Saturday, 4 May 2024
นายหัวไทร

ชำแหละ!! 5 เขตเลือกตั้ง ‘เมืองคอน’  ใครจะเสยคางใคร หลังรู้เชิงกันแล้ว 

ชำแหละ 5 เขตเลือกตั้งเมืองคอน มวยยก 3 แลกหมัดกันสนุกแน่ หลังรู้เชิงกันแล้ว จับตายกสุดท้ายใครจะเสยคางใคร

หลังมีความสุขกับช่วงเทศกาลมหาสงกรานต์ เรามาทบทวนกันอีกครั้งสำหรับ 10 เขตเลือกตั้งของนครศรีธรรมราช ซึ่งเหลือเวลาอีกเพียง 20 กว่าวัน ก็จะได้เวลาประชาชนพิพากษา 14 พฤษภาคม...ถ้าหากเรียกเป็นภาษามวย ก็ถือว่าเข้าสู่ยกที่ 3 เข้าให้แล้ว

>> เขต 1 
เมืองในเขตเทศบาลนคร ที่มี ดร.รงค์ บุญสวยขวัญ เป็นแชมป์อยู่ในนามพรรคพลังประชารัฐ ถ้ามองผิวเผินเหมือนจะเป็นการแข่งขันกันของ 4 พรรคใหม่ คือ พรรครวมไทยสร้างชาติ ที่ส่ง ‘พูน แก้วภราดัย’ ลูกชายของ ‘น้อย-วิทยา แก้วภารดัย’ ส่วนประชาธิปัตย์ ส่งอดีตผู้ว่าฯ ‘ราชิต สุดพุ่ม’ พรรคพลังประชารัฐ ส่ง ‘ดร.รงค์ บุญสวยขวัญ’ และ พรรคภูมิใจไทย ส่งอดีตนักการธนาคาร ‘จรัญ ขุนอินทร์’ 

แต่ถ้ามองให้ลึกลงไปในรายละเอียด น่าจะเป็นการต่อสู้กันระหว่าง ‘ดร.รงค์’ กับ ‘ราชิต’ เป็นหลัก ซึ่งราชิต อาศัยฐานเดิมของประชาธิปัตย์ ที่มีทุนเดิมอยู่บ้างแล้วอย่างน้อยเขตละ 10,000 เพียงแต่จะทำอย่างไรให้คะแนนต่อยอดไปถึง 30,000 นั้น หมายถึงหาเพิ่มอีก 20,000 คะแนน ซึ่งความเป็นอดีตนายอำเภอเมือง และสายสัมพันธ์กับชุมชนในฐานะอดีตนักปกครอง ก็น่าจะพอฟัดพอเหวี่ยงกับ ดร.รงค์ ที่มีฐานเสียงเดิมในฐานะแชมป์ หลังจากในรอบ 4 ปีที่ผ่านมา มีทั้งจุดด้อย และจุดเด่น จนเมื่อได้ ‘โกเก้า’ เกรียงศักดิ์ ภู่พันธุ์ตระกูล ผู้กว้างขวางในวงการเมืองเข้ามาจับมือกับ โกจู๋-วิฑูรย์ อิสระพิทักษ์กุล ช่วยกันประสานมือทำคะแนนให้กับ ดร.รงค์ จึงทำ ดร.รงค์ เป็นคู่แข่งที่น่ากลัวขึ้นมาทันที แต่ราชิตก็ได้ ‘ลุงนึก’ สมนึก เกตุชาติ อดีตนายกเทศมนตรีนครนครศรีธรรมราชเข้ามาช่วย ทำให้แข็งแกร่งมากขึ้น ซึ่งที่ผ่านมาลุงนึกไม่เอาประชาธิปัตย์เลย แต่คราวนี้หนีไปพ้นเมื่อญาติสนิทลงชิง

ฉะนั้น ราชิต คงต้องหาตัวช่วยที่เข้มแข็งเข้ามาช่วยทำงาน ทั้งคนในและคนนอกพื้นที่ที่มีบารมีพอฟัดพอเหวี่ยงกับสองโกเพื่อเดินไปสู่เป้าหมาย ‘ล้มรงค์’ ซึ่ง ดร.รงค์ก็เป็นนักวิชาการสายรัฐศาสตร์ชั้นเชิงทางการเมืองก็ไม่ธรรมดา เอาเป็นว่า ‘รู้เขารู้เรา’

>> เขต2 
ถือเป็นเขตปลอด ส.ส.เก่า คือ ไม่มีเจ้า แต่ ‘สายัณห์ ยุติธรรม’ ย้ายจากท่าศาลา มาลงเขตนี้ และย้ายพรรคจากพลังประชารัฐมาอยู่กับ ‘ลุงตู่’ ที่รวมไทยสร้างชาติ เพื่อเปิดทางให้น้องชาย ‘อำนวย ยุติธรรม’ ได้ลงสมัครรับเลือกตั้งในบ้านเกิดท่าศาลา ซึ่งสายัณห์แม้จะเป็นอดีต ส.ส.แต่คนละเขต แม้เขตใหม่จะเป็นฐานเดิมอยู่บ้าง แต่ไม่ทั้งหมด สายัณห์ต้องสร้างฐานใหม่ย่านพระพรหม ซึ่งก็มีอัตราเสียงอยู่ไม่น้อย 

ทว่าแม้เจ้าตัวจะยืนยัน 4 ปีมีผลงาน และคนรู้จัก แต่เมื่อมาดูคู่แข่งแล้ว จะพบว่า ประชาธิปัตย์ลงตัวที่ ‘นายกหนึ่ง’ นายทรงศักดิ์ มุสิกอง อดีตนายกฯ ปากนคร ซึ่งเป็นคนรุ่นใหม่ที่จะได้สร้างขึ้นมาสืบทอดเจตนารมณ์-อุดมการณ์ของประชาธิปัตย์ต่อไป ส่วนด้าน พรรคพลังประชารัฐ ‘สจ.สุภาพ ขุนศรี’ ยอมหลีกให้ ดร.รงค์ มาลงเขตนี้ โดยสจ.สุภาพ ออกจาก เครือข่ายผู้นำท้องถิ่น-ท้องที่แล้ว จะต้องอาศัยเครือข่ายของสามี สายนักเลง นักการพนัน แต่เป็นคนต่างถิ่น เอาเป็นว่าเขตนี้ ‘สายัณห์-สจ.สุภาพ’ หายใจรดต้นคอกันเป็นแน่แท้ ส่วนทรงศักดิ์ อยู่ที่องคาพยพของประชาธิปัตย์ จะช่วยกันหอบหิ้วได้แค่ไหน ถ้าประชาธิปัตย์ตั้งเป้าว่านครศรีฯจะต้องได้ 7+ ‘แทน-ชัยชนะ เดชเดโช’ จะต้องออกแรงมากกว่านี้ นายกฯ หนึ่งถึงจะเข้าวิน

