Tuesday, 20 May 2025
NewsFeed

‘อลงกรณ์’ เผย ‘กานา’ ชื่นชม ‘โครงการพระราชดำริ’ พร้อมยกย่องเป็น ‘ต้นแบบ’ การพัฒนาอย่างยั่งยืน

เมื่อวานนี้ (22 ก.พ.66) ดร.เฉลิมชัย ศรีอ่อน รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ มอบหมายให้นายอลงกรณ์ พลบุตร ที่ปรึกษารัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ หารือร่วมกับ ดร.สิชา สิงห์สมบุญ กงสุลกิตติมศักดิ์ สาธารณรัฐกานาประจำประเทศไทย และคณะ โดยมี นายณฐกร สุวรรณธาดา คณะที่ปรึกษารัฐมนตรีเกษตรฯ นายเศรษฐเกียรติ กระจ่างวงษ์ รองปลัดกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ นายจิตติศักดิ์ ศรีปัญญา ผู้อำนวยการกองนโยบายเทคโนโลยีและเกษตรกรรมยั่งยืน สำนักการเกษตรต่างประเทศ ผู้แทนกรมการข้าว กรมชลประทาน กรมประมง สำนักงานมาตรฐานสินค้าเกษตรและอาหารแห่งชาติ และผู้บริหารกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ เข้าร่วม ณ ห้องประชุมกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ (112) สำหรับการประชุมหารือกันในวันนี้มีประเด็นหารือที่สำคัญ อาทิ เศรษฐกิจพอเพียงและเกษตรทฤษฎีใหม่ โครงการข้าวรักษ์โลก BCG Model ที่เป็นแนวทางการการปฏิวัติการทำนาสู่ความยั่งยืน การพัฒนาสายพันธุ์ข้าวให้มีคุณภาพ รวมถึงความร่วมมือในด้านอื่น ๆ

นายอลงกรณ์เปิดเผยภายหลังการหารือว่าประเทศกานามีนโยบายส่งเสริมให้เกษตรกรปลูกข้าวและเพิ่มผลผลิตภายในประเทศมากขึ้น และมีความสนใจในแนวทางพระราชดำริปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง และการทำการเกษตรแบบ BCG Model โดยเฉพาะข้าวรักษ์โลกที่ช่วยในเรื่องของสิ่งแวดล้อม ลดการใช้สารเคมี และยังเป็นแนวทางใหม่ของการทำการเกษตรโลก เนื่องจากกานามีข้อจำกัดด้านเทคโนโลยีการเกษตร และแรงงานไม่มีความเชี่ยวชาญในด้านเกษตร เกษตรกรรมส่วนใหญ่เป็นแบบดั้งเดิม ยังไม่ได้นำเทคโนโลยีเข้ามาใช้มากนัก ทำให้คุณภาพและปริมาณผลผลิตต่ำ

กลุ่ม ปตท. จัดงาน ‘PTT Group Tech & Innovation Day’ โชว์ต่อยอดเทคโนโลยี สร้างสรรค์สังคม-สิ่งแวดล้อม

๏ ขนทัพเทคโนโลยี นวัตกรรม และธุรกิจใหม่ของกลุ่ม ปตท. จัดแสดง 28 ก.พ. – 3 มี.ค. ณ ปตท. สำนักงานใหญ่
๏ พบผู้นำด้านนวัตกรรมสุดล้ำ พร้อมอัปเดตเทรนด์เทคโนโลยีแห่งอนาคต บนเวที Tech Talk สุดยิ่งใหญ่แห่งปี
๏ เปิดเวที Pitching Desk นำเสนอนวัตกรรมและธุรกิจใหม่ของกลุ่ม ปตท. ที่พร้อมจับมือต่อยอดและขยายโอกาส สู่ธุรกิจที่ไกลกว่าพลังงาน

นายอรรถพล ฤกษ์พิบูลย์ ประธานเจ้าหน้าที่บริหารและกรรมการผู้จัดการใหญ่ บริษัท ปตท. จำกัด (มหาชน) เปิดเผยว่า กลุ่ม ปตท. เตรียมพร้อมจัดงาน PTT Group Tech & Innovation Day ภายใต้แนวคิด “Beyond Tomorrow: นวัตกรรม นำอนาคต” เพื่อเป็นการแสดงศักยภาพด้านเทคโนโลยีและนวัตกรรม ทิศทางกลยุทธ์ การดำเนินงาน และการลงทุนด้านนวัตกรรมของกลุ่ม ปตท. ตลอดจนสร้างการรับรู้ทิศทางของเทคโนโลยีในอนาคต และหาโอกาสความร่วมมือทางธุรกิจใหม่ พร้อมทั้งผลักดันการสร้างนวัตกรรมด้านพลังงานและเทคโนโลยีต่าง ๆ ให้เกิดขึ้นในประเทศไทย เพื่อมุ่งสู่เป้าหมายความเป็นกลางทางคาร์บอน (Carbon Neutrality) ตามวิสัยทัศน์ Powering Life with Future Energy and Beyond ของกลุ่ม ปตท. โดยจะจัดขึ้นระหว่างวันที่ 28 กุมภาพันธ์ - 3 มีนาคม 2566 ณ ปตท. สำนักงานใหญ่ ถนนวิภาวดีรังสิต 

