Thursday, 2 May 2024
โรงเรียน

ผู้ตรวจการแผ่นดิน ชงรัฐเร่งแก้วิกฤตโรงเรียนเอกชน ก่อนปิดสังเวยโควิด100%

ผู้ตรวจการแผ่นดินระดมสรรพกำลังหามาตรการเยียวยาบรรเทาทุกข์โรงเรียนเอกชนระยะสั้น - ยาว ผลพวงวิกฤตโควิดหนัก หวั่นไม่นานอาจปิดฉากยุบตัวจ่อกระทบครูและบุคลากรทางการศึกษาแสนกว่าชีวิต นักเรียนร่วมสองล้านคน หวังมาตรการระยะสั้นวอนรัฐช่วยพยุงปรับลดค่าใช้จ่าย รวมถึงค่าไฟค่าน้ำ และเงินทุนกู้หมุนเวียน ส่วนระยะยาวขอรับเงินอุดหนุนค่าธรรมเนียมการศึกษารายบุคคล ลดหย่อนภาษีให้กับผู้บริจาคจำนวนสองเท่า อุดหนุนค่าอาหารกลางวันเด็ก 100 เปอร์เซ็นต์ ตลอดจนสามารถเข้าถึงแหล่งเงินทุนและดอกเบี้ยต่ำ พร้อมเร่งชงทางออกเตรียมเสนอนายกรัฐมนตรี

ที่สำนักผู้ตรวจราชการแผ่นดิน ศูนย์ราชการแจ้งวัฒนะกรุงเทพมหานคร นายสมศักดิ์ สุวรรณสุจริต ประธานผู้ตรวจการแผ่นดิน เผยว่าจากสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคโควิด 19 ส่งผลกระทบหนักหน่วงต่อสภาพคล่องของโรงเรียนเอกชนทั่วประเทศ จำนวน 3,563 แห่ง ทำให้โรงเรียนเอกชนบางแห่งทั้งต่างจังหวัดและกรุงเทพจำเป็นต้องปิดกิจการเพราะไม่สามารถแบกรับค่าใช้จ่ายต่อไปได้เนื่องจากนักเรียนสมัครเรียนน้อยลง ผู้ปกครองค้างชำระค่าธรรมเนียมจำนวนมาก สร้างผลกระทบต่อโรงเรียนเอกชนอย่างมหาศาล ช่วงเดือนเมษายน 2564 ถึงปัจจุบัน โรงเรียนเอกชนไม่สามารถเปิดเรียนแบบ ONSITE ได้ การเปิดการเรียนการสอนแบบ ONLINE ทำให้ผู้ปกครองจำนวนมากเรียกร้องขอเงินค่าธรรมเนียมการศึกษาคืน อีกทั้งผู้ปกครองบางส่วนค้างจ่ายค่าธรรมเนียมการศึกษาให้กับโรงเรียนเอกชนกว่า 2,500 แห่ง ทำให้โรงเรียนขาดสภาพคล่องไม่มีเงินจ่ายเงินเดือนครูถึงแม้ว่าจะพยายามยื่นกู้จากสถาบันการเงินแต่ด้วยสภาวะเศรษฐกิจปัจจุบันสถาบันการเงินจึงไม่อนุมัติเงินกู้ให้กับโรงเรียนเอกชนบางแห่ง ส่วนบางแห่งได้รับเงินกู้แต่ถูกคิดดอกเบี้ยในอัตราที่สูงเกินไป ปัญหาดังกล่าวได้มีการเลิกจ้างครูและบุคลากรทางการศึกษาแล้ว จำนวน 12,253 คน หากปัญหานี้ปล่อยวางจะกระทบถึงโอกาสทางการศึกษาของเด็กไทยและผู้ปกครองจำนวนมากที่พึ่งโรงเรียนเอกชนเป็นสถานศึกษาทางเลือก โดยเฉพาะผู้ประกอบการโรงเรียนเอกชนประเภทสามัญที่ไม่ได้รับเงินอุดหนุนจากรัฐบาล

