Tuesday, 30 April 2024
อวกาศ

รู้จัก ‘Talgat Musabayev’ วีรบุรุษแห่งรัสเซีย-คาซัคสถาน ผู้ท่องอวกาศมากถึง 3 ครั้ง รวมระยะเวลา 341 วัน

วุฒิสมาชิก Talgat Musabayev บนสถานีอวกาศ Mir ของสหพันธรัฐ Russia

เมื่อสัปดาห์ที่ผ่านมาผู้เขียนมีโอกาสได้ร่วมต้อนรับวุฒิสมาชิก Talgat Musabayev แห่งสาธารณรัฐ Kazakhstan ซึ่งมาเยือนประเทศไทยอย่างไม่เป็นทางการ จึงเกิดไอเดียอยากแชร์เรื่องราวของวุฒิสมาชิก Talgat Musabayev แห่งสาธารณรัฐ Kazakhstan ขอบอกเลยว่า เรื่องราวน่าสนใจมากๆ แต่จะเป็นอย่างไร ตามไปอ่านกันครับ

วุฒิสมาชิก Talgat Amangeldyuly Musabayev เกิดเมื่อ 7 มกราคม ค.ศ. 1951 เป็นนักบินทดสอบของอดีตสหภาพโซเวียต สหพันธรัฐ Russia และสาธารณรัฐ Kazakhstan และเป็นอดีตนักบินอวกาศซึ่งได้เดินทางไปในอวกาศถึงสามครั้ง 

โดยการเดินทางไปในอวกาศสองครั้งแรกเป็นการประจำการระยะยาวบนสถานีอวกาศ Mir ของสหพันธรัฐ Russia ส่วนการบินในอวกาศครั้งที่สามเป็นภารกิจนำ Dennis Tito นักท่องเที่ยวอวกาศรายแรกของโลกไปเยี่ยมเยียนสถานีอวกาศนานาชาติเป็นระยะเวลาสั้นๆ 

วุฒิสมาชิก Musabayev เกษียณจากอาชีพนักบินอวกาศในเดือนพฤศจิกายน ค.ศ. 2003 และในปี ค.ศ. 2007 วุฒิสมาชิก Musabayev ได้รับการแต่งตั้งให้เป็นผู้อำนวยการ KazCosmos สำนักงานงานอวกาศแห่งชาติของสาธารณรัฐ Kazakhstan 

สามนักบินอวกาศชาว Kazakhstan

วุฒิสมาชิก Musabayev สำเร็จการศึกษาจากสถาบันวิศวกรการบินพลเรือน Riga (สาธารณรัฐ Latvia ในปัจจุบัน) ในปี ค.ศ. 1974 จากนั้นในปี ค.ศ. 1983 สำเร็จการศึกษาจาก Higher Military Aviation School ใน Akhtubinsk โดยได้รับประกาศนียบัตรวิศวกรรมศาสตร์ วุฒิสมาชิก Musabayev ได้รับรางวัลมากมายหลายรางวัลในฐานะนักบินผาดโผน และได้รับเลือกให้เป็นนักบินอวกาศเมื่อวันที่ 11 พฤษภาคม ค.ศ. 1990 ในปี ค.ศ. 1991 ได้รับแต่งตั้งให้เป็นนาวากาศตรี และย้ายไปประจำกลุ่มงานนักบินอวกาศของกองทัพอากาศสหภาพโซเวียต ซึ่งต่อมากลายเป็นสหพันธรัฐ Russia 

วุฒิสมาชิก Talgat Musabayev กับทีมนักบินอวกาศของภารกิจในอวกาศครั้งแรก Mir EO-16

ภารกิจในอวกาศครั้งแรกของวุฒิสมาชิก Musabayev ในฐานะสมาชิกลูกเรือของภารกิจระยะยาว Mir EO-16 เดินทางโดยยานอวกาศ Soyuz TM-19 ซึ่ง วุฒิสมาชิก Musabayev ได้รับมอบหมายให้เป็นวิศวกรการบิน ภารกิจดำเนินไปตั้งแต่วันที่ 1 กรกฎาคม ถึง 4 พฤศจิกายน ค.ศ. 1994 รวมระยะเวลา ๑๒๕ วัน ๒๒ ชั่วโมง ๕๓ นาที ได้ทำ Spacewalk สองครั้ง ระยะเวลารวม ๑๑ ชั่วโมง ๗ นาที 

