Wednesday, 7 May 2025
ECONBIZ NEWS

'พงศ์พรหม' แนะ!! ปั้นหัวลำโพง ต้องสร้างสรรค์ อย่าฉาบฉวยและประเคนที่ดินสวยๆ ให้นายทุน

นายพงศ์พรหม ยามะรัต ได้โพสต์ข้อความลงเพจส่วนตน Pongprom Yamarat สะท้อนมุมมองการพัฒนาสถานีรถไฟหัวลำโพง ว่า 

เช้านี้ขอเสนอแนวทางการพัฒนา “หัวลำโพง” สู่การเป็น 
“ASEAN new Iconic Destination”

ต่อ รมว.คมนาคม คุณศักดิ์สยาม ชิดชอบ (ขออภัยที่ไม่เรียกว่าท่านนะครับ ผมว่าเราควรยุติการใช้สรรพนามว่า “ท่าน” กับนักการเมือง และข้าราชการได้แล้ว แต่ขอใช้คำว่า “คุณ” บนความเคารพแทน)

ยาวนิดนะครับ แต่เปลี่ยนประเทศได้เลย ผมยืนยัน

ผมมานั่งอ่านรายละเอียดแผนการพัฒนาหัวลำโพงฉบับกระทรวงคมนาคม ผมไม่รู้สึกผิดหวังอะไรเลย เพราะเจอมาตั้งแต่แนวทางการพัฒนามักกะสันสมัยนายกยิ่งลักษณ์ ที่จะเอามักกะสันไปทำศูนย์ประชุมเชย ๆ

เกือบ 10 ปี แนวคิดกระทรวงเมืองไทยก็ยังเป็นแบบเดิม คือ “ตัดป่าสัก ไปปลูกพืชมูลค่าต่ำเช่นข้าวโพด” อยู่เสมอ 

เช้านี้ผมขอเสนอบ้างนะครับ

1.) ท่านต้องเก็บการเดินรถไฟบางสาย โดยเฉพาะสายชานเมืองที่วิ่งเข้าหัวลำโพงครับ แค่ตัดรถไฟสายหลักออกไปอยู่บางซื่อ เส้นที่เก็บไว้ก็เหลือไม่ถึง 10% ของทั้งหมดแล้ว ไม่กระทบการจราจรมากมายเหมือนที่ท่านพูดหรอก

แต่จะช่วยค่าครองชีพให้คนได้อีก 5,000-10,000 คน ทีเดียว คนเหล่านี้หากมีค่าเดินทางเพิ่มขึ้นอีกวันละเป็นร้อยบาท มันเยอะครับท่าน ชีวิตล่มสลายเลยนะ ยิ่งในสภาวะเศรษฐกิจห่วยแบบนี้ 

2.) ผมเสนอพัฒนาหัวลำโพงทั้งผืนภายใต้คอนเซปต์
“Gateway to ASEAN”

ท่านเห็นมั้ยครับว่าหัวลำโพงอยู่ “กึ่งกลาง” ระหว่างเมืองเก่า และเมืองใหม่พอดี

หัวลำโพงควรเป็นพิพิธภัณฑ์ขนาดใหญ่ที่สามารถเป็นทั้งแหล่งท่องเที่ยวแห่งใหม่ในอาเซียน และเป็นแหล่งบ่มเพาะ Creative Economy ให้คนไทยได้

ใครพูดว่า Soft power ผมด่าหัวแตกเลยนะครับ

จำไว้นะครับ Soft power คือของสำเร็จรูป คือ Event base คือ Service base

แต่การจะทำให้ครบ ต้องสร้าง “Ecosystem” เราเรียกเศรษฐกิจแบบนั้นว่า “Creative Economy” ครับ ช่วยอย่าโง่ใช้คำว่า “Soft power” จนพร่ำเพรื่อแบบนี้

แล้วสังเกตมั้ยครับ ทำไมผมจึงใช้คำว่า “ASEAN” แทนคำว่า “Bangkok”?

จุดนี้สำคัญ

นี่คือสิ่งที่กระทรวงคมนาคม ไม่ได้ทำการบ้าน

นอกจากการเดินทางโดยเรือแล้ว หัวลำโพงนี่แหละครับ เคยเป็น “ชุมทาง” การเดินทางของพี่น้องชาวไทย ชาวจีน ชาวมลายู ชาวพม่า ชาวลาว ชาวเขมร ชาวเวียดนาม ไปสู่ทั่วภูมิภาค

นี่แหละครับ “Super Soft power hub of ASEAN”!! ที่มีองค์กรร่วมสร้าง Creative Economy มาอยู่ด้วย

นักการเมือง-ข้าราชการ ต้องคิดแบบนี้ให้เป็นครับ อย่าเอาแต่จะทำอะไรฉาบฉวย พวกคุณกินเงินภาษีประชาชนอยู่นะครับ

รมว.สุชาติ มอบกรมพัฒนาฝีมือแรงงาน ฝึกทักษะอาชีพชายแดนใต้

กระทรวงแรงงาน มุ่งฝึกทักษะอาชีพขับเคลื่อนชายแดนใต้ เปิดฝึกอบรมกว่า 10 หลักสูตร ตั้งเป้า 800 คน
เมื่อเร็วๆ นี้ นายสุชาติ ชมกลิ่น รัฐมนตรีว่าการกระทรวงแรงงาน มอบหมายให้นายประทีป ทรงลำยอง  อธิบดีกรมพัฒนาฝีมือแรงงาน เป็นประธานพิธีมอบชุดเครื่องมือประกอบอาชีพให้แก่ผู้สำเร็จการฝึกอบรม โครงการพัฒนาเศรษฐกิจและส่งเสริมศักยภาพพื้นที่จังหวัดชายแดนภาคใต้ ประจำปี 2564 เพื่อนำไปเป็นอุปกรณ์เครื่องมือในการเริ่มต้นประกอบอาชีพ สร้างรายได้ให้แก่ตนเองและครอบครัว ณ สถาบันพัฒนาฝีมือแรงงาน 25 นราธิวาส

