Wednesday, 30 April 2025
ECONBIZ NEWS

ครม.ปรับ “ยิ่งใช้ยิ่งได้” ขยายเวลาใช้สิทธิ์ถึง30พ.ย.-เพิ่มวงเงินคำนวณเป็น 10,000 บาทต่อคนต่อวัน- ลดคนใช้สิทธิ์-ลดงบประมาณเกือบ2หมื่นล้านบาทเหตุประกาศ ศบค. ทำคนเดินห้างน้อยลง

นายอนุชา บูรพชัยศรี โฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี แหลงผลประชุมคณะรัฐมนตรีว่า(ครม.)ว่า ครม.อนุมัติเปลี่ยนแปลงรายละเอียดโครงการ “ยิ่งใช้ยิ่งได้”โดยขยายระยะเวลาการใช้จ่ายเพื่อซื้อสินค้าหรือรับบริการที่ได้รับการสนับสนุนบัตรกำนัลอิเล็กทรอนิกส์(  e-Voucher )จากเดิมระหว่าง 1 ก.ค.- 30 ก.ย.2564เป็นตั้งแต่ 1 ก.ค.-30 พ.ย.2564 และเพิ่มวงเงินใช้จ่ายสูงสุดที่จะนำมาคำนวณสิทธิ ไม่เกิน 10,000 บาทต่อคนต่อวัน ตั้งแต่วันที่ 15 ก.ค. -30 พ.ย.นี้ โดยจำกัดวงเงินใช้จ่ายสูงสุดที่จะนำมาคำนวณสิทธิe-Voucher ไม่เกิน60,000 บาทต่อคน นอกจากนั้นปรับลดจำนวนกลุ่มเป้าหมายของโครงการฯ จากเดิมไม่เกิน  4 ล้านคน เป็นไม่เกิน 1.4 ล้านคน ทำให้กรอบวงเงินโครงการลดลงจาก 28,000 ล้านบาท เป็น 9,800 ล้านบาท หรือลดลงประมาณ 18,200 ล้านบาท

นายอนุชา กล่าวว่า จากประกาศข้อกำหนดของศบค.ที่ผ่านมา ให้ห้างสรรพสินค้า ศูนย์การค้า คอมมูนิตี้มอลล์ หรือสถานประกอบการที่มีลักษณะคล้ายกัน ในเขตพื้นที่กทม.และปริมณฑล และในพื้นที่ 4 จังหวัดภาคใต้ของประเทศ เปิดดำเนินการได้ถึงเวลา 20.00 น.เฉพาะการจำหน่ายสินค้าอุปโภคบริโภคที่จำเป็นต่อการดำรงชีวิต ระยะเวลาอย่างน้อย 14 วัน ส่วนร้านค้าและร้านอาหาร ที่เข้าร่วมโครงการที่อยู่ในห้างสรรพสินค้าต้องปิดชั่วคราว อาจมีผู้ใช้สิทธิ์น้อยลง จึงมีการปรับเปลี่ยนโครงการเพื่อความเหมาะสมด้วย

หวั่นเศรษฐกิจเจอผลกระทบล็อกดาวน์หนักสูญ 1.2 แสนล.

นายสนั่น อังอุบลกุล ประธานกรรมการหอการค้าไทย เปิดเผยว่า หลังจากสถานการณ์โควิด-19 มีจำนวนผู้ติดเชื้อเพิ่มขึ้น ซึ่งหอการค้าไทยมีความเป็นห่วงสถานการณ์อย่างมาก โดยเฉพาะการขยายพื้นที่ควบคุมสูงสุดอีก 3 จังหวัด รวมเป็น 13 จังหวัด คือ พระนครศรีอยุธยา ฉะเชิงเทรา และชลบุรี ซึ่งเป็นพื้นที่สายการผลิตเพื่อการส่งออก โดยต้องการให้รัฐบาลแยกผู้ติดแยกออกมาให้ได้ และเร่งกระจายการฉีดวัคซีนควบคู่ไปกับการเยียวยา โดยหากดูตัวเลขยอดผู้ติดเชื้อในปัจจุบัน มีความเป็นไปได้สูงว่ารัฐบาลจะต้องขยายล็อกดาวน์เพิ่มมากกว่า 14 วัน 

นายสนั่น กล่าวว่า หากมีการขยายล็อกดาวน์ออกไปมากกว่า 14 วัน จะมีผลกระทบต่อเศรษฐกิจ ล่าสุดหอการค้าประเมินความเสียหายทางด้านเศรษฐกิจเบื้องต้น คาดว่า จะเพิ่มจากเดิมที่ประมาณไว้ 2,000-3,000 ล้านบาทต่อวัน เป็นวันละ 3,000-4,000 ล้านบาทต่อวัน ถ้าคำนวณผลกระทบ 1 เดือน ประมาณ 90,000-120,000 ล้านบาท 