“ปัจจุบันโลกมีการเปลี่ยนผ่านทางเทคโนโลยีไปอย่างมาก รวมถึงวิกฤติการณ์ต่าง ๆ ที่เกิดขึ้น ส่งผลถึงพฤติกรรมของผู้บริโภคที่เปลี่ยนแปลงไปอย่างรวดเร็ว ปตท. จึงมีการปรับตัวเพื่อสร้างความยั่งยืนให้กับธุรกิจ โดยนอกจากการเพิ่มสัดส่วนการลงทุนในธุรกิจพลังงานสะอาดที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมแล้ว ยังมุ่งเติบใตในธุรกิจใหม่ที่ไกลกว่าพลังงานผ่านการพัฒนา ต่อยอดเทคโนโลยีและนวัตกรรมที่กลุ่ม ปตท. มีความเชี่ยวชาญ โดยมีแกนหลักคือ สถาบันนวัตกรรม ปตท. ผ่านความร่วมมือทั้งจากในกลุ่ม ปตท. และจากเครือข่ายพันธมิตรชั้นนำภายนอก จนเกิดเป็นกลุ่มงานนวัตกรรมและธุรกิจใหม่ 7 ด้าน ประกอบด้วย Future Energy, Future Mobility, Life Science, AI, Robotics & Digitalization, Logistics & Infrastructure, Decarbonization และ Innovation Ecosystem ที่นอกจากจะช่วยเสริมสร้างความแข็งแกร่งให้กับธุรกิจของกลุ่ม ปตท. พร้อมรับทุกกระแสการเปลี่ยนแปลงที่จะเกิดขึ้น และขับเคลื่อนการเติบโตทางเศรษฐกิจที่มั่นคงให้กับประเทศไทยแล้ว ยังช่วยสนับสนุนให้กลุ่ม ปตท. บรรลุเป้าหมายความเป็นกลางทางคาร์บอน (Carbon Neutrality) ภายในปี 2040 และลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกสุทธิเป็นศูนย์ (Net Zero Emissions) ภายในปี 2050 ซึ่งเร็วกว่าเป้าหมายของประเทศ พร้อมจุดพลังจากเทคโนโลยีและนวัตกรรมเพื่อสร้างคุณค่าต่อสังคม ชุมชน สิ่งแวดล้อม และยกระดับคุณภาพชีวิตที่ดีให้กับคนไทยในทุกมิติได้อย่างยั่งยืนต่อไป” นายอรรถพลกล่าว

ดร.บุรณิน รัตนสมบัติ ประธานเจ้าหน้าที่ปฏิบัติการกลุ่มธุรกิจใหม่และโครงสร้างพื้นฐาน บริษัท ปตท. จำกัด (มหาชน) กล่าวว่า PTT Group Tech & Innovation Day ที่จะจัดขึ้นเป็นครั้งแรกนี้ เป็นอีกหนึ่งการผนึกกำลังครั้งสำคัญและความภูมิใจของกลุ่ม ปตท. ที่พร้อมจะแสดงให้เห็นถึงศักยภาพในการพัฒนา ต่อยอดเทคโนโลยีและนวัตกรรม ที่จะช่วยสร้างความเชื่อมั่นในการเติบโตทางธุรกิจ และมีส่วนในการช่วยสร้างสรรค์และยกระดับคุณภาพชีวิตที่ดีให้กับผู้คนในสังคมในด้านต่าง ๆ โดยตลอดการจัดงานทั้ง 4 วัน ผู้ร่วมงานจะได้พบกับกิจกรรมไฮไลท์ที่น่าสนใจ ประกอบด้วย

CEO ปตท. ร่วมแลกเปลี่ยนวิสัยทัศน์ในเวทีสุดยอดผู้นำ เน้นย้ำเป้าหมายขับเคลื่อนประเทศสู่สังคมคาร์บอนต่ำ

นายอรรถพล ฤกษ์พิบูลย์ ประธานเจ้าหน้าที่บริหารและกรรมการผู้จัดการใหญ่ บริษัท ปตท. จำกัด (มหาชน) (ปตท.) แลกเปลี่ยนวิสัยทัศน์ในหัวข้อ ‘Supportive Measures, Innovation and Technology’ ในการอบรมหลักสูตร Climate Action Leaders Forum รุ่นที่ 2 โดยเน้นย้ำความตั้งใจของกลุ่ม ปตท. ในการลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกสุทธิเป็นศูนย์ (Net Zero) ภายในปี 2050 ให้เร็วกว่าเป้าหมายของประเทศ รวมถึงยกระดับมาตรฐานการลดก๊าซเรือนกระจกของประเทศให้เทียบเท่ามาตรฐานสากล พร้อมสร้างคุณค่าต่อสังคม ชุมชน สิ่งแวดล้อม ส่งเสริมคุณภาพชีวิตที่ดีของคนไทย เพื่อการเติบโตอย่างยั่งยืน

‘อินโนบิก-แอซทีค’ ร่วมมือจัดตั้ง ‘โรงงานยาชีววัตถุคล้ายคลึง’ สร้างศักยภาพ-พัฒนาการผลิตยาด้วยไบโอเทคโนโลยี