กล่าวสำหรับพระพรหมแล้ว ถือว่าทุกคนใหม่หมด สจ.สุภาพ มาจากเขตเมือง นายกฯ หนึ่งมาจากปากนคร สายัณห์มาจากท่าศาลา โอกาสจึงเป็นของทุกคน สายัณห์อยู่ในฐานะได้เปรียบ เพราะมีฐานเดิมอยู่บ้างในบางตำบล

>> เขต 3 (หัวไทร-ปากพนัง) 
แม้ ‘เท่ห์-พิทักษ์เดช เดชเดโช’ ลูกชายของ ‘เจ้ต้อย-กนกพร เดชเดโช’ นายกฯอบจ.นครศรีฯ น้องชายของแทน-ชัยชนะ เดชเดโช จะเปิดตัวทีหลัง แต่ก็มาแรงแซงขึ้นที่ 1 อย่างรวดเร็ว วิ่งฉิวนำหน้า ขณะที่ ‘มานะ ยวงทอง’ จากภูมิใจไทย ที่เปิดตัวมาร่วมปี และเป็นที่รู้จักมักคุ้นกันแล้ว แต่ม้าตีนต้นเริ่มแผ่วปลายกับการบริหารจัดการในบางเขต-บางโซน แม้บางเขตจะยังเหนียวแน่นกับเครือญาติก็ตาม แต่บางองคาพยพเริ่มเปลี่ยนค่ายบ่ายหน้าไปค่ายสีฟ้า 

ส่วนพลังประชารัฐ ส่ง ‘สัณหพจน์ สุขศรีเมือง’ ซึ่งเป็นแชมป์เก่า ดูภาพรวมแล้วไม่หวือหวา กระสุนยังไม่ออก ก็เหนื่อยหน่อย ฐานคะแนนเดิมเริ่มถูกแย่ง-ถูกแบ่งแยก สถานการณ์ปัจจุบันเงียบไปนิดหนึ่ง ส่วนรวมไทยสร้างชาติส่ง ‘นนทิวรรธน์ นนทภักดิ์’ คนสนิทของวิทยาลงประชัน ซึ่งนนทิวรรธ์ มีฐานเสียงที่หน้าแน่นอยู่ในตลาดปากพนัง เป็นด้านหลัก แต่โซนหัวไทรยังเป็นจุดบอด ถ้ามีเวลาให้เตรียมตัวมากกว่านี้ และใช้เครือข่ายวิทยาเดินเครื่อง ก็น่าสนใจ เพราะเป็นผู้สมัครเพียงคนเดียวที่เป็นคนพื้นที่ เกิดที่ปากพนัง ขณะที่ พิทักษ์เดช เกิดที่ร่อนพิบูลย์ แต่มีภรรยาคนปากพนัง, สัณหพจน์ เกิดที่เชียรใหญ่ แต่เคยคลุกคลีกับธุรกิจกุ้งในวัยหนุ่ม, มานะ เกิดที่เชียรใหญ่ ไม่ค่อยได้อยู่ในพื้นที่ทำธุรกิจกล่องกระดาษอยู่สมุทรสาคร และชลบุรี ในช่วงโควิดระบาดหนักเขาจึงบริจาคกล่องกระดาษทำเตียงสนามจำนวนมาก และผันตัวเองมาลง ส.ส.

>> เขต 3 
ไม่ควรมองข้าม ‘มนตรี เฉียบแหลม’ จากเพื่อไทย ที่คนเริ่มเบื่อพรรคโน้นพรรคนี้ และมองหาพรรคใหม่ เพื่อไทยจึงเป็นตัวเลือกอยู่ไม่น้อย น่าเสียดายว่า เพื่อไทยเปิดตัวเขาให้ลงเขตนี้ช้าไป แต่กระแสเพื่อไทยพอมี คะแนนพรรคมีแน่นอน และตัวเลขไม่น่าเกลียดด้วย ฉะนั้นเขต 3 ด้วยเครือข่ายที่มากกว่า เหนียวแน่นกว่า ถึงกว่า ท้ายที่สุดแล้ว ‘โกเท่ห์’ จะเข้าป้าย แต่ตัองระวัง-หลีกเลี่ยงข้อสุ่มเสี่ยง

>> เขต4 (ชะอวด-เชียรใหญ่-เฉลิมพระเกียรติ)
น่าจะเป็นเขตที่สู้กันดุเดือด มีคู่แข่งหลักอยู่ 5 พรรค แชมป์เก่าคือ ‘อาญาสิทธิ์ ศรีสุวรรณ’ ยังสังกัดพรรคพลังประชารัฐเหมือนเดิม และมั่นใจในผลงาน บทบาทหน้าที่ที่ผ่านมา สองปี ส่วน ประชาธิปัตย์ ส่ง ‘ยุทธการ รัตนมาศ’  อดีตรองนายกฯ อบจ.นครศรีธรรมราช เคยมีข่าวโด่งดังในตำแหน่งนายกสมาคมกีฬานครศรีธรรมราช

รู้จัก 'เท่ห์-พิทักษ์เดช' เบอร์ 1 เขต 3 เมืองคอน ขอเชื่อมทุกความร่วมมือ พาความเจริญสู่พื้นที่

หลายคนสอบถามมาว่า “เท่ห์-พิทักษ์เดช เดชเดโช' เป็นใครมาลงสมัครรับเลือกตั้งเป็น ส.ส.เขต 3 (หัวไทร-ปากพนัง) สังกัดพรรคประชาธิปัตย์ 

ก็บอกตามตรงว่า “ส่วนตัวไม่รู้จักกัน” แต่ผมรักพ่อเขา “วิฑูรย์ เดชเดโช” อดีตนายกองค์การบริหารส่วนจังหวัดนครศรีธรรมราช (ผู้ล่วงลับ) กับ “กนกพร เดชเดโช” นายกองค์การบริหารส่วนจังหวัดนครศรีธรรมราช คนปัจจุบัน

เท่ห์ เป็นทายาทคนที่ 3 จาก 4 คนพี่น้อง “เดชเดโช” จบมัธยมปลาย จากโรงเรียนเบญจมราชูทิศ นครศรีธรรมราช ซึ่งเป็นโรงเรียนชายอันดับหนึ่งของนครศรีธรรมราช ถ้าเป็นโรงเรียนหญิงก็จะเป็นโรงเรียนกัลยาณี 