อย่างไรก็ตามเพื่อให้การล็อกดาวน์ มีประสิทธิภาพมากขึ้น คนลดการเคลื่อนย้ายจริง ต้องมีมาตรการช่วยลดค่าใช้จ่ายและเสริมรายได้ในช่วงนี้ เงินกู้ที่เตรียมไว้ 500,000 ล้านบาท จำเป็นต้องนำมาเร่งใช้ในช่วงนี้ หรือภายในไตรมาส 3 และหากไม่พอรัฐบาลก็สามรถกู้เพิ่มเติมได้ เพราะก่อนหน้านี้รัฐบาลมีแผนจะกู้เพิ่ม 7 แสนล้านบาท แต่กู้เพิ่มล่าสุด 5 แสนล้านบาท ก็ยังมีกรอบที่จะดำเนินการเพิ่ม

“อนุชา” เผย รัฐ เร่งช่วยลูกหนี้กลุ่มเปราะบางทั่วประเทศ “พักชำระหนี้ 2 เดือน ก.ค.-ส.ค.นี้ เน้นช่วยธุรกิจที่ถูกปิดสั่งปิด ให้ยืนได้

นายอนุชา บูรพชัยศรี โฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี เปิดเผยว่า พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี และรมว.กลาโหมเข้าใจผลกระทบจากการออกมาตรการที่เข้มงวดขึ้น เพื่อลดการแพร่ระบาดของเชื้อไวรัสโควิด-19 จึงเร่งประสานหน่วยงานทางการเงินออกมาตรการช่วยเหลือลูกหนี้กลุ่มเปราะบางโดยเร็ว โดยธนาคารแห่งประเทศไทย(ธปท.)ร่วมกับสมาคมธนาคารไทย สมาคมธนาคารนานาชาติ สมาคมสถาบันการเงินของรัฐ ออกมาตรการพักชำระเงินต้นและดอกเบี้ยให้แก่ลูกหนี้ขนาดกลางและขนาดย่อม( SMEs )และรายย่อย ที่เป็นนายจ้างหรือลูกจ้าง ในสถานประกอบการที่ต้องปิดกิจการจากมาตรการหรือตามคำสั่งของรัฐในการควบคุมการแพร่ระบาดโควิด-19 ในช่วงระยะเวลาระยะเวลา 2 เดือนนี้  เริ่มตั้งแต่งวดการชำระหนี้เดือนก.ค. -ส.ค.2564 นี้ โดยมาตรการพักชำระหนี้ คือเลื่อนการชำระเงินต้นและดอกเบี้ยออกไปเป็นระยะเวลา 2 เดือน ซึ่งเป็นเพียงมาตรการที่ช่วยเหลือระยะสั้น ช่วยเหลือลูกหนี้ที่ได้รับผลกระทบทั่วประเทศ ส่วนลูกหนี้ที่ยังมีศักยภาพและสามารถชำระหนี้ได้ แนะนำให้ชำระหนี้ต่อเนื่องไม่ให้ภาระหนี้ในอนาคต เช่นเดียวกับลูกหนี้ที่อยู่ระหว่างเจรจาปรับโครงสร้างหนี้กับสถาบันการเงินในขณะนี้ ควรดำเนินการต่อเนื่องเพื่อแก้ไขปัญหาได้ตรงจุด

นายอนุชา กล่าวว่า สถาบันการเงินที่เข้าร่วม ครอบคลุมธนาคารพาณิชย์ไทย ต่างประเทศสถาบันและการเงินเฉพาะกิจ (Non-bank)ชมรมผู้ประกอบธุรกิจเช่าซื้อสินเชื่อส่วนบุคคล บัตรเครดิต จำนำทะเบียนรถ  ครอบคลุมสินเชื่อทุกประเภท รวมถึงหนี้บัตรเครดิตของลูกหนี้ขนาดกลางและขนาดย่อม และลูกหนี้รายย่อย ซึ่งลูกหนี้สามารถติดต่อสถาบันการเงินที่เป็นเจ้าหนี้ได้ตั้งแต่วันที่ 19 ก.ค. เป็นต้นไป