นายสมศักดิ์ กล่าวต่อว่า นอกจากปัญหาบางส่วนที่กล่าวไปยังมีเรื่องอื่น ๆ ตามมาจำนวนมาก ในการนี้จึงร่วมกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง อาทิ กระทรวงมหาดไทย กรมส่งเสริมการปกครองท้องถิ่น สำนักงานเศรษฐกิจการคลัง กรมสรรพากร และสำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมการศึกษาเอกชน หารือแนวทางการแก้ไขปัญหาความเดือดร้อนของโรงเรียนเอกชนให้สามารถบริหารจัดการเพื่อความอยู่รอดและยั่งยืนภายหลังสถานการณ์แพร่ระบาดของโรคโควิด 19 ได้ 

โดยผู้ตรวจการแผ่นดินร่วมกับหน่วยงานเกี่ยวข้องได้เสนอแนะการแก้ไขปัญหาระยะสั้นและระยะยาว ดังนี้ การแก้ไขปัญหาระยะสั้น โดยให้สำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมการศึกษาเอกชน ดำเนินการประสานกับหน่วยงานต่าง ๆ อาทิ การขอลดค่าน้ำ-ค่าไฟร้อยละ 50 ให้กับโรงเรียนเอกชนในระบบและนอกระบบเพื่อบรรเทาความเดือดร้อนที่เกิดขึ้นชั่วคราว การขอความร่วมมือจากสถาบันการเงินในการกำหนดหลักเกณฑ์หรือเงื่อนไขการกู้จากสถาบันการเงินให้โรงเรียนเอกชนสามารถเข้าถึงแหล่งเงินทุนและดอกเบี้ยต่ำ เพื่อแก้ปัญหาขาดสภาพคล่องในการดำเนินกิจการ และขอให้รัฐเร่งรัดจัดสรรงบประมาณชดเชยรายได้ครูและบุคลากรทางการศึกษาของโรงเรียนเอกชน 5,000 บาท ต่อคนต่อเดือน ในระยะเวลา 3 เดือน (เมษายน – มิถุนายน 2563)

การแก้ไขปัญหาระยะยาว มีข้อเสนอแนะ ดังนี้ เงินอุดหนุนค่าธรรมเนียมการศึกษารายบุคคลของนักเรียนโรงเรียนเอกชน ให้ภาครัฐอุดหนุน 100 เปอร์เซ็นต์ เป็นเวลา 2 ปี เมื่อสถานการณ์การแพร่ระบาดโรคโควิด 19 กลับเข้าสู่ภาวะปกติ โรงเรียนสามารถเปิดเรียนได้ตามปกติแล้วจึงปรับลดเงินช่วยเหลือเป็น 70 เปอร์เซ็นต์ ตามเดิม ให้สำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมการศึกษาเอกชน ประสานกรมสรรพากร จัดประชุมเพื่อศึกษาหารือรายละเอียด เงื่อนไข และแนวทางปฏิบัติ กรณี การลดหย่อนภาษีจำนวนสองเท่าสำหรับผู้บริจาคเงินเพื่อการศึกษาให้กับโรงเรียนเอกชน รวมถึงประชาสัมพันธ์ให้หน่วยรับสิทธิได้รับทราบแนวทางปฏิบัติที่ชัดเจน ตลอดจนแจ้งผู้บริจาคให้ทราบถึงสิทธิ และการลดหย่อนภาษีสองเท่าของจำนวนการบริจาคตามพระราชกฤษฎีกาออกตามความในประมวลรัษฎากรว่าด้วยการยกเว้นรัษฎากร (ฉบับที่ 713) พ.ศ. 2563 ทั้งนี้ขอให้กรมสรรพากรพิจารณาความสำคัญและขยายโครงการต่อไปในปี พ.ศ. 2565