เมื่อไม่นานมานี้ ดร.บุรณิน รัตนสมบัติ ประธานเจ้าหน้าที่ปฏิบัติการกลุ่มธุรกิจใหม่และโครงสร้างพื้นฐาน บริษัท ปตท. จำกัด (มหาชน) และประธานกรรมการ บริษัท อินโนบิก (เอเซีย) จำกัด พร้อมด้วย นายโรเบิร์ต เวสแมน ประธานบริษัท โลตัส ฟาร์มมาซูติคอล จำกัด (Lotus Pharmaceutical Co.,Ltd. : Lotus Pharmaceutical ) และเป็นผู้ก่อตั้งและประธานบริษัท อัลโวเจน (Alvogen) และ แอซทีค (Aztiq) ร่วมลงนามใน MOU ‘The Investment and Development of Biosimilar Manufacturing Facilities in Thailand’ ผนึกกำลังศึกษาการร่วมจัดตั้งโรงงานผลิตยาชีววัตถุคล้ายคลึง (Biosimilar) ในประเทศไทย ด้วยเทคโนโลยีระดับสากล พร้อมเครือข่ายการจำหน่ายผลิตภัณฑ์ไปสู่ภูมิภาคอื่นทั่วโลก ตั้งเป้าลงทุนภายในปีนี้

ดร.บุรณิน รัตนสมบัติ เปิดเผยว่า เมื่อปี 2565 ที่ผ่านมา อินโนบิกได้จับมือกับกลุ่ม Aztiq เข้าลงทุนในบริษัท โลตัส ฟาร์มาซูติคอล (Lotus Pharmaceutical Co. Ltd: Lotus Pharmaceutical) บริษัทยาชั้นนำในเอเชียที่มีการเข้าถึงทั่วโลก โดยความร่วมมือเพิ่มเติมในครั้งนี้ ถือเป็นอีกก้าวสำคัญตามยุทธศาสตร์ของอินโนบิกที่จะขยายธุรกิจเข้าไปในกลุ่มยา Biosimilar ซึ่งเป็นแพลตฟอร์มของกลุ่มยารักษาโรคมะเร็ง และโรคอื่นๆ ด้วยอาศัยความร่วมมือกับพันธมิตรทางธุรกิจ เพื่อเสริมสร้างศักยภาพและเทคโนโลยีในการผลิตยา ลดการนำเข้า และสามารถส่งออกเพื่อสร้างมูลค่าให้แก่อุตสาหกรรมเทคโนโลยีชีวภาพ (Biotechnology) ให้เกิดขึ้นกับประเทศอีกด้วย

'บิ๊กตู่' ปลื้ม!! ศก.ไทย ปี 65 ขยายตัวดีกว่าประเทศคู่ค้า คาด ปี 66 ภาคท่องเที่ยว-ลงทุน หนุนขยายตัวถึงร้อยละ 3.7

(23 ก.พ. 66) นายอนุชา บูรพชัยศรี รองเลขาธิการนายกรัฐมนตรีฝ่ายการเมือง ปฏิบัติหน้าที่โฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี เปิดเผยรายงานภาวะเศรษฐกิจไทยไตรมาส 4 ปี 2565 และแนวโน้มปี 2566 ของสำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ว่า เศรษฐกิจไทยในไตรมาส 4 ปี 2565 ขยายตัวร้อยละ 1.4 มีปัจจัยสนับสนุนจากการขยายตัวเร่งขึ้นของการส่งออกบริการ การขยายตัวในเกณฑ์ดีของการอุปโภคบริโภค การลงทุนภาคเอกชน และการลงทุนภาครัฐ ขยายตัวสูงกว่าประเทศคู่ค้าสำคัญ อาทิ สหรัฐฯ ญี่ปุ่น ไต้หวัน ที่ขยายตัวอยู่ที่ ร้อยละ 1.0 ร้อยละ 0.6 และร้อยละ -0.9 ตามลำดับ

ทั้งนี้ การขยายตัวของการลงทุนของรัฐวิสาหกิจร้อยละ 10.3 ด้านการต่างประเทศ การส่งออกมีมูลค่า 65,814 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ การนำเข้ามีมูลค่า 62,844 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ ด้านการผลิต ราคาสินค้าเกษตรเพิ่มขึ้นต่อเนื่องเป็นไตรมาสที่ 4 ร้อยละ 12.8 ตามการเพิ่มขึ้นของดัชนีราคาสินค้าสำคัญ เช่น กลุ่มผลไม้ โดยเฉพาะทุเรียน (ร้อยละ 51.5X ข้าวเปลือก (ร้อยละ 27.6) สุกร (ร้อยละ 42.4) ส่งผลให้ดัชนีรายได้เกษตรกรโดยรวมเพิ่มขึ้นต่อเนื่อง เป็นไตรมาสที่ 4 ร้อยละ 16.5

สาขาการก่อสร้าง กลับมาขยายตัวครั้งแรกในรอบ 6 ไตรมาสร้อยละ 2.6 สาขาที่พักและบริการด้านอาหาร ขยายตัวในเกณฑ์สูงต่อเนื่องร้อยละ 30.6 ในไตรมาสนี้ มีนักท่องเที่ยวต่างประเทศ เดินทางเข้ามาท่องเที่ยว จำนวน 5.465 ล้านคน รายรับรวมจากการท่องเที่ยวอยู่ที่ 0.425 ล้านล้านบาท เพิ่มขึ้นที่ร้อยละ 213.9 โดยเสถียรภาพทางเศรษฐกิจนั้น อัตราการว่างานอยู่ที่ร้อยละ 1.15 ต่ำกว่าร้อยละ 1.23 ในไตรมาสก่อนหน้า