นายอนุชา กล่าวว่า ธปท. ย้ำว่าที่สถาบันการเงินพักชำระหนี้ให้เป็นเวลา 2 เดือน เป็นการให้ลูกหนี้ไม่ต้องชำระเงินต้นและดอกเบี้ย ให้แก่สถาบันการเงินในระยะเวลาดังกล่าว สถาบันการเงินต้องห้ามไปเรียกเก็บเงินต้นและดอกเบี้ยที่ได้พักชำระไว้จากลูกหนี้หลังพ้น 2 เดือนนี้แล้วทันที แต่ให้ทยอยเรียกเก็บเงินจำนวนนี้หรือเรียกเก็บในช่วงท้ายของสัญญา และจะไม่ถือว่าลูกหนี้มีสถานะผิดนัดชำระหนี้ และไม่เป็นหนี้ค้างชำระในเครดิตบูโร และสถาบันการเงินจะไม่สามารถเรียกเก็บดอกเบี้ยในการผิดนัดชำระหนี้ได้ เพราะยังถือว่าเป็นหนี้ดีอยู่

"การพักชำระหนี้ เป็นเพียงมาตรการเร่งด่วน ในช่วงระยะเวลาหนึ่ง ที่ธปท.และสถาบันการเงินร่วมกันช่วยลูกหนี้ที่ฐานะทางการเงินอ่อนแอ ยืดเวลา ชะลอภาระทางการเงินเป็นการชั่วคราว สอดคล้องกับนโยบายรัฐบาลและนายกรัฐมนตรี ที่ต้องการช่วยเหลือผู้ประกอบการโดยเฉพาะคนตัวเล็ก ที่ไม่สามารถประกอบอาชีพได้อย่างเต็มที่ในช่วงเวลานี้ ให้รักษาและดำเนินกิจการได้ต่อไปในขณะที่ยังต้องมีการจำกัดกิจกรรม เพื่อควบคุมการแพร่ระบาดโควิด-19 อีกระยะหนึ่ง" นายอนุชา ฯ กล่าว

รัฐเดินหน้าแก้ปัญหาสินเชื่อ-ไกล่เกลี่ยเจ้าหนี้ อุ้มร้านค้า/ร้านอาหารฝ่าวิกฤต"โควิด"  พรุ่งนี้! เริ่มลงทะเบียนพักหนี้ ช่วยSMEและรายย่อย ที่ต้องปิดกิจการตามมาตรการรัฐ

นางสาวรัชดา ธนาดิเรก รองโฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี เปิดเผยว่า ตามข้อสั่งการนายกรัฐมนตรี พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา ให้ทุกภาคส่วนออกมาตรการช่วยเหลือผู้ประกอบการให้มีความสามารถประคับประคองธุรกิจให้ก้าวข้ามความยากลำบากช่วงสถานการณ์การแพร่ระบาดโควิด19 โดยเฉพาะผู้ประกอบการSME ซึ่งขณะนี้ธนาคารรัฐและธนาคารพาณิชย์หลายแห่ง ได้ขานรับโดยออกมาตรการพักชำระเงินต้นและดอกเบี้ย เป็นเวลา 2เดือน ช่วยSME และรายย่อย ที่ต้องปิดกิจการตามมาตรการของรัฐ ซึ่งผู้ประกอบการสามารถยื่นความประสงค์ที่ธนาคารเจ้าหนี้ ได้ตั้งแต่วันที่ 19 ก.ค. ถึง 15 ส.ค. บางแห่งถึง31ส.ค.นี้ สำหรับธุรกิจร้านอาหาร ไม่ว่าจะเป็น ร้านตึกแถว ร้านในห้าง ฟู้ดทรัค บู๊ทขายอาหาร ซึ่งได้รับผลกระทบมาหลายระลอก  ธนาคารออมสินได้ออกสินเชื่อเป็นการเฉพาะ โครงการ ”สินเชื่ออิ่มใจ” ให้วงเงินกู้ไม่เกิน 1 แสนบาทต่อราย  ไม่ต้องใช้หลักประกัน ปลอดการชำระเงินงวด 6 เดือน อัตราดอกเบี้ย 3.99% ต่อปี นาน 5 ปี  โดยเปิดให้ยื่นขอสินเชื่อแล้วจนถึงวันที่ 31 ธ.ค. หรือจนกว่าจะครบวงเงินโครงการ

