Saturday, 22 June 2024
POLITICS NEWS

“รองโฆษกรัฐบาล" เผย ก.เกษตรฯเร่งจัดระเบียบประมงไทย รับข้อกำหนดคุ้มครองสัตว์ทะเลของสหรัฐฯ 

น.ส.รัชดา ธนาดิเรก รองโฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี เปิดเผยถึงความพร้อมของประเทศไทยในการปฏิบัติตามกฎหมายสหรัฐอเมริกา ว่าด้วยการนำเข้าสินค้าสัตว์น้ำเพื่อคุ้มครองสัตว์ทะเลที่เลี้ยงลูกด้วยนม ที่จะมีผลบังคับใช้ในปี 2566 ซึ่งทางกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ได้มีการดำเนินการให้สอดรับกับกฎหมายดังกล่าวมาอย่างต่อเนื่อง ทำให้มั่นใจได้ว่าไทยสามารถปฏิบัติตามได้อย่างครบถ้วน ทั้งนี้สหรัฐฯเป็นประเทศคู่ค้าสินค้าสัตว์น้ำและผลิตภัณฑ์สัตว์น้ำ อันดับ 1 ของประเทศไทย มีมูลค่าสูงถึง 3.99 หมื่นล้านบาท

นายเฉลิมชัย ศรีอ่อน รมว.เกษตรและสหกรณ์ ดำเนินการตามข้อสั่งการพล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี และรมว.กลาโหม ได้ให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องดำเนินการจัดระเบียบการทำประมง และแก้ไขปัญหาการทำประมงผิดกฎหมายอย่างยั่งยืนและต่อเนื่อง รวมทั้งให้ความช่วยเหลือดูแลประมงพื้นบ้าน ให้มีความสอดคล้องกับมาตรฐานด้านการประมงขององค์กรระหว่างประเทศ โดยได้รายงานถึงการเตรียมความพร้อมในส่วนที่เกี่ยวข้องกับกฎหมาย MMPA ว่า ได้เร่งขับเคลื่อนการดำเนินการมาตลอด เชื่อมั่นว่า ในวันที่ 1 ม.ค.2566 ซึ่งจะเป็นวันครบกำหนดระยะเวลาผ่อนผัน 5 ปี ของข้อกำหนด MMPA ขององค์การบริหารสมุทรศาสตร์และบรรยากาศแห่งชาติสหรัฐอเมริกา (National Oceanic and Atmospheric Administration : NOAA) สินค้าประมงไทยจะไม่ติดปัญหาในการส่งออกอย่างแน่นอน

ทั้งนี้ ระหว่างช่วงระยะของการผ่อนผัน กระทรวงเกษตรฯได้ติดตามการประเมินสถานภาพสัตว์ทะเลเลี้ยงลูกด้วยนม วางระบบรวบรวมข้อมูลสัตว์ทะเลเลี้ยงลูกด้วยนมจากการทำประมง พัฒนากฎระเบียบ ข้อบังคับ หรือมาตรการที่เกี่ยวข้องในการลดการตายและการบาดเจ็บของสัตว์ทะเลเลี้ยงลูกด้วยนมจากการทำประมง เพื่อให้สอดรับกับกฎหมาย MMPA อีกทั้งมีการจัดตั้งคณะทำงานด้านต่างๆ และจัดทำรายงานข้อมูลต่อสหรัฐฯ อย่างต่อเนื่องทุกปี โดยเมื่อปี 2563 คณะกรรมการนโยบายประมงแห่งชาติ ได้แต่งตั้งคณะอนุกรรมการป้องกันและแก้ไขปัญหาผลกระทบของการทำประมงต่อสัตว์ทะเลหายากและสัตว์ทะเลเลี้ยงลูกด้วยนม ซึ่งประกอบด้วย หน่วยงานภาครัฐ ภาคการศึกษา ภาคประชาชน และมีการรายงานข้อมูลเพื่อเสนอต่อสหรัฐฯด้วย

"ชินวรณ์" ยินดีสานงานต่อวิปรัฐบาล หลัง "วิรัช" หยุดปฏิบัติหน้าที่ รอ นายกฯ - พปชร. ตั้งคนใหม่ เชื่องานไม่สะดุด