ย้อนตำนานวีรกรรม 'ฉีกบัตรเลือกตั้ง'

ในวันเลือกตั้งแต่ละครั้ง หนึ่งในเหตุการณ์ที่มักจะพบเจอได้อยู่เป็นประจำ นั่นคือ 'การฉีกบัตรเลือกตั้ง' ซึ่งตามกฎหมายแล้ว มีโทษปรับ จำคุก และเพิกถอนสิทธิ์เลือกตั้ง ส่วนใหญ่จะเกิดจากความรู้เท่าไม่ถึงการณ์ หรือทำโดยจงใจเพื่อต้องการแสดงออกทางการเมือง

ภาพจำการฉีกบัตรเลือกตั้งที่ถูกพูดถึงอย่างมาก ต้องย้อนความไปถึงบรรยากาศการเมืองในช่วงต้นปี 2549 ที่เริ่มขมึงเกลียว เมื่อ 'ทักษิณ ชินวัตร' นายกรัฐมนตรีขณะนั้นประกาศยุบสภา ในวันที่ 24 กุมภาพันธ์ หลังถูกกล่าวหากรณีครอบครัวทำการซื้อขายหุ้นชินคอร์ปโดยเลี่ยงภาษี  

และเมื่อทั้งวุฒิสภาและศาลรัฐธรรมนูญไม่รับคำร้องเพื่อพิจารณา  ฝ่ายค้านจึงขอยื่นอภิปรายทั่วไป เพื่อขอให้ตอบซักถามต่อสาธารณะ แต่ 'ทักษิณ' ปฏิเสธด้วยการเลือกยุบสภา ก่อนประกาศเลือกตั้ง วันที่ 2 เมษายน 2549

บรรยากาศการเมืองตึงเครียดมากขึ้น เมื่อพรรคประชาธิปัตย์ พรรคชาติไทย และพรรคมหาชน ประกาศ 'บอยคอต' ไม่ส่งผู้สมัครลงเลือกตัั้ง และมีการรณรงค์ให้ 'โนโหวต' แสดงออกต่อการเลือกตั้งที่ไม่ชอบธรรม  

แต่สำหรับ 'รศ.ดร.ไชยันต์ ไชยพร' หัวหน้าภาควิชาการปกครอง คณะรัฐศาสตร์ จุฬาฯในขณะนั้น  กลับเลือกวิธีการ 'อารยะขัดขืน' ในรูปแบบที่ต่างไป โดยช่วงสายของวันที่ 2 เมษายน 2549 รศ.ไชยันต์ ไชยพร เดินทางไปที่โรงเรียนเตรียมอุดมศึกษาพัฒนาการ เพื่อใช้สิทธิ ที่หน่วยลือกตั้งที่ 62 เขตสวนหลวง

หลังจากเดินเข้าคูหาและกาช่องไม่เลือกใคร เจ้าตัวได้ถือบัตรเลือกตั้งทั้งแบบแบ่งเขต และแบบบัญชีรายชื่อ ออกมา ประกาศว่าขอทำผิดกฎหมายเลือกตั้ง ก่อนจะ 'ฉีกบัตรเลือกตั้ง' ต่อหน้าสื่อมวลชน และผู้ที่เดินทางมาให้กำลังใจ

จากนั้น อาจารย์ไชยันต์ ได้อ่านแถลงการณ์ชี้แจงเหตุผลที่กระทำการดังกล่าว ก่อนเจ้าหน้าที่ตำรวจ สน.ประเวศจะเชิญตัวไปให้ปากคำกับพนักงานสอบสวนฐานกระทำผิดกฎหมายเลือกตั้ง มาตรา 108 ซึ่งมีโทษจำคุก 1 ปี  ปรับ 20,000 บาทและถูกเพิกถอนสิทธิ์การเลือกตั้ง 5 ปี

'ลุงหนู' ควง 'บี พุทธิพงษ์' ลงพื้นที่เขตวังทองหลาง ขายนโยบาย 'ดูแลคนกรุง' ทุกเพศทุกวัย ตลอด 24 ชม.

เมื่อวานนี้ (22 ก.พ.66) นายอนุทิน ชาญวีรกูล หัวหน้าพรรคภูมิใจไทย พร้อมด้วยนายพุทธิพงษ์ ปุณณกันต์ หัวหน้าทีม กทม. นายศุภชัย ใจสมุทร ส.ส.บัญชีรายชื่อ นายทะเบียนพรรคภูมิใจไทย นางสาวอนุสรี ทับสุวรรณ อดีต ส.ส.และอดีตเลขาธิการผู้ว่ากทม. กษิดิ์เดช ชุติมันต์ ว่าที่ผู้สมัครของพรรค เขตลาดพร้าว ลงพื้นที่พบปะประชาชน ที่หมู่บ้านเสนานิเวศน์โครงการ 1 เขต 12 ลาดพร้าว วังทองหลาง กทม. 

