Tuesday, 8 July 2025
THE STATES TIMES TEAM

องค์การอนามัยโลก (WHO) ยกระดับการเตือนภัยโรคฝีดาษลิงเป็นขั้นสูงสุดแล้ว โดยประกาศให้เชื้อไวรัสชนิดนี้เป็นภาวะฉุกเฉินด้านสาธารณสุขระหว่างประเทศ

การยกระดับเตือนภัยครังนี้หมายความว่า WHO มองว่าการแพร่ระบาดของโรคฝีดาษลิงเป็นภัยคุกคามต่อสาธารณสุขทั่วโลกในระดับสำคัญ ซึ่งจำเป็นต่องใช้การตอบสนองเชิงประสานงานระหว่างประเทศเพื่อป้องกันไม่ให้เชื้อไวรัสแพร่กระจายไปมากกว่านี้และไม่ให้มันกลายเป็นโรคระบาด

ถึงแม้ว่าการประกาศของ WHO จะไม่ได้บังคับให้รัฐบาลประเทศต่างๆ ออกมาตรการแต่อย่างใด แต่มันเป็นการเรียกร้องให้มีการตอบสนองอย่างเร่งด่วน WHO ทำได้เพียงออกคำชี้แนะและแนวทางต่อรัฐสมาชิกเท่านั้น หน้าที่ของรัฐสมาชิกคือการรายงานเหตุการณ์ที่อาจเป็นภัยคุกคามต่อสาธารณสุขโลก

เมื่อเดือนที่แล้ว หน่วยงานภายใต้องค์การสหประชาชาตินี้ประกาศภาวะฉุกเฉินระหว่างประเทศเพื่อตอบสนองต่อโรคฝีดาษลิง แต่การติดเชื้อเพิ่มสูงขึ้นอย่างต่อเนื่องในช่วงหลายสัปดาห์ที่ผ่านมา บีบให้ เตโวโดรส อัดฮาโนม เกอเบรออีเยอซุส ผู้อำนวยการใหญ่องค์การอนามัยโลกต้องออกคำเตือนขั้นสูงสุด

ธรรมะประจำวันอาทิตย์ ที่ 24 กรกฎาคม 2565 : พระพยอม กลฺยาโณ

ชีวิตยังไงก็ต้องเจอ 
กับคำว่า ‘วิกฤต’
ดังนั้นต้องหัดเรียนรู้และเข้าใจ
ว่าในทุกวิกฤต
ย่อมมีโอกาสเสมอ
เราต้องผ่านไป...
ด้วยความชาญฉลาด
และสติปัญญา...

พระพยอม กลฺยาโณ

หมดยุคแล้ว!! อดีตนายกฯ อังกฤษ ชี้!! หมดยุคชาติตะวันตกชี้นำโลก | NEWS GEN TIMES EP.60

✨ ไขปริศนา!! ตุ๊กตาหินอ่อนวัดพระแก้ว มาจากไหนและทำไปเพื่ออะไรกัน? แต่ที่แน่ๆ ไม่ใช่ศพคนที่ถูกฝังเอาไว้เพื่อทำพิธีกรรมต่างๆ นานาดังที่โซเชียลมโน!!

✨ หมดยุคแล้ว!! อดีตนายกฯ อังกฤษ ชี้!! หมดยุคชาติตะวันตกชี้นำโลก

✨ คุณไม่มีสิทธิสั่ง!! ‘อินเดีย’ โวย ‘สหรัฐฯ’ เหตุสั่งห้ามรับเรือรัสเซีย พร้อมตอกกลับ “นี่เป็นอธิปไตยของอินเดีย”

✨ รับได้ไหม!! Netflix ถูกลง แต่มีโฆษณา

NEWS GEN TIMES ชวนคิด กับ กิตติธัช

โดย อ.ต้อม - กิตติธัช ชัยประสิทธิ์ นักวิชาการอิสระและอาจารย์ประจำคณะสถาปัตยกรรม ศิลปะและการออกแบบ สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง

‘ไบโอดีเซล’ เชื้อเพลิงพลังงานชีวภาพ จากพระอัจฉริยภาพของในหลวง รัชกาลที่ 9

พระมหากรุณาธิคุณอันยิ่งใหญ่หาที่สุดมิได้ของในหลวงรัชกาลที่ 9 ที่ได้ทรงศึกษาวิจัยค้นคว้าพลังงานชีวภาพ แก๊สโซฮอล์ และไบโอดีเซล จากผลิตผลทางเกษตรในประเทศ และช่วยให้ประชาชนสามารถใช้น้ำมันเชื้อเพลิงในราคาถูก กว่าน้ำมันเชื้อเพลิงจากปิโตรเลียม

การศึกษาวิจัยเกี่ยวกับเชื้อเพลิงชีวภาพของโครงการส่วนพระองค์จิตรลดา เริ่มต้นในปี 2528 ด้วยในหลวงรัชกาลที่ 9 โดยพ่อหลวงของปวงชนชาวไทย มีพระราชดำริว่า ในอนาคตอาจเกิดการขาดแคลนน้ำมัน จึงมีพระราชประสงค์ให้นำอ้อยมาผลิตแอลกอฮอล์เพื่อใช้เป็นเชื้อเพลิง ต่อมาโครงการได้ศึกษาวิจัยการผลิตและกลั่นแอลกอฮอล์ จากพืชผลทางเกษตรหลายอย่าง เช่น ข้าวโพด ข้าวฟ่าง มันสำปะหลัง อ้อย มีการปรับปรุงการกลั่นเรื่อยมา จนสามารถผลิตแอลกอฮอล์บริสุทธิ์ 95% หรือที่เรียกว่า เอทานอล ไปกลั่นแยกน้ำ และใช้เป็นวัตถุดิบผสมน้ำมันเบนซินผลิตแก๊สโซฮอล์ โดยศึกษาทดลองสูตรการผสม และผลิตน้ำมันแก๊สโซฮอล์ใช้กับรถยนต์ทุกคันของโครงการส่วนพระองค์ฯ

ต่อมา บริษัท ปตท. จำกัด (มหาชน) ได้นำผลการศึกษาของโครงการส่วนพระองค์จิตรลดามาต่อยอด ผลิตน้ำมันแก๊สโซฮอล์ เริ่มจำหน่ายในเชิงพาณิชย์ ตั้งแต่ปี 2545 ส่วน บริษัท บางจาก จำกัด (มหาชน) ร่วมกับสถาบันวิจัยวิทยาศาสตร์แห่งประเทศไทย ศึกษาทดลองผลิตเอทานอลบริสุทธิ 99.5% จากมันสำปะหลัง แล้วนำมาผสมกับน้ำมันเบนซินในสัดส่วน 10% ทดแทนสาร เพิ่มออกเทน MTBE ที่ใช้แทนสารตะกั่ว ซึ่งต้องนำเข้าเป็นน้ำมันแก๊สโซฮอล์ 95 เริ่มจำหน่ายที่สถานีบริการน้ำมันบางจาก ถ.ติวานนท์

ปัจจุบันน้ำมันแก๊สโซฮอล์เป็นที่นิยมของประชาชนอย่างกว้างขวาง เพราะราคาถูกกว่าน้ำมันเบนซิน ซึ่งช่วยลดการนำเข้าน้ำมันได้ส่วนหนึ่ง และยังช่วยลดมลพิษในอากาศได้อีกด้วย เพราะแก๊สโซฮอล์ไม่ต้องเติมสารตะกั่ว และสารเพิ่มออกเทน MTBE