การส่งเสริมสิทธิและสวัสดิการครูโรงเรียนเอกชน ให้รัฐพิจารณาหาแนวทางเพื่อให้ครูโรงเรียนเอกชนที่ใช้สิทธิสวัสดิการกองทุนสงเคราะห์สามารถเบิกจ่ายค่ารักษาพยาบาลในส่วนที่เกินสิทธิได้ โดยสามารถใช้สิทธิบัตรทองเพิ่มเติม เพื่อแบ่งเบาภาระค่าใช้จ่าย รวมถึงควรมีการศึกษาและปรับแก้ไขกฎหมายเพื่อให้ครูโรงเรียนเอกชนสามารถพิจารณาทางเลือกว่าจะใช้สิทธิบัตรทอง หรือประกันสังคม และให้สำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมการศึกษาเอกชนเร่งรัดการศึกษาวิจัยร่วมกับสภาการศึกษาและวางแผนเกี่ยวกับการเพิ่มเงินเดือนครูโรงเรียนเอกชนในอัตราที่เหมาะสม เพื่อที่ผู้ตรวจการแผ่นดินจะได้นำเสนอหลักการต่อรัฐบาลให้พิจารณาเมื่อสถานการณ์ปกติและฐานะทางการเงินการคลังของรัฐบาลดีขึ้นแล้ว

'โรงเรียนสิริรัตนาธร' ออกหนังสือแจ้งผู้ปกครอง อย่าตัดสิน-ทำลายความมั่นใจเด็กจากคะแนนสอบ

โรงเรียนสิริรัตนาธร เขตบางนา กทม. ได้มีการออกหนังสือถึงผู้ปกครอง แจ้งเรื่องการสอบปลายภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2565 สำหรับนักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1-6 

ซึ่งในหนังสือ กล่าวถึงการให้ผู้ปกครองมีทัศนคติกับคะแนนสอบในอีกแง่มุมหนึ่ง ซึ่งมีการระบุข้อความบางช่วงบางตอนว่า 

“ … โรงเรียนทราบว่าการสอบในครั้งนี้ อาจจะทำให้ท่านวิตกกังวลว่า นักเรียนของท่านจะทำข้อสอบได้หรือไม่ แต่โปรดเข้าใจไว้ว่าในกลุ่มนักเรียนที่นั่งสอบอยู่นี้ มีนักธุรกิจที่ไม่สนใจเรื่องประวัติศาสตร์หรือการประพันธ์ภาษาอังกฤษ มีนักคอมพิวเตอร์ที่ไม่สนใจเรื่องคะแนนสอบวิชาเคมี มีศิลปินที่ไม่มีความจำเป็นที่จะรู้เรื่องคณิตศาสตร์ มีนักกีฬาที่สนใจความสามารถทางร่างกายมากกว่าวิชาฟิสิกส์ มีนักการเมืองที่สนใจเรื่องข่าวสารบ้านเมืองมากกว่าวิชาศิลปะ

ถ้านักเรียนในปกครองของท่านทำคะแนนได้สูงสุดนั้น หมายถึงเป็นหนึ่งหรือยืนหนึ่ง แต่ถ้าลูกทำไม่ได้โปรดอย่าทำลายความเชื่อมั่นและความนับถือของพวกเขา บอกลูกว่ามันดีมากแล้ว มันแค่การสอบ มันยังมีอะไรอีกมากในชีวิต บอกลูกท่านว่าไม่ว่าคะแนนสอบออกมาแบบไหน คุณก็รักเขาและจะไม่ตัดสินเขา

'ครูธัญ' ชื่นชมทัศนคติผู้บริหาร รร.สิริรัตนาธร ชี้!! การศึกษาไทยต้องโอบรับเด็กทุกกลุ่ม

ธัญวัจน์ กมลวงศ์วัฒน์ ส.ส.บัญชีรายชื่อพรรคก้าวไกล กล่าวถึงประเด็นที่ถูกพูดถึงในสังคมออนไลน์ที่มีผู้บริหารโรงเรียนสิริรัตนาธร ส่งหนังสื่อถึงผู้ปกครองนักเรียนพร้อมระบุในหนังสือว่า

“ถ้านักเรียนในความปกครองของท่านทำคะแนนได้สูงสุด นั่นหมายถึงเป็นหนึ่ง หรือยืนหนึ่ง แต่ถ้าลูกทำไม่ได้ ได้โปรดอย่าทำลายความเชื่อมั่นและความนับถือตัวเองของลูกไป บอกลูกว่ามันดีมากแล้ว มันแค่การสอบ มันยังมีอะไรอีกมากมายในชีวิต บอกลูกท่านว่าไม่ว่าคะแนนสอบออกมาแบบไหน คุณก็รักเขาและจะไม่ตัดสินเขา” 