ที่รัฐสภา นายชินวรณ์ บุณยเกียรติ ส.ส.นครศรีธรรมราช พรรคประชาธิปัตย์ ในฐานะรองประธานคณะกรรมการประสานงานพรรคร่วมรัฐบาล (วิปรัฐบาล) กล่าวถึงการทำงานของวิปรัฐบาลภายหลัง นายวิรัช รัตนเศรษฐ ส.ส.บัญชีรายชื่อ พรรคพลังประชารัฐ และประธานวิปรัฐบาล ต้องหยุดปฏิบัติหน้าที่ ส.ส. ว่า เนื่องจากการเป็นประธานวิปรัฐบาล เป็นโดยคำสั่งของ นายกรัฐมนตรี ซึ่งแต่งตั้งจากพรรคแกนนำรัฐบาล ขณะนี้การทำงานของวิปรัฐบาลไม่มีปัญหา เพราะตนในฐานะรองประธานวิปรัฐบาลคนที่หนึ่ง ก็พร้อมที่จะทำหน้าที่ประสานงานตามข้อตกลงและนโยบายในการประชุมกันแล้วเมื่อสัปดาห์ที่ผ่านมา โดยทุกพรรคต้องร่วมมือกันทำงานให้เป็นเอกภาพ และสัปดาห์หน้าวันที่ 8 พ.ย.ได้มีการกำหนดประชุมวิปรัฐบาลที่ตึกบัญชาการ 1 ทำเนียบรัฐบาล

เผย !! หนังสือ "กระทรวงสาธารณสุข" ชี้แจง "กกต." กรณีห้าม "อสม." ปฏิบัติหน้าที่ หากลงสมัคร หรือช่วยงานผู้สมัคร อบต.  ยกเหตุผล ผิดหลักสากล ผิดระเบียบกระทรวงสาธารณสุข และยังมีเหตุระบาดโควิด-19 ส่วนเลือกตั้งมีกฎหมายเฉพาะอยู่แล้ว 

ผู้สื่อข่าวรายงานว่า นายธงชัย กีรติหัตถยากร รองปลัดกระทรวงสาธารณสุข หัวหน้ากลุ่มภารกิจด้านสนับสนุนงานบริการสุขภาพ ได้ทำหนังสือเลขที่ 0707/4460 ลงวันที่ 2 พฤศจิกายน 2564 ถึง เลขาธิการสำนักงานคณะกรรมการการเลือกตั้ง  เรื่อง ขอทบทวนการขอความร่วมมือให้ อสม. ที่สมัครเลือกตั้งเป็นสมาชิกสภาองค์การบริหารส่วนตําบลหรือนายกองค์การบริหารส่วนตําบล หรือเป็นผู้ช่วยหาเสียงผู้สมัครรับเลือกตั้งงดปฏิบัติหน้าที่ โดยมีเนื้อหา ดังนี้ 

“ตามหนังสือที่อ้างถึง สํานักงานคณะกรรมการการเลือกตั้ง ขอให้กระทรวงสาธารณสุขพิจารณา ให้อาสาสมัครสาธารณสุขประจําหมู่บ้าน (อสม.) ที่สมัครรับเลือกตั้งเป็นสมาชิกสภาองค์การบริหารส่วนตําบล หรือนายกองค์การบริหารส่วนตําบล หรือเป็นผู้ช่วยหาเสียงผู้สมัครรับเลือกตั้งงดปฏิบัติหน้าที่ อสม. จนกว่า การเลือกตั้งจะแล้วเสร็จ นั้น

โฆษกรัฐบาลยืนยันผลสำเร็จ 'นายกฯ' เข้าร่วมการประชุมผู้นำโลก COP26 บทบาทผู้นำไทยโดดเด่นในเวทีระหว่างประเทศ โชว์ศักยภาพ และแนวนโยบายไทยที่โดดเด่น พร้อมเอาชนะปัญหาการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ

