าที่จึงได้แจ้งผู้นำชุมชนให้ทราบ และตรวจยึดของกลางดังกล่าว มายัง บก.ร้อย.ร.2521 เพื่อดำเนินการตามกฎหมาย ต่อไป

พปชร. จ่อยื่นแก้รธน.รายมาตรา 7 เม.ย.นี้ ด้าน “ไพบูลย์” เตรียมชง “ชวน” บรรจุเข้าประชุมร่วมรัฐสภา 25 พ.ค.เป็นวาระแรก เชื่อทุกฝ่ายเห็นชอบด้วย มั่นใจไม่มีใครอยากยุบสภาก่อนครบเทอม โว! หากเลือกตั้งใหม่ พปชร.ก็ชนะ

เมื่อวันที่ 2 เมษายน 2564  ที่รัฐสภา นายไพบูลย์ นิติตะวัน ส.ส.บัญชีรายชื่อและรองหัวหน้าพรรคพลังประชารัฐ แถลงว่า ขณะนี้ ส.ส.พรรคพลังประชารัฐได้ร่วมกันลงชื่อเพื่อเสนอร่างรัฐธรรมนูญแก้ไขเพิ่มเติมเป็นรายมาตรา โดยได้ลงนามรายชื่อทั้งหมดครบแล้วและจะยื่นต่อนายชวน หลีกภัย ประธานรัฐสภา ในวันที่ 7 เมษายนนี้ โดยประเด็นที่เสนอแก้ไขรัฐธรรมนูญเกิดจากการพูดคุยแลกเปลี่ยนในระห่างที่เป็นกรรมาธิการเกี่ยวกับรัฐธรรมนูญทั้ง ส.ส.ฝ่ายค้านและส.ว. 

จนความคิดเห็นตกผลึกในรายมาตรา จนยกร่างอกกมาเป็นญัตติดังกล่าว 5 ประเด็นใน 13 มาตรา คือ ประเด็นที่ 1. แก้ไขเพิ่มเติมหมวด 3 สิทธิและเสรีภาพแก้ไขมาตรา 29,41 และ 45 เป็นการเพิ่มสิทธิในกระยวนการยุติธรรมซึ่งเพิ่มขึ้นอีก 8 อนุมาตราในมาตราที่ 29 และเพิ่มให้ชุมชนมีสิทธิได้รับความช่วยเหลือทางกฎหมายจากรัฐอย่างเหมาะสมจากรัฐในการฟ้องหน่วยงานของรัฐ ซึ่งเดิมในมาตรา 41 เขียนให้มรการฟ้องร้องเฉยๆ แต่ชุมชนไม่ทราบว่าจะฟ้องร้องอย่างร จึงต้องเขียนเพิ่มให้ 

นายไพบูลย์ กล่าวว่า ประเด็นที่ 2 พรรคการเมืองในขณะนี้ทุกพรรคมีปัญหาการทำไพรแมรี่โหวต ดังนั้นเพิ่มแก้อุปสรรคการทำงานของพรรคการเมือง จึงแก้ไขมาตรา 45 โดยนำรัฐธรรมนูญปี 50 มาตรา 47 มาใช้แทน และเป็นการแก้ไขระบบเลือกตั้งมาตรา 83, 85, 86, 90, 91, 92 แะมาตรา 94 โดยแก้ไขให้การเลือกตั้ง ส.ส.เป็นแบบบัตรสองใบ ซึ่งจะเหมือนรัฐธรรมนูญปี 40 และ 50 และให้ส.ส. แบบแบ่งเขต 400 คน และแบบบัญชีรายชื่อ 100 คน รวมทั้งมีการแก้ไขให้การประกาศผลการเลือกตั้ง ส.ส. ซึ่งรัฐธรรมนูญปี 60 ให้ประกาศผลภายใน 60 วัน ก็จะแก้ให้มีการประกาศผลภายใน 30 วัน รวมทั้งให้พรรคการเมืองใดที่ส่งผู้สมัครรับเลือกตั้งแบบแบ่งเขตแล้วไม่น้อยกว่า 100 เขตจึงมีสิทธิที่จะส่งผู้สมัครรับเลือกตั้งแบบบัญชีรายชื่อ เพื่อป้องกันไม่ให้มีพรรคการเมืองที่จัดตั้งขึ้นส่งแต่ผู้สมัคร ส.ส.แบบบัญชีรายชื่อ ซึ่งเป็นปัญหาให้กับคณะกรรมการเลือกตั้ง (กกต.) ในการเผยแพร่ผู้สมัครไปทั่วประเทศและหากไม่แก้จะทำให้มีพรรคการเมืองหลายร้อยพรรค 

เมื่อแก้ประเด็นนี้แล้วจะทำให้เหลือเพียงพรรคการเมืองหลาย 10 พรรคที่เข้าหลักเกณฑ์ ซึ่งคิดว่าเพียงพอที่ประชาชนจะเลือกพรรคใดพรรคหนึ่งด้วยคะแนนหนึ่งเสียงของท่าน และพรรคการเมืองใดได้คะแนนน้อยกว่าร้อยละ 1 ของคะแนนเสียงรวมทั้งประเทศให้ถือว่าไม่มีส.ส.บัญชีรายชื่อของพรรคการเมืองนั้นได้รับเลือกตั้งและไม่ให้นำคะแนนเสียงดังกล่าวมารวมคะแนนเพื่อหาสัดส่วนส.ส.บัญชีรายชื่อ ซึ่งประเด็นนี้เพื่อไม่ให้มีส.ส.ปัดเศษ ดังนั้นพรรคการเมืองต้องได้ ส.ส.อย่างน้อย 1% ถึงจะได้ ส.ส.หนึ่งคน นอกจากนั้นแก้ไขเมื่อมีการเลือกตั้งซ่อมส.ส.ภายใน 1 ปีจะไม่มีการคำนวณ ส.ส.บัญชีรายชื่อใหม่

ประเด็นที่ 3 เสนอแก้ไขมาตรา 144 การพิจารณาพ.ร.บ.งบประมาณ ซึ่งในรัฐธรรมนูญปี 60 มีปัญหากระทบต่อการหน้าที่ของเจ้าหน้าที่ของรัฐที่เกี่ยวข้องการจัดทำงบประมาณ จึงได้เอาข้อความตามรัฐธรรมนูญปี 50 มาตรา 168 มาใช้แทน 

ประเด็นที่ 4 การแก้ไขมาตรา 185 เพื่อแก้ไขอุปสรรคการทำงานของส.ส.และส.ว.ให้สามารถติดต่อส่วนราชการ หน่วยงานของรัฐ เจ้าหน้าที่ของรัฐ เพื่อช่วยเหลือประะชาชนในพื้นที่ เนื่องจากตาามรัฐธรรมนูญที่บังคับใช้อยู่ปัจจุบัน ถ้าประชาชนเดือนร้อนจะขอร้องให้ ส.ส.หรือ ส.ว.ติดต่อราชการทำไม่ได้ เพราะเป็นการก้าวก่ายแทรกแซง ดังนั้นการแก้ไขมาตรา 185 โดยใช้รัฐธรรมนูญปี 40 มาตรา 114 มาใช้แทน 

ประเด็นที่ 5 แก้ไขบทเฉพาะการ มาตรา 270 เปลี่ยนแปลงอำนาจวุฒิสภา ซึ่งในรัฐธรรมนูญปี 60 ดำเนินการอยู่ฝ่ายเดียว จึงเปลี่ยนให้เป็นอำนาจรัฐสภาเพื่อให้ส.ส.และส.ว.มีอำนาจติดตามและเสนอแนะ และเร่งรัดการปฏิรูปประเทศเพื่อให้บรรลุเป้าหมาย และการจัดทำตามยุทธศาสตร์ชาติ 