ต่อมาภารกิจในอวกาศครั้งที่สอง วุฒิสมาชิก Musabayev ได้ทำหน้าที่เป็นผู้บัญชาการของการสำรวจระยะยาว Mir EO-25 ซึ่งเดินทางโดยยานอวกาศ Soyuz TM-27 ภารกิจมีระยะเวลาตั้งแต่ 29 มกราคม ถึง 25 สิงหาคม ค.ศ. 1998 รวมระยะเวลา ๒๐๗ วัน ๑๒ ชั่วโมง ๕๑ นาที ๒ วินาที ได้ทำ Spacewalk ห้าครั้ง รวมระยะเวลา ๓๐ ชั่วโมง ๘ นาที

วุฒิสมาชิก Talgat Musabayev กับภารกิจในอวกาศครั้งที่สาม ISS EP-1

ภารกิจที่สามอันเป็นภารกิจครั้งสุดท้ายในอวกาศของวุฒิสมาชิก Musabayev คือการเป็นผู้บัญชาการของ ISS EP-1 ซึ่งเป็นภารกิจเยือนสถานีอวกาศนานาชาติ เดินทางโดยยานอวกาศ Soyuz TM-32 และกลับสู่พื้นโลกโดยยานอวกาศ Soyuz TM-31 ระหว่างวันที่ 30 เมษายน ถึง 6 พฤษภาคม ค.ศ. 2001 รวมระยะเวลา ๗ วัน ๒๒ ชั่วโมง ๔ นาที ภารกิจเยี่ยมเยียนครั้งนี้มีความพิเศษคือ การพา Dennis Tito นักท่องอวกาศคนแรกของโลกที่ต้องเสียค่าใช้จ่ายเองไปในอวกาศ (ค่าใช้จ่ายในขณะนั้นราว US$20,000,000 แต่ค่าใช้จ่ายในปัจจุบันวุฒิสมาชิก Musabayev คาดว่า น่าจะราว ๆ US$50,000,000) ในปี ค.ศ. 2007 วุฒิสมาชิก Musabayev ถูกจัดให้เป็นหนึ่งใน ๓๐ นักบินอวกาศที่ใช้เวลาอยู่ในอวกาศมากที่สุดคือ ๓๔๑ วัน 

วุฒิสมาชิก Musabayev ขณะดำรงตำแหน่งผู้อำนวยการสำนักงานอวกาศแห่งชาติของสาธารณรัฐ Kazakhstan หรือ KazCosmos

วุฒิสมาชิก Musabayev เกษียณจากการเป็นนักบินอวกาศในเดือนพฤศจิกายน ค.ศ. 2003 และดำรงตำแหน่งรองผู้อำนวยการสถาบันวิศวกรรม Zhukovsky กองทัพอากาศสหพันธรัฐ Russia และได้รับแต่งตั้งให้เป็นพลตรีในเดือนกันยายน ค.ศ. 2003 ตั้งแต่ปี ค.ศ. 2005 ถึง ค.ศ. 2007 

นอกจากนี้ยังได้เป็นผู้อำนวยการของ ‘Bayterek Corp.’ ซึ่งเป็นกิจการร่วมทุนระหว่าง Kazakhstan-Russia สำหรับการสร้าง Baiterek space complex ที่ ฐานปล่อยจรวด Baikonur ต่อมา 11 เมษายน ค.ศ. 2007 วุฒิสมาชิก Musabayev ได้รับการแต่งตั้งให้เป็นผู้อำนวยการสำนักงานอวกาศแห่งชาติของสาธารณรัฐ Kazakhstan หรือ KazCosmos ตามมติของรัฐบาลแห่งสาธารณรัฐ Kazakhstan 

วุฒิสมาชิก Musabayev ได้รับแต่งตั้งให้เป็นที่ปรึกษานายกรัฐมนตรีแห่งสาธารณรัฐ Kazakhstan ด้านการบินพลเรือนและกิจกรรมอวกาศตามคำสั่งของนายกรัฐมนตรีแห่งสาธารณรัฐ Kazakhstan ลงวันที่ 13 สิงหาคม ค.ศ. 2014 และได้รับแต่งตั้งให้เป็นประธานคณะกรรมการการบินและอวกาศของสาธารณรัฐ Kazakhstan ตามคำสั่งของรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการลงทุนและการพัฒนาแห่งสาธารณรัฐ Kazakhstan ลงวันที่ 18 สิงหาคม ค.ศ. 2014 