ไบโอดีเซลในประเทศไทย เริ่มพัฒนามาจากพระราชดำริของในหลวงรัชกาลที่ 9 เมื่อปี 2526 ให้มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ สร้างโรงงานสกัดน้ำมันปาล์มทดลองขนาดเล็กที่สหกรณ์นิคมอ่าวลึก จ.กระบี่ และอีกหลายแห่งในเวลาต่อมา ในปี 2543 โครงการส่วนพระองค์สวนจิตรลดา และกองงานส่วนพระองค์ วังไกลกังวล หัวหิน เริ่มการทดลองนำน้ำมันปาล์มมาใช้เป็นเชื้อเพลิงสำหรับเครื่องยนต์ดีเซล จากการทดลองพบว่า น้ำมันปาล์ม บริสุทธิ์ 100% สามารถใช้เป็นน้ำมันเชื้อเพลิงสำหรับเครื่องยนต์ดีเซลได้ โดยไม่ต้องผสมกับน้ำมันเชื้อเพลิงอื่นฯ หรืออาจใช้ผสมกับน้ำมันดีเซลได้ ตั้งแต่น้อยสุด 1 - 99% ทั้งนี้องคมนตรี (อำพล เสนาณรงค์) เป็นผู้แทนในหลวงรัชกาลที่ 9 ได้จดสิทธิบัตรการประดิษฐ์ ‘การใช้น้ำมันปาล์มกลั่นบริสุทธิ์เป็นน้ำมันเชื้อเพลิงสำหรับเครื่องยนต์ดีเซล’ แล้ว

จากโครงการพัฒนาและทดลองการผลิตการใช้น้ำมันไบโอดีเซลในโครงการส่วนพระองค์ ของในหลวงรัชกาลที่ 9 จนเทคโนโลยีการผลิตการใช้ไบโอดีเซลก้าวหน้า สามารถนำมาใช้ในเป็นน้ำมันเชื้อเพลิงในทางพาณิชย์ได้ ผลการวิจัยในการนำน้ำมันพืชมาใช้ผลิตไบโอดีเซลในประเทศไทย พบว่าน้ำมันพืชที่เหมาะสมและมีศักยภาพในการผลิตไบโอดีเซล คือ น้ำมันปาล์ม

>> ไบโอดีเซลในประเทศไทยแบ่งออกได้เป็นไบโอดีเซลชุมชน และไบโอเชิงพาณิชย์
ไบโอดีเซลชุมชน คือไบโอดีเซลที่กลั่นน้ำมันปาล์มออกมาเหมือนน้ำมันพืชที่ใช้ปรุงอาหาร เหมาะกับเครื่องยนต์ดีเซลสูบเดียว รอบเครื่องยนต์คงที่ เช่น รถไถนาเดินตาม รถอีแต๋น เครื่องสูบน้ำ แต่ไม่เหมาะกับการใช้กับเครื่องยนต์ดีเซลที่มีหลายสูบ เช่นเครื่องยนต์ที่ใช้กับรถยนต์ เพราะระยะยาวจากเกิดยางเหนียวในเครื่องติดที่ลูกสูบ

สำหรับไบโอดีเซลเชิงพาณิชย์ คือ ไบโอดีเซลที่ใช้น้ำมันปาล์มผ่านกระบวนการไปผสมกับน้ำมันดีเซล โดยผู้ผลิตรถยนต์ทดสอบและให้การรับรองว่าใช้กับรถยนต์รุ่นที่ทดสอบแล้วได้

>> ไบโอดีเซลช่วยเกษตรกรชาวสวนปาล์ม
นอกจากการส่งเสริมสนับสนุนให้ใช้ไบโอดีเซล เพื่อลดการการนำเข้าน้ำมันแล้ว ในยามที่ปาล์มมีราคาตกต่ำ รัฐบาลก็สนับสนุนส่งเสริมให้มีการผลิต การจำหน่าย การใช้ไบโอดีเซลที่ผสมน้ำมันปาล์มในรถยนต์ด้วย

ที่ผ่านมาใช้น้ำมันดีเซลผสมกับน้ำมันปาล์มที่ผ่านกระบวนการในอัตรา 95 : 5 จะได้ไบโอดีเซล ที่เรียกว่า บี 5 ถ้าเป็นอัตรา 93 : 7 จะได้ไบโอดีเซลเรียกว่า บี 7 ซึ่งเป็นการเพิ่มความต้องการน้ำมันปาล์ม ที่สามารถยกระดับราคาปาล์ม ตามกลไกตลาดได้ระดับหนึ่ง

>> ปัจจุบันมีปัญหาราคาปาล์มตกต่ำอีก กระทรวงพลังงานจึงได้ร่วมกับหน่วยงานอื่นและเอกชนที่เกี่ยวข้อง ผลักดันไบโอดีเซล บี 10 เพื่อแก้วิกฤตราคาปาล์ม

บี 10 คือ น้ำมันไบโอดีเซล ที่มีอัตราผสมน้ำมันดีเซลอัตรา 90 ส่วน ต่อน้ำมันปาล์มผ่านกรรมวิธี 10 ส่วน ซึ่งจะสามารถเพิ่มความต้องการน้ำมันปาล์มได้ดีกว่า บี 5 และบี 7 นอกจากนี้ยังมีการผลิตน้ำมันไบโอดีเซล บี 20 ซึ่งมีส่วนผสมของน้ำมันปาล์มผ่านกรรมวิธี 20% ด้วย

ในการผลักดันการใช้น้ำมันไบโอดีเซล บี 10 ซึ่งมีราคาถูกกว่าน้ำมันดีเซล นอกจากช่วยผู้ใช้รถประหยัดค่าใช้จ่ายจากราคาน้ำมันแล้ว ยังเป็นการช่วยชาวสวนปาล์มด้วยทางหนึ่ง 

TOPIC 24 : ภารกิจเพื่อชาวโลก!! ‘สหรัฐฯ - รัสเซีย’ จับมือออกสำรวจนอกโลก สานฝันมนุษยชาติให้ได้รู้ความลับจักรวาล

ภารกิจเพื่อชาวโลก!! ‘สหรัฐฯ - รัสเซีย’ จับมือออกสำรวจนอกโลก สานฝันมนุษยชาติให้ได้รู้ความลับจักรวาล

Click on Clear Original
โดย ปริม THE STATES TIMES (กุญชนิตา กุญชร ณ อยุธยา)

States TOON EP.72

ปรับตัว...ปรับตัว...ปรับตัว

ติดตามการ์ตูนอัปเดตได้ทุกสัปดาห์ใน…


👍 ติดตามการ์ตูนสนุกๆ เพิ่มเติมได้ที่ : https://thestatestimes.com/tag/statestoon

TOPIC 23 : จุดจบโลกตะวันตก!! ‘โทนี่ แบลร์’ ยอมรับโลกตะวันออกแข็งแกร่ง ยุค ‘สหรัฐฯ-พันธมิตร’ ครองโลก ใกล้สิ้นสุด

