Sunday, 28 April 2024
อัฟกานิสถาน

'แก้แค้นผิดเป้าหมาย' สหรัฐฯ พลาด!! ดับชีพ ‘ชาวอัฟกัน’ ผู้บริสุทธิ์ร่วม 10 ชีวิต | NEWS GEN TIMES ชวนคิด กับ กิตติธัช

สารภาพแล้ว!!
สหรัฐฯ ยอมรับ 'แก้แค้นผิดเป้าหมาย' 
ดับชีพ ‘ชาวอัฟกัน’ ผู้บริสุทธิ์ร่วม 10 ชีวิต

NEWS GEN TIMES ชวนคิด กับ กิตติธัช

โดย อ.ต้อม - กิตติธัช ชัยประสิทธิ์ นักวิชาการอิสระและอาจารย์ประจำคณะสถาปัตยกรรม ศิลปะและการออกแบบ สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง

Taliban 2.0 ความหวังใหม่ของอัฟกานิสถาน สู่ 'เมืองเศรษฐกิจ - ท่องเที่ยว' ที่น่าจับตา

การยึดครองของกลุ่มตอลิบาน อาจไม่เลวร้ายอย่างที่คิด และยังเร็วเกินไปที่จะสรุปว่าชาติตะวันตกพ่ายแพ้อย่างสมบูรณ์ที่สมรภูมิอัฟกานิสถาน 

เมื่อไม่นานมานี้ นายพล เซอร์ นิค คาร์เตอร์ ได้รายงานความเห็นต่อหน้าคณะกรรมการกลาโหมแห่งรัฐสภาอังกฤษว่า กลุ่มผู้ปกครองตอลิบานในยุคนี้มีความแตกต่างจากกลุ่มตอลิบานยุคที่ผ่านมา เนื่องจากกลุ่มตอลิบานมีการยกระดับขึ้นเป็น "Taliban 2.0" ที่มีการปรับแนวคิดตามยุคสมัยที่เปลี่ยนไปมากขึ้น และรัฐบาลตอลิบานก็ยินดีที่จะปกครองอัฟกานิสถานในแนวคิดสมัยใหม่นี้ 

ดังนั้นนายพลคาร์เตอร์จึงเชื่อว่า อัฟกานิสถานในอีก 5 ปีข้างหน้า น่าจะมีการเปลี่ยนแปลงไปในทิศทางที่ดีขึ้นและแตกต่างจากยุคตอลิบานรุ่นแรก ๆ ที่เข้ามาปกครองอัฟกานิสถานอย่างโหดเหี้ยมเมื่อ 20 ปีก่อน

นอกจากนี้ นายพล นิค คาร์เตอร์ ยังเคยให้สัมภาษณ์ออกสื่อโทรทัศน์เมื่อครั้งที่กองทัพตอลิบานบุกถึงกรุงคาบูลเมื่อช่วงกลางเดือนสิงหาคมที่ผ่านมาว่า กองทัพตอลิบานก็ไม่ต่างจากชาวบ้านกลุ่มหนึ่งที่มีจรรยาบรรณขึ้นมาหน่อย และเปรียบเทียบกับกองทัพเวียดกงในสงครามเวียดนาม ที่เนื้อแท้แล้วพวกเขาก็เป็นชาวบ้านเวียดนามกลุ่มหนึ่ง ที่รบชนะในประเทศของตัวเอง 

ซึ่งหลังสงครามเวียดนาม ชาติตะวันตกก็เคยคาดการณ์ว่า เวียดนามจะล้าหลัง กลายเป็นบ้านป่าเมืองเถื่อน แต่พอเวลาผ่านไปเวียดนามก็เจริญขึ้นได้ มีเศรษฐกิจเติบโต และกลายเป็นหนึ่งในจุดหมายปลายทางของนักท่องเที่ยวที่โด่งดังมาก ที่ใคร ๆ ก็อยากไปเที่ยว

นายพล คาร์เตอร์มองว่า อัฟกานิสถานน่าจะเดินในโมเดลเดียวกับเวียดนามได้ และหากพร้อมเปิดประเทศรับนักท่องเที่ยวได้เมื่อไหร่ เขาเชื่อว่าจะเป็นแหล่งท่องเที่ยวยอดนิยมได้ไม่ยาก 

‘ตาลีบัน’ ออกกฎหมายบังคับให้ผู้หญิงอัฟกานิสถาน ต้องสวมชุด 'บุรกา' ปกคลุมร่างกายและใบหน้าให้มิดชิด เวลาออกนอกบ้าน ซึ่งถือว่าเป็นการจำกัดสิทธิเสรีภาพของผู้หญิงที่รุนแรงกว่าเดิม

ตาลีบัน ที่ปกครองอัฟกานิสถานมาตั้งแต่เดือนสิงหาคมปีที่แล้ว ได้ออกคำสั่งให้ผู้หญิงอัฟกานิสถานต้องปกปิดร่างกายและใบหน้าของตัวเอง ด้วยการสวมชุดคลุมบุรกา ทุกครั้งที่ออกมานอกบ้าน