ได้รับแต่งตั้งให้เป็นที่ปรึกษาประธานาธิบดีแห่งสาธารณรัฐ Kazakhstan เมื่อวันที่ 20 มกราคม ค.ศ. 2016 ตามคำสั่งของประธานาธิบดีแห่งสาธารณรัฐ Kazakhstan และได้รับแต่งตั้งเป็นสมาชิกวุฒิสภาของรัฐสภาแห่งสาธารณรัฐ Kazakhstan เมื่อวันที่ 13 กรกฎาคม ค.ศ. 2017 โดยคำสั่งของประมุขแห่งรัฐ 

ปัจจุบันวุฒิสมาชิก Musabayev ยังเป็นกรรมาธิการกิจการต่างประเทศ กลาโหม และความมั่นคงของวุฒิสภาแห่งสาธารณรัฐ Kazakhstan อีกด้วย

วุฒิสมาชิก Musabayev กับ Nursultan Nazarbayev ประธานาธิบดีคนแรกของสาธารณรัฐ Kazakhstan 

นอกจากนี้แล้ววุฒิสมาชิก Musabayev ยังเป็นศาสตราจารย์ในสาขาวิชา จรวดและ เทคโนโลยีอวกาศ echnology เป็นสมาชิก : the National Academy of Sciences สาธารณรัฐ Kazakhstan, the National Engineering Academy สาธารณรัฐ Kazakhstan, the International Academy of Astronautics, the International Academy of Informatization, Tsiolkovsky Russian Cosmonautics Academy, Russian Academy of Natural Sciences

3 พฤศจิกายน พ.ศ. 2500 ‘ไลก้า’ สุนัขตัวแรกของโลกถูกส่งขึ้นสู่อวกาศ กรุยทางสู่การสำรวจอวกาศให้มนุษยชาติ

ไลก้า (Laika) สุนัขอวกาศโซเวียต ชื่อที่มีความหมายว่า ‘ช่างเห่า’ คือสุนัขและสัตว์ตัวแรกที่โคจรรอบโลก และก็เป็นตัวแรกที่ตายในวงโคจรด้วยเช่นกัน

ไลก้าเดิมเป็นสุนัขเร่ร่อน ชื่อ คุดร์ยัฟกา แปลว่า ‘เจ้าขนหยิกน้อย’ เข้าสู่การฝึกกับสุนัขอื่นอีกสองตัว ในท้ายที่สุดไลก้าได้รับเลือกเป็นผู้โดยสารไปกับยานอวกาศ สปุตนิก 2 ซึ่งถูกส่งขึ้นสู่อวกาศเมื่อวันที่ 3 พฤศจิกายน พ.ศ. 2500 (ค.ศ. 1957)

เป็นที่รับทราบกันน้อยมากถึงผลกระทบของการบินในอวกาศที่มีต่อสิ่งมีชีวิต ในภารกิจของไลก้านั้นเทคโนโลยีในการผละออกจากวงโคจรยังไม่ถูกพัฒนา จึงไม่มีการคาดว่าไลก้าจะรอดชีวิต นักวิทยาศาสตร์บางคนเชื่อว่ามนุษย์จะไม่อาจมีชีวิตอยู่ได้จากการปล่อยหรือสภาพของอวกาศ 

‘NASA’ ค้นพบ ‘ดาวเคราะห์น้อยทองคำ 16 Psyche’ คาด!! มูลค่ามากกว่า ‘GDP’ ของคนทั้งโลกรวมกัน

องค์การบริหารการบินและอวกาศแห่งชาติ หรือ ‘NASA’ ได้เผยข้อมูลการค้นพบ ‘ดาวเคราะห์น้อย 16 Psyche’ ที่มีวงโคจรในแถบดาวเคราะห์น้อยระหว่างดาวอังคารและดาวพฤหัส แม้จะเป็นเพียงแค่หนึ่งในดาวเคราะห์น้อยที่มีอยู่อย่างมากมายในวงโคจรแถบนี้ แต่ 16 Psyche มีความพิเศษจากดาวเคราะห์น้อยดวงอื่น ๆ คือมีมวลที่อัดแน่นไปด้วยแร่โลหะที่มีมูลค่ามหาศาล โดยเฉพาะ ‘แร่ทองคำ’ อีกทั้งยังมี เหล็ก นิกเกิล