จุดจบโลกตะวันตก!! ‘โทนี่ แบลร์’ ยอมรับโลกตะวันออกแข็งแกร่ง ยุค ‘สหรัฐฯ-พันธมิตร’ ครองโลก ใกล้สิ้นสุด

Click on Clear Original
โดย ปริม THE STATES TIMES (กุญชนิตา กุญชร ณ อยุธยา)

WHAT...IF อะไรจะเกิดขึ้น...ถ้าสัญญาปางหลวงสำเร็จ

วันที่ 19 กรกฎาคม ที่ผ่านมา เป็นวันที่รำลึกถึงเหตุการณ์ที่นายพล ออง ซาน และผู้นำในการเรียกร้องเอกราชคนอื่นๆ คือรัฐมนตรี 6 คน และเจ้าหน้าที่รัฐบาล 2 คน ถูกลอบสังหารระหว่างการประชุมสภาก่อนที่พม่าจะได้รับเอกราชจากอังกฤษ 6 เดือน ในวันที่ 19 กรกฎาคม พ.ศ. 2490 ก่อนวันที่นายพล เนวิน จะยึดอำนาจในวันที่ 2 มีนาคม พ.ศ. 2505 

วันนี้เอย่ามาลองคิดดูว่า หากวันนั้นไม่เกิดรัฐประหารของนายพลเนวิน และในวันที่ 19 กรกฎาคม พ.ศ. 2490 ไม่มีการสังหารหมู่และการเซ็นสัญญาปางหลวงหรือปางโหลงสำเร็จในวันที่ 12 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2490 และมีการดำเนินไปตามสนธิสัญญากำหนดไว้อะไรจะเกิดขึ้น

ก่อนอื่นเราควรจะมาทราบที่มาที่ไปของที่มาของสนธิสัญญาปางหลวงก่อนว่าเกิดอะไรขึ้นก่อนจะมีวันนี้ ในเว็บไซต์ รักเมืองไตย ได้บันทึกเหตุการณ์ประวัติศาสตร์ของสนธิสัญญาปางหลวงไว้ โดยเหตุการณ์ต้องย้อนไปเมื่อวันที่ 19 พฤศจิกายน พ.ศ. 2428 กษัตริย์ธีบอ กษัตริย์องค์สุดท้ายของพม่าถูกกองทัพอังกฤษบุกเข้าจับกุมตัวและในวันที่ 1 มกราคม พ.ศ. 2429 กองทัพอังกฤษจึงประกาศว่า ได้ทำการยึดดินแดนของแผ่นดินพม่าไว้หมดแล้ว 

ซึ่งในเวลานั้น รัฐฉานของชาวไทยใหญ่ยังไม่ได้ถูกนับรวมเป็นส่วนหนึ่งของแผ่นดิน จวบจนกระทั่งเดือนมกราคม พ.ศ. 2430 อังกฤษจึงเดินทางมายึดรัฐฉาน และประกาศให้รัฐฉานเป็นส่วนหนึ่งในรัฐอารักขาของอังกฤษ ในช่วงที่รัฐฉานอยู่ภายใต้การปกครองของอังกฤษ ได้มีการแบ่งแยกการปกครอง และงบประมาณของรัฐฉานกับพม่าออกจากกันอย่างชัดเจน 

โดยในสมัยนั้น พม่าจะเป็นฝ่ายที่คอยต่อต้านอังกฤษมาโดยตลอด ขณะที่เจ้าฟ้าและประชาชนไทยใหญ่ ได้ให้ ความร่วมมือกับอังกฤษ รวมทั้งให้การช่วยเหลืออังกฤษในการสู้รบสมัยสงครามโลกครั้งที่ 1 และ  2 เป็นอย่างดี

หลังจากที่แผ่นดินพม่าและไทยใหญ่ ตกอยู่ภายใต้การปกครองของอังกฤษ นานกว่าครึ่งศตวรรษ วันที่ 15 สิงหาคม พ.ศ. 2482 นายพลอองซานจึงจัดตั้งกลุ่มคอมมิวนิสต์ใต้ดินขึ้น เพื่อให้พม่าหลุดพ้นจากการเป็นอาณานิคมของอังกฤษโดยที่นายพลอองซาน ทำหน้าที่เลขาธิการของกลุ่ม นายพลอองซาน พยายามหาทางติดต่อกลุ่มกับคอมมิวนิสต์กลุ่มต่าง ๆ 

โดยหลังจากเดินทางกลับจากอินเดียมายังกรุงย่างกุ้ง เขาได้แอบเดินทางไปประเทศจีน แต่เนื่องจากลงเรือผิดลำจึงไปถึงเกาะ  อะมอย ( Amoy ) ซึ่งในขณะนั้นอยู่ในการครอบครองของญี่ปุ่น ทางญี่ปุ่นจึงเรียกตัว นายพลอองซานไปยังเมืองโตเกียว หลังจากนายพลอองซานกลับจากญี่ปุ่น จึงได้รวบรวมสมัครพรรค พวกจำนวน 30 คนเดินทาง ไปฝึกการรบที่ญี่ปุ่น
ต่อมา วันที่ 26 ธันวาคม พ.ศ. 2484 อองซานจึงจัดตั้งกองทัพอิสระภาพแห่งพม่า ( B.I.A : Burma Independence Army ) ขึ้นที่กรุงเทพฯ และในปี พ.ศ 2485 นายพลอองซานเริ่มนำกำลังเข้าร่วมกับทหารญี่ปุ่น โจมตีเหล่าประเทศอาณานิคมของอังกฤษ โดยในช่วงสงครามโลกครั้งที่ 2 ทหารญี่ปุ่นได้เดินทางเข้ามาในแผ่นดินพม่าและรัฐฉาน และในเวลาเดียวกันนี้ ทางเจ้าฟ้ารัฐฉาน ได้จัดส่งเจ้าหน้าที่ข้าราชการของอังกฤษ ไปยังอินเดียและพม่า 
.
ต่อมา ญี่ปุ่นได้ทำการ ทารุณกรรมประชาชนในรัฐฉาน เช่นเดียวกับที่กระทำต่อประชาชนของประเทศต่างๆ ในเอเชีย จวบจนกระทั่งสงครามโลกครั้งที่ 2 สงบลง ญี่ปุ่นจึงถอยทัพกลับไป และในช่วงสงครามโลกครั้งที่  2  เดือน สิงหาคม พ.ศ. 2484 รัฐบาลอเมริกาและอังกฤษ ได้จัดทำหนังสือข้อตกลง ที่ชื่อว่า "เตหะราน" (Teheran-Agreement) ขึ้น โดยมีใจความระบุไว้ว่า "หากสงครามโลกครั้งที่ 2 สิ้นสุดลง จะคืนเอกราชให้แก่ดินแดนอาณานิคมของ ทั้ง 2 ประเทศทั้งหมด" เมื่อสงครามสิ้นสุดลงนายพลอองซานจึง พยายามติดต่อเข้าพบผู้นำรัฐบาลอังกฤษ ณ กรุงลอนดอน เพื่อเจรจาขอเอกราชคืน


 