“พรรคพลังประชารัฐมีความตั้งใจแน่วแน่ ที่จะให้การแก้ไขรัฐธรรมนูญเกิดขึ้นกับประชาชนและไม่มีความขัดแย้งรวมทั้งเป็นการแก้ไขรัฐธรรมนูญให้เสร็จโดยที่ไม่มีค่าใช้จ่ายงบประมาณแผ่นดินที่จะให้เสียในการทำประชามติ ที่สำคัญใช้เวลาน้อย ที่สำคัญคิดว่าในการยื่นแก้ไขในวันที่ 7 เมษายนนี้และจะมีการเปิดประชุมสภาสมัยสามัญในวันที่ 22 พฤษภาคม ผมจะกราบเรียนประธานรัฐสภาว่าขอให้มีการจัดประชุมร่วมรัฐสภาในวันที่ 25 พฤษภาคม เพื่อพิจารณาร่างรัฐธรรมนูญฉบับที่พรรคพลังประชารัฐเสนอเป็นวาระแรก ดังนั้นถ้าพิจารณาในวาระแรกได้ ในวันที่ 25 พฤษภาคม และกรรมาธิการคงจะพิจารณาใช้เวลาประมาณหนึ่งเดือนแล้วเสร็จปลายเดือนมิถุนายนและเข้าสู่การพิจารณาวาระ 2 ที่ประชุมรัฐสภา ต้นเดือนกรกฎาคม และวาระที่ 3 น่าจะกลางเดือนหรืออย่างช้าก็ปลายเดือนกรกฎาคม ซึ่งคิดว่าร่างรัฐธรรมนูญที่พรรคพลังประชารัฐเสนอคาดว่าจะได้รับความเห็นชอบจากที่ประชุมรัฐสภา เพราะจากการพูดคุยทางส.ว.ก็เห็นชอบด้วย” นายไพบูลย์ กล่าว 

นายไพบูลย์ กล่าวต่อว่า ขอเรียกร้องไปยังฝ่ายค้านหรือส.ส.ที่ต้องการยื่นญัตติแก้ไขรัฐธรรมนูญ พิจารณาเนื้อหาตามที่พรรคพลังประชารัฐเสนอ และเชื่อว่าฝ่ายค้านน่าจะเสนอญัตติคล้ายๆ กันเพื่อให้ได้รับการยอมรับร่วมกัน เพราะ ส.ส.ของพรรคพลังประชารัฐจะไม่ยอมรับในเนื้อหาที่เกินไปกว่า 5 ประเด็นที่นำเสนอ โดยเฉพาะข้อเสนอให้ตัดอำนาจของ ส.ว. เกี่ยวกับการร่วมลงมติเลือกนายกรัฐมนตรีในรัฐสภา อย่างไรก็ตาม ญัตติที่เสนอ มีเพียง ส.ส. ของพรรคพลังประชารัฐ เพียงพรรคเดียวที่ร่วมลงชื่อ ขณะนี้ยังรอให้ ส.ส.ได้ลงชื่อ ส่วนที่ไม่ร่วมเสนอญัตติร่วมกับพรรคร่วมรัฐบาลอีก 3 พรรคนั้นเพื่อไม่ให้เกิดปัญหา เพราะอาจมีความเห็นไม่ตรงกัน ทั้งนี้ขอยืนยันว่าพรรคพลังประชารัฐมีความต้องการจะให้แก้ไขรัฐธรรมนูญ และรัฐธรรมนูญ ทั้ง 279 มาตรา สามารถที่จะเสนอแก้มาตราใดก็ได้ แต่สิ่งที่เสนอนั้นยืนยันว่าจะไม่สร้างความขัดแย้งกับพรรคร่วมรัฐบาลเพราะเป็นประโยชน์กับประชาชนและไม่ใช่การชิงอำนาจรัฐ

นายไพบูลย์ กล่าวถึงเหตุผลของการเสนอแก้ไขระบบเลือกตั้ง จากจัดสรรปันส่วนผสม ไปเป็นการเลือกตั้งระบบปกติเหมือนรัฐธรรมนูญ 2540 ว่า เป็นไปตามความเห็นส่วนใหญ่ ร้อยละ 90 ของ ส.ส.ในสภาฯ ที่ต้องการให้กลับมาใช้บัตรเลือกตั้ง 2 ใบอย่างไรก็ตาม ตนไม่คิดว่าการปรับระบบเลือกตั้งดังกล่าวจะทำให้พรรคการเมืองบางพรรคได้เปรียบหรือเสียเปรียบระหว่างกัน ส่วนที่แก้ไขแล้วมีผลกระทบกับบางพรรคนั้น ส่วนตัวมองว่าต้องรับฟังเสียงส่วนใหญ่ของ ส.ส. ที่ต้องการให้แก้ไขเนื้อหา 

เมื่อถามว่าการแก้ไขระบบเลือกตั้งจะทำให้พรรคพลังประชารัฐได้เปรียบในการเลือกตั้งครั้งหน้าใช่หรือไม่ นายไพบูลย์ กล่าวในความเห็นส่วนตัว เชื่อว่า พรรคพลังประชารัฐได้รับความนิยมจากประชาชนและความนิยมดังกล่าวจะเพิ่มมากขึ้น ส่วนที่หลายฝ่ายมองว่าการแก้ไขรัฐธรรมนูญนั้นเพื่อรองรับการยุบสภาช่วงปลายปี 2564 นั้นตนไม่เชื่อว่าจะยุบสภาฯ เพราะรัฐบาลจะอยู่ครบเทอมถึงปี 2565 อีกทั้งการแก้ไขรัฐธรรมนูญครั้งนี้ไม่เกี่ยวกับการยุบสภา ซี่งเป็นอำนาจของนายกรัฐมนตรี และ ส.ส.เข้าชื่อกันเพื่อยื่นเรื่องให้นายกรัฐมนตรียุบสภา ซึ่งจากที่พูดคุยกับ ส.ส.พรรคฝ่ายค้านและรัฐบาลไม่มีใครอยากยุบสภา ส่วนที่มีระบุว่าหากแก้ไขรัฐธรรมนูญแล้วต้องยุบสภาฯ นั้น ที่ผ่านมาไม่เคยมีธรรมเนียมปฏิบัติดังกล่าว และรัฐบาลไม่เคยระบุว่าต้องยุบสภา และไม่เคยได้ยินประเด็นนี้จากฝ่ายที่เกี่ยวข้อง

รมว.พม. ลงพื้นที่ จ.นครปฐม ช่วยกลุ่มเปราะบางลงทะเบียนเข้าถึงสิทธิโครงการเราชนะ ก่อนหมดเขต 9 เม.ย. นี้

วันนี้ 2 เมษายน 2564 นายจุติ ไกรฤกษ์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ (รมว.พม.) พร้อมด้วยคณะผู้บริหาร  ลงพื้นที่จังหวัดนครปฐม เพื่อติดตามและตรวจเยี่ยมการอำนวยความสะดวกในการลงทะเบียนโครงการเราชนะ ให้กับผู้สูงอายุ จำนวน 47 ราย ซึ่งเป็นกลุ่มเปราะบางที่ไม่สามารถเดินทางไปลงทะเบียนได้ ประกอบด้วย 1) ผู้สูงอายุพิการจำนวน 1 ราย ป่วยติดเตียงช่วยเหลือตนเองไม่ได้ ในพื้นที่ตำบลห้วยจรเข้ อำเภอเมืองนครปฐม 2) ผู้สูงอายุ จำนวน 44 ราย ณ สถานสงเคราะห์คนชรานครปฐม ตำบลสนามจันทร์ อำเภอเมืองนครปฐม และ 3) ผู้สูงอายุพิการ จำนวน 2 ราย ไม่สามารถเดินได้ ในพื้นที่ตำบลโพรงมะเดื่อ อำเภอเมืองนครปฐม 