ด้วยขนาดของดาวเคราะห์น้อย 16 Psyche ที่มีเส้นผ่าศูนย์กลางอยู่ที่ 225 กิโลเมตร จึงได้มีการตีราคาแร่ที่มีอยู่ ซึ่งตีเป็นมูลค่าบนโลกมนุษย์ได้ประมาณ 10,000 ล้านล้านเหรียญ และมากกว่า GDP ของประชากรทั้งโลกรวมกันเสียอีก (อ้างอิงข้อมูลจากธนาคารโลก GDP ของทั้งโลกเราอยู่ที่ 85.6 ล้านล้านเหรียญ)

ในอนาคต ทาง NASA ได้มีการเผยว่า มีแผนการจะส่งกระสวยเข้าไปสำรวจดาวเคราะห์น้อย 16 Psyche ภายในปีหน้านี้ ซึ่งนอกเหนือจากสำรวจแร่โลหะมูลค่ามหาศาลภายในแล้ว อาจจะพบความลับของการถือกำเนิดดาวเคราะห์ต่าง ๆ รวมถึงโลกด้วย ซึ่งตามแผนการที่ได้วางไว้ NASA ตั้งเป้าไว้ว่า จะส่งกระสวยออกไปภายในเดือนสิงหาคม ปี 2022 นี้ แต่ด้วยการทำงานผิดพลาดของซอฟต์แวร์ และปัญหาต่าง ๆ ทำให้แผนการต้องเลื่อนออกไปเป็นเดือนตุลาคม ปี 2023 แทน 

ไขกระจ่าง ‘ดร.ศุภชัย’ ตอบข้อสงสัย มนุษย์ต่างดาวมีจริงไหม ชี้!! มีโอกาสพบสิ่งมีชีวิตทรงภูมิปัญญา จากนอกโลก

นักวิจัยสดร.ไขปริศนาสิ่งมีชีวิตนอกโลก-มนุษย์ต่างดาว มีจริงไหม

(9 มี.ค.66) ผู้สื่อข่าวรายงานว่า ดร. ศุภชัย อาวิพันธุ์ นักวิจัยของกลุ่มวิจัยดาวเคราะห์นอกระบบสุริยะ และชีวดาราศาสตร์ แห่งสถาบันวิจัยดาราศาสตร์แห่งชาติ(สดร.) หรือ NARIT เปิดเผยในรายการของช่องยูทูบง ‘KornKT’ที่นำเสนอเนื้อหาเกี่ยวกับอวกาศเมื่อเร็วๆ กรณีข้อสงสัยที่ว่าสิ่งมีชีวิตนอกโลกมีจริงหรือไม่ว่า สิ่งมีชีวิตนอกโลกมีจริงไหม สิ่งเกิดขึ้นต้องบอกก่อนว่าคำนิยามของสิ่งมีชีวิตที่เราต้องการศึกษาคืออะไร ถ้าเราบอกว่าสิ่งมีชีวิตเพียงแค่เซลล์เดียว นอกโลกถามว่ามีไหมยังไงก็ต้องมี เพราะเราเจอกรดอะมิโน อะไรต่างๆ ที่เกิดเป็นโปรตีน หรือสิ่งมีชีวิตเซลล์เดียวได้

เราน่าจะเจอได้อย่างง่ายๆ เพราะประกอบด้วยธาตุที่เจอในอวกาศเป็นปกติอยู่แล้ว คำถามคือสิ่งมีชีวิตที่พัฒนาขึ้นมาเป็นสิ่งมีชีวิตที่ทรงภูมิปัญญา หรือที่เราเรียกว่าเอเลี่ยน มันมีจริงไหม แล้วก็ถามต่อว่าการที่สิ่งมีชีวิตเซลล์เดียวกลายเป็นสิ่งมีชีวิตที่ทรงภูมิปัญญาขึ้นมา ต้องมีปัจจัยอะไรต่าง ๆ ตรงนี้ก็มีนักวิทยาศาสตร์ได้ศึกษาอยู่ เพราะฉะนั้นแล้วเราก็ยังตอบไม่ได้ว่าอะไรที่เป็นปัจจัยสำคัญทำให้เกิดสิ่งมีชีวิตทรงภูมิปัญญาเกิดขึ้น

