Thursday, 25 April 2024
ECONBIZ

'ทิพานันท์' เผย 'บิ๊กตู่' พลิกโฉมนวัตกรรมการเงินไทย โชว์ล้ำธุรกรรมการเงินระหว่างชาติ เอื้อ 'ลงทุน-ท่องเที่ยว-บริการ'

'ทิพานัน' เผยรัฐบาล 'พล.อ.ประยุทธ์' สร้างภูมิทัศน์ใหม่พลิกโฉมนวัตกรรมการเงินไทย โชว์ความก้าวหน้าธุรกรรมการเงินระหว่างประเทศ หนุนการค้า การลงทุน การท่องเที่ยวและบริการ ชี้ไทยได้ประโยชน์ 4 เรื่อง จากนโยบายนวัตกรรม 'การเชื่อมโยงระบบการชำระเงิน' ชูเป็นต้นแบบให้สมาชิกเอเปค 

น.ส.ทิพานัน ศิริชนะ รองโฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี เปิดเผยว่าตามที่รัฐบาล พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี ได้ส่งเสริมและมุ่งมั่นพัฒนานวัตกรรมทางการเงินเพื่อเข้าสู่โลกการเงินดิจิทัลโดยเร็ว ธนาคารแห่งประเทศไทย จึงพัฒนากับธนาคารกลางอื่นๆ ในภูมิภาคอาเซียนร่วมกันผลักดันโครงการ ASEAN Payment Connectivity ตั้งแต่ปี 2562 เพื่อให้บริการชำระเงินระหว่างประเทศในภูมิภาคมีความสะดวก ปลอดภัย และต้นทุนต่ำ ผลสำเร็จที่เห็นชัดคือ ประเทศไทยสามารถเชื่อมโยงระบบการชำระเงินระหว่างประเทศ (cross-border payment) สองรูปแบบคือ (1) การชำระเงินด้วย QR payment และ (2) การโอนเงินระหว่างประเทศ ผ่านบัญชีอย่างสะดวกและรวดเร็ว จนประเทศไทยเป็นผู้นำในภูมิภาคอาเซียนจากการมีจำนวนการเชื่อมโยงด้านการเงินมากที่สุด

“ในปัจจุบันมี 6 ประเทศนำร่อง การโอนเงินระหว่างประเทศกับไทย (Cross-border QR Payment) คือ ญี่ปุ่น, กัมพูชา, เวียดนาม, มาเลเซีย, อินโดนีเซีย และสิงคโปร์ ไม่ต้องพกเงินสดจำนวนมาก ขณะที่อัตราแลกเปลี่ยนดีกว่าการใช้บัตรเครดิต วิธีการง่าย ๆ เพียงสแกนไทยคิวอาร์โค้ด ผ่านแอปพลิเคชันของธนาคารที่เข้าร่วมโครงการ 5 ธนาคารพาณิชย์ ได้แก่กรุงเทพ, กสิกรไทย, กรุงไทย, ไทยพาณิชย์ และกรุงศรีอยุธยา” น.ส. ทิพานัน กล่าว

น.ส.ทิพานัน กล่าวว่า ซึ่งความสำเร็จนั้น เป็นการต่อยอดมาจากการพัฒนา Thai QR payment ภายใต้ระบบ PromptPay ของรัฐบาล พล.อประยุทธ์ จนทำให้ไทยมี QR code ที่เป็นมาตรฐานเดียวกันทั้งประเทศ และได้กลายมาเป็นบริการชำระเงินที่คนไทยคุ้นเคยในทุกวันนี้ จากโครงการที่ประสบผลสำเร็จทั้งทางด้านนวัตกรรมการเงินดังกล่าว ไทยจึงเสนอแนวปฏิบัติการเชื่อมโยงระบบการชำระเงินระหว่างเขตเศรษฐกิจ ภายใต้ชื่อ "APEC Policy Considerations for Developing Cross-Border Payments and Remittances” ในการประชุมรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังเอเปค ครั้งที่ 29 เมื่อวันที่ 20 ตุลาคม 2565 ที่ผ่านมา รวมทั้งยังได้จัดแสดงนวัตกรรมการชำระเงินทางระบบอิเล็กทรอนิกส์ (Digital Payment) ประกอบด้วย Cross-border QR Payment และ Digital Supply Chain Solution  เพื่อเป็นแนวทางให้กับสมาชิกเอเปคอื่น ๆ นำนวัตกรรมนี้ไปประยุกต์ใช้กับประเทศสมาชิกเอเปคในอนาคต  ซึ่งการนำเสนอนวัตกรรมการเงินดิจิทัลนี้ จะทำให้คนไทยและธุรกิจไทยได้ประโยชน์ 4 เรื่องคือ...

1. ระบบการชำระเงินไทย จะมีโครงสร้างพื้นฐานและมีโอกาสขยายฐานไปสู่สมาชิกเอเปค ทั้ง 21 เขตเศรษฐกิจ ด้านการชำระเงิน ที่สอดรับกับการพัฒนาการของระบบเศรษฐกิจการเงินได้รวดเร็ว มีเสถียรภาพและประสิทธิภาพ รองรับการใช้ประโยชน์จากผู้ประกอบการที่หลากหลาย ก่อให้เกิดนวัตกรรมบริการชำระเงินที่ตอบโจทย์ผู้ใช้บริการ และมีโครงสร้างธรรมาภิบาลด้านการชำระเงินที่เหมาะสม รวมทั้งมีการกำกับดูแลที่ยืดหยุ่น มีประสิทธิผลและเท่าทันความเสี่ยงใหม่ในยุคดิจิทัล

'กรุงเทพ' คว้าแชมป์เมืองท่องเที่ยวพักผ่อน 'ที่ดีที่สุด' ในเอเชียแปซิฟิก

(23 ต.ค.65) Business Traveller สื่อธุรกิจท่องเที่ยวชื่อดัง ประกาศรายชื่อ ผู้ชนะรางวัลด้านการท่องเที่ยวอันยิ่งใหญ่ในภูมิภาค นั้นก็คือ รางวัล Business Traveller Asia-Pacific จัดขึ้นเป็นปีที่ 31 ของงานแจกรางวัล และยังคงจัดอย่างต่อเนื่องเพื่อเฉลิมฉลองให้กับสิ่งที่ดีที่สุดในอุตสาหกรรมการเดินทางและการโรงแรม ซึ่งได้รับการโหวตจากกรรมการที่มีคุณสมบัติเหมาะสมที่สุดในภูมิภาค ได้แก่ ผู้อ่าน Business Traveller Asia-Pacific