ขณะที่ กรมบังคับคดียังเร่งให้ความช่วยเหลือพ่อค้าแม่ค้า ร้านค้าและร้านอาหาร ในการไกล่เกลี่ยข้อพิพาทกับเจ้าหนี้ ซึ่งจะมีถึงวันที่ 31 ส.ค.นี้ ณ ศูนย์ไกล่เกลี่ยข้อพิพาท กรมบังคับคดี และสำนักงานบังคับคดีทั่วประเทศ จำนวน 116 แห่ง ซึ่งการช่วยเหลือดังกล่าวเป็นการเปิดโอกาสให้เจ้าหนี้และลูกหนี้ ได้เจรจากันด้วยความพึงพอใจ สะดวก รวดเร็ว และเป็นธรรม เพื่อให้เจ้าหนี้ได้รับชำระหนี้ และลูกหนี้ก็สามารถชำระหนี้ได้เช่นกัน อีกทั้งช่วยลดปัญหาหนี้สิน ส่งผลให้ลูกหนี้ไม่ถูกยึดทรัพย์ อายัดทรัพย์ หรือนำไปขายทอดตลาดในที่สุด จึงขอเชิญชวนประชาชนที่ประสบปัญหาหนี้สินซึ่งศาลมีคำพิพากษาแล้ว และอยู่ระหว่างการบังคับคดี เข้าร่วมการไกล่เกลี่ย โดยไม่มีค่าใช้จ่าย สามารถยื่นคำร้องขอไกล่เกลี่ยข้อพิพาทผ่านระบบออนไลน์ได้ทางเว็บไซต์กรมบังคับคดีwww.led.go.th และแอปพลิเคชัน Session call หรือ สอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ศูนย์ไกล่เกลี่ยข้อพิพาท กรมบังคับคดี หมายเลขโทรศัพท์ 02 881 4840 /02 887 5072 หรือสายด่วนกรมบังคับคดี 1111 กด 79 และสำนักงานบังคับคดีทั่วประเทศ

#INTERLINK จัดงานสัมมนา Total Solution Indoor / Outdoor & Data Center for Professional

#INTERLINK (17 ก.ค. 2564)

คุณสมบัติ อนันตรัมพร ประธาน บมจ. อินเตอร์ลิ้งค์ฯ จัดงานสัมมนา Total Solution Indoor / Outdoor & Data Center for Professional

โดยเล่าถึงความตั้งใจในการนำเทคโนโลยีมาพัฒนาประเทศไทย​ พร้อมนำประสบการณ์มาอัปเดตรายละเอียดเรื่องระบบสายสัญญาณ และอุปกรณ์เน็ตเวิร์ค​ รวมถึง Data Center​ มาแชร์ให้กับกลุ่ม Consult อาจารย์มหาวิทยาลัยกว่า 50 หน่วยงาน เพื่อให้กลุ่มอาจารย์เห็นภาพจริง และเข้าใจอย่างชัดแจ้ง และตอบโจทย์ทุกความต้องการ

???? LIVE จากสนง.ใหญ่ อินเตอร์ลิ้งค์ กรุงเทพฯ

พลิกวิกฤต“โควิด” เป็นโอกาส รัฐดันอุตสาหกรรมสมุนไพร ส่งออกโต 93% ส่งเสริมปลูก“ฟ้าทะลายโจร” สร้างรายได้เข้าประเทศและเกษตรกร

นางสาวรัชดา ธนาดิเรก รองโฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี เปิดเผยถึงการขับเคลื่อนนโยบายรัฐบาลด้านการพัฒนาสมุนไพรไทย ว่า  ขณะนี้ สมุนไพรไทยเป็นพืชเศรษฐกิจและพืชสุขภาพที่มีความต้องการเพิ่มขึ้นอย่างมากทั้งในประเทศและต่างประเทศ โดยมูลค่าการบริโภควัตถุดิบสมุนไพรและผลิตภัณฑ์สมุนไพรภายในประเทศ (รวมที่นำเข้าด้วย)  เพิ่มขึ้นจาก 4.3 หมื่นล้านบาทในปี 2560 เป็น 5.2 หมื่นล้านบาทในปี 2562 การส่งออกสินค้าเครื่องเทศและสมุนไพร ไตรมาสแรกปีนี้ เพิ่มขึ้น 93% จากช่วงเดียวกันของปีที่แล้ว สำหรับการดำเนินการในช่วงที่ผ่านมา  กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ได้สานต่อนโยบายรัฐบาลร่วมกับหลายภาคส่วนเพื่อส่งเสริมผลิตผลของสมุนไพรไทยให้มีศักยภาพตามความต้องการของตลาด สนับสนุนการปลูกพืชสมุนไพรกว่า 6.4หมื่นไร่ มีการจัดทำมาตรฐานสินค้า GAP และมาตรฐานพืชสมุนไพร มีการจัดทำแผนที่ความเหมาะสมของที่ดินสำหรับปลูกพืชสมุนไพร (Land Suitability) จำนวน  24 ชนิด เช่น ฟ้าทะลายโจร กระชายขาว ขมิ้นชัน ไพล พริกไทย เพชรสังฆาต เป็นต้น 

