Sunday, 28 April 2024
อลงกรณ์พลบุตร

‘อลงกรณ์’ เผย จีนเปิดด่านโม่ฮานนำเข้าทุเรียนไทยแล้ว ย้ำต้องเข้มงวดมาตรการปัองกันปนเปื้อนโควิด แนะผู้ส่งออกบริหารความเสี่ยงเพิ่มการขนส่งทางเรือทางอากาศเพิ่ม

นายอลงกรณ์ พลบุตร ที่ปรึกษารัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ในฐานะประธานคณะทำงานแก้ไขปัญหาผลไม้ล่วงหน้าในคณะกรรมการพัฒนาและบริหารจัดการผลไม้ (Fruit Board) เปิดเผย ว่าได้รับรายงานจากสํานักงานที่ปรึกษาการเกษตรต่างประเทศ ประจํากรุงปักกิ่ง ฝ่ายเกษตร ประจําสถานกงสุลใหญ่ ณ นครกว่างโจว ฝ่ายเกษตร ประจําสถานกงสุลใหญ่ ณ นครเซี่ยงไฮ้ว่า ด่านโม่ฮานในมณฑลยูนนานเปิดนำเข้าทุเรียนไทยจากด่านบ่อเต็นของลาวแล้วตั้งแต่วันที่15เมษายนที่ผ่านมา หลังจากระงับการนำเข้าทุเรียนไทย 3 วันระหว่างวันที่ 12-14 เมษายน จากตรวจพบการปนเปื้อนโควิดในรถบรรทุกคอนเทนเนอร์จากไทย

โดยด่านเปิดทำการระหว่างเวลา 08.30 - 21.00 น. และในเวลา17.30 - 21.00 น.เป็นช่วงให้รถบรรทุกเปล่าผ่าน

ส่วนโหย่วอี้กวน(กว่างซีจ้วง)ยังเปิดให้บริการระหว่างเวลา 08.00 - 19.00 น. แต่มีความแออัดจึงควรหลีกเลี่ยงเพื่อลดความเสี่ยง

 “ทั้งนี้ขอให้ผู้ประกอบการดำเนินมาตรการป้องกันการปนเปื้อนเชื้อโควิดและฆ่าเชื้อสินค้าตามข้อกำหนดของทางราชการอย่างเคร่งครัดตามข้อสั่งการของ ดร.เฉลิมชัย ศรีอ่อน รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ในฐานะประธานคณะกรรมการพัฒนาและบริหารจัดการผลไม้ (Fruit Board)”

“เฉลิมชัย” สั่งฟรุ้ทบอร์ดเร่งปลุกตลาดผลไม้ทั่วประเทศ “อลงกรณ์” ผนึก” อตก.” เปิดจุดขายขยายตลาดออนไลน์ออฟไลน์เพิ่มการบริโภคในประเทศ 40%

นายอลงกรณ์ พลบุตร ที่ปรึกษารัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์และประธานคณะทำงานแก้ไขปัญหาผลไม้ล่วงหน้าในคณะกรรมการพัฒนาและบริหารจัดการผลไม้ (Fruit Board) เปิดเผยวันนี้(30 เม.ย.)ภายหลังลงพื้นที่ตรวจเยี่ยมการปฏิบัติงานขององค์การตลาดเพื่อเกษตรกร (อ.ต.ก.) และการบริหารจัดการตลาดสดของ อ.ต.ก. พร้อมทั้งมอบนโยบายช่วยเหลือเกษตรกร เพื่อผลักดันการบริโภคผลไม้และผลผลิตทางการเกษตรของไทย โดยมีนายปณิธาน มีไชยโย ผู้อำนวยการ อ.ต.ก. พร้อมด้วยผู้บริหาร อ.ต.ก. ให้การต้อนรับว่า ได้มอบหมายให้ อ.ต.ก. เป็นหน่วยงานกลางผู้ประสานงานระหว่างตลาดสินค้าเกษตรทั้งหมดทั่วประเทศเพื่อส่งเสริม ผลักดันการบริโภคผลไม้ไทย


พร้อมทั้งนำผลไม้ไทยบุกตลาดออนไลน์ทั้งในประเทศและต่างประเทศ และในส่วนของการทำการตลาดออฟไลน์ให้ดำเนินการเชิงบูรณาการความร่วมมือกับภาครัฐเช่นองค์การคลังสินค้า กระทรวงพาณิชย์องค์การตลาด กระทรวงมหาดไทย บริษัทไปรษณีย์ไทย หอการค้า สภาหอการค้าแห่งประเทศไทย สภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย สมาพันธ์เอสเอ็มอี. โมเดิร์นเทรด ตลาดกลางสินค้าเกษตรทั่วประเทศ โปรโมทขายผลไม้ นอกจากนี้ขอให้ อ.ต.ก. พัฒนาและปั้น Brand Ortorkor ให้เป็นที่รู้จักทั้งในประเทศและระดับสากลเพื่อสร้างมูลค่าให้กับสินค้าเกษตรและเป็นแบรนด์การันตีคุณภาพสินค้าเกษตรของไทย รวมทั้งเพิ่ม จุดจำหน่ายและกระจายสินค้าเกษตรเพื่อเป็นช่องทางกระจายผลผลิตสู่ผู้บริโภค นอกจากนี้ยังมอบหมายให้ อ.ต.ก. เป็นหน่วยงานขับเคลื่อนและสนับสนุนตลาดเกษตรกร( Farmer Market )ในกรุงเทพมหานครซึ่งเป็นตลาดที่มีกำลังซื้อมากที่สุดอีกด้วย 
    นอกจากนี้นายอลงกรณ์และคณะได้ลงพื้นที่ตลาด อ.ต.ก. พบปะพูดคุยกับเกษตรกร วิสาหกิจชุมชน ผู้ประกอบการผู้ค้าทุเรียน มังคุด เงาะ ลำไย ชมพู่ มะม่วง มะพร้าว แตงโม พร้อมทั้งประชาสัมพันธ์เชิญชวนให้ประชาชนบริโภคผลไม้ไทยเพิ่มขึ้นเพื่ออุดหนุนและสนับสนุนเกษตรกรไทยในช่วงฤดูกาลผลไม้ปีนี้