ผู้อ่านของเราเป็นผู้เชี่ยวชาญ สำหรับการเดินทางเพื่อทำธุรกิจ โดยเฉลี่ย 19 ครั้งต่อปี (ก่อนเกิดโควิด-19) ซึ่งสามารถประเมินว่าอะไรคือเที่ยวบินที่สมบูรณ์แบบและโรงแรมที่ยอดเยี่ยม ในแต่ละปีเราเชิญสมาชิกที่ภักดีของเรามากกว่า 30,000 รายให้ลงคะแนนเสียงใน Reader Poll และแบ่งปันความคิดเห็นเกี่ยวกับทุกอย่างตั้งแต่แบรนด์โรงแรมที่พวกเขาชื่นชอบหรือโรงแรมที่ต้องการในเมืองใดเมืองหนึ่ง ไปจนถึงประสบการณ์บนเครื่องบินที่ดีที่สุด หรือสนามบินและสายการบินที่ต้องการ

ในขณะที่ปีนี้เรากลับมาขอความคิดเห็นของผู้อ่านในช่วง 12 เดือนที่ผ่านมาเท่านั้น (ปีที่แล้วคือ 24 เดือนเนื่องจากสถานการณ์ทั่วโลกที่ไม่เคยเกิดขึ้นมาก่อน) เรายังคงขอให้ผู้อ่านพิจารณาประสบการณ์ที่ไม่ใช่การเดินทางที่เกี่ยวข้องกับโควิดและผลที่ตามมา รวมถึงระดับ ด้านการสื่อสาร ประสิทธิภาพ ความอ่อนไหว และการสนับสนุนจากบริษัทและองค์กรภายในอุตสาหกรรมการท่องเที่ยว

ล้ำหน้าไปอีกก้าว!! EA เปิดตัว EV Mini Truck MT30 รถกระบะไฟฟ้า 100% รุ่นแรกฝีมือไทย

คนไทยทำได้ EA เปิดตัวรถกระบะไฟฟ้า 100% EV Mini Truck MT30 พร้อมจดทะเบียนเป็นรถกระบะไฟฟ้า 100% รุ่นแรกของไทย ภายใต้นวัตกรรมไทย ยกระดับการขนส่งเชิงพาณิชย์ ต่อยอดอุตสาหกรรมยานยนต์ไฟฟ้าแบบ New S-Curve ตามยุทธศาสตร์ของประเทศ

นับเป็นก้าวสำคัญในการพลิกโฉมประวัติศาสตร์ด้านการคมนาคม ที่จะเป็นส่วนหนึ่งในการขับเคลื่อนประเทศให้เข้าสู่สังคมปลอดคาร์บอนได้เร็วยิ่งขึ้น หลังจากกลุ่มบริษัท พลังงานบริสุทธิ์ จำกัด (มหาชน) หรือ EA ได้ออกแบบและพัฒนา ‘EV Mini Truck MT30’ รถกระบะไฟฟ้าฝีมือคนไทย 100% สำหรับใช้งานในเชิงพาณิชย์ ที่จะช่วยประหยัดพลังงาน ลดต้นทุนในการขนส่งสินค้า อีกทั้งยังช่วยลดมลพิษในภาคขนส่ง 

ทั้งนี้ EV Mini Truck MT30 หวังเจาะกลุ่มเป้าหมายอย่างผู้ประกอบการที่สนใจการใช้งานรถไฟฟ้า ที่คำนึงถึงการลดต้นทุนค่าขนส่งและใส่ใจต่อสิ่งแวดล้อม โดยตัวรถจะมาพร้อมแบตเตอรี่ลิเทียมไอออนขนาด (Li-Ion Battery) 30 กิโลวัตต์ชั่วโมง ที่ผลิตโดย อมิตา เทคโนโลยี (ประเทศไทย) ขับเคลื่อนได้ไกลกว่า 200 กิโลเมตรต่อการชาร์จ ใช้เวลาชาร์จเพียง 15 นาที (30-80%) ด้วยเทคโนโลยี DC Fast Charge จาก EA Anywhere ซึ่งเป็นจุดสำคัญของการสร้างความเชื่อมั่นในการพัฒนาเทคโนโลยีที่กลุ่ม EA ได้ออกแบบมาเพื่อตอบโจทย์ให้การใช้งานยานยนต์เชิงพาณิชย์มีประสิทธิภาพสูงสุด 

รมว.สุชาติ สั่ง รุกสถานประกอบการต่อเนื่อง เดินหน้าเสิร์ฟตำแหน่งงานผ่านแอป ‘ไทยมีงานทำ’

รัฐมนตรีว่าการกระทรวงแรงงาน มอบกรมการจัดหางาน ลุยสถานประกอบการต่อเนื่อง เตรียมตำแหน่งงานรองรับคนหางานทั่วประเทศ ใช้บริการได้ผ่าน 'ไทยมีงานทำ'

นายสุชาติ ชมกลิ่น รัฐมนตรีว่าการกระทรวงแรงงาน เปิดเผยว่า พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี และพล.อ.ประวิตร วงษ์สุวรรณ รองนายกรัฐมนตรี ซึ่งกำกับดูแลกระทรวงแรงงาน ให้ความสำคัญในการขับเคลื่อนตลาดแรงงาน เพื่อส่งเสริมการเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจ มีการจ้างงานเต็มที่ สร้างความยั่งยืนให้กับภาคแรงงาน โดยเฉพาะการเตรียมตำแหน่งงานรองรับคนหางานและนักศึกษาจบใหม่ ให้มีหลักประกัน มีรายได้ที่มั่นคง

“ผมได้มอบหมายกรมการจัดหางานลงพื้นที่หารือสถานประกอบการที่มีศักยภาพในการจ้างงาน มีสวัสดิการที่ดี เป็นบริษัทที่คนให้ความสนใจร่วมงานด้วย ที่ผ่านมาเราได้รับความร่วมมือที่ดีจากหลายบริษัทชั้นนำที่แจ้งตำแหน่งงานผ่านแพลตฟอร์ม 'ไทยมีงานทำ' เราจะดำเนินการเชิงรุกอย่างต่อเนื่องเพื่อให้คนหางานทั่วประเทศมีตำแหน่งงานรองรับ  ขอบคุณบริษัทที่เข้ามามีส่วนร่วม และเป็นส่วนหนึ่งในการขับเคลื่อนภาคแรงงานให้เติบโตอย่างยั่งยืน" นายสุชาติ กล่าว

ผู้ว่าฯ ชัชชาติ เปิดงาน TGS 2022 พร้อมเคียงข้างเหล่าเกมเมอร์สร้างเศรษฐกิจสร้างสรรค์

“การที่มาวันนี้ถือว่าเป็นเรื่องสำคัญ หลายคนคงงงว่า กทม.มาเกี่ยวอะไรกับเกม ซึ่งหากถามว่าเมืองคืออะไร สำหรับกทม. เมืองคือคน เมืองไม่ใช่สิ่งปลูกสร้าง แต่คนคือตัวแทนของเมือง แล้วถ้าคนเล่นเกม เมืองก็ต้องเข้าใจเกมด้วย ซึ่งเป็นสิ่งสำคัญในอนาคต” นายชัชชาติ สิทธิพันธุ์ ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร กล่าวในการเป็นประธานเปิดงาน Thailand Game Show (TGS) 2022: Come Back วันนี้ (21 ต.ค. 65) ณ เวทีใหญ่ Exhibition Hall 3-4 ชั้น G ศูนย์ประชุมแห่งชาติสิริกิติ์ เขตคลองเตย

ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร กล่าวว่า กรุงเทพมหานครเน้นเรื่อง Creative Economy หรือเศรษฐกิจสร้างสรรค์ และเกมคือตัวอย่างที่ดีของเศรษฐกิจสร้างสรรค์ เพราะสิ่งที่เกิดขึ้นในวันนี้ เมื่อ 5-10 ปีที่แล้วยังไม่เคยมี มันถูกสร้างสรรค์ขึ้นมาในช่วงเวลาอันสั้น และอนาคตยังก็ยังไปต่อ เท่าที่ทราบมา ธุรกิจเกมในเมืองไทยมีมูลค่า 34,000 ล้านบาท เป็นมูลค่าเยอะมากและมีโอกาสเติบโตขึ้นอย่างมหาศาล แต่ธุรกิจเกมของคนไทยยังมีมูลค่าแค่ 400 ล้านบาท คือประมาณ 1% ทำอย่างไรที่เราจะมีส่วนร่วม มีส่วนแชร์ตรงนี้ได้ ทำอย่างไรให้เด็กรุ่นใหม่สามารถใช้โอกาสตรงนี้ในการสร้างสรรค์เศรษฐกิจตรงนี้ขึ้นมาได้ ซึ่งเมืองต้องเป็นเจ้าภาพที่เข้มแข็ง

'อลงกรณ์' พอใจ 62 จว.คืบหน้าพัฒนาเกษตรฯยั่งยืน ช่วยยกระดับคุณภาพชีวิตปชช.ทั้งในเมือง - ชนบท

'อลงกรณ์' พอใจ 62 จังหวัดเดินหน้าพัฒนาเกษตรกรรมยั่งยืนในเมืองคืบหน้ากว่า 500 โครงการ เพื่อยกระดับคุณภาพชีวิตของประชาชน ควบคู่กับการพัฒนาเกษตรกรรมยั่งยืนในชนบท 7,255 ตำบลทั่วประเทศ

เมื่อวันที่ (20 ต.ค. 65) ที่กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ นายอลงกรณ์ พลบุตร ที่ปรึกษารัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ในฐานะประธานคณะกรรมการบริหารโครงการการพัฒนาเกษตรกรรมยั่งยืนในเมืองเป็นประธานการประชุมติดตามผลการดำเนินงานผ่านระบบทางไกลออนไลน์ ZOOM Cloud Meeting โดยมี นายกษิดิ์เดชธนทัต เสกขุนทด ประธานคณะทำงานขับเคลื่อนฯ ระดับชุมชนและท้องถิ่น (Green Community) นายณฐกร สุวรรณธาดา คณะที่ปรึกษารัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ นายนำชัย แสนสุภา นายกสมาคมภูมิสถาปนิกประเทศไทย ผู้แทนกระทรวงมหาดไทย ผู้แทนการเคหะแห่งชาติ พร้อมทั้งหน่วยงานทั้งภาคราชการ ภาคสถาบันการศึกษา ภาคเอกชน และส่วนอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้อง และมี นายจิตติศักดิ์ ศรีปัญญา ผู้อำนวยการกองนโยบายเทคโนโลยีเพื่อการเกษตรและเกษตรกรรมยั่งยืน เป็นเลขานุการการประชุม

โดยที่ประชุมรับทราบรายงานความก้าวหน้าผลการดำเนินงานการขับเคลื่อนโครงการพัฒนาเกษตรกรรมยั่งยืนในเมืองระดับจังหวัด ซึ่งได้มีการขับเคลื่อนโครงการในพื้นที่เป้าหมายเพื่อดำเนินการ โดย ณ วันที่ 25 ก.ย. 2565 มีจำนวน 591 แห่ง ใน 62 จังหวัดประกอบด้วย (1) พื้นที่วัด จำนวน ๑๙ แห่ง (2) พื้นที่โรงเรียน สถานศึกษาและมหาวิทยาลัย จำนวน 372 แห่ง (3) พื้นที่โรงพยาบาล จำนวน 13 แห่ง (4) พื้นที่ชุมชน จำนวน 90 แห่ง และ (5) พื้นที่อื่นๆ ได้แก่ พื้นที่ของหน่วยงานราชการและพื้นที่เอกชน จำนวน 97 แห่ง

นายอลงกรณ์ได้แสดงความพอใจต่อความก้าวหน้าของโครงการพัฒนาเกษตรกรรมยั่งยืนในเมืองระดับจังหวัดโดยยกตัวอย่างรายงานการดำเนินงานของสำนักงานเกษตรและสหกรณ์จังหวัดอุตรดิตถ์ซึ่งได้นำเสนอผลงานการขับเคลื่อนโครงการต่อที่ประชุมดังนี้ 1.โครงการมหาวิทยาลัยสีเขียว (Green Campus) มีแปลงปฏิบัติการวิจัยพืชสวน พืชไร่ ไม้ดอกไม้ประดับ และสิ่งแวดล้อม รวม 74 ไร่ และฐานการเรียนรู้ต่างๆ เพื่อเป็น “แหล่งเรียนรู้ สร้างรายได้เสริม พัฒนาอาชีพอย่างยั่งยืน” 

2. โครงการโรงเรียนสีเขียว (Green School) “เก่ง ดี มีทักษะ (ทักษะอาชีพและทักษะชีวิต) มีสุขภาพดี” โดยฝึกการทำปุ๋ยชีวภาพเพื่อการเกษตรกรรมสำหรับการปลูกผักปลอดสารพิษ การปลูกผักแบบไฮโดรโปนิกส์ น้ำนิ่ง หรือการปลูกพืชแบบไร้ดิน เป็นการปลูกพืชในสารละลายธาตุอาหารพืช การเลี้ยงปลาดุก และกบในวงบ่อ รวมถึงการเลี้ยงไก่ไข่ ซึ่งผลผลิตที่ได้ทั้งในส่วนของพืชผัก ปลาดุก กบและไข่ไก่นำมาใช้ในโครงการอาหารกลางวันสำหรับนักเรียนในโรงเรียน และนำส่วนที่เหลือจำหน่าย เป็นการสร้างรายได้ให้กับนักเรียนและเป็นการสร้างนิสัยในการออมทรัพย์โดยฝากไว้กับธนาคารของโรงเรียน ซึ่งเป็นกิจกรรมสร้างทักษะอาชีพแก่นักเรียนที่ประสบความสำเร็จอย่างยิ่งและเป็นแบบอย่างให้กับโรงเรียนที่สนใจได้มาเรียนรู้