นางสาวรัชดา กล่าวว่า นอกจากนี้ยังมีแผนร่วมมือกับสำนักงานคณะกรรมการนโยบายเขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก หรือ อีอีซี เพื่อส่งเสริมการพัฒนาเกษตรกรในพื้นที่ส.ป.ก.ในเขตอีอีซี  ประมาณ 10,000 ไร่ โดยจะส่งเสริมการทำแปลงใหญ่สมุนไพร การเข้าถึงแหล่งเงินทุน การวิจัยและพัฒนาร่วมกับสถาบันการศึกษา  ส่วนเรื่องการตลาด ได้มีความร่วมมือกับกระทรวงสาธารณสุข และเอกชน เตรียมเปิดโครงการตลาดสดขนาดใหญ่ จำหน่ายพืชสมุนไพรสดและเครื่องเทศปลอดภัย และจัดทำตลาดออนไลน์ภายใต้ชื่อ “DGT Farm” เป็นพื้นที่ให้เกษตรกรผู้ปลูกสมุนไพรตามมาตรฐาน GAP และมาตรฐานเกษตรอินทรีย์ได้ขายของกับผู้บริโภคโดยตรง

นางสาวรัชดา กล่าวว่า สำหรับการส่งเสริมการปลูกฟ้าทะลายโจรเพื่อให้มีเพียงพอต่อความต้องการในปัจจุบันนั้น  มีหลายหน่วยงานได้เข้ามาร่วมมือกับกระทรวงฯ อาทิ สำนักงานส่งเสริมการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัย (กศน.) จัดส่งกล้าและเมล็ดพันธุ์ ให้กับสำนักงาน กศน.ทั่วประเทศ เพื่อแจกแก่นักศึกษากศน. และประชาชน ขณะที่กระทรวงยุติธรรมได้เดินหน้าให้เรือนจำ/ทัณฑสถานที่มีความพร้อม  ดำเนินการเพาะปลูกฟ้าทะลายโจร เบื้องต้นมี 125แห่ง ทั้งนี้ เกษตรกรและประชาชนทั่วไปที่สนใจจะปลูกฟ้าทะลายโจรหรือพืชสมุนไพรอื่นที่มีมูลค่าทางเศรษฐกิจ สามารถติดต่อเกษตรอำเภอได้ เพื่อรับคำแนะนำในเรื่องการเพาะปลูกและการตลาด  

“รัฐบาลเดินหน้าส่งเสริมเกษตรกรทั่วประเทศหันมาปลูกพืชสมุนไพรที่มีคุณภาพและได้มาตรฐาน เพื่อรองรับความต้องการของตลาดที่เพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง เป็นไปตามแผนแม่บทว่าด้วยการพัฒนาสมุนไพรไทย อีกทั้งผลักดันต่อเนื่องถึงการปลูกในระดับอุตสาหกรรมและการส่งออก ที่ต้องคำนึงถึงการแปรรูปเพิ่มมูลค่าและปริมาณการผลิต โดยแนวทางที่ได้ดำเนินการและมีการบูรณาการระหว่างภาคส่วนแล้วนั้น จะสร้างรายได้เพิ่มขึ้นแก่เกษตรกรอย่างยั่งยืน คนไทยมีพืชสมุนไพรบริโภคอย่างพอเพียง อีกทั้งส่งเสริมให้อุตสาหกรรมสมุนไพรเป็นอุตสาหกรรมที่โดดเด่น สร้างรายได้เข้าประเทศอย่างมาก” นางสาวรัชดา กล่าว

“บิ๊กตู่” หวังเปิด “เกาะสมุย” รับต่างชาติเที่ยวไทยเดินตามแผน

นายธนกร วังบุญคงชนะ เลขานุการรัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรี ในฐานะโฆษกศูนย์บริหารสถานการณ์เศรษฐกิจจากผลกระทบจากการแพร่ระบาดของโควิด-19 (ศบศ.) กล่าวถึงโครงการ “สมุยพลัสโมเดล” ซึ่งเป็นหนึ่งในแผนการเปิดประเทศไทยเพื่อกระตุ้นการท่องเที่ยวในประเทศว่า นายกรัฐมนตรี ขอบคุณทุกฝ่ายที่ช่วยกันเตรียมการและผลักดันการเปิดรับนักท่องเที่ยวต่างชาติสู่เกาะสมุย เกาะพงัน เกาะเต่า ของจังหวัดสุราษฎร์ธานี ภายใต้รูปแบบสมุยพลัสโมเดล ซึ่งถือเป็นความต่อเนื่องจากการเปิดภูเก็ตแซนด์บ็อกซ์ 