นายประทีป ทรงลำยอง อธิบดีกรมพัฒนาฝีมือแรงงาน กล่าวภายหลังจากการเป็นประธานว่าพลเอก ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม และพลเอก ประวิตร วงษ์สุวรรณ รองนายกรัฐมนตรี ได้มอบหมายให้กระทรวงแรงงานโดยนายสุชาติ ชมกลิ่น รัฐมนตรีว่าการกระทรวงแรงงาน เร่งบูรณาการพัฒนาทักษะฝีมือในพื้นที่จังหวัดชายแดนใต้ เพื่อสร้างความเข้มแข็งต่อยอดการประกอบอาชีพ สร้างรายได้ที่มั่นคง และยั่งยืน โดยน้อมนำยุทธศาสตร์พระราชทาน “เข้าใจ เข้าถึง พัฒนา” และหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงในการขับเคลื่อนภารกิจต่างๆ

ซึ่งกระทรวงแรงงานได้สั่งการให้กรมพัฒนาฝีมือแรงงานเร่งดำเนินการให้เห็นผลเป็นรูปธรรม ทั้งนี้จังหวัดชายแดนใต้ทั้งจังหวัดยะลา ปัตตานี นราธิวาส และส่วนหนึ่งของจังหวัดสงขลา ได้แก่ อำเภอจะนะ อำเภอนาทวี อำเภอสะบ้าย้อย และอำเภอเทพา เป็นพื้นที่มีเศรษฐกิจ สังคม และวัฒนธรรมที่เป็นเอกลักษณ์ จึงเป็นพื้นที่ที่มีศักยภาพในการลงทุนประกอบธุรกิจในหลายๆ ด้าน กรมพัฒนาฝีมือแรงงานจึงดำเนินโครงการพัฒนาเศรษฐกิจและส่งเสริมศักยภาพพื้นที่จังหวัดชายแดนภาคใต้ สอดคล้องกับยุทธศาสตร์ชาติด้านความมั่นคง ด้านการสร้างความสามารถในการแข่งขัน และด้านการพัฒนาและเสริมสร้างศักยภาพทรัพยากรมนุษย์ของประเทศ และส่งเสริมแก้ปัญหาในพื้นที่จังหวัดชายแดนใต้อีกด้วย

นายประทีป ทรงลำยอง อธิบดีกรมพัฒนาฝีมือแรงงาน กล่าวต่อว่า สำหรับการดำเนินโครงการจัดให้มีการฝึกอบรมสาขาอาชีพต่างๆ กว่า 10 หลักสูตร  ตามความต้องการของแรงงานและประชาชนในพื้นที่ สอดรับกับวัฒนธรรมและการประกอบอาชีพในชุมชน เช่น การตัดเย็บเสื้อผ้า ช่างซ่อมอุปกรณ์ไฟฟ้า ช่างเชื่อมไฟฟ้า ช่างเดินสายไฟภายในอาคาร ช่างปูกระเบื้อง เทคนิคงานปูน (ผลิตภัณฑ์ไม้เทียม) ช่างไม้เครื่องเรือน ช่างซ่อมรถจักรยานยนต์ การทำขนมไทย การทำขนมอบ เป็นต้น ใช้ระยะเวลาการฝึกอบรม 60 ชั่วโมง

ครม.ไฟเขียว ออมสินปล่อยกู้รายละ 3 แสน ดอกเบี้ย 3.99% กลุ่มไหนเข้าเกณฑ์ เช็กเลย!

เมื่อวันที่ 23 พฤศจิกายน พ.ศ. 2564 ที่ทำเนียบรัฐบาล นายธนกร วังบุญคงชนะ โฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี แถลงมติคณะรัฐมนตรี (ครม.) ว่า ที่ประชุมเห็นชอบให้ธนาคารออมสิน ดำเนินมาตรการสินเชื่อสร้างงานสร้างอาชีพ อนุมัติงบประมาณ 1,500 ล้านบาท ในส่วนที่ธนาคารออมสิน ขอชดเชยความเสียหายที่เกิดจากหนี้ที่ไม่ก่อให้เกิดรายได้ หรือ NPL ร้อยละ 30 ของวงเงินสินเชื่อที่อนุมัติทั้งหมด 5,000 ล้านบาท ทั้งนี้ เพื่อดำเนินมาตรการสินเชื่อสร้างงานสร้างอาชีพเพื่อช่วยเหลือประชาชน เป็นเงินทุนเริ่มต้นในการประกอบอาชีพ ลดการพึ่งพาสินเชื่อที่มีอัตราดอกเบี้ยสูง หรือสินเชื่อนอกระบบ บรรเทาความเดือดร้อนของประชาชนที่ได้รับผลกระทบจากโควิด-19

โดยมีกลุ่มเป้าหมาย ได้แก่

1.) ผู้เริ่มประกอบอาชีพและผู้ประกอบการรายย่อย เช่น ผู้ผ่านการอบรมอาชีพช่างทุกประเภท เช่น ช่างปูน ช่างแอร์ ช่างไฟฟ้าช่างเชื่อม ช่างซ่อมอุปกรณ์ เป็นต้น และผู้ที่ไม่ใช่ช่าง เช่น เสริมสวยหรือตัดผมชาย คนขายของออนไลน์ เป็นต้น โดยมีใบประกาศนียบัตร หรือวุฒิบัตร ที่ผ่านการอบรมจากหน่วยงานภาครัฐหรือเอกชน หรือเอกสาร อื่น ๆ ตามประเภทของอาชีพหรือมีประสบการณ์ ในการประกอบอาชีพดังกล่าว

2.) ผู้ประกอบการขนาดย่อม ที่มีสถานที่จำหน่ายแน่นอน เช่น ค้าปลีก ค้าส่ง โชห่วย แฟรนไชส์ เป็นต้น โดยมีทะเบียนพาณิชย์ ทะเบียนการค้า สัญญาแฟรนไชส์ หรือเอกสารแสดงความเป็นเจ้าของอื่น ๆ