ไฮบาตุลเลาะห์ อัคฮุนด์ซาดา ผู้นำสูงสุดของตาลีบัน ได้ลงนามผ่านกฎหมายการแต่งกายของผู้หญิงในที่สาธารณะ ซึ่งระบุว่าผู้หญิงทุกคนต้องสวมชุดที่ปกคลุมร่างกายและใบหน้าอย่างมิดชิด จะเปิดส่วนหนึ่งของร่างกายให้คนอื่นเห็นได้ก็มีแค่ดวงตาเท่านั้น เพื่อป้องกันการยั่วยุผู้ชายคนอื่นที่ไม่ได้เป็นคนในครอบครัวเดียวกัน

นอกจากนี้ รัฐบาลอัฟกานิสถานขอให้ผู้หญิงสวมชุดบุรกาสีน้ำเงิน ซึ่งถือว่าเป็นชุดตามธรรมเนียม โดยผู้ที่จะได้รับการอนุโลมให้ไม่ต้องใส่ชุดบุรกาตอนออกจากบ้านก็คือเด็กผู้หญิง ที่เด็กมากๆ หรือผู้สูงอายุ ที่มีอายุมากๆ เท่านั้น

สหรัฐฯ ยึกยัก!! ไม่ปล่อยเงินสำรองคืนให้อัฟกานิสถาน ตราบใดที่รัฐบาลยังเป็นกลุ่มตอลิบาน

โจ ไบเดน ผู้นำสหรัฐฯ ยังคงยืนกรานที่จะยึดเงินสำรองต่างประเทศมูลค่า 7 พันล้านเหรียญของอัฟกานิสถาน ที่ฝากไว้ในธนาคารกลางสหรัฐฯ รวมถึงหยุดการเจรจากับรัฐบาลตอลิบานเกี่ยวกับการขอคืนเงินสำรองด้วย หลังจากที่สหรัฐฯ ได้ส่งโดรนพิฆาตลอบสังหารปลิดชีพ อัยมัน อัซเซาะวาฮิรี ผู้นำกลุ่มอัลกออิดะห์ ถึงกลางกรุงคาบูล ในอัฟกานิสถาน

แต่ทั้งนี้ รัฐบาลสหรัฐฯ ยินดีที่จะมอบเงินช่วยเหลือให้แก่ชาวอัฟกานิสถานอีก 150 ล้านเหรียญผ่านกองทุน USAID (หน่วยงานเพื่อการพัฒนาระหว่างประเทศของสหรัฐ) ซึ่งจากข้อมูลของ USAID แถลงว่า สหรัฐอเมริกาเป็นชาติที่ให้เงินช่วยเหลือด้านมนุษยธรรมแก่อัฟกานิสถานมากที่สุด โดยรายงานตัวเลขที่ 782 ล้านเหรียญ นับตั้งแต่ตุลาคม 2020 เป็นต้นมา แต่ก็จะไม่ยอมคุยเรื่องการคืนเงินสำรองต่างประเทศ 7 พันล้านเหรียญให้แก่อัฟกานิสถานตามที่รัฐบาลตอลิบานร้องขอต่อไป 

เมื่อถามถึงเหตุผล ทางรัฐบาลสหรัฐฯ ได้อ้างว่ามีคนในของรัฐบาลตอลิบานให้ที่พักพิงแก่ อัยมัน อัซเซาะวาฮิรี ผู้นำกลุ่มอัลกออิดะห์ ที่ทางสหรัฐฯ ขึ้นบัญชีเป็นกลุ่มก่อการร้าย และต้องการตัว เพราะเชื่อว่า อัยมัน คือ ผู้อยู่เบื้องหลังในการวางแผนก่อวินาศกรรม 11 กันยาฯ ที่ตึกเวิล์ดเทรด เซ็นเตอร์ ในปี 2001 เท่ากับว่ารัฐบาลตอลิบาน ยังให้การสนับสนุนกลุ่มก่อการร้าย ทางสหรัฐฯ จึงไม่อาจปล่อยเงินสำรองต่างประเทศของอัฟกานิสถานคืนให้ได้

‘ตอลิบาน’ สั่งปิด ‘ร้านเสริมสวย-ทำผม’ ทุกแห่งในอัฟกานิสถาน ชี้!! เป็นเหตุเพิ่มภาระแก่ครอบครัวยากจน-ขัดต่อหลักศาสนา

(27 ก.ค. 66) คาบูล (เอเอฟพี/รอยเตอร์) ร้านเสริมสวยและร้านทำผมจำนวนมากทั่วอัฟกานิสถานปิดเป็นการถาวรตั้งแต่เมื่อวันอังคาร ตามคำสั่งของรัฐบาลตอลิบานที่ประกาศเมื่อเดือนมิถุนายน