ทั้งนี้ได้สะท้อนถึงการบริหารจัดการด้านการแพทย์และสาธารณสุขที่เป็นไปตามมาตรการอย่างเคร่งครัด ทั้งมาตรการการเฝ้าระวังในพื้นที่ มาตรการป้องกันควบคุมโรค มาตรการป้องกันส่วนบุคคล มาตรการด้านสังคมและการกำกับติดตาม รวมทั้งระบบการรายงาน การส่งต่อและการรักษาอย่างเป็นระบบและมีประสิทธิภาพ สร้างความเชื่อมั่นให้ต่างชาติที่จะเดินทางมา  เบื้องต้นจำนวนนักท่องเที่ยวชาวต่างชาติที่จะเข้ามาสมุยในระหว่างวันที่ 15 ก.ค. – 15 ส.ค. นี้ประมาณ 1,000 คน คาดว่าจะสร้างรายได้กว่า 180 ล้านบาท ซึ่งเป็นการเจาะกลุ่มลูกค้าเก่าของทั้งสามเกาะ เช่น กลุ่มยุโรป กลุ่มตะวันออกกลาง และกลุ่มครอบครัว  

ขณะที่มีการเชื่อมโยงการท่องเที่ยวระหว่างจังหวัดโดยมีการเปิดเส้นทางการบินระหว่างเกาะสมุยและเกาะภูเก็ตบินแบบวันเว้นวันด้วย และ ในเดือน ส.ค. 64 จะขยายพื้นที่นำร่องไปยังพื้นที่อื่นๆ ได้แก่ เกาะพีพี ไร่เล และเกาะไหง จ.กระบี่ รวมถึงเขาหลัก และเกาะยาว จ.พังงา จากนั้นในเดือน ก.ย.จะเริ่มในพื้นที่ทางบก ได้แก่ พัทยา เชียงใหม่ และบุรีรัมย์ ที่จะเป็นเจ้าภาพจัดการแข่งขันโมโตจีพีต่อไป

“โฆษกศบศ.”เผย “บิ๊กตู่”ขอบคุณทุกฝ่ายเดินหน้าสมุยพลัส เรียกความเชื่อมั่นจากต่างชาติ ปลื้มประชาชนแห่ใช้สิทธิมาตรการรัฐเกือบ 34 ล้านคน ฟุ้งเงินสะพัดกว่า3หมื่นล้าน ทั้งคนละครึ่ง บัตรสวัสดิการแห่งรัฐ ยิ่งใช้ยิ่งได้

นายธนกร วังบุญคงชนะ เลขานุการรัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรี ในฐานะโฆษกศูนย์บริหารสถานการณ์เศรษฐกิจจากผลกระทบจากการแพร่ระบาดของโควิด-19 (ศบศ.) กล่าวว่า รัฐบาลยังคงเดินหน้าเปิดการท่องเที่ยว  โดยล่าสุดมีการเปิดโครงการสมุยพลัสโมเดลตามแผนการเปิดประเทศไทยเพื่อกระตุ้นการท่องเที่ยวในประเทศ ซึ่งพล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม ขอบคุณทุกฝ่ายที่ช่วยกันเตรียมการและผลักดันการเปิดรับนักท่องเที่ยวต่างชาติสู่เกาะสมุย เกาะพงัน เกาะเต่า ของจังหวัดสุราษฎร์ธานี ภายใต้รูปแบบสมุยพลัสโมเดล ซึ่งถือเป็นความต่อเนื่องจากการเปิดภูเก็ตแซนด์บ็อกซ์ สะท้อนถึงการบริหารจัดการด้านการแพทย์และสาธารณสุขที่เป็นไปตามมาตรการอย่างเคร่งครัด ทั้งมาตรการการเฝ้าระวังในพื้นที่ มาตรการป้องกันควบคุมโรค มาตรการป้องกันส่วนบุคคล มาตรการด้านสังคมและการกำกับติดตาม รวมทั้งระบบการรายงาน การส่งต่อและการรักษาอย่างเป็นระบบและมีประสิทธิภาพ สร้างความเชื่อมั่นให้ต่างชาติที่จะเดินทางมา เบื้องต้นจำนวนนักท่องเที่ยวชาวต่างชาติที่จะเข้ามาสมุยในระหว่างวันที่ 15 ก.ค. – 15 ส.ค. นี้ ราว 1,000 คน คาดว่าจะสร้างรายได้กว่า 180 ล้านบาท ซึ่งเป็นการเจาะกลุ่มลูกค้าเก่าของทั้งสามเกาะ เช่น กลุ่มยุโรป กลุ่มตะวันออกกลาง และกลุ่มครอบครัว  ขณะที่มีการเชื่อมโยงการท่องเที่ยวระหว่างจังหวัดโดยมีการเปิดเส้นทางการบินระหว่างเกาะสมุยและเกาะภูเก็ตบินแบบวันเว้นวันด้วย ทั้งนี้ ในเดือน ส.ค. 64 จะขยายพื้นที่นำร่องไปยังพื้นที่อื่นๆ ได้แก่ เกาะพีพี ไร่เล และเกาะไหง จ.กระบี่ รวมถึงเขาหลัก และเกาะยาว จ.พังงา จากนั้นในเดือน ก.ย.จะเริ่มในพื้นที่ทางบก ได้แก่ พัทยา เชียงใหม่ และบุรีรัมย์ ที่จะเป็นเจ้าภาพจัดการแข่งขันโมโตจีพีต่อไป 
     