เปิดมาตรการเข้มคุ้มครองผู้บริโภค หลัง 'กสทช.' มีมติรับทราบควบรวมทรู-ดีแทค

(21 ต.ค. 65) คณะกรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ (กสทช.) กำหนดเงื่อนไขและมาตรการเฉพาะ เพื่อการคุ้มครองผู้บริโภคและการพัฒนากิจการโทรคมนาคม หลังมีมติเสียงข้างมากรับทราบการควบรวม ทรู-ดีแทค โดยที่ประชุมมีข้อกังวล 5 ข้อและเห็นชอบ เงื่อนไขหรือมาตรการเฉพาะดังนี้

ข้อกังวลเรื่องอัตราค่าบริการและสัญญาการให้บริการ มีเงื่อนไขหรือมาตรการเฉพาะ ดังนี้

1) การกำหนดเพดานราคาของอัตราค่าบริการเฉลี่ย

ก. อัตราค่าบริการเฉลี่ยลดลงร้อยละ 12 โดยใช้วิธีการเฉลี่ยราคาใหม่ ด้วยการถ่วงน้ำหนักตามจำนวนผู้ใช้บริการในแต่ละรายการส่งเสริมการขาย (WEIGHTED AVERAGE) ภายใน 90 วันหลังจากมีการควบรวม)

ข. ให้มีทางเลือกของราคาที่แยกรายบริการเพื่อให้เป็นทางเลือก

ค. ให้นำส่งข้อมูลต้นทุนและข้อมูลที่จำเป็นโดยให้มีหน่วยงานตรวจสอบ

ง. ให้ผู้แจ้งการรวมธุรกิจประกาศให้ผู้ใช้บริการรับทราบ เพื่อมีการตรวจสอบและมีบทลงโทษกรณีทำไม่ได้ เช่น ปรับเป็นจำนวนร้อยละของรายได้ หรือปรับเป็นขั้นบันได และเพิกถอนใบอนุญาต

2) การกำหนดราคาค่าบริการ โดยใช้ราคาเฉลี่ยทางเศรษฐศาสตร์ (Average Cost Pricing)

ก.ให้นำส่งข้อมูลตามประกาศ กสทช. เรื่องหลักเกณฑ์และวิธีการจัดทำรายงานบัญชีแยกประเภทในกิจการโทรคมนาคม พ.ศ. 2564 ให้ครบถ้วน โดยให้แยกรายละเอียดเป็นรายเดือน และนำส่งสำนักงาน กสทช. ทุก 3 เดือน หรือเมื่อ กสทช. ร้องขอ เพื่อใช้ตรวจสอบโครงสร้างต้นทุน โครงสร้างอัตราค่าบริการ และนำมาคำนวณหาต้นทุนรวมเฉลี่ย ซึ่งเป็นราคาในตลาดที่มีการแข่งขัน (Average Cost Pricing) และต้นทุนส่วนเพิ่ม (MC) ที่เป็นปัจจุบันและถูกต้อง

ข. จัดให้มีที่ปรึกษาที่มีประสบการณ์ ความเชี่ยวชาญด้านการสอบทาน (Verify) ข้อมูลโครงสร้างต้นทุน อัตราค่าบริการ หรือข้อมูลด้านอัตราต่าง ๆ ของอุตสาหกรรมโทรคมนาคมในต่างประเทศมาไม่น้อยกว่า 5 ปี โดยให้ กสทช. เป็นผู้กำหนด และให้ผู้ยื่นคำร้องรวมธุรกิจเป็นผู้รับผิดชอบภาระค่าใช้จ่ายทั้งปวงที่เกิดขึ้นจากการจัดหาและจัดจ้างที่ปรึกษา ทั้งนี้ ที่ปรึกษาจะต้องไม่มีความเกี่ยวข้อง เชื่อมโยง หรือมีผลประโยชน์ทับซ้อนไม่ว่าทางตรงหรือทางอ้อมกับผู้ยื่นคำร้องขอรวมธุรกิจ เพื่อสอบทาน (Verify) ความถูกต้องของข้อมูลตามข้อ (ก) ตรวจสอบโครงสร้างต้นทุน โครงสร้างอัตราค่าบริการ และนำมาคำนวณหาต้นทุนเฉลี่ย (AC) และต้นทุนส่วนเพิ่ม (MC) ที่ถูกต้องของแต่ละรายบริการ เช่น บริการเสียง บริการข้อมูล บริการส่งข้อความ เป็นต้น เมื่อมีการรวมธุรกิจให้แล้วเสร็จภายใน 1 เดือน

ค. จัดให้มีที่ปรึกษาที่มีประสบการณ์ ความเชี่ยวชาญเช่นเดียวกับข้อ (ข) เพื่อทำหน้าที่สอบทาน (Verify) ความถูกต้องของข้อมูลตามข้อ (ก) ตรวจสอบโครงสร้างต้นทุน โครงสร้างอัตราค่าบริการ และนำมาคำนวณหาต้นทุนเฉลี่ย (AC) และต้นทุนส่วนเพิ่ม (MC) ที่ถูกต้องและเป็นปัจจุบันของแต่ละรายบริการ เช่น บริการเสียง บริการข้อมูล บริการส่งข้อความ เป็นต้น ปีละ 4 ครั้ง (รายไตรมาส) โดยต้องจัดให้มีที่ปรึกษาเป็นระยะเวลาไม่น้อยกว่า 10 ปี หรือตลอดระยะเวลาอายุใบอนุญาตสิ้นสุดลงในกรณีที่อายุใบอนุญาตน้อยกว่า 10  ปี โดยให้ กสทช. เป็นผู้กำหนด และให้ผู้ยื่นคำร้องรวมธุรกิจเป็นผู้รับผิดชอบภาระค่าใช้จ่ายทั้งปวงที่เกิดขึ้นจากการจัดหาและจัดจ้างที่ปรึกษา ทั้งนี้ ที่ปรึกษาจะต้องไม่มีความเกี่ยวข้อง เชื่อมโยง หรือมีผลประโยชน์ทับซ้อนไม่ว่าทางตรงหรือทางอ้อมกับผู้ยื่นคำร้องขอรวมธุรกิจ

ง. จะต้องมีการกำหนดและแสดงอัตราค่าบริการโทรศัพท์เคลื่อนที่แยกตามรายบริการ (Unbundle)  เช่น บริการเสียง บริการข้อมูล บริการส่งข้อความ เป็นต้น หรือการส่งเสริม การขายแบบแยกรายบริการ (Unbundle Package) เพื่อให้ผู้ใช้บริการปลายทางได้รับทราบก่อน โดยให้กำหนดอัตราค่าบริการตามต้นทุนเฉลี่ยรายบริการ (Average Cost Pricing) โดยคิดราคาตามที่มีการใช้งานจริง โดยจะต้องไม่มีการกำหนดการซื้อบริการขั้นต่ำไว้ ทั้งนี้ การกำหนดอัตราตามต้นทุนเฉลี่ยรายบริการ (Average Cost Pricing) ให้นำไปใช้กับกรณีค่าบริการส่วนเกินที่เกิดขึ้นจากการใช้บริการรายการส่งเสริมการขายแบบแยกรายบริการ (Unbundle Package) และการส่งเสริมการขายแบบรวมรายบริการ (Bundle Package) ด้วย