‘สุริยะ’ หนุนอุตฯ เครื่องมือแพทย์ ชี้ 9 เดือนโต 22% ดันไทยสู่ Medical Hub

กระทรวงอุตสาหกรรม (อก.) เดินหน้าขับเคลื่อนอุตสาหกรรมเครื่องมือแพทย์สมัยใหม่ หลังพบช่วง 9 เดือน การส่งออกเครื่องมือแพทย์ โตร้อยละ 22.2 คาดทั้งปี แตะร้อยละ 29.6 ชี้การเปลี่ยนแปลงเทคโนโลยี IoT, 5G, AI รวมถึงนวัตกรรมสู่สังคมดิจิทัล และการแพร่ระบาด COVID-19 เป็นปัจจัยหนุน Digital Healthcare โตเร็ว พร้อมรองรับ Smart Hospital ตั้งเป้าเป็นศูนย์กลางการผลิตเครื่องมือแพทย์ในอาเซียน ในปี 2570

นายสุริยะ จึงรุ่งเรืองกิจ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงอุตสาหกรรม เปิดเผยว่า อุตสาหกรรมเครื่องมือแพทย์และบริการการแพทย์ครบวงจรเป็นหนึ่งในอุตสาหกรรมและบริการแห่งอนาคต (S-Curve) ที่รัฐบาลมุ่งเน้นในการเป็นกลไกสำคัญขับเคลื่อนเศรษฐกิจเพื่ออนาคต (New Engine of Growth) โดยในช่วง 9 เดือนที่ผ่านมา อุตสาหกรรมเครื่องมือแพทย์มีอัตราการส่งออกเติบโตร้อยละ 22.2 หรือเพิ่มขึ้นจากช่วงเดียวกันของปี 2563 มูลค่า 24,988 ล้านบาท 

และทั้งปี 2564 คาดว่าอุตสาหกรรมนี้จะมีการเติบโตจากการส่งออกอยู่ที่ร้อยละ 29.6 หรือคิดเป็นมูลค่าประมาณ 205,664 ล้านบาท โดยเป็นผลมาจากความก้าวหน้าทางเทคโนโลยีและนวัตกรรมที่ได้เข้ามามีบทบาทในวงการแพทย์ รวมถึงสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคโควิด-19 และการที่สังคมไทยได้เข้าสู่สังคมสูงอายุโดยสมบูรณ์แบบ หรือ Complete Aged Society ในปี 2564 จึงมีส่วนสำคัญที่ทำให้ความต้องการสินค้าและเครื่องมือแพทย์เพิ่มสูงขึ้น

ดังนั้น รัฐบาลโดยกระทรวงอุตสาหกรรม จึงเดินหน้าอย่างเต็มที่ในการผลักดันให้ประเทศไทยเป็นศูนย์กลางสุขภาพนานาชาติ (Medical Hub) เพื่อเป็นปัจจัยสนับสนุนให้อุตสาหกรรมเครื่องมือแพทย์และสุขภาพของไทยมีความโดดเด่น มีศักยภาพในการแข่งขันในเวทีโลก และยังเป็นการสร้างโอกาสทางเศรษฐกิจ ความมั่นคงทางด้านสุขภาพของประชาชน ตอบโจทย์ Digital Healthcare ที่เติบโตขึ้นอย่างรวดเร็วอีกด้วย โดยขณะนี้ได้มอบหมายให้สำนักงานเศรษฐกิจอุตสาหกรรม (สศอ.) เร่งดำเนินการจัดทำแผนปฏิบัติการด้านการพัฒนาอุตสาหกรรมเครื่องมือแพทย์ ซึ่งคาดว่าจะสามารถนำเสนอให้ที่ประชุมคณะรัฐมนตรีพิจารณาเร็ว ๆ นี้

“โฆษกรัฐบาล” ฟุ้ง “เราเที่ยวด้วยกัน เฟส 3” เงินสะพัดกว่า 5 พันล้านบาท เตรียมเปิดพื้นที่นำร่องท่องเที่ยว จ.สีฟ้า เฟส 2-3 ต้นธ.ค.-ม.ค.65 รวม  45 จ.

นายธนกร วังบุญคงชนะ โฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี กล่าวว่า พล.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี และรมว.กลาโหม ปลื้มผลตอบรับหลังมาตรการเปิดประเทศในพื้นที่17จ.นำร่องท่องเที่ยว หรือจ.สีฟ้า ตั้งแต่วันที่ 1 พ.ย.ได้รับการตอบรับเป็นอย่างดีจากนักท่องเที่ยวชาวไทยและต่างชาติ ประชาชนมั่นใจเดินทางท่องเที่ยวทั่วประเทศ ผ่านโครงการ “เราเที่ยวด้วยกัน เฟส 3” มีเม็ดเงินภายในระยะเวลา 1 เดือนที่ผ่านมา เข้าสู่ระบบภาคอุตสาหกรรมท่องเที่ยวและบริการแล้วกว่า 5,186.1 ล้านบาท ยอดรวมลงทะเบียน 909,937 คน

ยอดการใช้สิทธิ์จองโรงแรมที่พัก 4,113 แห่ง คิดเป็น 1,296,872 ห้อง โดยมีมูลค่าการใช้จ่ายโรงแรม ที่พัก รวม 4,753.9 ล้านบาท และยอดการใช้จ่ายคูปองส่วนลดในร้านอาหาร สถานที่ท่องเที่ยว ร้านสปานวด และอื่นๆรวม 435.6 ล้านบาท รวมทั้งในช่วงเทศกาลลอยกระทง อัตราการเข้าพักในช่วงวันหยุดเสาร์ - อาทิตย์ ในหลายพื้นที่ขยับเพิ่มขึ้นกว่าร้อยละ 50 โดยเฉพาะในบางจังหวัดใกล้กรุงเทพมหานคร มีอัตราการเข้าพักในช่วงวันหยุดเพิ่มขึ้นถึงร้อยละ 80 – 90 