ในช่วงเวลาที่อังกฤษปกครองพม่าและรัฐฉานอยู่นั้น ได้มีนักศึกษาในรัฐฉาน (ที่ไม่ใช่ชาวไทยใหญ่) เดินทางไปศึกษาที่กรุงย่างกุ้ง และซึมซับรับเอาแนวความคิดฝักใฝ่ในลัทธิคอมมิวนิสต์ จึงเริ่มมีความเกลียดชังและต้องการล้มล้างระบอบเจ้าฟ้าในรัฐฉาน โดยนักศึกษากลุ่มนี้ ได้เข้าเป็นแนวร่วมกับกลุ่ม "ต่อต้านผู้ล่าอาณานิคมเพื่อเอกราช" ของนายพลอองซาน และตกลงรับเอาภาระหน้าที่บ่อนทำลายการปกครองระบอบเจ้าฟ้าของรัฐฉาน และหันมาเข้าร่วมกับพม่า ในการเรียกร้องเอกราชจากอังกฤษให้แก่กลุ่มของนายพลอองซาน โดยอาศัยรัฐฉานเป็นพื้นที่ปฏิบัติการ 

แต่เนื่องจากเจ้าฟ้ารัฐฉานเป็นมิตรกับอังกฤษมาโดยตลอด โดยในช่วงที่สงครามโลกครั้งที่ 2 สิ้นสุดลง อังกฤษได้ให้สัญญากับเจ้าฟ้าว่า "ขอให้รัฐฉาน อยู่ในอารักขาของอังกฤษต่อไปก่อนและอังกฤษจะทำการพัฒนาด้านการศึกษา, การเมือง, การปกครอง , การติดต่อต่างประเทศ - ในประเทศ, การเศรษฐกิจ และการคมนาคมในรัฐฉานให้เรียบร้อยเสียก่อน แล้วอังกฤษจะคืนเอกราชให้ภายหลัง"

สำหรับนายพลอองซานในช่วงแรก เป็นผู้มีบทบาทชักจูงทหารญี่ปุ่น ให้เข้ามาในพม่าและรัฐฉาน แต่ในตอนสุดท้าย เมื่อวันที่ 27 มีนาคม พ.ศ. 2488 กลับนำกำลังทหารเข้าสู้รบกับทหารญี่ปุ่น ทางพม่าจึงได้ถือเอาวันนี้ เป็นวันกองทัพของพม่าสืบเนื่องมาจนถึงปัจจุบัน

ทางด้านเจ้าฟ้าไทยใหญ่ หลังจากสงครามโลกครั้งที่ 2 สิ้นสุดลง และในดือนสิงหาคม พ.ศ. 2488 สองเดือนถัดมา เจ้าหญิงเมืองป๋อน ได้ทรงสิ้นพระชนม์ บรรดาเจ้าฟ้าจากเมืองต่างๆ จึงเดินทางมาร่วมงานพระศพ ทำให้มีโอกาสพบปะและพูดคุยกันว่า "น่าจะจัดให้มีการประชุมของเจ้าฟ้าทั้งหมด เพื่อปรึกษาหารือ เกี่ยวกับอนาคตของรัฐฉาน" และต่อมาวันที่ 31 มกราคม พ.ศ. 2489 จึงได้มีการประชุมของเหล่าเจ้าฟ้าไทยใหญ่ขึ้นที่ เมืองกึ๋ง 

โดยที่ประชุม มีมติจัดตั้ง "คณะกรรมการสภาเจ้าฟ้าแห่งรัฐฉาน" ขึ้น เพื่อให้มีสถาบันที่จะปกครองรัฐฉาน  ในแนวทางระบอบประชาธิปไตย และเพื่อทำให้รัฐฉาน ซึ่งมีดินแดนอยู่ระหว่างจีนแดงและพม่า สามารถดำรงอยู่อย่างมั่นคงและยั่งยืนสืบไป 

นอกจากนี้ทางเจ้าฟ้าไทยใหญ่ยังมีแนวความคิดที่จะร่วมสร้างบ้านสร้างเมืองกับรัฐคะฉิ่นและรัฐชินซึ่งเป็นรัฐใกล้เคียง ดังนั้นจึงตกลงเห็นควรเชิญรัฐคะฉิ่นและรัฐชิน มาเข้าร่วมเป็นสหพันธรัฐ โดยในเวลาต่อมาเมื่อวันที่  20 - 28 มีนาคม พ.ศ. 2489 ทางเจ้าฟ้าไทยใหญ่, รัฐคะฉิ่น และรัฐชิน ได้จัดประชุมร่วมกันขึ้นที่เมืองปางหลวง หรือ ปางโหลง โดยเห็นพ้องต้องกันที่จะทำการจัดตั้ง "สหพันธรัฐเทือกเขา และสภาผู้นำร่วมสหพันธรัฐเทือกเขา(Supreme Council of the United Hill People : S.C.O.U.H.)" ขึ้น และกำหนดให้ส่งตัวแทนเข้ามาเป็นสมาชิกสภา รัฐละ 6 คน รวม 18 คน โดยเริ่มจัดตั้งภายในปี พ.ศ. 2490 และให้มีการประชุมร่วมกันอีกครั้งที่เมืองปางหลวง การประชุมในครั้งนี้ จึงถือเป็นจุดเริ่มต้นของการอยู่ร่วมกัน แบบสหพันธรัฐในดินแดนแห่งนี้

แต่เนื่องจากนักศึกษาที่เป็นแนวร่วมของพม่า ได้ทำการแจ้งข่าวการประชุมร่วม 3 รัฐ ครั้งนี้ ให้ทางพม่าทราบ   ทางการพม่าซึ่งนำโดย นายอูนุและนายอูจ่อ จึงเดินทางมาเข้าร่วมประชุมด้วย แม้ว่าการประชุมครั้งนี้ตัวแทนจากพม่าจะเข้าร่วมประชุมด้วย แต่ในที่ประชุม ก็ยังไม่สามารถหาข้อตกลงร่วมกันได้ เนื่องจากเจ้าฟ้าไทยใหญ่ ได้พูดในที่ประชุมอย่างชัดเจนว่า  "ต้องการจัดตั้งสหพันธรัฐที่ไม่มีพม่ารวมอยู่ด้วย"  ดังนั้น ตัวแทนชาวพม่าที่เข้าร่วมประชุม จึงเป็นแค่ผู้สังเกตการณ์ ไม่มีสิทธิแสดงความคิดเห็นหรือลงมติใดๆ ทั้งสิ้น

ต่อมา วันที่ 27 กรกฎาคม พ.ศ. 2489 บรรดาเจ้าฟ้าไทยใหญ่ได้ร่วมกันจัดตั้ง  "คณะกรรมการสภาเจ้าฟ้าแห่งรัฐฉาน" (EX-ective Committee of the Council of Shan State Saophas) ขึ้น ตามมติที่ตกลงกันไว้ในการประชุมที่เมืองกึ๋ง ขณะที่ทางฝ่ายพม่า ต้องการให้ไทยใหญ่ร่วมเรียกร้องเอกราชจากอังกฤษ แต่ทางคณะกรรมการสภาเจ้าฟ้าฯ ไม่เห็นด้วย พม่าจึงทำการยุยงให้นักศึกษาในรัฐฉานบางกลุ่ม ซึ่งเป็นแนวร่วมของพวกเขา ทำการจัดตั้งกลุ่ม "เพื่อเอกราชแห่งรัฐฉาน" ขึ้นเมื่อวันที่  20 กันยายน พ.ศ. 2489 โดยกลุ่มนี้เป็นกลุ่มที่มีแนวความคิดที่จะเรียกร้องเอกราชร่วมกับพม่า และล้มล้างการปกครองระบอบเจ้าฟ้าในรัฐฉาน "คณะกรรมการสภาเจ้าฟ้าฯ" ได้พยายามเรียกร้องว่า "หากมีการให้เอกราชแก่รัฐฉาน ก็ไม่เห็นด้วยที่จะเข้าร่วมกับพม่า" โดยได้ทำหนังสือแสดงจุดยืนดังกล่าวต่อข้าหลวงอังกฤษมาโดยตลอด 