นายธนกร กล่าวว่า รัฐบาลยังได้วางแผนกระตุ้นการท่องเที่ยวและการใช้จ่ายในประเทศคู่ขนานกันไป โดยหลังจากที่รัฐบาลออกมาตรการลดภาระค่าครองชีพ กระตุ้นเศรษฐกิจออกไป มีเสียงตอบรับจากประชาชนทั่วประเทศใช้จ่ายผ่านโครงการอย่างต่อเนื่อง ขณะนี้ยอดการใช้จ่ายของแต่ละโครงการ ผู้ใช้สิทธิสะสม รวม 33.87 ล้านคน ยอดใช้จ่าย สะสม รวม 30,885.4 ล้านบาท แบ่งเป็น 1.โครงการคนละครึ่ง เฟส 3 มีผู้ใช้สิทธิสะสม 20.70 ล้านคน ยอดใช้จ่ายสะสม 27,922.5 ล้านบาท แบ่งเป็นส่วนที่ประชาชนจ่ายสะสม 14,105.7 ล้านบาท และรัฐร่วมจ่ายสะสม 13,816.8 ล้านบาท 2.โครงการยิ่งใช้ยิ่งได้ มีผู้ใช้สิทธิสะสม 46,447 คน ยอดใช้จ่ายสะสม 354.9 ล้านบาท 3.โครงการเพิ่มกำลังซื้อให้แก่ผู้มีบัตรสวัสดิการแห่งรัฐ มีผู้ใช้สิทธิสะสม 12.46 ล้านคน ยอดใช้จ่ายสะสม 2,477 ล้านบาท และ 4.โครงการเพิ่มกำลังซื้อให้แก่ผู้ที่ต้องการความช่วยเหลือเป็นพิเศษ มีผู้ใช้สิทธิสะสม 665,464 คน ยอดใช้จ่ายสะสม 131 ล้านบาท โดยใช้จ่ายระหว่างประชาชนกับร้านค้า หรือผู้ให้บริการแบบพบหน้า (face-to-face) ก่อน ส่วนแนวทางขยายสิทธิในการสั่งซื้ออาหารผ่านผู้ประกอบการแพลตฟอร์มดีลิเวอรี่และทางออนไลน์นั้น ขณะนี้ธนาคารกรุงไทยอยู่ระหว่างพิจารณาเงื่อนไขและพัฒนาระบบ โดยคาดว่าจะใช้เวลาในการดำเนินการอีกสักระยะ เพื่อให้มีความพร้อม สะดวกต่อการใช้งานของประชาชนในอนาคต ทั้งนี้ สำหรับยอดการลงทะเบียนล่าสุดของวันที่ 15 ก.ค. 2564 โครงการคนละครึ่งมีการลงทะเบียนแล้ว 29.62 ล้านคน เหลืออีก 1.37 ล้านคนจะครบ 31 ล้านคน ส่วนโครงการยิ่งใช้ยิ่งได้ ลงทะเบียนแล้ว 490,860 สิทธิ เหลืออีก 3,509,140 จะครบ 4 ล้านคน ซึ่งกระทรวงการคลังจะเปิดให้ลงทะเบียนไปจนกว่าจะครบจำนวนที่กำหนดไว้ ทั้งนี้ ประชาชนสามารถใช้จ่ายในโครงการต่างๆ ได้จนถึงวันที่ 31 ธันวาคม 2564 

สำนักงานเศรษฐกิจการคลัง ยัน ฐานะทางการคลัง ยังแกร่ง มีสภาพคล่อง รองรับมาตรการรัฐ ชี้ ระยะยาวเร่งเพิ่มประสิทธิภาพเก็บภาษี