เจ้าของร้านเสริมสวยและร้านทำผมหลายแห่งในกรุงคาบูล เริ่มเก็บข้าวของแกะแผ่นโฆษณาที่ติดบริเวณด้านหน้าร้านออก เพื่อเตรียมปิดกิจการเป็นการถาวร เช่นเดียวกับร้านเสริมสวยทั่วประเทศที่จำเป็นต้องเลิกกิจการ หลังจากกระทรวงส่งเสริมศีลธรรมและป้องกันสิ่งชั่วร้ายของอัฟกานิสถาน มีคำสั่งเมื่อปลายเดือนมิถุนายนให้ร้านเสริมสวยทุกแห่งทั่วประเทศปิดร้านภายในวันที่ 25 กรกฎาคม ให้เหตุผลว่าเงินที่ใช้จ่ายไปกับการเสริมสวยเป็นภาระให้แก่ครอบครัวยากจน และการเสริมสวยบางอย่างขัดต่อหลักศาสนา กระทรวงระบุว่า การแต่งหน้ามากเกินไปเป็นอุปสรรคต่อการชำระล้างก่อนละหมาด และได้ห้ามการต่อขนตาและการทอผมด้วย

ร้านเสริมสวยผุดขึ้นทั่วกรุงคาบูลและหลายเมืองในอัฟกานิสถานตลอดช่วง 20 ปี ที่กองกำลังนานาชาตินำโดยสหรัฐฯ เข้ายึดครองอัฟกานิสถาน โดยเป็นทั้งสถานที่พบปะสังสรรค์และแหล่งทำมาหากินของบรรดาผู้หญิง หอการค้าและอุตสาหกรรมสตรีอัฟกานิสถานประเมินว่า คำสั่งปิดร้านเสริมสวย 12,000 แห่งเป็นการถาวรจะทำให้ผู้หญิงกว่า 60,000 คนสูญเสียรายได้ สัปดาห์ที่แล้ว ทางการได้ยิงปืนขึ้นฟ้าและใช้สายดับเพลิงฉีดสลายกลุ่มผู้หฯิงจำนวนหนึ่งที่ชุมนุมประท้วงคำสั่งปิดร้านเสริมสวย

บรรดาเจ้าของกิจการร้านเสริมสวยและร้านทำผม บอกว่าปลงกับชีวิต เคยผ่านเรื่องราวแบบนี้มาแล้วสมัยตอลิบานเรืองอำนาจเมื่อกว่า 20 ปีก่อน ไม่คิดว่าจะเกิดขึ้นอีกครั้ง อีกคนบอกว่าขอเรียกร้องให้ตอลิบานเปิดพื้นที่ให้ผู้หญิงได้ทำมาหากินบ้าง เพราะผู้หญิงก็เป็นส่วนหนึ่งของสังคมอัฟกันเหมือนกับผู้ชาย

ทั้งนี้ นับตั้งแต่ยึดอำนาจและตั้งตนขึ้นเป็นรัฐบาลในเดือนสิงหาคม 2021 รัฐบาลตอลิบานได้สั่งห้ามเด็กหญิงและสตรีไปโรงเรียนและมหาวิทยาลัย ห้ามไปสวนสาธารณะ สวนสนุก สถานออกกำลังกาย และสั่งให้ต้องปกปิดร่างกายเมื่ออยู่ในที่สาธารณะ รวมถึงต้องมีผู้ชายที่เป็นคนในครอบครัวอยู่ด้วยหากต้องเดินทางไกล

‘UN’ ชี้!! ‘ยาไอซ์’ ใน ‘อัฟกานิสถาน’ ยุคตอลิบานพุ่ง ขึ้นแท่นแหล่งผลิตรายใหญ่ของโลก แม้ไล่บุกทลาย

(11 ก.ย.66) เอพี ได้เปิดเผยว่า ทางสำนักงานว่าด้วยยาเสพติดและอาชญากรรมแห่งสหประชาชาติ (The United Nations’ Office on Drugs and Crimes - UNODC) ได้เผยแพร่รายงานซึ่งระบุถึงประเทศอัฟกานิสถาน ที่ขณะนี้ได้กลายเป็นแหล่งผลิตเมทแอมเฟตามีน หรือ ‘ยาไอซ์’ ที่มีอัตราการเติบโตเร็วที่สุดในโลก ทั้งยังเป็นผู้ผลิต ‘ฝิ่น’ และ ‘เฮโรอีน’ รายใหญ่ แม้รัฐบาลตอลิบานจะประกาศทำสงครามกับยาเสพติดหลังจากที่ยึดอำนาจปกครองเมื่อเดือน ส.ค. ปี 2021 ก็ตาม

UNODC ระบุว่า ยาไอซ์ในอัฟกานิสถานส่วนใหญ่ผลิตจากสารตั้งต้นที่หาได้อย่างถูกกฎหมาย หรือสกัดมาจากต้นอีเฟดรา (ephedra) ซึ่งเป็นพืชที่พบในแถบจีน อินเดีย และปากีสถาน

รายงานของ UNODC ยังเตือนด้วยว่า การผลิตเมทแอมเฟตามีนในอัฟกานิสถานกำลังกลายเป็นภัยคุกคามต่อสุขภาพและความมั่นคงทั้งในระดับชาติและภูมิภาค โดยมีรายงานว่าการตรวจยึดเมทแอมเฟตามีนที่คาดว่ามีแหล่งที่มาจากอัฟกานิสถานได้ทั้งในสหภาพยุโรป (อียู) และแอฟริกาตะวันออก

