Friday, 4 July 2025
ECONBIZ NEWS

อยากเป็นเถ้าแก่ต้องรู้!! 5 กลยุทธ์พื้นฐาน คว้าโอกาสทางธุรกิจ

1.การแข่งขันด้วยต้นทุนที่ต่ำกว่าคู่แข่ง
2.การแข่งขันด้วยความแตกต่าง
3.การแข่งขันด้วยต้นทุนและตลาดเป้าหมายจะแคบลง
4.การแข่งขันที่มุ่งเน้นคุณค่าให้ลูกค้าเหนื่อกว่าคู่แข่ง
5.การแข่งขันด้วยต้นทุนผสมกับความแตกต่าง


ที่มา: ตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย
 

‘อลงกรณ์’ ชู 8 ลมใต้ปีก สร้างโอกาสการค้าของไทย ดึงเม็ดเงินอาเซียน-จีน-ตะวันออกกลาง กว่า 10 ล้านลบ.

นายอลงกรณ์ พลบุตร ที่ปรึกษารัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์และรองหัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์กล่าวในโอกาสบรรยายพิเศษในหัวข้อ 'ศักยภาพและโอกาสการค้าการลงทุนของไทยในจีน-ตะวันออกกลางและอาเซียน' ในงานสัมมนาธุรกิจ & Business Talk ณ ห้องอัศวิน แกรนด์ คอนเวนชั่น ชั้น 4 โรงแรมอัศวิน แกรนด์ คอนเวนชั่น กรุงเทพ วันนี้ ว่า ปลายปี 2565 ไทยเป็นเจ้าภาพในการประชุม APEC ซึ่งเป็นเหตุการณ์ที่สำคัญและมีผลต่อเศรษฐกิจของไทยและภูมิภาคอาเซียนอย่างมากรวมถึงการฟื้นความสัมพันธ์ระหว่างไทยกับซาอุดีอาระเบีย ในรอบ 30 ปี ถือเป็น”ลมส่งท้ายถึง ปีนี้จะเป็นปีแห่งโอกาสในวิกฤติของไทย ทางด้านการค้าการลงทุนการท่องเที่ยวของไทยเริ่มต้นปีด้วยข่าวดีเมื่อจีนเริ่มผ่อนคลายนโยบายการควบคุมโควิดและเปิดประเทศในเดือนมกราคม

ทั้งนี้ภาคการเกษตรของไทยถือเป็นกลไกสําคัญในการขับเคลื่อนเศรษฐกิจของประเทศไทย โดย ดร.เฉลิมชัย ศรีอ่อน รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ได้กำหนดแนวทางนโยบายขับเคลื่อนภาคเกษตรเพื่อยกระดับคุณภาพชีวิตของเกษตรกรและเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันของภาคเกษตรไทย ภายใต้วิสัยทัศน์เปลี่ยนวิกฤติเป็นโอกาสสร้างเศรษฐกิจที่แข็งแกร่งในประเทศ พร้อมทั้งมุ่งเน้นการขับเคลื่อนการผลิตสินค้าเกษตรมูลค่าสูงด้วยเทคโนโลยีสมัยใหม่และนวัตกรรม องค์ความรู้ภูมิปัญญาไทยโดยศูนย์เทคโนโลยีเกษตรและนวัตกรรม (Agritech and Innovation Center : AIC) ทั้ง 77 จังหวัด และศูนย์ความเป็นเลิศ AIC 23 ศูนย์ ซึ่งถือเป็นโครงสร้างพื้นฐานด้านเทคโนโลยีที่สำคัญของการยกระดับอัพเกรดการพัฒนาประเทศภายใต้ยุทธศาสตร์เทคโนโลยีเกษตร 4.0 และยุทธศาสตร์ตลาดนำการผลิตบนความร่วมมือระหว่าง นายจุรินทร์ ลักษณวิศิษฏ์ รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีพาณิชย์กับ ดร.เฉลิมชัย ศรีอ่อน รัฐมนตรีเกษตรฯ

สำหรับโอกาสการค้าการลงทุน ของไทยในจีน-ตะวันออกกลาง และอาเซียน ประเทศไทยถือได้ว่ามีศักยภาพสูงโดยใช้จุดแข็งของไทยที่ขอเรียกว่า '8 ลมใต้ปีก' จะช่วยผลักดันโอกาสของไทยและหุ้นส่วนเศรษฐกิจให้เดินหน้าได้สำเร็จ ได้แก่

