Saturday, 14 September 2024
ECONBIZ NEWS

‘ปตท.’ ยึดมั่นในนโยบายรัฐ ดำเนินธุรกิจก๊าซธรรมชาติ เพื่อประโยชน์ของประเทศเป็นหลัก มุ่งสร้างสมดุลทุกภาคส่วน

นายวุฒิกร สติฐิต ประธานเจ้าหน้าที่ปฏิบัติการกลุ่มธุรกิจปิโตรเลียมขั้นต้นและก๊าซธรรมชาติ บริษัท ปตท. จำกัด (มหาชน) เปิดเผยถึงกรณีการพาดพิงการดำเนินธุรกิจก๊าซธรรมชาติของ ปตท. ที่จำหน่ายให้อุตสาหกรรมปิโตรเคมีในราคาที่ถูกกว่าโรงไฟฟ้าเป็นสาเหตุให้ค่าไฟฟ้าแพง ซึ่งอาจทำให้เกิดความเข้าใจคลาดเคลื่อน ดังนี้

การจัดสรรก๊าซธรรมชาติในอ่าวไทยให้แก่กลุ่มอุตสาหกรรมปิโตรเคมีเป็นสัดส่วนเพียง 20% ใช้ในภาคอุตสาหกรรมขนส่งและครัวเรือนประมาณ 30% และใช้ในการผลิตกระแสไฟฟ้า 50% ซึ่งตลอดระยะเวลาที่ผ่านมาปริมาณความต้องการใช้ก๊าซธรรมชาติเพื่อผลิตไฟฟ้าเพิ่มสูงขึ้นอย่างต่อเนื่อง ขณะที่ปริมาณการผลิตก๊าซธรรมชาติในอ่าวไทยที่ดำเนินการมากว่า 40 ปี ปริมาณสำรอง และปริมาณการผลิตลดลง ไม่เพียงพอต่อความต้องการ จำเป็นต้องมีการนำเข้าก๊าซธรรมชาติจากประเทศเพื่อนบ้านและนำเข้าก๊าซธรรมชาติเหลว (LNG) จากแหล่งต่างๆ ทั่วโลก ทั้งนี้ ราคาก๊าซธรรมชาติในอ่าวไทยที่ใช้เป็นเชื้อเพลิงในการผลิตไฟฟ้าและวัตถุดิบของอุตสาหกรรมปิโตรเคมีใช้ต้นทุนราคาเนื้อก๊าซเดียวกัน สำหรับในส่วนที่ต้องจัดหาเชื้อเพลิงเพิ่มเติมเพื่อใช้ผลิตไฟฟ้า หรือวัตถุดิบเพิ่มเติมในแต่ละผลิตภัณฑ์จะเป็นไปตามปัจจัยสถานการณ์ตลาดพลังงานโลก และตลาดของผลิตภัณฑ์นั้นๆ

‘จุรินทร์’ แจ้งข่าวดีชาวนา เตรียมรับเงินประกันรายได้ข้าว งวด 29 พร้อมโอนเข้ากระเป๋า 3 พ.ค.นี้ เพื่อชดเชยราคาข้าวเปลือกหอมมะลิ

(30 เม.ย. 66) นายจุรินทร์ ลักษณวิศิษฏ์ รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์ เปิดเผยว่า ได้รับรายงานจากนายวัฒนศักย์ เสือเอี่ยม อธิบดีกรมการค้าภายใน ในฐานะประธานคณะอนุกรรมการกำกับดูแลและกำหนดเกณฑ์กลาง อ้างอิงโครงการประกันรายได้เกษตรกรผู้ปลูกข้าว ระบุว่า สำหรับการจ่ายเงินส่วนต่างตามนโยบายประกันรายได้เกษตรกรปี 4 นั้น ราคาเกณฑ์กลางอ้างอิงตามโครงการประกันรายได้เกษตรกรผู้ปลูกข้าว ปี 2565/66 งวดที่ 29 สำหรับเกษตรกรที่เก็บเกี่ยวระหว่างวันที่ 22-28 เมษายน 66 ดังนี้

1) ข้าวเปลือกหอมมะลิ สิ้นสุดฤดูเก็บเกี่ยว

2) ข้าวเปลือกหอมมะลินอกพื้นที่ เกณฑ์กลางตันละ 13, 622.75 บาท ชดเชยตันละ 377.25 บาท

3) ข้าวเปลือกหอมปทุมธานี เกณฑ์กลางตันละ 11,132.26 บาท ไม่ต้องชดเชยเนื่องจากราคาเกณฑ์กลางสูงกว่าเป้าหมาย

