Saturday, 27 April 2024
COLUMNIST

ทำความเข้าใจ 'ต่างด้าวซื้อที่ดิน' ขายชาติจริงหรือ…?

เป็นเรื่องที่ต้องทำความเข้าใจกรณีที่รัฐบาลกำลังดำเนินการแก้ไขกฎกระทรวงที่อนุญาตให้คนต่างด้าวซื้อที่ดินเป็นกรรมสิทธิ์ได้ ภายใต้เงื่อนไขและข้อจำกัดมากมาย แต่มีคนบางกลุ่มออกมาต่อว่า วิจารณ์รัฐบาลว่าเป็นการขายชาติ

เรื่องนี้มีบัญญัติไว้ในประมวลกฎหมายที่ดินซึ่งประกาศใช้มาตั้งแต่ปี พ.ศ. ๒๔๙๗ โดยบัญญัติไว้ในมาตรา ๘๖ ว่า คนต่างด้าวจะได้มาซึ่งที่ดินก็โดย อาศัยบทสนธิสัญญาซึ่งบัญญัติให้มีกรรมสิทธิ์ใน อสังหาริมทรัพย์ได้และอยู่ในบังคับบทบัญญัติแห่งประมวลกฎหมายนี้ด้วย

ตามบทบัญญัติดังกล่าวการให้คนต่างด้าวมีกรรมสิทธิ์ในที่ดินให้เป็นตามสนธิสัญญา คือพลเมืองของประเทศที่มีสนธิสัญญาต่อกันให้พลเมืองถือกรรมสิทธิ์ในที่ดินในประเทศที่มีสนธิสัญญาต่อกันได้

ต่อมาในปี พ.ศ. ๒๕๔๒ ได้มีการแก้ไขประมวลกฎหมายที่ดินเรื่องให้คนต่างด้วยถือกรรมสิทธิ์ในที่ดิน โดยมีการบัญญัติเพิ่มไว้ในมาตรา ๙๖ ทวิ โดยมาตรา ๙๖ ทวิ บัญญัติว่า บทบัญญัติว่าด้วยคนต่างด้าว จะได้มาซึ่งที่ดินโดยอาศัยบทสนธิสัญญาตามมาตรา ๘๖ วรรคหนึ่ง มิให้ใช้บังคับกับคนต่างด้าวซึ่งได้นําเงินมาลงทุนตามจํานวนที่กําหนดในกฎกระทรวงซึ่งต้องไม่ตํ่ากว่าสี่สิบล้านบาท โดยให้ได้มาซึ่งที่ดินเพื่อใช้เป็นที่อยู่อาศัยได้ไม่เกินหนึ่งไร่และต้องได้รับอนุญาตจากรัฐมนตรี

การได้มาซึ่งที่ดินของคนต่างด้าวตามวรรคหนึ่งให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขที่กําหนดในกฎกระทรวง โดยในกฎกระทรวงอย่างน้อย ต้องมีสาระสําคัญ ดังต่อไปนี้...

.....(๑) ประเภทของธุรกิจที่คนต่างด้าวลงทุน ซึ่งต้องเป็นประโยชน์ต่อเศรษฐกิจ และสังคมของประเทศ หรือเป็นกิจการที่คณะกรรมการส่งเสริมการลงทุนได้ประกาศให้เป็นกิจการที่สามารถขอรับการส่งเสริมการลงทุนตามกฎหมายว่าด้วยการส่งเสริมการลงทุนได้
.....(๒) ระยะเวลาการดํารงการลงทุนต้องไม่น้อยกว่าสามปี
.....(๓) บริเวณที่ดินที่อนุญาตให้คนต่างด้าวได้มา ต้องอยู่ภายในเขตกรุงเทพมหานคร เขตเมืองพัทยา เขตเทศบาล หรืออยู่ภายในบริเวณที่กําหนดเป็นเขตที่อยู่อาศัยตามกฎหมายว่าด้วยการผังเมือง

.....ในปี พ.ศ. ๒๕๔๕ รัฐบาลที่มีนายทักษิณ ชินวัตร เป็นนายกรัฐมนตรี ได้ออกกฎกระทรวง เรื่องหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไข การได้มาของคนต่างด้าวตามที่บัญญัติไว้ในมาตรา ๙๖ ทวิ และยังคงใช้บังคับอยู่ในปัจจุบันซึ่งคนต่างด้าวก็สามารถถือกรรมสิทธิ์ในที่ดินได้อยู่แล้ว

.....ตามกฎหมายมาตรา ๙๖ ทวิ และกฎกระทรวงที่ออกในปี ๒๕๔๕ มีหลักเกณฑ์สำคัญคือคนต่างด้าวต้องนำเงินมาลงทุนไม่น้อยกว่า ๔๐ ล้านบาท ก็อนุญาตให้ซื้อที่ดินเพื่ออยู่อาศัยได้ไม่เกิน ๑ ไร่ และมีเงื่อนไขอื่น ๆ อีก

.....สรุปว่าการให้คนต่างด้าวถือกรรมสิทธิ์ในที่ดินได้มีมาตั้งแต่ปี ๒๔๙๗ ต่อมามีการแก้ไขประมวลกฎหมายที่ดินในปี ๒๕๔๒ และได้ออกกฎกระทรวงเพื่อกำหนดหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขต่าง ๆ ในปี ๒๕๔๕ ปัจจุบันคนต่างด้าวจึงถือกรรมสิทธิ์ในที่ดินหรือซื้อที่ดินเพื่อใช้เป็นที่อยู่อาศัยไม่เกิน ๑ ไร่ ได้อยู่แล้วโดยรัฐบาลปัจจุบันไม่ได้มีส่วนเกี่ยวข้องอะไรเลย

รัฐบาลปัจจุบันเพียงต้องการแก้ไขปรับปรุงกฎกระทรวงปี ๒๕๔๕ เพื่อกำหนดหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขในการที่จะให้คนต่างด้าวมีกรรมสิทธิ์ในที่ดินหรือซื้อที่ดินเพื่ออยู่อาศัยให้เหมาะสมกับสถานการณ์ในปัจจุบันเพื่อประเทศชาติจะได้ประโยชน์ให้มากที่สุดเท่านั้น แต่ก็ต้องให้เป็นไปตามที่มาตรา ๙๖ ทวิ กำหนดไว้จะผิดไปจากนี้ไม่ได้ และยังอยู่ในระหว่างดำเนินการแก้ไข โดยร่างกฎกระทรวงได้ผ่านความเห็นชอบจากคณะรัฐมนตรีแล้ว ส่งให้คณะกรรมการกฤษฎีกาพิจารณา ยังมีการปรับปรุงแก้ไขได้ ยังไม่ได้ประกาศใช้เลย

ถ้ารัฐบาลปัจจุบันเพียงแต่ต้องการจะแก้ไขกฎกระทรวงที่มีอยู่แล้วและต้องเป็นไปตามที่มาตรา ๙๖ ทวิ กำหนดไว้ ถูกประนามว่าเป็นการขายชาติ 

รัฐบาลที่ประกาศใช้ประมวลกฎหมายที่ดินในปี ๒๔๙๗ รัฐบาลที่แก้ไขประมวลกฎหมายที่ดินโดยการเพิ่มมาตรา ๙๖ ทวิ ในปี ๒๕๔๒ และรัฐบาลที่ออกกฎกระทรวงในปี ๒๕๔๕ ไม่ต้องถูกประนามว่าเป็นการขายชาติยิ่งกว่ารัฐบาลปัจจุบันหรือ ?

กลุ่มคนที่ออกมาด่ารัฐบาลว่า การให้คนต่างด้าวซื้อที่ดินเป็นการขายชาติ ควรต้องศึกษาหาความรู้บ้างว่าเรื่องนี้มีความเป็นมาอย่างไร จะได้ไม่สื่อสารออกไปในทางที่ผิด บิดเบือน ใส่ร้ายคนอื่นให้ได้รับความเสียหาย

เปิดตัว 5 ผู้นำใหม่ใน APEC 2022 ครั้งแรกบนเวทีที่ทั่วโลกเฝ้าจับตา

Highlight สำคัญของการประชุม APEC ในปี 2022 ไม่ได้ถูกจำกัดอยู่เพียงแค่การประชุมสุดยอดผู้นำของทั้ง 21 เขตเศรษฐกิจเพียงเท่านั้น แต่ยังรวมถึงการประชุมตลอดทั้งปีของหลากหลายคณะทำงานเพื่อสร้างความร่วมมือทางเศรษฐกิจ อันจะส่งผลดีต่อประชากรมากกว่า 2 พันล้านคน ที่เกิดขึ้นตลอดทั้งปี รวมทั้งการประชุมของภาคเอกชนที่จะเสนอแนะข้อเสนอต่อผู้นำในรูปแบบของ Track 2 และการสร้างความร่วมมือเพื่อเปิดโอกาสทางการค้าและการลงทุนด้วยกันเองระหว่างภาคเอกชน ซึ่งก็เป็นสิ่งที่ทั่วโลกให้ความสนใจไม่แพ้กันด้วย

อย่างไรก็ตาม ยังมีอีกมิติที่ถือเป็นสิ่งที่ทุกฝ่ายจับตามองการประชุม APEC ซึ่งจะเกิดขึ้นในช่วง APEC Week เดือนพฤศจิกายน 2022 ในประเทศไทย นั่นก็คือ ‘การเปิดตัวผู้นำใหม่ของโลกหลายๆ คน ที่จะเดินทางมาประชุมสุดยอดผู้นำ APEC เป็นครั้งแรก’ 

โดยท่าทีของผู้นำใหม่เหล่านี้ในเวทีการประชุมหลัก การประชุมย่อย และการประชุมร่วมกับผู้บริหารระดับสูงภาคเอกชน จะเป็นอีกมิติที่ทั่วโลกจับตา โดยผู้นำใหม่เหล่านี้ได้แก่…

1. Anthony Albanese นายกรัฐมนตรีของประเทศออสเตรเลีย ซึ่งพึ่งจะเข้ารับตำแหน่งเมื่อ 23 พฤษภาคมที่ผ่านมา เขาเป็นนักการเมืองสังกัดพรรคแรงงาน และเคยดำรงตำแหน่งรองนายกรัฐมนตรีในสมัยของ อดีตนายกรัฐมนตรี Kevin Rudd ซึ่งเป็นช่วงเวลาที่ออสเตรเลียนำพาประเทศออกจากความร่วมมือ Quadrilateral Security Dialogue (QSD) หรือ The Quad ซึ่งมีสหรัฐเป็นแกนนำ และเขายังต้องเข้ามาสะสางปัญหาความไม่พอใจของประเทศเพื่อนบ้านอย่าง อินโดนีเซีย ที่ไม่พอใจอย่างยิ่งเมื่อ อดีตนายกรัฐมนตรีของออสเตรเลีย Scott Morrison นำพาประเทศไปสู่การติดอาวุธนิวเคลียร์ภายใต้ความร่วมมือ AUKUS นโยบายต่างประเทศ โดยเฉพาะในมิติเศรษฐกิจ ที่เลี่ยงไม่ได้ที่จะต้องสัมพันธ์กับความมั่นคง จึงเป็นสิ่งที่หลายฝ่ายจับตา