นายจุติ กล่าวว่า ตามที่รัฐบาลได้มีการขยายระยะเวลาลงทะเบียน โครงการเราชนะ จนถึงวันที่ 9 เมษายน 2564 สำหรับประชาชนกลุ่มผู้ที่ต้องการความช่วยเหลือเป็นพิเศษ หรือกลุ่มเปราะบาง ได้แก่ ผู้สูงอายุ คนพิการ ทุพพลภาพ ผู้ป่วยติดเตียง ที่ไม่สามารถเดินทางออกจากที่พักอาศัยได้และจำเป็นต้องได้รับความช่วยเหลือจากหน่วยรับลงทะเบียนเคลื่อนที่ นั้น วันนี้ ตนพร้อมด้วยคณะผู้บริหาร ได้ลงพื้นที่จังหวัดนครปฐม เพื่อติดตามและตรวจเยี่ยมการอำนวยความสะดวกในการรับลงทะเบียนโครงการเราชนะให้กับกลุ่มผู้สูงอายุซึ่งเป็นกลุ่มเปราะบาง โดยมีทีม One Home พม. จังหวัดนครปฐม เจ้าหน้าที่ท้องถิ่น และเจ้าหน้าที่ธนาคารกรุงไทย รวมทั้ง อาสาสมัครพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ (อพม.) ลงพื้นที่อำนวยความสะดวก โดยได้เดินทางไปยังบ้านหญิงชราพิการ อายุ 68 ปี ที่ป่วยติดเตียง ไม่สามารถช่วยเหลือตนเองได้ และได้รับเบี้ยยังชีพผู้สูงอายุเดือนละ 600 บาท ในพื้นที่ตำบลห้วยจรเข้ 

โดยกระทรวง พม. ได้มอบเครื่องอุปโภคบริโภคที่จำเป็นและบัตรประจำตัวคนพิการ เพื่อขอรับสิทธิสวัสดิการต่างๆ จากรัฐต่อไป จากนั้นเดินทางไปยังห้องเช่าของหญิงชราสองพี่น้อง อายุ 72 ปี และ 68 ปี ในพื้นที่ตำบลโพรงมะเดื่อ ซึ่งทั้งคู่พิการไม่สามารถเดินได้ ต้องอาศัยการนั่งถัดตัวเองไปกับพื้นบ้าน ครอบครัวมีฐานะยากจน ไม่สามารถประกอบอาชีพได้ มีรายได้จากเบี้ยยังชีพผู้สูงอายุ ทำให้ไม่มีเงินเพียงพอในการจ่ายค่าเช่าห้อง และใช้จ่ายประจำวัน โดยกระทรวง พม. ได้มอบบัตรประจำตัวคนพิการ เพื่อขอรับสิทธิสวัสดิการต่าง ๆ จากรัฐต่อไป พร้อมทั้งมอบเงินสงเคราะห์กรณีฉุกเฉิน เงินสงเคราะห์ผู้มีรายได้น้อย และเครื่องอุปโภคบริโภคที่จำเป็น รวมทั้งประสานส่งต่อเข้ารับการอุปการะในศูนย์พัฒนาการจัดสวัสดิการสังคมผู้สูงอายุจังหวัดปทุมธานี สังกัดกรมกิจการผู้สูงอายุ (ผส.) 

นายจุติ กล่าวด้วยว่า การเดินทางลงพื้นที่ในวันนี้ เป็นการมาเยี่ยมประชาชน โดยเฉพาะอย่างยิ่งผู้สูงอายุ โดยเป็นตัวแทนของรัฐบาล เพราะว่าโครงการเราชนะ เป็นโครงการดี ๆ ที่ทำให้พี่น้องประชาชนสามารถเข้าถึงสวัสดิการต่าง ๆ ซึ่งเหลือเวลาอีกไม่มาก โดยได้ให้นโยบายกับพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ทุกจังหวัด พร้อมกับธนาคารกรุงไทย องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น และจังหวัดว่า ให้ลงพื้นที่เข้าไปหาผู้ที่ต้องการและมีสิทธิที่จะได้รับสิทธิสวัสดิการของโครงการเราชนะ และตรวจสอบด้วยว่าการดำเนินงานมีผลลัพธ์เป็นอย่างไร ซึ่งตนรู้สึกดีใจที่จังหวัดนครปฐมสามารถเข้าถึงผู้ที่พิการ ผู้สูงอายุ  ที่ไม่มีโอกาสเดินทางไปลงทะเบียนได้ด้วยตนเอง จำนวนกว่า 700 ราย โดยกระทรวง พม. จะดูแลประชาชนอย่างเต็มที่ และจะทำ 7 วันที่เหลืออย่างเต็มที่ เพื่อให้สามารถเข้าถึงสวัสดิการแห่งรัฐให้ได้มากที่สุด 

ไปคิดเลขมาใหม่ ! “ชำนาญ” ชี้ผลเลือกตั้งเทศบาล “คณะก้าวหน้า” สะท้อนความนิยมดีขึ้น - ย้ำรณรงค์ล่ารายชื่อแก้ รธน.เป็นสิทธิ - อัด ผช.รมต.ยุติธรรม ละเมิดจริยธรรม - ข่มขู่หรือไม่?

เมื่อวันที่ 2 เมษายน 2564 นายชำนาญ จันทร์เรือง กรรมการบริหารคณะก้าวหน้า กล่าวถึงกรณีที่นายสามารถ เจนชัยจิตรวนิช ผู้ช่วยรัฐมนตรีประจำกระทรวงยุติธรรม ในฐานะผู้อำนวยการศูนย์รับเรื่องร้องทุกข์พรรคพลังประชารัฐระบุว่า การเลือกตั้งเทศบาลทีมของคณะก้าวหน้าได้แค่ 10 เทศบาล จากทั้งหมด 2,472 แห่ง คิดเป็นเปอร์เซ็นต์ ไม่ถึง 1 เปอร์เซ็นต์ และการตั้งโต๊ะล่ารายชื่อเพื่อแก้รัฐธรรมนูญรายมาตรา ในแคมเปญ ขอคนละชื่อรื้อระบอบประยุทธ์ที่จะเริ่มคิกออฟในวันที่ 6 เมษายนนี้ เย้ยว่าจะถูกประชาชนออกมาขับไล่ และคงไม่มีใครบ้าจี้ไปลงชื่อเพราะกลัวว่าในอนาคตจะต้องเดือดร้อนหรือติดคุกตามไปด้วยนั้น

นายชำนาญ กล่าวว่า เกี่ยวกับผลการเลือกตั้งเทศบาลเป็นความเข้าใจที่คลาดเคลื่อน เพราะคณะก้าวหน้า ส่งผู้สมัคร 107 เทศบาล ถ้าได้ทั้ง 107 แห่ง จะเท่ากับ 100 % แต่ผลการเลือกตั้งที่ผ่านมาคือ เราได้นายกเทศมนตรี มา 16 แห่ง จึง (16 x100) / 107 = 14.95 % นอกจากนี้ ยังได้สมาชิกสภาเทศบาลอีกถึง 136 คน ด้วย ซึ่งถ้าจะลองเทียบกับการเลือกตั้งทั่วไปเมื่อครั้งเป็นพรรคอนาคตใหม่ เราส่ง 349 เขต ได้รับเลือกตั้งมี .. 30 เขต  คิดเป็น (30x100) / 349 = 8.59 % อย่างนี้ คะแนนความนิยมไม่น่าจะเรียกว่าลด แต่ตรงกันข้าม กลับเพิ่มขึ้น ทั้ง ที่การเลือกตั้งท้องถิ่นไม่มีคะแนนจากการเลือกตั้งล่วงหน้า หรือคะแนนจากผู้เลือกตั้งในต่างประเทศ โดยเรามั่นใจว่านั่นคือผู้นิยมในส่วนของเรา  อนึ่ง จำนวนเทศบาลในปัจจุบันจากข้อมูลของกรมส่งเสริมการปกครองท้องถิ่นเมื่อ 30 .. 2563 มี 2,469 แห่ง มิใช่ 2,472 แห่งตามที่นายสามารถเข้าใจ

