Wednesday, 7 May 2025
ECONBIZ NEWS

กนอ. ขานรับนโยบาย ‘สุริยะ’ ดันโรงงานมุ่งสู่อุตสาหกรรมสีเขียว คิกออฟ ‘นิคมฯ หนองแค โมเดล’ ที่แรก

การนิคมอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย (กนอ.) ชู ‘นิคมฯหนองแค โมเดล’ พัฒนาตามแนวทางส่งเสริมด้านสิ่งแวดล้อม สอดรับกับโมเดลเศรษฐกิจใหม่ของรัฐบาล เน้นพัฒนาเศรษฐกิจแบบองค์รวม ภายใต้การดำเนินธุรกิจที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมและปลอดภัยเพื่อชุมชน เตรียมปรับเกณฑ์การประเมินประสิทธิภาพเชิงนิเวศเศรษฐกิจ (Eco-Efficiency) ปี 2565 พร้อมผลักดันสถานประกอบการสู่อุตสาหกรรมสีเขียวให้เป็นไปตามเป้าที่กำหนดไว้! 

นายสุริยะ จึงรุ่งเรืองกิจ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงอุตสาหกรรม เปิดเผยว่า กระทรวงอุตสาหกรรมมีนโยบายส่งเสริมและพัฒนาศักยภาพผู้ประกอบการให้มีความเข้มแข็ง สามารถแข่งขันได้ รวมทั้งส่งเสริมให้ การประกอบกิจการต้องเป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมตามแนวทางอุตสาหกรรมสีเขียวเพื่อเปลี่ยนผ่านอุตสาหกรรมไทยสู่อุตสาหกรรม 4.0 สอดรับกับโมเดลเศรษฐกิจใหม่ของรัฐบาล หรือ BCG Model ที่เป็นรูปแบบการพัฒนาเศรษฐกิจแบบองค์รวม 3 มิติไปพร้อมกัน ประกอบด้วย เศรษฐกิจชีวภาพ (Bio Economy) เศรษฐกิจหมุนเวียน (Circular Economy) และเศรษฐกิจสีเขียว (Green Economy) ซึ่งเป็นการพัฒนาเศรษฐกิจที่ไม่ได้มุ่งเน้นเพียงการพัฒนาเศรษฐกิจเท่านั้น แต่ต้องพัฒนาควบคู่ไปกับการพัฒนาสังคมและการรักษาสิ่งแวดล้อมได้อย่างสมดุลเกิดความมั่นคงและยั่งยืนไปพร้อมกัน

“กระทรวงฯมุ่งมั่นผลักดันโรงงานสู่การเป็นอุตสาหกรรมสีเขียว (Green Industry) โดยตั้งเป้าทุกแห่งภายในปี 2568 แบ่งเป็น เป้าหมาย 60% ในปี 2565 เป้าหมาย 80% ในปี 2566 เป้าหมาย 90% ในปี 2567 และเป็น 100% ในปี 2568 ซึ่งเป็นไปตามแผนปฏิบัติการด้านการส่งเสริมและพัฒนาสถานประกอบการสู่อุตสาหกรรมสีเขียว 2564 - 2580 เน้นเพิ่มประสิทธิภาพการบริหารจัดการ ส่งเสริมและกำกับดูแลคุณภาพสิ่งแวดล้อมของสถานประกอบการ” นายสุริยะ กล่าว

‘คลัง’ สั่งเพิกถอนใบอนุญาต บจ.บิทคอยน์ หลังชำระทุนจดทะเบียนไม่ถึง 50 ลบ.

เว็บไซต์ราชกิจจาฯ เผยแพร่ คำสั่งกระทรวงการคลัง เพิกถอนใบอนุญาตประกอบธุรกิจ สินทรัพย์ดิจิทัลประเภทการเป็นศูนย์ซื้อขาย คริปโทเคอร์เรนซี และใบอนุญาตประกอบธุรกิจสินทรัพย์ ดิจิทัลประเภทการเป็นศูนย์ซื้อขายโทเคนดิจิทัล ของบริษัท บิทคอยน์ จำกัด

วันที่ 1 ธ.ค. 64 เว็บไซต์ราชกิจจานุเบกษา ได้เผยแพร่ คําสั่งกระทรวงการคลังที่ 1904/2564 เรื่อง เพิกถอนใบอนุญาตประกอบธุรกิจสินทรัพย์ดิจิทัลของบริษัท บิทคอยน์ จํากัด เมื่อวันที่ 30 พ.ย. 64 ที่ผ่านมา