ซึ่งในขณะเดียวกันนายพลอองซานก็ได้เดินทางไปลอนดอน เพื่อเจรจาขอเอกราชคืนจากอังกฤษ และกลับมาชักชวนให้รัฐคะยาเข้าร่วมกับพม่าด้วย ในระหว่างการเดินทางไปรัฐคะยา นายพลอองซานได้แวะกล่าวปราศรัยต่อประชาชนชาวไทยใหญ่ เมื่อวันที่ 23 ธันวาคม พ.ศ. 2489 ในสนามฟุตบอลแห่งหนึ่ง ในเมืองตองจี ผู้ที่เข้าฟังการปราศรัย ส่วนใหญ่เป็นคนยากจนและคนหนุ่มสาว โดยนายพลอองซานพยายามเรียกร้องให้ชาวไทยใหญ่ให้ความร่วมมือกับชาวพม่า 

และในวันที่ 25 ธันวาคม พ.ศ. 2489 นายพลอองซานได้ติดต่อขอเข้าพบกลุ่มเจ้าฟ้า ที่ปกครองทางภาคใต้ของรัฐฉาน โดยพยายามพูดจาหว่านล้อมให้เจ้าฟ้าเหล่านั้น เห็นด้วยกับการเรียกร้องเอกราชจากอังกฤษร่วมกับพม่า แต่การเจรจาไม่เป็นผล วันที่ 26 ธันวาคม พ.ศ. 2489 นายพลอองซานจึงเดินทางกลับไปยังกรุงย่างกุ้ง เพื่อเตรียมตัวเดินทางไปพบปะพูดคุย กับนายแอตลี (Attlee) นายกรัฐมนตรีของอังกฤษที่ลอนดอนเกี่ยวกับเรื่องเอกราชของพม่า   

ต่อมาในวันที่ 30 ธันวาคม พ.ศ. 2489 คณะกรรมการสภาเจ้าฟ้าฯ ได้จัดประชุมขึ้นที่แสนหวี และจัดส่งโทรเลขจากเมืองล่าเสี้ยวถึง นายแอตลี มีใจความว่า "นายพลอองซานไม่ใช่ตัวแทนของชาวไทยใหญ่ เรื่องของทางไทยใหญ่นั้น ทางคณะกรรมการเจ้าฟ้าฯ จะเป็นผู้ตัดสินใจเอง" โดยนายแอตลี ได้รับโทรเลขฉบับดังกล่าวในวันที่ 2 มกราคม พ.ศ. 2490 

จากนั้นในวันที่ 9 มกราคม พ.ศ. 2490 อองซานเดินทางถึงกรุงลอนดอน ประเทศอังกฤษ และได้เข้าพบกับนายแอตลี ตั้งแต่วันที่ 16 - 26 มกราคม พ.ศ. 2490 เพื่อเจรจาให้อังกฤษมอบเอกราชคืนให้แก่พม่าและรัฐฉานร่วมกัน แต่นายแอตลีได้ตอบปฏิเสธ เนื่องจากได้รับโทรเลขแสดงเจตนารมณ์ของประชาชนชาวไทยใหญ่ จากคณะกรรมการสภาเจ้าฟ้าฯ ที่ไม่เห็นด้วยกับการรับเอกราชร่วมกับพม่า

เมื่อนายอูนุทราบว่า ทางคณะกรรมการสภาเจ้าฟ้าฯ ได้ส่งโทรเลขถึงนายแอตลี มีใจความไม่เห็นด้วยกับพม่า ในวันที่ 22 มกราคม พ.ศ. 2490 นายอูนุจึงสั่งให้คนของเขา ไปทำการยุยงให้นักศึกษากลุ่ม "เพื่อเอกราชแห่งรัฐฉาน" ส่งโทรเลขสนับสนุนให้อองซาน เป็นตัวแทนของชาวไทยใหญ่ถึงนายแอตลีบ้าง โดยนายแอตลีได้รับโทรเลขฉบับดังกล่าวเมื่อวันที่ 26 มกราคม พ.ศ. 2490 ต่อมาในวันที่ 27 มกราคม พ.ศ. 2490 จึงได้มีการทำหนังสือข้อตกลง อองซาน-แอตลี (Aungsan Attlee Agreement) ขึ้น ซึ่งในหนังสือข้อตกลงฉบับนี้ ในวรรคที่ 8 ได้กล่าวเกี่ยวกับรัฐฉานไว้ว่า "ให้นายพลอองซานทำการเจรจากับผู้นำของชาวไทยใหญ่ ที่กำลังจะจัดประชุมกันขึ้นที่ปางหลวง ในเดือนกุมภาพันธ์ที่จะถึงนี้" และนายแอตลีได้ส่งโทรเลขถึงคณะกรรมการสภาเจ้าฟ้าฯ, ตัวแทนรัฐคะฉิ่น, ตัวแทนรัฐชิน ให้ได้รับทราบ เพื่อที่จะได้คิดแนวทางที่จะพูดคุยกับนายพลอองซานในการประชุมสหพันธรัฐเทือกเขา ที่กำลังจะจัดขึ้นที่เมืองปางหลวง

การประชุมที่เมืองปางหลวง เป็นมติที่ตกลงจากการประชุมครั้งก่อน เมื่อปี 2489 โดยที่ประชุมได้ตกลงให้จัดการประชุมสหพันธรัฐเทือกเขาอีกครั้งในปีต่อมา คือวันที่ 3 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2490 ทางคณะกรรมการสภาเจ้าฟ้าฯ จึงได้จัดประชุมสหพันธรัฐเทือกเขาขึ้นที่ เมืองปางหลวงอีกครั้งหนึ่ง โดยงบประมาณค่าใช้จ่ายในการจัดประชุมในครั้งนี้ ทางคณะกรรมการสภาเจ้าฟ้าฯ เป็นผู้ออกเองทั้งหมด  

หลังการประชุมครั้งนี้ ในวันที่ 7 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2490 หรือสี่วันต่อมาทางคณะกรรมการสภาเจ้าฟ้าฯ และประชาชนชาวไทยใหญ่ได้มีมติจัดตั้ง "สภาแห่งรัฐฉาน" (Shan State Council) ประกอบด้วยตัวแทนเจ้าฟ้า 7 คน และตัวแทนจากประชาชนจำนวน 7 คน และให้ "สภาแห่งรัฐฉาน" เป็นตัวแทนของประชาชนชาวไทยใหญ่ทั้งปวง พร้อมทั้งมีมติประกาศใช้ "ธง" ซึ่งประกอบด้วย สีเหลือง, เขียว, แดง และมีวงกลมสีขาวอยู่ตรงกลาง  เป็นธงชาติของรัฐฉานตั้งแต่บัดนั้นเป็นต้นมา 