นายธนกร วังบุญคงชนะ โฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี เปิดเผยว่า พลเอก ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม พร้อมด้วยนายดอน ปรมัตถ์วินัย รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศ นายวราวุธ ศิลปอาชา รัฐมนตรีว่าการกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม และคณะเดินทางกลับประเทศไทยภายหลังเสร็จสิ้นภารกิจการเป็นคณะผู้แทนประเทศไทยเข้าร่วมการประชุมรัฐภาคีกรอบอนุสัญญาสหประชาชาติว่าด้วยการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ (COP26) ณ เมืองกลาสโกว์ สหราชอาณาจักร โดยจะเดินทางถึงประเทศไทยช่วงเย็นวันนี้

การเข้าร่วมการประชุมระดับผู้นำ (World Leaders Summit) COP26 ของนายกรัฐมนตรีในครั้งนี้ เป็นการแสดงบทบาทของไทยในเวทีระหว่างประเทศ และเป็นการเดินทางระหว่างประเทศของนายกรัฐมนตรีในรอบ 2 ปี แสดงให้เห็นว่าไทยเน้นย้ำ ให้ความสำคัญ ถึงความมุ่งมั่นของไทยร่วมกับประชาคมโลกในการตอบสนองต่อการเปลี่ยนแปลงของสภาพภูมิอากาศ โดยได้แสดงเจตจำนงในการยกระดับการแก้ไขปัญหาอย่างเต็มที่ ด้วยทุกวิถีทาง เพื่อให้ประเทศไทยบรรลุเป้าหมายความเป็นกลางทางคาร์บอน(Carbon Neutrality) ภายในปี ค.ศ. 2050 และบรรลุเป้าหมายการปล่อยก๊าซเรือนกระจกสุทธิเป็นศูนย์ได้ในปี ค.ศ. 2065 โฆษกประจำสำนักฯ กล่าวเพิ่มเติมว่า การเข้าร่วมการประชุม COP26 เป็นเพียงบทบาทหนึ่งของประเทศไทยในการร่วมกับประชาคมโลกเพื่อแก้ไขปัญหาการเปลี่ยนแปลงของสภาพภูมิอากาศ ที่ผ่านมานายกรัฐมนตรี ได้วางนโยบายของรัฐบาลให้ทุกส่วนงาน ร่วมกับภาคส่วนต่าง ๆ ในสังคมได้ดำเนินการทั้งในส่วนของการจัดทำและปรับปรุงนโยบาย กฎหมายและการปฏิบัติเกี่ยวกับด้านพลังงาน อุตสาหกรรม การขนส่ง และการเกษตร เพื่อลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกที่เป็นสาเหตุของการเพิ่มขึ้นของอุณหภูมิเฉลี่ยของโลก รวมนี้ ในอนาคตไทยยังได้วางแนวทางการขับเคลื่อนและพร้อมบูรณาการการทำงานอย่างแข็งขัน ไว้ด้านต่างๆ อาทิ

‘ไทยภักดี’ หนุนบังคับใช้ ม.112 อย่างเต็มที่ ยืนหนักแน่น ยึดหลักนิติธรรม - นิติรัฐแท้จริง

เมื่อวันที่ 2 พ.ย. นพ.วรงค์ เดชกิจวิกรม หัวหน้าพรรคไทยภักดี เผยแพร่แถลงการณ์ของพรรค กรณีพรรคการเมืองฝ่ายค้านมีการพูดเรื่องการเสนอพิจารณาแก้ไขมาตรา 112 ประมวลกฎหมายอาญา โดยระบุว่า พรรคไทยภักดี ตระหนักว่าในช่วง 2 - 3 ปีที่ผ่านมา จนถึงปัจจุบันเป็นช่วงเวลาที่สถาบันพระมหากษัตริย์ถูกคุกคาม และด้อยค่าอย่างหนักจากกลุ่มบุคคลที่ไม่หวังดี 