1.) การฟื้นสัมพันธ์ไทย-ซาอุดิอาระเบีย 
สร้างระเบียงเศรษฐกิจใหม่(New Economic Corridor)ระหว่างไทย-ซาอุดีอาระเบียและอาเซียนและตะวันออกกลาง

2.) รถไฟลาว-จีน เชื่อมไทย เชื่อมโลก 
การพัฒนาโลจิสติกส์เชื่อมการขนส่งการค้า และการลงทุนของไทยไปยังตลาดทุกมณฑลในจีน อาเซียนตะวันออกกลาง เอเซียกลาง ยุโรป และอังกฤษเพราะการขนส่งสินค้าจะเร็วขึ้น ต้นทุนจะลดลง โดยเฉพาะอีสานเกตเวย์ และท่าเรือหวุ่งอ๋าง 

3.) 'ความตกลงหุ้นส่วนทางเศรษฐกิจระดับภูมิภาค' (RCEP) 
เขตการค้าเสรี (FTA) ที่ใหญ่ที่สุดของโลก ทำให้ภาษีนำเข้าสินค้าไทยเหลือศูนย์ทันทีเกือบ 30,000 รายการ ใน 14 ประเทศที่ร่วมเป็น FTA Partner ของ RCEP เริ่มมีผลบังคับใช้อย่างเป็นทางการวันที่ 1 มกราคม พ.ศ. 2565 โดยมีสมาชิก 15 ประเทศรวมทั้งจีน และประเทศอาเซียนซึ่งรองนายกฯ.จุรินทร์เป็นประธานการประชุมตั้งแต่ต้นจนบรรลุข้อตกลงRCEP

4.) มินิ-เอฟทีเอ ( Mini-FTA)
เป็นกลยุทธ์ใหม่เพิ่มโอกาสความร่วมมือทางเศรษฐกิจการค้าการลงทุนเปิดตลาดเมืองรองในประเทศต่างๆปูทางสร้างโอกาสสำหรับผู้ประกอบการไทย โดยรัฐมนตรีพาณิชย์เดินหน้าเชื่อมสัมพันธ์กับเมืองต่างๆในหลายประเทศเช่น ไห่หนาน กานซู และเสิ่นเจิ้นของจีน เมืองโคฟุของญี่ปุ่น เมืองเตลังกานาของอินเดีย และปูซานของเกาหลีใต้ เป็นต้น

5.) FTAและการเปิดเจรจา FTA รอบใหม่ 
ไทยมีความตกลงการค้าเสรี (FTA) ที่มีผลบังคับใช้แล้วถึง 14 ฉบับ กับ 18 ประเทศ ทำให้ไทยมีศักยภาพในการเป็นจุดหมายการลงทุนและการค้า รวมทั้งการเปิดเจรจาFTAกับสหภาพยุโรป อังกฤษ EFTAและUAE

6.) การลงทุนโครงสร้างพื้นฐานขนาดใหญ่
เป็นอีกปัจจัยที่มีบทบาทสำคัญต่อการค้าการลงทุนในการสร้างศักยภาพเศรษฐกิจ และขีดความสามารถในการแข่งขันของประเทศ เช่น  โครงการรถไฟสี่รางทางคู่ โครงการรถไฟความเร็วสูง โครงการพัฒนาท่าเรือมาบตาพุดระยะที่ 3 โครงการพัฒนาสนามบินอู่ตะเภาและเมืองการบินภาคตะวันออก โครงการท่าเรือแหลมฉบังระยะที่ 3 โครงการทางหลวงระหว่างเมือง(มอเตอร์เวย์)

7.) ระเบียงเศรษฐกิจภาคตะวันออก (Eastern Economic Corridor: EEC) ที่ช่วยดึงดูดการลงทุนโดยตรง (FDI) จากต่างประเทศ ล่าสุดทางการตั้งเป้าหมายลงทุนใน EEC ระยะที่ 2 ในช่วง 5 ปีข้างหน้า (ปี 2565-2569) วงเงิน 2.2 ล้านล้านบาท เพิ่มขึ้นจากระยะแรกที่ตั้งเป้าไว้ 1.7 ล้านล้านบาท (2561-2564) 