ก่อนอื่นต้องขอชื่นชมวิสัยทัศน์ของผู้บริหารของโรงเรียนที่มองเห็นนักเรียนทุกคนไม่ว่าเขาจะเป็นเด็กที่คะแนนดีหรือไม่ ซึ่งการศึกษาไทยควรมีค่านิยมแบบนี้ โรงเรียนควรเป็นสังคมให้พวกเขาได้เติบโตและใช้ชีวิต ยอมรับและสามารถเปิดเผยตัวตนของตนเองได้

ศธ.จัดทัพการเรียนการสอนใหม่ให้เหมาะสมกับสถานการณ์ รองรับเปิดเทอมเพื่อดึงเด็กกลับสู่ระบบการศึกษาให้ได้มากที่สุด

กระทรวงศึกษาธิการ (ศธ.) เดินหน้าจัดกระบวนการเรียนการสอนใหม่ รองรับเปิดเทอม ให้เหมาะสมกับสถานการณ์ พร้อมดึงเด็กนักเรียนกลับเข้าสู่ระบบการศึกษาให้ได้มากที่สุด

(29 ต.ค. 65) นางสาวตรีนุช เทียนทอง รมว.ศึกษาธิการ กล่าวในรายการคุยเรื่องบ้าน คุยเรื่องเมือง คุยทุกเรื่องกับรัฐมนตรี ผ่านสถานีวิทยุกระจายเสียงแห่งประเทศไทย ถึงสถานการณ์โควิด-19 ว่า...

ตลอดระยะเวลากว่า 2 ปี ส่งผลกระทบให้พฤติกรรมการใช้ชีวิตเปลี่ยนไป โดยเฉพาะระบบการศึกษา เนื่องจากต้องมีการปิดการเรียนการสอน รัฐบาลจึงหาแนวทางโดยจัดวัคซีนมาฉีดให้กับครูเป็นกลุ่มแรก เพื่อให้ทันต่อการเปิดภาคเรียน จากนั้นทยอยนำวัคซีนมาฉีดให้กับเด็ก จนปีการศึกษาที่ผ่านมาสามารถเปิดเรียนได้ถึง 100% 

'ตรีนุช' ตั้งเป้าสิ้นปีการศึกษา 2565 เด็กออกกลางคันเป็นศูนย์ พร้อมเน้นให้ครูเข้าใจนักเรียนเป็นรายบุคคล

(1 พ.ย. 65) ที่สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน (สพฐ.) นางสาวตรีนุช เทียนทอง รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ (รมว.ศธ.) กล่าวตอนหนึ่งในการมอบนโยบายเปิดภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2565 ให้แก่ผู้อำนวยการสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา และผู้อำนวยการโรงเรียนทั่วประเทศ ผ่าน OBEC Channel ว่า ขอบคุณทุกคนที่ได้นำนโยบายของกระทรวงไปปฏิบัติให้มีผลสำเร็จมีความคืบหน้าตามลำดับ ซึ่งในโอกาสเปิดภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2565 ขอเน้นย้ำการขับเคลื่อนนโยบายการศึกษาที่สำคัญในการดูแลพัฒนาการของนักเรียนอย่างเป็นองค์รวม ได้แก่ ความปลอดภัยในสถานศึกษา ทั้งด้านการเดินทางไป-กลับของนักเรียน การจัดสภาพแวดล้อมสถานศึกษาให้ปลอดภัย การให้บริการดูแลด้านโภชนาการ และสุขภาพ การป้องกันภัยธรรมชาติ และที่สำคัญ คือ การป้องกันภัยจากยาเสพติด และภัยจากอาวุธปืน ซึ่งต้องไม่เกิดขึ้นในสถานศึกษาอย่างเด็ดขาด และต้องปฏิบัติอย่างเข้มข้น ตามหลัก 3 ป. ได้แก่ ป้องกัน, ปลูกฝัง และ ปราบปราม ภายใต้โครงการ MOE Safety Center เพื่อสร้างความปลอดภัยให้นักศึกษา ครู และบุคลากรทุกคน