‘พงษ์ภาณุ’ ชี้สงครามการค้า ‘สหรัฐฯ - จีน’ พาอุตฯ หลัก แห่ย้ายฐานการผลิต ชี้!! ‘อินโดฯ - เวียดนาม’ ที่มั่นใหม่ แนะ!! ‘ไทย’ เร่งคว้าโอกาสก่อนตกขบวน

สงครามการค้า 'จีน-สหรัฐฯ' ระเบียบโลกสั่นคลอน โลกาภิวัฒน์ถดถอย อินโดนีเซียและเวียดนามได้ประโยชน์เต็มๆ จากนโยบายต่างประเทศที่ชาญฉลาด แล้วไทยจะยืนอยู่ตรงไหน???

(30 เม.ย.66) นายพงษ์ภาณุ เศวตรุนทร์ ผู้เชี่ยวชาญด้านเศรษฐศาสตร์ ที่มหาวิทยาลัยเศรษฐศาสตร์ฮิโรชิมะ ประเทศญี่ปุ่น อดีตปลัดกระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา และอดีตรองปลัดกระทรวงการคลัง ได้ให้มุมมองต่อเศรษฐกิจของโลกและภูมิภาคอาเซียน ผ่านรายการ ‘NAVY TIME เรื่องดี ๆ ประเทศไทยยามเช้า’ ออกอากาศช่วงเช้า เวลา 07.00- 08.00 น. ทางสถานีวิทยุเสียงจากทหารเรือวังนันทอุทยาน (ส.ทร.วังนันทอุทยาน) FM93 เมื่อวันที่ 30 เม.ย. 66 โดยระบุว่า...

จากสงครามการค้าที่เกิดขึ้นระหว่างมหาอำนาจทางเศรษฐกิจของโลก สหรัฐอเมริกา และจีน ซึ่งสหรัฐฯ มองว่า จีน จะก้าวขึ้นมาเป็นคู่แข่งสำคัญทั้งในด้านเทคโนโลยีและการทหาร เพราะฉะนั้น ทางสหรัฐฯ จึงได้แบนสินค้าจากจีน ด้วยการอ้างเหตุผลสารพัด ตั้งแต่สมัยประธานาธิบดี โดนัลด์ ทรัมป์ จนถึงปัจจุบัน แม้จะเปลี่ยนผู้นำคนใหม่แล้ว สถานการณ์ก็ยังคงเหมือนเดิม 

ทั้งนี้ จะเห็นได้ว่า ไม่เพียงแต่การแบนสินค้าจากจีนเท่านั้น แต่ในช่วงที่ผ่านมา แบรนด์สินค้าจากฝั่งสหรัฐฯ ที่เคยมีฐานการผลิตใหญ่อยู่ในประเทศจีน ไม่ว่าจะเป็น แอปเปิล ไนกี้ และอีกหลายแบรนด์ ก็ได้เริ่มทยอยย้ายฐานการผลิตไปยังประเทศอื่น ๆ โดยเฉพาะในกลุ่มประเทศอาเซียน เพราะมองว่า ฐานการผลิตในจีนเริ่มไม่มีความมั่นคง ไม่มีความปลอดภัย เนื่องจากเป็นประเทศที่มีระบบการปกครองที่เป็นเผด็จการ ธุรกิจในประเทศถูกควบคุมโดยรัฐบาลกลาง มีความสุ่มเสี่ยงมากขึ้น

แน่นอนว่า หากแบรน์ใหญ่ ๆ เหล่านี้ เลือกฐานการผลิตประเทศใด ย่อมสร้างรายได้ และสร้างงานให้กับประเทศนั้น ๆ ได้อย่างมหาศาล ซึ่งจะเห็นได้ว่า หลาย ๆ ประเทศในอาเซียนต่างพยายามนำเสนอจุดแข็งของประเทศเพื่อดึงดูเม็ดเงินการลงทุนจากแบรนด์สินค้าเหล่านั้น

นายพงษ์ภาณุ ระบุว่า จากสถานการณ์ที่เกิดขึ้นในขณะนี้ มองว่ามีอยู่ 2 ประเทศในกลุ่มอาเซียนที่จะได้รับผลประโยชน์อย่างสูงมากกว่าชาติอื่น ๆ นั่นก็คือ อินโดนีเซีย และเวียดนาม 

เหตุที่มองเช่นนั้น เพราะว่า ประธานาธิบดี โจโค วิโดโด หรือ โจโควี ของอินโดนีเซีย ที่เป็นผู้นำประเทศมา 10 ปี และกำลังจะครบเทอมในปีหน้า เป็นคนที่วางตำแหน่งประเทศอินโดนีเซียได้ยอดเยี่ยมมาก...