เมทแอมเฟตามีนจากอัฟกานิสถานที่ถูกตรวจยึดได้เพิ่มขึ้นจากไม่ถึง 100 กิโลกรัมในปี 2019 กลายเป็นเกือบ 2,700 กิโลกรัมในปี 2021 ซึ่งบ่งชี้ว่ามีการลักลอบผลิตในปริมาณที่มากขึ้น ทว่า UNODC ยังไม่สามารถประเมินมูลค่า ปริมาณการผลิต รวมถึงปริมาณการเสพภายในประเทศ เนื่องจากไม่มีข้อมูล

แองเจลา มี หัวหน้าแผนกวิจัยและวิเคราะห์เทรนด์ของ UNODC ให้สัมภาษณ์กับ AP ว่า กระบวนการผลิตเมทแอมเฟตามีน โดยเฉพาะในอัฟกานิสถาน สามารถทำได้ง่ายดายกว่าการผลิตเฮโรอีนและโคเคนมาก

“คุณไม่จำเป็นต้องรอให้พืชอะไรสักอย่างโต... คุณไม่ต้องมีที่ดิน คุณแค่ต้องการคนปรุงที่รู้วิธีทำเท่านั้น ห้องแล็บผลิตยาไอซ์สามารถเคลื่อนย้ายได้ หลบซ่อนได้ง่าย และในอัฟกานิสถานมีต้นอีเฟดราซึ่งพบในแหล่งผลิตเมทแอมเฟตามีนใหญ่ที่สุดของโลกอย่างพม่าและเม็กซิโก พืชชนิดนี้ไม่ผิดกฎหมายในอัฟกานิสถานและมีขึ้นอยู่ทั่วไป เพียงแต่ต้องใช้ในปริมาณมากเท่านั้น” มี กล่าว

ด้าน อับดุลมาทีน กอนี โฆษกกระทรวงมหาดไทยอัฟกานิสถาน ยืนยันกับ AP ว่า รัฐบาลตอลิบานห้ามการปลูก ผลิต จำหน่าย และใช้สารเสพติดทุกประเภทในอัฟกานิสถาน และที่ผ่านมา ได้มีการทำลายโรงงานผลิตไปแล้ว 644 แห่ง รวมถึงที่ดินอีก 12,000 เอเคอร์ที่ใช้เพาะปลูก แปรรูป และผลิตสารเสพติด

ทางการตอลิบานยังส่งเจ้าหน้าที่บุกทลายแหล่งผลิตยาเสพติดอีกกว่า 5,000 กรณี และมีการจับกุมผู้ที่เกี่ยวข้องแล้วราว 6,000 คน

“เราคงอ้างไม่ได้ 100% ว่ายาเสพติดหมดไปแล้ว เพราะอาจจะมีผู้ลักลอบผลิตกันอยู่บ้าง และเป็นไปไม่ได้ที่จะทำให้ยาเสพติดลดลงเป็นศูนย์ในระยะเวลาอันสั้น” กอนี กล่าว

“แต่เราได้กำหนดแผนยุทธศาสตร์ 4 ปีว่าจะทำให้ยาเสพติดทั่วๆ ไป โดยเฉพาะยาไอซ์ หมดไปจากประเทศนี้”

รายงาน UN ซึ่งเผยแพร่เมื่อเดือน พ.ย.ปีที่แล้วระบุว่า การปลูกฝิ่นในอัฟกานิสถานเพิ่มขึ้นถึง 32% จากปีก่อนหน้านับตั้งแต่ตอลิบานกลับเข้าปกครองประเทศ อีกทั้งการประกาศห้ามปลูกฝิ่นในเดือน เม.ย. ปี 2022 ส่งผลให้ราคาฝิ่นในท้องตลาดพุ่งสูงขึ้น โดยเกษตรกรผู้ปลูกฝิ่นในอัฟกานิสานมีรายได้เพิ่มขึ้นถึง 3 เท่าตัว จาก 425 ล้านดอลลาร์ในปี 2021 มาอยู่ที่ 1,400 ล้านดอลลาร์ในปี 2022 

‘ปากีสถาน’ ไล่ตะเพิด ‘ชาวอัฟกัน’ ลี้ภัยผิดกฎหมาย 1.7 ล้านคน เหตุไม่พอใจกลุ่มติดอาวุธ จี้!! ออกนอกประเทศภายใน 1 พ.ย.นี้