2. Gabriel Boric ประธานาธิบดีของประเทศชิลี ที่เข้ารับตำแหน่งในเดือนมีนาคมที่ผ่านมา โดยเป็นประธานาธิบดีจากกลุ่มแนวคิดซ้ายจัดรายแรกและรายใหม่ของประเทศ ภายหลังจากที่ประเทศชิลีมีอดีตประธานาธิบดี 2 ท่าน คือ Michelle Bachelet (ปนวคิดกลาง-ซ้าย) และ Sebastián Piñera (แนวคิดอนุรักษ์นิยม) ที่หมุนเวียนผลัดกันขึ้นมาผูกขาดตำแหน่งประธานาธิบดีมาตั้งแต่ปี 2006-2022 จนนำไปสู่การประท้วงทางการเมืองที่ใหญ่โตรุนแรงต่อเนื่องตลอดปี 2019-2022 เพื่อขับไล่ ปธน. Sebastián Piñera โดยคาดการณ์ว่าในการประท้วงต่อเนื่องนี้ มีผู้ออกมาร่วมชุมนุมมากกว่า 3.7 ล้านคน มีผู้เสียชีวิต 36 ราย บาดเจ็บเรือนหมื่น และถูกคุมขังกว่า 28,000 คน ชิลี คือตลาดที่มีความน่าสนใจอย่างยิ่ง เพราะเป็นประเทศสมาชิกกลุ่ม OECD ที่มีรายได้เฉลี่ยต่อคนต่อปี แบบปรับค่าเสมอภาคของค่าเงิน (Per Capita GDP (PPP)) ที่สูงที่สุดในภูมิภาคอเมริกาใต้ เป็นหนึ่งในประเทศพัฒนาแล้วที่มีอัตราการเจริญเติบโตสูง 

3. John Lee หัวหน้าคณะผู้บริหารเขตบริหารพิเศษฮ่องกง แห่งสาธารณรัฐประชาชนจีน เขาขึ้นมาดำรงตำแหน่งแทนที่ Carrie Lam เมื่อวันที่ 1 กรกฎาคม 2022 แน่นอนว่า เขาคือผู้นำสูงสุดของฮ่องกงที่ขึ้นดำรงตำแหน่งหลังเหตุการณ์เคลื่อนไหวทางการเมืองที่รุนแรงต่อเนื่อง และเป็นผู้นำคนแรกภายหลังจากที่ฮ่องกงมีการบังคับใช้กฎหมายความมั่นคง รวมทั้งในการเลือกตั้งที่ชนะเลิศและได้รับการดำรงตำแหน่งจากคณะผู้มีสิทธิเลือกตั้งก็ยังมีเครื่องหมายคำถามมากมาย เพราะเขาคือตัวเลือกเพียงตัวเลือกเดียว เนื่องจากผู้สมัครรับเลือกตั้งทั้งหมดต้องผ่านการตรวจสอบประวัติและได้รับการรับรองจากรัฐบาลกลางที่กรุงปักกิ่งว่าเป็นผู้รักชาติ ดังนั้นชะตากรรมของพื้นที่ที่เคยเป็นศูนย์กลางทางการเงินที่ใหญ่ที่สุดในภูมิภาคเอเชียตะวันออกคือสิ่งที่ทุกคนจับตาดูจากการดำเนินนโยบายของเขา

4. Yoon Suk-yeol ประธานาธิบดีแห่งสาธารณรัฐเกาหลี (เกาหลีใต้) ซึ่งพึ่งจะเข้าดำรงตำแหน่งในวันที่ 10 พฤษภาคม 2022 ท่ามกลางเสียงครหาที่ว่า การเลือกตั้งในเดือนมีนาคม 2022 คือการเลือกตั้งเพื่อเลือกตัวแทนที่ย่ำแย่น้อยที่สุด ทั้งนี้เนื่องจากตัวแทนดั้งเดิมที่เป็นที่คาดหมายและวางตัวของแต่ละพรรคการเมืองใหญ่ของเกาหลีในเวลานั้นต่างก็เผชิญหน้ากับวิบากต่างๆ จนไม่สามารถลงสมัครเข้ารับการเลือกตั้งด้วยกันทั้งสิ้น และผลการเลือกตั้งที่ออกมาก็ยังทำให้มีเครื่องหมายคำถามเช่นกัน เนื่องจาก Yoon Suk-yeol เอาชนะ Lee Jae-myung ด้วยสัดส่วนคะแนนเพียง 0.73% ของผู้มีสิทธิเลือกตั้งที่ออกมาใช้สิทธิกัน 77.1% รวมทั้งคำถามอีกมากมายที่คนเกาหลีถามถึงในมิติภาวะผู้นำ ทั้งที่ในสถานการณ์ปัจจุบันที่ความไม่สงบในคาบสมุทรเกาหลี และความขัดแย้งระหว่างจีน และสหรัฐ เป็นประเด็นสำคัญที่คนเกาหลีห่วงกังวล

‘ทักษิณ’ อาจโดนคดีฆาตกรรมจากเหตุกรือเซะ หลัง ‘แหย่รังแตน’ ปรี่ฟ้อง ‘นายชวน หลีกภัย’

ก่อนหมดอายุความเพียง 3 วัน 'ชวน หลีกภัย' ประธานรัฐสภา ได้เรียกทนายความมาคุยเพื่อหารือกับอัยการถึงการเข้ามอบตัวสู้คดีตามกระบวนการยุติธรรม หลังถูก 'ทักษิณ ชินวัตร' ฟ้อง กรณีชวนบรรยายเกี่ยวกับเหตุการณ์ความรุนแรงในภาคใต้ ทั้งเหตุการณ์ที่มัสยิดกรือเซะ และเหตุการณ์ที่โรงพักตากใบ อันเป็นช่วงที่ทักษิณมีอำนาจอยู่ และนำมาสู่ความรุนแรงมาจนถึงปัจจุบัน 

ชวนประสงค์ให้ศาลวินิจฉัยความถูกผิด และนำข้อมูลข้อเท็จจริงที่เกิดขึ้นไปเปิดเผยในชั้นศาล และบันทึกไว้เป็นประวัติศาสตร์กับวาทะกรรม 'โจรกระจอก' จนทักษิณต้องออกมาขอโทษชาวใต้ แต่ไม่วายแกว่งปากโยนความผิดไปให้ทหาร พุ่งตรงไปยังทหารฝ่ายตรงข้ามที่จ้องทำลาย โดยเอ่ยชื่อถึงผู้บัญชาการทหารบกในสมัยนั้น คือ พล.อ.ประวิตร วงษ์สุวรรณ รองนายกรัฐมนตรี โดยอ้างว่า ทหารมีอำนาจเต็มในการแก้ไขสถานการณ์ คนเป็นนายกรัฐมนตรีคงไม่อาจทราบรายละเอียดทั้งหมด และคงไม่สั่งการในรายละเอียดของการปฏิบัติ

น่าสนใจยิ่งว่า เมื่อคดีของชวนกับทักษิณจบลงในชั้นศาลแล้ว อะไรจะเกิดขึ้นต่อไป แต่อย่างน้อยที่สุดข้อมูลของฝ่ายชวน และเป็นข้อมูลจำนวนมากจะถูกตีแผ่ในชั้นศาลอย่างหมดเปลือก นี้คือปรากฏการณ์ ‘แหย่รังแตน’ ของทักษิณ สุดท้ายก็จะโดนแตนต่อยตาบวมแน่นอน หรืออาจจะพูดได้ว่า ‘แกว่งเท้าหาเสี้ยน’ ก็จะโดนเสี้ยนตำเท้าเป็นแน่แท้

รู้จัก ‘Talgat Musabayev’ วีรบุรุษแห่งรัสเซีย-คาซัคสถาน ผู้ท่องอวกาศมากถึง 3 ครั้ง รวมระยะเวลา 341 วัน

วุฒิสมาชิก Talgat Musabayev บนสถานีอวกาศ Mir ของสหพันธรัฐ Russia

เมื่อสัปดาห์ที่ผ่านมาผู้เขียนมีโอกาสได้ร่วมต้อนรับวุฒิสมาชิก Talgat Musabayev แห่งสาธารณรัฐ Kazakhstan ซึ่งมาเยือนประเทศไทยอย่างไม่เป็นทางการ จึงเกิดไอเดียอยากแชร์เรื่องราวของวุฒิสมาชิก Talgat Musabayev แห่งสาธารณรัฐ Kazakhstan ขอบอกเลยว่า เรื่องราวน่าสนใจมากๆ แต่จะเป็นอย่างไร ตามไปอ่านกันครับ

วุฒิสมาชิก Talgat Amangeldyuly Musabayev เกิดเมื่อ 7 มกราคม ค.ศ. 1951 เป็นนักบินทดสอบของอดีตสหภาพโซเวียต สหพันธรัฐ Russia และสาธารณรัฐ Kazakhstan และเป็นอดีตนักบินอวกาศซึ่งได้เดินทางไปในอวกาศถึงสามครั้ง 

โดยการเดินทางไปในอวกาศสองครั้งแรกเป็นการประจำการระยะยาวบนสถานีอวกาศ Mir ของสหพันธรัฐ Russia ส่วนการบินในอวกาศครั้งที่สามเป็นภารกิจนำ Dennis Tito นักท่องเที่ยวอวกาศรายแรกของโลกไปเยี่ยมเยียนสถานีอวกาศนานาชาติเป็นระยะเวลาสั้นๆ 

วุฒิสมาชิก Musabayev เกษียณจากอาชีพนักบินอวกาศในเดือนพฤศจิกายน ค.ศ. 2003 และในปี ค.ศ. 2007 วุฒิสมาชิก Musabayev ได้รับการแต่งตั้งให้เป็นผู้อำนวยการ KazCosmos สำนักงานงานอวกาศแห่งชาติของสาธารณรัฐ Kazakhstan 

สามนักบินอวกาศชาว Kazakhstan

วุฒิสมาชิก Musabayev สำเร็จการศึกษาจากสถาบันวิศวกรการบินพลเรือน Riga (สาธารณรัฐ Latvia ในปัจจุบัน) ในปี ค.ศ. 1974 จากนั้นในปี ค.ศ. 1983 สำเร็จการศึกษาจาก Higher Military Aviation School ใน Akhtubinsk โดยได้รับประกาศนียบัตรวิศวกรรมศาสตร์ วุฒิสมาชิก Musabayev ได้รับรางวัลมากมายหลายรางวัลในฐานะนักบินผาดโผน และได้รับเลือกให้เป็นนักบินอวกาศเมื่อวันที่ 11 พฤษภาคม ค.ศ. 1990 ในปี ค.ศ. 1991 ได้รับแต่งตั้งให้เป็นนาวากาศตรี และย้ายไปประจำกลุ่มงานนักบินอวกาศของกองทัพอากาศสหภาพโซเวียต ซึ่งต่อมากลายเป็นสหพันธรัฐ Russia 

วุฒิสมาชิก Talgat Musabayev กับทีมนักบินอวกาศของภารกิจในอวกาศครั้งแรก Mir EO-16

ภารกิจในอวกาศครั้งแรกของวุฒิสมาชิก Musabayev ในฐานะสมาชิกลูกเรือของภารกิจระยะยาว Mir EO-16 เดินทางโดยยานอวกาศ Soyuz TM-19 ซึ่ง วุฒิสมาชิก Musabayev ได้รับมอบหมายให้เป็นวิศวกรการบิน ภารกิจดำเนินไปตั้งแต่วันที่ 1 กรกฎาคม ถึง 4 พฤศจิกายน ค.ศ. 1994 รวมระยะเวลา ๑๒๕ วัน ๒๒ ชั่วโมง ๕๓ นาที ได้ทำ Spacewalk สองครั้ง ระยะเวลารวม ๑๑ ชั่วโมง ๗ นาที 

ต่อมาภารกิจในอวกาศครั้งที่สอง วุฒิสมาชิก Musabayev ได้ทำหน้าที่เป็นผู้บัญชาการของการสำรวจระยะยาว Mir EO-25 ซึ่งเดินทางโดยยานอวกาศ Soyuz TM-27 ภารกิจมีระยะเวลาตั้งแต่ 29 มกราคม ถึง 25 สิงหาคม ค.ศ. 1998 รวมระยะเวลา ๒๐๗ วัน ๑๒ ชั่วโมง ๕๑ นาที ๒ วินาที ได้ทำ Spacewalk ห้าครั้ง รวมระยะเวลา ๓๐ ชั่วโมง ๘ นาที