ข้อแรก วางตัวเป็นกลางไม่ฝักใฝ่ฝ่ายใด เปิดเสรีการลงทุนในโครงสร้างพื้นฐานเต็มที่

ข้อสอง เป็นประเทศที่มีนโยบายการต่างประเทศที่เป็นอิสระ ที่สำคัญตัวผู้นำประเทศยังสามารถคุยได้กับทุกฝ่าย นับเป็นผู้นำประเทศเพียงไม่กี่คนที่ได้พบปะพูดคุยกับผู้นำถึง 4 ประเทศ ประกอบด้วย โจ ไบเดน, สีจิ้นผิง, วลาดีมีร์ ปูติน และ โวโลดิมีร์ เซเลนสกี ในปีที่ผ่านมา น่าจะเป็นคนเดียวที่มีโอกาสพบผู้นำ 4 คนภายในปีเดียว สะท้อนให้เห็นว่า ผู้นำประเทศอินโดนีเซียคนนี้ ได้รับการยอมรับมากเพียงใด

‘บิ๊กตู่’ มั่นใจ!! ภาพรวมเศรษฐกิจไทยฟื้นตัวดีขึ้น เผย ยอดจดทะเบียนธุรกิจใหม่พุ่ง สูงสุดในรอบ 10 ปี

นายกฯ เชื่อมั่นเศรษฐกิจภาพรวมไทยดีขึ้น ยอดจดทะเบียนธุรกิจใหม่เดือนมีนาคม 2566 กว่า 9 พันราย สูงสุดในรอบ 10 ปีที่ผ่านมา คาดการณ์ว่าปี 2566 จะมียอดจดประมาณถึง 72,000 – 77,000 ราย

(29 เม.ย. 66) นายอนุชา บูรพชัยศรี รองเลขาธิการนายกรัฐมนตรีฝ่ายการเมือง ปฏิบัติหน้าที่โฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี เปิดเผยว่า เศรษฐกิจไทยในภาพรวม และสถานการณ์การท่องเที่ยว ฟื้นตัวดีขึ้นช่วยให้มีการจดทะเบียนธุรกิจใหม่ในเดือนมีนาคม 2566 ถึงกว่า 9 พันราย เพิ่มขึ้นจากช่วงเดียวกันของปีก่อนหน้า (มีนาคม 2565) ถึงร้อยละ 28 ซึ่ง พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม เชื่อมั่นเศรษฐกิจประเทศมีศักยภาพ สถานการณ์การเงินการคลังของประเทศอยู่ในเกณฑ์ดี ต่างประเทศยอมรับในเศรษฐกิจของประเทศ และมีความเชื่อมั่นในเสถียรภาพการเงิน

โฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี กล่าวว่า กระทรวงพาณิชย์ เปิดเผยภาพรวมการจดทะเบียนจัดตั้งธุรกิจเดือนมีนาคม 2566 มีการจดทะเบียนจัดตั้งธุรกิจใหม่จำนวน 9,179 ราย เพิ่มขึ้นจากเดือนกุมภาพันธ์ 2566 เกือบร้อยละ 8 ในขณะที่หากเทียบกับช่วงเวลาเดียวกันของปีที่ผ่านมา (มีนาคม 2565) เพิ่มขึ้นคิดเป็นร้อยละ 28 โดย 3 ประเภทธุรกิจจัดตั้งใหม่สูงสุด ได้แก่ ธุรกิจอสังหาริมทรัพย์ 752 ราย ธุรกิจก่อสร้างอาคารทั่วไป 699 ราย และธุรกิจภัตตาคาร/ร้านอาหาร 440 ราย ตามลําดับ ซึ่งเป็นตัวเลขทุนจดทะเบียนรวม 299,608.53 ล้านบาท ทำให้จำนวนรวมในไตรมาสแรก (มกราคม – มีนาคม) ของปี 2566 มียอดการจดทะเบียนจัดตั้งธุรกิจใหม่จำนวน 26,182 ราย

โฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี กล่าวว่า จากสถิติเดือนมีนาคม 2557 – ปี 2566 ทำให้ยอดการจัดตั้งธุรกิจในเดือนมีนาคม 2566 เป็นยอดสูงสุดในรอบ 10 ปีเช่นเดียวกับเดือนมกราคม 2566 และกุมภาพันธ์ 2566 ที่ผ่านมา สะท้อนให้เห็นว่า เศรษฐกิจในประเทศมีการฟื้นตัวอย่างต่อเนื่อง จากสถิติการจดทะเบียนรายเดือนและรายไตรมาสที่เพิ่มขึ้น โดยกรมพัฒนาธุรกิจการค้ายังได้คาดการณ์ว่า การจดทะเบียนจัดตั้งธุรกิจใหม่ในช่วงครึ่งปีแรกของปี 2566 จะอยู่ที่ประมาณ 40,000 – 42,000 ราย และตลอดทั้งปี 2566 อยู่ที่ประมาณ 72,000 – 77,000 ราย