นายธนกร กล่าวว่า การเดินทางเข้าสู่ประเทศไทยอย่างต่อเนื่อง โดยมีจำนวนนักท่องเที่ยวสะสมตั้งแต่วันที่ 1 – 21 พ.ย. 64 จำนวน 85,608 คน โดยเดินทางมาจากประเทศ 5 อันดับแรก ได้แก่ เยอรมนี สหรัฐอเมริกา 
สหราชอาณาจักร รัสเซีย และฝรั่งเศส ขณะเดียวกัน มีจำนวนผู้ยื่นขอลงทะเบียน Thailand Pass สะสมจำนวน 239,115 คน ได้รับการอนุมัติแล้ว 186,836 คน ขณะที่ยอดผู้ติดเชื้อในประเทศไทยต่ำกว่า 7,000 ราย สะท้อนให้เห็นว่าประเทศไทยมีศักยภาพในการควบคุมโรคควบคู่ไปกับการฟื้นฟูเศรษฐกิจ สามารถสร้างความเชื่อมั่นในการเดินทางท่องเที่ยวแก่ชาวต่างชาติได้

บีโอไอ ชี้เทรนด์ลงทุนอุตสาหกรรม BCG พุ่ง เผยสถิติ 6 ปี ขอรับส่งเสริมเกือบ 7 แสนล้าน

บีโอไอ ชี้ทิศทางการลงทุนตามนโยบายโมเดลเศรษฐกิจ BCG ทวีบทบาทสำคัญ สอดรับกับแนวทางพัฒนาที่ยั่งยืน SDGs ขององค์การสหประชาชาติ ระบุสถิติการขอรับการส่งเสริมการลงทุนในกิจการกลุ่ม BCG ตั้งแต่ปี 2558 ถึง กันยายน 2564 มีมูลค่ารวมเกือบ 7 แสนล้านบาท

นางสาวดวงใจ อัศวจินตจิตร์ เลขาธิการคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุน (บีโอไอ) กล่าวว่า ด้วยสภาพการณ์การแข่งขันที่ทวีความรุนแรงอันเนื่องมาจากเทคโนโลยีที่ปรับเปลี่ยนอย่างรวดเร็ว การปรับเปลี่ยนรูปแบบการทำธุรกิจ และการที่ประเทศไทยต้องมีส่วนร่วมในการแก้ไขปัญหาการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศและปัญหาด้านสิ่งแวดล้อม เพื่อให้สอดคล้องกับเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน (Sustainable Development Goals : SDGs) ขององค์การสหประชาชาติ รัฐบาลจึงได้กำหนดให้โมเดลเศรษฐกิจ BCG หรือการพัฒนาเศรษฐกิจชีวภาพ เศรษฐกิจหมุนเวียน และเศรษฐกิจสีเขียว (Bio - Circular - Green Economy) เป็นวาระแห่งชาติ ซึ่งเป็นการพัฒนาเศรษฐกิจที่ต้องการต่อยอดจุดแข็งของไทยที่มีความหลากหลายทางชีวภาพ โดยแนวทางพัฒนานี้ยังถูกจัดอยู่ในแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 13 ด้วยเช่นกัน 

ปัจจุบันมาตรการส่งเสริมการลงทุนครอบคลุมกิจการจำนวนมากตลอดห่วงโซ่อุปทานที่เกี่ยวข้อง และบีโอไอได้ปรับปรุงให้สอดคล้องกับบริบทของเศรษฐกิจและสังคมที่เปลี่ยนแปลงอยู่เสมอตามแนวทาง BCG ในหลายด้าน เช่น 

• มาตรการปรับปรุงประสิทธิภาพ ภายใต้มาตรการปรับเปลี่ยนเครื่องจักรเพื่อประหยัดพลังงาน ใช้พลังงานทดแทน หรือลดผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมหรือลดปริมาณการปล่อยก๊าซเรือนกระจก และมาตรการด้านการยกระดับไปสู่มาตรฐานเพื่อความยั่งยืนในระดับสากล เช่น มาตรฐานการรับรองป่าไม้ตามแนวทางขององค์การพิทักษ์ป่าไม้ (Forest Stewardship Council : FSC) เป็นต้น

• มาตรการส่งเสริมการลงทุนเศรษฐกิจฐานราก ซึ่งครอบคลุมถึงการสนับสนุนองค์กรท้องถิ่น
ในการพัฒนากิจการเกษตรที่ยั่งยืน เช่น การปลูกข้าวแบบปล่อยมีเทนต่ำ เป็นต้น

• ปรับปรุงประเภทกิจการและสิทธิประโยชน์ โดยให้ความสำคัญต่อเทคโนโลยีด้านสิ่งแวดล้อม คือ กิจการผลิตผลิตภัณฑ์ปิโตรเคมีและโรงแยกก๊าซ ในกรณีใช้เทคโนโลยีการดักจับ การใช้ประโยชน์และการกักเก็บคาร์บอน โดยให้สิทธิประโยชน์ยกเว้นภาษีเงินได้นิติบุคคลเป็นเวลา 8 ปี และกิจการห้องเย็น หรือกิจการห้องเย็นและขนส่งห้องเย็น หากใช้สารทำความเย็นธรรมชาติ ให้สิทธิประโยชน์ยกเว้นภาษีเงินได้นิติบุคคลเป็นเวลา 3 ปี 

จากสถิติคำขอรับการส่งเสริมการลงทุนกิจการในกลุ่ม BCG ตั้งแต่ ปี 2558 - กันยายน 2564 มีจำนวน 2,829 โครงการ มูลค่าเงินลงทุนรวม 677,157 ล้านบาท โดย 5 อันดับแรกกิจการ BCG ที่มีมูลค่าการลงทุนสูงสุด ได้แก่