ส่วนกรณีที่ว่าการตั้งโต๊ะล่ารายชื่อเพื่อแก้รัฐธรรมนูญรายมาตรา คงไม่มีใครบ้าจี้ไปลงชื่อเพราะกลัวว่าในอนาคตจะต้องเดือดร้อนหรือติดคุกตามไปด้วย นั้น การลงชื่อเพื่อแก้ไขรัฐธรรมนูญเป็นการใช้สิทธิตามมาตรา 256 (1) จะได้รับความเดือดร้อนหรือติดคุกไปได้อย่างไร ตัวเองเป็นถึงผู้ช่วยรัฐมนตรีประจำกระทรวงยุติธรรมพูดอย่างนี้ไม่ถูกต้อง เป็นการละเมิดจริยธรรมของผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมืองอย่างเห็นได้ชัด และที่บอกว่าไปที่ไหนจะถูกชาวบ้านขับไล่ อย่างนี้ถือเป็นการข่มขู่หรือไม่ ทั้ง ที่การรณรงค์ทำได้ และเป็นสิทธิตามรัฐธรรมนูญ อย่างไรก็ตาม เราไม่กังวลเรื่องนี้เท่าไหร่ เพราะถ้าไม่เป็นการจัดตั้งมา ส่วนใหญ่แล้วจะอธิบายพูดคุยด้วยดีก็แยกย้ายกันได้ ส่วนจำนวนผู้มาลงชื่อจะมากน้อยแค่ไหนก็ต้องรอดู ถ้ายังจำได้ตอนผลเลือกตั้งปี 2562 ออกมา มีคนลงรายชื่อ 8 แสนกว่าชื่อ เพื่อไล่คณะกรรมการการเลือกตั้ง (กกต.) ก็เคยมีมาแล้วนะครับนายชำนาญ กล่าว

 

“บิ๊กป้อม” เร่งช่วยนักกีฬา/นักกีฬาพิการ ประชุม คกก.กองทุนพัฒนาฯ เน้นสวัสดิการ หวังเติมเต็มกำลังใจ หนุนพัฒนากีฬาไทยต่อเนื่อง ย้ำบริหาร งป. โปร่งใส/รวดเร็ว กำชับสมาคม ฝึกซ้อม/ดูแลนักกีฬา ระวังโควิด-19

เมื่อวันที่ 2 เมษายน 2564  พล.ต.พัชร์ชศักดิ์ ปฏิรูปานนท์ ผช.โฆษกประจำรอง นรม. เปิดเผยว่าพล.อ.ประวิตร วงษ์สุวรรณ รอง นรม. ได้เป็นประธานการประชุม คณะกรรมการบริหารกองทุนพัฒนาการกีฬาแห่งชาติ ครั้งที่ 1/2564 โดยมี นายพิพัฒน์ รัชกิจประการ รมว.กก. เข้าร่วมประชุม ณ ห้องประชุม 301 ตึกบัญชาการ 1 ทำเนียบรัฐบาล

ที่ประชุม ได้รับทราบการดำเนินงาน ของกองทุนพัฒนาการกีฬาแห่งชาติ ที่สำคัญ ได้แก่การสนับสนุนของกองทุนฯ ด้านสวัสดิการกีฬา จำนวน 3 รายการคือ การเบิกจ่ายเงินรางวัลให้แก่นักกีฬา ที่ชนะเลิศรายการ 14th  IDBF World Dragon Boat Championships และให้ความช่วยเหลือด้านสวัสดิการเงินค่ารักษาพยาบาล ปี64 (ไตรมาส 1) รวมทั้ง สนับสนุนทุนการศึกษาของนักกีฬา และบุคลากรกีฬา ประจำปีการศึกษา2563 จำนวน 284 คน  จากนั้นที่ประชุม ได้พิจารณาเห็นชอบให้ความช่วยเหลือสวัสดิการ กรณีการเจ็บป่วย หรือบาดเจ็บของอดีตนักกีฬา และบุคลากรกีฬา จำนวน 10 ราย รวมทั้งได้เห็นชอบ ให้การสนับสนุนโครงการที่เกี่ยวกับการกระตุ้นเศรษฐกิจ ตามนโยบายของรัฐบาล เพื่อสร้างกระแสกีฬาสู่ประชาชน จำนวน 5 รายการ

พล.อ.ประวิตร  ได้กำชับ กกท. ให้เร่งขับเคลื่อน การส่งเสริมพัฒนาการกีฬา และบุคลากรกีฬา ตามระเบียบ ข้อบังคับ อย่างถูกต้อง เพื่อให้เกิดประโยชน์สูงสุด ต่อวงการกีฬา โดยเน้นการบริหารงบประมาณ จะต้องเร่งรัดให้เกิดความรวดเร็ว โปร่งใส และมีประสิทธิภาพ  พร้อมสั่งแต่งตั้ง คกก.เผยแพร่กีฬามวยไทย เพื่อการประชาสัมพันธ์ และคณะทำงานสวัสดิการเพิ่มเติม เพื่อช่วยเหลืออดีตนักกีฬาทีมชาติ  และเน้นย้ำให้สมาคมกีฬา จะต้องเร่งฝึกซ้อมนักกีฬา เพื่อเตรียมการแข่งขันรายการต่าง ๆ มุ่งเป้าสู่ความเป็นเลิศ และให้ระมัดระวัง การแพร่ระบาดจากโรคโควิด-19 ด้วย

ปลัดกระทรวงกลาโหม ตรวจเยี่ยมการตรวจเลือกทหารกองเกินเข้ารับราชการทหารกองประจำการ ประจำปี 64

เมื่อวันที่ 2 เมษายน 2564 พล.อ.ณัฐ อินทรเจริญ  ปลัดกระทรวงกลาโหม พร้อมด้วย พล.อ.พรศักดิ์ พูลสวัสดิ์ ผู้ช่วยผู้บัญชาการทหารบก พล.ท.เจริญชัย หินเธาว์ แม่ทัพภาคที่ 1 พล.ต.ธราพงษ์ มะละคำ รองแม่ทัพภาคที่1 ร่วมตรวจเยี่ยมการตรวจเลือกทหารกองเกิน เพื่อเข้ารับราชการเป็นทหารกองประจำการประจำปี 2564 โดยบรรยากาศที่สถานที่ตรวจเลือกทหารกองเกิน เข้ากองประจำการ เขตบางบอน กรุงเทพมหานคร ได้มีชายไทยที่เกิดในปี พ.ศ. 2543 และ เกิดปี พ.ศ. 2535 ถึง 2542 ซึ่งยังไม่เคยเข้ารับการตรวจเลือก หรือการตรวจเลือกยังไม่แล้วเสร็จทุกกรณี เดินทางไปเข้ารับการตรวจเลือกตั้งแต่เวลา 7 นาฬิกา ที่วัดบางบอน 

ซึ่งทางหน่วยตรวจเลือกทหารได้จัดระบบและขั้นตอนการตรวจเลือกภายใต้มาตรการป้องกันการแพร่ระบาดของเชื้อโควิด - 19 อย่างเคร่งครัด โดยมีจุดคัดกรอง รวมถึงมีการแบ่งโซนพื้นที่ต่างๆอย่างชัดเจน ทั้งโซนพื้นที่สำหรับผู้ที่ใช้สิทธิ์ขอผ่อนผัน / โซนพื้นที่สำหรับผู้ที่เข้ารับการตรวจเลือกตามปกติ ตลอดจนโซนพื้นที่สำหรับพักคอยของญาติและผู้ปกครอง สำหรับพื้นที่หน่วยตรวจเลือกเขต บางบอน มียอดผู้ที่ต้องไปเข้ารับการตรวจเลือกทั้งสิ้น 364 คน และมีผู้ที่ใช้สิทธิ์ขอผ่อนผันจำนวน 130 คน 