“ในการเปิดภาคเรียนที่ 2/2565 นี้ กระทรวงศึกษาธิการ ได้มุ่งเน้นให้ครูกระชับความสัมพันธ์กับนักเรียนและผู้ปกครองมากขึ้น เพื่อทำให้เข้าใจนักเรียนเป็นรายบุคคล ทั้งนิสัยและชีวิตความเป็นอยู่ ได้พูดคุยกับผู้ปกครองโดยตรง เพื่อร่วมกันหาแนวทางช่วยเหลือได้อย่างถูกต้องเหมาะสม อีกทั้งยังเป็นการสร้างเครือข่ายผู้ปกครองและชุมชนให้ช่วยกันเฝ้าระวัง และมีส่วนร่วมในการแจ้งเหตุความไม่ปลอดภัย ตลอดจนสร้างความเชื่อมั่นให้ผู้ปกครองไว้วางใจในการนำผู้เรียนมาอยู่ภายใต้การดูแลของเราผ่านการเยี่ยมบ้านนักเรียน” นางสาวตรีนุช กล่าว

รมว.ศธ.กล่าวต่อไปว่า เราจะสร้างความเข้มแข็งให้แก่นักเรียน ผ่านระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียน ‘Screening Learning Loss’ ครอบคลุม 4 มิติ ทั้งร่างกาย จิตใจ อารมณ์ และสังคม ดำเนินการแก้ไขปัญหาการเรียนรู้ที่ถดถอย ด้วยการนำข้อมูลนักเรียนมาใช้ในการออกแบบการเรียนการสอนที่เหมาะสม และป้องกันเด็กนักเรียนหลุดออกจากระบบการศึกษา ซึ่งโครงการพาน้องกลับมาเรียน ยังเป็นนโยบายสำคัญที่เดินหน้าต่อเนื่อง โดยติดตามเด็กกลับเข้าสู่ระบบการศึกษาครบ 100% และ ทำให้การออกกลางคันเป็นศูนย์ (zero drop out) ในปีการศึกษา 2565 นี้ นอกจากนี้ยังมีแพลตฟอร์ม School Mental Health ระบบดูแลนักเรียนและครูในสถานศึกษา ร่วมกับกระทรวงสาธารณสุข (สธ.) เพื่อตรวจสภาพจิตใจของเด็กและครู ซึ่งสถานศึกษาสามารถประสานกับหน่วยงานสาธารณสุขในพื้นที่ เพื่อขอรับคำปรึกษาและความช่วยเหลือเกี่ยวกับสุขภาพจิตได้

รมว.ศธ.กล่าวอีกว่า การยกระดับคุณภาพทางการศึกษา และการแก้ไขปัญหาการเรียนรู้ที่ถดถอยนั้น ให้โรงเรียนจัดกิจกรรมสอนซ่อมเสริม ชดเชย หรือ กิจกรรมเสริมทักษะเพิ่มเติมตามความถนัด ความสนใจ และเหมาะสมกับวัยของผู้เรียน โดยนำการเรียนการสอนรูปแบบ Active Learning มาใช้ช่วยให้ผู้เรียน เรียนอย่างมีความสุข สนุก และมีทักษะการคิด ซึ่งจะทำให้เรียนรู้ได้เร็วและนำไปใช้ในชีวิตจริงได้ และขอให้เพิ่มความสำคัญในวิชาประวัติศาสตร์และหน้าที่พลเมือง เพื่อสร้างสำนึกของความเป็นไทย รักในการเป็นชาติของเรา โดยจัดการเรียนรู้ตามความพร้อม และเหมาะสมในแต่ละบริบทพื้นที่