แต่จะถามว่าจะเป็นเรื่องที่แปลกมากเลยว่า ทั้งจักรวาลเรามีดาวฤกษ์จำนวนมากเป็นพันล้านดวง แค่กาแลกซี่ของเรา และเรามีหลายพันล้านกาแลกซี่ในจักรวาลของเรา ถ้าเราเป็นดาวเคราะห์เพียงดวงเดียวที่มีสิ่งมีชีวิตทรงภูมิปัญญา จะเป็นเรื่องที่แปลกมาก

‘จีน’ ส่งดาวเทียมแฝด ‘เทียนฮุ่ย-6’ ขึ้นสู่อวกาศสำเร็จ ใช้สำหรับภารกิจสำรวจพื้นที่ทางภูมิศาสตร์

(10 มี.ค. 66) สำนักข่าวซินหัว รายงานว่า จีนประสบความสำเร็จในการส่งดาวเทียมแฝดเทียนฮุ่ย-6 (Tianhui-6) ขึ้นสู่ห้วงอวกาศจากศูนย์ปล่อยดาวเทียมไท่หยวน มณฑลซานซีทางตอนเหนือของประเทศ ตอน 06.41 น. ของวันศุกร์ (10 มี.ค.) ตามเวลาท้องถิ่น

ระบุว่า ดาวเทียมเทียนฮุ่ย-6 เอ (Tianhui-6 A) และเทียนฮุ่ย-6 บี (Tianhui-6 B) ถูกส่งขึ้นสู่อวกาศโดยจรวดขนส่งลองมาร์ช-4ซี (Long March-4C) และเข้าสู่วงโคจรที่กำหนดแล้ว

ดาวเทียมแฝดดังกล่าวจะถูกใช้ในการสำรวจทางภูมิศาสตร์ การสำรวจทรัพยากรที่ดิน การทดลองทางวิทยาศาสตร์ และภารกิจอื่น ๆ

ชาวโลกระทึก!! ‘นาซา’ เฝ้าตามติด ส่องดาวเคราะห์น้อย ‘2023 DW’ หลังพบมีโอกาสพุ่งชนโลก ในวาเลนไทน์ปี 2046

องค์การนาซา เฝ้าติดตามดาวเคราะห์น้อยดวงหนึ่ง ที่อาจพุ่งชนโลกในวันวาเลนไทน์ปี 2046

ระบบสุริยะมีดาวเคราะห์น้อยหลายล้านดวง แต่มีดาวเคราะห์น้อยดวงหนึ่งแม้มีขนาดไม่ใหญ่โต แต่ก็มีโอกาสพุ่งชนโลก หลังนักวิทยาศาสตร์พบดาวเคราะห์น้อยดวงใหม่เมื่อ 2 สัปดาห์ก่อน 

สำนักงานอวกาศยุโรป รายงานว่า ดาวเคราะห์น้อยดวงนี้ มีชื่อว่า ‘2023 DW’ ถูกพบครั้งแรกเมื่อวันที่ 26 กุมภาพันธ์ที่ผ่านมา และอยู่ในรายชื่อความเสี่ยงขององค์การบริหารการบินและอวกาศแห่งชาติสหรัฐฯ หรือ นาซา ในประเภทวัตถุอวกาศที่อาจส่งผลกระทบต่อโลก 

นักวิจัย เชื่อว่า ดาวเคราะห์น้อย ‘2023 DW’ มีขนาดเส้นผ่าศูนย์กลางราว 50 เมตร หรือประมาณ 1 ใน 10 ของสระว่ายน้ำในกีฬาโอลิมปิก ส่วนสำนักงานอวกาศยุโรป ประเมินว่า โอกาสที่ดาวเคราะห์น้อย ‘2023 DW’ จะพุ่งชนโลกอยู่ที่ 1 ใน 607 และโอกาสที่ดาวเคราะห์น้อยจะพุ่งชนโลกไม่เกินปี 2046 คาดว่า น่าจะเป็นวันวาเลนไทน์ 

ขณะที่ สำนักงานความร่วมมือเพื่อปกป้องดาวเคราะห์ของนาซา กำลังติดตามดาวเคราะห์น้อยดวงนี้ และความเสี่ยงที่จะสร้างผลกระทบต่อโลกในปี 2046 ยังคงน้อยมาก 