โดยระหว่างที่คณะทักทายประชาชนบริเวณสวนสุขภาพภายในชุมชน ได้พบกับนายพิเชฎฐ์ ศุขแพทย์ ซึ่งมาแนะนำตัวว่า ขอเป็นตัวแทนผู้สูงวัยในพื้นที่ และเป็นอดีตนักดนตรีวงรอยัลสไปรท์ เข้ามาสอบถามเรื่องเนื้อหาของนโยบายกองทุนประกันชีวิต ซึ่งทางพรรคเคยหาเสียงไปก่อนหน้านี้

นายอนุทิน ได้ชี้แจงรายละเอียดของกองทุน ว่าเป็นการให้สิทธิกู้เงินแก่ผู้มีอายุ 60 ขึ้นไป ใช้ดูแลตัวเอง ในวงเงิน 20,000 บาท โดยไม่ต้องมีผู้ค้ำประกัน แต่จะใช้กรมธรรม์ประกันชีวิต ที่รัฐบาล จัดทำให้ ค้ำประกันตัวเอง ซึ่งในวันที่จากไป ผู้สูงวัยจะได้ไม่สร้างภาระให้ลูกหลาน ทุกคนจะมีมรดกให้ลูกหลาน ทายาท และครอบครัว รายละ 100,000 บาท หลังการพูดคุยประมาณ 15 นาที อดีตสมาชิกวงดนตรีชื่อดังได้กล่าวชื่นชมนายอนุทิน และพรรคภูมิใจไทย ที่มีนโยบายซึ่งให้ความสำคัญกับผู้สูงอายุ

จากนั้น นายอนุทิน ขึ้นเวทีปราศรัย ระบุว่า พรรคภูมิใจไทย แม้จะไม่เคยมี ส.ส.ใน กทม. แต่เราก็ทำงานให้คนกรุงเทพมาตลอด ตอนที่กรุงเทพมีปัญหาเรื่องการรับวัคซีน ก็ได้ขอความร่วมมือกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ให้สถานีกลางบางซื่อเป็นศูนย์ฉีดให้ ตอนที่ ชาว กทม. มีปัญหาเรื่องจำนวนผู้ป่วยโควิด-19 ได้สร้างโรงพยาบาลสนามบุษราคัม มาแบ่งเบาภาระ กทม. นอกจากนั้น ในเรื่องคมนาคม ก็ได้เชื่อมต่อเครือข่ายรถไฟทั้งบนดิน และใต้ดิน จนครอบคลุมการให้บริการ เมื่อมีปัญหาเรื่องฝุ่น PM2.5 ก็ได้จัดหารถเมล์ไฟฟ้ามาให้บริการนับพันคัน 

นอกจากนั้น ยังมีเรื่องค่าโง่ ที่เราพยายามสางปัญหา นำงบมาใช้ดูแลประชาชน

นายอนุทิน ย้ำว่า เราเป็นพรรคการเมืองที่พูดแล้วทำ กับกรุงเทพฯ ทางพรรคภูมิใจไทยเราต้องการจะเข้ามารับใช้พี่น้องประชาชน เราไม่เคยมองข้ามพวกท่านเลย แต่ขอให้พวกท่านให้โอกาส และเราจะทำงานรับใช้ท่านอย่างเต็มที่แน่นอน เรามีประสบการณ์ เรามีความสามารถ เรามีผลงานทั่วประเทศ และเราอยากนำความรู้ของเรามาอาสารับใช้ชาวกรุงเทพฯ พรรคเรา ถ้าไม่มีอะไรเลย คุณพุทธิพงษ์ ไม่มีทางมาร่วมงานกับเรา แต่เพราะพรรคเราพูดจริง ทำจริง มีผลงาน คุณบีถึงมาอยู่ตรงนี้ กับภูมิใจไทย

นายอนุทิน ระบุว่า พรรคภูมิใจไทย ขอไม่เข้าร่วมกับความขัดแย้ง จะมุ่งทำงาน การหาเสียง ก็จะนำเสนอนโยบาย ไม่พูดกระทบกระเทียบใคร ขอนำเสนอผลงานดีกว่า ซึ่งมั่นใจว่ามีมากพอให้พี่น้องประชาชน ชาว กทม. ได้พิจารณา

ด้านนายพุทธิพงษ์ ได้ย้ำถึงผลงานความสำเร็จของนายอนุทิน โดยเฉพาะการบริหารจัดการสถานการณ์โควิด-19 ระบาดในช่วงที่ผ่านมา พร้อมย้ำถึงนโยบายดูแลคนกรุงเทพมหานคร ทุกวัน ทุกเวลา และครอบคลุมทุกวัย หรือ ‘ภูมิใจกรุงเทพฯ 24/7’ เพื่อแก้ไขปัญหาให้คนกรุงเทพฯ โดยยึดหลักการเพิ่มรายได้ ลดรายจ่าย ให้โอกาส

‘ก่อแก้ว’ ฉะ 'วิทยา' เทเพื่อไทย หนุน 'บิ๊กตู่' เย้ย 'รทสช.' ไม่มีทางได้ ส.ส.อีสานสักคนเดียว