วุฒิสมาชิก Talgat Musabayev กับภารกิจในอวกาศครั้งที่สาม ISS EP-1

ภารกิจที่สามอันเป็นภารกิจครั้งสุดท้ายในอวกาศของวุฒิสมาชิก Musabayev คือการเป็นผู้บัญชาการของ ISS EP-1 ซึ่งเป็นภารกิจเยือนสถานีอวกาศนานาชาติ เดินทางโดยยานอวกาศ Soyuz TM-32 และกลับสู่พื้นโลกโดยยานอวกาศ Soyuz TM-31 ระหว่างวันที่ 30 เมษายน ถึง 6 พฤษภาคม ค.ศ. 2001 รวมระยะเวลา ๗ วัน ๒๒ ชั่วโมง ๔ นาที ภารกิจเยี่ยมเยียนครั้งนี้มีความพิเศษคือ การพา Dennis Tito นักท่องอวกาศคนแรกของโลกที่ต้องเสียค่าใช้จ่ายเองไปในอวกาศ (ค่าใช้จ่ายในขณะนั้นราว US$20,000,000 แต่ค่าใช้จ่ายในปัจจุบันวุฒิสมาชิก Musabayev คาดว่า น่าจะราว ๆ US$50,000,000) ในปี ค.ศ. 2007 วุฒิสมาชิก Musabayev ถูกจัดให้เป็นหนึ่งใน ๓๐ นักบินอวกาศที่ใช้เวลาอยู่ในอวกาศมากที่สุดคือ ๓๔๑ วัน 

วุฒิสมาชิก Musabayev ขณะดำรงตำแหน่งผู้อำนวยการสำนักงานอวกาศแห่งชาติของสาธารณรัฐ Kazakhstan หรือ KazCosmos

วุฒิสมาชิก Musabayev เกษียณจากการเป็นนักบินอวกาศในเดือนพฤศจิกายน ค.ศ. 2003 และดำรงตำแหน่งรองผู้อำนวยการสถาบันวิศวกรรม Zhukovsky กองทัพอากาศสหพันธรัฐ Russia และได้รับแต่งตั้งให้เป็นพลตรีในเดือนกันยายน ค.ศ. 2003 ตั้งแต่ปี ค.ศ. 2005 ถึง ค.ศ. 2007 

นอกจากนี้ยังได้เป็นผู้อำนวยการของ ‘Bayterek Corp.’ ซึ่งเป็นกิจการร่วมทุนระหว่าง Kazakhstan-Russia สำหรับการสร้าง Baiterek space complex ที่ ฐานปล่อยจรวด Baikonur ต่อมา 11 เมษายน ค.ศ. 2007 วุฒิสมาชิก Musabayev ได้รับการแต่งตั้งให้เป็นผู้อำนวยการสำนักงานอวกาศแห่งชาติของสาธารณรัฐ Kazakhstan หรือ KazCosmos ตามมติของรัฐบาลแห่งสาธารณรัฐ Kazakhstan 

วุฒิสมาชิก Musabayev ได้รับแต่งตั้งให้เป็นที่ปรึกษานายกรัฐมนตรีแห่งสาธารณรัฐ Kazakhstan ด้านการบินพลเรือนและกิจกรรมอวกาศตามคำสั่งของนายกรัฐมนตรีแห่งสาธารณรัฐ Kazakhstan ลงวันที่ 13 สิงหาคม ค.ศ. 2014 และได้รับแต่งตั้งให้เป็นประธานคณะกรรมการการบินและอวกาศของสาธารณรัฐ Kazakhstan ตามคำสั่งของรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการลงทุนและการพัฒนาแห่งสาธารณรัฐ Kazakhstan ลงวันที่ 18 สิงหาคม ค.ศ. 2014 

ได้รับแต่งตั้งให้เป็นที่ปรึกษาประธานาธิบดีแห่งสาธารณรัฐ Kazakhstan เมื่อวันที่ 20 มกราคม ค.ศ. 2016 ตามคำสั่งของประธานาธิบดีแห่งสาธารณรัฐ Kazakhstan และได้รับแต่งตั้งเป็นสมาชิกวุฒิสภาของรัฐสภาแห่งสาธารณรัฐ Kazakhstan เมื่อวันที่ 13 กรกฎาคม ค.ศ. 2017 โดยคำสั่งของประมุขแห่งรัฐ 

ปัจจุบันวุฒิสมาชิก Musabayev ยังเป็นกรรมาธิการกิจการต่างประเทศ กลาโหม และความมั่นคงของวุฒิสภาแห่งสาธารณรัฐ Kazakhstan อีกด้วย

วุฒิสมาชิก Musabayev กับ Nursultan Nazarbayev ประธานาธิบดีคนแรกของสาธารณรัฐ Kazakhstan 

นอกจากนี้แล้ววุฒิสมาชิก Musabayev ยังเป็นศาสตราจารย์ในสาขาวิชา จรวดและ เทคโนโลยีอวกาศ echnology เป็นสมาชิก : the National Academy of Sciences สาธารณรัฐ Kazakhstan, the National Engineering Academy สาธารณรัฐ Kazakhstan, the International Academy of Astronautics, the International Academy of Informatization, Tsiolkovsky Russian Cosmonautics Academy, Russian Academy of Natural Sciences

วัดดวงศึกชิง ส.ส.เขต 2 สงขลา ล้วนเลือดใหม่ ‘ประชาธิปัตย์-ภูมิใจไทย’ ท้าชิง ‘ศาสตรา พปชร.’

วันก่อนได้กล่าวถึงเขตเลือกตั้งที่ 1 สงขลาไปแล้ว ซึ่งโดยสรุปในเวลานี้จะเป็นการช่วงชิงกัน 3 คน ระหว่าง “น้องเพชญ บุญญามณี” ลูกชายของ “นิพนธ์ บุญญามณี” รองหัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์ อดีตรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงมหาดไทย กับประสงค์ บุรีรักษ์ นายกฯแบน อดีตนายกเทศมนตรีเมืองเขารูปช้าง และเจือ ราชสีห์ ส.ส.บัญชีรายชื่อ กรณีตัดสินใจลงเขต และย้ายพรรค

 ขอกล่าวถึงเขต 2 สงขลา ซึ่งเป็นเขตชานเมืองของนครหาดใหญ่ เขตนี้เจ้าของเก้าอี้เดิมคือ “ศาสตรา ศรีปาน” จากพรรคพลังประชารัฐ เป็นเด็กปั้นของผู้การฯชาติ เป็นลูกชายของเจ้าของโรงเรียนเอกชนแห่งหนึ่งในหาดใหญ่

“ปั้นได้ก็ทุบทิ้งได้” การเลือกตั้งครั้งหน้า พ.อ.สุชาติ จันทรโชติกุล เพื่อนร่วมรุ่นของ พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี เดินออกจากพรรคพลังประชารัฐ ไปสังกัดพรรคสร้างอนาคตไทย ของ “อุตตม สาวนายน” แล้ว และจะลงสมัครรับเลือกตั้งในเขต 2 ของสงขลา ซึ่งหมายถึงลงชนกับเด็กปั้นของตัวเองต้องเข้าใจว่า ผู้การฯชาติเป็นคนเกิดพัทลุง แต่มาเติบโตทางราชในจังหวัดสงขลา อยู่กับค่ายคอหงส์มานาน กว้างขวาง รู้จักคนมาก เคยได้รับเลือกเป็น ส.ส.สงขลาในย่านนี้มาหนึ่งสมัยในสังกัดค่ายทานตะวัน “ความหวังใหม่” เฉียดๆจะได้เป็นรัฐมนตรีมาหลายครั้ง มีชื่อติดโผมาตลอด น้อยเนื้อต่ำใจกับลุงป้อม ที่มองไม่เห็นหัวเลยย้ายพรรคหนี

ส่วนพรรคประชาธิปัตย์ เจ้าถิ่นเก่า ประกาศขอคืนพื้นที่ยึดเขตนี้คืนด้วยการส่ง “นิพัฒน์ อุดมอักษร” ลงสมัครรับเลือกตั้งเขตนี้ ถามว่าแล้วนิพัฒน์คือใคร จากการสืบค้นพบข้อมูลในการแนะนะตัวกับสมาชิกพรรคในวันประชุมสาขาพรรคที่หาดใหญ่

“ผมเองเป็นชาวหาดใหญ่โดยกำเนิด เกิดที่นี่ เรียนที่นี่ ทำงานที่นี่ เห็นการเปลี่ยนแปลงของเมืองหาดใหญ่มาโดยตลอด ที่ผ่านมานอกเหนือจากการทำธุรกิจในนามบริษัท เอนกการช่าง จำกัด ผู้นำการผลิตเครื่องจักรกลเกษตรแล้ว ก็ยังทำงานส่วนรวมมาอย่างต่อเนื่อง โดยปัจจุบันยังทำหน้าที่นายกสมาคมเอสเอ็มอีจังหวัดสงขลา นายกสโมสรไลออนส์หาดใหญ่ เป็นที่ปรึกษา กรรมการชมรม สมาคม มูลนิธิฯ อีกหลายตำแหน่ง ซึ่งเป็นงานที่ทำด้วยใจเหมือนดั่งคำสอนป๋าเปรม ที่ชาวสงขลาได้ยินเป็นประจำว่า "เกิดมาต้องตอบแทนบุญคุณแผ่นดิน"

ในทางการเมือง “นิพัฒน์” เป็นสมาชิกพรรคประชาธิปัตย์มานานแล้ว และได้เข้ามาทำงานกับพรรคครั้งแรกในการเลือกตั้งนายกอบจ.สงขลา เมื่อปลายปี 62 ร่วมทีมฝ่ายบริหารในตำแหน่งเลขานุการฯ กับไพเจน มากสุวรรณ์ ผู้สมัครนายกอบจ.สงขลา ทีมพรรคประชาธิปัตย์ ภายหลังชนะการเลือกตั้งก็ได้รับมอบหมายให้ดูแลพื้นที่อำเภอหาดใหญ่โดยเฉพาะ และเป็นผู้ขับเคลื่อนโครงการสำคัญที่กำลังจะเกิดขึ้นนั่นคือ โครงการก่อสร้างสกายวอล์คและหอชมเมืองหาดใหญ่

โครงการดังกล่าว อบจ.ได้ผู้ชนะการประมูลที่ 10.5 ล้านบาท ขณะนี้เริ่มศึกษาออกแบบแล้ว โครงการนี้ไม่ใช่เรื่องง่ายที่คิดจะทำก็ทำได้ทันที พื้นที่บนเขาคอหงส์ ครอบคลุมหลายหน่วยงาน มีทั้งเขตป่าไม้ เขตทหาร ส่วนราชการ ท้องถิ่น การศึกษาออกแบบต้องทำอย่างรัดกุม 

“ผมได้เข้าไปดูพื้นที่ตั้งแต่เริ่มรับตำแหน่งหลายคนอาจไม่ทราบว่าการขอใช้พื้นที่เขตทหารนั้นทำได้ยาก ที่ผ่านมาได้เข้าไปพูดคุยเพื่อขอใช้พื้นที่กับแม่ทัพภาคที่ 4 ผู้บัญชาการ มทบ.42 ค่ายเสนาณรงค์”

อีกหนึ่งโครงการใหญ่คือการจัดทำห้องสมุดอิเล็กทรอนิกส์ ณ อาคารมูลนิธิหอสมุดประชาชนหาดใหญ่ (หอสมุดซุนยัดเซน) อำเภอหาดใหญ่ จังหวัดสงขลา โดยอบจ.สงขลา ได้เช่าที่ดินเพื่อที่จะทำการก่อสร้างศูนย์เรียนรู้สำหรับเด็กๆ เยาวชน ตลอดจนถึงประชาชนทั่วไป ได้ค้นคว้าหาความรู้ การอบรมคอมพิวเตอร์ การสอนการขายสินค้าผ่านออนไลน์ เป็นศูนย์เรียนรู้ในรูปแบบใหม่ทันสมัยใช้ได้ทุกคน โดยโครงการนี้ก็กำลังจะเริ่มแล้วเช่นกัน