จ. จะต้องจัดช่องทางการให้บริการที่สะดวก รวดเร็ว เข้าถึงง่าย ครอบคลุมและง่ายต่อการเลือกซื้อ เปลี่ยนแปลง (เพิ่ม ลด) การใช้บริการโทรศัพท์เคลื่อนที่ได้ตามความต้องการของผู้ใช้บริการปลายทาง โดยปราศจากข้อจำกัด ทั้งนี้ ต้องแสดงรายละเอียดของบริการ อัตราค่าบริการแยกตามรายบริการ หรืออัตราค่าบริการแบบส่งเสริมการขาย ตลอดจนวิธีการ เงื่อนไขการเลือกรับบริการไว้โดยชัดแจ้ง และเป็นปัจจุบัน

3) การคงทางเลือกของผู้บริโภค  การกำหนดให้บริษัท TUC และ บริษัท DTN ยังคงแบรนด์การให้บริการแยกจากกัน เป็นระยะเวลา 3 ปี

4) สัญญาการให้บริการ บริษัท TUC และบริษัท DTN จะต้องคงไว้ซึ่งเงื่อนไขของสัญญาและข้อตกลงระหว่างบริษัทและผู้ใช้บริการ รวมถึงผลประโยชน์ที่ได้รับตามที่ได้มีการทำสัญญาหรือข้อตกลงไว้ตามระยะเวลาที่กำหนดในสัญญา เว้นแต่เป็นการเปลี่ยนแปลงเงื่อนไขของสัญญาที่เป็นคุณหรือเป็นประโยชน์และได้รับการยินยอมจากผู้ใช้บริการแล้ว

5) การประชาสัมพันธ์การให้บริการเพื่อความเชื่อมั่นของผู้ใช้บริการ ภายหลังการรวมธุรกิจ บริษัท TUC และบริษัท DTN จะต้องประชาสัมพันธ์และเผยแพร่ข้อมูลต่อสาธารณะ เพื่อให้ผู้ใช้บริการทราบถึงการคงไว้ซึ่งคุณภาพในการให้บริการและค่าบริการที่เป็นธรรม และจะต้องกำหนดแนวทางการปฏิบัติเพื่อรักษาคุณภาพของสินค้าและบริการหลังการรวมธุรกิจ โดยสำนักงาน กสทช. อาจกำหนดแนวทางและระยะเวลาการดำเนินการ รวมถึงเงื่อนไขในการปฏิบัติในเรื่องการประชาสัมพันธ์ เพื่อให้บริษัท TUC และบริษัท DTN ดำเนินการต่อไป

2.2 ข้อกังวล อุปสรรคการเข้าสู่ตลาด – ขาดประสิทธิภาพการแข่งขัน และการสนับสนุนผู้ประกอบการรายย่อย มีเงื่อนไขหรือมาตรการเฉพาะ ดังนี้ 

‘บิ๊กพลังงาน’ ผนึก TCNN พาไทยสู่ Net Zero ลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกให้เป็นศูนย์

กลุ่ม ปตท. ผนึกกำลังเครือข่ายคาร์บอนนิวทรัลประเทศไทย (TCNN) ยกระดับลดก๊าซเรือนกระจก พร้อมขับเคลื่อนประเทศมุ่งสู่ Net Zero 

ไม่นานมานี้ นายอรรถพล ฤกษ์พิบูลย์ ประธานเจ้าหน้าที่บริหารและกรรมการผู้จัดการใหญ่ บริษัท ปตท. จำกัด (มหาชน) ในฐานะประธานเครือข่ายคาร์บอนนิวทรัลประเทศไทย (Thailand Carbon Neutral Network หรือ TCNN) ได้เป็นประธานการประชุมคณะผู้บริหารกรรมการเครือข่ายฯ (Council Board) ประจำปี 2565 

โดยในงานนี้มี นายเกียรติชาย ไมตรีวงษ์ ผู้อำนวยการองค์การบริหารจัดการก๊าซเรือนกระจก (องค์การมหาชน), นายเทอดเกียรติ พร้อมมูล รองกรรมการผู้จัดการใหญ่กลยุทธ์องค์กรและความยั่งยืน บริษัท ปตท. จำกัด (มหาชน) พร้อมด้วยคณะผู้บริหารกรรมการเครือข่ายฯ และผู้บริหารกลุ่ม ปตท. เข้าร่วมการประชุม เพื่อสรุปผลความสำเร็จของการดำเนินงานที่ผ่านมา 

นอกจากนี้ ทางคณะกรรมการฯ ยังได้หารือถึงแผนการดำเนินงานให้สอดรับกับวิสัยทัศน์ของ TCNN ในการเป็น ‘เครือข่ายแกนนำของประเทศไทยสู่การบรรลุเป้าหมาย Carbon Neutrality และ Net Zero’ อีกด้วย

ปตท. ผนึก ‘ม.เชียงใหม่-ซีพีพี’ แปลงของเสียเป็นพลังงาน ช่วยลดก๊าซเรือนกระจก พาไทยสู่สังคมคาร์บอนต่ำ

ปตท. ลงนาม MOU ร่วมกับ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ และ บริษัท ซีพีพี ในโครงการลดก๊าซเรือนกระจกภาคสมัครใจตามมาตรฐานของประเทศไทย มุ่งสู่สังคมคาร์บอนต่ำ

นายณรงค์ไชย ปัญญไพโรจน์ ผู้ช่วยกรรมการผู้จัดการใหญ่ก๊าซธรรมชาติสำหรับยานยนต์ บริษัท ปตท. จำกัด (มหาชน) ลงนาม บันทึกข้อตกลงความร่วมมือโครงการลดก๊าซเรือนกระจกภาคสมัครใจตามมาตรฐานของประเทศไทย (Thailand Voluntary Emission Reduction Program : T-VER) กับ ดร.พฤกษ์ อักกะรังสี ผู้อำนวยการสถาบันวิจัยและพัฒนาพลังงานนครพิงค์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ และ คุณอานนท์ฤทธิ์ธาร ผู้อำนวยการสายงานปฏิบัติการ ผู้แทนจากบริษัท ซีพีพี จำกัด 

สำหรับการลงนามความร่วมมือดังกล่าว เป็นการต่อยอดจากการพัฒนาก๊าซไบโอมีเทนอัดจากน้ำเสียและของเสียโรงงานอุตสาหกรรมน้ำมันปาล์ม ของ บริษัท ซีพีพี โดยการกักเก็บก๊าซมีเทนจากการบำบัดน้ำเสียแบบไร้อากาศ มาใช้เป็นเชื้อเพลิงทดแทนก๊าซ NGV ในสถานีบริการ NGV ในพื้นที่ จ.ประจวบคีรีขันธ์ ดำเนินการตั้งแต่ปี 2560 จนถึงปัจจุบันได้ต่อยอดความร่วมมือ เพื่อขอการรับรองคาร์บอนเครดิต ในโครงการ T-VER ทั้งนี้เพื่อร่วมเป็นส่วนหนึ่งในการพัฒนาโครงการด้านสิ่งแวดล้อมเพื่อมุ่งสู่สังคมคาร์บอนต่ำของประเทศอย่างแข็งแรงและยั่งยืนตลอดไป