โดยมีการเคลื่อนไหวกระทำความผิดกฎหมายอย่างเป็นขบวนการเพื่อละเมิดสถาบันพระมหากษัตริย์ด้วยการใส่ร้ายป้ายสี ใช้ข้อมูลอันเป็นเท็จ มีพฤติกรรมแสดงออกถึงความอาฆาตมาดร้าย เช่น การเผาพระบรมฉายาลักษณ์ในที่สาธารณะ การพ่นสีตามท้องถนน การชูถือป้ายถ้อยคำหยาบคายหมิ่นสถาบันฯ เป็นที่ประจักษ์ชัดต่อสายตาคนไทยทั้งประเทศ พฤติกรรมดังกล่าว ไม่ใช่ข้อเสนอแนะทางวิชาการโดยสุจริตแต่อย่างใด แต่กลับมีเป้าประสงค์ที่จะล้มล้างสถาบันฯ ถือว่าเป็นภัยความมั่นคงร้ายแรงที่ไม่เคยเกิดขึ้นในยุคสมัยใดในประเทศไทยมาก่อน

เมื่อกลุ่มบุคคลที่ไม่หวังดีเหล่านี้กระทำความผิดและถูกดำเนินคดีตามกฎหมาย กลับออกมารณรงค์ต่อต้าน และยกเลิกประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 112 และ มาตรา 116 ตลอดจนผลักดันให้มีการปฏิรูปสถาบันพระมหากษัตริย์ ทั้ง ๆ ที่ตนเป็นผู้กระทำผิดกฎหมายเหล่านี้อย่างโจ่งแจ้ง ซ้ำแล้วซ้ำอีก นับว่าเป็นพฤติกรรมที่ย้อนแย้ง และกระทำไปเพื่อให้สามารถนำมาใช้ยกอ้างให้ตนพ้นจากความผิดที่ได้กระทำไปแล้ว นับว่าเป็นการกระทำที่ขาดความชอบธรรมเป็นอย่างยิ่ง

‘ดร.นิว’ ซัดกลุ่มการเมือง หวังล้มล้างการปกครอง ดันยกเลิก ม.112 ใช้สถาบันพระมหากษัตริย์เป็นตัวประกัน

'ดร.นิว' ชำแหละ คณะการเมืองหนักแผ่นดิน ใช้ม.112 เป็นบันไดก้าวแรกไปสู่การล้มล้างการปกครองเปลี่ยนแปลงรูปแบบของรัฐ ในขณะที่อีกพรรคการเมืองหนักแผ่นดินหนึ่งต้องการจับสถาบันพระมหากษัตริย์เป็นตัวประกัน เพื่อต่อรองผลประโยชน์ทางการเมืองอย่างน่ารังเกียจ

2 พ.ย. 64- ดร.ศุภณัฐ อภิญญาณ หรือ "ดร.นิว" นักวิจัยภายใต้สถาบันวิจัย MAST Center และ คณะวิศวกรรมชีวการแพทย์ University of Arkansas ประเทศสหรัฐอเมริกา โพสต์ข้อความบนเฟซบุ๊กส่วนตัว Suphanat Aphinyan หัวข้อ ม.112 กับเกมการเมืองของคนหนักแผ่นดิน โดยระบุว่า

ม.112 สามารถยกเลิกได้เหมือนกับในบางประเทศ ก็ต่อเมื่อกฎหมายไม่มีการใช้งานเป็นระยะเวลานาน ๆ เพราะผู้คนมีความเจริญถึงขั้นที่ไม่มีใครทำผิดกฎหมาย จนในท้ายที่สุดไม่มีความจำเป็นต้องใช้กฎหมายนั้นไปเองโดยธรรมชาติ ดังนั้นการสนับสนุนให้ยกเลิก ม.112 ที่แท้จริง คือ การไม่ทำผิด ม.112 เพื่อให้ ม.112 สูญหายไปเองตามกาลเวลา 

แต่ทุกวันนี้ประเทศไทยยังมีคนหนักแผ่นดินกลุ่มหนึ่งคอยสร้างเงื่อนไขของความจำเป็นที่ยังต้องมี ม.112 อยู่ ซึ่งคนหนักแผ่นดินกลุ่มนี้กำเริบเสิบสาน ยุยงปลุกปั่นให้มีการละเมิดสิทธิมนุษยชนของสถาบันพระมหากษัตริย์กันเป็นว่าเล่น กล้าบิดเบือนให้ร้าย หวังบ่อนทำลายสถาบันพระมหากษัตริย์อย่างไม่เกรงกลัวต่อกฎหมาย ตลอดจนปั่นกระแสโซเชียลมีเดีย บิดเบือนหลอกใช้ผู้อื่นโดยเฉพาะเด็กและเยาวชน เป็นเครื่องมือในการทำผิดติดคุกตะรางแทนตัวเอง ยกตัวอย่าง เช่น นายปิยบุตร แสงกนกกุล ที่คอยระมัดระวังตัวไม่ให้ตัวเองทำผิด ม.112 แต่กลับยุยงปลุกปั่นหลอกใช้ให้ผู้อื่นทำผิด ม.112 แทนตัวเอง 