8.) ฐานการค้าการลงทุนใหม่ 18 กลุ่มจังหวัด
กระทรวงเกษตรฯ.และสภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทยร่วมมือกันเดินหน้าโครงการ 1 กลุ่มจังหวัด 1 นิคมอุตสาหกรรมเกษตรอาหารเพื่อกระจายการลงทุนกระจายฐานเศรษฐกิจใน18กลุ่มจังหวัดครอบคลุม77 จังหวัดจะมีนักลงทุนทั้งชาวไทยและต่างประเทศจากจีน อาเซียน ตะวันออกกลางและอีกหลายประเทศมาร่วมลงทุนในโครงการนี้เช่น นิคมอุตสาหกรรมเมืองอุดรฯ.ในกลุ่มอีสานตอนบน และโครงการเพชรบุรีฟู้ดวัลเลย์ในกลุ่มภาคกลางตอนล่าง ปัจจุบันโลกกำบังเผชิญปัญหาความไม่มั่นคงทางอาหารและราคาอาการแพง

เติบโตต่อเนื่อง!! ‘บิ๊กตู่’ ปลื้ม!! อัญมณี-เครื่องประดับไทย ส่งออกพุ่งเกือบ 50% จ่อดัน ภาคอุตสาหกรรมฯ คาด ปี 66 โตเพิ่มอีก 10 - 15%

(9 มี.ค. 66) นายอนุชา บูรพชัยศรี รองเลขาธิการนายกรัฐมนตรีฝ่ายการเมือง ปฏิบัติหน้าที่โฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี กล่าวว่า พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม รับทราบรายงานจาก สภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย ถึงมูลค่าอุตสาหกรรมอัญมณีและเครื่องประดับของประเทศไทย ปี 2565 ชื่นชมเป็นอีกอุตสาหกรรมที่มีมูลค่าการเติบโตที่สูง มีตัวเลขการส่งออกเป็นอันดับที่ 3 ของไทย โดยคาดการณ์ว่าภายในปี 2566 การส่งออกอัญมณีและเครื่องประดับของไทย จะสามารถเติบโตได้อีกถึง 10 - 15%

นายอนุชา กล่าวว่า อุตสาหกรรมอัญมณีและเครื่องประดับไทย เป็นอุตสาหกรรมที่มียอดการส่งออกสูงสุด เป็นอันดับที่ 3 ของไทย โดยจากสถิติช่วงเดือน มกราคม-ธันวาคม 2565 อุตสาหกรรมอัญมณีและเครื่องประดับ มีมูลค่าการส่งออกถึง 15,057.70 ล้านดอลลาร์สหรัฐ และมีการขยายตัวกว่า 49.82% จากช่วงเดียวกันของปีก่อนหน้า

ซึ่งสินค้าอัญมณีและเครื่องประดับส่งออกที่สำคัญ ได้แก่ ทองคำ, เครื่องประดับทอง, เพชรเจียระไน, เครื่องประดับเงิน, พลอยเนื้อแข็งเจียระไน และพลอยเนื้ออ่อนเจียระไน โดยมีตลาดการส่งออกที่สำคัญ (ไม่รวมการส่งออกทองคำ) ได้แก่ สหรัฐอเมริกา, อินเดีย, ฮ่องกง, เยอรมนี, สหราชอาณาจักร, สิงคโปร์, สวิตเซอร์แลนด์, เบลเยียม, สหรัฐอาหรับเอมิเรตส์ และญี่ปุ่น ตามลำดับ

นายอนุชา กล่าวว่า มูลค่าตลาดการส่งออกของอุตสาหกรรมอัญมณีและเครื่องประดับไทย (ไม่รวมส่งออกทองคำ) ทุกตลาดมีมูลค่าเพิ่มขึ้นแตกต่างกันไป โดยจุดเด่นของอุตสาหกรรมอัญมณีและเครื่องประดับไทย อยู่ที่การออกแบบลวดลายที่เป็นเอกลักษณ์ ซึ่งเป็นงานฝีมือที่ต้องอาศัยความปราณีต ในการสร้างสรรค์ผลงานอย่างมาก

นอกจากนี้ จากข้อมูลในปี 2565 ได้มีผู้ประกอบการด้านอัญมณีและเครื่องประดับไทย เป็นจำนวนกว่า 12,892 ราย เพิ่มขึ้นกว่า 2.41% ซึ่งแสดงถึงการเติบโต ของภาคอุตสาหกรรมอัญมณีและเครื่องประดับ ที่มีแนวโน้มการเติบโตสูงขึ้นอย่างเห็นได้ชัด และเป็นที่ยอมรับในตลาดต่างประเทศ