“นายกรัฐมนตรีเชื่อมั่นในศักยภาพของเศรษฐกิจไทย จากสัญญาณการฟื้นตัวทางเศรษฐกิจที่แข็งแกร่ง โดยเฉพาะในภาคบริการที่มีสัญญาณจากการจัดตั้งบริษัทใหม่จำนวนมาก ซึ่งเงินหมุนเวียนที่เกิดจากการจับจ่ายใช้สอย กิจกรรมทางเศรษฐกิจที่มากขึ้น ส่งผลถึงความเชื่อมั่นของผู้บริโภค และความเชื่อมั่นทางธุรกิจปรับที่ตัวเพิ่มขึ้น จะเป็นอีกแรงบวกที่ส่งผลต่อความเชื่อมั่นในการดำเนินธุรกิจในทุกระดับและจะส่งผลถึงในการพัฒนาเศรษฐกิจภาพรวม” นายอนุชากล่าว

บิ๊กตู่’ โชว์ผลงาน ‘การท่องเที่ยว-การเกษตร’ ฟื้นตัว ส่งผลเศรษฐกิจไทยโตต่อเนื่อง - ความเชื่อมั่นพุ่งสูง

(28 เม.ย.66) พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม กล่าวว่า ตนมุ่งมั่นพลิกฟื้นเศรษฐกิจไทยจากวิกฤติการณ์แพร่ระบาดของเชื้อไวรัสโควด-19 และผลกระทบจากสงครามในทวีปยุโรป ทำให้เศรษฐกิจไทยกลับมาเติบโตอย่างต่อเนื่อง 

ล่าสุด รายงานสำนักงานเศรษฐกิจการคลัง กระทรวงการคลัง รายงานภาวะเศรษฐกิจการคลังประจำเดือน มี.ค.2566 เศรษฐกิจได้รับปัจจัยสนับสนุนจากการท่องเที่ยวและภาคการเกษตรที่ขยายตัวได้ดี อัตราเงินเฟ้อที่ลดลงต่อเนื่อง จากเครื่องชี้เศรษฐกิจด้านการบริโภคภาคเอกชนทรงตัวจากเดือนก่อนหน้า โดยการบริโภคในหมวดสินค้าคงทน สะท้อนจากปริมาณรถจักรยานยนต์จดทะเบียนใหม่ เพิ่มขึ้นจากช่วงเดียวกันปีก่อน 20.1% การจัดเก็บภาษีมูลค่าเพิ่ม ณ ระดับราคาคงที่ ลดลงจากเล็กน้อยช่วงเดียวกันปีก่อนที่ -0.9% ขณะที่ดัชนีความเชื่อมั่นของผู้บริโภค ปรับตัวเพิ่มขึ้นมาอยู่ที่ระดับ 53.8 จากระดับ 52.6 ในเดือนก่อน ซึ่งเป็นการปรับตัวเพิ่มขึ้นต่อเนื่องเป็นเดือนที่ 10 และสูงสุดในรอบ 37 เดือน สะท้อนความเชื่อมั่นของผู้บริโภคต่อภาวะเศรษฐกิจที่ปรับตัวดีขึ้น เนื่องจากการท่องเที่ยวฟื้นตัวชัดเจนมากขึ้น รวมถึงความกังวลจากอัตราเงินเฟ้อมีแนวโน้มลดลงต่อเนื่อง

พลเอกประยุทธ์ กล่าวว่า โดยเฉพาะในช่วงเดือน มี.ค. 2566 มีนักท่องเที่ยวชาวต่างชาติที่เดินทางเข้าประเทศไทยรวมจำนวน 2.22 ล้านคน คิดเป็นอัตราการขยายตัวจากช่วงเดียวกันปีก่อนที่ 953.0% ขณะที่ดัชนีเชื่อมั่นอนาคตเศรษฐกิจภูมิภาคประจำเดือนเมษายน 2566 พบว่า ดัชนีความเชื่อมั่นใน 6 เดือนข้างหน้า ปรับตัวดีขึ้นในทุกภูมิภาค โดยดัชนีความเชื่อมั่นอนาคตเศรษฐกิจภาคใต้อยู่ที่ระดับ 83.5 ภาคตะวันออกอยู่ที่ระดับ 82.3 ภาคตะวันออกเฉียงเหนืออยู่ที่ระดับ 77.4 ภาคตะวันตกอยู่ที่ระดับ 76.8 ภาคกลางอยู่ที่ระดับ 71.9 กทม. และปริมณฑลอยู่ที่ระดับ 60.9 