ความว่า ด้วยปรากฏข้อเท็จจริงว่า บริษัท บิทคอยน์ จํากัด (“บริษัท”) ในฐานะผู้ได้รับใบอนุญาต ประกอบธุรกิจสินทรัพย์ดิจิทัลประเภทการเป็นศูนย์ซื้อขายคริปโทเคอร์เรนซี และใบอนุญาตประกอบ ธุรกิจสินทรัพย์ดิจิทัลประเภทการเป็นศูนย์ซื้อขายโทเคนดิจิทัล ตามพระราชกําหนดการประกอบธุรกิจ สินทรัพย์ดิจิทัล พ.ศ. 2561

ไม่ปฏิบัติตามเงื่อนไขในการได้รับใบอนุญาตตามข้อ 2 (3) ประกอบกับ ข้อ 3 (2) ของประกาศกระทรวงการคลัง เรื่อง การอนุญาตการประกอบธุรกิจสินทรัพย์ดิจิทัล พ.ศ. 2561 ลงวันที่ 16 กรกฎาคม พ.ศ. 2561 (“ประกาศกระทรวงการคลัง”)

โดยเมื่อวันที่ 13 มกราคม พ.ศ. 2563 และวันที่ 14 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2563 บริษัทได้ลดทุนจนทําให้ทุนจดทะเบียน ซึ่งชําระแล้วของบริษัทเหลือเพียง 12.5 ล้านบาท และ 3.125 ล้านบาท ตามลําดับ ซึ่งข้อ 2 (1) ของประกาศคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ กธ. 20/2561 เรื่อง การกําหนด ทุนจดทะเบียนซึ่งชําระแล้วของผู้ขอรับใบอนุญาตประกอบธุรกิจสินทรัพย์ดิจิทัล ลงวันที่ 24 กรกฎาคม พ.ศ. 2561

ประกอบกับข้อ 3 (1) ของประกาศคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ กธ. 32/2563 เรื่อง การกําหนดทุนจดทะเบียนซึ่งชําระแล้วของผู้ขอรับใบอนุญาตประกอบธุรกิจ สินทรัพย์ดิจิทัล ลงวันที่ 2 ธันวาคม พ.ศ. 2563 ที่กําหนดให้ผู้ขอรับใบอนุญาตประกอบธุรกิจ ต้องมีทุนจดทะเบียนซึ่งชําระแล้วไม่น้อยกว่าจํานวน 50 ล้านบาท

เกษตรฯ บี้ ยกระดับทำเกษตรแปลงใหญ่ลดต้นทุน สั่งสิ้นปีต้องเสร็จ

นายอำพันธุ์ เวฬุตันติ รองปลัดกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ เปิดเผยภายหลังเป็นประธานการประชุมติดตามการดำเนินงานโครงการยกระดับแปลงใหญ่ ว่า ที่ประชุมได้สั่งการให้หน่วยงานเจ้าของสินค้าที่มีปัญหาในการดำเนินการที่คาดว่าจะแล้วเสร็จช้ากว่าแผนที่กำหนด ให้ติดตามเร่งรัดอย่างใกล้ชิด และรายงานความก้าวหน้าให้ทราบอย่างต่อเนื่อง และส่งรายงานเอกสารบัญชีกลุ่มแปลงใหญ่ที่ดำเนินการแล้วเสร็จ ให้ตรวจสอบบัญชีสหกรณ์เข้าไปตรวจสอบให้ทันตามแผน ซึ่งทุกกิจกรรมต้องเสร็จภายในเดือนธ.ค. 2564 

สำหรับการเบิกจ่ายเงินของกลุ่มแปลงใหญ่ โครงการยกระดับแปลงใหญ่ด้วยเกษตรสมัยใหม่และเชื่อมโยงตลาดโครงการส่วนใหญ่ถือได้ว่าเป็นไปตามแผนเบิกจ่ายแล้ว จำนวน 3,044 แปลง คงเหลือ 220 แปลง กลุ่มแปลงใหญ่ดำเนินการเบิกจ่ายเงินแล้ว จำนวน 3,269 แปลง จากเป้าหมาย 3,379 แปลง โดยผลการเบิกจ่ายดังกล่าวยังไม่แล้วเสร็จ จำนวน 110 แปลง ซึ่งมีกำหนดเสร็จตามแผนส่วนใหญ่ 