หนี้สร้างอนาคต!! 'อัษฎางค์' กางตัวเลข หนี้สาธารณะไทย 10.5 ล้านล้านบาท 80% คือ เงินลงทุน สร้างผลตอบแทนต่อชาติในระยะยาว

(9 มี.ค.66) นายอัษฎางค์ ยมนาค นักวิชาการอิสระ โพสต์ข้อความผ่านเฟซบุ๊ก เกี่ยวกับความจริงเรื่อง 'หนี้สาธารณะของไทย' ระบุว่า...

หนี้สาธารณะของไทยเราเพิ่มขึ้น 10.5 ล้านล้านบาทนั้น ความจริง 80% คือ เงินที่นำมาใช้ในการลงทุน ซึ่งเป็นหนี้ที่ให้ผลตอบแทน ทั้งระบบคมนาคมขนส่งและชดเชยงบประมาณขาดดุล

ที่สำคัญคือ ครึ่งหนึ่งของยอด 10.5 ล้านล้านบาทนั้นเป็นหนี้ที่เกิดมาตั้งแต่ปี 40 ซึ่งเป็นหนี้ของกองทุนฟื้นฟูและในเวลาต่อมาก็คือ หนี้จากโครงการจำนำข้าว 

ปีนั้นใครเป็นรัฐบาลและใครเป็นคนสร้างหนี้นี้เอาไว้ ถ้าไม่ใช่พี่น้องตระกูลชาชิน แล้วใครเป็นคนเข้ามาแก้ไข ทำให้เศรษฐกิจไทยเงยหัวขึ้นและกำลังเนื้อหอมในหมู่นักลงทุนต่างชาติ ถ้าไม่ใช่ลุงๆ

ดอกเบี้ยเขย่าโลก 'กอบศักดิ์' เผย คำพูดสั้นๆ เขย่าโลกของประธานเฟด ส่งสัญญาณ 22 มี.ค.อาจขยับดอกเบี้ยถึง 0.5%

(9 มี.ค.66) นายกอบศักดิ์ ภูตระกูล ประธานกรรมการสภาธุรกิจตลาดทุนไทย (FETCO) รองกรรมการผู้จัดการใหญ่ ธนาคารกรุงเทพและประธานกรรมการสภาธุรกิจตลาดทุนไทย โพสต์ข้อความผ่านเฟซบุ๊กส่วนตัว ในหัวข้อ 'คำพูดสั้นๆ ที่เขย่าตลาด !!!' ว่า...

เมื่อ 2 วันที่แล้วท่านประธานเฟด ไปให้ข้อมูลประจำปี ที่คณะกรรมาธิการการเงินของรัฐสภาสหรัฐ
ท่านพูดว่า... As I mentioned, the latest economic data have come in stronger than expected, which suggests that the ultimate level of interest rates is likely to be higher than previously anticipated. If the totality of the data were to indicate that faster tightening is warranted, we would be prepared to increase the pace of rate hikes.

ข้อมูลเศรษฐกิจล่าสุดของสหรัฐฯ ออกมาดีกว่าที่คาดไว้ ซึ่งชี้ว่าดอกเบี้ยเฟดคงจะต้องขึ้นไปสูงกว่าที่กรรมการเคยคิดกันไว้ และถ้าข้อมูลที่ประมวลทั้งหมดชี้ว่าจะต้องเร่งการขึ้นดอกเบี้ย กรรมการเฟดก็พร้อมที่จะขึ้นในอัตราที่สูงกว่า +0.25% !!!