รัฐบาลปากีสถานประกาศเส้นตายให้ผู้ลี้ภัยชาวอัฟกานิสถานที่เข้ามาอยู่ในประเทศปากีสถานอย่างผิดกฎหมาย ซึ่งคาดว่ามีมากถึงราว 1.7 ล้านคนนั้น ให้ออกจากประเทศไปในเดือนพฤศจิกายนนี้ หลังจากปากีสถานมีความไม่พอใจที่กลุ่มติดอาวุธเข้ามาก่อเหตุโจมตีรุนแรงตามแนวชายแดนปากีสถานติดกับอัฟกานิสถานเพิ่มมากขึ้น ซึ่งปากีสถานโทษว่าเป็นฝีมือของกลุ่มติดอาวุธที่มีฐานปฏิบัติการอยู่ในประเทศอัฟกานิสถาน ซึ่งเป็นข้อกล่าวหาที่รัฐบาลทาลิบัน ผู้ปกครองอัฟกานิสถานปฏิเสธ

นายซาร์ฟราซ บักติ รัฐมนตรีมหาดไทยของปากีสถาน ประกาศมาตรการข้างต้นเมื่อวันที่ 3 ตุลาคมว่า ผู้ลี้ภัยชาวอัฟกานิสถานราว 1.7 ล้านคน ที่อยู่ในปากีสถานอย่างผิดกฎหมาย จะมีเวลาถึงวันที่ 1 พฤศจิกายนนี้ ในการเดินทางออกนอกประเทศไปโดยสมัครใจหรือไม่จะถูกเนรเทศออกไป แต่ไม่ได้ให้รายละเอียดว่าการดำเนินการดังกล่าวจะเป็นไปอย่างไร

นอกจากนี้ เขายังประกาศตั้งคณะทำงานที่มุ่งพิสูจน์และยึดธุรกิจและทรัพย์สินของชาวอัฟกานิสถานที่ลี้ภัยอยู่ในปากีสถานอย่างผิดกฎหมาย พร้อมประกาศว่าจะดำเนินมาตรการเข้มงวดมากขึ้นกับชาวอัฟกานิสถานที่จะเดินทางเข้ามาในปากีสถาน ที่จะต้องเป็นนักเดินทางที่มีวีซ่าและหนังสือเดินทางเท่านั้นถึงได้รับอนุญาตให้เข้าประเทศได้

ในการประกาศมาตรการกวาดล้างผู้อพยพลี้ภัยในประเทศอย่างผิดกฎหมาย รัฐมนตรีมหาดไทยของปากีสถาน ไม่ได้กล่าวถึงเหตุโจมตีรุนแรงที่เกิดขึ้นในปากีสถานโดยตรง ที่สร้างความไม่พอใจให้กับรัฐบาลและนำมาสู่การดำเนินการในครั้งนี้ เพียงแต่กล่าวมามีเหตุระเบิดฆ่าตัวตายเกิดขึ้นตามแนวชายแดนปากีสถานแล้วถึง 24 ครั้งนับตั้งแต่ต้นปีนี้ ซึ่งกว่าครึ่งหนึ่งเขากล่าวโทษว่าเป็นฝีมือของกลุ่มติดอาวุธที่ปฏิบัติการจากอัฟกานิสถาน

ขณะที่เมื่อสัปดาห์ก่อนเพิ่งเกิดเหตุระเบิดโจมตีมัสยิดในเมืองมัสตัง ในจังหวัดบาโลชิสถานของปากีสถาน ติดชายแดนอัฟกานิสถาน เป็นผลให้มีผู้เสียชีวิตอย่างน้อย 50 ราย โดยจังหวัดดังกล่าวเป็นพื้นที่ที่มักเกิดเหตุโจมตีโดยกลุ่มติดอาวุธหลายกลุ่ม รวมถึง กลุ่มเตห์รีค-อี ตาลีบัน ปากีสถาน (ทีทีพี) หรือ กลุ่มทาลิบันปากีสถาน และกองกำลังรัฐอิสลามหรือไอเอส (บีบีซี)

เกิดแผ่นดินไหวใน ‘อัฟกานิสถาน ฝั่งตะวันตก’ หนักสุดในรอบ 20 ปี ทำบ้านเรือนพังยับ ปชช.ดับพุ่งทะลุ 2,000 ราย เร่งค้นหาผู้รอดชีวิต

(8 ต.ค. 66) สำนักข่าวเอพี, อิสลามาบัด รายงานว่า ยอดผู้เสียชีวิตจากแผ่นดินไหวรุนแรงที่อัฟกานิสถานตะวันตก เพิ่มขึ้นเป็นกว่า 2,000 รายแล้ว โฆษกรัฐบาลตอลิบาน ระบุว่า เป็นเหตุแผ่นดินไหวที่คร่าชีวิตผู้คนมากที่สุดครั้งหนึ่งในรอบสองทศวรรษ

หน่วยงานภัยพิบัติแห่งชาติของประเทศอัฟกานิสถาน เปิดเผยว่า แผ่นดินไหวรุนแรง 6.3 ริกเตอร์ ตามมาด้วยอาฟเตอร์ช็อกที่รุนแรง ทำให้มีผู้เสียชีวิตหลายสิบรายทางตะวันตกของอัฟกานิสถาน เมื่อวันเสาร์ (7 ต.ค.) ที่ผ่านมา