(23 ก.พ. 66) นายก่อแก้ว พิกุลทอง อดีต ส.ส.บัญชีรายชื่อ พรรคเพื่อไทย และอดีตแกนนำ นปช. กล่าวถึงกรณีนายวิทยา แก้วภราดัย รองหัวหน้าพรรครวมไทยสร้างชาติ (รทสช.) เปิดตัวว่าที่ผู้สมัครส.ส.ภาคอีสานและมีแกนนำเสื้อแดงมาเปิดตัวด้วย ว่า ตนเชื่อว่าพี่น้องคนอีสานเป็นคนที่รักประชาธิปไตยและรังเกียจเผด็จการ คนอีสานรักความเป็นธรรม จริงจัง จริงใจ และรู้ทันว่าใครเป็นอย่างไร

“ส่วนการที่มีแกนนำเสื้อแดงไปเปิดตัวเป็นผู้สมัคร ก็ไม่ใช่เรื่องแปลก เพราะคนเหล่านั้น ล้วนผิดหวังจากพรรคเพื่อไทยที่ไม่ส่งลงสมัคร หาที่ลงไม่ได้จึงหาที่ลง แต่เมื่อตัดสินใจแล้ว ขออย่ามาอ้างว่าเป็นคนเสื้อแดง เพราะว่าคนเสื้อแดง เป็นสัญลักษณ์ของผู้รักประชาธิปไตย และมีอุดมการณ์ในการต่อสู้ หากใครย้ายไปเป็นนั่งร้านให้ พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา เพื่อสืบทอดอำนาจเผด็จการ ก็ไม่ควรอ้างตัวเองว่า เป็นคนเสื้อแดง” นายก่อแก้ว กล่าว

นายก่อแก้ว กล่าวว่า ตนเชื่อว่าพี่น้องคนอีสานยังเชื่อมั่นในนโยบายของพรรคเพื่อไทย และยังรักนายทักษิณ ชินวัตร อดีตนายกรัฐมนตรี ซึ่งที่ผ่านตั้งแต่พรรคไทยรักไทย จนมาถึงเพื่อไทย ได้รับความไว้วางใจจากพี่น้องคนอีสานมาโดยตลอด เพราะพรรคเพื่อไทยได้ช่วยดูแลพ่อแม่พี่น้อง ให้มีชีวิตความเป็นอยู่ที่ดีขึ้นในทุก ๆ ด้าน

‘รสนา‘ ยัน ข้อเสนอลดราคาน้ำมันของ ‘มิ่งขวัญ‘ ทำได้จริง เห็นด้วย ปรับโครงสร้างน้ำมันให้เหลือแค่ เบนซิน-ดีเซล

(23 ก.พ. 66) น.ส.รสนา โตสิตระกูล อดีต ส.ว.กรุงเทพมหานคร และอดีตสมาชิกสภาปฏิรูปแห่งชาติ (สปช.) ด้านพลังงาน ได้โพสต์ข้อความผ่านเฟซบุ๊กส่วนตัว ชื่อ ‘รสนา โตสิตระกูล‘ หัวข้อ ‘ข้อเสนอลดราคาน้ำมันเบนซินลง 18 บาท และลดดีเซลลง 6 บาทของมิ่งขวัญ เป็นไปได้หรือไม่ หรือแค่หาเสียง ?!?‘ โดยเนื้อหาระบุว่า...

ข้อเสนอการปรับราคาน้ำมันของ มิ่งขวัญ แสงสุวรรณ์ สร้างความแตกตื่นให้กับวงการพลังงาน ทั้งกลุ่มทุนพลังงาน และนักการเมืองฟากฝั่งรัฐบาล ที่ได้รับการอุ้มชูโดยกลุ่มทุนพลังงาน ต้องคัดค้านกันอย่างแข็งขันเป็นแน่

ต้องถือว่า คุณมิ่งขวัญ กล้าเสนอและถ้าจะทำให้ได้จริง ต้องมีการปรับนโยบายแบบ 360 องศากันเลย อยู่ที่ลุงป้อมผู้นำพรรค พปชร. จะกล้าออกมาประกาศเป็นเจตจำนงทางการเมืองอย่างจริงจังหรือไม่ หรือเป็นแค่นโยบายหาเสียงแบบตีหัวเข้าบ้านเหมือนพรรคอื่นในอดีตที่เคยประกาศจะยกเลิกกองทุนน้ำมัน แต่พอได้รับเลือกตั้ง ก็ยอมลดราคาเป็นโปรโมชันให้ 3-4 เดือน แล้วก็กลับมาใช้บริการกองทุนน้ำมันเหมือนเดิม

ดิฉันลองดูราคาที่คุณมิ่งขวัญเสนอ ถ้าจะทำจริง ดิฉันว่าสามารถทำได้ แต่ต้องจัดการหลายอย่าง เช่น หนี้สินในกองทุนน้ำมัน และการแก้ปัญหาเกษตรกรเรื่องน้ำมันชีวภาพ รวมทั้งภาษีน้ำมันที่รัฐบาลเสพติดเพราะได้มาง่าย ๆ เหมือนเปิดก๊อกน้ำ ที่สำคัญจะกล้าดึงอ้อยจากปากช้างกลุ่มผูกขาดพลังงานที่เป็นรัฐซ้อนรัฐตัวจริง ได้หรือไม่