1.) กิจการผลิตพลังงานไฟฟ้า ที่เป็นพลังงานหมุนเวียน (รวมถึงไฟฟ้าจากขยะ) 289,007 ล้านบาท 
2.) กิจการผลิตหรือถนอมอาหาร เครื่องดื่ม วัตถุเจือปนอาหาร (Food Additive) หรือสิ่งปรุงอาหาร (Food Ingredient) โดยใช้เทคโนโลยีที่ทันสมัย 94,226 ล้านบาท 
3.) กิจการผลิตเคมีภัณฑ์หรือพอลิเมอร์ที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม หรือการผลิตผลิตภัณฑ์ที่ขึ้นรูปต่อเนื่องจากการผลิตพอลิเมอร์ที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม ในโครงการเดียวกัน 40,998 ล้านบาท 
4.) กิจการผลิตผลิตภัณฑ์จากผลพลอยได้หรือเศษวัสดุทางการเกษตร 25,838 ล้านบาท 
และ 5.) กิจการผลิตผลิตภัณฑ์จากยางธรรมชาติ 22,250 ล้านบาท

โดยเฉพาะในช่วง 9 เดือนแรก ปี 2564 (ม.ค. - ก.ย.) มีสัญญาณบ่งชี้อัตราเติบโตที่ดี โดยมีกิจการขอรับการส่งเสริมการลงทุน 564 โครงการ จำนวนโครงการเพิ่มขึ้นเมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อนร้อยละ 74 และมีมูลค่าลงทุน 128,370 ล้านบาท เพิ่มขึ้นสูงกว่าช่วงเดียวกันกับปีก่อนร้อยละ 160 และสูงกว่ามูลค่าการลงทุนในปี 2563 ทั้งปี (93,883 ล้านบาท) โดยมีตัวอย่างบริษัทที่ได้รับการส่งเสริมการลงทุนภายใต้กิจการ BCG อาทิ

o กลุ่มโปรตีนทางเลือก (Alternative Protein)
- บริษัท โกลบอล บั๊กส์ เอเชีย โครงการผลิตโปรตีนจากจิ้งหรีด 
- บริษัท ฟลายอิ้ง สปาร์ค (ประเทศไทย) จำกัด โครงการผลิตโปรตีนผงจากหนอนแมลงวันผลไม้

o กลุ่มเทคโนโลยีชีวภาพ Biotechnology
- บริษัท เจเนพูติก ไบโอ จำกัด โครงการผลิตผลิตภัณฑ์เซลล์และยีนบำบัด เพื่อรักษาโรคสำหรับผู้ป่วยโรคมะเร็งเม็ดเลือดขาวที่ไม่ตอบสนองต่อการรักษาหลัก 
- บริษัท ใบยา ไฟโตฟาร์ม จำกัด โครงการผลิตยาจากเทคโนโลยีชีวภาพหรือชีวเภสัชภัณฑ์ที่ได้จากการใช้
ต้นยาสูบเป็นเจ้าบ้าน (HOST)

o กลุ่มพลาสติกชีวภาพ Bioplastic
- บริษัท โททาล คอร์เบียน พีแอลเอ (ประเทศไทย) จำกัด และบริษัท เนเชอร์เวิร์คส์ เอเชีย แปซิฟิก จำกัด โครงการผลิตโพลีแลคติค แอซิด (Polylactic Acid : PLA) ซึ่งเป็นพอลิเมอร์ชีวภาพที่สามารถย่อยสลายได้ และเป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม สามารถนำไปใช้งานได้หลากหลายประเภท
- บริษัท พีทีที เอ็มซีซี ไบโอเคม จำกัด โครงการผลิตเม็ดพลาสติกชีวภาพชนิด PBS (Polybutylene Succinate)          
- บริษัท ไทยวา จำกัด โครงการผลิตพลาสติกชีวภาพชนิด TPS (THERMOPLASTIC STARCH) ซึ่งเป็นบริษัทผลิตและส่งออกผลิตภัณฑ์จากมันสำปะหลังของไทย
- บริษัท ฟรุตต้า ไบโอเมด จำกัด โครงการผลิตพลาสติกชีวภาพชนิด PHA (POLYHYDROXYALKANOATE) และ PHA BIOPLASTIC COMPOUND และผลิตภัณฑ์ขึ้นรูปจากพลาสติก PHA ซึ่งเป็นกิจการที่นำของเหลือทางการเกษตร 

ลูกหนี้เฮ! แบงก์ชาติเคาะมาตรการแก้หนี้ระยะยาว ทั้ง รีไฟแนนซ์-รวมหนี้ 

น.ส.สุวรรณี เจษฎาศักดิ์ ผู้อำนวยการอาวุโส ฝ่ายนโยบายและกำกับสถาบันการเงิน 2 ธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) เปิดเผยว่า ธปท.ออกมาตรการแก้หนี้ระยะยาวคือ 1. ห้ามเรียกเก็บค่าปรับจากการไถ่ถอนสินเชื่อก่อนครบกำหนด สำหรับสินเชื่อส่วนบุคคลภายใต้การกำกับและสินเชื่อรายย่อยเพื่อการประกอบอาชีพภายใต้การกำกับ เป็นการชั่วคราว โดยให้มีผลบังคับใช้ถึงวันที่ 31 ธ.ค.2566 และ 2. ปรับปรุงแนวทางการรวมหนี้สินเชื่อเพื่อที่อยู่อาศัยและสินเชื่อรายย่อยประเภทอื่น โดยขยายขอบเขตให้สามารถรวมหนี้ข้ามสถาบันการเงิน หรือผู้ประกอบธุรกิจรายอื่นได้ จากเดิมที่สามารถรวมหนี้ได้เฉพาะหนี้ในสถาบันการเงินเดียวกัน  