โละขายยกล็อต!!!! ‘การเคหะฯ’ ชง ‘ครม.’ เคาะขาย ‘บ้านเอื้ออาทร’ ยกล็อต หาเงินล้างหนี้เฉียด 2 หมื่นล้าน หลังแบกมานานกว่า 15 ปี 

โละขายบ้านเอื้ออาทร ยกล็อต หาเงินล้างหนี้ ‘15 ปี’ เกือบ 2 หมื่นล. เคหะขอครม.อนุมัติ

เมื่อวันที่ (6 มี.ค.66) ที่ผ่านมา นายทวีพงษ์ วิชัยดิษฐ ผู้ว่าการการเคหะแห่งชาติ (กคช.) เปิดเผยเมื่อวันที่ 5 มีนาคม ที่ผ่านมาว่า กคช.มีแผนจะนำโครงการบ้านเอื้ออาทรที่ยังคงเหลือ 18,000-19,000 ยูนิต เสนอต่อที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ครม.) อนุมัติให้ขายยกล็อตให้กับเอกชนและหน่วยงานรัฐที่สนใจในราคายูนิตละ 400,000 แสนบาท รวมเป็นเงินประมาณ 7,600 ล้านบาท เพื่อปิดฉากบ้านเอื้ออาทรหลังกคช.ต้องแบกรับภาระหนี้เงินกู้มากว่า 15 ปี โดยวันที่ 9 มีนาคมจะเสนอเรื่องให้ที่ประชุมคณะกรรมการ (บอร์ด) กคช.พิจารณาอนุมัติ หากได้รับการเห็นชอบจะเสนอครม.อนุมัติวันที่ 14 มีนาคมนี้ เพื่อนำเงินที่ได้ไปชำระหนี้เงินกู้โครงการบ้านเอื้ออาทรยังมีอยู่ประมาณ 19,000 ล้านบาท ซึ่งจะครบกำหนดในเดือนพฤษภาคมนี้ประมาณ 2,000 ล้านบาทและในเดือสิงหาคมอีก 2,000 ล้านบาท

“หากไม่มีเอกชนหรือส่วนราชการสนใจ กคช.จะให้บริษัทเคหะสุขประชา จำกัด (มหาชน) เป็นบริษัทลูกของ กคช.ใช้สิทธิเข้าไปซื้อยกล็อต เพื่อนำมาปรับปรุงใหม่ให้ประชาชนผู้มีรายได้น้อยเช่า 1,500 บาทต่อเดือนและซื้อในราคาถูก ในราคาประมาณ 400,000-450,000 บาทต่อยูนิต หากเสนอโครงการเข้าครม. ไม่ทันรัฐบาลชุดนี้ ต้องเสนอรัฐบาลชุดใหม่อนุมัติต่อไป กคช.ต้องหาเงินก้อนมาชำระหนี้ และต้องกู้เงินเพิ่ม”นายทวีพงษ์ กล่าว

‘Mekha V’ รับรางวัล ‘Microsoft Partner of the Year 2022’ ตอกย้ำการมุ่งสู่ธุรกิจแห่งอนาคตด้วยเทคโนโลยีของกลุ่ม ปตท.

เมื่อไม่นานมานี้ ดร.บุรณิน รัตนสมบัติ ประธานเจ้าหน้าที่ปฏิบัติการกลุ่มธุรกิจใหม่และโครงสร้างพื้นฐาน บริษัท ปตท. จำกัด (มหาชน) (ปตท.) รับรางวัล Microsoft Partner of the Year 2022 จากนายธนวัฒน์ สุธรรมพันธุ์ กรรมการผู้จัดการใหญ่ บริษัท ไมโครซอฟท์ (ประเทศไทย) จำกัด ในโอกาสที่บริษัท เมฆา วี จำกัด (Mekha V) ซึ่งเป็น Flagship ด้าน AI, Robotics & Digitalization ของกลุ่ม ปตท. ได้รับรางวัลสาขา ‘Intelligent Cloud กลุ่มธุรกิจภาครัฐ ภาคการศึกษา และสาธารณสุข’ สะท้อนความสำเร็จในการพัฒนาและเติมเต็มระบบนิเวศการใช้คลาวด์ (Cloud Ecosystem) ของกลุ่ม ปตท. เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพด้านดิจิทัล และสร้างโอกาสการเติบโตไปยังธุรกิจที่ไกลกว่าการใช้เทคโนโลยีคลาวด์ ควบคู่กับการพัฒนานวัตกรรมที่หลากหลายบนดิจิทัลแพลตฟอร์มให้ตอบโจทย์ความท้าทายใหม่ ๆ ตามทิศทางกลยุทธ์การดำเนินธุรกิจใหม่ของ ปตท.