โครงการอื่นๆ ยังมีมากมาย ไม่ว่าจะเป็นการของบจากการยางแห่งประเทศไทย มาสร้างสนามฟุตซอลแก่โรงเรียนศรีนครมูลนิธิ จำนวน 8 แสนบาท และซื้อรองเท้าบู๊ทยางพาราแจกจ่ายแก่เกษตรกรอีก 8 แสนบาท การให้ความช่วยเหลือพี่น้องประชาชนจากสถานการณ์โควิด-19 ภายใต้ขอบเขตและอำนานหน้าที่ของอบจ.ที่สามารถทำได้ ที่ผ่านมาเน้นการลงมือทำ เน้นการลงพื้นที่ มากกว่าการสร้างภาพสร้างกระแส

นิพัฒน์ถือเป็นคนหนุ่มรุ่นใหม่ เลือดใหม่ของพรรคประชาธิปัตย์ที่จะเข้ามารับช่วงภารกิจเพื่อชาติต่อจากคนรุ่นก่อน เพื่อให้พรรคได้สืบทอดเจตนารมณ์ของผู้ก่อตั้ง และเป็นสถานบันทางการเมือง

ค่ำคืนอันแสนสยด เสียงกรีดร้องของทหารญี่ปุ่นนับพันใน ‘แรมรี’ เกาะสยองที่ถูกครองด้วยมัจจุราชน้ำเค็ม

วันนี้ AYA Documentary มีเรื่องสนุกที่หลายคนอาจจะเคยทราบมาแล้ว แต่อีกหลายคนก็ยังไม่เคยทราบมาเล่าสู่กันฟัง  

หากใครเคยอ่านตำนานงูยักษ์เมืองกาญจนบุรีของไทยในช่วงสงครามโลกครั้งที่ 2 แล้วคิดว่ามันคือเรื่องจริง เอย่าแค่จะบอกว่าเรื่องดังกล่าวเป็นเพียงเรื่องเล่าสืบต่อกันมา เพราะไม่มีหลักฐานการสืบค้นว่ามันคือเรื่องจริง แตกต่างจากเรื่องสยองขวัญที่เกิดขึ้นในช่วงเวลาเดียวกันที่จะเล่าต่อจากนี้

เกาะแรมรี (Ramree Island) เป็นส่วนหนึ่งของเจาท์พิว (Kyauk Phyu) เป็นเกาะนอกชายฝั่งรัฐอาระกัน โดยเกาะมีคลองกว้างราว 150 เมตร กั้นแยกออกมาจากแผ่นดินใหญ่ มีพื้นที่เกาะ 1,350 ตารางกิโลเมตร 

ในปี พ.ศ.2485 ช่วงปลายสงครามโลกครั้งที่ 2 กองทัพญี่ปุ่นนำกำลังเข้ามาวางกำลังและยึดพื้นที่เกาะแห่งนี้ โดยมีทหารราว 1,000 นาย ซึ่งขณะนั้นกองทัพอังกฤษต้องการยึดพื้นที่แห่งนี้ เพื่อสร้างสนามบินสำหรับภารกิจส่งกำลังบำรุง จึงยกพลเข้าโจมตีทหารญี่ปุ่นเพื่อยึดเกาะแรมรีโดยใช้กองกำลังโอบตีจากทั้ง 2 ด้านเพื่อกดดันขับไล่ทหารญี่ปุ่นให้ออกจากที่มั่น 

ฝ่ายทหารญี่ปุ่นที่ฐานที่มั่นถูกระดมโจมตีอย่างหนักมีทางเดียว คือ ต้องถอยร่น ซึ่งทางเดียวที่จะหนีไปได้ คือลุยน้ำทะเลระดับหน้าอก เดินเข้าไปในป่าชายเลน เพื่อนำกำลังไปสมทบกับกำลังอีกส่วนหนึ่งที่อยู่อีกฟากหนึ่งของเกาะ 

ดังนั้นทหารญี่ปุ่นตัดสินใจหนีลงน้ำ เข้าป่าพรุ 

และคืนของวันที่ 19 กุมภาพันธ์ 2488 จะเป็นคืนสยองที่ทุกคนต้องจดจำ เมื่อทหารเลือดซามูไรเกือบ 1,000 นายที่ไม่คุ้นกับภูมิประเทศบริเวณนั้นมาก่อน ถูกยุงในป่าพรุกัดขณะเข้าไปในพรุ จนต้องหนีตายเข้าไปในป่าชายเลนที่เต็มไปด้วยป่าโกงกาง อีกทั้งยังต้องเจอกับสัตว์มีพิษอีกจำนวนมากทั้งงูพิษ และหน่วยทหารของอังกฤษ ซึ่งส่วนหนึ่งเป็นทหารอินเดีย วางกำลังปิดล้อมพื้นที่ดังกล่าวแบบไม่ให้คลาดสายตา  

และในคืนนั้นทหารอังกฤษ ก็ได้ยินเสียงกรีดร้องของทหารญี่ปุ่น ที่พยายามข้ามบึงในเวลากลางคืน ต้องตกเป็นอาหารของจระเข้น้ำเค็มที่ดักซุ่มรออยู่บริเวณนั้น  

ว่ากันว่า ‘นักล่าแห่งเกาะแรมรี ค่อยๆ ทำให้ทหารญี่ปุ่น ลับตาไปทีละคนๆ ท่ามกลางความสับสนวุ่นวายและเสียงปืนที่ยิงสะเปะสะปะในค่ำคืนเดือนมืด’  

ค่ำคืนแห่งการหนีตาย ทหารจำนวนกว่า 500 คน ข้ามน้ำ ข้ามป่าพรุไปไม่ถึงฝั่ง ลูกหลานซามูไรเหล่านี้ไม่ได้ออกมาพ้นบึงเลยด้วยซ้ำ ส่วนทหารที่เหลือรอดมาได้ ก็ล้วนบาดเจ็บสาหัส แต่ยังมีชีวิต และยังคงสติพอจะหวนระลึกถึงความน่าสะพรึงกลัวของเหตุการณ์ที่เป็นเหมือนฝันร้ายที่ต้องจดจำไปอีกนานแสนนาน

'Café La Habana' แห่งกรุงเม็กซิโกซิตี้ คาเฟ่อายุกว่า 70 ปี ที่คนยังนิยมจนถึงปัจจุบัน

กรุงเม็กซิโกซิตี้ (Ciudad de Mexico หรือชื่อย่อคือ CDMX) คือเมืองหลวงของประเทศเม็กซิโก (Mexico) ซึ่งตั้งอยู่ตอนล่างสุดของทวีปอเมริกาเหนือ (North America) แต่คนมักเข้าใจผิด คิดว่าเป็นส่วนหนึ่งของทวีปอเมริกากลาง (Central America) เพราะมีประวัติศาสตร์ร่วมและมีวัฒนธรรมคล้ายคลึงกับประเทศในอเมริกากลางมากกว่านั่นเอง 

นับตั้งแต่การค้นพบร่องรอยทางโบราณคดีและบันทึกทางประวัติศาสตร์ โดยเฉพาะช่วงที่ชาติตะวันตกโดยเฉพาะอย่างยิ่งสเปนเข้ายึดครองตั้งแต่ศตวรรษที่ 16 มาจนถึงปัจจุบันนั้น กรุงเม็กซิโกซิตี้ผ่านร้อนผ่านหนาวมาโดยตลอด ผ่านช่วงขาขึ้นและขาลงนับครั้งไม่ถ้วน ทั้งจากสงครามที่มนุษย์ด้วยกันก่อขึ้น และจากภัยธรรมชาติ โดยเฉพาะอย่างยิ่งแผ่นดินไหวรุนแรงหลายครั้งด้วย 

ปัจจุบันนี้กรุงเม็กซิโกซิตี้นับเป็นเมืองที่สุดแสนจะไฉไลและน่าอยู่เป็นอย่างมาก และยังถือเป็นหนึ่งในเมืองที่ใหญ่ที่สุดในโลก โดยอาณาเขตเมืองกินบริเวณกว้างหลายสิบตารางกิโลเมตร ประชากรในเมืองนี้และเมืองแถบปริมณฑลเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง สถิติในปีค.ศ. 2022 ระบุว่ามีมากกว่า 22 ล้านคน 

นอกจากนี้ หน่วยงานภาครัฐยังได้พัฒนาระบบขนส่งมวลชนที่ครอบคลุม และมีราคาค่าโดยสารที่ประชากรในเมืองเอื้อมถึง มีการจัดทำทางจักรยานโดยเฉพาะ สวนหย่อมและสวนสาธารณะมากมาย เป็นพื้นที่ส่วนรวม ผู้คนสามารถออกมาผ่อนคลายได้ ทุกวันอาทิตย์มีการปิดถนนย่านใจกลางเมืองเพื่อให้คนออกมาวิ่ง ปั่นจักรยาน พาสัตว์เลี้ยงมาเดินหรือวิ่งออกกำลังกาย และเนื่องจากตั้งอยู่ที่ความสูงราวสองพันเมตรจากระดับน้ำทะเล ดังนั้นสภาพอากาศจึงเย็นสบายทั้งปี ไม่ร้อนและไม่หนาวจนเกินไปอีกด้วย

ร้านรวง ร้านกาแฟ ร้านอาหารมากมายดาษดื่นกระจายตัวทุกมุมเมืองตามแบบฉบับเมืองใหญ่ มีหนึ่งร้านในนั้นที่อยู่ยงคงกระพันมา 70 ปี และยังคงได้รับความนิยมจนทุกวันนี้ คือคาเฟ่ลาฮาบานา (Café La Habana) เปิดดำเนินกิจการเมื่อปี 1952 ตั้งอยู่ตรงมุมซึ่งถนนบูคาเรลี (Bucareli Street) ตัดกับถนนโมราเลส (Morales Street) อันขวักไขว่

สถานที่แห่งนี้มีองค์ประกอบร่วมของพลังงานแตกต่าง อาจเรียกว่าคือสองขั้วตรงข้าม แต่ผสมกลมกลืนในที่เดียวกันได้อย่างน่าประหลาด 

หนึ่ง คือความเคลื่อนไหวว่องไวกระฉับกระเฉงของพนักงานหลายวัย ลุงผู้จัดการรับรายชื่อลูกค้าที่รออยู่หน้าร้าน แล้วประสานกับข้างในว่ามีตรงไหนว่างแล้วบ้าง บาริสต้ามือเป็นระวิงชงกาแฟตามออร์เดอร์แทบไม่ทัน คนครัวเร่งมือทำอาหารจากเตาลงจานชาม คนทำหน้าที่เสิร์ฟเทินถาดเดินกันคล่องแคล่ว ประหนึ่งพลังงานล้นหลามของวัยรุ่นไฮเปอร์คนหนึ่ง ซึ่งชีวิตกำลังเหมือนดอกไม้บานสะพรั่งและพร้อมพุ่งทะยานสู่อนาคต และแม้งานจะพัวพันยุ่งเหยิง แต่ก็สังเกตเห็นได้ว่าพนักงานทั้งหลายยังยิ้มแย้มแจ่มใส (ใต้หนากากสีดำแห่งยุคโควิดที่ใส่อยู่ก็ยังเห็นรอยยิ้มเหล่านั้นได้) พร้อมถามไถ่ลูกค้า “Todo bien?” (หมายถึงทุกอย่างโอเคไหม)

เป้าหมายกรุงเทพฯ กลไกสำคัญ ยกระดับคุณภาพชีวิต 2 พันล้านคน ใน 21 เขตเศรษฐกิจ

จากการประชุมสุดยอดผู้นำ APEC ที่ล้มเหลวในปี 2018 และ 2019 สู่การประชุมทางไกล ที่ผู้นำไม่มีโอกาสได้พบหน้าหารือ โอภาปราศรัย ทั้งระหว่างผู้นำและระหว่างผู้นำกับประชาคมนักธุรกิจของทั้ง 21 เขตเศรษฐกิจ สู่การประชุมที่มีแรงกดดันสูงในปี 2022