แต่ ‘อับดุล วาฮิด รายาน’ โฆษกกระทรวงสารสนเทศและวัฒนธรรม กล่าวว่า “ยอดผู้เสียชีวิตจากแผ่นดินไหวในเมืองเฮราตนั้นสูงกว่ารายงานเดิม หมู่บ้านประมาณ 6 แห่งถูกทำลาย และพลเรือนหลายร้อยคนถูกฝังอยู่ใต้ซากปรักหักพัง” เขากล่าวขณะเรียกร้องความช่วยเหลืออย่างเร่งด่วน

เมื่อช่วงค่ำวันเสาร์ (7 ต.ค.) ที่ผ่านมา ‘องค์การสหประชาชาติ’ แจ้งตัวเลขเบื้องต้นว่ามีผู้เสียชีวิต 320 ราย แต่ภายหลังระบุว่าตัวเลขดังกล่าวยังอยู่ระหว่างการตรวจสอบ หน่วยงานท้องถิ่นประเมินว่ามีผู้เสียชีวิต 100 รายและบาดเจ็บ 500 ราย ตามข้อมูลอัปเดตเดียวกันจากสำนักงานเพื่อการประสานงานกิจการด้านมนุษยธรรมแห่งสหประชาชาติ

ข้อมูลอัปเดตดังกล่าวระบุว่า มีรายงานบ้านเรือน 465 หลังถูกทำลาย และอีก 135 หลังได้รับความเสียหาย

“พันธมิตรและหน่วยงานท้องถิ่นคาดการณ์ว่า จำนวนผู้เสียชีวิตจะเพิ่มขึ้น ในขณะที่ความพยายามค้นหาและช่วยเหลือยังคงดำเนินต่อไป ท่ามกลางรายงานที่ว่า มีบางคนอาจติดอยู่ใต้อาคารที่พังทลาย” องค์การสหประชาชาติ ระบุ

‘โมฮัมหมัด อับดุลลาห์ ยาน’ โฆษกหน่วยงานภัยพิบัติ กล่าวว่า หมู่บ้าน 4 แห่งในเขตเซนดายาน ในจังหวัดเฮราต ได้รับผลกระทบจากแผ่นดินไหวและอาฟเตอร์ช็อกอย่างหนัก

สำนักงานสำรวจทางธรณีวิทยาของสหรัฐฯ ระบุว่า ศูนย์กลางของแผ่นดินไหวอยู่ห่างจากเมืองเฮราตไปทางตะวันตกเฉียงเหนือประมาณ 40 กิโลเมตร ตามมาด้วยอาฟเตอร์ช็อกที่รุนแรงมาก 3 ครั้ง วัดแรงสั่นสะเทือนได้ 6.3, 5.9 และ 5.5 เช่นเดียวกับแรงกระแทกที่น้อยกว่า

‘อับดุล ชากอร์ ซามาดี’ ชาวเมืองเฮราต กล่าวว่า แผ่นดินไหวรุนแรงอย่างน้อย 5 ครั้งเกิดขึ้นในเมืองนี้

“ทุกคนออกจากบ้านแล้ว” ซามาดีกล่าว “บ้าน สำนักงาน และร้านค้าต่างว่างเปล่า และอาจเกิดแผ่นดินไหวมากขึ้น ฉันและครอบครัวอยู่ในบ้าน ฉันรู้สึกได้ถึงแผ่นดินไหว” ครอบครัวของเขาเริ่มตะโกนและวิ่งออกไปข้างนอก กลัวที่จะกลับเข้าไปในบ้าน

องค์การอนามัยโลกในอัฟกานิสถาน ระบุว่า ได้ส่งรถพยาบาล 12 คันไปยังเซนดายาน เพื่ออพยพผู้บาดเจ็บไปยังโรงพยาบาล

“ในขณะที่ยังคงมีรายงานผู้เสียชีวิตและผู้เสียชีวิตจากแผ่นดินไหว ทีมต่างๆ อยู่ในโรงพยาบาลเพื่อช่วยเหลือการรักษาผู้บาดเจ็บและประเมินความต้องการเพิ่มเติม” หน่วยงานของสหประชาชาติ ระบุใน X (เดิมชื่อ Twitter) ว่า “รถพยาบาลที่ได้รับการสนับสนุนจาก WHO กำลังรับส่งผู้ที่ได้รับผลกระทบ ซึ่งส่วนใหญ่เป็นผู้หญิงและเด็ก”

การเชื่อมต่อโทรศัพท์ขัดข้องในเมืองเฮราต ทำให้ยากต่อการรับรายละเอียดจากพื้นที่ที่ได้รับผลกระทบ วิดีโอบนโซเชียลมีเดียเผยให้เห็นผู้คนหลายร้อยคนบนถนน นอกบ้านและสำนักงานในเมืองเฮราต

จังหวัดเฮราตติดกับอิหร่าน สื่อท้องถิ่นรายงานว่า รู้สึกถึงแผ่นดินไหวครั้งนี้ในจังหวัดฟาราห์และบาดกีสที่อยู่ใกล้เคียงของอัฟกานิสถาน