ขณะเดียวกันที่ประชุมได้รับทราบผลจากการลงพื้นที่จังหวัดสระบุรีเมื่อเดือนพฤศจิกายน 2564 ที่ผ่านมา ซึ่งกลุ่มแปลงใหญ่ที่ได้รับการสนับสนุนงบประมาณจากโครงการฯ สามารถดำเนินการจัดซื้อจัดหาปัจจัย วัสดุอุปกรณ์การผลิต เครื่องจักรกล เพื่อเพิ่มศักยภาพการผลิตของกลุ่มได้อย่างมีประสิทธิภาพได้ตามแผนการบริหารจัดการกลุ่ม 

เซ็นทรัลรีเทล ทุ่ม 4,500 ล้าน ซื้อหุ้น Grab สตาร์ทอัพระดับ Decacorn ตัวแรกอาเซียน

บริษัท เซ็นทรัล รีเทล คอร์ปอเรชั่น จำกัด (มหาชน) (CRC) ประกาศปิดดีลใหญ่ เข้าซื้อหุ้น Grab ประเทศไทย ซึ่งเป็นเบอร์ 1 Super app ของอาเซียน ด้วยเงินลงทุน 4,500 ล้านบาท

CRC เข้าซื้อหุ้น Porto Worldwide Limited (“Porto W2W”) ในสัดส่วน 67% ซึ่งลงทุนในเซ็นทรัลซื้อแกร็บแท็กซี่ โฮลดิ้งส์ (ประเทศไทย) จำกัด

การปิดดีลในครั้งนี้ถือเป็นจิ๊กซอว์ตัวสำคัญเพื่อต่อยอดให้ เซ็นทรัล รีเทล เป็น Digital Retail ที่สมบูรณ์แบบที่สุดของประเทศไทย และตอบโจทย์ลูกค้าได้ครบวงจรตั้งแต่ต้นทางถึงปลายทาง

สำรวจซีอีโอ ส.อ.ท. กังวลต้นทุนพลังงานพุ่ง คาดกดรายได้ลง 20% วอนรัฐลดค่าน้ำ-ไฟ 

นายวิรัตน์ เอื้อนฤมิต รองประธานสภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย (ส.อ.ท.) เปิดเผยผลการสำรวจ FTI Poll จากผู้บริหาร ส.อ.ท. 160 ท่าน ครอบคลุมผู้บริหารจาก 45 กลุ่มอุตสาหกรรม และ 76 สภาอุตสาหกรรมจังหวัด หัวข้อ “สินค้าแพง ต้นทุนพุ่ง กระทบเศรษฐกิจไทยแค่ไหน?” พบว่า ผู้บริหาร ส.อ.ท. มองว่า ปัจจัยที่ทำให้ต้นทุนการผลิตปรับตัวสูงขึ้นจนส่งผลกระทบต่อราคาสินค้านั้น มาจากราคาน้ำมันและพลังงานโลกปรับตัวสูงขึ้น รวมทั้ง ปัญหาขาดแคลนตู้คอนเทนเนอร์และค่าระวางเรือที่อยู่ในระดับสูง ทำให้รายได้ผู้ประกอบการลดลง 10-20% และคาดการณ์ว่าแนวโน้มต้นทุนการผลิตของภาคอุตสาหกรรมใน 3-6 เดือนข้างหน้า จะยังคงปรับเพิ่มขึ้นอีก 10-20%

โชห่วยยังครองใจรากหญ้านิยมซื้อของคู่ร้านสะดวกซื้อ

นายรณรงค์ พูลพิพัฒน์ ผู้อำนวยการสำนักงานนโยบายและยุทธศาสตร์การค้า (สนค.) เปิดเผยผลสำรวจความคิดเห็นประชาชน ในช่วงเดือนต.ค.2564 จากจำนวนตัวอย่าง 8,428 คน ทุกอำเภอทั่วประเทศ เกี่ยวกับความจำเป็นของร้านจำหน่ายสินค้า ทั้งร้านโชห่วย ร้านสะดวกซื้อ ห้างค้าปลีกค้าส่งและซุปเปอร์มาร์เก็ตขนาดใหญ่ พบว่า ร้านสะดวกซื้อและร้านโชห่วยยังมีความจำเป็นต่อบริโภคในระดับใกล้เคียงกัน โดย 88.02% เห็นว่าร้านสะดวกซื้อมีความจำเป็นมากที่สุด 