ทั้งนี้คุณสมบัติของผู้เข้าร่วมมาตรการ คือ 1. ต้องเป็นลูกหนี้ไม่เสียประวัติข้อมูลเครดิต หากเจรจาปรับโครงสร้างหนี้สำเร็จตั้งแต่ก่อนเป็นหนี้เสีย 2. ลูกหนี้ต้องให้คำยินยอมเปิดเผยข้อมูลที่จำเป็นแก่สถาบันการเงินที่ทำการรวมหนี้ เช่น ชื่อเจ้าหนี้ ยอดหนี้คงค้าง 3. ลูกหนี้อาจถูกพิจารณาปรับลดวงเงินส่วนที่นำไปรวมหนี้ เพื่อให้อยู่ในระดับที่ลูกหนี้สามารถบริหารจัดการได้ 4. หากผิดนัดชำระหนี้สินเชื่อที่ไม่มีหลักประกัน ถึงแม้จะไม่ได้รวมหนี้ ก็อาจเป็นเหตุให้ถูกฟ้องร้องบังคับหลักประกันสินเชื่อบ้านได้ในที่สุด

สำหรับประโยชน์ที่ลูกหนี้จะได้รับ คือ ดอกเบี้ยลดลง สินเชื่อบ้านให้คิดดอกเบี้ยเท่าเดิม ส่วนสินเชื่ออื่นที่เข้ามารวมหนี้เช่น บัตรเครดิต บัตรกดเงินสด และสินเชื่อส่วนบุคคล เมื่อนำมารวมหนี้สินเชื่อบ้านแล้ว จะบวกดอกเบี้ยจากสินเชื่อบ้านที่ใช้เป็นหลักประกันได้ไม่เกิน 2% เช่น ดอกเบี้ยสินเชื่อบ้าน 6% และดอกเบี้ยสินเชื่อบุคคล 25% ถ้านำมารวมหนี้ดอกเบี้ยจะอยู่ที่ 6% บวกกับ 2% เท่ากับ 8% เท่านั้น และดอกเบี้ยจะคิดอัตรานี้อัตราเดียวในบิลใบเดียว

รัฐบาลยันไทยไม่เสียเจรจาซีพีทีพีพี 

น.ส.รัชดา ธนาดิเรก รองโฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี เปิดเผยว่า รัฐบาลกำลังพิจารณาเข้าร่วมเจรจาความตกลงที่ครอบคลุมและก้าวหน้าสำหรับหุ้นส่วนทางเศรษฐกิจภาคพื้นแปซิฟิก (ซีพีทีพีพี) โดยขณะนี้ทุกหน่วยงานที่เกี่ยวข้องได้มีแนวทางการกำหนดเงื่อนไขของการเจรจาที่จะช่วยสร้างผลประโยชน์และดูแลทุกภาคส่วน ไม่ว่าจะเป็น เกษตรกร ผู้ประกอบการทุกขนาด แรงงาน ประชาชน และผู้ที่มีส่วนเกี่ยวข้องอย่างแท้จริง

ทั้งนี้นายกรัฐมนตรีตระหนักดีถึงผลกระทบเชิงบวกและลบที่จะเกิดขึ้น และพร้อมรับฟังข้อห่วงกังวลจากภาคส่วนต่างๆ ที่ผ่านมาได้มีกระบวนการรับฟังความคิดเห็นจากประชาชนและข้อเสนอแนะจากสภาผู้แทนราษฎรเพื่อเตรียมความพร้อมก่อนที่การเจรจาจะเกิดขึ้น อย่างไรก็ตาม ขอย้ำว่า ขณะนี้ยังไม่ใช่การตัดสินใจว่าจะเข้าร่วมความตกลง ซีพีทีพีพี หรือไม่  เป็นเพียงการพิจารณาไปเจรจา ซึ่งการดำเนินการทุกอย่างต้องทำอย่างรอบคอบ และเป็นไปตามกฎหมายและระเบียบของไทย

สภาพัฒน์ฯ เปิดภาวะว่างงานไตรมาส 3 พุ่งสูงสุด 2.25%

นายดนุชา พิชยนันท์ เลขาธิการสำนักงานสภาพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ (สศช.) เปิดเผยภาวะสังคมไทยไตรมาสสาม ปี 2564 ว่า การว่างงานเพิ่มขึ้นสูงสุดตั้งแต่มีการระบาดของไวรัสโควิด-19 โดยมีผู้ว่างงาน 8.7 แสนคน คิดเป็นอัตราการว่างงานที่ 2.25% นอกจากนี้ยังพบว่า ผู้ที่มีการศึกษาระดับอุดมศึกษามีอัตราการว่างงานสูงสุด 3.63% รองลงมาเป็น ปวส. 3.16% ซึ่งผู้ว่างงานส่วนใหญ่จบในสาขาทั่วไป (บริหารธุรกิจการตลาด) จึงมีแนวโน้มประสบปัญหาการว่างงานยาวนานขึ้นเนื่องจากภาวะเศรษฐกิจที่ขยายตัวได้อย่างจำกัดและคนกลุ่มนี้ที่มีทักษะไม่ต่างกันจึงหางานได้ยากขึ้น ขณะที่แรงงานที่มีอายุ 15-19 ปี มีอัตราการว่างงานสูงสุด 9.74% รองลงมาเป็นอายุ 20-24 ปี ที่ 8.35% 

ทั้งนี้สะท้อนว่า โควิด-19 ที่ส่งผลกระทบต่อเนื่อง ทำให้ผู้ประกอบการที่เคยชะลอการเลิกจ้างบางส่วนไม่สามารถรับภาระต่อได้และจำเป็นต้องเลิกจ้างแรงงานเพิ่มขึ้น ขณะที่เด็กจบใหม่ยังไม่มีตำแหน่งรองรับ เนื่องจากผู้ประกอบการยังได้รับผลกระทบและรอดูสถานการณ์จึงชะลอการขยายตำแหน่งงาน การว่างงานของแรงงานในระบบมีสัดส่วนผู้รับประโยชน์ทดแทนกรณีว่างงานต่อผู้ประกันตนอยู่ที่ 2.47% ลดลงจากช่วงไตรมาสก่อนหน้าและปีก่อน เนื่องจากช่วงเดือนก.ค. - ส.ค.2564 รัฐบาลมีมาตรการช่วยเหลือเยียวยาผู้ประกอบการและผู้ประกันตนในพื้นที่ควบคุมสูงสุดประกอบกับสถานประกอบการมีการหยุดกิจการชั่วคราวด้วยเหตุสุดวิสัยแทนการเลิกจ้าง ซึ่งมีจำนวนผู้รับประโยชน์ทดแทนกรณีว่างงานด้วยเหตุสุดวิสัย 2.1 แสนคน ในเดือนก.ย. 2564 เพิ่มขึ้นจาก 9 หมื่นคน ณ สิ้นไตรมาสก่อน