ทิศทางน้ำมันโลก สรุปสถานการณ์ตลาดน้ำมันสัปดาห์ที่ 27 ก.พ. - 3 มี.ค. 66 จับตาปัจจัย ‘บวก - ลบ’ ชี้ แนวโน้ม 6 - 10 มี.ค. 66

สรุปสถานการณ์ตลาดน้ำมันสัปดาห์ที่ 27 ก.พ. - 3 มี.ค. 66 จับตาปัจจัย ‘บวก - ลบ’ ชี้ แนวโน้ม 6 - 10 มี.ค. 66

>> ราคาน้ำมันย้อนหลัง 15 วัน

ราคาน้ำมันดิบเฉลี่ยสัปดาห์ที่ผ่านมาปรับตัวเพิ่มขึ้น จากเศรษฐกิจจีนฟื้นตัว โดย Caixin/Markit รายงานดัชนีผู้จัดการฝ่ายจัดซื้อภาคการผลิต (Manufacturing Purchasing Managers' Index: PMI) ของจีนในเดือน ก.พ. 66 เพิ่มขึ้น 2.4 จุด จากเดือนก่อน มาอยู่ที่ 51.6 จุด บ่งชี้ภาวะเศรษฐกิจขยายตัวเหนือระดับ 50 จุด เป็นครั้งแรกนับตั้งแต่เดือน ก.ค. 65 โดยได้แรงหนุนจากการกลับมาเปิดประเทศเมื่อวันที่ 8 ม.ค. 66 ที่ผ่านมา 

นอกจากนี้ ราคาน้ำมันยังได้แรงหนุนจากประธานธนาคารกลางสหรัฐฯ (Federal Reserve: Fed) สาขา Atlanta นาย Raphael Bostic สนับสนุนให้ Fed ชะลอความรุนแรงในการปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยนโยบาย โดยคาดว่า Fed อาจเพิ่มอัตราดอกเบี้ยนโยบายเพียง 0.25% จากระดับปัจจุบัน สู่ 4.75-5.0% ในการประชุมวันที่ 21 – 22 มี.ค. 66 (คาดการณ์เดิมเพิ่มขึ้น 0.5%) ซึ่งจะคลายความกดดันต่อภาคเศรษฐกิจโลกและความต้องการใช้น้ำมัน 

ความเห็นของผู้ค้าพลังงานในงานสัมมนาด้านพลังงาน CERAWeek ระหว่างวันที่ 6-10 มี.ค. 66 เมือง Houston รัฐ Texas ของสหรัฐฯ ล่าสุด ยังมีมุมมองเชิงบวกต่อราคาน้ำมันในช่วงครึ่งหลังของปี 66 อาทิ นาย Mike Wirth, CEO ของ Chevron Corp. กล่าวว่าตลาดน้ำมันยังอยู่ในภาวะตึงตัวและมีความเสี่ยงต่อภาวะอุปทานชะงักงัน แม้ว่าน้ำมันดิบจากรัสเซียยังคงเข้าสู่ตลาด แต่ระยะทางและค่าขนส่งที่เพิ่มขึ้น รวมถึงต้นทุนราคาที่แตกต่างกันจากมาตรการคว่ำบาตร จะทำให้อุปทานตึงตัว นอกจากนี้ นาย Torbjorn Tornqvist, CEO ของบริษัท Gunvor กล่าวว่าราคาน้ำมันดิบอาจปรับตัวสูงขึ้นในช่วงครึ่งหลังของปี 66 เนื่องจากอุปสงค์ของจีนกลับสู่ตลาด สัปดาห์นี้ ทางเทคนิคคาดว่าราคา ICE Brent จะเคลื่อนไหวอยู่ในกรอบ 84 – 87 เหรียญสหรัฐฯ ต่อบาร์เรล

กระตุ้นเศรษฐกิจ!! ‘ครม.’ เคาะราคาอ้อยขั้นสุดท้ายปี 64/65 ที่ 1,106.40 บาท/ตัน คาด สัปดาห์หน้า ยื่นราคาขั้นต้น ปี 65/66 เข้าที่ประชุม ครม.