ขณะที่อีก 87.53% ได้เลือกร้านโชห่วย โดยเฉพาะกลุ่มผู้มีรายได้น้อย โดยเฉพาะกลุ่มที่มีรายได้ต่ำกว่าเดือนละ 20,000 บาท และอาชีพเกษตรกร ยังนิยมซื้อสินค้าที่ร้านโชห่วย โดยระบุว่า ร้านโชห่วยมีความจำเป็นมาก ส่วนอีก 77.65% เลือกซุปเปอร์มาร์เก็ตขนาดใหญ่ ส่วนระดับภูมิภาคที่นิยมซื้อสินค้าจากร้านโชห่วยมากที่สุด คือ ภาคเหนือ ขณะที่กรุงเทพฯและปริมณฑล ได้รับความนิยมน้อยที่สุด

รัฐตั้งกองทุนคุ้มครองแรงงานนอกระบบ-เพิ่มสิทธิ ม.40

น.ส.รัชดา ธนาดิเรก รองโฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี เปิดเผยว่า ขณะนี้ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี ได้มีมติเห็นชอบจัดตั้งกองทุนส่งเสริมการพัฒนาคุณภาพชีวิตและคุ้มครองแรงงานนอกระบบ มีวัตถุประสงค์เพื่อเป็นทุนหมุนเวียนสำหรับใช้จ่ายเกี่ยวกับการส่งเสริมการพัฒนาคุณภาพชีวิตและการคุ้มครองแรงงานนอกระบบ เช่น การรณรงค์ส่งเสริมและพัฒนาคุณภาพชีวิตแรงงานนอกระบบ การช่วยเหลือกลุ่มแรงงานนอกระบบหรือองค์กรแรงงานนอกระบบ 

รวมถึงการให้แรงงานนอกระบบสามารถกู้ยืมเงินจากกองทุนทั้งแบบรายบุคคลและรายกลุ่ม เพื่อเป็นทุนประกอบอาชีพและยกระดับคุณภาพชีวิต และมีหลักประกันทางสังคมสามารถเข้าถึงสิทธิประโยชน์ เช่น ประกันทรัพย์สิน ประกันชีวิต ซึ่งเป็นสิทธิประโยชน์นอกเหนือจากที่ผู้ประกันตนมาตรา 40 ได้รับจากกองทุนประกันสังคม สำหรับแหล่งรายได้ของกองทุนส่งเสริมการพัฒนาคุณภาพชีวิตและคุ้มครองแรงงานนอกระบบมาจาก เช่น ค่าสมาชิกรายปีคนละ 360 บาท ทุนประเดิมที่รัฐบาลจัดสรรให้ครั้งเดียววงเงิน 100 ล้านบาท และเงินดอกผลของกองทุน

ครม.เคาะประกันรายได้ ข้าว-ยางพารา จ่ายเงินถึงมือเกษตรกร ธ.ค.นี้

นายจุรินทร์ ลักษณวิศิษฏ์ รองนายกรัฐมนตรีและรมว.พาณิชย์ เปิดเผยภายหลังการประชุมครม. ว่า ที่ประชุมเห็นชอบโครงการประกันรายได้เกษตรพืชเกษตรตามนโยบายรัฐบาล ทั้งโครงการประกันรายได้เกษตรกรผู้ปลูกข้าว เพิ่มเติม วงเงิน 76,080 ล้านบาท, โครงการสนับสนุนค่าบริหารจัดการและพัฒนาคุณภาพผลผลิตเกษตรกรผู้ปลูกข้าว ปีการผลิต 2564/65 วงเงิน 54,972 ล้านบาท และโครงการประกันรายได้เกษตรกรชาวสวนยาง ระยะที่ 3 วงเงิน 10,065 ล้านบาท รวมวงเงิน 1.4 แสนล้านบาท 

ส่วนโครงการสนับสนุนค่าบริหารจัดการฯ นั้น ที่ประชุมได้มอบหมายให้กระทรวงการคลัง สำนักงบประมาณ กระทรวงพาณิชย์และหน่วยงานที่เกี่ยวข้องเร่งจัดหาแหล่งเงินเพื่อเป็นค่าใช้จ่ายตามโครงการ โดยโครงการนี้มีกลุ่มเป้าหมาย คือ เกษตรกรผู้ปลูกข้าวปีการผลิต 2564/65 ที่ขึ้นทะเบียนกับกรมส่งเสริมการเกษตรประมาณ 4.69 ล้านครัวเรือนทั่วประเทศ จะได้รับการช่วยเหลือเป็นเงินจ่ายขาด ในอัตราไร่ละ 1,000 บาทไม่เกินครัวเรือนละ 20 ไร่หรือครัวเรือนละไม่เกิน 20,000 บาท โดยระยะเวลาจ่ายเงินตั้งแต่เดือนก.ย.64 – เม.ย.65