นางสาวตรีนุช กล่าวด้วยว่า สำหรับนักเรียนที่จะจบชั้น ม. 3 สถานศึกษาควรสำรวจความต้องการในการศึกษาต่อสายอาชีพ เพื่อเตรียมความพร้อม ให้คำแนะนำและส่งต่อเข้าสู่โครงการ ‘อาชีวะ อยู่ประจำ เรียนฟรี มีอาชีพ’ ในปีการศึกษา 2566 โดยเฉพาะกลุ่มเด็กที่ครอบครัวประสบปัญหาด้านค่าใช้จ่าย สำหรับหลักสูตรทวิศึกษา ซึ่งเป็นการเรียนร่วมหลักสูตรอาชีวศึกษาและมัธยมศึกษาตอนปลาย เมื่อสำเร็จการศึกษาผู้เรียนจะได้รับวุฒิการศึกษาทั้งการศึกษาขั้นพื้นฐานระดับมัธยมศึกษาตอนปลาย และประกาศนียบัตรวิชาชีพ (ปวช.) นั้น ตนได้มอบหมายให้ สพฐ. ร่วมกับสำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษา (สอศ.) จัดทำแผนระดับจังหวัดว่า ควรจัดทวิศึกษารายวิชาใด ในโรงเรียนไหน โดยให้เหมาะสมกับบริบทของพื้นที่ ทั้งแก้ไขปัญหา และข้อจำกัดจากการดำเนินงานในอดีต โดยเป้าหมายระยะสั้น เน้นการเรียนการสอนทวิศึกษาในโรงเรียนราชประชานุเคราะห์, โรงเรียนตามโครงการพระราชดำริ และโรงเรียนที่มีความพร้อม

‘เพื่อไทย’ จี้ ศธ. สอบปมครูทำร้ายนร. จ.หนองคาย ชี้!! โรงเรียนควรเป็นพื้นที่ปลอดภัยสำหรับนักเรียน

(15 พ.ย. 65) นายนพดล ปัทมะ รองประธานยุทธศาสตร์พรรคเพื่อไทย (พท.) กล่าวถึงการเผยแพร่คลิปครูลงโทษนักเรียนด้วยความรุนแรงโรงเรียนแห่งหนึ่งที่ จ.หนองคายเมื่อวันที่ 14 พ.ย.ที่ผ่านมาว่า ถ้าเหตุการณ์ในคลิปเกิดขึ้นจริง ฐานะของคนเป็นพ่อซึ่งมีลูกในวัยเรียนรู้สึกสลดใจเป็นอย่างมาก สถาบันการศึกษาควรเป็นพื้นที่ปลอดภัยให้กับนักเรียน ครูต้องไม่ใช้ความรุนแรงภายในโรงเรียนอย่างเด็ดขาด ต้องดูแลนักเรียนให้เหมือนกับดูแลบุตรหลานของตัวเอง เหตุการณ์ที่เกิดขึ้นเชื่อว่าจะส่งผลกระทบต่อการเรียนรู้ของเด็ก อาจจะกลายเป็นความทรงจำอันเลวร้ายที่จะติดตัวเด็กไปตลอดชีวิต เราต้องไม่ให้การกระทำของบางคนกระทบครูท่านอื่นที่เป็นครูดีรักลูกศิษย์ กระทรวงศึกษาธิการในฐานะที่เป็นผู้รับผิดชอบจะต้องตื่นตัว เอาจริงเอาจังกับปัญหาความรุนแรงและการละเมิดสิทธิผู้เรียนในสถาบันการศึกษาเสียที  

นายนพดล กล่าวต่อว่า กระทรวงศึกษาธิการต้องเร่งดำเนินการสอบสวนรายละเอียดในคลิปดังกล่าว ให้เกิดความกระจ่างและเป็นธรรมกับทั้งสองฝ่าย ถ้าจริงควรหาทางเยียวยานักเรียน รัฐบาลที่นำโดยพล.อ.ประยุทธ์ต้องกล้าประกาศว่าจะไม่มีการใช้ความรุนแรงในสถาบันการศึกษาทุกรูปแบบ ตนเคยเรียกร้องให้กระทรวงศึกษาธิการสร้างความชัดเจนในมาตรการการขนส่งนักเรียน จากกรณีลืมเด็กไว้ในรถตู้ ขณะนี้ความคืบหน้าเป็นอย่างไร ทุกฝ่ายที่เกี่ยวข้องต้องแจ้งความคืบหน้าในการตรวจสอบเรื่องดังกล่าว เพื่อมีมาตรการเชิงระบบป้องกันไม่ให้พ่อแม่คนใดสูญเสียอีก