โดย ปลัดกระทรวงกลาโหม กล่าวถึงการตรวจเยี่ยมในวันนี้ ว่า เพื่อให้เป็นไปตามข้อบังคับกระทรวงกลาโหม ที่อนุมัติโดยรัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม กำหนดให้สำนักงานปลัดกระทรวงกลาโหม โดยกรมการสรรพกำลังกลาโหม กำกับดูแลการตรวจเลือกทหารกองเกินเข้ารับราชการทหารกองประจําการ 2564  ให้เป็นไปตามนโยบายของรัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม  ที่กําหนดมาตรการตรวจเลือกให้เรียบร้อยทั้งในด้านสถานที่  จํานวนทหารกองเกินที่เข้ารับการตรวจเลือก และห้วงเวลาในการดําเนินการที่เหมาะสม รวมถึงสิทธิประโยชน์ต่างๆของทหารใหม่ ต้องเป็นไปตามมาตรฐานที่กองทัพกำหนดไว้  พร้อมจัดให้มีมาตรการต่าง ๆ ในการป้องกันการแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโควิด-19 อย่างเคร่งครัด ทั้งนี้  กระบวนการตรวจเลือก ต้องยุติธรรมและโปร่งใส เพื่อคัดเลือกบุคลากรที่มีคุณสมบัติเหมาะสมเข้ามาเป็นทหาร

“วิษณุ” ระบุ ร่างแก้ รธน. ของ พปชร. ไม่ใช่ร่างรัฐบาล บอก รอดูรายละเอียดอยู่ 

ที่ทำเนียบรัฐบาล นายวิษณุ เครืองาม รองนายกฯให้สัมภาษณ์กรณีร่างแก้ไขรัฐธรรมนูญรายมาตราของพรรคพลังประชารัฐ (พปชร.) ที่จะยื่นวันที่ 7 เมษายน จะถือเป็นร่างของรัฐบาลหรือไม่ ว่า เป็นร่างของพรรคพลังประชารัฐที่เขาไปล่าลายเซ็น ส.ส. พรรคพลังประชารัฐ 100 กว่าคนตามหลักเกณฑ์ ส่วนพรรคประชาธิปัตย์ก็จะเสนออีกหนึ่งร่าง แสดงว่าเป็นร่างของสมาชิกรัฐสภา ทั้งนี้ตนยังไม่เห็นเนื้อหาสำคัญของร่างพรรคพลังประชารัฐเห็นแต่ที่เป็นข่าว ซึ่งก็อยากเห็นอยู่เหมือนกันว่ารายละเอียดเห็นเช่นไร 

เมื่อถามว่าประเด็นที่พรรคพลังประชารัฐเสนอสามารถตอบโจทย์การแก้ปัญหาของประเทศได้หรือไม่ นายวิษณุ กล่าวว่า ก็แล้วแต่ว่าเป็นโจทย์ของใคร คำว่าโจทย์ของประเทศอาจมองไม่เหมือนกัน แม้กระทั้งการแก้เรื่องบัตรเลือกตั้งที่เสนอเป็น 2 ใบ ตนก็ไม่แน่ใจว่าจะเป็นเรื่องที่เห็นพ้องต้องกันเพราะบางพรรคก็ได้ประโยชน์จากบัตรเลือกตั้งใบเดียว บางพรรคก็ได้ประโยชน์กับบัตรเลือกตั้งสองใบ ดังนั้นอาจทำให้เกิดความเห็นไม่ตรงกันทั้งหมดนี้น่าจะเป็นเหตุผลประการหนึ่งที่แต่ละพรรคการเมืองไม่สามารถทำให้เสนอร่างร่วมกันได้   

เมื่อถามว่าการที่พรรคพลังประชารัฐไม่แก้อำนาจ ส.ว. ในการเลือกนายกฯ จะเป็นที่ยอมรับของสังคมหรือไม่ นายวิษณุ กล่าวว่า ต้องไปถามสังคม จะมาถามอะไรตน เมื่อถามว่าการที่แต่ละพรรคเสนอร่างแก้ไขรัฐธรรมนูญของตัวเองแล้วจำเป็นที่รัฐบาลต้องเสนอร่างของรัฐบาลด้วยหรือไม่ นายวิษณุ กล่าวว่า ก็ยังไม่เคยเห็นพูดกันในส่วนนี้ เมื่อถามย้ำว่าก่อนหน้านี้นายกฯเคยบอกว่าจะมีร่างแก้ไขรธน.ของรัฐบาล นายวิษณุ ถามกลับว่า “ท่านพูดเหรอ” สื่อจึงตอบกลับไปว่าพูดก่อนร่างแก้ไขรัฐธรรมนูญจะถูกคว่ำในวาระ 3 นายวิษณุ กล่าวว่า “ไม่ทราบ”

เมื่อถามว่า พรรคพลังประชารัฐเสนอแก้มาตรา 144 เกี่ยวกับการใช้งบประมาณจะทำให้ระบบการตรวจสอบลดลงหรือไม่ นายวิษณุ กล่าวว่า มาตรา 144 เพิ่งมามีในรัฐธรรมนูญฉบับนี้ เมื่อมีแล้วทำให้ระบบตรวจสอบเข้มข้นขึ้นถือเป็นจุดแข็งอันนึ่งของรัฐธรรมนูญ 60 ซึ่งพอไปแก้ตนก็อยากเห็นเหมือนกันว่าจะแก้อย่างไร ตอนนี้ยังตอบไม่ถูกเพราะยังไม่เห็นร่าง 

เมื่อถามว่าการแก้ไขมาตรา 185 ที่ห้าม ส.ส. เข้าไปแทรกแซงการทำงานของข้าราชการ จะเป็นการเปิดโอกาสให้ ส.ส. เข้าไปยุ่งเกี่ยวกับราชการหรือไม่ นายวิษณุ กล่าวว่า สื่อลงไปเช่นนั้นแต่ตนขอดูรายละเอียดก่อนว่าเขาแก้อย่างไร เพราะข้อเท็จจริงแล้ว ส.ส. ก็ไปยุ่งกับข้าราชการไม่ได้อยู่แล้วและหลักของมาตราดังกล่าวก็เป็นเรื่องที่ใช้มานานแล้วในรัฐธรรมนูญหลายฉบับไม่ได้เพิ่งมามีในรัฐธรรมนูญ 60 

เมื่อถามว่า สำหรับมาตรา 270 จากเดิมให้ ส.ว. เป็นผู้ตรวจสอบติดตามการปฏิรูปประเทศตามยุทธศาสตร์ชาติ แล้วให้ ส.ส. เข้ามามีส่วนร่วมตรงนี้จะมีผลดีผลเสียอย่างไร นายวิษณุ กล่าวว่า ซึ่งตนยังไม่เห็นแต่การให้ ส.ส. เข้ามามีส่วนร่วมก็ถือเป็นเรื่องดีมาก ๆ แต่ก็ต้องดูว่ามาตรานี้มีหลายวรรคว่าเขาจะแก้อย่างไร ซึ่งตนก็อยากให้แก้เรื่องการรายงานรัฐสภาทุกสามเดือนเพราะเป็นภาระแก้ทุกฝ่ายและวรรคอื่น ๆ ที่บอกว่าหากเป็นกฎหมายปฏิรูปต้องเสนอต่อที่ประชุมรัฐสภายังไม่เห็นว่าเขาจะแก้หรือไม่ 

“แรมโบ้" จวก "ตู่ - เต้น" เคลื่อนไหวเพื่อใคร ย้อนถามประกาศ ”จงรักภักดี” หลังออกคุก แต่กลับเคลื่อนไหว ชี้ ไล่ "บิ๊กตู่" ออกจะให้ใครเป็นนายกฯ แทน

วันที่ 2 เมษายน 2564 ที่ทำเนียบรัฐบาล นายเสกสกล อัตถาวงศ์ ผู้ช่วยรัฐมนตรีประจำนายกรัฐมนตรี แถลงกรณีที่ นายจตุพร พรหมพันธุ์ ประธานแนวร่วมประชาธิปไตยต่อต้านเผด็จการแห่งชาติ (นปช.) เตรียมเคลื่อนไหวชุมนุมชุมนุม ในวันที่ 4 เมษายนว่า ที่จริงมีการพูดคุยกันมาตลอดถึงการเคลื่อนไหวทางการเมือง ซึ่งนายจตุพร เคยพูดตอนออกจากเรือนจำว่าถูกทอดทิ้ง ไม่ได้รับการดูแลช่วยเหลืออะไร อยู่ในคุกเหมือนการอยู่ในนรกของคนเป็น ตนจึงต่อสายให้ได้คุยกับผู้ใหญ่ให้ทราบถึงความเดือดร้อนและการสนับสนุนช่วยเหลือ และที่ผ่านมาเตือนตลอดว่าหมดเวลาเป็นแกนนำเสื้อแดงเพราะในที่สุดเราก็ถูกทอดทิ้ง และการกลับมาประกาศชุมนุมต้องถามว่าที่ผ่านมาสู้เพื่อใคร สู้เพื่อตัวเองหรือสู้เพื่อใคร 