นางสาวกุลยา ตันติเตมิท ผู้อำนวยการ สำนักงานเศรษฐกิจการคลัง หรือ สศค. เปิดเผยว่า รัฐบาลต้องการลดภาระให้กับประชาชน โดยเน้นครอบคลุมให้ตรงจุด จากการออกมาตรการต่างๆ เพื่อกระตุ้นกำลังซื้อให้กับประชาชน โดยยืนยันว่าปัจจุบัน ฐานะทางการคลัง มีความแข็งแกร่ง มีสภาพคล่องที่เพียงพอ ที่จะรองรับมาตรการเยียวยาประชาชน

ทั้งนี้ในระยะสั้น และระยะกลาง จะต้องบริหารรายได้ รายจ่าย รวมทั้งเงินกู้ เพื่อทำให้เงินคงคลังอยู่ในระดับเหมาะสมส่วนในระยะยาวมีความจำเป็นที่ต้องเพิ่มศักยภาพทางการคลัง ทำให้งบสมดุล ลดการขาดดุล เพิ่มประสิทธิภาพการจัดเก็บภาษี เพื่อรองรับความไม่แน่นอนในอนาคต

พาณิชย์ชงครม.เร่งแก้แรงงานภาคธุรกิจขาดแคลน

นายจุรินทร์ ลักษณวิศิษฏ์ รองนายกรัฐมนตรี และรมว.พาณิชย์ เปิดเผยภายหลังการประชุมคณะกรรมการร่วมภาครัฐและเอกชน ด้านการพาณิชย์ (กรอ.พาณิชย์) ผ่านระบบ VDO conference โดยที่ประชุมได้หารือกันถึงเรื่องแรงงานต่างด้าวที่ขาดแคลนสำหรับภาคการผลิตทั้งภาคการเกษตรอุตสาหกรรม โดยกระทรวงพาณิชย์รับว่า จะนำเรื่องนี้ไปรายงานให้ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ครม.) รับทราบปัญหาและดำเนินการแก้ไขต่อไป รวมทั้งการใช้แรงงานข้ามเขตในบางกรณี เช่น ช่วยเก็บผลไม้หรือตามความจำเป็น ซึ่งผู้ว่าราชการจังหวัดมีอำนาจอนุมัติในแต่ละจังหวัดด้วย

ส่วนเรื่องการผลักดันการส่งออกนั้น ที่ประชุมเห็นตรงกันว่าแม้ในปัจจุบันตัวเลขการส่งออกถือว่าดีมาก แต่ก็มีปัญหาเรื่องของตู้คอนเทนเนอร์ทั้งนำเข้าและส่งออก เข้าสู่สภาวะสมดุลแล้ว ตัวเลขนำเข้าตู้คอนเทนเนอร์ ตั้งแต่เดือนมกราคมถึงพฤษภาคมมีจำนวน 2,200,000 TEU ส่งออก 2,000,000 TEU ยังมีตู้เหลืออยู่ประมาณ 200,000 TEUที่สามารถใช้ได้ แต่เนื่องจากในภาคปฏิบัติจริงจำนวนหนึ่งต้องรอขั้นตอนในการนำสินค้าออกทำให้ตู้ไม่ว่าง และภาคเอกชนบางส่วนเคลียร์ตู้ ทำให้บางช่วงตู้ขาดแคลนในบางช่วงเวลา 

ดังนั้นจึงเห็นว่าควรร่วมกันสร้างแรงจูงใจให้เรือขนาดใหญ่เข้ามาเทียบท่าที่แหลมฉบังมากขึ้น โดยควรเปิดโอกาสเรือสินค้าขนาดใหญ่สามารถถ่ายลำระหว่างทางไปยังประเทศอื่นได้ด้วย เรื่องนี้ที่ประชุมได้มอบหมายให้ปลัดกระทรวงพาณิชย์ร่วมกับกระทรวงคมนาคมหน่วยงานที่เกี่ยวข้องและภาคเอกชนหารือร่วมกันเพื่อกำหนดมาตรการออกมา ส่วนเรื่องค่าระวางเรือ ภาคเอกชนยอมรับว่าเป็นไปตามกลไกราคาในตลาด อยากให้มีการลดค่าใช้จ่ายส่วนเพิ่ม จึงได้มอบให้ปลัดกระทรวงพาณิชย์หารือกับภาคเอกชนต่อไปว่ามีส่วนใดสามารถช่วยลดภาระค่าใช้จ่ายส่วนนี้ได้บ้าง


© Copyright 2021, All rights reserved. THE STATES TIMES
Take Me Top