ระบบการศึกษาแบบ “แพ้คัดออก” เมื่อเท่ห์ของเข้ามหาวิทยาลัยระบบปิดไม่ได้ จึงมุ่งหน้าสู่มหาวิทยาลัยเปิด “ตลาดวิชา” อย่างมหาวิทยาลัยรามคำแหง เข้าเป็น “ลูกพ่อขุน” ตามพี่ชาย “แทน-ชัยชนะ เดชเดโช” เข้าเลือกเรียนนิติศาสตร์ และจบเป็นนิติศาสตร์บัณฑิต มหาวิทยาลัยรามคำแหง และต่อด้วยปริญญาโทนิติศาสตร์มหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยรามคำแหง 

ขณะกำลังศึกษา ได้เข้าร่วมกับกลุ่มเพื่อนนักศึกษา ทำกิจกรรมทางการเมือง ออกให้ความรู้ทางด้านกฎหมายกับพี่น้องประชาชนที่ขาดความรู้ในทางด้านกฎหมาย ถือว่าเป็นนักศึกษากิจกรรมคนหนึ่ง

เท่ห์ เกิดในครอบครัวนักการเมือง เลือดในกายจึงผสมด้วยกลิ่นอายทางการเมือง เขาได้รับการแต่งตั้งให้เป็นที่ปรึกษารัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงพาณิชย์ ที่ปรึกษาคณะอนุกรรมาธิการพิจารณาศึกษาปัญหาการดำเนินงานในการบริหารจัดการทรัพย์สินและการบริหารจัดการหนี้ ปัญหาหนี้สินจากการบังคับคดี และปัญหาหนี้นอกระบบ

“พูดจริงๆ เท่ห์ เขาไม่อยากเข้ามาทำงานการเมืองมากนัก เขาอยากอยู่เบื้องหลัง ดูแลพี่ๆ น้องๆ ดูแลธุรกิจมากกว่า แต่ทางครอบครัวขอร้องว่าถึงเวลาแล้ว และเขาก็ตัดสินใจด้วยตัวเองเอง” แทน กล่าวถึงน้องชาย

ช่วงเปิดตัวใหม่ๆ เท่ห์ประสงค์จะลงเขต 1 (เมือง) แต่เมื่อพรรคประชาธิปัตย์ได้ “ราชิต สุดพุ่ม” อดีตผู้ว่าราชการจังหวัดปัตตานี มาลงสมัคร เท่ห์จึงเปิดทางให้ และขยับไปเขต 2 ซึ่งเดิมจะติดอำเภอปากพนังไปด้วย แต่เมื่อ ส.ส.เพิ่มเป็น 10 กกต.แบ่งเขตเลือกตั้งใหม่ ปากพนังทั้งอำเภอถูกจัดให้เป็นเขต 3 ร่วมกับอำเภอหัวไทร เท่ห์จึงขอลงเลข 3 

เมื่อได้รับมอบหมายให้ดูแลพื้นที่เลือกตั้ง เขาก็ทำหน้าที่ได้ดี และตั้งใจ ขยันลงพื้นที่ พวกเราก็ไม่ผิดหวัง และเชื่อว่า ถ้าเขาได้รับเลือกตั้งก็จะทำหน้าที่ได้ดีเช่นกัน

อยากให้พี่น้องประชาชนได้ผู้นำที่เข้าใจ เข้าถึง รู้ถึงปัญหาของพื้นที่อย่างแท้จริง และ ต้องการให้การบริหารและการพัฒนาเท่าเทียมกันอย่างเป็นรูปธรรมเพื่อสนองความต้องการของพี่น้องประชาชนในแต่ละพื้นที่ โดยที่จะต้องได้คำว่า “ผู้นำแห่งความร่วมมือ” นี้เป็นเจตนารมย์ของเท่ห์ในการตัดสินใจกระโดดเข้าสู่เวทีการเมือง

กล่าวสำหรับเขตเลือกตั้งที่ 3 แล้ว เดิมทีก่อนหน้านี้ น้อย-วิทยา แก้วภารดัย จากพรรคประชาธิปัตย์ เป็น ส.ส.อยู่ แต่ในการเลือกตั้งปี 2562 น้อยแพ้ให้กับสัญหพจน์ สุขศรีเมือง จากพรรคพลังประชารัฐ แบบ “หักปากกาเซียน” พูดได้ว่าเป็นเขตล้มช้าง ล้มอดีตรัฐมนตรีว่าการกนะทรวงสาธารณะสุข ดีกรี ส.ส.เขตนี้ 8 สมัย แต่เลือกตั้งครั้งครานี้ “น้อย-วิทยา” แยกตัวไปจากประชาธิปัตย์ ไปร่วมกับพรรค “ลุงตู่-รวมไทยสร้างชาติ” ส่ง “นนทิวรรธน์ นนทภักดิ์” คนสนิทมาลงสมัครรับเลือกตั้งแทน

อย่าหยามมวยรอง!! เมืองคอนเขต 3 ไม่ง่าย หลัง ‘เสี่ยอ่าง’ ลั่น!! “ผมมีวิธีจัดการคะแนนตามถนัดในแบบที่คนอื่นไม่มี”

‘สมศักดิ์ เมธา’ เดินอาดๆ เข้ามาในร้านข้าวแกงหลังสถานีรถไฟชะวอด จ.นครศรีธรรมราช พร้อมทีมงานตามหลังมาอีก 7-8 คนบอกว่า “ผมจะลงสมัครผู้แทน”

สิ้นเสียงของสมศักดิ์ก็มีคำถามตามมามากมาย เช่น จะลงพรรคไหน จะมีอะไรไปสู้เขา เป็นต้น

สมศักดิ์ตอบชัดเจนว่า จะลงสมัครรับเลือกตั้งในนาม พรรคเพื่อไทย และวันที่ 3 เมษายน สมศักดิ์ก็ไปยื่นใบสมัครเรียบร้อยแล้ว

“ถ้าถามว่าจะเอาอะไรไปสู้เขา บอกได้เลยครับว่า ผมเป็นคนในพื้นที่ ทำงานรู้จักชาวบ้าน และชาวบ้านก็รู้จักผมดี ผมช่วยเหลือคนมามาก ศาลาริมถนนผมสร้างด้วยเงินส่วนตัวผมทั้งนั้น”

เขต 4 นครศรีธรรมราช (ชะอวด-เฉลิมพระเกียรติ-เชียรใหญ่) ถือเป็นเขตเลือกตั้งอีกเขตที่จะมีการต่อสู้กันดุเดือด ซึ่งปัจจุบันมีนายกองตรีอาญาสิทธิ์ ศรีสุวรรณ เป็น ส.ส.ในเขตนี้ และยังลงสมัครรับเลือกตั้งในเขตเดิม พรรคพลังประชารัฐเหมือนเดิม พูดได้ว่า เดินแบบนิ่มกับเครือข่ายมากมาย ก็ไม่ธรรมดาเหมือนกัน