ซึ่งสีเหลืองหมายถึงการเป็นชนชาติผิวเหลืองและพุทธศาสนา สีเขียวหมายถึงความอุดมสมบูรณ์ไปด้วยทรัพยากรทางธรรมชาติซึ่งประเมินค่าไม่ได้ของแผ่นดินรัฐฉาน และยังหมายถึงความเป็นชนชาติที่รักความสงบร่มเย็นไม่รุกรานใคร สีแดงหมายถึงความกล้าหาญ เด็ดเดี่ยวของชนชาติรัฐฉาน และวงกลมสีขาว หมายถึงความมีสัจจะ ซื่อสัตย์ และมีจิตใจที่บริสุทธิ์ดั่งเช่นดวงพระจันทร์ของชนชาติรัฐฉาน 

และในวันที่ 8 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2490 เวลา 18.00 น. นายพลอองซานได้เดินทางมาถึงเมืองปางหลวงโดยไม่มีการเตรียมตัวเพื่อที่จะมาเข้าร่วมประชุมเลย โดยนายพลอองซานมาในครั้งนี้ เหมือนเป็นการเสี่ยงดวงว่าทางไทยใหญ่จะให้ความร่วมมือในการเรียกร้องเอกราชหรือไม่เท่านั้น ดังนั้น ที่มีการพูดว่า “นายพลอองซานเป็นผู้จัดการประชุมสัญญาปางหลวงนั้น จึงไม่เป็นความจริงแต่อย่างใด 

ในวันที่ 9 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2490 เวลา 10.00 น. ตัวแทนไทยใหญ่, ชิน และคะฉิ่น ได้จัดตั้ง "สภาผู้นำร่วมสหพันธรัฐเทือกเขา" (S.C.O.U.H.P)  ขึ้นตามมติการประชุมร่วมกันเมื่อเดือน มีนาคม พ.ศ. 2489 โดยมีสมาชิกสภาซึ่งเป็นตัวแทนที่มาจากรัฐฉาน (ไทยใหญ่), รัฐชิน และรัฐคะฉิ่น รัฐละ 6 คนรวมเป็น 18 คน และให้เป็นสภาปกครองสูงสุดของ สหพันธ์รัฐเทือกเขา ในวันที่ 9 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2490 เวลา 11.30 น. นายพลอองซาน ได้กล่าวในที่ประชุม เรียกร้องให้ไทยใหญ่ร่วมกับพม่า ในการเรียกร้องเอกราชจากอังกฤษ แต่ตัวแทนของชาวไทยใหญ่ได้คัดค้านอย่างหนักแน่นเช่นเดิม และในขณะที่กำลังดำเนินการประชุมอยู่นั้น ได้เกิดการกระทบกระทั่งชกต่อยกันขึ้นระหว่างทหารชุดรักษาความปลอดภัยของนายพลอองซาน กับทหารชุดรักษาความปลอดภัยของเจ้าฟ้าส่วยแต๊ก แห่งเมืองหยองห้วย ซึ่งเป็นผู้นำของเหล่าเจ้าฟ้าไทยใหญ่ทั้งหลาย ทำให้สถานการณ์ตึงเครียดยิ่งขึ้น บรรดาเจ้าฟ้าไทยใหญ่ ได้กล่าวในที่ประชุม ครั้งนี้ว่า "ถ้าไม่มีสิทธิแยกตัวเป็นอิสระ หลังจากที่ได้รับเอกราชจากอังกฤษ ก็จะไม่ร่วมมือกับพม่าอย่างเด็ดขาด" ส่วนตัวแทนของรัฐคะฉิ่น ก็ได้เรียกร้องให้มีการกำหนดดินแดนของรัฐคะฉิ่นให้ชัดเจน ซึ่งในอดีตดินแดนของรัฐคะฉิ่น เป็นดินแดนของรัฐฉาน  แต่ต่อมาอังกฤษได้แยกเมืองกอง, เมืองยาง ออกไปเป็นรัฐคะฉิ่น เพื่อให้ง่ายต่อการปกครอง เป็นการชั่วคราวเท่านั้น  ซึ่งทางนายพลอองซานได้แสดงอาการโกรธ และจะไม่อยู่ร่วมประชุมต่อ แต่ทางฝ่ายนักศึกษาของกลุ่ม “เพื่อเอกราชรัฐฉาน” ซึ่งเป็นแนวร่วมกับทางนายพลอองซานได้ขอร้องให้อยู่ร่วมประชุมต่อ 

ต่อมาวันที่ 11 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2490 ที่ประชุมได้มีมติตกลงที่จะร่วมกันเรียกร้องเอกราชจากอังกฤษ แต่จะร่วมกันเพื่อเรียกร้องเอกราชเท่านั้น  หลังจากได้รับเอกราชแล้ว ทุกรัฐมีอิสระในการตัดสินใจทุกอย่าง ดังนั้นเป้าหมายที่ต้องร่วมกันครั้งนี้ จึงเพื่อให้เกิดพลังในการเจรจาต่อรองขอเอกราชจากอังกฤษเท่านั้น จากนั้นในวันที่ 12 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2490 บรรดาเจ้าฟ้าไทยใหญ่ และตัวแทนจากรัฐต่างๆ จึงได้ร่วมลงนามในหนังสือสัญญาปางหลวง (Panglong Agreement) ซึ่งนายพลอองซานเป็นผู้ร่างขึ้นเมื่อวันที่ 11 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2490 มีเนื้อหาสาระทั้งหมด 9 ข้อ แต่ไม่มีข้อใดที่ระบุถึงสิทธิในการแยกตัวเป็นอิสระ บรรดาเจ้าฟ้าไทยใหญ่จึงได้ท้วงถาม ซึ่งอองซานได้ตอบว่า "เรื่องสิทธิในการแยกตัวเป็นอิสระนั้น น่าจะนำไปเขียนไว้ในรัฐธรรมนูญของสหภาพจะมีผลดีมากกว่าเขียนไว้ในหนังสือสัญญาปางหลวง" ด้วย 

เหตุนี้สิทธิการแยกตัวของรัฐต่างๆ ที่ร่วมลงนามจึงไม่ปรากฏเป็นลายลักษณ์อักษรในสัญญาปางโหลง แต่มีปรากฏอยู่ในรัฐธรรมนูญฉบับแรกของประเทศพม่า โดยสาระสำคัญของสนธิสัญญาปางหลวงในเว็บไซต์ รักเมืองไตย มีดังต่อไปนี้

'ผู้ช่วยฯโจ๊ก' สั่งเชือด ผกก. กับพวกรวม 5 คน อ้างชื่อ หลอกเอาเงิน ว่าจะช่วยประกันตัว สูญเงินกว่า 6 ล้าน

'ผู้ช่วยฯโจ๊ก' สั่งเชือด ผกก. กับพวกรวม 5 คน อ้างชื่อ หลอกเอาเงิน ว่าจะช่วยประกันตัว สูญเงินกว่า 6 ล้าน