‘สุริยะ’ โชว์ผลสำเร็จ คืนชีพแบตฯยานยนต์ไฟฟ้า พร้อมเปิดตัวแบตฯโซเดียมไอออนครั้งแรกในอาเซียน

'สุริยะ' โชว์ผลสำเร็จการพัฒนาแบตเตอรี่รถยนต์ไฟฟ้าใช้งานแล้ว นำกลับมาเป็นแบตเตอรี่ในยานยนต์ไฟฟ้าขนาดเล็ก และเปิดตัวแบตเตอรี่โซเดียมไอออน (Na-ion Batteries) จากแร่เกลือหิน พร้อมโชว์รถต้นแบบครั้งแรกในอาเซียน 

นายสุริยะ จึงรุ่งเรืองกิจ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงอุตสาหกรรม เปิดเผยว่า กระทรวงอุตสาหกรรมให้ความสำคัญกับการยกระดับศักยภาพของผู้ประกอบการไทยให้มีความสามารถในการแข่งขันและเติบโตอย่างยั่งยืน ด้วยการนำนวัตกรรมและเทคโนโลยี (Innovation–Driven Entrepreneurship) ผสมผสานกับหลักเศรษฐกิจหมุนเวียน (Circular Economy) ตามนโยบาย BCG Model (Bio-Circular-Green (BCG) Economy) โดยการพัฒนาแบตเตอรี่รถยนต์ไฟฟ้าที่เสื่อมสภาพให้นำกลับมาใช้เป็นแบตเตอรี่สำหรับยานยนต์ไฟฟ้าขนาดเล็ก (Second Life Electric Vehicle Batteries for Small Electric Vehicles) รวมทั้งการพัฒนาต้นแบบรถกอล์ฟไฟฟ้า และรถจักรยานยนต์ไฟฟ้าดัดแปลง (EV Conversion)

ซึ่งสอดคล้องกับนโยบายรัฐบาล ที่ผลักดันให้ประเทศไทยก้าวสู่การเป็นฐานการผลิตยานยนต์ไฟฟ้าและชิ้นส่วนที่สำคัญของโลก ซึ่งกระทรวงอุตสาหกรรมได้ขานรับนโยบายดังกล่าว โดยมีการจัดทำมาตรฐานเกี่ยวกับยานยนต์ไฟฟ้าออกมาอย่างต่อเนื่อง และมีการจัดตั้งศูนย์ทดสอบยานยนต์และยางล้อแห่งชาติ (ATTRIC) ณ อำเภอสนามชัยเขต จังหวัดฉะเชิงเทรา ที่เป็นศูนย์กลางการออกแบบ วิจัย พัฒนา และนวัตกรรม ตลอดจนเป็นศูนย์กลางการเรียนรู้และถ่ายทอดเทคโนโลยีให้กับภาคส่วนต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้อง เพื่อให้เกิดการผลิตและการใช้ยานยนต์ไฟฟ้าในประเทศ ให้เป็นไปตามเป้าหมาย

ทั้งนี้ จากข้อมูลผลการทดสอบพบว่า แบตเตอรี่ดังกล่าวจะมีอายุการใช้งานเทียบเท่ากับระยะเวลาการรับประกันแบตเตอรี่รถยนต์ไฟฟ้าใหม่ หรือไม่น้อยกว่า 8 ปี และสำหรับแบตเตอรี่ที่เสื่อมสภาพไม่สามารถนำกลับมาใช้ได้ใหม่ ก็ประสบความสำเร็จในการพัฒนาเทคโนโลยีรีไซเคิลเพื่อนำลิเทียมและสารประกอบโลหะในแบตเตอรี่กลับมาใช้เป็นวัตถุดิบตั้งต้นสำหรับการผลิตแบตเตอรี่ใหม่ ซึ่งถือเป็นความสำเร็จครั้งแรกในไทย นอกจากนี้ ยังได้มีการพัฒนาแบตเตอรี่ทางเลือกที่ไทย โดยนำแร่เกลือหินซึ่งเป็นวัตถุดิบที่พบมากในประเทศไทยนำมาผลิตเป็นแบตเตอรี่โซเดียมไอออนสำหรับยานยนต์ไฟฟ้า และได้นำมาใช้งานได้จริงในจักรยานไฟฟ้าต้นแบบ (E-Bike) นับเป็นความสำเร็จครั้งแรกในอาเซียน

“ผลงานครั้งนี้ เป็นส่วนสำคัญในการรองรับนโยบายรัฐบาลที่ส่งเสริมและผลักดันอุตสาหกรรมยานยนต์ไทยให้สามารถรักษาตำแหน่งการเป็นฐานการผลิตยานยนต์และก้าวไปสู่ฐานการผลิตยานยนต์ไฟฟ้าในอนาคตได้ รวมทั้งเป็นคำตอบที่สำคัญของการส่งเสริมและพัฒนาอุตสาหกรรมแบตเตอรี่ยานยนต์ไฟฟ้าในอนาคต สร้างรูปแบบธุรกิจใหม่ (New Business Model) ตลอดห่วงโซ่มูลค่าอุตสาหกรรมยานยนต์ไฟฟ้า และก่อให้เกิดระบบการบริหารจัดการแบตเตอรี่ยานยนต์ไฟฟ้าใช้งานแล้วที่มีประสิทธิภาพและครบวงจร เพื่อป้องกันปัญหาขยะและมลพิษจากแบตเตอรี่ในอนาคต ด้วยการหมุนเวียนวัสดุที่ใช้แล้วภายในประเทศอย่างครบวงจรและยั่งยืน สอดคล้องกับนโยบายการขับเคลื่อนเศรษฐกิจของประเทศไปสู่เศรษฐกิจหมุนเวียนของรัฐบาล” นายสุริยะ กล่าว

ปตท.สุดเจ๋ง!! ต่อยอดโรงแยกก๊าซธรรมชาติระยอง เปลี่ยนสถานะก๊าซฯ จากการผลิตใช้ปลูกพืชเมืองหนาว

ปตท. คว้ารางวัลอุตสาหกรรมดีเด่น ปี พ.ศ. 2565 ด้านความรับผิดชอบต่อสังคม สะท้อนการดำเนินงานที่เป็นเลิศ สนับสนุนนโยบายรัฐอย่างต่อเนื่อง 

พลเอกประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี มอบรางวัลอุตสาหกรรมดีเด่น ประเภทความรับผิดชอบต่อสังคม ประจำปี พ.ศ. 2565 แก่ นายอรรถพล ฤกษ์พิบูลย์ ประธานเจ้าหน้าที่บริหารและกรรมการผู้จัดการใหญ่ บริษัท ปตท. จำกัด (มหาชน) ในโอกาสที่โรงแยกก๊าซธรรมชาติระยอง ผ่านการตรวจประเมินและได้รับรางวัลอุตสาหกรรมดีเด่นจากกระทรวงอุตสาหกรรม ซึ่งเป็นรางวัลอันทรงคุณค่าและเป็นกำลังใจแก่ผู้ประกอบการธุรกิจอุตสาหกรรมที่มีความวิริยะอุตสาหะในการสร้างสิ่งที่มีประโยชน์ต่อการพัฒนาอุตสาหกรรมของประเทศไทย เมื่อวันที่ 5 ตุลาคม 2565 ที่ ทำเนียบรัฐบาล

โรงแยกก๊าซธรรมชาติระยอง ได้ดำเนินธุรกิจเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพให้เกิดประโยชน์สูงสุดมาอย่างต่อเนื่องทั้งภาคพลังงานและภาคสังคม ด้วยการสร้างนวัตกรรมและนำเทคโนโลยีมาใช้ในทุกภาคส่วน โดยล่าสุดได้ใช้องค์ความรู้ด้านวิศวกรรมนำความเย็นที่เกิดจากกระบวนเปลี่ยนสถานะของก๊าซฯ จากกระบวนการผลิตมาปรับใช้เพาะปลูกพืชเมืองหนาว คือ สตรอว์เบอรี่พันธุ์ Akihime ที่โรงเรือนอัจฉริยะ ณ สวนสมุนไพรสมเด็จพระเทพฯ จ.ระยอง ให้ผลผลิตตลอดทั้งปี อันเป็นการต่อยอดองค์ความรู้ทั้งด้านเกษตรวิศวกรรม เทคโนโลยีการปลูกสู่เกษตรกรในพื้นที่ จ.ระยอง

อนึ่ง ภายใต้วิสัยทัศน์ใหม่ของ ปตท. ‘ขับเคลื่อนทุกชีวิต ด้วยพลังแห่งอนาคต’ หรือ ‘Powering Life with Future Energy and Beyond’ ปตท. พร้อมเป็นฟันเฟืองสนับสนุนนโยบายรัฐบาลขับเคลื่อนยุทธศาสตร์ชาติ  สร้างคุณค่าต่อสังคมไทยและประเทศอย่างยั่งยืนต่อไป

คน ปตท. ตั้งเป้าบรรจุ 10,000 ถุงยังชีพ ส่งช่วยเหลือผู้ประสบภัยจากพายุโนรู

เมื่อเร็ว ๆ นี้ นายอรรถพล ฤกษ์พิบูลย์ ประธานเจ้าหน้าที่บริหารและกรรมการผู้จัดการใหญ่ บริษัท ปตท. จำกัด (มหาชน) พร้อมผู้บริหารและพนักงานกลุ่ม ปตท. ในนาม ‘ชมรมพลังไทยใจอาสา กลุ่ม ปตท.’ ร่วมบรรจุถุงยังชีพจำนวน 1,500 ถุง เพื่อให้ความช่วยเหลือผู้ประสบอุทกภัยจากอิทธิพลพายุโนรู ในพื้นที่ภาคตะวันออกเฉียงเหนือและภาคกลาง ได้แก่ เทศบาลตำบลวารินชำราบ, อำเภอวารินชำราบ จังหวัดอุบลราชธานี จำนวน 1,000 ถุง พร้อมส่งทีมปฏิบัติการชมรม PTT Group SEALs เจ้าหน้าที่พร้อมเรือท้องแบนและอุปกรณ์กู้ภัยเพื่อให้ความช่วยเหลือผู้ประสบภัยในพื้นที่ 

นอกจากนั้นจะนำส่งที่ ตำบลท่ามะนาว อำเภอชัยบาดาล จังหวัดลพบุรี จำนวน 500 ถุง โดยในปี 2565 นี้ ปตท. มีแผนการดำเนินการแจกจ่ายถุงยังชีพเพื่อให้ความช่วยเหลือผู้ประสบภัยจำนวนกว่า 10,000 ถุง โดยถุงยังชีพประกอบด้วย อาหารพร้อมรับประทาน เครื่องอุปโภค บริโภค ที่จำเป็นต่อการดำรงชีพและสามารถใช้ได้ทันที เพื่อบรรเทาความเดือดร้อนของประชาชนเบื้องต้น

รัฐบาลพลิกโฉมประเทศไทยสู่ 'เศรษฐกิจใหม่' ปัก 7 หมุดเพื่ออนาคต เสริมแกร่งประเทศระยะยาว

รัฐบาลตั้งทรงไทยสู่ศูนย์กลางการลงทุนระดับภูมิภาค ด้วยยุทธศาสตร์ส่งเสริมการลงทุน 5 ปี (พ.ศ. 2566 - 2570) พร้อมปักธง 7 หมุดหมายแห่งอนาคต เพิ่มความสามารถในการแข่งขันให้กับประเทศในระยะยาว

(19 ต.ค. 65) นายอนุชา บูรพชัยศรี รองเลขาธิการนายกรัฐมนตรีฝ่ายการเมือง ปฏิบัติหน้าที่โฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี กล่าวว่า ในการประชุมคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุน (บอร์ด BOI) ครั้งล่าสุด ที่มีพล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม เป็นประธานฯ ได้เห็นชอบร่างยุทธศาสตร์การส่งเสริมการลงทุน 5 ปี (พ.ศ. 2566 - 2570) เพื่อปรับโครงสร้างไปสู่ 'เศรษฐกิจใหม่' เพิ่มความสามารถทางการแข่งขัน เสริมสร้างสถานะของไทยในฐานะศูนย์กลางทางธุรกิจ การค้า และโลจิสติกส์ระดับภูมิภาคซึ่ง พล.อ. ประยุทธ์ ในฐานะประธานคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุน ได้เน้นย้ำถึงความสำคัญในการเดินหน้าส่งเสริมการลงทุนอย่างรอบด้าน ทั้งการพัฒนา และการเปลี่ยนแปลงให้ทันต่อกับสถานการณ์และความท้าทายที่เกิดในปัจจุบันและอนาคต เพื่อให้ดำเนินการได้ตามแผนและเป้าหมายที่กำหนดไว้

นายอนุชา กล่าวว่า ร่างยุทธศาสตร์ส่งเสริมการลงทุนฉบับใหม่นี้ มุ่งเสริมสร้างการลงทุนเพื่อปรับโครงสร้างเศรษฐกิจของประเทศตามแนวคิดหลัก 3 ประการ คือ 