ที่บอกว่าสนามเลือกตั้งนี้จะต้องต่อสู้กันดุเดือดแน่นอน เพราะผู้สมัครแต่ละคนไม่ธรรมดา อย่างอาญาสิทธิ์ นอกจากเป็นแชมป์แล้ว ยังเคยเป็นนายอำเภอ ปลัดอำเภอในโซนนี้มายาวนาน ปลัดณัฐกิตติ์ หนูรอด ในนามพรรคภูมิใจไทย เป็นคนเคร็งโดยกำเนิด อดีตปลัดองค์การบริหารส่วนจังหวัดพัทลุง ผ่านประสบการณ์นักปกครองมาโชกโชน 

ที่จะไม่กล่าวถึงไม่ได้ คือ พงศ์สิน เสนพงศ์ น้องชายของเทพไทย เสนพงศ์ ลงสมัครรับเลือกตั้งในนามพรรครวมไทยสร้างชาติ เคยลงสมัครรับเลือกตั้งในการเลือกตั้งซ่อมมาแล้วกับคะแนน 30,000 กว่าคะแนน เพียงแต่พ่ายให้กับอาญาสิทธิ์เท่านั้นเอง คราวนี้คะแนนเสียงย่านเชียรใหญ่ บ้านเกิดไม่มีใครมาแบ่ง

‘หัวไทร-ปากพนัง’ เขตที่ ‘แทน’ ต้องทำให้ ‘เท่ห์’ ชนะ แต่ต้องจับตา ‘มนตรี-เพื่อไทย’ พร้อมเสียบ

เดินเก็บข้อมูลอยู่ในเขต 3 นครศรีธรรมราช (ปากพนัง-หัวไทร) 3 วัน ได้ข้อมูลที่น่าสนใจเกี่ยวกับการเลือกตั้งที่กำลังจะมาถึงในวันที่ 14 พฤษภาคมนี้ ถึงวิธีคิดของชาวบ้านที่เปลี่ยนแปลงไปอย่างมีนัยยะ

เขตหัวไทร-ปากพนัง เดิมเป็นเขตเลือกตั้งที่ 2 แต่ปัจจุบันเป็นเขต 3 ซึ่งมี ‘สัญหพจน์ สุขศรีเมือง’ เป็น ส.ส.อยู่ สังกัดพรรคพลังประชารัฐ และเลือกตั้งคราวนี้ยังอยู่ในสังกัดพลังประชารัฐเหมือนเดิม และเป็นพรรคที่มี พล.อ.ประวิตร วงษ์สุวรรณ เป็นหัวหน้าพรรค รวมทั้งเป็นแคนดิเดตนายกรัฐมนตรี

ตามที่ได้ฟังเสียงสะท้อนจากชาวบ้าน กระแสของ ‘สัญหพจน์’ แผ่วเบามาก และแผ่วเบาพอ ๆ กับเมื่อ 4 ปีก่อน ซึ่งสัญหพจน์ได้รับการเลือกตั้ง น่าจะเกิดจากกระแส ‘ลุงตู่’ พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา มากกว่า เมื่อบวกรวมกับความต้องการเปลี่ยนของชาวบ้าน และสอนบทเรียนให้ประชาธิปัตย์ ทำให้สัญหพจน์ได้รับการเลือกตั้งเข้าไปเป็น ส.ส. และถือเป็นเขตล้มช้าง เพราะเอาชนะ ‘วิทยา แก้วภารดัย’ จากพรรคประชาธิปัตย์ ชนิดหักปากกาเซียน

แต่สำหรับการเลือกตั้งครั้งใหม่ ‘ลุงตู่’ ไม่อยู่แล้ว ย้ายไปสังกัดพรรครวมไทยสร้างชาติ กระแสลุงตู่สำหรับสัญหพจน์จึงไม่มี ไม่มีตัวช่วยเหมือนครั้งก่อน ตัวช่วยอย่าง พ.อ.สุชาติ จันทรโชติกุล ก็ไม่อยู่แล้ว คราวปี 2562 พ.อ.สุชาติ เป็นตัวช่วยในการทำคะแนนให้สัญหพจน์ไม่น้อย

ถามว่า ถ้าอย่างนั้นกระแสจะไปอยู่ตรงไหน ใครมีโอกาสได้รับเลือกเป็น ส.ส. ย้อนไปเมื่อ 5-6 เดือนก่อน กระแสของ ‘มานะ ยวงทอง’ จากพรรคภูมิใจไทย ค่อนข้างแรงกับคนรุ่นใหม่ กับพรรคที่กำลังมีกระแสแรงในภาคใต้ แต่วันเวลาผ่านไป กระแสของมานะเริ่มจะถดถอย ถดถอยอันเกิดจากหลายเหตุผล ประการแรกเกิดจากตัวมานะเองที่ไม่ชัดเจนในบางเรื่อง ทำงานจัดตั้งไม่เข้มแข็งพอ ได้หน้าลืมหลัง เดินไปข้างหน้า ไม่หันไปมองข้างหลัง หัวคะแนนระดับ ‘หัวกะทิ’ เริ่มถอยห่าง ซึ่งเป็นหัวกะทิในระดับจัดการคะแนนได้ จัดตั้งเป็น รู้จักคนในพื้นที่ดีว่าใครเป็นใคร น่าจะช่วยใคร แต่มานะกลับไม่เห็นคุณค่า ปล่อยให้เขาเคว้งคว้าง และคนอื่นมาคว้าพุงปลามันไปกิน

เมื่อบวกรวมกับกระแสพรรคภูมิใจไทยที่ไม่หวือหวาเหมือนเดิม ถูกโหมกระหน่ำหนักทั้งเรื่องกัญชา เรื่องศักดิ์สยาม ชิดชอบ ถูกศาลสั่งพักงาน ‘เสี่ยชูวิทย์ กมลวิศิษฏ์’ ก็ตามบี้ไล่หลัง ยังมีเรื่องศาลสั่งให้เพิกถอนเอกสารสิทธิ์ที่ดินเขากระโดง ที่ถูกกล่าวหาบุกรุกที่ดินรถไฟอีก…หนักหน่อยนะ

ใครเข้ามาคว้า ที่เห็นอย่างน้อยสองคน คนแรกคือ ‘เท่ห์’ พิทักษ์เดช เดชเดโช จากพรรคประชาธิปัตย์ เมื่อเขตเลือกตั้งชัด ‘เท่ห์’ ก็ชัดว่า จะลงเขต 3 และเริ่มลุยหัวไทรทันที โดยหลังจากบุกปากพนังมาแล้วหลายเดือนจนลงตัว ‘เท่ห์’ ก็เข้าหัวไทรถี่ยิบ โดยมีพี่ชาย ‘แทน’ ชัยชนะ เดชเดโช รองเลขาธิการพรรคประชาธิปัตย์ เป็นคนชี้เป้า ชี้เป้าไปยังผู้นำท้องถิ่น ผู้นำท้องที่ และผู้นำตามธรรมชาติ และบางคนแทนยกหูคุยเอง และเดินทางไปพบด้วยตัวเอง