เปิดรายชื่อตัวตึง ชั้น ม.ต้น โรงเรียนที่สอบเข้า ‘มหิดลวิทยานุสรณ์’ ได้มากที่สุด

อันดับที่ 1 รร.สวนกุหลาบ สอบเข้าได้ 29 คน
อันดับที่ 2 รร.สาธิตมหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ ปทุมวัน สอบเข้าได้ 24 คน
อันดับที่ 3 รร.บดินทรเดชา (สิงห์ สิงหเสนี) สอบเข้าได้ 16 คน
อันดับที่ 4 รร.แสงทองวิทยา สอบเข้าได้  11 คน
อันดับที่ 5 รร.ภูเก็ตวิทยาลัย สอบเข้าได้  10 คน
อันดับที่ 6 รร.อุดรวิทยานุกูล สอบเข้าได้  7 คน

 

‘ตรีนุช’ กำชับจัดสอบรับนักเรียน ต้องโปร่งใส-ยุติธรรม ย้ำ! ไม่ต้องกังวล มีที่เพียงพอ สำหรับนักเรียนทุกคน

‘ตรีนุช’ กำชับโรงเรียนแข่งขันสูงจัดสอบโปร่งใส ยุติธรรม ไม่มี ‘แป๊ะเจี๊ยะ’ แลกที่นั่งเรียน ฝากผู้ปกครอง-นักเรียนหากสอบไม่ติดโรงเรียนดัง มั่นใจลูกมีที่เรียนแน่นอน

(7 มี.ค.66) น.ส.ตรีนุช เทียนทอง รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ (รมว.ศธ.) เปิดเผยว่า ขณะนี้ใกล้ถึงช่วงเวลาการรับนักเรียนเข้าเรียน ปีการศึกษา 2566 แล้ว โดยรับสมัครเข้าเรียนชั้น ม.1 วันที่ 11-12 มีนาคม 2566  สอบ/คัดเลือก 25 มีนาคม  2566 ประกาศผลและรายงานตัว 29 มีนาคม 2566 มอบตัว 1 เมษายน 2566  ส่วนชั้น ม.4 ที่เปิดสอน ม.ต้น และ ม.ปลาย นักเรียนที่จบชั้น ม.3 โรงเรียนเดิม สมัครเข้าเรียนตามที่โรงเรียนกำหนด ประกาศผลและรายงานตัวตามที่โรงเรียนเดิมกำหนด  มอบตัว 2 เม.ย. สมัครสอบคัดเลือก (นักเรียนที่จบ ม.3)จากโรงเรียนอื่น และโรงเรียนเดิม วันที่ 11-15 มีนาคม สอบ/คัดเลือก 26 มีนาคม ประกาศผลและรายงานตัว 30 มีนาคม มอบตัว 2 เมษายน และโรงเรียนที่เปิดสอนเฉพาะ ม.ปลาย (ยกเว้นโรงเรียนเตรียมอุดมศึกษา) รับสมัคร 11-15 มีนาคม สอบ/คัดเลือก 26 มีนาคม  ประกาศผลและรายงานตัว 30 มีนาคม มอบตัว 2 เมษายน  2566 

“ตนได้กำชับ สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน (สพฐ.) ให้ดูแลการรับนักเรียน ปีการศึกษา 2566 ให้เป็นไปด้วยความเรียบร้อย โดยเฉพาะกลุ่มโรงเรียนแข่งขันสูงที่มีกว่า 200 แห่งทั่วประเทศ ให้โรงเรียนจัดขบวนการจัดสอบด้วยความโปร่งใส ยุติธรรม ไม่มีการใช้เงินแลกที่นั่งเรียน  และหากมีการร้องเรียนมา ศธ.ก็จะดำเนินการตรวจสอบ หากพบใครทำผิดก็จะดำเนินการตามระเบียบขั้นสูงสูด” น.ส.ตรีนุช กล่าว