โดยในปัจจุบัน "การติดคุกด้วยความผิด ม.112" เป็นการให้ข้อมูลเท็จ จากการบิดเบือนของสื่อที่ไร้จรรยาบรรณในสังคมไทย เพราะศาลยังไม่ได้มีการตัดสินผู้ที่ถูกดำเนินคดี ม.112 แม้แต่รายเดียว และการติดคุกของผู้ที่ถูกดำเนินคดี ม.112 มีสาเหตุที่แท้จริงมาจากการที่ศาลเคยให้ประกันตัวแล้ว แต่ผู้ต้องหากลับก่อเหตุซ้ำซากในลักษณะเดียวกัน จนศาลมองว่าเป็นการสร้างความปั่นป่วนวุ่นวายโดยปราศจากความเคารพยำเกรงต่อกฎหมาย ศาลจึงไม่อนุญาตให้ประกันตัวอีก 

ดังนั้นการติดคุกของแกนนำม็อบสามนิ้วจึงมาจากการก่อเหตุซ้ำซาก จนถูกดำเนินคดีเพิ่มเติมอีกหลายครั้งหลายหน ไม่ใช่จากการถูกจำคุกเนื่องจากถูกตัดสินว่ามีความผิดใน ม.112 ตามที่มีการบิดเบือนจากสื่อไร้จรรยาบรรณให้เกิดความเข้าใจผิดแต่อย่างใด

การโจมตี ม.112 จึงเป็นเพียงแค่เกมการเมืองของคนหนักแผ่นดิน พรรคการเมืองกับคณะการเมืองหนักแผ่นดินกลุ่มหนึ่งต้องการบ่อนทำลายความมั่นคงของสถาบันพระมหากษัตริย์ เป็นบันไดก้าวแรกไปสู่การล้มล้างการปกครองเปลี่ยนแปลงรูปแบบของรัฐ ในขณะที่อีกพรรคการเมืองหนักแผ่นดินหนึ่งต้องการจับสถาบันพระมหากษัตริย์เป็นตัวประกัน เพื่อต่อรองผลประโยชน์ทางการเมืองอย่างน่ารังเกียจ 

'บิ๊กตู่' เผย ร่วมประชุม COP 26 ถือว่าคุ้ม ได้พบผู้นำหลายประเทศ พร้อมร่วมมือกับไทย 

นายกฯ เผย การเดินทางเข้าร่วมประชุม COP 26 ถือว่าคุ้ม ได้พบปะพูดคุยกับผู้นำประเทศต่าง ๆ หลายท่านรู้จักและคุ้นเคยกันดี ในหลายประเด็น “เขาพูดกับผมอย่างเดียวว่าพร้อมที่จะร่วมมือกับไทย พร้อมที่จะเดินหน้าในมิติต่าง ๆ ไม่ว่าจะเป็นเรื่องการค้าการลงทุน”

(2 พ.ย. 64) เมืองกลาสโกว์ สกอตแลนด์ พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรีและรมว.กลาโหม ให้สัมภาษณ์ภายหลังร่วมหารือและการกล่าวถ้อยแถลงต่อที่ประชุมระดับผู้นำในการประชุมรัฐภาคีกรอบอนุสัญญาสหประชาชาติว่าด้วยการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ สมัยที่ 26 ว่า ได้มีโอกาสพบปะพูดคุยกับผู้นำประเทศต่าง ๆ ซึ่งหลายท่านรู้จักและคุ้นเคยกันดี ในหลายประเด็น ได้พูดคุยกันถึงเรื่องความสัมพันธ์ที่ดีที่มีกันมาอย่างยาวนาน เพราะหลายคนก็ไม่ได้พบกันหลายปีพอสมควร แต่หลายคนก็อยู่ด้วยกันโดยเฉพาะประเทศในภูมิภาคอาเซียน