ไม่ใช่แค่นั้น หลังแทนบุกเข้าไปชี้เป้าให้เท่ห์ ยังมี ‘เจ๊ต้อย’ กนกพร เดชเดโช นายกฯ อบจ.ผู้เป็นแม่ ตามไปสำทับ ผ่านองค์กรท้องถิ่น ผู้นำสตรีอีกครั้ง กระแสประชาธิปัตย์ที่เดิมไม่ค่อยดีนัก แต่การเข้ามาเองของ ‘แทน-ต้อย’ เริ่มมีคนกล่าวขานถึง กล่าวขานถึงการมีโอกาสได้รับเลือกตั้งสูง และเชื่อว่า ‘ต้อย-แทน’ จะต้องทำให้ ‘เท่ห์’ ชนะในเขตนี้ ไม่งั้นก็ ‘บัดสีคน’

'อำนวย นวลทอง' ผู้ขันอาสา 'รวมไทยสร้างชาติ' เปลี่ยนการเมืองตรัง กร้าว!! สู้ไม่มีถอย ลงสมัครเพื่อชนะ ไม่ใช่เพื่อแพ้

น่าติดตามอย่างยิ่งกับพื้นที่ในจังหวัดตรัง เมื่อ 'อำนวย นวลทอง' ได้กล่าวอย่างหนักแน่นว่า จะลงสมัครรับเลือกตั้ง ส.ส.ครั้งนี้ ในนามพรรครวมไทยสร้างชาติ เพื่อให้เกิดการเปลี่ยนแปลงทางการเมืองในจังหวัดตรัง และประกาศศักดา ขอสู้แบบไม่มีถอย มาลงสมัครก็เพื่อชนะ ไม่ใช่เพื่อพบกับความพ่ายแพ้

“30-40 ปีของการเมืองในจังหวัดตรัง พี่น้องประชาชนให้โอกาสกับบางพรรคการเมืองมายาวนาน แต่เมืองตรังกลับย่ำอยู่กับที่ หรือถดถอยด้วยซ้ำ ประชาชนจนลง บ้านเมืองไม่ได้รับการพัฒนา จึงตัดสินใจนำความรู้ ประสบการณ์ที่มีอยู่ขันอาสามารับใช้บ้านเกิด บ้านเมืองจะได้เกิดการเปลี่ยนแปลง” อำนวย กล่าว

อำนวย กล่าวอีกว่า ปัญหาใหญ่ของจังหวัดตรังคือปัญหาที่ดินทำกิน อันเกิดจากการที่ภาครัฐไปประกาศเขตอุทยานบ้าง เขตทุ่งเลี้ยงสัตว์บ้าง ทับที่ดินทำกินของชาวบ้าน จึงไม่สามารถออกเอกสารสิทธิ์ใดๆ ได้ ทั้งๆ ที่ชาวบ้านทำกินบนที่ดินแปลงนั้นมาก่อน และสภาพที่ดินก็ควรให้ชาวบ้านได้สิทธิ์ทำกิน แต่กลับถูกเจ้าหน้าที่รัฐโค่นทำลาย

อำนวย กล่าวต่อว่า อีกปัญหาของเมืองตรัง คือการบริหารจัดการน้ำ ถึงหน้าฝนก็เจอน้ำท่วม พอหน้าแล้งก็ขาดน้ำ ไม่มีใครคิดเรื่องการบริหารจัดการน้ำ การทำแหล่งกักเก็บน้ำ ซึ่งถ้ามีโอกาสก็จะเข้าไปดูแก้ไขปัญหาเหล่านี้ 

ทั้งนี้ หากกล่าวถึง 'อำนวย นวลทอง' แล้ว พี่น้องชาวละมอ อ.นาโยง จ.ตรัง คงรู้จักกันดี เพราะเขาถือกำเนิดบนผืนแผ่นดินแห่งนี้ โตที่นี้ และเรียนจบการศึกษาระดับมัธยมปลายจากโรงเรียนวิเชียรมาตุ

แต่ด้วยการศึกษาในระบบ 'แพ้คัดออก' ทำให้อำนวยสอบเข้ามหาวิทยาลัยเปิดไม่ได้ เขาจึงบ่ายหน้าเข้าเมืองหลวง เข้าสู่ระบบการศึกษา 'ตลาดวิชา' เป็นลูกพ่อขุนในรั้วมหาวิทยาลัยรามคำแหง

"รู้จักอภัย ตั้งใจศึกษา บูชาพ่อขุน สนองคุณชาติ" คือคำขวัญของมหาวิทยาลัย ที่ติดตาตรึงใจอำนวยตั้งแต่ก้าวแรกที่ย่างเข้าสู่รั้วรามคำแหง และเมื่อเขาเดินทางเข้ากรุงก็มุ่งมั่น ตั้งใจศึกษา มีพ่อขุนเป็นเครื่องยึดเหนี่ยวจิตใจ 

กระนั้น ภายหลังจากจัดแจงเรื่องเอกสาร และมติพรรครวมไทยสร้างชาติ ให้ 'อำนวย นวลทอง' ลงสมัคร ส.ส.เขต 3 จังหวัดตรัง อำนวยจึงได้หอบกระเป๋าเอกสารเดินทางเข้าสู่รั้วรามคำแหง แจ้งต่อพ่อขุนฯ ถึงเจตนารมณ์ และไหว้ขอพร พร้อมกล่าวคำปณิธานให้พ่อขุนฯ ได้รับทราบ ว่า...

"เมื่อครั้งเข้ามาเมืองหลวงใหม่ๆ ฉันเยาว์ ฉันเขลา ฉันทึ่ง ฉันหอบความเขลาจากบ้านนอก เข้ามาหาความหมายในเมืองหลวง เพื่อหวังแก้ปัญหาอีกมากมายที่สั่งสมบ่มเพาะอยู่ในสังคมไทย สังคมแห่งความเหลื่อมล้ำ สังคมแห่งการเอารัดเอาเปรียบ แม้แต่การศึกษาก็ยังไม่เท่าเทียมกัน" อำนวย กล่าว

ระหว่างศึกษาอำนวยกระโดดเข้าสู่เวทีกิจกรรมนักศึกษา ทำกิจกรรมแนวบำเพ็ญสาธารณประโยชน์ และการเมือง ออกค่ายอาสา ร่วมเวทีเรียกร้องความเป็นธรรมในนามองค์กรนักศึกษา ชื่อเสียงของอำนวยเป็นที่รู้จักกันของระดับนำของนักศึกษากลุ่มหัวก้าวหน้าในรั้วรามคำแหง