ประชาธิปัตย์ปลื้มนโยบายประกันรายได้โดนใจชาวนา

'อลงกรณ์' ขอบคุณผู้นำสมาคมชาวนาและเกษตรกรไทยเชียร์ชาวนา 4.6 ล้านครัวเรือนกาเบอร์ 26 พรรคประชาธิปัตย์ เผยทีมเศรษฐกิจปชป.เตรียมเปิดตัวนโยบายเกษตรทันสมัย 26-26 แก้หนี้ แก้จนแบบเต็มคาราเบล  27 เม.ย.นี้

นายอลงกรณ์ พลบุตร รองหัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์ประธานคณะกรรมการขับเคลื่อนยุทธศาสตร์และที่ปรึกษารัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์กล่าววันนี้(26 เม.ย)ว่า ขอขอบคุณ นายเดชา นุตาลัย อุปนายกสมาคมชาวนาและเกษตรกรไทยที่ออกมาประกาศสนับสนุนพรรคประชาธิปัตย์โดยขอให้ชาวนา 4.6 ล้านครัวเรือน กาเบอร์ 26 พรรคประชาธิปัตย์ เพราะชาวนาได้รับการดูแลช่วยเหลือและได้ประโยชน์จากผลงานและนโยบายประกันรายได้ของพรรคประชาธิปัตย์

‘บุญรอดฯ’ ซุ่มจับมือกับโรงกลั่นระดับโลก คลอด ‘ซิลเวอร์ไนท์’ สกอตช์วิสกี้ 8 ปี ระดับพรีเมี่ยม ในราคาเริ่มต้นเพียง 549 บาท

ตลาดน้ำเมา 5 แสนล้านคึกคัก ‘บุญรอดฯ’ ซุ่มจับมือโรงกลั่นดังสกอตแลนด์ ส่ง ‘ซิลเวอร์ไนท์’ สกอตช์วิสกี้ 8 ปี ราคาแค่พันเดียว เอาใจคอทองแดงไทย

ปฏิเสธไม่ได้ว่าตลาดเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ไทยซึ่งมีมูลค่าตลาดราว 5 แสนล้านบาท แบ่งออกเป็น ตลาดเบียร์ 2.6  แสนล้านบาท ตลาดสุรา 1.8 แสนล้านบาท และที่เหลือเป็น เครื่องดื่มแอลกอฮอล์ อื่นๆ อาทิ ไวน์ อาร์ทีดี ฯลฯ ต่างได้รับผลกระทบอย่างหนักจากมาตรการเฝ้าระวังในช่วง 2-3 ปีที่ผ่านมาซึ่งมีการระบาดของโควิด-19 ก่อนที่เริ่มส่งสัญญาณฟื้นตัวในปลายปีที่ผ่านมา หลังผ่อนคลายมาตรการและเปิดประเทศ

ข้อมูลจาก ‘วิจัยกรุงศรี’ ยังระบุว่า ตลาดเบียร์ บริษัท บุญรอดบริวเวอรี่ จำกัด มีส่วนแบ่งตลาดมากที่สุดคือ 57.9% รองลงมาได้แก่ บริษัท ไทยเบฟเวอเรจ จำกัด (มหาชน) 34.3% บริษัท ไทย เอเชีย แปซิฟิค บริวเวอรี่ จำกัด 4.7% ส่วนที่เหลือ 3.1% หากแบ่งเป็นแบรนด์ จะพบว่า “ลีโอ” มีส่วนแบ่งตลาดสูงสุด 44.8% รองลงมาคือ “ช้าง” 31.2%  สิงห์ 11.2%  ไฮเนเก้น 3.8% และ อาชา 2.4%

ส่วนตลาดเหล้าหรือสุรา บริษัท ไทยเบฟเวอเรจ จำกัด (มหาชน) มีส่วนแบ่งตลาดสูงสุด คือ 59.5% รองลงมาได้แก่ บริษัท ดิอาจิโอ โมเอ็ท เฮนเนสซี่ (ประเทศไทย) จำกัด 8% บริษัท รีเจนซี่ บรั่นดีไทย จำกัด 4.4% และอื่นๆ 28.1%