“อย่างไรก็ตามผู้นำประเทศต่าง ๆ เขาพูดกับผมอย่างเดียวว่าพร้อมที่จะร่วมมือกับไทย พร้อมที่จะเดินหน้าในมิติต่าง ๆ ไม่ว่าจะเป็นเรื่องการค้าการลงทุน แม้แต่ในกลุ่มประเทศอาเซียน อย่างเวียดนาม ได้ยืนยันว่าจะต้องดำเนินการทุกอย่างให้เร็วขึ้น โดยเฉพาะการเจรจาทวิภาคีและพหุภาคี หรืออย่างเกาหลีใต้ เยอรมนี และได้ใช้โอกาสในการพูดคุยเชิญชวนบรรดาผู้นำประเทศต่าง ๆ มาเข้าร่วมประชุมกรอบความร่วมมือทางเศรษฐกิจในภูมิภาคเอเชีย-แปซิฟิก หรือการประชุมเอเปค ที่ไทยจะเป็นเจ้าภาพการประชุมในปี 2565 ซึ่งถือเป็นโอกาสอันดีเป็นอย่างยิ่ง ซึ่งก่อนหน้านี้ในการประชุมอาเซียนที่ผ่านมาก็ได้มีการเรียนเชิญไปบ้างแล้ว

‘บิ๊กตู่’ ชวน ‘โจ ไบเดน’ ร่วมประชุมเอเปคปีหน้า หลังโชว์วิชั่น แก้ปัญหาภูมิอากาศบนเวทีโลก

‘บิ๊กตู่’ เชิญ ปธน.โจ ไบเดน ของสหรัฐฯ เข้าร่วมประชุมเอเปคปีหน้า ที่ไทยเป็นเจ้าภาพ ด้านนายกฯ สหราชอาณาจักรชมเปาะ ไทยมุ่งมั่นแก้ปัญหาการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ หลัง ‘บิ๊กตู่’ ประกาศเจตนารมณ์ไทยพร้อมยกระดับการแก้ไขปัญหาภูมิอากาศอย่างเต็มที่ด้วยทุกวิถีทาง 

ผู้สื่อข่าวรายงานว่าเมื่อเวลา 21.00 น. ของวันที่ 1 พ.ย. ที่เมืองกลาสโกว์ สหราชอาณาจักร (ตรงกับเวลา 04.00 น.ของประเทศไทย) ระหว่างงานเลี้ยงรับรองผู้นำที่เข้าร่วมการประชุมระดับผู้นำในการประชุมรัฐภาคีกรอบอนุสัญญาสหประชาชาติว่าด้วยการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ หรือสมัยที่ 26 (COP26)

พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี และ รมว.กลาโหม พบปะพูดคุย พร้อมทั้งเชิญประธานาธิบดีโจ ไบเดน ของสหรัฐอเมริกา ระหว่างงานเลี้ยงรับรองผู้นำ COP 26 หลังจากได้พบกันในการประชุมสุดยอดอาเซียน สัปดาห์ที่ผ่านมา พร้อมสอบถามถึงสถานการณ์โควิด-19 รวมทั้งเชิญประธานาธิบดีไบเดน เยือนไทยในโอกาสที่ไทยจะเป็นเจ้าภาพการประชุมกรอบความร่วมมือทางเศรษฐกิจในภูมิภาคเอเชีย-แปซิฟิก หรือ APEC (Asia-Pacific Economic Cooperation) ซึ่งจะจัดขึ้นในเดือนพฤศจิกายน 2565

นอกจากนี้ นายบอริส จอห์นสัน นายกรัฐมนตรีสหราชอาณาจักร ได้ทักทายพูดคุยกับพล.อ.ประยุทธ์ พร้อมกล่าวชื่นชมในความมุ่งมั่นพยายามของไทยในการแก้ปัญหาการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ โดยไทยตั้งเป้าการปล่อยก๊าซเรือนกระจกสุทธิเป็นศูนย์ได้ในปี 2065 พร้อมทั้ง ขอบคุณนายกรัฐมนตรีที่มาร่วมประชุมในครั้งนี้ด้วย 