อำนวยเป็นนักศึกษากิจกรรมรุ่นเดียวกับ 'นิพนธ์ บุญญามณี' รองหัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์ รุ่นเดียวกับ 'วิสูตร สุจิรกุล' อดีตนายกองค์การนักศึกษามหาวิทยาลัยรามคำแหง และ สมชาย โล่สภาพิพิธ อดีต ส.ส.ตรัง พรรคประชาธิปัตย์

หลังจบการศึกษาระดับปริญญาตรี อำนวย เข้าสู่ระบบราชการในกระทรวงอุตสาหกรรม เป็นเจ้าหน้าที่ควบคุมการจัดจำหน่ายน้ำตาลทราย จากนั้นได้ลาออกมาทำงานภาคเอกชนและทำธุรกิจส่วนตัว โดยเข้าไปทำงานในบริษัท หมากหอมเยาวราช ของนายพิชัย รัตตกุล อดีตหัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์ จึงได้มีโอกาสได้รู้จักกับ ดร.พิจิตต รัตตกุล อดีตผู้ว่าฯ กทม. พร้อมกันนี้ 'อำนวย' ยังเป็นหนึ่งในคณะทำงานรณรงค์หาเสียงให้กับเดโช สวนานนท์ ร.ท.เชาวลิต เตชะไพบูลย์ และ ร.ต.ฉลาด วรฉัตร อีกด้วย

'อำนวย' กระโดดเข้าสู่เวทีการเมืองในยุคที่สังคมกำลังเปิดทางให้กับคนรุ่นใหม่ อำนวยได้รับเลือกเป็นสมาชิกสภาเขตพญาไท กรุงเทพมหานคร 

ในช่วงวัยหนุ่ม ด้วยหวังว่า ตำแหน่งทางการเมืองจะช่วยแก้ไขปัญหาให้พี่น้องประชาชนได้ 'อำนวย' ได้รับเลือกตั้งให้เป็นประธานสภาเขตพญาไทถึงสองสมัย และเป็นคณะทำงานของกลุ่มยุวประชาธิปัตย์ เป็นกรรมการบริหารพรรคประชาธิปัตย์ สาขาพญาไท

อำนวยยังวาดฝันว่า วันหนึ่งจะก้าวสู่การเมืองระดับชาติ เพื่อแก้ไขปัญหาเชิงโครงสร้างการเมืองได้มากกว่าการเมืองท้องถิ่น แต่เมื่อเหลียวซ้ายมองขวา บ้านเกิดของตัวเองก็ยังมีปัญหาอีกมากที่ควรได้รับการแก้ไข รวมถึงการปูทางไปสู่ความเป็นเมืองท่องเที่ยว สร้างสังคมอุดมธรรม สังคมสร้างสุข

อำนวยตัดสินใจครั้งสำคัญอีกครั้ง ทิ้งสิ่งที่สร้างและมีอยู่ในเมืองหลวง บอกภรรยาเก็บกระเป๋ากลับละมอบ้านเกิด และเริ่มต้นทำในสิ่งที่ฝัน เดินตามพ่อ 'เศรษฐกิจพอเพียง' กับที่ดินแปลงมรดก พร้อมขยายแนวคิดไปยังชาวบ้าน เดินหน้าสร้างความอยู่รอด และอยู่เย็นเป็นสุขในชุมชน

'อำนวย' ฝันไกลไปกว่านั้น ฝันเห็นการเปลี่ยนแปลงทางการเมืองในจังหวัดตรัง เพื่อการพัฒนาในเชิงรุกกับการลงชิง ส.ส.ตรัง เขต 3 แม้จะต้องสู้กับลูกสาวของเพื่อนรัก 'สมชาย โล่สถาพรพิพิธ' ก็ตาม ตามหลักคิด “การเมืองเป็นเรื่องของประชาชน และต้องมีการแข่งขัน”

วันนี้ชายนักสู้ ยังเต็มเปี่ยมไปด้วยอุดมการณ์ประชาธิปไตย ล้นไปด้วยประสบการณ์ ผ่านการศึกษา เรียนรู้ ทั้งในระบบและนอกระบบ มาอย่างท่วมท้น พร้อมจะลงสู้ศึกชิงเก้าอี้ ส.ส.เขต 3 จ.ตรัง ศึกคนกันเองกำลังจะระเบิดขึ้นท่ามกลางความขัดแย้งของคนประชาธิปัตย์ในจังหวัดตรัง

“ผมพร้อม ทีมงานพร้อม” อำนวยกล่าวอย่างมั่นใจในการเปิดศึกกับคนกันเอง แพ้-ชนะไปว่ากันในสนามเลือกตั้ง ประชาชนจะเป็นคนชี้ขาด แต่งานนี้ 'อำนวย' สู้ไม่มีถอย

'มนตรี เฉียบแหลม' เล็งจองเขต 2 นครศรีฯ สังกัด 'เพื่อไทย' ดีกรี ดำเนินการกิจกรรมทางการเมืองในเมืองคอนร่วม 20 ปี

มนตรี เฉียบแหลม เปิดเผยกับ #นายหัวไทร ว่า ได้เสนอตัวลงสมัครรับเลือกตั้งเป็น ส.ส.นครศรีธรรมราช เขต 1 และ 2 ในนามพรรคเพื่อไทย

“เขต 1 มีปรีชา แก้วกระจ่าง เสนอตัวด้วย จึงมีการพูดคุยกัน กำนันปรีชา เสนอเงื่อนไขว่า เขตไหนมีตำบลปากนครรวมอยู่ ก็จะลงเขตนั้น ถ้ากำนันปรีชาลงเขต 1 ผมก็จะขอไปลงเขต 2 แทน”

มนตรี เปิดเผยว่า ได้ดำเนินการกิจกรรมทางการเมืองในจังหวัดนครศรีธรรมราชมาร่วม 20 ปีแล้ว หลังลาออกจากราชการ ก็มาลงสมัคร ส.ส.เป็นกรรมการบริหารพรรคเสรีธรรม ที่ต่อมาไปรวมกับพรรคไทยรักไทย

“หลังจากนั้นก็อยู่บนเส้นทางการเมืองมาตลอด ไม่กลับเข้ารับราชการอีก และมาจับธุรกิจการบริบาลในภาคใต้มี 8 จังหวัด ทั้งภูเก็ต, พังงา, กระบี่, ตรัง, สุราษฎร์ธานี และนครศรีธรรมราช และต่อยอดสถานดูแลผู้สูงอายุอีก 2 จังหวัด คือนครศรีธรรมราช และสุราษฎร์ธานี”