สู้เพื่อตัวเองเพื่อจะได้มีตำแหน่งเป็น ส.ส. เป็นรัฐมนตรี และสู้แล้วรวย ที่เคยบอกว่า นปช. มีจุดยืนอยู่ตรงกลางเพื่อประชาชน แต่สุดท้ายก็สู้เพื่อตัวเองให้คนนามสกุลชินวิตรกลับมามีอำนาจ ไม่ได้สู้เพื่อประชาชน คือสิ่งที่สะท้อนให้เสื้อแดงได้รับรู้ว่าใครที่หลอกลวงพาประชาชนไปตายไม่ได้เป็นการปกป้องประชาธิปไตยโดยมีพระมหากษัตริย์เป็นประมุข และคนที่เคยออกมาเคลื่อนไหวบอกว่าเพื่อประชาธิปไตย มีใครออกมารับผิดชอบหรือไม่ ตนจึงต้องเอาความจริงมาแฉให้หมด และจะแฉต่อไป หากนายจตุพร รวมถึงนายณัฐวุฒิ ใสยเกื้อ ที่ประกาศยืนข้างนักศึกษา ม็อบคณะราษฎรหรือนักศึกษาแนวร่วมธรรมศาสตร์ ซึ่งจิตใจของคนพวกนี้ไม่มีสำนักในความรับผิดชอบต่อบ้านเมือง ประเทศชาติ และประชาชน ออกมาเคลื่อนไหว 

นายจตุพร กล่าวว่า อย่ามาบอกว่าออกมาจากเรือนจำ จะจงรักภักดีและปกป้องสถาบัน แต่พอถึงเวลาอาจถูกใครชักจูงหรือให้งบประมาณ ซึ่งตนก็ไม่ทราบ แต่เมื่อจงรักภักดีต่อสถาบันจะมาเคลื่อนไหวโดยอ้าง พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี และ รมว. กลาโหม ว่าไม่มีความจริงใจในการแก้ไขรัฐธรรมนูญอย่างนี้ไม่ได้ เพราะ พล.อ.ประยุทธ์ ไม่เคยสั่งการอะไร ทุกอย่างเป็นไปตามกระบวนการ แต่การมากล่าวหาว่าเป็นตัวขัดขวางกระบวนการแก้ไขรัฐธรรมนูญ จึงไม่เป็นข้อเท็จจริง ถามว่าถ้านายจตุพรและนายณัฐวุฒิ ไล่ พล.อ.ประยุทธ์ จะให้ใครขึ้นมาเป็นนายกรัฐมนตรี จะให้นายธนาธร จึงรุ่งเรืองกิจ ประธานคณะก้าวหน้า ขึ้นมาเป็นนายกรัฐมนตรีหรือ ทั้งที่คนเหล่านี้โดน มาตรา 112 และต้องการที่จะเข้าล่วงจาบจ้วงสถาบัน อย่างไรก็ตามถ้ายังไม่หยุดเคลื่อนไหวตนจะออกมาแฉพฤติกรรมของทั้งคู่เป็นระยะ

“บิ๊กป้อม" ยืนยัน ชายแดนไทย เตรียมพร้อม รับมือ เมียนมาร์หนีภัย พร้อมย้ำ! ไล่บิ๊กตู่ 4 เมษา อย่าทำผิดกฎหมาย

วันที่ 2 เมษายน 2564 ที่ทำเนียบรัฐบาล พล.อ.ประวิตร วงษ์สุวรรณ รองนายกรัฐมนตรี ให้สัมภาษณ์ ถึงกรณีการแก้ปัญหาชายแดนไทย - เมียนมาร์ ซึ่งขณะนี้ มีผู้หนีภัยจากการสู้รบในเมียนมาร์ทะลักเข้ามาเป็นจำนวนมาก ว่า ตอนนี้เราเตรียมทุกอย่างไว้หมดแล้ว ซึ่งนายกรัฐมนตรีก็ได้ให้สัมภาษณ์สื่อมวลชนไปหมดแล้วแล้วจะมาถามอะไรอีก 

นอกจากนี้ยังให้สัมภาษณ์ ถึงกรณี นายจตุพร พรหมพันธุ์ ประธานแนวร่วมประชาธิปไตยต่อต้านเผด็จการแห่งชาติ (นปช.) ระดม ประชาชนมาร่วมขับไล่นายกรัฐมนตรีในวันที่ 4 เมษายนนี้ ว่า แล้วจะให้ตนทำอย่างไร อย่าทำผิดกฏหมายก็แล้วกัน จะชุมนุมกันอย่างไรก็ว่าไป

ผู้สื่อข่าวถามว่าเป็นห่วงว่าจะเป็นจุดเริ่มต้น ความรุนแรงเหมือนกับเหตุการณ์ในอดีตหรือไม่ รองนายกรัฐมนตรี กล่าวว่า ไม่หรอก ๆ จนถึงขณะนี้ก็ยังไม่ได้รับการรายงานว่าจะมีความรุนแรงแต่อย่างใดเมื่อถามว่า ทางการข่าวมีการประเมินหรือไม่ว่ามีใครอยู่เบื้องหลังนายจตุพร พล.อ. ประวิตร กล่าวว่า สื่อก็ไปดูเอา

“บิ๊กตู่” ถก ศบค. ชุดเล็ก หารือแอปพลิเคชั่นวัคซีน หมอพร้อม

วันที่ 2 เมษายน 2564 ที่ห้องสีเขียว ตึกไทยคู่ฟ้าทำเนียบรัฐบาล พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม ได้เรียกประชุม ศบค. ชุดเล็กและกระทรวงการคลัง เพื่อหารือเกี่ยวกับแอปพลิเคชั่นวัคซีน (หมอพร้อม) โดยมี นายอนุทิน ชาญวีรกูล รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข นพ.เกียรติภูมิ วงศ์รจิต ปลัดกระทรวงสาธารณสุข พล.อ.อนุพงษ์ เผ่าจินดา รัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย นายฉัตรชัย พรหมเลิศ ปลัดกระทรวงมหาดไทย นานอาคม เติมพิทยาไพสิฐ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง นายกฤษฎา จีนะวิจารณะ ปลัดกระทรวงการคลัง พล.อ.ณัฐพล นาคพาณิชย์ เลขา สมช. นพ.โอภาส การย์กวินพงศ์ อธิบดีกรมควบคุมโรค และ กรรมการผู้จัดการใหญ่ ธนาคารกรุงไทย เข้าร่วมประชุม 

คมนาคม ผุดคณะทำงาน ฟื้นฟู ขสมก. ตั้ง “ชัยวัฒน์ ทองคำคูณ” เป็นประธาน

วันที่ 2 เมษายน 2564 นายศักดิ์สยาม  ชิดชอบ รมว.คมนาคม เปิดเผยภายหลังการประชุมคณะกรรมการนโยบายการขนส่งทางบก ครั้งที่ 1/2564 ว่า ที่ประชุมได้มีการหารือถึงความคืบหน้าแผนฟื้นฟูองค์การขนส่งมวลชนกรุงเทพ (ขสมก.) โดยมีมติเห็นชอบให้แต่งตั้งคณะทำงานฯ ในการพิจารณาเพื่อปรับแผนแนวทางการปฏิรูประบบรถโดยสารประจำทางในเขตกรุงเทพมหานคร (กทม.) และปริมณฑลให้มีความชัดเจนและเป็นรูปธรรมยิ่งขึ้น โดยมีนายชัยวัฒน์ ทองคำคูณ อดีตปลัดกระทรวงคมนาคม เป็นประธานการประชุม และนายจิรุฒม์ วิศาลจิตร อธิบดีกรมการขนส่งทางบก (ขบ.) เป็นเลขานุการคณะทำงาน รวมทั้งสำนักงานนโยบายและแผนการขนส่งและจราจร (สนข.) และองค์การขนส่งมวลชนกรุงเทพ (ขสมก.)