‘จุรินทร์’ ชงครม. จ่ายเงินประกันราคา กลุ่ม ‘ข้าว-ยางพารา’ เอาใจเกษตรกร

(30 พ.ย. 64) ที่ทำเนียบรัฐบาล นายจุรินทร์ ลักษณวิศิษฏ์ รองนายกรัฐมนตรี และรมว.พาณิชย์ ให้สัมภาษณ์ก่อนการประชุมคณะรัฐมนตรี (ครม.) ว่า สำหรับเงินประกันรายได้ข้าว ได้จ่ายให้ชาวนาแล้ว 2 งวด เป็นเงินประมาณ 1.3 หมื่นล้านบาท ส่วนที่เหลืออีก 31 งวดก่อนหน้านี้ยังไม่ได้จ่ายไป เพราะต้องรอขยับเพดานหนี้รัฐบาลต่อประมาณการรายได้ประจำจาก 30 เปอร์เซ็นต์ เป็น 35 เปอร์เซ็นต์ ซึ่งเพิ่งดำเนินการไปเมื่อวันที่ 24 พ.ย. 

“บิ๊กตู่”สั่งผลักดันการท่องเที่ยว Wellness Tourism และ Medical Tourism รองรับการท่องเที่ยวในยุคโควิด-19

นายธนกร วังบุญคงชนะ โฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี เปิดเผยว่า หนึ่งในแนวนโยบายของรัฐบาลภายใต้การกำกับดูแลของพล.อ. ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม เพื่อฟื้นฟูเศรษฐกิจและสังคมจากสถานการณ์การแพร่ระบาดของโควิด-19 คือ การส่งเสริมภาคการท่องเที่ยว โดยสั่งการให้ต้องดำเนินควบคู่ไปกับการปรับกลยุทธ์ของภาคการท่องเที่ยว เพื่อให้สอดรับกับความปลอดภัยทางมาตรการสาธารณสุข การลดลงของจำนวนนักท่องเที่ยวที่เดินทางเข้ามาประเทศไทย และความต้องการของนักท่องเที่ยวที่มีศักยภาพ 

“โดยการท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย (ททท.) รับลูกจากการสั่งการของนายกรัฐมนตรี เตรียมส่งเสริมและการขยายการท่องเที่ยวในรูปแบบ Medical Tourism (การท่องเที่ยวเชิงการแพทย์) และ Wellness Tourism (การท่องเที่ยวเชิงส่งเสริมสุขภาพ) เพื่อเป็นการปรับกลยุทธ์การท่องเที่ยวในปี 2565 ให้สอดรับกับสถานการณ์ในปัจจุบัน จากที่ให้ความสำคัญกับปริมาณนักท่องเที่ยวเป็นหลัก เปลี่ยนมาให้ความสำคัญกับการท่องเที่ยวที่สร้างมูลค่าสูง หรือมีค่าใช้จ่ายต่อหัวของนักท่องเที่ยวที่สูงแทน อาทิ การท่องเที่ยวในรูปแบบ Medical Tourism และ Wellness Tourism ที่มีค่าใช้จ่ายต่อหัวอยู่ที่ 80,000-120,000 บาท

รวมถึงให้ความสำคัญกับคุณภาพของการท่องเที่ยวที่จะช่วยสร้างมูลค่าเพิ่ม (Value added) ให้กับสินค้าและบริการ ในขณะเดียวกัน กระทรวงสาธารณสุขพร้อมตอบรับเตรียมดำเนินการคู่ขนานตาม ยุทธศาสตร์การพัฒนาประเทศไทยให้เป็นศูนย์กลางสุขภาพนานาชาติ (Medial Hub) พ.ศ. 2560-2569 สนับสนุนการใช้สมุนไพรไทย เพื่อประโยชน์ในการส่งเสริมสุขภาพ (Wellness) ให้กับนักท่องเที่ยวให้ได้รับความผ่อนคลายจากผลิตภัณฑ์สมุนไพรไทยในแต่ละท้องถิ่น อาทิ บริการนวดไทยเพื่อสุขภาพ ซึ่งยังช่วยสร้างรายได้ให้กับชุมชนในพื้นที่การท่องเที่ยวต่างๆ ด้วย “ นายธนกรกล่าว

 


© Copyright 2021, All rights reserved. THE STATES TIMES
Take Me Top