ความคึกคักของตลาดเริ่มระอุอย่างเห็นได้ชัด เมื่อเจ้าพ่อบาวแดง (คาราบาวแดง) ‘เสถียร เสถียรธรรมะ’ ประกาศทุ่ม 4,000 ล้านบาท เตรียมทำคลอดเบียร์น้องใหม่ออกบุกตลาดในปลายปีนี้ หลังจากปูพรมสร้างช่องทางจำหน่ายทั้งร้านค้าปลีกไซส์ใหญ่ อย่าง ซีเจ มอร์, ซีเจ ซูเปอร์มาร์เก็ต รวมไปถึง ร้านถูกดีมีมาตรฐาน อยู่ทั่วหัวระแหง

ขณะที่ก่อนหน้านี้เหล้านอกแบรนด์ดังอย่าง “ชีวาส” ก็ขยับตัว ด้วยการเปิดตัว ‘ลิซ่า BLACKPINKง เป็นแบรนด์แอมบาสเดอร์หญิงคนแรก ซึ่งแน่นอนว่า นอกจากเป้าหมายในการขยายฐานผู้ดื่มมายังคนรุ่นใหม่แล้ว ยังเล็งเห็นว่าตลาดเอเชียยังคงเป็นตลาดสำคัญของสกอตซ์วิสกี้ ด้วย 

ล่าสุดเป็นทีของตลาดเหล้า เมื่อ ‘บุญรอดบริวเวอรี่’ เบอร์ 1 ในตลาดเบียร์ ขอชิมลางตลาดเหล้านอก ด้วยการแจ้งเกิด ‘ซิลเวอร์ไนท์’ (Silver Knight) สกอตช์วิสกี้ 8 ปี ระดับพรีเมี่ยม ที่ซุ่มจับมือกับโรงกลั่นระดับโลก ผลิตจนได้รสชาติถูกปาก ออกมาทำตลาดในสนนราคาที่เชื่อว่าจะโดนใจคอทองแดงไทยแน่นอน

‘เต้ - ภูริต ภิรมย์ภักดี’ กรรมการผู้จัดการใหญ่ บริษัท บุญรอดบริวเวอรี่ จำกัด และประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท บุญรอดเทรดดิ้ง จำกัด กล่าวว่า บุญรอดฯ ได้ศึกษาตลาด พร้อมสำรวจแหล่งผลิตสกอตช์วิสกี้ที่ดีที่สุดระดับโลก จนได้ทำงานร่วมกับโรงกลั่นมาตรฐานระดับโลกจากประเทศสกอตแลนด์ที่มีประสบการณ์กว่า 136 ปี ในการร่วมพัฒนาผลิตภัณฑ์จนได้สกอตช์วิสกี้ที่ลงตัวอย่าง Silver Knight ที่มีคุณภาพ เป็นสิ่งที่ผู้บริโภคให้ความสำคัญอย่างมากในการเลือกซื้อสกอตช์วิสกี้

“Silver Knight เป็นสกอตช์วิชกี้ 8 ปีจากดินแดนต้นกำเนิดที่เราภูมิใจเสนอต่อตลาดวิสกี้ในเมืองไทย เพื่อให้คนไทยได้สกอตช์วิสกี้ที่ดีที่สุด เป็นเอกลักษณ์และราคาจับต้องได้”

ขณะที่ ‘ธิติพร ธรรมาภิมุขกุล’  Chief Marketing Officer บริษัท บุญรอดเทรดดิ้ง จำกัด กล่าวย้ำว่า จุดเด่นของซิลเวอร์ไนท์ คือ เป็นสกอตวิสกี้แท้ ใช้กรรมวิธีการผลิตแบบดั้งเดิม ตั้งแต่กระบวนการคัดสรรวัตถุดิบ ผลิตโดยโรงกลั่นตามมาตรฐานของ Scotch Whisky Association ที่ปลูกในประเทศอังกฤษและสกอตแลนด์เท่านั้น


โดยได้การรับรองมาตรฐานสากลจาก Scotch Whisky Association โดยมี Blend Master ผู้เชี่ยวชาญการกลั่นวิสกี้ระดับโลก คัดเลือกวิสกี้จากพื้นที่โลว์แลนด์ ไฮแลนด์ และสเปย์ไซด์ของสกอตแลนด์
 

สรุปสถานการณ์ตลาดน้ำมันสัปดาห์ที่ 17-21 เม.ย.66 จับตาปัจจัย ‘บวก-ลบ’ พร้อมแนวโน้ม 24-28 เม.ย.66