ด้านปิเอโร ซิโคลี นักดาราศาสตร์ เชื่อว่า มีโอกาส 1 ใน 400 ที่ดาวเคราะห์น้อยจะพุ่งชนโลก นอกจากนี้ ปัจจุบัน ดาวเคราะห์น้อย 2023 DW อยู่ในมาตราโตรีโน ซึ่งหมายความว่า ไม่มีเหตุที่ประชาชนต้องตื่นตระหนก

จีนส่ง ‘ดาวเทียมทดลอง’ ดวงใหม่ สู่วงโคจรสำเร็จ เตรียม ‘สำรวจทรัพยากรดิน-วางผังเมือง-ป้องกันสาธารณภัย’

(16 มี.ค. 66) สำนักข่าวซินหัวรายงานว่า จีนประสบความสำเร็จในการส่งดาวเทียมทดลองดวงใหม่จากศูนย์ปล่อยดาวเทียมจิ่วเฉวียนทางตะวันตกเฉียงเหนือของประเทศ เมื่อวันพุธ (15 มี.ค.) ที่ผ่านมา

รายงานระบุว่าดาวเทียมซื่อเยี่ยน-19 (Shiyan-19) ถูกปล่อยจากศูนย์ฯ ตอน 19:41 น. ตามเวลาปักกิ่ง โดยจรวดขนส่งลองมาร์ช-11 (Long March-11) และเข้าสู่วงโคจรที่กำหนดไว้สำเร็จ

‘สเปซเอ็กซ์’ ส่งดาวเทียมสู่อวกาศพร้อม ‘เทมโป’ ตัวตรวจมลภาวะ เพื่อตรวจวัดคุณภาพอากาศ - มลพิษทั่วทั้งทวีปอเมริกาเหนือ

(8 เม.ย. 66) เว็บไซต์ ยูพีไอ รายงานว่า ‘สเปซเอ็กซ์’ บริษัทเอกชนยักษ์ใหญ่ ที่ทำธุรกิจทางด้านธุรกิจการขนส่งทางอวกาศ ประเทศสหรัฐอเมริกา ได้ทำการส่งดาวเทียมตรวจวัดคุณภาพอากาศขององค์การบริหารการบินและอวกาศแห่งชาติของสหรัฐอเมริกา (นาซา) ขึ้นสู่อวกาศได้สำเร็จเมื่อวันที่ 7 เม.ย.

โดยระบุว่า ‘จรวดฟอลคอน 9’ ของบริษัทสเปซเอ็กซ์ ถูกปล่อยขึ้นสู่อวกาศจากฐานยิงจรวดสเปซ ลอนช์ คอมเพล็กซ์ รัฐฟลอริดาของสหรัฐ เมื่อเวลา 12.30 น. ตามเวลาท้องถิ่น

เพื่อนำดาวเทียมอินเทลแซท 40 อี (Intelsat 40e) ดาวเทียมโคจรพ้องคาบโลกขั้นสูง ซึ่งมีเครื่องมือ ‘เทมโป’ (TEMPO-Tropospheric Emissions: Monitoring of Pollution) ตัวตรวจวัดมลภาวะในชั้นบรรยากาศของนาซา ขึ้นสู่วงโคจรในอวกาศเหนือเส้นศูนย์สูตรเพื่อตรวจสอบมลพิษในอากาศทั่วทวีปอเมริกาเหนือ

‘NASA’ เผย การโคจรสำรวจรอบดวงจันทร์ สำเร็จในรอบ 50 ปี คาด มนุษย์อาจสามารถไปใช้ชีวิตอยู่ที่นั่นได้ภายใน 10 ปีนี้!!