ดิฉันขอคิดตามข้อเสนอคุณมิ่งขวัญโดยละปัญหาต่าง ๆ ไว้ให้พรรคที่ประกาศนโยบายนี้ ถ้าได้เป็นรัฐบาลต้องไปจัดการแก้ไขเพื่อขจัดอุปสรรคต่อนโยบายปรับโครงสร้างพลังงานเอาเอง

ที่ประกาศลดราคาเบนซิน 95 ลง 18.07 บาท/ลิตร จากราคา 44.06 บาท/ลิตร (ข้อมูลราคาวันที่ 17 ก.พ. 2566) เหลือราคาขายปลีกที่ 25.99 บาท/ลิตร และลดราคาดีเซลที่ราคา 34.44 บาท/ลิตรลง 6.37 บาท/ลิตร เหลือราคาหน้าปั๊มที่ 28.07 บาท/ลิตรนั้น

โครงสร้างราคาน้ำมันที่เป็นธรรม (ใช้ราคา 17/2/66) ส่วนที่จะปรับลดลง สามารถทำได้ดังนี้

1.) เนื้อน้ำมันเบนซิน 95 ราคาหน้าโรงกลั่น 22.28 บาท/ลิตร (ซึ่งเป็นราคาสมมติว่านำเข้าจากสิงคโปร์ซึ่งมีต้นทุนที่ไม่ได้จ่ายจริงคือค่าขนส่ง ค่าประกันภัย ค่าสูญเสียระหว่างทาง) ถ้าเปลี่ยนมาใช้ราคาหน้าโรงกลั่นเป็นราคาเดียวกับที่เอกชน 'ส่งออก' จะลดราคาลงได้ประมาณ 2 บาท/ลิตร

2.) ค่าการตลาดที่เหมาะสมสำหรับเบนซินลิตรละ 2 บาท (วันที่ 17/2/66 ค่าการตลาด 3.11 บาท/ลิตร) จะลดลงได้ 1.11 บาท/ลิตร

3.) ยกเลิก 2 กองทุน คือ กองทุนน้ำมันและกองทุนอนุรักษ์พลังงาน ลดได้ 6.55 บาท/ลิตร (กล่าวสำหรับกองทุนน้ำมันเป็นกองทุนที่มีไว้เพื่อใช้หนี้เอกชนซึ่งส่วนใหญ่ใช้จ่ายหนี้ให้กับเอทานอลที่ผสมในเบนซินและไบโอดีเซลที่ผสมในดีเซล และเอากองทุนไปชดเชยน้ำมันผสมให้หลอกตาว่าถูกลง แต่เป็นการล้วงเงินผู้ใช้น้ำมันไปชดเชย ทำให้เป็นหนี้กองทุนน้ำมันไม่สิ้นสุด โดยราคาเอทานอล 29.16 บาท/ลิตร น้ำมันเบนซิน 95 ราคา 22.28 บาท/ลิตร ไบโอดีเซลราคา 32.06 บาท/ลิตร ดีเซลธรรมดาราคา 21.99 บาท/ลิตร ดังนั้นยิ่งผสมมากยิ่งแพง ยิ่งต้องการเงินมาชดเชยมาก)

4.) ลดภาษีสรรพสามิต, ภาษีเทศบาล, ภาษีแวต จาก 10.02 บาท/ลิตร เหลือ 1.61 บาท/ลิตร จะลดราคาลงได้ 8.41 บาท/ลิตร

ดังนั้น ถ้าปรับลดราคาตามนี้จะลดราคาเบนซินลงได้ 2+1.11+6.55+8.41 = 18.07 บาท/ลิตร ส่วนดีเซล ราคาปลีกอยู่ที่ 34.44 บาท/ลิตร จะลดราคาลง 6.37 บาท/ลิตร เหลือราคาปลีกที่ 28.07 บาท/ลิตร สามารถปรับลด ดังนี้

1.) ราคาเนื้อน้ำมันดีเซล 24.23 บาท/ลิตร มีส่วนผสมไบโอดีเซล 7% อยู่ 2.24 บาท/ลิตร ถ้าตัดไบโอดีเซลลดได้ 2.24 บาท/ลิตร และถ้าใช้หน้าโรงกลั่นเป็นราคาเดียวกับ “ส่งออก” ลดได้อีกประมาณ 2 บาท/ลิตร

2.) ลดค่าการตลาดลงจาก 1.90 บาท/ลิตร เหลือ 1.50 บาท/ลิตร ลดได้ 50 สต./ลิตร

3.) ยกเลิก2กองทุนลดได้ 4.57 บาท/ลิตร

4.) ภาษีที่รัฐบาลเก็บ 3.71 บาท/ลิตร ไม่ต้องลดเลย

ถ้าปรับลดราคาดีเซลลงตามตัวเลขข้างต้น จะสามารถลดราคาได้ 2.24+2+.40+4.57 = 9.21 บาท/ลิตร ซึ่งมากกว่าตัวเลขคุณมิ่งขวัญ ที่ต้องการลด 6.37 บาท/ลิตร โดยไม่ต้องปรับลดภาษีของรัฐบาลด้วย