ราคาน้ำมันดิบเฉลี่ยสัปดาห์ที่ผ่านมาลดลงกว่า 2 เหรียญสหรัฐฯ ต่อบาร์เรล สู่ระดับต่ำสุดในรอบ 3 สัปดาห์ ทั้งนี้ นับตั้งแต่ประเทศสมาชิกกลุ่ม OPEC และพันธมิตร (OPEC+) ประกาศอาสาลดปริมาณการผลิตน้ำมันดิบรวมกัน 1.66 ล้านบาร์เรลต่อวัน ในเดือน พ.ค. - ธ.ค. 66 ทำให้ราคาน้ำมันดิบ ICE Brent เคลื่อนไหวในช่วงประมาณ 80 - 88 เหรียญสหรัฐฯ ต่อบาร์เรล ตั้งแต่วันที่ 3 เม.ย. 66 เป็นต้นมา อย่างไรก็ตาม วันที่ 19 เม.ย. 66 ราคาเริ่มปรับตัวลดลง เนื่องจากตลาดกังวลว่าธนาคารกลางสหรัฐฯ (Federal Reserve: Fed) จะปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยนโยบายต่อเนื่อง และจะส่งผลให้เกิดภาวะเศรษฐกิจชะลอตัว

สัปดาห์นี้ คาดการณ์ราคา ICE Brent จะเคลื่อนไหวในกรอบ 80 - 88 เหรียญสหรัฐฯ ต่อบาร์เรล โดยได้รับแรงกดดันในช่วงสัปดาห์สุดท้ายก่อน Fed ขึ้นอัตราดอกเบี้ยนโยบายในการประชุมคณะกรรมการนโยบายการเงินของสหรัฐฯ (Federal Open Market Committee: FOMC) วันที่ 2 - 3 พ.ค. 66 นอกจากนี้ ตลาดเริ่มคลายความตระหนกจากการตัดสินใจลดการผลิตของ OPEC+ รวมทั้งอุปทานจากรัสเซียและสหรัฐฯ ที่เข้ามาในตลาดอย่างต่อเนื่อง

>> ปัจจัยที่กระทบต่อราคาน้ำมันดิบในเชิงลบ
- นักวิเคราะห์ 90% คาดการณ์ Fed จะปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยนโยบายอีก 0.25% มาอยู่ที่ 5.0-5.25% ในการประชุมนโยบายการเงิน (FOMC) วันที่ 2-3 พ.ค. 66 และนักวิเคราะห์ 59% คาดว่าหลังจากนั้นจะคงอัตราดอกเบี้ยที่ระดับใหม่ไปจนถึงสิ้นปี 66 และอัตราดอกเบี้ยที่เพิ่มขึ้นจะทำให้อัตราว่างงานเพิ่มขึ้นจากปัจจุบันที่ 3.5% ไปอยู่ที่ 4.3% ในช่วงปลายปี 66 

- EIA รายงานปริมาณการส่งออกน้ำมันดิบของสหรัฐฯ ในเดือน มี.ค. 66 เพิ่มขึ้น 0.56 ล้านบาร์เรลต่อวัน จากเดือนก่อนหน้า อยู่ที่ 4.63 ล้านบาร์เรลต่อวัน (+1.58 ล้านบาร์เรลต่อวัน จากปีก่อนหน้า) ส่วนใหญ่ส่งออกไปยังจีน (0.64 ล้านบาร์เรลต่อวัน) เนเธอร์แลนด์ (0.52 ล้านบาร์เรลต่อวัน) และสหราชอาณาจักร (0.44 ล้านบาร์เรลต่อวัน) 

'อลงกรณ์' มั่นใจเกษตรกร 9 ล้านครัวเรือน สนับสนุน 'พรรคประชาธิปัตย์' ด้วยผลงานที่พิสูจน์แล้ว 4 ปีสร้างเงินกว่า 5 ล้านล้านบาทให้ประเทศและเกษตรกร

ชี้ไตรมาสแรกปีนี้จีดีพี.เกษตรโต5.5%สร้างเงินเกือบ2แสนล้านบาทเพราะราคาพืชผลเกษตรส่วนใหญ่อยู่ในเกณฑ์ดี