(8 มี.ค. 66) นายสุริยะ จึงรุ่งเรืองกิจ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงอุตสาหกรรม (อก.) เปิดเผยว่า มติคณะรัฐมนตรี เมื่อวันที่ 7 มีนาคม 2566 เห็นชอบกำหนดราคาอ้อยขั้นสุดท้าย ปี 2564/65 ราคาเฉลี่ยทั่วประเทศในอัตราที่ 1,106.40 บาทต่อตันอ้อย ณ ระดับความหวานที่ 10 ซี.ซี.เอส. และกำหนดอัตราขึ้น/ลงของราคาอ้อย เท่ากับ 66.38 บาท ต่อ 1 หน่วย ซี.ซี.เอส. และผลตอบแทนการผลิตและจำหน่ายน้ำตาลทราย 474.17 บาทต่อตันอ้อย ตามที่กระทรวงอุตสาหกรรมเสนอ ซึ่งเพิ่มขึ้นจากราคาอ้อยขั้นต้น ฤดูการผลิตปี 2564/65 ที่ราคา 1,070 บาท ซึ่งการที่ชาวไร่อ้อยมีรายได้เพิ่มขึ้น 36.40 บาท/ตันอ้อย จะสามารถเพิ่มกำลังซื้อและกระตุ้นเศรษฐกิจของประเทศได้อีกทางหนึ่ง

นายภานุวัฒน์ ตริยางกูรศรี รองปลัดกระทรวงอุตสาหกรรม รักษาราชการแทนเลขาธิการคณะกรรมการอ้อยและน้ำตาลทราย (สอน.) กล่าวว่า จากที่คณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบกำหนดราคาอ้อยขั้นสุดท้าย ปี 2564/65 แล้ว หลังจากนี้ สอน.จะดำเนินการประกาศในราชกิจจานุเบกษา เพื่อให้มีผลบังคับใช้ต่อไป
 

อุ้มบุญมาแรง!! ความต้องการมีทายาทสืบสกุล หนุนธุรกิจ อุ้มบุญทั่วโลก  คาดในปี 75 ตัวเลขโตทะลุ 129,000 ล้านดอลลาร์

ความต้องการผู้สืบสกุลพุ่ง หนุนธุรกิจ ‘อุ้มบุญ’ โลกโตไม่หยุด ขณะปี 2565 อุตสาหกรรมการอุ้มบุญเชิงพาณิชย์ทั่วโลกเติบโตประมาณ 14,000 ล้านดอลลาร์ และคาดการณ์ว่าภายในปี 2575 ธุรกิจนี้จะขยายตัวเพิ่มขึ้นเป็น 129,000 ล้านดอลลาร์

ล่าสุด ตัวบ่งชี้ว่าตอนนี้ธุรกิจอุ้มบุญ หรือรับจ้างตั้งครรภ์กำลังเฟื่องฟู ผู้หญิงจำนวนมากหันไปทำมาหากินเป็นเรื่องเป็นราวด้วยการรับจ้างอุ้มท้องให้แก่บรรดาคู่สามีภรรยาที่เป็นทั้งคู่สามี-ภรรยาที่เป็นหญิง-ชายปกติ และคู่รักกลุ่ม LGBT ที่ต้องการมีบุตรสืบสกุล

ธุรกิจนี้เติบโตอย่างมากในประเทศต่าง ๆ รวมถึง จอร์เจีย และเม็กซิโกและตอนนี้มีผู้หญิงที่สุขภาพแข็งแรงมากขึ้นหันมารับจ้างตั้งครรภ์ให้ผู้อื่นอย่างเป็นล่ำเป็นสัน เรียกว่าเป็นการอุ้มบุญเชิงพาณิชย์ก็น่าจะได้ เพราะความต้องการสูงมากประกอบกับได้เงินค่าจ้างที่สูงพอตัว  ซึ่งการอุ้มบุญเชิงพาณิชย์นี้จะแตกต่างจากการอุ้มบุญการกุศลที่ผู้อุ้มบุญจะไม่ได้เงินหรือค่าตอบแทนใด ๆ โดยในปี 2565 อุตสาหกรรมการอุ้มบุญเชิงพาณิชย์ทั่วโลกเติบโตประมาณ 14,000 ล้านดอลลาร์ และคาดการณ์ว่าภายในปี 2575 ธุรกิจนี้จะขยายตัวเพิ่มขึ้นเป็น 129,000  ล้านดอลลาร์     

อย่างกรณีของ ‘ดิลารา’ ซึ่งอาศัยอยู่ในทบิลิซี ประเทศจอร์เจียมานานหลายเดือนและทำงานมาหลายอย่าง ตั้งแต่ช่างทำผม ช่างทำรองเท้าไปจนถึงพนักงานเสิร์ฟแต่มีงานเดียวเท่านั้นที่เธออยากทำนั่นคือการรับจ้างตั้งครรภ์ให้แก่คู่สามี-ภรรยาที่ต้องการลูก   