ทั้งนี้ นายกรัฐมนตรีของไทยได้พูดคุยและแลกเปลี่ยนความคิดเห็นต่าง ๆ กับบรรดาผู้นำประเทศต่าง ๆ ที่เข้าร่วมประชุม

โดยก่อนหน้านี้ ในช่วงเวลา 16.00 น. วันที่ 1 พ.ย. (ตามเวลาท้องถิ่นที่เมืองกลาสโกว์) พล.อ.ประยุทธ์ ได้กล่าวแสดงวิสัยทัศน์ต่อที่ประชุม โดยยืนยันว่า ไทยให้ความสำคัญสูงสุดกับการแก้ไขปัญหาการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ พร้อมร่วมมือกับทุกประเทศ ทุกภาคส่วนเพื่อบรรลุเป้าหมายสำคัญของโลกเพื่ออนาคตของลูกหลานของพวกเราทุกคน

“ผมมาร่วมประชุมวันนี้ เพื่อเป็นการยืนยันว่าประเทศไทยให้ความสำคัญสูงสุดกับการแก้ไขปัญหาการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ โดยไทยพร้อมร่วมมือกับทุกประเทศ และทุกภาคส่วนเพื่อบรรลุเป้าหมายร่วมกันในการแก้ปัญหาครั้งสำคัญที่สุดครั้งหนึ่งของโลก เพราะภารกิจนี้คือความเป็นความตายของโลกและอนาคตของลูกหลานของพวกเราทุกคน 

ปัจจุบันไทยปล่อยก๊าซเรือนกระจกออกในปริมาณเพียงประมาณร้อยละ 0.72 ของการปล่อยก๊าซเรือนกระจกทั่วทั้งโลก แต่ประเทศไทยกลับเป็น 1 ใน 10 ประเทศที่ได้รับผลกระทบร้ายแรงที่สุดจากการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ และนี่คือเหตุผลสำคัญที่ผมไปร่วมการประชุมสุดยอดเรื่องภูมิอากาศของสหประชาชาติที่กรุงปารีสเมื่อปี 2015 โดยไทยอยู่ในประเทศกลุ่มแรกที่ให้สัตยาบันเข้าเป็นภาคีของความตกลงปารีส คำมั่นสัญญาของไทย มิใช่คำมั่นที่ว่างเปล่า ในช่วงที่ผ่านมา ไทยได้ปฏิบัติตามคำมั่นทุกประการที่ให้ไว้กับประชาคมโลกอย่างต่อเนื่อง และมีการดำเนินการอย่างแข็งขันภายในประเทศ” 

‘จักรทิพย์ ชัยจินดา’ ใส่เกียร์ถอย ไม่ลงเลือกตั้งชิงผู้ว่าฯ กทม. แล้ว คาดหลีกทางให้ผู้ว่าฯ อัศวิน ลงชิงต่อ

เมื่อวันที่ 1 พฤศจิกายน พ.ศ. 2564 มีกระแสข่าวว่า พล.ต.อ.จักรทิพย์ ชัยจินดา หรือ ‘บิ๊กแป๊ะ’ อดีตผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติ ตัดสินใจไม่ลงสมัครเลือกตั้งผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานครแล้ว หลังจากที่เปิดตัวมาตั้งแต่ปลายปี 2563 และลงพื้นที่หาเสียงอย่างหนัก ขณะเดียวกันผลโพลหลายสำนักชี้ว่า ‘บิ๊กแป๊ะ’ ติดอันดับ 1 ใน 3 ผู้ว่าฯ กทม. ที่คนกรุงเทพฯ อยากเลือกมากที่สุด

ทั้งนี้ มีรายงานว่า พล.ต.อ.จักรทิพย์ ประกาศต่อหน้ากลุ่ม สมาชิกสภากทม. หรือ ส.ก. ที่ให้การสนับสนุนว่า ไม่ลงสมัครเลือกตั้งผู้ว่าฯ กทม. แล้ว