ทรู-ดีแทค เผยอยู่ระหว่างศึกษา ‘ควบรวมธุรกิจ’ เดินหน้าตั้งบริษัทร่วมทุน ดันไทยสู่ฮับเทคโนโลยี

เครือซีพี และกลุ่มเทเลนอร์ พิจารณาสร้างความร่วมมืออย่างเท่าเทียมกัน (Equal Partnership) เพื่อปรับโครงสร้างองค์กร (Transformation) สู่การเป็นบริษัทเทคโนโลยี หรือ Tech Company ภายใต้ยุทธศาสตร์เทคโนโลยีฮับ

วันนี้ (22 พฤศจิกายน 2564) เครือเจริญโภคภัณฑ์ (เครือซีพี) และกลุ่มเทเลนอร์ ประกาศการพิจารณาสร้างความร่วมมืออย่างเท่าเทียมกัน (Equal Partnership) โดยการสนับสนุนให้บริษัท ทรู คอร์ปอเรชั่น จำกัด (มหาชน) (TRUE) และ บริษัท โทเทิ่ล แอ็คเซ็ส คอมมูนิเคชั่น จำกัด (มหาชน) (DTAC) ตั้งเป้าปรับโครงสร้างธุรกิจสู่การเป็นบริษัทเทคโนโลยี (Technology Company) ภายใต้ยุทธศาสตร์เทคโนโลยีฮับ พร้อมเสริมธุรกิจเทคโนโลยีใหม่ การสร้างดิจิทัลอีโคซิสเต็ม และกองทุนสตาร์ทอัพ เพื่อสอดรับยุทธศาสตร์ประเทศไทย 4.0 ในการผลักดันให้ประเทศไทยเป็นศูนย์กลางด้านเทคโนโลยีระดับภูมิภาค

ในระหว่างการศึกษาและพิจารณาการปรับโครงสร้างครั้งนี้ ธุรกิจของทรู และดีแทค จะยังคงดำเนินไปตามปกติของแต่ละบริษัท ในขณะที่เครือซีพี ซึ่งเป็นผู้ถือหุ้นใหญ่ของทรู และกลุ่มเทเลนอร์ ซึ่งเป็นผู้ถือหุ้นใหญ่ของดีแทค ตั้งเป้าที่จะหาข้อสรุปในรายละเอียดของความร่วมมืออย่างเท่าเทียมกัน (Equal Partnership) ซึ่งจะส่งผลให้ เครือซีพีและกลุ่มเทเลนอร์ ถือหุ้นเท่าเทียมกันในบริษัทใหม่ที่จะร่วมกันสร้างขึ้น นอกจากนี้ ทรูและดีแทคจะดำเนินการตามเงื่อนไขต่าง ๆ ทั้งการตรวจสอบกิจการของอีกฝ่ายหนึ่งแล้วเสร็จเป็นที่พอใจ (Due Diligence) การขออนุมัติที่เกี่ยวข้องจากที่ประชุมคณะกรรมการบริษัทและผู้ถือหุ้นของทั้งสองบริษัท ตลอดจนการดำเนินขั้นตอนตามกฎหมายที่เกี่ยวข้องอื่น ๆ ให้แล้วเสร็จ

นายศุภชัย เจียรวนนท์ ประธานคณะผู้บริหาร เครือเจริญโภคภัณฑ์ และประธานกรรมการ บริษัท ทรู คอร์ปอเรชั่น จำกัด (มหาชน) กล่าวว่า “ในช่วงหลายปีที่ผ่านมา ภาพรวมของอุตสาหกรรมโทรคมนาคม (Telecom Landscape) ได้เปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว จากเทคโนโลยีใหม่ และตลาดที่เปิดกว้างต่อการแข่งขัน โดยผู้ประกอบการจากอุตสาหกรรมดิจิทัลขนาดใหญ่ในระดับภูมิภาคเข้ามาเสนอรูปแบบบริการดิจิทัลมากขึ้น ปัจจัยเหล่านี้ทำให้ผู้ประกอบการโทรคมนาคม ต้องปรับตัวอย่างรวดเร็ว นอกเหนือจากการพัฒนาการให้บริการเครือข่าย (Connectivity) ให้เป็นอัจฉริยะแล้ว ยังต้องเสริมศักยภาพและความรวดเร็ว ในการสร้างมูลค่าเพิ่ม (Value Added) จากโครงข่ายการสื่อสารและส่งมอบเทคโนโลยี นวัตกรรมใหม่ให้กับลูกค้า ซึ่งผลกระทบที่เกิดขึ้นจากการเปลี่ยนแปลงดังกล่าว ทำให้การปรับโครงสร้าง (Transformation) ของบริษัทไทยสู่การเป็นบริษัทเทคโนโลยี ให้สามารถแข่งขันกับผู้เล่นชั้นนำระดับโลกได้นั้น ถือว่ามีความสำคัญเป็นอย่างยิ่ง”