ทั้งนี้ ในที่ประชุมยังมีข้อเสนอให้ดูสัญญาเพิ่มเติม เนื่องจากในปัจจุบันแผนดังกล่าว จะนำรถร่วมเอกชนเข้ามาให้บริการด้วย โดยทั้ง 2 ฝ่าย ต้องเจรจาในการจ้างเช่าวิ่งตามระยะทางร่วมกัน เพื่อให้ได้ข้อสรุป โดยเชื่อว่า เรื่องดังกล่าว สามารถอธิบายได้ ขณะเดียวกัน ในเรื่องการกำหนดอัตราค่าโดยสาร เป็นอัตราเดียว (Single Price) ในอัตรา 30 บาท/คน/วัน เพื่อลดภาระค่าใช้จ่ายในการเดินทางของประชาชนนั้น หากประชาชนที่ใช้บริการรถโดยสารสาธารณะ ซึ่งใช้ค่าโดยสารไม่ถึง 30 บาท/วัน จะเรียกเก็บค่าโดยสารตามเดิมของรถโดยสารสาธารณะในแต่ละเส้นทาง ซึ่งต้องมาพิจารณาด้วย

นายศักดิ์สยาม กล่าวต่ออีกว่า ในส่วนการขอเงินอุดหนุนจากภาครัฐ (PSO) นั้น ที่ผ่านมา ขสมก.ได้เสนอของบประมาณเพื่อขออุดหนุน จำนวน 9,000 ล้านบาท แต่ทางกระทรวงคลัง สภาพัฒน์ฯ และสำนักคณะกรรมการกฤษฎีกา มีความเห็นว่าควรปรับปรุงรายละเอียดของแผนฟื้นฟู ขสมก.ในบางประเด็นให้มีความชัดเจนมากขึ้น โดยเฉพาะการขอเงินอุดหนุนนั้นสามารถดำเนินการได้ ต่อเมื่อเป็นราคาที่ถูกจำกัดเพื่อช่วยเหลือประชาชน ซึ่งส่งผลให้ขาดทุนจึงจะสามารถขอเงินอุดหนุนได้ ทั้งนี้ ในปัจจุบันการเสนอขอเงิน PSO ไม่ใช่ราคาที่ถูกจำกัดเพื่อประชาชนเท่านั้น แต่เป็นการเปลี่ยนถ่ายแผนปฏิรูป ขสมก.ในระยะ 7 ปี

ขณะเดียวกัน ขสมก. มีงบประมาณที่ต้องให้ค่าตอบแทนแก่พนักงาน ซึ่งมีอัตราการจ้างที่สูงกว่าปกติ ซึ่งหลังจากนั้นภายใน 7 ปี พนักงาน ขสมก.จะเกษียณอายุราชการ ทำให้ ขสมก.ต้องจ้างพนักงานภายนอก (เอาท์ซอร์ส) เข้ามาเพิ่มในการบริหารจัดการแทน อย่างไรก็ตาม มองว่า หากดำเนินการจัดทำแผนฟื้นฟู ขสมก. ล่าช้า จะทำให้ ขสมก.มีผลประกอบการขาดทุนเพิ่มขึ้นเรื่อย ๆ โดยในปัจจุบัน ขสมก. ขาดทุนเฉลี่ยเดือนละ 300 ล้านบาท หรือขาดทุนปีละ 4,000 ล้านบาท

นายศักดิ์สยาม กล่าวว่า คณะทำงานชุดดังกล่าว จะใช้ระยะเวลาดำเนินการพิจารณาภายใน 1 เดือน เพื่อให้ได้ข้อยุติในกรณีที่หน่วยงานต่าง ๆ อาทิ กระทรวงการคลัง สภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ (สภาพัฒน์ฯ) สำนักงบประมาณ ที่ยังมีข้อกังวลเกี่ยวกับแผนฟื้นฟู ขสมก.ในบางประเด็น หลังจากนั้น ขบ. และ ขสมก.จะดำเนินการพิจารณาสรุปรายละเอียด พร้อมทั้งจัดทำแผนลงทุน เพื่อเสนอต่อสภาพัฒน์ฯ ภายใน พ.ค. 2564 ก่อนที่จะเสนอไปยังคณะกรรมการนโยบายรัฐวิสาหกิจ (คนร.) และเสนอต่อที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ครม.) เห็นชอบต่อไป แต่ทั้งนี้ทั้งนั้น ขึ้นอยู่กับการพิจารณาของสภาพัฒน์ฯ ว่าจะแล้วเสร็จเมื่อใด

“ก้าวไกล” ชี้ พ.ร.บ. ข้อมูลข่าวสารฯ ฉบับใหม่ น่ากังวล ใช้หลักการ "ปกปิดเป็นหลัก เปิดเผยเป็นข้อยกเว้น" 

เมื่อวันที่ 2 เมษายน 2564 นายณัฐวุฒิ บัวประทุม ส.ส. บัญชีรายชื่อ ในฐานะรองหัวหน้าพรรคก้าวไกล ให้สัมภาษณ์ต่อกรณีที่คณะรัฐมนตรี (ครม.) มีมติเมื่อวันที่ 23 มีนาคม เห็นชอบเสนอร่างพระราชบัญญัติข้อมูลข่าวสารของราชการ (ฉบับที่...) พ.ศ.... อันเป็นการแก้ไขปรับปรุงพระราชบัญญัติข้อมูลข่าวสารราชการ พ.ศ. 2540 เพื่อเสนอให้รัฐสภาพิจารณา ก่อให้เกิดกระแสวิพากษ์วิจารณ์อย่างกว้างขวางว่า ร่าง พ.ร.บ. ฉบับนี้กำลังเปลี่ยนหลักการของกฎหมายที่ได้ออกตามรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2540 ที่เน้นการ “เปิดเผยเป็นหลัก ปกปิดเป็นข้อยกเว้น” กลายเป็น “ปกปิดเป็นหลัก เปิดเผยเป็นข้อยกเว้น” โดยร่าง พ.ร.บ. ที่ ครม.เสนอมีการแก้ไขเนื้อหาสาระสำคัญ 16 ประเด็น เช่น การเพิ่มนิยาม “ข้อมูลข่าวสารสาธารณะ” การกำหนดหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขในการเข้าถึงข้อมูลข่าวสารของราชการ การเปิดเผยข้อมูลข่าวสารผ่านระบบดิจิทัล การกำหนดให้มีคณะกรรมการวินิจฉัยการเปิดเผยข้อมูลข่าวสารสาขาต่าง ๆ ไปจนถึงวิธีการอุทธรณ์คำสั่งที่ไม่ให้เปิดเผยข้อมูลข่าวสาร 

นายณัฐวุฒิ กล่าวต่อว่า แต่สิ่งที่ตนได้ศึกษา และได้พูดคุยกับนักวิชาการหลายท่านเห็นตรงกันว่ามีเรื่องที่น่าห่วงอยู่หลายประการด้วยกัน ไม่ว่าจะเป็นเรื่องข้อกำหนดที่ระบุว่าข้อมูลข่าวสารที่เป็นข้อมูลด้านความมั่นคงของรัฐ ด้านการทหาร ด้านการป้องกันประเทศ ไปจนถึงความมั่นคงของรัฐด้านอื่น ๆ ตามที่คณะรัฐมนตรีกำหนดจะเปิดเผยไม่ได้ เรื่องนี้กลายเป็นผิดหลักธรรมาภิบาลและความโปร่งใสในการทำงานที่รัฐบาลเองพูดมาโดยตลอด เสมือนเป็นการตีเช็คเปล่าให้ ครม. กำหนด ซึ่งอาจมีการกำหนดจนทุกเรื่องกลายเป็นความมั่นคงของรัฐไปเสียหมด