เมื่อวันที่ (19 ก.ค. 2565) ที่ สน.ปากคลองสาน พล.ต.ท.สุรเชษฐ์ หักพาล ผู้ช่วย ผบ.ตร. เปิดเผยว่า จากกรณีได้รับการร้องเรียนจาก น.ส.ธิรวรรณ์ เขียวงาม ผู้เสียหาย ซึ่งเป็นเพื่อนสนิทของ นาย Ritesh Patel ชาวอังกฤษ ซึ่งถูกควบคุมตัวอยู่ภายในสถานกักกันคนต่างด้าว กก.3 บก.สส.สตม. ว่ามีบุคคลแอบอ้างเป็นเจ้าหน้าที่ตำรวจ และมีความสนิทสนมใกล้ชิดกับ ตน สามารถช่วยเหลือทางคดีและสามารถประกันตัว นาย Ritesh Patel ได้ ทำให้ น.ส.ธิรวรรณ์ ผู้เสียหายหลงเชื่อจึงได้มอบเงินกว่า 6,000,000 บาท ให้กับกลุ่มผู้ต้องหา แต่ปรากฎว่าจนถึงปัจจุบัน นาย Ritesh Patel ก็ยังไม่ได้รับการประกันตัวหรือได้รับการปล่อยตัวแต่อย่างใด นั้น

 

ตนจึงได้สั่งการให้ พ.ต.อ.ต่อศักดิ์ ปานกลิ่นพุฒ ผกก.สน.ปากคลองสาน และเจ้าหน้าที่ชุดสืบสวน ตรวจสอบเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นอย่างเร่งด่วนเนื่องจากกลุ่มผู้ต้องหามีการแอบอ้างผู้บังคับบัญชาระดับสูงเพื่อให้มีการดำเนินคดีผิดไปจากระเบียบ ข้อบังคับ หรือกฎหมาย

จากการสืบสวนและทำให้ทราบพฤติการณ์ในคดี กล่าวคือ เมื่อวันที่ (27 มิ.ย. 65) เจ้าหน้าที่ตำรวจได้จับกุมตัว นาย Ritesh Patel ชาวอังกฤษ ซึ่งพบว่ามีหมายแดง (หมายจับตำรวจสากล) และถูกส่งตัวไปกักขังเพื่อรอดำเนินการส่งกลับไปยังประเทศอังกฤษ ไว้ที่สถานกักกันคนต่างด้าว กก.3 บก.สส.สตม. โดยในระหว่างที่ นาย Ritesh Patel ผู้ต้องกัก ได้อยู่ในการควบคุมของเจ้าหน้าที่ตรวจคนเข้าเมืองนั้น ได้มี น.ส.ธิรวรรณ์ ผู้เสียหาย เข้ามาติดต่อกับเจ้าหน้าที่ตำรวจเพื่อขอประกันตัวผู้ต้องกัก แต่ไม่ได้รับการอนุญาตให้ประกันตัว ต่อมา น.ส.ธิรวรรณ์ฯ จึงได้ขอความช่วยเหลือเรื่องประกันตัวไปยัง นายธนัญวัธน์ ธนันธัญภัทรน์ 

ซึ่ง นายธนัญวัธน์ฯ แจ้งว่า ได้มี นายวิทยา สงวนนามสกุล อ้างว่าสามารถช่วยประสานดำเนินการในประกันตัวผู้ต้องกักได้ เนื่องจากตนรู้จักกับ พ.ต.อ.ราเมศ ขอสงวนนามสกุล ผกก.(สอบสวน) กลุ่มงานสอบสวน ภ.จว.แม่ฮ่องสอน ซึ่งอ้างว่าเป็นชุดทำงานและเป็นเพื่อน นรต.รุ่นเดียวกับ ตน มั่นใจได้ว่าจะสามารถทำเรื่องประกันตัวหรือทำให้ได้รับการปล่อยตัวอย่างแน่นอน ทำให้ น.ส.ธิรวรรณ์ฯ และ นายธนัญวัธน์ฯ หลงเชื่อว่าสามารถดำเนินการได้จริง โดยนายวิทยาฯ ได้แจ้งว่าต้องมีค่าดำเนินการที่จะต้องชำระให้กับนายวิทยาฯ จำนวน 6 ล้านบาทให้เรียบร้อยก่อน

ต่อมาเมื่อวันที่ (29 มิ.ย. 65) เวลาประมาณ 15.00 น. ขณะที่ผู้ต้องกักอยู่ในความควบคุมที่สถานกักกันคนต่างด้าว (บางเขน) นายธนัญวัธน์ ฯ ได้เดินทางมากับ นายวิทยาฯ เข้าติดต่อร้อยเวรรักษาการณ์ประจำสถานกักกันคนต่างด้าว (บางเขน) เพื่อขอพบกับผู้ต้องกัก ซึ่งร้อยเวรรักษาการณ์แจ้งว่าไม่สามารถเข้าพบได้ แต่นายวิทยาฯ ได้พยายามให้พูดคุยโทรศัพท์กับบุคคลซึ่งอ้างตัวว่าคือ พ.ต.อ.ราเมศฯ เป็นชุดทำงานของ พล.ต.ท.สุรเชษฐ์ หักพาล จะขอติดต่อเข้าพบผู้ต้องกักคนดังกล่าว และยังอ้างว่าผู้ต้องกักดังกล่าวเคยทำงานเป็นสายให้กับตนเอง และพยายามจะขอให้เข้าพบผู้ต้องกัก แต่ร้อยเวรรักษาการณ์ก็ได้ปฏิเสธเนื่องจากขัดต่อระเบียบปฏิบัติและให้ติดต่อกับผู้บังคับบัญชาโดยตรง ต่อมา นายวิทยาฯ ได้แจ้งให้นายธนัญวัธน์ฯ และ น.ส.ธิรวรรณ์ฯ ไปทำการโอนเงินตามบัญชีธนาคารที่นายวิทยาฯ แจ้งไว้ โดยให้โอนให้ครบตามจำนวน ยอดรวมเป็นเงิน 6,000,000 บาท 

เมื่อโอนเงินครบแล้ว นายธนัญวัธน์ฯ ได้พยายามติดต่อเรื่องการขอประกันตัวกับ นายวิทยาฯ แต่ก็นายวิทยาฯ ก็บ่ายเบี่ยงมาโดยตลอดและไม่สามารถติดต่อได้ในภายหลัง น.ส.ธิรวรรณ์ฯ จึงเชื่อว่าถูกหลอกลวงเอาเงินไปโดยทุจริต ทำให้ได้รับความเสียหาย จึงได้แจ้งความร้องทุกข์ต่อพนักงานสอบสวน สน.ปากคลองสาน เพื่อดำเนินการตามกฎหมายต่อไป

จากการสืบสวน เจ้าหน้าที่ตำรวจพบว่า นายวิทยา ได้มีการติดต่อกับ พ.ต.อ.ราเมศ ในห้วงเวลาเกิดเหตุจริง และมีพยานบุคคลยืนยันว่าบุคคลทั้งสองได้มีการกล่าวอ้างถึง ตนซึ่งเป็นนายตำรวจชั้นผู้ใหญ่ ในการติดต่อขอประกันตัวหรือขอเข้าพบผู้ต้องกักเพื่อสร้างความน่าเชื่อถือ และได้ทำการหลอกลวงผู้เสียหายว่าสามารถจะช่วยเหลือได้จริง โดยให้โอนเงินเข้าบัญชีธนาคารที่กำหนดไว้ รวมความเสียหาย 6,000,000 บาท ซึ่งจากการตรวจสอบเส้นทางการเงินพบว่า ได้มีการโอนเงินต่อไปยังบัญชีธนาคารของ พ.ต.อ.ราเมศ และบัญชีอื่นๆ ของบุคคลในครอบครัวของ พ.ต.อ.ราเมศ รวมทั้งบัญชีธนาคารของนายวิทยา  จึงเชื่อได้ว่ามีส่วนเกี่ยวข้องในการกระทำความผิดจริงโดยแบ่งหน้าที่กันทำ