ถ้าต้องการปรับโครงสร้างราคาพลังงานให้เป็นธรรมจริง ๆ ต้องยกเลิกกองทุนน้ำมัน ซึ่งหนี้ทั้งหมดมาจากการนำน้ำมันชีวภาพทั้งเอทานอล และไบโอดีเซลมาเติมในเบนซินและดีเซลโดยการอ้างเหตุผลลวงเรื่องช่วยเกษตรกร ซึ่งผู้ได้ประโยชน์ส่วนใหญ่คือกลุ่มทุนพลังงาน

กรณีช่วยเกษตรกรไม่มีหลักฐานว่าเกษตรกรมีรายได้เพิ่มขึ้นจริง แต่คนใช้น้ำมันต้องแบกรับน้ำมันผสมราคาแพงเกินจริงโดยไม่มีทางเลือก กองทุนน้ำมันทำให้โครงสร้างราคาบิดเบือน ทำให้ผู้ค้าน้ำมันสามารถถ่างราคาน้ำมันผสมได้ตามใจชอบ ราคาน้ำมันจึงไม่ได้เป็นไปตามกลไกตลาดเสรี ตามที่รัฐบาลและผู้ค้าน้ำมันมักยกเมฆกล่าวอ้างให้ประชาชนและสื่อมวลชนหลงเชื่อ ในขณะที่ผู้ใช้น้ำมันทั้งประเทศเขารับภาระราคาพลังงานขนาดนี้ไม่ไหวกันแล้ว เพราะกระทบค่าครองชีพ ราคาสินค้าและค่าบริการต่าง ๆ

ดิฉันเห็นด้วยกับการปรับโครงสร้างราคาน้ำมัน ให้ราคาน้ำมันเหลือเพียง 2 ชนิด คือ เบนซิน และดีเซลเท่านั้น โดยตัดน้ำมันชีวภาพออกไป ตราบเท่าที่ราคาน้ำมันชีวภาพยังมีราคาแพงกว่าน้ำมันพื้นฐาน และรัฐบาลควรใช้ความสามารถในการขยายตลาดการเกษตร ในการช่วยเหลือเกษตรกร ไม่ใช่บีบให้คนต้องใช้น้ำมันผสมที่มีราคาถูกแบบเทียม ๆ เพื่ออุ้มกลุ่มทุนมากกว่าเกษตรกร เพราะดึงเงินจากกองทุนน้ำมันซึ่งมาจากกระเป๋าประชาชนมาชดเชยไม่รู้จบ

ข้อเสนอของคุณมิ่งขวัญสามารถทำได้ แม้มีเรื่องต้องจัดการอยู่มากตามที่กล่าวไว้ข้างต้น ขึ้นอยู่กับหัวหน้าพรรค คือ พล.อ ประวิตร วงษ์สุวรรณกล้าเปลี่ยนแปลงจริงหรือไม่

‘ครุสภา’ ผุด!! กรอบแนวคิดมาตรฐานความรู้วิชาชีพครู อบรม 420 ชั่วโมง เสริมดีกรีแม่พิมพ์ฝึกหัดให้ทำงานได้

เมื่อวานนี้ (22 ก.พ. 66) น.ส.ตรีนุช เทียนทอง รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ (ศธ.) เปิดเผยภายหลังเป็นประธานการประชุมคณะกรรมการคุรุสภา ว่า ที่ประชุมรับทราบความก้าวหน้าการดำเนินงานพัฒนาผู้ได้รับยกเว้นไม่ต้องมีใบอนุญาตประกอบวิชาชีพควบคุมเป็นการชั่วคราว ให้มีมาตรฐานความรู้วิชาชีพเพื่อเป็นคุณสมบัติในการรับใบอนุญาตประกอบวิชาชีพครู ทั้งชาวไทยและชาวต่างชาติ ซึ่งการดำเนินงานนี้ มีเป้าหมายว่าจะทำอย่างไรให้ผู้ที่มีความรู้ความสามารถในแต่ละสาขาวิชานั้น ๆ แต่ไม่ได้เรียนจบครุศาสตร์/ศึกษาศาสตร์ สามารถเป็นครู และได้รับใบอนุญาตประกอบวิชาชีพ 

ซึ่งที่ผ่านมา ทางคุรุสภาได้ยกเลิกหลักสูตรประกาศนียบัตรบัณฑิต หรือ ป.บัณฑิต ไปแล้ว ดังนั้นครุสภาได้ไปจัดทำหลักสูตรใหม่ เพื่อให้มีความยืดหยุ่นมากขึ้น โดยสถาบันคุรุพัฒนา ได้จัดทำกรอบแนวคิดและมาตรฐานหลักสูตรอบรมมาตรฐานความรู้วิชาชีพครู จำนวน 7 โมดูล (Module) ดังนี้ 

1.) การเปลี่ยนแปลงบริบทของโลก สังคม และแนวคิดของปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง 
2.) จิตวิทยาพัฒนาการ จิตวิทยาการศึกษา และจิตวิทยาให้คำปรึกษาในการวิเคราะห์และพัฒนาผู้เรียนตามศักยภาพ 
3.) เนื้อหาวิชาที่สอน หลักสูตร ศาสตร์การสอน และเทคโนโลยีดิจิทัลในการจัดการเรียนรู้


© Copyright 2021, All rights reserved. THE STATES TIMES
Take Me Top