ที่เกริ่นเช่นนี้เพราะ...ไม่ว่าใครจะได้รับเกียรติให้เป็นเจ้าภาพการประชุม APEC ในปี 2022 ก็ต้องประสบกับแรงกดดันของการเป็นเจ้าภาพของการประชุมครั้งแรกที่ผู้นำจะได้มาเจอหน้ากันอีกครั้งทั้งนั้น ท่ามกลางภาวะวิกฤตทั้งจาก สงครามระหว่างรัสเซียกับพันธมิตร NATO ที่ปะทุขึ้นเป็นสงครามในยูเครน, ความพยายามของชาติมหาอำนาจในการยกระดับจากสงครามเศรษฐกิจ

อีกทั้งยังมี สงครามการค้าแบบเดิม ที่ออกมาตรการกีดกันทางการค้า ไปสู่การ Weaponized Economic Interdependency หรือการใช้สิ่งอำนวยความสะดวกทางการค้า อาทิ บริการการเงิน, การธนาคาร, การโอนย้ายเงินระหว่างประเทศ, ระบบโลจิสติกส์, ระบบประกันภัย ฯลฯ มาเป็นเครื่องมือประหัตประหารซึ่งกันและกันทางเศรษฐกิจจนโลกเกิดทั้งวิกฤตอาหาร, วิกฤตพลังงาน และการดำเนินนโยบายที่ไร้ความรับผิดชอบของระบบเศรษฐกิจขนาดใหญ่ที่มุ่งมั่นในการแก้ปัญหาเงินเฟ้อที่สร้างขึ้นด้วยตนเองในอดีต จนนำไปสู่การดูดสภาพคล่อง ขึ้นอัตราดอกเบี้ยครั้งใหญ่ ที่ทำให้เงินทุนจำนวนมากไหลออกจากหลายเขตเศรษฐกิจ และนำไปสู่ความผันผวนในอัตราแลกเปลี่ยน 

ยิ่งไปกว่านั่น การที่บางประเทศเลือกที่จะนำเอาประเด็นทางด้านการเมือง (หรือแม้แต่เหตุผลส่วนตัวด้านครอบครัว) เข้ามาเป็นข้ออ้างในการที่จะหลีกเลี่ยงการสร้างความร่วมมือทางเศรษฐกิจเพื่อประโยชน์ของประชากรโลกกว่า 2 พันล้านคน จาก 21 เขตเศรษฐกิจเหล่านี้ ก็อาจจะสร้างความหนักใจให้กับเจ้าภาพการประชุม APEC ได้ทั้งสิ้น

อย่างไรก็ตาม เราสามารถเชื่อมั่นใจ ‘ประเทศไทย’ ในฐานะประเทศ และเจ้าภาพการประชุมได้ครับ เพราะไทยเรามีความแข็งแกร่งในด้านการมีน้ำใจที่ดีงาม เปิดกว้าง และรักการให้บริการ Thailand Hospitality ซึ่งเหล่านี้ เป็นหนึ่งในหลักประกันได้ในระดับหนึ่งว่า ในฐานะประธานและเจ้าภาพ เราจะให้การต้อนรับผู้แทนในทุกระดับ และคณะทำงานทุกคนที่เข้ามาประชุมในประเทศไทย ตลอดทั้งปี 2022 ที่ผ่านมาได้เป็นอย่างดีที่สุด 

หากแต่อีกสิ่งหนึ่งที่สำคัญไม่แพ้กันนั่นคือ ‘สารัตถะ’ และการประสานงานของเจ้าภาพอย่างประเทศไทยต้องการผลักดัน ยังคงต้องเกิดขึ้นได้ ท่ามกลางความแตกแยก แม้จะไม่สามารถออกแถลงการณ์ร่วมของผู้นำจากทุกเขตเศรษฐกิจร่วมกันได้ก็ตาม แต่ประเทศไทยต้องประสานงาน ดำเนินการทั้งในทางปกติ และในทางลับ เพื่อให้ในที่สุด แม้จะมีเหตุการณ์ใดเกิดขึ้นก็ตาม ประเทศไทยในฐานะประธานจะยังสามารถออกแถลงการณ์ของประธานในที่ประชุม ซึ่งได้รับการเห็นชอบจากสมาชิกทั้ง 21 เขตได้ และ สารัตถะสำคัญ นั้นคือ ‘เป้าหมายกรุงเทพฯ’ Bangkok

เป้าหมายกรุงเทพฯ คือ การต่อยอดจากโมเดลเศรษฐกิจ Bio-Circular-Green Economy หรือ BCG ของประเทศไทยที่วางอยู่บนแนวคิดสำคัญคือ ‘ปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง’ และความต้องการบรรลุเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืนของสหประชาชาติ (UN SDGs 2030) ที่ประเทศไทยต้องการเชิญชวนให้ทั้ง 21 เขตเศรษฐกิจภาคพื้นเอเชีย-แปซิฟิก ร่วมกันสร้างความร่วมมือทางเศรษฐกิจที่มีความรับผิดชอบ (Responsible Economies) 

‘สรรเพชญ บุญญามณี’ ยืนเด่นเขต 1 สงขลา การหลีกทางให้หลานได้แจ้งเกิดทางการเมือง

เขต 1 สงขลา เป็นเขตคาดหวังของพรรคประชาธิปัตย์ โดยส่ง ‘สรรเพชญ บุญญามณี’ ลูกชายของ ‘นิพนธ์ บุญญามณี’ รองหัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์ อดีตรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงมหาดไทย

การเลือกตั้งครั้งที่ผ่านมา ปี 2562 สรรเพรช พ่ายให้กับ ‘วันชัย ปริญญาศิริ’ จากพรรคพลังประชารัฐ ซึ่งวันชัยก็ไม่ใช่คนอื่นไกล เป็นเพื่อนรุ่นน้องของนิพนธ์นั้นเอง เป็นรุ่นน้องจากมหาวชิราวุธ สงขลา โดยนิพนธ์เป็นรุ่นพี่ของวันชัย 1 ปี

มาถึงวันนี้ ‘วันชัย’ เปิดทางให้สรรเพชญ โดยลาออกจาก ส.ส.ไปลงชิงเก้าอี้นายกเทศมนตรีนครสงขลา เท่ากับเป็นการหลีกทางให้หลานได้แจ้งเกิดทางการเมือง

กล่าวถึงสนามเลือกตั้งเขต 1 สงขลา เมื่อวันชัยลาออกไปลงเล่นการเมืองท้องถิ่น ในส่วนของพรรคพลังประชารัฐยังไม่เห็นขยับว่าจะส่งใครลงแทน เดิมมีผู้การฯ ชาติ พ.อ.สุชาติ จันทรโชติกุล อดีต ส.ส.สงขลา เป็นคนคุมทีมพลังประชารัฐอยู่ แต่เมื่อผู้การฯ ชาติก้าวออกไปจากพลังประชารัฐ ไปร่วมหัวจมท้ายกับพรรคสร้างอนาคตไทย ของอุตตม สาวนายน และ สนธิรัตน์ สนธิจิรวงค์ ทำให้พรรคพลังประชารัฐไม่มีหัวเรือใหญ่ 

พรรคพลังประชารัฐสงขลาจึงเหลือ ส.ส.อยู่สองคน คือ ร.ต.อ.อรุณ สวัสดี เขต 4 ศาสตรา ศรีปาน เขต 2 และพยม พรหมเพชร ซึ่งศักยภาพในการคุมทีมยังไม่เพียงพอ หรือการจะควานหาคนมาแทนวันชัยก็ยังไม่มีบารมีพอ ทำให้สนามเลือกตั้งเขต 1 สงขลา ของพลังประชารัฐยังว่างอยู่

กล่าวเฉพาะที่เห็นเวลานี้ก็จะมี ‘สรรเพชญ บุญญามณี’ เป็นตัวยืนในนามประชาธิปัตย์ และมีประสงค์ บุรีรักษ์ นายกฯ แบน อดีตนายกเทศมนตรีเมืองเขารูปช้าง ที่การเลือกตั้งครั้งที่แล้วหลุดจากเก้าอี้ มาเปิดตัวลงชิง ส.ส.เขต 1 ในนามพรรคภูมิใจไทย ฟัดกับเด็ก ๆ น่าจะมีพลังมากกว่า และยังมีพ่อเป็นลมใต้ปีกอยู่อีกด้วย ‘นิพนธ์’ พยายามไม่เข้าไปยุ่งมากกับการหาเสียง ปล่อยให้น้องเพรชจัดการไป ไม่งั้นเขาจะไม่โตสักที

แต่เขต 1 สงขลา นอกจากนายกฯแบน และน้องเพชญ แล้ว ให้จับตาว่า ‘เจือ ราชสีห์’ ส.ส.บัญชีรายชื่อใหม่ ๆ สด ๆ ของพรรคประชาธิปัตย์ จะตัดสินใจอย่างไร แน่นอนว่าจะลงเขตในนามประชาธิปัตย์ไม่ได้แล้ว เพราะพรรคประชาธิปัตย์ได้เปิดตัวน้องเพรชไปแล้ว ถ้าเจือยังยืนยันอยู่ประชาธิปัตย์ก็ต้องขึ้นไปอยู่ระบบบัญชีรายชื่อ และลำดับต้องดีกว่าเดิม ถ้ายังประชาสงค์จะลงเขต 1 ก็ต้องย้ายพรรค หาพรรคใหม่สังกัด โอกาสจึงน่าจะเป็นพรรครวมไทยสร้างชาติ ที่มีพีระพันธ์ สาลีรัฐวิภาค คนเก่าจากประชาธิปัตย์ เป็นหัวหน้าพรรคอยู่ และมีเครือข่ายประชาธิปัตย์อยู่ไม่น้อย หรือไม่ก็พรรคพลังประชารัฐที่พื้นที่ว่างอยู่ แต่เวลานี้เจือคงยังพูดอะไรมากไม่ได้ เพราะยังเป็น ส.ส.ประชาธิปัตย์อยู่

แค่ทฤษฎีสมคบคิด?? รู้จัก 'Dulce Base' ในมลรัฐ New Mexico พื้นที่ที่หลายคนเชื่อว่าเป็น 'ฐานของมนุษย์ต่างดาว'

วันนี้ขอเปลี่ยนบรรยากาศรับอากาศเย็นด้วยเรื่องราวที่ดูเหมือนเป็นทฤษฎีสมคบคิด (Conspiracy theory) หรือเรื่องราวที่อ่านแล้วรู้สึกว่า 'เหลือเชื่อ' กันครับ เรื่องของ Dulce Base อันเป็นประเด็นหนึ่งของทฤษฎีสมคบคิดที่อ้างว่า มีสถานที่ใต้ดินที่มนุษย์และมนุษย์ต่างดาวทำงานร่วมกันภายใต้แนวเขา Archuleta Mesa บนชายแดนระหว่างสองมลรัฐคือ Colorado กับ New Mexico ใกล้ ๆ กับเมือง Dulce มลรัฐ New Mexico ในสหรัฐอเมริกา เมือง Dulce เป็นเมืองหลักของเขตสงวน Jicarilla Apache ทางตอนเหนือของมลรัฐ New Mexico และส่วนใหญ่เป็นที่อยู่อาศัยของชนพื้นเมือง แม้จะมีประชากรเพียงเล็กน้อย ซึ่งจำนวนน้อยกว่า ๓,๐๐๐ คน 

หมู่บ้านเล็ก ๆ ในทะเลทรายที่แปลกตา ไม่มีแม้กระทั่งสัญญาณไฟจราจรเสียด้วยซ้ำ แต่ชุมชนเล็ก ๆ ที่เงียบสงบนี้เป็นจุดที่นักจานบินวิทยาและนักทฤษฎีสมคบคิดเกี่ยวกับเรื่องราวของมนุษย์ต่างดาวทุกคนเชื่อว่า ใต้เมืองนี้เป็นฐานลับ ๗ ชั้น อยู่ลึกลงไปสองไมล์ใต้พื้นดิน เป็นสถานที่ซึ่งมนุษย์และมนุษย์ต่างดาวทำงานร่วมกัน อันเป็นที่รู้จักกันในชื่อว่า Dulce Base