ตำรวจมอบรางวัลอาสาตาจราจร

ตำรวจมอบรางวัลอาสาตาจราจร ส่งคลิปกล้องหน้ารถ รวม 100,000 บาท
พร้อมแจ้งเริ่มใช้มาตรการตัดคะแนนการขับรถ มกราคม 2566 เพื่อสร้างวินัยการขับขี่  

 

ตำรวจ จับมือ วิริยะประกันภัย มูลนิธิเมาไม่ขับ จส.100 และ สวพ.91 มอบเงินรางวัลคลิปกล้องหน้ารถ รอบเดือน พ.ค. และ มิ.ย.65  รวม 100,000 บาท  เพื่อช่วยสร้างอาสาตาจราจรบนท้องถนน

วันนี้ (19 ก.ค. 65) เวลา 10.30 น. ณ ห้องศรียานนท์ โซนซี สำนักงานตำรวจแห่งชาติ พล.ต.อ.ดำรงศักดิ์  กิตติประภัสร์  รอง ผบ.ตร. ในฐานะผู้อำนวยการศูนย์บริหารงานจราจร (ศจร.ตร.) ,พล.ต.อ.ปรีชา เจริญสหายานนท์ ที่ปรึกษาพิเศษ ตร. , พล.ต.ต.จิรสันต์ แก้วแสงเอก รอง ผบช.น. , พล.ต.ต.นิธิธร จินตกานนท์ รอง ผบช.น., พล.ต.ต.เอกราช  ลิ้มสังกาศ ผบก.ทล. พร้อมด้วย นพ.แท้จริง ศิริพานิช เลขาธิการมูลนิธิเมาไม่ขับ, คุณกานดา วัฒนายิ่งสมสุข ที่ปรึกษาฝ่ายการตลาด บริษัท วิริยะประกันภัย จำกัด (มหาชน) ผู้แทนสถานีวิทยุพิทักษ์สันติราษฎร์ สวพ.91 และ สถานีวิทยุ จส.100  ร่วมแถลงผลการมอบรางวัลและเกียรติบัตร โครงการอาสาตาจราจร ประจำเดือน พ.ค. และ มิ.ย. 65 ให้แก่เจ้าของคลิปวิดีโอที่ได้รับคัดเลือก รวมจำนวน 20 คลิป  เงินรางวัลรวม 100,000 บาท  

ประชาชนสามารถร่วมเป็นอาสาตาจราจร โดยส่งคลิปกล้องหน้ารถ หรือคลิปจากโทรศัพท์มือถือ ที่บันทึกอุบัติเหตุ หรือ การกระทำความผิดจราจร บนท้องถนนต่าง ๆ ส่งมายังช่องทางมูลนิธิเมาไม่ขับ , ศูนย์โซเชียลมีเดีย ศปก.ตร.  ,จส.100 , สวพ.91 , Facebook เพจตำรวจทางหลวง และ Facebook เพจกองบัญชาการตำรวจนครบาล โดยคลิปที่ได้รางวัลที่ 1 เงินรางวัลจำนวน 20,000 บาท  รางวัลที่ 2 จำนวน 10,000 บาท  และรางวัลที่ 3 จำนวน 6,000 บาท ที่เหลือเป็นรางวัลชมเชย รวมเป็นเงิน 50,000 บาท  ซึ่งได้รับการสนับสนุนจากวิริยะประกันภัยฯ  

พล.ต.อ.ดำรงศักดิ์ฯ  กล่าวว่า โครงการอาสาตาจราจร เป็นการขับเคลื่อนตามนโยบายของ พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี เพื่อรณรงค์สร้างจิตสำนึกในการขับขี่ปลอดภัยและลดอุบัติเหตุทางถนน สร้างการมีส่วนร่วมของประชาชนในการแจ้งเบาะแสการทำผิดกฎจราจร ให้สังคมเป็นเกราะป้องกัน และสร้างสังคมที่มีความรับผิดชอบ สำหรับคลิปที่ได้รางวัลที่ 1 ของเดือน พ.ค.65 คือ คลิปรถจักรยานยนต์ขับขี่ชนคนข้ามทางม้าลาย ขณะที่สัญญาณไฟเป็นสีแดง เหตุเกิดเมื่อวันที่ (17 พ.ค. 65) พื้นที่ สน.บางขุนเทียน ส่วนคลิปที่ได้รางวัลที่ 1 ของเดือน มิ.ย.65 คือ คลิปอุบัติเหตุรถกระบะขับข้ามเลนชนประสานงา ถ.โอ่งไหม อ.อู่ทอง จว.กาญจนบุรี พื้นที่ สภ.อู่ทอง ซึ่งทั้ง 2 คดี พงส. ได้รับคำร้องทุกข์ และอยู่ระหว่างการสอบสวนดำเนินคดีกับผู้ทำผิด 

พล.ต.อ.ดำรงศักดิ์ฯ ได้ให้ข้อมูลเพิ่มเติมว่า เพื่อเป็นการป้องกันและลดอุบัติเหตุ ตร. ได้แก้ไข พ.ร.บ.จราจร ทางบก (ฉบับที่ 13) พ.ศ. 2565 ซึ่งมีหลักการสำคัญ เช่น 
1) การเพิ่มโทษของผู้ที่กระทำผิดซ้ำข้อหาเมาแล้วขับภายใน 2 ปีนับแต่วันกระทำผิดครั้งแรก ซึ่งมีอัตราโทษจำคุกไม่เกิน 2 ปี และปรับตั้งแต่ 50,000 – 100,000 บาท     
2) กำหนดอำนาจในการตรวจปริมาณแอลกอฮอล์ในเลือดและสารเสพติดในร่างกายของผู้ขับขี่ที่หมดสติซึ่งไม่อาจให้ความยินยอมได้  
3) เพิ่มอัตราโทษปรับขั้นสูงในกฎหมายจราจร จากเดิมโทษปรับสูงสุดไม่เกิน 1,000 บาท แก้ไขเพิ่มเป็นปรับสูงสุดไม่เกิน 4,000 บาท  
และ 4) การกำหนดให้ใช้ที่นั่งนิรภัยหรือมีวิธีป้องกันอันตรายสำหรับเด็กอายุไม่เกิน  6 ปี ขณะโดยสารรถยนต์ ซึ่ง ตร. อยู่ระหว่างจัดทำประกาศรูปแบบที่นั่งนิรภัย รวมถึงเปิดช่องทางผ่อนคลายสำหรับประชาชนที่ไม่สามารถจัดหาที่นั่งนิรภัยเด็กไว้โดย โดยให้ปฏิบัติตามวิธีการป้องกันอันตราย ซึ่งจะกำหนดรูปแบบที่ประชาชนสามารถปฏิบัติได้ง่าย ไม่เพิ่มภาระค่าใช้จ่าย 


© Copyright 2021, All rights reserved. THE STATES TIMES
Take Me Top