หลังจาก โครงการอาร์ทิมิส 1 (Artemis I) ของ NASA ที่ได้ส่งจรวดกลับไปสำรวจ ด้วยการโคจรรอบดวงจันทร์ ในรอบ 50 ปี เป็นผลสำเร็จ ทำให้วงการดาราศาสตร์ได้มีการคาดการว่า มนุษย์โลกจะสามารถย้ายไปอยู่ในดวงจันทร์ ดาวบริวารเพียงหนึ่งเดียวของโลกได้ในอีก 10 ปีนี้

‘โฮวาร์ด ฮู’ (Howard Hu) หัวหน้าโครงการยานอวกาศโอไรออน (Orion) ในโครงการอาร์ทิมิส 1 ได้กล่าวว่า มนุษย์จะขึ้นไปอยู่ทำงานทางวิทยาศาสตร์และใช้ชีวิตบนดวงจันทร์อยู่ช่วงระยะเวลาหนึ่งก่อนสิ้นทศวรรษนี้

“แน่นอนว่าในทศวรรษนี้ เราจะมีคนอยู่ที่นั่นชั่วระยะเวลาหนึ่ง ขึ้นอยู่กับว่าเราจะให้อยู่บนพื้นผิว (ดวงจันทร์) นานแค่ไหน พวกเขาจะมียานโรเวอร์อยู่บนพื้นดิน” ฮู กล่าว “เราจะส่งคนลงไปที่พื้นผิว และพวกเขาจะอาศัยอยู่ที่นั่นพร้อมกับทำงานด้านวิทยาศาสตร์”

สำหรับโครงการอาร์ทิมิส 1 เป็นโครงการของนาซาพยายามนำมนุษย์กลับไปสู่ดวงจันทร์อีกครั้งในรอบ 50 ปี โดยในเที่ยวบินแรกที่เพิ่งปล่อยตัวไปนี้เป็นการทดสอบระบบจรวดใหม่ที่มีชื่อว่า ‘Space Launch System’ หรือ SLS เป็นหนึ่งในจรวดที่ทรงพลังที่สุดเท่าที่เคยมีการสร้างมา และมียานอวกาศโอไรออนติดตั้งอยู่ส่วนบนสุดของจรวด

ในโครงการการสำรวจนี้ ภายที่ปล่อยนั้น จะมีหุ่นคล้ายมนุษย์ทำหน้าที่บันทึกสิ่งต่างๆ ที่อาจเกิดขึ้นกับลูกเรือที่เป็นมนุษย์ในอนาคตเช่นความดัน แรงของการบิน และการสัมผัสกับรังสี นอกจากนี้โอไรออนยังบรรทุกเมล็กพืช รา ยีสต์ และสาหร่ายไว้ในภาชนะที่เรียกว่า ‘การทดลองทางชีวภาพ 1 (Biological Experiment - 1)’ ซึ่งจะช่วยเผยให้เห็นว่าสิ่งมีชีวิตตอบสนองต่อสภาพที่รุนแรงของห้วงอวกาศอย่างไร และรวมไปถึงการตอบสนองต่อสภาวะไร้น้ำหนัก

“ผมคิดว่านี่เป็นวันประวัติศาสตร์สำหรับนาซา และก็เป็นวันประวัติศาสตร์สำหรับทุกคนที่รักการบินอวกาศของมนุษย์ รวมทั้งการสำรวจห้วงอวกาศด้วย เรากำลังกลับไปที่ดวงจันทร์ และทำงานเพื่อโครงการที่ยั่งยืน และนี่คือพาหนะที่จะนำพาผู้คนกลับไปเหยียบดวงจันทร์อีกครั้ง”

หัวหน้าโครงการยานอวกาศโอไรออน กล่าวเสริมตามแผนที่ได้วางไว้ในการกลับไปดวงจัทร์อีกครั้ง เป้าหมายเร็วที่สุดคือภายในเดือนพฤษภาคมปี 2024 ในโครงการ ‘อาร์ทิมิส 2’ และ ‘อาร์ทิมิส 3’ จะมีลูกเรือคนแรกที่เดินทางจากพื้นผิวดวงจันทร์ไปสู่การผจญภัยครั้งใหม่ จากนั้น ‘อาร์ทิมิส 4’ จะเป็นการเริ่มก่อสร้างสถานีอวกาศในวงโครจรของดวงจันทร์

“นี่เป็นการเปิดหน้าแรกของการสำรวจอวกาศบทใหม่” จาคอบ บลีชเชอร์ (Jacob Bleacher) หัวหน้านักวิทยาศาสตร์ของโครงการกล่าว

ขณะที่ บิล เนลสัน (Bill Nelson) ผู้บริหารของนาซา เสริมว่า “เรากำลังกลับไปที่ดวงจันทร์เพื่อใช้ชีวิตและเรียนรู้ เพื่อที่จะไปดาวอังคาร นั่นคือการผจญภัยครั้งยิ่งใหญ่ต่อไป”