อันที่จริงแล้วมลรัฐ New Mexico เป็นรัฐที่มีเรื่องราวเกี่ยวกับจานบินและมนุษย์ต่างดาวมาหลายสิบปีแล้ว จากกรณีของ เหตุการณ์จานบิน (Unidentified Flying Object) ตกที่ Roswell เกิดขึ้นในสหรัฐอเมริกาในปี ค.ศ. 1947 เมื่อมีวัตถุบินตกใส่ไร่แห่งหนึ่งใกล้กับเมือง Roswell มลรัฐ New Mexico ในวันที่ 7 กรกฎาคม ค.ศ. 1947 มีคำอธิบายเหตุการณ์หลากหลายมากมาย ทั้งที่เป็นทางการและไม่เป็นทางการ แม้รัฐบาลสหรัฐฯ จะประกาศว่า เหตุการณ์ดังกล่าวเป็นเพียงบอลลูนเฝ้าตรวจทางทหารของกองทัพสหรัฐฯ ตก แต่คำอธิบายที่มีผู้เชื่อถือมากที่สุดคือ วัตถุดังกล่าวเป็นยานอวกาศที่มีสิ่งมีชีวิตนอกโลกอยู่ด้วย ตั้งแต่ปลายคริสต์ทศวรรษ 1970 เหตุการณ์ที่ Roswell ได้กลายเป็นหัวข้อถกเถียงกันอย่างกว้างขวาง จนเกิดเป็นเกิดเรื่องราวต่าง ๆ กระทั่งทฤษฎีสมคบคิดมากมายเกี่ยวกับเหตุการณ์นี้

Gabriel Valdez ตำรวจทางหลวงของมลรัฐ New Mexico ได้จัดทำเอกสารเกี่ยวกับตำนาน Dulce Base โดยรอบเป็นอย่างดี เรื่องราวเกิดขึ้นในช่วงกลางทศวรรษ 1970 โดยเขารายงานการตายของวัวหลายตัว โดย Valdez อ้างว่าได้เห็น 'ยานอวกาศที่มีรูปร่างที่แปลกประหลาดและซับซ้อน' ในเมือง Dulce บนท้องฟ้าใกล้กับตำแหน่งซึ่งเชื่อว่าเป็นที่ตั้งของ Dulce Base และได้พบวัวที่ถูกสังหารพร้อมกับลูกในครรภ์ 

Valdez อ้างต่อว่า ไม่ใช่ลูกวัวที่ยังไม่เกิด แต่ดูเหมือนจะเป็นลูกผสมที่แปลกประหลาดระหว่าง 'มนุษย์ ลิง และกบ' เศษซากที่อยู่รอบ ๆ ทำให้ Valdez เชื่อว่า รัฐบาลมีส่วนเกี่ยวข้อง และสัตว์ที่ตายไม่ได้ถูกสังหารโดยสัตว์ป่า 

เขากล่าวว่า “หลักฐานที่ถูกทิ้งไว้ที่นั่น คุณรู้ไหมว่า ผู้ล่าจะไม่ทิ้งหน้ากากป้องกันแก๊สพิษ แท่งเรืองแสง เรดาร์ Chaff (อุปกรณ์พรางสัญญาณเรดาร์)”

Valdez สรุปว่า 'พวกเขาไม่ทิ้งของพวกนี้' การตายของวัว-ควาย ปศุสัตว์ มักจะเชื่อมโยงกับการพบเห็นจานบินในบริเวณใกล้เคียง บริเวณชายแดนระหว่างสองมลรัฐคือ Colorado กับ New Mexico กลายเป็นหนึ่งในสถานที่ที่โดดเด่นที่สุดในประเทศสำหรับรายงานสองประเภททั้งจานบินและมนุษย์ต่างดาวตั้งแต่ต้นทศวรรษ 1980

การกล่าวอ้างถึงกิจกรรมของมนุษย์ต่างดาวเกิดขึ้นครั้งแรกจาก Paul Bennewitz นักธุรกิจชาวเมือง Albuquerque เริ่มต้นขึ้นในปี ค.ศ. 1979 เมื่อ Bennewitz เชื่อว่า เขากำลังสกัดกั้นการสื่อสารทางอิเล็กทรอนิกส์จากยานอวกาศของมนุษย์ต่างดาวและฐานลับบนพื้นโลกซึ่งอยู่นอกนอกเมือง Albuquerque ในช่วงทศวรรษ 1980 

เขาเชื่อว่า เขาได้ค้นพบฐานลับใต้ดินใกล้กับเมือง Dulce ซึ่งเต็มไปด้วยมนุษย์ต่างดาวสีเทา ในปี ค.ศ. 1983 คำกล่าวอ้างของ Bennewitz ถูกเผยแพร่ในสื่อยอดนิยมหลายครั้ง เรื่องราวแพร่กระจายอย่างรวดเร็วภายในชุมชนผู้สนใจเรื่องราวเกี่ยวกับจานบินและมนุษย์ต่างดาว เขายังตีพิมพ์บทความเรื่อง 'Project Beta' ในปี ค.ศ. 1988 และในปี ค.ศ. 1987 John Lear นักจานบินวิทยาอ้างว่า เขาได้รับการยืนยันเกี่ยวกับการมีอยู่ของฐานจานบินและมนุษย์ต่างดาว 

ต่อมาในปี ค.ศ. 1986 George Clinton Andrews ได้เล่าถึงตำนานของ Dulce Base ในหนังสือของเขาชื่อ Extra-Terrestrials Among Us และในปี ค.ศ. 1988 หนังสือพิมพ์ Weekly World News ตีพิมพ์เรื่อง 'ฐานจานบินที่พบในมลรัฐ New Mexico' อ้างว่า "ผู้บุกรุกที่ชั่วร้ายจากระบบสุริยะอื่นได้มาตั้งฐานใต้ดินลับในภูเขาที่ขรุขระทางตอนเหนือของมลรัฐ New Mexico เพื่อให้พวกเขาสามารถใช้มนุษย์สำหรับการทดลองทางพันธุกรรมที่แปลกประหลาด" 

เรื่องราวของ Weekly World News อ้างอิงจากคำพูดจาก Leonard Stringfield นักจานบินวิทยา แต่เมื่อ Stringfield ทราบเรื่องนี้ เขาก็ประท้วงทันทีว่า "ข้อเท็จจริงคือ ในชีวิตผมไม่เคยอ่านเรื่องอะไรที่บิดเบือนเช่นนี้มาก่อนเลย" ในปี ค.ศ. 1990 'Paul Snyder' เขียนเกี่ยวกับแผนการสมคบคิดของ Dulce Base

นโยบายศก.ล้มเหลว ชนวนเหตุนายกฯ อังกฤษลาออก บทเรียนราคาแพง ที่ไทยต้อง 'เรียนรู้-เฝ้าระวัง'

3 วันก่อน ผมได้แสดงความเห็นว่านายกรัฐมนตรีอังกฤษท่าจะอยู่ยาก เพราะหนีความรับผิดชอบความผิดพลาดในนโยบายเศรษฐกิจที่ประกาศออกไปไม่ได้ 

วันนี้นายกฯ อังกฤษได้ประกาศลาออกแล้ว! ไม่สามารถทนต่อกระแสความไม่พอใจทั้งในพรรค และในสังคมได้ หลังจากที่อยู่ในตำแหน่งเพียง 45 วัน 

มองในมุมหนึ่งคือ ความเละเทะต่อเนื่องในการเมือง และเศรษฐกิจอังกฤษ นับแต่การลงคะแนน Brexit เมื่อ 6 ปีก่อน

แต่มองอีกมุมหนึ่ง อังกฤษยังมีวัฒนธรรมการเมืองที่ยืดหยุ่น และพร้อมปรับตัวต่อกระแสความรู้สึกของประชาชน

ประเทศไทยเรา ก็เคยมีการตัดสินใจลักษณะนี้เช่นกัน ตอน นายกฯ ชวลิต ลาออกเพื่อแสดงความรับผิดชอบต่อวิกฤตต้มยำกุ้ง ซึ่งเป็นกรณีเดียวในประวัติศาสตร์การเมืองไทย

ถือได้ว่าการเสียสละโดยผู้มีอำนาจ คือการให้โอกาสบ้านเมือง

มีคนขอให้อธิบายสั้น ๆ ว่า...นโยบายอะไรที่ Liz Truss ประกาศออกมาที่ทำให้ต้องลาออกหลังเป็นนายกฯ เพียง 45 วัน?

สะพรึง!! 'โรคไข้ฉี่หนู' ภัยเงียบที่มาพร้อมกับน้ำท่วม แต่วัคซีนป้องกันเฉพาะทาง ยังไม่มีจำหน่ายในไทย

ในขณะที่น้ำท่วมกำลังเยือนคนไทยอย่างถ้วนหน้ากันตามลำดับนั้น วันนี้ผมจึงอยากจะนำโรคที่มากับน้ำท่วมให้ทุกคนได้รู้จักกัน

โรคน้ำกัดเท้า หรือ ฮ่องกงฟุต เป็นโรคผิวหนังที่บริเวณเท้าติดเชื้อรา พบได้ทุกเพศ และทุกวัย แต่พบบ่อยกว่าในผู้ชายโดยเฉพาะในช่วงวัยรุ่น แต่จะพบได้น้อยในเด็กอายุต่ำกว่า 12 ปี และเนื่องจากเป็นโรคพบบ่อยจากเท้าเปียกน้ำหรือจากการลุยน้ำ บ้านเราจึงเรียกว่า 'โรคน้ำกัดเท้า' ขณะเดียวกันยังพบได้บ่อยในนักกีฬาผ่านรองเท้าที่เปียกชื้นจากเหงื่อ จึงได้ชื่อว่า 'โรคเท้านักกีฬา' (Athlete’s foot) 

(***โรคนี้มีตำนานมาจากกองทัพอังกฤษที่ประจำอยู่ในฮ่องกงในช่วงสงครามฝิ่น เมื่อทหารอังกฤษเจอภูมิอากาศร้อนชื้นและฝนตกในฮ่องกงส่งผลให้ทหารอังกฤษเป็นโรคผิวหนังที่ไม่รู้จัก ซึ่งเป็นตุ่มเล็ก ๆมากมาย บ้างบวมแดง มีเป็นหนอง และคัน โดยแพทย์ยุโรปไม่เคยเจอโรคแบบนี้ จึงคิดว่ามันเป็นโรคระบาดในฮ่องกง และเรียกมันว่า 'ฮ่องกงฟุต')

โรคต่อมาเป็นโรคที่มาจากการรับประทานน้ำที่มีการปนเปื้นเชื้อโรค ซึ่งมีหลายโรคที่มีโอกาสติดเชื้อได้ในช่วงน้ำท่วมอย่างนี้ เช่น โรคไวรัสตับอักเสบเอ, ไข้รากสาดน้อยหรือไทฟอยด์ เป็นต้น ซึ่งโรคเหล่านี้เป็นโรคที่มีวัคซีนที่สามารถป้องกันการเกิดโรคได้

อีกโรคหนึ่งที่น่าสะพรึงกลัวกว่าที่คิด ซึ่งมักมาพร้อมกับภัยน้ำท่วมเช่นนี้ และปัจจุบันในไทยก็ยังไม่มีวัคซีนป้องกันด้วย นั่นก็คือ 'โรคไข้ฉี่หนู'