“การปรับโครงสร้างสู่การเป็นบริษัทเทคโนโลยี สอดคล้องกับยุทธศาสตร์ประเทศไทย 4.0 ที่จะก้าวเป็นฮับของเทคโนโลยีในระดับภูมิภาค โดยโทรคมนาคม (Telecom) จะยังคงเป็นธุรกิจหนึ่งของโครงสร้าง และจะต้องพัฒนาธุรกิจเพิ่มเติมในส่วนที่มุ่งเน้นด้านเทคโนโลยี รวมไปถึงปัญญาประดิษฐ์ ระบบคลาวด์เทคโนโลยี ไอโอที อุปกรณ์อัจฉริยะ เมืองอัจฉริยะ ดิจิทัลมีเดียโซลูชั่น และปรับโครงสร้างเพื่อให้สนับสนุนการลงทุนในบริษัทเทคโนโลยี (Tech Startup) โดยการจัดตั้ง Venture Capital ที่มุ่งเน้นลงทุนในสตาร์ทอัพไทย และสตาร์ทอัพต่างประเทศ ที่ตั้งในประเทศไทย นอกจากนี้ เรายังมีแผนที่จะศึกษาด้านเทคโนโลยีอวกาศ (Space Technology) เพื่อนำมาปรับใช้กับธุรกิจ ซึ่งถือว่าเป็นการเปิดกว้างกรอบความคิดในการทำนวัตกรรมใหม่เพิ่มเติมด้วยเช่นกัน”

“การก้าวสู่บริษัทเทคโนโลยี คือกุญแจสำคัญที่จะทำให้ประเทศไทยสามารถพัฒนาแบบก้าวกระโดด และสร้างความเจริญรุ่งเรืองให้กระจายไปทั่วประเทศได้ ซึ่งในฐานะบริษัทไทย เรามุ่งมั่นที่จะเป็นส่วนหนึ่งในการช่วยปลดล็อกศักยภาพที่มีอยู่อย่างมหาศาลของธุรกิจไทยและผู้ประกอบการดิจิทัลไทย รวมทั้งยังจะสามารถดึงดูดคนที่เก่งที่สุดและธุรกิจล้ำสมัยจากทั่วโลกให้มาทำธุรกิจในประเทศไทยได้อีกด้วย”

“วันนี้ เป็นการก้าวไปข้างหน้าอีกหนึ่งก้าวตามแนวทางดังกล่าว โดยเราหวังว่า จะเป็นส่วนเสริมพลังให้กับคนรุ่นใหม่ทั้งหมด และสร้างงานด้านเทคโนโลยี ในการเติมเต็มและดึงเอาศักยภาพ ให้เป็นผู้ประกอบการที่ส่งมอบมูลค่าเพิ่มผ่านเทคโนโลยีและนวัตกรรม ด้วยการใช้ประโยชน์จากโครงสร้างพื้นฐานทางด้านโทรคมนาคมดิจิทัลที่ล้ำสมัยนี้” นายศุภชัยกล่าว

นายซิคเว่ เบรคเก้ ประธานและประธานเจ้าหน้าที่บริหาร กลุ่มเทเลนอร์ กล่าวว่า “เรามีประสบการณ์ในการขับเคลื่อนโลกดิจิทัลในประเทศต่าง ๆ ในเอเชียมาแล้ว ดังนั้น ขณะที่เรายังพัฒนาต่อไป ทั้งผู้บริโภคและธุรกิจต่างคาดหวังบริการที่ล้ำสมัยและการเชื่อมต่อที่มีคุณภาพมากยิ่งขึ้น เราเชื่อว่า บริษัทใหม่นี้จะเป็นส่วนหนึ่งในการต่อยอด ยกระดับประเทศไทย ไปสู่การเป็นผู้นำในโลกดิจิทัลได้ ด้วยการผนวกความก้าวหน้าทางเทคโนโลยีเข้ากับการบริการที่ดึงดูดลูกค้า พร้อมนำเสนอผลิตภัณฑ์ที่มีคุณภาพดีเยี่ยม”

นายเยอเก้น โรสทริป รองประธานกรรมการบริหารและประธานเจ้าหน้าที่บริหารภูมิภาคเอเซีย กล่าวว่า “ข้อตกลงในครั้งนี้จะช่วยขับเคลื่อนยุทธศาสตร์ในการเสริมสร้างฐานของเราในเอเชียให้เข้มแข็งยิ่งขึ้น ตลอดจนสร้างคุณค่า และพัฒนาตลาดในภูมิภาคนี้ต่อไปในระยะยาว เรามีความมุ่งมั่นและพันธกิจต่อทั้งประเทศไทยและภูมิภาคเอเชียมาอย่างยาวนาน และความร่วมมือครั้งนี้ก็จะเสริมความมุ่งมั่นและพันธกิจนี้ให้แข็งแกร่งยิ่งขึ้น การที่เราสามารถเข้าถึงทั้งเทคโนโลยีใหม่ ๆ และทรัพยากรบุคคลที่มีคุณภาพดีที่สุด จะเป็นปัจจัยเสริมที่สำคัญสำหรับบริษัทใหม่ที่จะจัดตั้งขึ้นในครั้งนี้”

นายเยอเก้นกล่าวว่า “บริษัทใหม่ที่จะจัดตั้งขึ้น จะตั้งกองทุนมูลค่าประมาณ 100 - 200 ล้านเหรียญสหรัฐ ขึ้นมาเพื่อสนับสนุนส่งเสริมผู้ประกอบการและสตาร์ทอัพบนแพลตฟอร์มดิจิทัล เน้นการสร้างผลิตภัณฑ์และบริการใหม่ ๆ เพื่อประโยชน์แก่ผู้บริโภคในประเทศไทย”

ทั้งเครือซีพีและกลุ่มเทเลนอร์ ต่างมั่นใจว่า การพิจารณาสร้างความร่วมมืออย่างเท่าเทียมกันในครั้งนี้จะสร้างสรรค์นวัตกรรมและเทคโนโลยีที่เป็นประโยชน์สูงสุดต่อผู้บริโภคและประชาชนไทย ซึ่งจะช่วยสนับสนุนและส่งเสริมให้ประเทศไทยก้าวสู่การเป็นศูนย์กลางเทคโนโลยีของภูมิภาคตามยุทธศาสตร์ของประเทศไทยได้สำเร็จตามเป้าหมาย


© Copyright 2021, All rights reserved. THE STATES TIMES
Take Me Top