นายณัฐวุฒิ กล่าวอีกว่า อีกเรื่องที่ตนประหลาดใจมาก คือ การที่กฎหมายจะกำหนดว่าหน่วยงานอาจปฏิเสธให้ข้อมูลหากเห็นว่าผู้ยื่นคำขอขอข้อมูลเป็นจำนวนมากหรือบ่อยครั้ง ถึงแม้จะพยายามบอกว่าเฉพาะกรณีก่อกวนการปฏิบัติงานหรือใช้สิทธิโดยไม่สุจริต ซึ่งเป็นเรื่องที่ต้องมีการตีความ เรื่องนี้สะท้อนวิธีคิดที่ผิดมาก แทนที่หน่วยราชการจะยินดีที่ประชาชนสนใจในสิ่งที่ตนทำงาน แต่กลับมาหาว่าประชาชนเป็นปัญหาที่จะมาขอข้อมูล มิเช่นนั้นหน่วยราชการจะเก็บข้อมูลจำนวนมากไปทำไม หากไม่ให้ประชาชนใช้ได้ หรือกลัวประชาชนจะตรวจสอบได้ว่าหลายครั้งเป็นการใช้งบประมาณเกินจำเป็น

เรื่องการอุทธรณ์กรณีที่หน่วยราชการไม่ให้เปิดเผยต่อศาล ร่างกฎหมายนี้เขียนบังคับการทำหน้าที่ของศาลโดยได้ระบุว่าให้ศาลพิจารณาเป็นการลับและห้ามมิให้เปิดเผยเนื้อหาสาระของข้อมูล และวิธีการได้มาซึ่งข้อมูลในคำพิพากษาหรือคำสั่ง เรื่องนี้ในแต่ละศาลจะมีกฎหมายที่ระบุไว้อยู่และให้ศาลใช้ดุลยพินิจในการพิจารณาว่าเรื่องใดเป็นเรื่องลับและบันทึกข้อมูลแบบใด กฎหมายไม่ควรไปกำหนดแทรกแซงการทำหน้าที่ของศาล อีกทั้งให้มีการอุทธรณ์ได้ในศาลปกครองชั้นต้นเพียงชั้นเดียวและถือเป็นที่สุด จะทำให้ศาลปกครองสูงสุดไม่มีโอกาสได้ทบทวนและวินิจฉัยคดีวางบรรทัดฐานในการเปิดเผยข้อมูลข่าวสารของราชการที่เป็นประโยชน์ต่อประชาชนและประเทศ

อีกทั้ง ครม. เห็นว่าร่าง พ.ร.บ. ฉบับนี้ เป็นกฎหมายที่ตราขึ้นตามรัฐธรรมนูญ หมวด 16 ว่าด้วยการปฏิรูปประเทศ ซึ่งระบุให้พิจารณาในที่ประชุมรัฐสภา โดยหลายกฎหมายที่ผ่านมาพบว่าฝ่ายรัฐบาลและวุฒิสภาจะพิจารณาและลงมติไปในทิศทางเดียวกันทั้งในชั้นรับหลักการวาระ 1 และชั้นพิจารณาวาระ 2 ทำให้หากจะมีการแก้ไขเปลี่ยนแปลงในเนื้อหาสาระที่ไม่ถูกต้องจึงเป็นเรื่องที่ยากมาก ดังนั้น นักวิชาการ ภาคประชาสังคม และประชาชน จะต้องช่วยกันส่งเสียงท้วงติงร่างกฎหมายฉบับนี้ตั้งแต่ตอนนี้

"จะเห็นว่า พ.ร.บ. ข้อมูลข่าวสารของราชการ ต้องอยู่บนหลักการ “เปิดเผยเป็นหลัก ปกปิดเป็นข้อยกเว้น” ซึ่งร่าง พ.ร.บ.ที่ ครม. มีมติเห็นชอบนี้ไม่ได้อยู่บนหลักการดังกล่าว พรรคก้าวไกลจึงตั้งคณะทำงานศึกษาเนื้อหาสาระที่แก้ไข พร้อมเสนอความเห็นต่อที่ประชุม ส.ส. พิจารณาว่าควรจะรับหรือไม่รับหลักการกฎหมายฉบับนี้ต่อไป” นายณัฐวุฒิ กล่าว

“เทพไท”ข้องใจพรรคร่วมรัฐบาล ไม่เสนอแก้ รธน. ร่วมกัน อัดเป็นแค่ละครตบตา ปชช. หวังลดกระแสเคลื่อนไหว เสนอ “บิ๊กตู่” ชูธงนำ สยบ ม็อบ

เมื่อวันที่ 2 เมษายน นายเทพไท เสนพงศ์ อดีต ส.ส.นครศรีธรรมราช พรรคประชาธิปัตย์ กล่าวถึง ความเคลื่อนไหวในการแก้ไขรัฐธรรมนูญของพรรคร่วมรัฐบาลว่า ตอนนี้มีความชัดเจนเรื่องประเด็นการแก้ไขรัฐธรรมนูญแล้วว่า จะมีการเสนอให้แก้ไขรัฐธรรมนูญเป็นรายมาตรา ทั้ง 2 กลุ่มโดยมีร่างของพรรคพลังประชารัฐที่จะแก้ไขใน 5 ประเด็น 13 มาตรา และในส่วนของพรรคร่วมรัฐบาลอีก 3 พรรค คือ พรรคประชาธิปัตย์ พรรคภูมิใจไทยและพรรคชาติไทยพัฒนา ก็จะมีการเสนอญัตติร่างแก้ไขรัฐธรรมนูญ เป็นรายฉบับ 

ซึ่งมีทั้งหมด 6 ประเด็น 6 ฉบับ นับว่าเป็นท่าทีของพรรคร่วมรัฐบาล ที่สร้างความแปลกใจให้กับประชาชนเป็นอย่างยิ่งจึงเกิดคำถามว่า ทำไมพรรคร่วมรัฐบาลทั้งหมดไม่เสนอญัตติร่างแก้ไขรัฐธรรมนูญร่วมกัน ทั้งที่ประเด็นการแก้ไขรัฐธรรมนูญเป็นนโยบายเร่งด่วนของรัฐบาล ที่พรรคพลังประชารัฐ พรรคประชาธิปัตย์ พรรคภูมิใจไทย พรรคชาติไทยพัฒนา ต่างก็เป็นพรรคร่วมรัฐบาลด้วยกัน หรือต้องการให้พรรคร่วมรัฐบาลฟรีโหวตเหมือนตอนลงมติวาระ 3 ของร่างแก้ไขรัฐธรรมนูญที่ถูกคว่ำมาแล้ว แต่ไม่มีใคร หรือพรรคการเมืองใดออกมาแสดงความรับผิดชอบเลย

“การเปิดโอกาสให้พรรคร่วมรัฐบาลแต่ละพรรคการเมือง สามารถเสนอญัตติร่างแก้ไขรัฐธรรมนูญโดยอิสระ เป็นการแสดงความไม่จริงใจและไม่เอาจริงเอาจังในการผลักดันนโยบายเร่งด่วนของรัฐบาล เป็นการแสดงละครตบตาประชาชน เพื่อต้องการลดกระแสเรียกร้องให้มีการแก้ไขรัฐธรรมนูญ ที่กำลังเคลื่อนไหวการกดดันให้รัฐบาลอยู่ในตอนนี้ ถ้าหากรัฐบาลมีความจริงใจและต้องการให้นโยบายเร่งด่วนของรัฐบาลเป็นจริงในทางปฏิบัติ พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี และรมว.กลาโหม ในฐานะหัวหน้ารัฐบาล จะต้องเป็นผู้ชูธงนำการแก้ไขรัฐธรรมนูญด้วยตัวเอง จะได้สยบความเคลื่อนไหวของกลุ่มการเมืองภาคประชาชนที่ต้องการแก้ไขรัฐธรรมนูญอยู่ในขณะนี้ด้วย” นายเทพไท กล่าว


© Copyright 2021, All rights reserved. THE STATES TIMES
Take Me Top