โรคไข้ฉี่หนูเกิดจากเชื้อเลปโตสไปรา (Leptospira) ที่ถูกขับออกมาจากปัสสาวะของสัตว์ที่ติดเชื้อ การติดเชื้อในคนมีสาเหตุมาจากการสัมผัสดินหรือน้ำที่ท่วมขังหรืออาหารที่ปนเปื้อนปัสสาวะ, เลือด หรือเนื้อเยื่อของของสัตว์ที่มีเชื้อ เช่น สุนัข, วัว, ควาย, หนู, สุกร, ม้า หรือแม้กระทั่งสัตว์ป่าต่างๆ ได้ โดยผู้ที่ได้รับเชื้อโรคฉี่หนูส่วนใหญ่จะไม่มีอาการหรือมีอาการน้อย มีเพียงประมาณ 10-15% ที่จะมีอาการรุนแรง

เมื่อเชื้อโรคฉี่หนูเข้าสู่ร่างกาย เชื้อจะเข้าสู่กระแสเลือดและกระจายไปยังอวัยวะต่าง ๆ ของร่างกาย มีระยะฟักตัวก่อนเกิดอาการเร็วหรือช้าในแต่ละคนจะไม่เท่ากัน บางรายมีอาการเร็วภายใน 2 วัน บางรายนานหลายสัปดาห์หรืออาจจะถึง 1 เดือน แต่โดยส่วนใหญ่แล้วจะเริ่มมีอาการประมาณ 1-2 สัปดาห์หลังจากรับเชื้อ

สำหรับผู้ที่เป็นโรคฉี่หนูมักมีอาการที่เป็นลักษณะเด่น ๆ 2 ระยะ คือ ระยะแรกผู้ป่วยจะมีอาการ อาการไข้สูง, หนาวสั่น, ปวดศีรษะ, ปวดเมื่อยกล้ามเนื้อ, เจ็บคอ, เจ็บหน้าอก, ไอ, คลื่นไส้, อาเจียน, ตาแดง, เยื่อบุตาบวม, มีผื่น, ต่อมน้ำเหลืองโต, ตับโต, ม้ามโต โดยอาการมักเป็นหลาย ๆ อย่างร่วมกันไม่เฉพาะเจาะจงกับอวัยวะใดอวัยวะหนึ่ง คล้าย ๆ กับอาการของโรคไข้หวัดใหญ่, ไข้เลือดออก, มาลาเรีย, ไข้รากสาดใหญ่ ซึ่งอาการระยะแรกนี้มักจะเป็นอยู่ประมาณ 1 สัปดาห์ แล้วอาการจะดีขึ้น

รัฐมนตรีคลังอังกฤษ ถูกปลดหลังทำงานได้ 38 วัน เหตุออกนโยบายเศรษฐกิจที่ประชาชนไม่ยอมรับ

เมื่อวานมีประเด็นร้อนในสหราชอาณาจักร เมื่อรัฐมนตรีคลังอังกฤษ ถูกปลดออก หลังจากทำงานได้ เพียง 38 วันเท่านั้น!!

ส่วนชนวนเหตุสำคัญ คือ การออกนโยบายเศรษฐกิจที่ไม่เป็นที่ยอมรับ

อย่างไรงั้นหรือครับ?

ปัญหา คือ นโยบายนี้เป็นนโยบายที่นายกรัฐมนตรีมีส่วนร่วม 100% ในการคิดและนำเสนอ 

ดังนั้นการปลดรัฐมนตรีคลัง อาจไม่พอ!! ในการปกป้องตำแหน่งตนเอง เพราะตลาดเงินไม่ได้ไม่พอใจตัวบุคคล แต่ไม่พอใจนโยบาย และถึงแม้นายกฯ อังกฤษ จะได้เพิ่งประกาศกลับลำนโยบายบางส่วน ก็อาจจะไม่ช่วยให้เธออยู่ต่อได้ 

2 เหตุผลใหญ่ ทำไมการประชุม APEC ปี 2022 ที่ไทย คนทั่วทั้งโลกต้อง ‘ทบทวน-พิจารณา’

ปี 2022 ที่ประเทศไทยได้รับเกียรติให้เป็นประธานและเจ้าภาพการประชุมสุดยอดผู้นำ APEC และการประชุมอื่นๆ ที่เกี่ยวข้องตลอดทั้งปี มีความสำคัญเป็นอย่างยิ่ง และถือเป็นจุดเปลี่ยนสำคัญของระบบเศรษฐกิจโลก 

ทำไม? เราถึงสามารถกล่าวเช่นนี้ได้ ผู้เขียนคิดว่าเป็นเพราะอย่างน้อย 2 เหตุผลด้วยกัน...

>> เหตุผลส่วนแรก
APEC คือ ความร่วมมือของ 21 เขตเศรษฐกิจที่ยิ่งใหญ่ที่สุดในโลก ประชากรของทั้ง 21 เขตเศรษฐกิจรวมกันครอบคลุมประชากรมากกว่า 3 พันล้านคน หรือคิดเป็น 38% ของประชากรของทั้งโลก และนี่คือกลุ่มประชากรที่มีความน่าสนใจมากที่สุด เพราะตลอด 3 ทศวรรษที่ผ่านมา กำลังซื้อของประชากรกลุ่มนี้ขยายตัวอย่างต่อเนื่อง 

พิจารณาได้จากสัดส่วนของประชากรของ 21 เขตเศรษฐกิจที่ดำเนินชีวิตอยู่ใต้เส้นขีดความยากจนที่ลดลงอย่างมีนัยสำคัญ จากที่มีสัดส่วนของคนจนสูงถึง 41.7% ของประชากรในปี 1990 โดยปัจจุบันตัวเลขนี้ลดต่ำลงเหลือเพียง 1.8% ของประชากร APEC เท่านั้นที่ยังอยู่ในสถานะยากจน 

นอกจากนี้ APEC ยังเป็นตลาดขนาดใหญ่ที่มีขนาดเศรษฐกิจรวมกันราว 2 ใน 3 ของมูลค่าผลผลิตมวลรวมของทั้งโลก หรือคิดเป็นตัวเงินกว่า 50 ล้านล้านดอลลาร์สหรัฐ และมูลค่าการค้าระหว่าง 21 เขตเศรษฐกิจ ยังเทียบเท่ากับครึ่งหนึ่งของมูลค่าการค้าระหว่างประเทศของทั้งโลก

ยิ่งไปกว่านั้นตลอดช่วงเวลากว่า 3 ทศวรรษที่ผ่านมา จากปี 1990 ถึง 2020 มูลค่าการลงทุนระหว่างประเทศภายในกลุ่มสมาชิก APEC เพิ่มขึ้นจาก 45.2% เป็น 67.9% นั่นแปลว่า 21 เขตเศรษฐกิจนี้คือผู้ลงทุนรายสำคัญที่ต่างก็ลงทุนภายกลุ่ม APEC ด้วยกันเอง ซึ่งการลงทุนที่ขยายตัวอย่างต่อเนื่องนี้ เป็นผลมาจากการที่ความร่วมมือทางเศรษฐกิจอย่าง APEC ที่เน้นสร้างความร่วมมือในการพัฒนาสิ่งอำนวยความสะดวกทางการค้า (Trade Facilitations: TFs) อาทิ การลด ละ เลิก มาตรการทางการค้าที่มิใช่มาตรการทางภาษี, การสร้างความร่วมมือเพื่อให้พิธีการทางศุลกากรมีความสะดวกมากยิ่งขึ้น, ลดความซับซ้อนลง หรือ การอำนวยความสะดวกให้นักธุรกิจ APEC ได้ทำให้ดัชนีความยากง่ายในการทำธุรกิจ (Ease of Doing Business: EoDB Index) เฉลี่ยของทั้งกลุ่มปรับตัวสูงขึ้นกว่า 11.3% 

‘Lockheed’ ติดสินบนผู้มีอำนาจหลายชาติ เพื่อปิดดีลซื้อ-ขายเครื่องบิน

ไม่ใช่เฉพาะบ้านเราที่มีข่าวการติดสินบนทั้งในหมู่นักการเมืองและหน่วยราชการต่าง ๆ ในประเทศที่ได้ชื่อว่าเป็น ‘อารยประเทศ’ ก็เคยมีเรื่องเช่นนี้เกิดขึ้นเช่นกัน การติดสินบนอื้อฉาวดังกล่าวทำให้เกิดความขัดแย้งทางการเมืองอย่างมากใน เยอรมนีตะวันตก อิตาลี เนเธอร์แลนด์ และญี่ปุ่น ส่วนในสหรัฐอเมริกาเรื่องอื้อฉาวเกือบจะนำไปสู่ความหายนะของบริษัท Lockheed เนื่องจากต้องดิ้นรนให้พ้นจากความล้มเหลวทางการค้าในการผลิตเครื่องบินโดยสารแบบ Lockheed L-1011 TriStar 

กรณีสินบนจากผลงานที่ทำโดยพนักงานของ บริษัท Lockheed ตั้งแต่ปลายทศวรรษ 1950 จนถึงกลางทศวรรษ 1970 ในขั้นตอนของการเจรจาต่อรองในการเสนอขายเครื่องบินแบบต่างๆ ของบริษัท Lockheed

Clarence ‘Kelly’ Johnson หัวหน้าคนแรกของทีมออกแบบ Skunk Works ของบริษัท Lockheed

ผู้บริหารของบริษัท Lockheed ยอมรับว่า มีการจ่ายเงินสินบนหลายล้านดอลลาร์เป็นเวลากว่าทศวรรษให้กับผู้มีอำนาจใน เยอรมนีตะวันตก อิตาลี เนเธอร์แลนด์ และญี่ปุ่น รวมทั้งซาอุดีอาระเบียเพื่อให้พวกเขาซื้อเครื่องบินของเรา 

‘Kelly’ หมายถึง Clarence ‘Kelly’ Johnson หัวหน้าคนแรกของทีมออกแบบ Skunk Works ของบริษัท Lockheed เองก็ยังรู้สึกเบื่อหน่ายกับการเปิดเผยเรื่องทุจริตเหล่านี้จนเกือบจะลาออก และมีผู้บริหารระดับสูงของบริษัท Lockheed ที่เกี่ยวข้องกับเรื่องอื้อฉาวจะลาออกด้วยความอับอายขายหน้ากันหลายคน

เมื่อมีการผ่านรัฐบัญญัติการค้ำประกันเงินกู้ในกรณีฉุกเฉิน ปี ค.ศ. 1971 ซึ่งโครงการค้ำประกันนี้จะทำให้รัฐบาลสหรัฐรับภาระหนี้ของบริษัท Lockheed หากผิดนัดชำระหนี้ ในปี ค.ศ. 1975 ในเดือนสิงหาคมปี ค.ศ. 1975 คณะกรรมาธิการของรัฐสภาสหรัฐฯ ได้ตรวจสอบว่า บริษัท Lockheed อาจละเมิดภาระหน้าที่หรือไม่ โดยไม่แจ้งให้คณะกรรมาธิการฯ ทราบเกี่ยวกับการชำระเงินในต่างประเทศของบริษัท Lockheed เมื่อวันที่ 14 ตุลาคม ค.ศ. 1977 บริษัท Lockheed และธนาคารผู้ให้กู้ยืม ๒๔ แห่งได้ทำข้อตกลงด้านสินเชื่อโดยให้วงเงินสินเชื่อหมุนเวียน US$100,000,000 เพื่อทดแทนข้อผูกพันในการค้ำประกันของรัฐบาล สิ่งนี้ถูกใช้เพื่อปลดหนี้ของบริษัท Lockheed มูลค่า US$60,000,000 คณะกรรมาธิการการค้ำประกันเงินกู้ฉุกเฉินได้อนุมัติข้อตกลงสินเชื่อฉบับใหม่เมื่อวันที่ 14 ตุลาคม ค.ศ. 1977 ผ่านข้อตกลงการยกเลิกโดยคณะกรรมาธิการค้ำประกันเงินกู้ฉุกเฉินของรัฐบาลฯ หลังจากออกรายงานฉบับสุดท้ายในวันที่ 30 กันยายน ค.ศ. 1977 ค่าธรรมเนียมที่บริษัท Lockheed และธนาคารจ่ายให้แก่คณะกรรมาธิการการฯ สำหรับการบริหารเงินกู้โปรแกรมสุทธิประมาณ US$30,000,000 ซึ่งถูกส่งไปยังกระทรวงการคลังของสหรัฐฯ โดยตรง และไม่เคยมีการมอบเงินภาษีของพลเมืองอเมริกันแก่บริษัท Lockheed เลย