‘อับดุล ฆานี บาราดาร์’ รักษาการรองนายกรัฐมนตรีอัฟกานิสถาน ฝ่ายเศรษฐกิจ ที่ได้รับการแต่งตั้งโดยกลุ่มตอลิบาน แสดงความเสียใจต่อผู้เสียชีวิตและได้รับบาดเจ็บในเมืองเฮราตและบาดกิส

กลุ่มตอลิบานเรียกร้องให้องค์กรท้องถิ่น เดินทางไปยังพื้นที่ที่เกิดแผ่นดินไหวโดยเร็วที่สุด เพื่อช่วยนำผู้บาดเจ็บส่งโรงพยาบาล จัดที่พักพิงให้กับคนไร้บ้าน และจัดส่งอาหารให้กับผู้รอดชีวิต พวกเขากล่าวว่า หน่วยงานความมั่นคงควรใช้ทรัพยากรและสิ่งอำนวยความสะดวกทั้งหมด เพื่อช่วยเหลือผู้คนที่ติดอยู่ใต้ซากปรักหักพัง

“เราขอให้เพื่อนร่วมชาติที่ร่ำรวยของเรา ให้ความร่วมมือที่เป็นไปได้ และช่วยเหลือพี่น้องที่ทุกข์ทรมานของเรา” กลุ่มตอลิบานกล่าวผ่านโซเชียลมีเดีย X

‘ทาคาชิ โอคาดะ’ เอกอัครราชทูตญี่ปุ่นประจำอัฟกานิสถาน แสดงความเสียใจผ่านแพลตฟอร์มโซเชียลมีเดีย X ว่า “เขารู้สึกเสียใจอย่างสุดซึ้งและเศร้าใจอย่างยิ่ง ที่ได้รับทราบข่าวแผ่นดินไหวในจังหวัดเฮราต”

ในเดือนมิถุนายน พ.ศ. 2565 ได้เกิดแผ่นดินไหวรุนแรง ในพื้นที่ภูเขาขรุขระทางตะวันออกของอัฟกานิสถาน บ้านเรือนที่สร้างด้วยหินและอิฐโคลนพังราบเป็นหน้ากลอง แผ่นดินไหวครั้งนี้คร่าชีวิตผู้คนไปอย่างน้อย 1,000 ราย และบาดเจ็บประมาณ 1,500 ราย

‘ตอลิบาน’ เข้าร่วมการประชุม ‘หนึ่งแถบหนึ่งเส้นทาง’ ที่กรุงปักกิ่ง ตอกย้ำมิตรภาพ ‘จีน-อัฟกานิสถาน’ หนุนค้าขายกับนานาชาติ-ฟื้น ศก.

เมื่อวันที่ 17 ต.ค. 66 ผู้แทนของรัฐบาลตอลิบานอัฟกานิสถาน คาดว่า จะเข้าร่วมการประชุมเวที ‘ความริเริ่มหนึ่งแถบหนึ่งเส้นทาง เพื่อความร่วมมือระหว่างประเทศ’ (Belt and Road Forum for International Cooperation : BRF) ในกรุงปักกิ่ง ตามรายงานของสำนักข่าวรอยเตอร์

บรรดาผู้เชี่ยวของจีนเชื่อว่า การมาปรากฏตัวของ ‘ตอลิบาน’ ในการประชุม ซึ่งเป็นเวทีระหว่างประเทศที่เปิดกว้างและครอบคลุมครั้งนี้ คือ ‘สิ่งตอกย้ำ’ ถึงความสัมพันธ์ที่กำลังเติบโตระหว่างจีนกับรัฐบาลอัฟกานิสถาน และตอกย้ำการสนับสนุนของจีน ในการนำพาประเทศที่ยับเยินจากสงครามมาเข้าร่วมในประชาคมโลก

ตามรายงานสำนักข่าวรอยเตอร์ ซึ่งอ้างโฆษกกระทรวงการค้าและอุตสาหกรรมของอัฟกานิสถานนั้น ‘นายฮาจี นูรุดดิน อาซีซี’ (Haji Nooruddin Azizi) รักษาการรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการค้าและอุตสาหกรรม พร้อมคณะจะเดินทางเยือนกรุงปักกิ่งเพื่อเข้าร่วมการประชุมหนึ่งแถบหนึ่งเส้นทาง โดยคาดว่า ผู้แทนรัฐบาลตอลิบานคณะนี้ ต้องการเชิญชวนให้นักลงทุนเข้ามายังอัฟกานิสถาน

โดยที่ผ่านมา รัฐบาลตอลิบานอัฟกานิสถานได้มีการหารือกับจีนอย่างต่อเนื่องเกี่ยวกับการทำเหมืองทองแดง และแผนการก่อสร้างถนนในภาคเหนือของอัฟกานิสถาน เพื่อเชื่อมต่อการเดินทางขนส่งกับจีนโดยตรง