ที่มา : BBC / National Geographic Thailand
https://mgronline.com/science/detail/9660000040954
 

‘ซีพีเอฟ’ ประเดิม 3 เมนูให้นักบินปลายปี 66 กระเพราไก่จานแรก ส่วนอีก 2 เมนูรอพัฒนา

นำร่อง ‘ไก่ไทย’ สู่อวกาศปลายปี 66 ซีพีเอฟประเดิม 3 เมนู ส่งกระเพราไก่จานแรก ส่วนอีก 2 เมนูอยู่ระหว่างการพัฒนา หลังเป็นสินค้าแบรนด์แรกของโลกที่ได้รับการยอมรับจากองค์การนาซาให้ส่งสินค้าให้นักบินรับประทาน

(11 ก.ค. 66) นายประสิทธิ์ บุญดวงประเสริฐ ประธานคณะผู้บริหาร บริษัท เจริญโภคภัณฑ์อาหาร จำกัด (มหาชน) หรือ ‘ซีพีเอฟ’ (CPF) เปิดเผยว่า ซีพีเอฟจะเริ่มส่งอาหารให้กับองค์การนาซา สำหรับให้นักบินอวกาศรับประทานประมาณปลายปี 66

ทั้งนี้ เบื้องต้นจะเริ่มนำร่องส่ง ‘ไก่ไทย’ ด้วย 3 เมนู ได้แก่ กะเพราไก่ และอีก 2 เมนูอยู่ระหว่างการพัฒนา จากปกตินักบินอวกาศจะรับประทานอาหารเม็ด แคปซูล ที่ทางองค์การนาซาเป็นผู้ผลิตให้เท่านั้น

“ซีพีเอฟถือเป็นสินค้าแบรนด์แรกของโลกที่ได้รับการยอมรับจากองค์การนาซา ให้ส่งอาหารขึ้นไปให้กับนักบินอวกาศรับประทานด้วยเมนูไก่แปรรูป”

สำหรับการนำอาหารขึ้นไปบนอวกาศนั้น ไม่ใช่เรื่องง่ายเพราะนักบินอวกาศต้องการอาหารที่มีความปลอดภัยสูงสุด ผ่านการคัดเลือกอย่างถี่ถ้วนทุกขั้นตอน การนำไก่ไทยขึ้นไปสู่อวกาศได้ ถือเป็นก้าวสำคัญสำหรับอนาคตอาหารของประเทศไทย

รวมถึงเป็นจุดแข็งของคนไทยเรื่องการผลิตอาหารที่มีคุณภาพสูงให้คนทั่วโลก ดังนั้นการส่งอาหารขึ้นไปบนอวกาศจะทำให้ทั่วโลกได้รับทราบว่าอาหารของซีพีเอฟ มีมาตรฐานและความปลอดภัยสูง โดยช่วยแรกบริษัทได้รับมาตรฐานด้านไก่ สดที่ไม่มีสารปนเปื้อน การเลี้ยงที่ไม่ใช้ยาปฏิชีวนะ ขั้นตอนต่อไปอยู่ระหว่างขอมาตรฐานอาหารแปรรูป

ปัจจุบันไก่เป็น 1 ในสินค้าส่งออกของไทยมากถึงปีละกว่า 1 แสนล้านบาท มากเป็นอันดับ 4 ของโลก โดยที่ซีพีเอฟส่งออกปีละประมาณ 25,000-30,000 ล้านบาท สัดส่วน 25% ของรายได้ทั้งหมด ซึ่งเป็นกลุ่มอาหารแปรรูป 50% ส่วนใหญ่ส่งออกไปอังกฤษ ญี่ปุ่น และเยอรมนี

ขณะที่ปีนี้จะเน้นสร้างมูลค่าเพิ่มให้กับสินค้าไก่ ให้เข้ากับแต่ละประเทศและการขยายโรงงานในประเทศฟิลิปปินส์ ที่เป็นธุรกิจไก่ หมู กุ้ง ไข่ เพิ่มเพื่อรองรับความต้องการที่ขยายตัว คาดว่าปีนี้มีรายได้รวม 660,000 ล้านบาท


TRENDING
© Copyright 2021, All rights reserved. THE STATES TIMES
Take Me Top