เครื่องบินขับไล่แบบ Lockheed F-104 Starfighter ของกองทัพอากาศเยอรมันตะวันตก

ในช่วงปลายปี ค.ศ. 1975 และต้นปี ค.ศ. 1976 คณะอนุกรรมาธิการของวุฒิสภาสหรัฐ ซึ่งนำโดยวุฒิสมาชิก Frank Church สรุปว่า สมาชิกของคณะกรรมการบริหารของบริษัท Lockheed ได้จ่ายเงินให้สมาชิกของรัฐบาลที่เป็นมิตรเพื่อรับประกันสัญญาสำหรับเครื่องบินรบ ในปี ค.ศ. 1976 มีการเปิดเผยต่อสาธารณะว่า บริษัท Lockheed ได้จ่ายสินบนให้กับเจ้าหน้าที่ต่างชาติจำนวน US$22,000,000 ในกระบวนการเจรจาการขายเครื่องบินซึ่งรวมถึงเครื่องบินขับไล่แบบ F-104 Starfighter ซึ่งถูกเรียกว่า ‘ข้อตกลงแห่งศตวรรษ’ (Deal of the Century)

>> เยอรมนีตะวันตก 
Ernest Hauser อดีต Lobbyist ของบริษัท Lockheed บอกกับคณะอนุกรรมาธิการของวุฒิสภาสหรัฐ ว่า Franz Josef Strauss รัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหมเยอรมันตะวันตกและพรรค Christian Social Union ของเขาได้รับเงินอย่างน้อย US$10,000,000 สำหรับการซื้อเครื่องบินขับไล่แบบ F-104G จำนวน ๙๐๐ เครื่องในปี ค.ศ. 1961 แต่พรรค Christian Social Union และผู้นำพรรคปฏิเสธข้อกล่าวหา และ Strauss ยื่นฟ้อง Hauser ว่าใส่ความ เนื่องจากคำฟ้องดังกล่าวไม่ได้รับการยืนยันปัญหาจึงหลุดไป 

Manfred Wörner สมาชิกของ Bundestag และสมาชิกสภากลาโหม เยอรมันตะวันตก

ในเดือนกันยายน ค.ศ. 1976 ช่วงสุดท้ายของการเลือกตั้งสหพันธรัฐเยอรมันตะวันตก กรณีดังกล่าวได้ถูกหยิบยกขึ้นมาอีกครั้ง เมื่อมีการถามคำถามเกี่ยวกับ ‘เอกสารของ Lockheed’ กระทรวงกลาโหมของรัฐบาลเยอรมันตะวันตกเก็บไว้ ทั้งยังมีแหล่งข่าวนิรนามได้แจกจ่ายเอกสารหลายฉบับให้สื่อมวลชนรับทราบ 

ตามเอกสารเหล่านี้ Manfred Wörner สมาชิกของ Bundestag และสมาชิกสภากลาโหม เยอรมันตะวันตก ได้ตอบรับคำเชิญจากบริษัท Lockheed ให้ไปเยี่ยมชมโรงงานผลิตเครื่องบินของพวกเขาในสหรัฐอเมริกาโดยที่บริษัท Lockheed เป็นผู้ออกค่าใช้จ่ายให้ตลอดการเดินทาง และในระหว่างการสืบสวนยังพบว่า เอกสารส่วนใหญ่ที่เกี่ยวข้องกับการซื้อเครื่องบินขับไล่แบบ Lockheed F-104 Starfighter ถูกทำลายในปี ค.ศ. 1962 เบาะแสของเอกสารได้ถูกนำขึ้นมาหารืออีกครั้งในการประชุมคณะกรรมาธิการสอบสวนของ Bundestag ระหว่างเดือนมกราคม ค.ศ. 1978 ถึงเดือนพฤษภาคม ปี ค.ศ. 1979 และการสืบสวนของทางการสหรัฐฯ เปิดเผยว่าการเดินทางไปสหรัฐฯ Wörner รับทุนจาก Bundestag และเกี่ยวข้องกับการทดสอบการบินกับเครื่องปราบเครื่องดำน้ำแบบ S-3 Viking และเที่ยวบินของ Wörner ที่เดินทางกลับจากสหรัฐอเมริกากลับไปยังเยอรมนีได้รับการชำระโดยบริษัท Lockheed ซึ่ง Wörner เดินทางพร้อมกับเลขานุการของเขา และบริษัท Lockheed ก็ออกค่าใช้จ่ายในการเดินทางส่วนหนึ่งให้เธอ ยิ่งไปกว่านั้น Wörner ยัง ‘เสีย’ ตั๋วเดินทางที่รัฐบาลเยอรมันตะวันตกขากลับไปเยอรมนี และบริษัท Lockheed ‘รับรอง’ เขาด้วยการให้ตั๋วเดินทางกลับอีกใบแก่เขา 

เครื่องบินขนส่งแบบ Lockheed C-130 Hercules ของกองทัพอากาศอิตาลี

>> อิตาลี
เรื่องอื้อฉาวของบริษัท Lockheed ในอิตาลีเกี่ยวข้องกับการติดสินบนนักการเมืองสังกัดพรรค Christian Democrat และพรรคสังคมนิยมเพื่อให้สนับสนุนการจัดซื้อเครื่องบินขนส่งแบบ Lockheed C-130 Hercules ของกองทัพอากาศอิตาลี 

ข้อกล่าวหาเรื่องการติดสินบนได้รับการสนับสนุนจาก L'Espresso นิตยสารทางการเมือง และมีเป้าหมายที่อดีตรัฐมนตรี ๒ คน คือ Luigi Gui และ Mario Tanassi (อดีตรัฐมนตรีอิตาลีคนแรกที่รับโทษจำคุก และเป็นนักการเมืองคนแรกที่ถูกตัดสินว่ามีความผิด ก่อนเกิดเรื่องอื้อฉาวเกี่ยวกับการทุจริตทั่วประเทศในทศวรรษ 1990) อดีตนายกรัฐมนตรี Mariano Rumor และจากนั้น ประธานาธิบดี Giovanni Leone ได้กดดันให้เขาลาออกจากตำแหน่งเมื่อวันที่ 15 มิถุนายน ค.ศ. 1978

โทรเลขรายงานข้อมูลที่เกี่ยวกับการติดสินบนของบริษัท Lockheed จากเอกอัครราชทูตสหรัฐฯประจำเนเธอร์แลนด์มายังรัฐมนตรีว่าการกระทรวงต่างประเทศสหรัฐฯ (Henry Kissinger)

เจ้าชาย Bernhard พระสวามีในสมเด็จพระราชินีจูเลียนา ถูกกล่าวหาว่า ได้รับสินบน US$1,100,000 จากบริษัท Lockheed เพื่อให้แน่ใจว่า เครื่องบินขับไล่แบบ Lockheed F-104 Starfighter จะชนะเครื่องบินขับไล่แบบ Dassault Mirage 5 ในการสั่งซื้อโดยกองทัพอากาศเนเธอร์แลนด์ พระองค์เคยทรงดำรงตำแหน่งในคณะกรรมการบริษัท หรือคณะกรรมาธิการต่าง ๆ มากกว่า 300 แห่งทั่วโลก และได้รับการยกย่องอย่างมากในเนเธอร์แลนด์สำหรับความพยายามในการส่งเสริมความเป็นอยู่ทางเศรษฐกิจที่ดีของประเทศเนเธอร์แลนด์

เจ้าชาย Bernhard พระสวามีในสมเด็จพระราชินีจูเลียนา

นายกรัฐมนตรี Joop den Uyl สั่งให้มีการสอบสวนเรื่องนี้ ในขณะที่เจ้าชาย Bernhard ทรงปฏิเสธที่จะตอบคำถามของผู้สื่อข่าวโดยระบุว่า ‘ข้าพเจ้าอยู่เหนือเรื่องนั้น’ ผลของการไต่สวนนำไปสู่วิกฤตรัฐธรรมนูญซึ่งสมเด็จพระราชินีจูเลียนาทรงขู่ว่า จะทรงสละราชสมบัติหากเจ้าชาย Bernhard ทรงถูกดำเนินคดี เจ้าชาย Bernhard ทรงได้รับยกเว้นการดำเนินคดี แต่ทรงต้องลงจากตำแหน่งสาธารณะหลายตำแหน่ง และถูกห้ามไม่ให้ทรงเครื่องแบบทหารอีก 

เจ้าชาย Bernhard ทรงปฏิเสธข้อกล่าวหามาโดยตลอด แต่หลังจากการสิ้นพระชนม์ชีวิตในวันที่ 1 ธันวาคม ค.ศ. 2004 มีการเผยแพร่บทสัมภาษณ์ที่แสดงให้เห็นว่า พระองค์ทรงยอมรับว่า ทรงรับเงิน พระองค์ตรัสว่า "ข้าพเจ้ายอมรับว่าคำว่า Lockheed จะถูกสลักไว้บนหลุมฝังศพของข้าพเจ้า" 

Adnan Khashoggi ตัวแทนจำหน่ายของบริษัท Lockheed ในซาอุดีอาระเบีย

>> ซาอุดิอาระเบีย
ระหว่างปี ค.ศ. 1970 และค.ศ. 1975 บริษัท Lockheed จ่ายค่า Commissions ราว US$106,000,000 ให้กับ Adnan Khashoggi ตัวแทนจำหน่ายในซาอุดีอาระเบีย เริ่มต้นที่ 2.5% + และในที่สุดก็เพิ่มขึ้นเป็น 15% 

เครื่องบินขับไล่แบบ Lockheed F-104 Starfighter กองกำลังป้องกันตนเองทางอากาศของญี่ปุ่น

>> ญี่ปุ่น
เรื่องอื้อฉาวที่เกี่ยวข้องกับ Marubeni Corporation และอีกสมาชิกระดับสูงทางการเมือง ธุรกิจ และวงการมาเฟียของญี่ปุ่น รวมทั้ง Eisaku Satō รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง และ Minoru Genda ประธานคณะเสนาธิการ กองกำลังป้องกันตนเองญี่ปุ่น (JASDF) ในปี ค.ศ. 1957 กองกำลังป้องกันตนเองทางอากาศของญี่ปุ่นต้องการซื้อเครื่องบินขับไล่แบบ Grumman F11F-1F Super Tiger เพื่อแทนที่เครื่องบินขับไล่แบบ F-86 Saber ที่ประจำการอยู่ในขณะนั้น แต่การล็อบบี้อย่างหนักโดยบริษัท Lockheed โดยแกนนำคนสำคัญของพรรค Liberal Democratic Party ทำให้มีการซื้อเครื่องบินขับไล่แบบ Lockheed F-104 Starfighter แทน

Yoshio Kodama

ต่อมาบริษัท Lockheed ได้ทำการว่าจ้าง Yoshio Kodama ซึ่งเป็นผู้มีบทบาทและอิทธิพลต่อหลายสายการบินของญี่ปุ่น เป็นที่ปรึกษา ซึ่งทำให้ All Nippon Airways (ANA) สั่งซื้อเครื่องบินโดยสารแบบ Lockheed L-1011 TriStar แทนเครื่องบินโดยสารแบบ McDonnell Douglas DC-10 โดยวันที่ 6 กุมภาพันธ์ ค.ศ. 1976 รองประธานของบริษัท Lockheed กล่าวกับคณะอนุกรรมาธิการของวุฒิสภาว่า บริษัท Lockheed ได้จ่ายสินบนประมาณ US$3,000,000 ให้กับสำนักงานของ Kakuei Tanaka นายกรัฐมนตรีญี่ปุ่น เพื่อขอความช่วยเหลือในเรื่องนี้ 


© Copyright 2021, All rights reserved. THE STATES TIMES
Take Me Top