โดยตัวแปรสำคัญในเรื่องนี้ อาจเกี่ยวข้องกับ ร.อ.ธรรมนัส พรหมเผ่า เลขาธิการพรรคพลังประชารัฐ ที่แต่แรกนั้นแม้ พล.ต.อ.จักรทิพย์ จะประกาศว่าลงสมัครเลือกตั้งผู้ว่ากทม. ในนามอิสระ แต่ก็มีแรงสนับสนุนจากพรรคพลังประชารัฐ ทั้งการยอมรับว่าได้รับการชักชวนจาก บิ๊กป้อม - พล.อ.ประวิตร วงษ์สุวรรณ หัวหน้าพรรคพลังประชารัฐ 

“บิ๊กตู่” ติดตามการเริ่มเปิดประเทศรับนักท่องเที่ยว 1 พ.ย. รับทราบปัญหารถรับส่งโรงแรมAQ และSHA+ ไม่เพียงพอ กำชับหน่วยงานเกี่ยวข้องเร่งแก้ไข 

น.ส.ไตรศุลี ไตรสรณกุล รองโฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี เปิดเผยว่า ระหว่างการปฏิบัติภารกิจร่วมประชุมรัฐภาคีกรอบอนุสัญญาสหประชาชาติว่าด้วยการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ (COP26) ที่ประเทศสหราชอาณาจักร พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี และรมว.กลาโหม ได้ติดตามความเรียบร้อยเกี่ยวกับการดำเนินการของหน่วยต่างๆที่เกี่ยวข้องในกับการเปิดประเทศรับนักท่องเที่ยว ที่ตั้งแต่วันที่1 พ.ย. 2564 นักท่องเที่ยวจาก 63 ประเทศสามารถเดินทางเข้าประเทศไทยโดยไม่ต้องกักตัว ทั้งนี้ นายกรัฐมนตรีและรมว.กลาโหม ได้รับรายงานจากนายศักดิ์สยาม ชิดชอบ รมว.คมนาคมซึ่งได้นำคณะลงพื้นที่ท่าอากาศยานสุวรรณภูมิ(ทสภ.)

เพื่อตรวจเยี่ยมการดำเนินการของส่วนงานต่างๆ และประชุมออนไลน์ร่วมกับผู้บริหารของท่าอากาศยานระหว่างประเทศอีก 6 แห่ง ที่อยู่ภายใต้การดูแลของบริษัท ท่าอากาศยานไทย จำกัด(มหาชน) (ทอท.) และหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เช่น ด่านควบคุมโรคติดต่อระหว่างประเทศ กองบังคับการตรวจคนเข้าเมืองสำนักงานศุลกากร เพื่อรับฟังบรรยายการสรุปการดำเนินงานของแต่ละท่าอากาศยานและหน่วยงาน ซึ่งพบว่าการให้บริการของแต่ละหน่วยเป็นไปด้วยความเรียบร้อย และอยู่ภายใต้มาตรฐานการควบคุมการแพร่ระบาดของโรคโควิด-19

“ก่อนเดินทางเข้าร่วมประชุม COP26 ที่สหราชอาณาจักร นายกรัฐมนตรีได้มอบหมายรมว.คมนาคม ได้ตรวจความพร้อมการให้บริการด้านคมนาคม โดยเฉพาะทางอากาศที่เป็นช่องทางหลักที่ประเทศไทยเปิดให้นักท่องเที่ยวจาก 63 ประเทศ เดินทางเข้าไทยได้โดยไม่ต้องกักตัว ให้เป็นไปด้วยความเรียบร้อย และกำชับทุกหน่วยงานให้ร่วมกันดูแลให้การเปิดประเทศครั้งนี้ช่วยฟื้นฟูเศรษฐกิจ ประชาชนกลับมามีรายได้ได้ต่อเนื่อง ซึ่งภาพรวมนายกรัฐมนตรีพอใจกับให้บริการคัดกรองอำนวยความสะดวกให้ผู้เดินทางผ่าน ท่าอากาศยานต่างๆที่เป็นไปอย่างราบรื่น” น.ส.ไตรศุลี กล่าว 


TRENDING
© Copyright 2021, All rights reserved. THE STATES TIMES
Take Me Top