‘นายจู หย่งเปียว’ ผู้อำนวยการศูนย์อัฟกานิสถานศึกษาของมหาวิทยาลัยหลันโจว ระบุว่า การเข้าร่วมการประชุมของตอลิบานเท่ากับเป็น ‘สปอตไลต์’ ฉายส่องความพยายามของจีน ในการเปิดเวทีให้รัฐบาลตอลิบานอัฟกานิสถานได้มีโอกาสคบค้าสมาคมกับนานาชาติมากขึ้น และแสวงหาโอกาสในการพัฒนาเศรษฐกิจที่ย่ำแย่ ตลอดจนชีวิตความเป็นอยู่ของประชาชน โดยทั้งรัฐบาลตอลิบานและรัฐบาลชุดก่อนของอัฟกานิสถาน ซึ่งชาติตะวันตกหนุนหลัง ต่างก็ชื่นชอบความริเริ่มหนึ่งแถบหนึ่งเส้นทาง (Belt and Road Initiative : BRI) เนื่องจากคาดหวังว่า จะดึงให้จีนมาลงทุนในโครงการก่อสร้างระบบสาธารณูปโภคต่างๆ ในประเทศได้นั่นเอง

การประชุม BRF ครั้งที่ 3 กำหนดจัดขึ้นระหว่างวันที่ 17-18 ต.ค. ในกรุงปักกิ่ง มีผู้แทนจากกว่า 130 ประเทศ และ 30 องค์กรระหว่างประเทศเข้าร่วม โดยคาดว่า BRF จะเป็นเวทีที่เน้นย้ำถึงความสำเร็จอันน่าทึ่งของการก่อสร้างเชื่อมต่อโครงสร้างพื้นฐานภายใต้ BRI

‘นายอิ้น กัง’ นักวิจัยสถาบันเอเชียตะวันตกและแอฟริกาศึกษาแห่งสถาบันสังคมศาสตร์จีน ระบุว่า บริษัทจีนบางรายกลับมาดำเนินโครงการในอัฟกานิสถานอีกครั้งตั้งแต่ปี 2565 เช่น การขุดเจาะน้ำมัน และคงจะดีมาก หากการประชุม BRF ครั้งนี้ มีความคืบหน้าในการหารือเกี่ยวกับการทำเหมืองแร่ทองแดงขนาดใหญ่ทางภาคตะวันออกของอัฟกานิสถาน และการกลับมาดำเนินความร่วมมือในโครงการอื่นๆ มากขึ้น

‘อัฟกานิสถาน’ ปลูก-ผลิต ‘ฝิ่น’ ลดลงร้อยละ 95 หลังรัฐบาลตอลิบานสั่งห้าม ทำรายได้หด 3.55 หมื่น ลบ.

(6 พ.ย. 66) สำนักข่าวซินหัวรายงานว่า เมื่อวันอาทิตย์ (5 พ.ย.) สำนักงานว่าด้วยยาเสพติดและอาชญากรรมแห่งสหประชาชาติ (UNODC) รายงานว่าการเพาะปลูกฝิ่นในอัฟกานิสถานลดลงราวร้อยละ 95 นับตั้งแต่รัฐบาลรักษาการอัฟกานิสถานออกคำสั่งปราบปรามยาเสพติดเมื่อเดือนเมษายน 2022

รายงานระบุว่าการเพาะปลูกฝิ่นของอัฟกานิสถาน ซึ่งครั้งหนึ่งเคยเป็นผู้ผลิตฝิ่นรายใหญ่ที่สุดของโลก ลดลงจาก 233,000 เฮกตาร์ (ราว 1.46 ล้านไร่) เหลือเพียง 10,800 เฮกตาร์ (ราว 68,000 ไร่) ในปี 2023 ส่งผลให้อุปทานฝิ่นลดลงร้อยละ 95 จาก 6,200 ตันในปี 2022 เหลือ 333 ตันในปี 2023

ขณะรายได้จากการจำหน่ายฝิ่นของเกษตรกรลดลงมากกว่า 1 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ (ราว 3.55 หมื่นล้านบาท) โดยเกษตรกรจำนวนมากหันไปเพาะปลูกข้าวสาลีแทน ซึ่งมีพื้นที่เพาะปลูกโดยรวมเพิ่มขึ้น 160,000 เฮกตาร์ (ราว 1 ล้านไร่) ทั่วจังหวัดฟาราห์ เฮลมันด์ กันดาฮาร์ และนานกาฮาร์

ทั้งนี้สาเหตุที่ทำให้การเพาะปลูกฝิ่นในอัฟกานิสถานลดลงอย่างมีนัยสำคัญ เนื่องจากรัฐบาลตอลิบานประกาศห้ามการปลูกฝิ่นทั่วประเทศ และเตือนว่าจะเผาไร่ฝิ่นและจับกุมคุมขังผู้ปลูกฝิ่นที่ละเมิดคำสั่งนี้ นอกจากนี้ยังห้ามการผลิต การขนส่ง การซื้อขาย รวมทั้งการนำเข้าและส่งออกเฮโรอีน กัญชา และแอลกอฮอล์ด้วย โดยอ้างว่าเป็นสิ่งที่ขัดกับหลักคำสอนของศาสนาอิสลาม


TRENDING
© Copyright 2021, All rights reserved. THE STATES TIMES
Take Me Top