‘ชัยวุฒิ’ โพสต์ถึงลูก อยากให้เป็นเด็กดี และอยู่ร่วมกับทุกคนในสังคม ได้อย่างมีความสุข

นายชัยวุฒิ ธนาคมานุสรณ์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม ได้โพสต์ข้อความลงในเฟซบุ๊กส่วนตัว ถึงความรู้สึกที่ได้เห็นลูกสาวฝาแฝดของตน ในชุดเครื่องแบบนักเรียนและมีรอยยิ้มน่ารักสดใสตามวัย โดยระบุว่า ...

มีความสุขทุกครั้งที่ได้เห็นลูกใส่ชุดนี้ อยากให้หนูเป็นเด็กดี มีความรู้และสามารถอยู่ร่วมกับทุกคนในสังคมได้อย่างมีความสุข

ปล.ปีนรั้วเข้าโรงเรียนผมไม่ห่วงครับ ผมห่วงเด็กปีนรั้วออกครับ

หลังจากที่ได้มีคนเห็นโพสต์ข้อความนี้แล้ว ก็ได้มีคอมเมนต์ตอบแบบน่ารักๆ ตามมาหลากหลายเช่น 

“เห็นด้วยครับ ลูกผมก็ชอบใส่ชุดนักเรียนไปโรงเรียน เหมือนเพื่อนๆ ชีวิตวัยเรียนก็ปกติ มีความสุขดีครับ”

“เด็กน้อยของพ่อแม่น่ารักเสมอ”

“น่ารักที่สุดค่ะสาวน้อย”

“น่ารักจังเลย”

‘อภิชาติ ดำดี’ ชี้ประเด็นเรื่อง ‘ชุดนักเรียน’ กำหนดไว้เพื่อให้ ‘อยู่ร่วมกัน’ ได้ในสังคมเดียวกัน

เมื่อวานนี้ (16 มิ.ย.) นายอภิชาติ ดำดี อาจารย์นักพูด นักจัดรายการชาวไทย และอดีตสมาชิกวุฒิสภา จังหวัดกระบี่ ได้โพสต์ข้อความ ลงในเฟซบุ๊กส่วนตัว เกี่ยวกับประเด็น เรื่องชุดนักเรียน โดยมีใจความว่า ...

จ า ก ใ จ แ ม่
๐ ขอตังค์แม่ไปโรงเรียนเพียรศึกษา
แต่ละบาทกว่าแม่หาเอามาได้
ต้องอาบเหงื่อต่างน้ำทำเท่าใด
สู้สุดใจเพื่อให้ลูกปลูกปัญญา
๐ หิ้วปิ่นโตกับกระเป๋าใบเก่านั้น
มื้อกลางวันประหยัดไว้ไม่ซื้อหา
กับข้าวไม่เลิศล้ำธรรมดา
ตามประสาแม่ทำให้พอได้กิน
๐ ชุดนักเรียนนั้นเล่าเออเธอกับฉัน
ใส่เหมือนกันเก่าใหม่ไม่หยามหมิ่น
สวมเครื่องแบบฝึกไว้ให้เคยชิน
เมื่อขาดวิ่นแม่ซ่อมให้ไม่รีบซื้อ
๐ ลูกเอ๋ย...ไม่ได้ใส่ชุดไปรเวท
ก็ทำเกรดขึ้นได้มิใช่หรือ
เราก็มีหนึ่งสมองและสองมือ
เร่งฝึกปรือสร้างวินัยให้ชีวา
๐ ไม่มีชุดมากมายอย่างใครเขา
ชุดนักเรียนของเราก็เข้าท่า
ถ้ามานะหมั่นเพียรเรียนวิชา
ก็ก้าวหน้าแม้ชุดเราเก่ากว่าใคร...
อภิชาติ ดำดี 
16 มิ.ย. 2566

 


TRENDING
© Copyright 2021, All rights reserved. THE STATES TIMES
Take Me Top