มนตรี บอกว่า ธุรกิจการบริบาลไปได้ดีมาก เพราะว่าไทยเราเป็นสังคมผู้สูงอายุแล้ว 100% มีผู้สูงอายุเกิน 20% ลูกๆ ก็ไม่มีเวลาดูพ่อแม่ ภาคเอกชนก็เข้ามาช่วยดูแลเสริมภาครัฐ มีการพักฟื้น ทำกายภาพบำบัด น้องๆที่จบการบริบาลมาก็มีงานทำ ในการดูแลผู้สูงอายุ

“ตามหลักสูตรการดูแลเด็กและผู้สูงอายุ จะต้องเรียน 840 ชั่วโมง เป็นภาคทฤษฎี 420 ชั่วโมง ภาคปฏิบัติ 420 ชั่วโมง เด็กจบแล้วมีงานทำ 100%”

อธิการบดี ม.ทักษิณ ไม่ถือโทษ หลัง ‘แทน-ชัยชนะ’ เข้า ‘ขอขมา’

(7 มี.ค. 66) นายชัยชนะ เดชเดโช ส.ส.นครศรีธรรมราช รองเลขาธิการพรรคประชาธิปัตย์ พร้อมด้วยนายสานันท์ สุพรรณชนะบุรี ได้เดินทางเข้าพบรองศาสตราจารย์ ดร.ณฐพงศ์ จิตรนิรัตน์ อธิการบดีมหาวิทยาลัยทักษิณ เพื่อขอขมา-ขอโทษ กรณีนายชัยชนะ กล่าวปราศรัย หาเสียงทางการเมืองที่จังหวัดพัทลุงเมื่อวันที่ 4 มี.ค.2566 ซึ่งพาดพิงถึง มหาวิทยาลัยทักษิณ ในทำนองดูแคลนผู้สมัครจากพรรคการเมืองคู่แข่ง ว่าสำเร็จการศึกษาจาก ม.ทักษิณ ไม่ได้จบการศึกษาจากต่างประเทศแบบพรรคของตน

‘นิพนธ์’ สยบข่าวบีบ ‘ชัยชนะ’ ไม่ให้ลง ส.ส. เชื่อเจ้าตัวไม่มีเจตนาร้าย ปมปราศรัยด้อยค่า ม.ทักษิณ

'นิพนธ์' ปฏิเสธ ข่าวบิ๊ก ปชป. บีบ ส.ส.ชัยชนะ ไม่ให้ลงสมัคร ส.ส. เชื่อ!! เจ้าตัวไม่มีเจตนาร้าย ยัน!! เป็นกำลังสำคัญสู้ศึกเลือกตั้งที่นครศรีฯ 

วันนี้ (6 มี.ค. 66) นายนิพนธ์ บุญญามณี รองหัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์ ออกมาปฏิเสธข่าวลือ ที่มีการปล่อยข่าวว่ากรรมการบริหารพรรคประชาธิปัตย์ไม่พอใจและมีการกดดัน ส.ส.ชัยชนะ เดชเดโช ส.ส.นครศรีธรรมราช ว่าจะไม่ให้ลงสมัคร ส.ส.ในการเลือกตั้ง ว่าไม่เป็นความจริง 

จากกรณีปราศรัยที่ จ.พัทลุง เมื่อวันที่ 4 ที่ผ่านมา ซึ่งมีความเข้าใจเจตนาที่คลาดเคลื่อนนั้น ต่อมา ส.ส.ชัยชนะ ก็ได้ออกมาขอโทษกรณีดังกล่าวแล้ว โดยส่วนตัวคิดว่า เจ้าตัวไม่ได้มีเจตนาที่จะด้อยค่าสถาบันการศึกษาในประเทศ เพียงแต่ยกตัวอย่างให้เห็นถึงความพร้อมของผู้สมัครที่ต้องการนำความรู้ต่างๆ มาพัฒนาบ้านเกิดให้เจริญรุ่งเรืองเท่านั้น

‘ประชาธิปัตย์’ พัทลุง ส่งเลือดใหม่สู้ศึกเลือกตั้ง มั่นใจกวาดเก้าอี้ ส.ส.ยกจังหวัด หลังเสียงตอบรับท่วมท้น

เวทีปราศรัยใหญ่ พร้อมเปิดตัว 3 ผู้สมัครคนรุ่นใหม่ของพรรคประชาธิปัตย์พัทลุง ที่โรงเรียนพัทลุงคึกคักสุดเหวี่ยงกับรูปแบบการปราศรัยที่เปลี่ยนไปจากเดิม ที่เสริมเติมด้วยความสุขความสนุกผสมกับเนื้อหาเชิงนโยบายของพรรค

สนามกีฬาโรงเรียนพัทลุงเนืองแน่นไปด้วยแฟนคลับประชาธิปัตย์ร่วม 30,000 คน เก้าอี้ที่เตรียมไว้ 9,000 ตัวไม่พอนั่ง เสริมเข้ามาอีก 3,000 ตัวก็ยังเต็ม รอบๆสนามก็นั่งมีคนนั่งฟังก็เต็ม ถนนรอบโรงเรียนรถจอดยาวหลายกิโลเมตร ภาพที่ปรากฏสะท้อนถึงการกลับมาฟื้นคืนของประชาธิปัตย์ในสนามภาคใต้

พัทลุงถือเป็นอีกจังหวัดที่ประชาธิปัตย์ยึดครองมายาวนานแบบ ‘ยกจังหวัด’ เพิ่งจะเมื่อการเลือกตั้งปี 62 ที่เสียที่นั่งให้กับภูมิใจไทย 2 ที่นั่ง เหลือเพียงหนึ่งเดียว ‘นริศ ขำนุรักษ์’ ไว้รักษาหน้าประชาธิปัตย์ไว้ได้บ้าง

‘เรารู้แล้ว เราเข้าใจแล้ว การเลือกตั้งครั้งที่แล้ว เราเผลอไปหน่อย ก็ถูกเพื่อนโจมตี ก็เป็นบทเรียนที่เรารู้แล้ว เราเข้าใจแล้ว’นิพนธ์ บุญญามณี รองหัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์ กล่าวปราศรัยบนเวทีพัทลุง

การเลือกตั้งครั้งที่จะมาถึงประชาธิปัตย์เฟ้นหาหน้าใหม่ - คนรุ่นใหม่เข้ามาเสริมทัพลงสู้ศึกเลือกตั้ง เขต 1 สุพัชรี ธรรมเพชร อดีต ส.ส.ที่ครั้งที่แล้วพลาดไป คราวนี้เอาใหม่กับความขยันลงพื้นที่พร้อมกับการหอบหิ้วสายเลือด ‘ธรรมเพชร’ เต็มตัวลงสู้ศึก ที่พ่อ ‘สุพัฒน์ ธรรมเพชร’ ไม่น่าจะให้ลูกพลาดอีกแล้ว แม้บางคนบอกว่า ‘บ้านใหญ่ธรรมเพชร’ ไปอยู่รวมไทยสร้างชาติก็ตาม