- Innovative เป็นเศรษฐกิจที่ขับเคลื่อนด้วยเทคโนโลยี นวัตกรรม และความคิดสร้างสรรค์  
- Competitive เป็นเศรษฐกิจที่มีขีดความสามารถในการแข่งขัน สามารถปรับตัวเร็ว และสร้างการเติบโตสูง 
- Inclusive เป็นเศรษฐกิจที่คำนึงถึงความยั่งยืนด้านสิ่งแวดล้อมและสังคม รวมทั้งการสร้างโอกาส และลดปัญหาความเหลื่อมล้ำ

โดยมี 7 หมุดหมายสำคัญ ได้แก่ การปรับโครงสร้างอุตสาหกรรม โดยยกระดับอุตสาหกรรมเดิมที่ไทยมีความโดดเด่น ควบคู่กับการสร้างฐานอุตสาหกรรมใหม่ที่ไทยมีศักยภาพ และสร้างความเข้มแข็งของ Supply Chain เร่งเปลี่ยนผ่านอุตสาหกรรมไปสู่ Smart & Sustainability ผลักดันไทยเป็นศูนย์กลางธุรกิจระหว่างประเทศและประตูการค้าการลงทุนของภูมิภาค ส่งเสริม SMEs และ Startup ให้เข้มแข็งและเชื่อมต่อกับโลก ส่งเสริมการลงทุนตามศักยภาพพื้นที่ เพื่อสร้างการเติบโต อย่างทั่วถึง ส่งเสริมการลงทุนเพื่อพัฒนาชุมชนและสังคม และส่งเสริมผู้ประกอบการที่มีศักยภาพให้ออกไปลงทุนในต่างประเทศ เพื่อขยายโอกาสทางธุรกิจ 

ซึ่งสำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุน (BOI) จะใช้เครื่องมือสำคัญ 3 ด้าน เพื่อขับเคลื่อน 7 หมุดหมายให้บรรลุผลสำเร็จ คือ สิทธิประโยชน์ทั้งภาษีและไม่ใช่ภาษี การบริการแบบครบวงจรทั้งก่อนและหลังการลงทุน การสร้างระบบนิเวศและปรับปรุงกฎระเบียบให้เอื้อต่อการลงทุน

Amazon ทุ่มเฉียด 2 แสนลบ. เปิด AWS Asia Pacific (Bangkok) สนับสนุนการเปลี่ยนแปลงทางดิจิทัลของประเทศไทย

ภายหลังข่าวแผนกคลาวด์คอมพิวติ้งของแอมะซอน หรือ AWS ได้ออกมาเปิดเผยว่า มีแผนลงทุนมูลค่า 5 พันล้านดอลลาร์ในไทย เพื่อยกระดับโครงสร้างพื้นฐานของ AWS

(19 ต.ค. 65) ด้าน ดร.สมเกียรติ โอสถสภา อดีตอาจารย์ประจำคณะเศรษฐศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ก็ได้โพสต์ข้อความเกี่ยวกับเรื่องนี้ ว่า...

AWS ประกาศแผนการลงทุนโครงสร้างพื้นฐานระบบคลาวด์ในไทย มูลค่ามากกว่า 5 พันล้าน ดอลลาร์ หรือ 1.9 แสนล้านบาท ในระยะเวลา 15 ปี ด้วยการเปิดตัว Region แห่งใหม่ ที่มีชื่อว่า 'AWS เอเชียแปซิฟิก' (กรุงเทพฯ)

อะเมซอน เว็บ เซอร์วิสเซส (Amazon Web Services: AWS) บริษัทในเครือ Amazon.com, Inc. ประกาศแผนการลงทุนโครงสร้างพื้นฐานระบบคลาวด์ ด้วยการเปิดตัว Region ในประเทศไทย ที่จะมีชื่อว่า AWS Asia Pacific (Bangkok)

โดย Region แห่งใหม่นี้จะประกอบด้วย Availability Zone สามแห่ง ซึ่งเพิ่มเติมจาก Availability Zone ของ AWS ที่มีอยู่แล้ว 87 แห่งใน 27 ภูมิภาคทั่วโลก และ AWS ได้ประกาศแผนที่จะสร้าง Availability Zone ทั่วโลกอีก 24 แห่งและ AWS  Region อีก 8 แห่งในออสเตรเลีย, แคนาดา, อินเดีย, อิสราเอล, นิวซีแลนด์, สเปน, สวิตเซอร์แลนด์ รวมถึงประเทศไทย

AWS Region ที่กําลังจะมีขึ้นในประเทศไทยจะช่วยให้นักพัฒนา สตาร์ตอัพ และองค์กรต่างๆ รวมถึงภาครัฐ การศึกษา และองค์กรไม่แสวงผลกําไร สามารถเรียกใช้แอปพลิเคชันของตนและให้บริการผู้ใช้ปลายทางจากศูนย์ข้อมูล AWS ที่ตั้งอยู่ในประเทศไทย เพื่อให้ลูกค้าที่ต้องการเก็บข้อมูลของตนไว้ในประเทศไทยสามารถทําได้

กลุ่ม ปตท. มอบบัตรเติมน้ำมัน 200,000 บาท สนับสนุน กทม. ทำงานบรรเทาเหตุน้ำท่วม

เมื่อเร็ว ๆ นี้ นายอรรถพล ฤกษ์พิบูลย์ ประธานเจ้าหน้าที่บริหารและกรรมการผู้จัดการใหญ่ บริษัท ปตท. จำกัด (มหาชน) ได้มอบบัตรเติมน้ำมันมูลค่า 200,000 บาท ในนามกลุ่ม ปตท. แก่ นายชัชชาติ สิทธิพันธุ์ ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร (กลางขวา) เพื่อสนับสนุนการทำงานของกรุงเทพมหานครในการช่วยเหลือเหตุอุทกภัย และบรรเทาความเดือดร้อนของประชาชนในพื้นที่กรุงเทพฯ ณ อาคาร ปตท. สำนักงานใหญ่ ถ.วิภาวดีรังสิต กทม.

โดยผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร ได้กล่าวด้วยว่า ปตท. ถือเป็นส่วนสำคัญของเมือง ทั้งในเรื่องการสร้างงานและเศรษฐกิจ ต้องขอขอบคุณทาง ปตท. เป็นอย่างมากที่ช่วย กทม. มาตลอด และหวังว่าจะร่วมมือกันต่อไป

พร้อมกันนี้ ผู้ว่าฯ ชัชชาติ ยังได้กล่าวถึงโครงการ Saturday School Bangkok ซึ่งขณะนี้เปิดรับคุณครูอาสา (Volunteer Teacher) พร้อมเชิญชวนพนักงาน ปตท. มาช่วยสอนภาษาอังกฤษ สอนเรื่องพลังงาน เรื่องแยกขยะ ฯลฯ เพื่อให้พนักงานมีความเข้าใจปัญหาสังคม เข้าถึงเด็กๆ และได้ร่วมแบ่งปันโอกาสให้น้อง ๆ อีกด้วย


© Copyright 2021, All rights reserved. THE STATES TIMES
Take Me Top