ดิลารา แม่ม่ายวัย 34 ปีที่ทิ้งลูกสี่คนไว้ให้พ่อแม่เลี้ยงในอุซเบกิสถานเมื่อปีที่แล้วตั้งความหวังไว้มากว่าจะได้งานรับจ้างตั้งครรภ์ให้ประเทศนี้ที่ถือว่าอุตสาหกรรมอุ้มบุญเชิงพาณิชย์เติบโตสูง

“ฉันเป็นหนี้ธนาคารที่เกิดจากการกู้เงินมาใช้จ่ายและฉันมีลูกสี่คนที่ต้องเลี้ยงดู พวกเขาต้องเข้าโรงเรียน คุณก็รู้ว่าทุกอย่างมีค่าใช้จ่ายทั้งนั้น ฉันต้องรับผิดชอบสิ่งเหล่านี้ทั้งหมด จึงทำให้ฉันอยากเป็นคุณแม่อุ้มบุญ” ดิลารา กล่าว

โดยทั่วไป การอุ้มบุญแบ่งเป็น 2 ประเภทคือ (1) Traditional Surrogacy หมายถึง แม่อุ้มบุญ ที่ตั้งครรภ์โดยการฉีดสเปิร์มไม่ว่าเป็นของสามีคู่นั้นหรือที่ใช้รับบริจาคมาเข้าไปในมดลูก หรือผสมไข่ของแม่อุ้มบุญกับสเปิร์มในหลอดแก้วก่อนที่จะฉีดเข้าไปในมดลูก ลูกที่ออกมาจะมีพันธุกรรมของแม่อุ้มบุญปนอยู่ด้วย

และ (2) คือการอุ้มบุญประเภท Gestational Surrogacy หมายถึงแม่อุ้มบุญ’ ที่ตั้งครรภ์โดยนำไข่กับสเปิร์มที่ผสมแล้วใส่เข้าไปในมดลูก ลูกที่ออกมาจะไม่มีพันธุกรรมที่เกี่ยวข้องกับแม่อุ้มบุญแต่อย่างใด

ส่วนประเด็นว่าการทำแบบนี้ถูกกฎหมายหรือไม่นั้น ในสหรัฐมีบางรัฐที่มีกฎหมายอนุญาตให้มีดำเนินการได้อย่างเสรี เช่น รัฐอาคันซอ รัฐแคลิฟอร์เนีย รัฐอิลลินอยส์ รัฐเท็กซัส รัฐแมสซาชูเซตส์ ส่วนรัฐนิวยอร์ก รัฐนิวเจอร์ซี รัฐอลาสกา และรัฐนิวเม็กซิโก รัฐโอเรกอน รัฐวอชิงตัน มีกฎหมายอนุญาตให้ทำได้เฉพาะเพื่อมนุษยธรรมเท่านั้น

ขณะที่ในแคนาดาและสหราชอาณาจักรอนุญาติให้เฉพาะที่เป็นการอุ้มบุญเพื่อมนุษยธรรมเท่านั้น ส่วนในจอร์เจีย ก็เหมือนกับในยูเครนและรัสเซียที่อนุญาตให้ทำได้อย่างถูกกฎหมายจึงทำให้อุตสาหกรรมการอุ้มบุญในประเทศเหล่านี้เติบโตอย่างก้าวกระโดด

ดิลารา เป็นหนึ่งในผู้หญิงจำนวนมากที่หันมาทำมาหากินด้วยการรับอุ้มบุญอย่างเป็นเรื่องเป็นราวในฐานะที่อาชีพนี้สร้างรายได้ให้เธอมากพอและคุ้มค่ากับการรับตั้งครรภ์ท่ามกลางความต้องการแม่อุ้มบุญที่เพิ่มขึ้นต่อเนื่องในตลาดโลก ส่วนหนึ่งเป็นเพราะปัญหาการมีบุตรยากของคู่สามี-ภรรยา ที่มีมากขึ้น การแต่งงานของคนเพศเดียวกันที่เพิ่มมากขึ้น และผู้คนยุคใหม่ที่นิยมอยู่เป็นโสดแต่อยากมีผู้สืบทอดก็มีจำนวนมากขึ้น


© Copyright 2021, All rights reserved. THE STATES TIMES
Take Me Top