“ธรรมเพชร ต้อง ‘เสถียร ธรรมเพชร’ พี่เถียรอยู่นี่ นั่งอยู่หลังเวทีเราเนี่ย พี่เถียรคือธรรมเพชรของแท้” นิพนธ์ กล่าวปราศรัยเพื่อยืนยันว่า ธรรมเพชรของจริงยังอยู่กับประชาธิปัตย์

ส่วนเขต 2 ก็เป็นสายเลือดนักการเมืองรุ่นเก๋า ‘ดร.เดย์-ปิยะกาญจน์ สุพรรณชนะบุรี’ ลูกสาวของ ‘สานันท์ สุพรรณชนะบุรี’ อดีต ส.ส.คุณภาพสองสมัยของพัทลุง และอดีตนายก อบจ.พัทลุงสองสมัย ที่บอกกับตัวเองว่า “พอแล้ว” ในวัย 70 ปี พร้อมส่งไม้ต่อให้ ‘ดร.เดย์’ อาจารย์ มอ.ตรัง ผู้รับเลือดพ่อมาเต็มเปี่ยม

เขต 3 ก็เป็นคนรุ่นใหม่กิ๊ก ‘ร่มธรรม ขำนุรักษ์’ ลูกชายของ ‘นริศ ขำนุรักษ์’ ส.ส.5 สมัยของพัทลุง ที่สังกัดประชาธิปัตย์ไม่เคยเปลี่ยนแปลง และยังนั่งเป็นรัฐมนตรีช่วยมหาดไทยอีกด้วย ‘ร่มธรรม’ เป็นนักเรียนทุนไปศึกษาต่อที่ประเทศจีน จบแล้วไปเป็นอาจารย์สอนหนังสืออยู่ในต่างประเทศหลายประเทศ เช่น รัสเซีย

ประชาธิปัตย์เห็นแววมาตั้งแต่เด็ก เมื่อถึงเวลาก็ดันพ่อขึ้นบัญชีรายชื่อแล้วส่งลูกลงสมัครรับเลือกตั้งแทน

นี่คือสามผู้สมัครคุณภาพของประชาธิปัตย์พัทลุงที่ล้วนเป็นคนรุ่นใหม่ เป็นรุ่นทายาทที่ได้สายเลือดนักการเมืองมาเต็มๆที่ได้เวลาลงสู่สนามด้วยตัวเองกับประสบการณ์ที่เดิมตามหลังพ่อหาเสียงมายาวนาน

แม้บนเวทีปราศรัย ‘แทน-ชัยชนะ เดชเดโช’ ส.ส.นครศรีธรรมราช รองเลขาธิการประชาธิปัตย์จะพลั้งเผลอไปบ้าง ไปกล่าวพลาดพิงถึง ม.ทักษิณ แต่ทันทีเจ้าตัวก็ออกมายอมรับผิด และขอโทษ ก็ถือว่าเป็นลูกผู้ชายพอ “ผิดแล้วยอมรับผิด”

“ผมกราบขอโทษคณะอาจารย์ผู้ทรงคุณวุฒิ ศิษย์เก่าและศิษย์ปัจจุบัน มหาลัยทักษิณ ทุกคนด้วยครับ

หักหน้า 'กกต.' เมื่อ 8 จังหวัดต้องแบ่งเขตเลือกตั้งใหม่ หลังบทสรุป 'ราษฎรไทย' ไม่ได้หมายรวมถึงคนต่างด้าว

พลันที่ศาลรัฐธรรมนูญมีมติเป็นเอกฉันท์วินิจฉัยว่า การกำหนดจำนวนสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร (ส.ส.) แบบแบ่งเขตเลือกตั้ง ที่แต่ละจังหวัดจะพึงมีตามรัฐธรรมนูญมาตรา 86 (1) ซึ่งกำหนดให้ใช้จำนวนราษฎรทั้งประเทศตามหลักฐานการทะเบียนราษฎร์ที่ประกาศในปีสุดท้าย ก่อนปีที่มีการเลือกตั้งนั้น คำว่า ‘ราษฎร’ ไม่หมายรวมถึงผู้ไม่ได้สัญชาติไทย

เป็นคำวินิจฉัยที่ตรงใจประชาชน และหักหน้าคณะกรรมการการเลือกตั้ง (กกต.) ที่ใส่ต่างด้าวเข้ามาเป็นฐานคำนวณในการแบ่งเขตเลือกตั้งด้วย 

โดยให้คำวินิจฉัยของศาลรัฐธรรมนูญมีผลตั้งแต่วันนี้ (3 มี.ค.66) เป็นต้นไปตามพ.ร.ป.ว่าด้วยวิธีพิจารณาของศาลรัฐธรรมนูญ 2561 มาตรา 76 วรรคหนึ่งและวรรคสาม และไม่มีผลย้อนหลังไปถึงการเลือกตั้งส.ส.ที่ผ่านมา

กรณีดังกล่าวสืบเนื่องมาจากคณะกรรมการการเลือกตั้ง(กกต.) ขอให้ศาลรัฐธรรมนูญพิจารณาวินิจฉัยปัญหาเกี่ยวกับหน้าที่และอำนาจของ กกต. ตามรัฐธรรมนูญ มาตรา 210 วรรคหนึ่ง(2) ว่า การคิดคำนวณจำนวนส.ส.แบบแบ่งเขตเลือกตั้งของแต่ละจังหวัดจะพึงมี โดยนำจำนวนราษฎรทั้งประเทศตามหลักฐานการทะเบียนราษฎรตามที่สำนักทะเบียนกลางประกาศ ณ วันที่ 31 ธ.ค. ของปีที่ล่วงมามาใช้ในการคิดคำนวณจำนวนส.ส.แบบแบ่งเขตเลือกตั้งของแต่ละจังหวัด ถูกต้องหรือไม่ เป็นการยื่นคำร้องหลังจากมีเสียงค้านอื้ออึงในการนำต่างด้านเข้ามาร่วมคำนวณการแบ่งเขตเลือกตั้งด้วย ทำนองว่า ต่างด้าวเกี่ยวอะไรกับการเมืองบ้านเรา และมีการร้องไปยัง กกต.บ้าง ร้องไปยังผู้ตรวจการแผ่นดินบ้าง เพื่อให้ กกต.ส่งศาลรัฐธรรมนูญวินิจฉัย และ กกต.ก็สุดจะทนแรงเสียดทาน หรือกลัวคุกก็ไม่ทราบได้ ตัดสินใจส่งศาลรัฐธรรมนูญวินิจฉัย


TRENDING
© Copyright 2021, All rights reserved. THE STATES TIMES
Take Me Top