นายอลงกรณ์ พลบุตร รองหัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์และประธานคณะกรรมการขับเคลื่อนยุทธศาสตร์พรรคในฐานะทีมเศรษฐกิจพรรคประชาธิปัตย์กล่าววันนี้ (25 เม.ย.) แสดงความเชื่อมั่นว่า เกษตรกรส่วนใหญ่ 9 ล้านครัวเรือนทั้งประเทศจะให้การสนับสนุนพรรคประชาธิปัตย์ในฐานะพรรคขวัญใจเกษตรกรด้วยผลงานทำได้ไว ทำได้จริงที่พิสูจน์แล้ว4ปีที่ผ่านมาที่พรรคประชาธิปัตย์ดูแลกระทรวงพาณิชย์และกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ภายใต้ยุทธศาสตร์” ตลาดนำการผลิต เกษตรผลิต พาณิชย์ตลาด” สามารถสร้างเงินสร้างรายได้ให้ประเทศและเกษตรกรจากการส่งออกสินค้าเกษตรและผลิตภัณฑ์ กว่า 5  ล้านล้านบาท เฉลี่ยปีละ 1.39 ล้านล้านบาท ทำให้ได้เปรียบดุลการค้าภาคส่งออกนำเข้าสินค้าเกษตรและผลิตภัณฑ์ 8.6 แสนล้านต่อปี แม้ต้องเผชิญกับวิกฤติโควิดและสงครามรัสเซีย-ยูเครน

‘บิ๊กตู่’ เผย!! จุดพลิกฟื้นความสัมพันธ์ ‘ไทย-ซาอุฯ’ สำเร็จในรอบ 32 ปี คุยกันแบบตรงไปตรงมาครั้งแรกกับ MBS ตั้งแต่ปี 62 ในงาน G20

(24 เม.ย. 66) พลเอกประยุทธ์ จันทร์โอชา ในฐานะของแคนดิเดตนายกรัฐมนตรีของพรรครวมไทยสร้างชาติ (รทสช.) ได้ให้สัมภาษณ์ ‘สุทธิชัย หยุ่น’ ในรายการข่าวเจาะย่อโลก ทางช่องไทยพีบีเอส โดยช่วงหนึ่ง ‘บิ๊กตู่’ ได้พูดถึงประสบการณ์ที่ได้มีโอกาสพบกับเจ้าชายมุฮัมมัด บิน ซัลมาน บิน อับดุลอะซีซ อาล ซะอูด (MBS) มกุฎราชกุมาร และนายกรัฐมนตรีแห่งราชอาณาจักรซาอุดีอาระเบีย เป็นครั้งแรกเมื่อปี 2562 ในการประชุม G20 ที่นครโอซาก้า ประเทศญี่ปุ่น ซึ่งวันนั้นทั้งสองได้มีโอกาสพูดคุยกันถึงเรื่องความสัมพันธ์ระหว่างประเทศของไทยและซาอุดีอาระเบีย จนนำมาสู่การตัดสินใจครั้งสำคัญด้านความสัมพันธ์ของสองประเทศจวบจนปัจจุบันนี้

พล.อ.ประยุทธ์ ได้เล่าว่า “ตอนนั้นเราต่างคนต่างมอง ผมก็สงสัยว่าท่านเป็นใคร ท่านก็สงสัยว่าผมเป็นใคร จนกระทั่งได้มีการพูดคุยกันแนะนำตัวกันว่าผมมาจากประเทศไทย ส่วนท่านก็มาจากซาอุดีอาระเบีย ซึ่งเรื่องนี้ก็ต้องขอบคุณทาง ‘บาห์เรน’ ที่ก่อนหน้านี้พยายามเชื่อมสัมพันธ์ให้เรากับซาอุฯ กลับมาคบกันให้ได้ด้วย”

แน่นอนว่า บทสนทนาในวันนั้น เป็นบทสนทนาของผู้มีอำนาจสูงสุดของแต่ละฝ่าย โดยเฉพาะเจ้าชายซาอุฯ ซึ่งมีอำนาจในการตัดสินใจในประเทศทุกด้านอย่างชัดเจน และด้วยท่าทีที่ตรงไปตรงมาของทั้งคู่ การพูดคุยในวันนั้นจึงเป็นจุดเริ่มต้นที่ก่อให้เกิดการสานสัมพันธ์ระหว่างประเทศของไทยและซาอุดีอาระเบียขึ้นอีกครั้งในรอบ 32 ปี

“ท่านคุยกับผมวันนั้นเลยว่า เรากลับมาสานสัมพันธ์ระหว่างประเทศกันอีกครั้งดีกว่า เรื่องเก่า ๆ เลิกหมด อะไรต้องแก้ไขก็แก้กันไปให้ได้ เพื่อให้ทุกอย่างเดินหน้าต่อไป จนทุกวันนี้เกิดการลงทุนจากทางซาอุฯ หลายแสนล้าน โดยเฉพาะเรื่องพลังงานทดแทน พลังหมุนเวียนต่าง ๆ สร้างเม็ดเงินให้กับประเทศชาติได้อย่างมหาศาล” พลเอกประยุทธ์ กล่าวทิ้งท้าย


TRENDING
© Copyright 2021, All rights reserved. THE STATES TIMES
Take Me Top