“รัฐมนตรีเฉลิมชัย”นั่งไม่ติดเก้าอี้ ลุ้นส่งออกทุเรียนทะลุ 500,000 ตันทุบสถิติจีนสร้างสถิติโลก “อลงกรณ์”เผยข่าวดีจีนเปิดด่าน”ตงชิง”ต้อนรับฤดูกาลผลไม้ภาคเหนือและภาคใต้ พร้อมจับมือเครือค้าปลีกกลุ่มอาลีบาบาและกลุ่มเรนโบว์เร่งโหมตลาด33เมืองใหญ่ในแดนมังกร

ดร.เฉลิมชัย ศรีอ่อน รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ในฐานะประธานกรรมการพัฒนาและบริหารจัดการผลไม้ (Fruit Board) เปิดเผยวันนี้(18 มิ.ย.)ว่า การส่งออกทุเรียนไทยไปจีนยังเป็นไปตามแผนปฏิบัติการผลไม้ปี2565 โดยสามารถส่งออกทุเรียนจากภาคตะวันออกไปจีน ณ วันที่ 16 มิถุนายน เป็นจำนวน 485,866 ตัน และคาดว่าจะสามารถส่งออกไปจีนทะลุตัวเลข 500,000 ตันภายในสัปดาห์หน้าซึ่งนอกจากจะทำลายสถิติการส่งออกทุเรียนในช่วงเวลาเดียวกันของปี 2564ซึ่งมีปริมาณ 4.2 แสนตันแล้วยังเป็นการทำลายสถิติโลกที่ไทยสามารถส่งออกผลไม้สดชนิดเดียวเกินครึ่งล้านตันภายในเวลา6เดือนและยังเป็นผลไม้ที่มาจากสวนทุเรียนและล้งที่มีมาตรฐานการเกษตรที่ดีคือGAPและGMP ทั้งหมด

นายอลงกรณ์ พลบุตร ที่ปรึกษารัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์กล่าวว่า ได้รับรายงานจากนายสมชวน   รัตนมังคลานนท์ รองปลัดกระทรวงเกษตรฯ.ว่า จีนได้เปิดด่านตงซิงแล้วเมื่อวานนี้( 17 มิถุนายน)โดยมีเวลาทําการ 08.00-18.00 น. ซึ่งทำให้ขณะนี้จีนได้เปิดทุกด่านนำเข้าผลไม้ไทยแล้วทั้งด่านรถด่านเรือด่านเครื่องบินและด่านรถไฟซึ่งถือเป็นช่วงจังหวะดีในการเปิดรับฤดูกาลผลไม้ภาคเหนือและภาคใต้ของเรา การเปิดด้านตงชิงเกิดขึ้นหลังจากเอกอัครราชทูตจีนเดินทางไปเยี่ยมชมสวนทุเรียน ล้งและสหกรณ์ผลไม้ที่จังหวัดจันทบุรีเมื่อสัปดาห์ที่ผ่านมา

อย่างไรก็ตาม ผู้ประกอบการยังต้องติดตามสถานการณ์ด่านอย่างใกล้ชิด และต้องป้องกันการปนเปื้อนเชื้อโควิด และฆ่าเชื้อสินค้าอย่างเคร่งครัด


 

“เฉลิมชัย”เดินหน้าขยายตลาดญี่ปุ่น ส่ง”อลงกรณ์”กระชับความร่วมมือกับบริษัทการค้าญี่ปุ่นหวังพัฒนาสินค้าเกษตรของไทยเพิ่มส่งออกกว่าแสนล้านบาท

   รายงานข่าวจากกระทรวงเกษตรและสหกรณ์แจ้งวันนี้(3ก.ค.)ว่า นายอลงกรณ์ พลบุตร ที่ปรึกษารัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ นายสมศักดิ์ วิวิธเกยูรวงศ์ อัครราชทูตที่ปรึกษา (ฝ่ายเกษตร) ประจำกรุงโตเกียว  โชติ พึงเจริญพงศ์ คณะทำงานที่ปรึกษารัฐมนตรีเกษตรฯ. นายณฐกร สุวรรณธาดา  คณะที่ปรึกษารัฐมนตรีเกษตรฯ. น.ส.นิณา รัตนจินดา ผู้บริหารโปรเฟสอินเตอร์เนชั่นแนลและคณะเข้าเยี่ยมชมระบบความเย็น(Cold Chain)และรับฟังข้อมูลระบบโลจิสติกส์ ระบบเครือข่ายตลาดค้าส่งค้าปลีก รวมถึงการบริหารจัดการคลังสินค้าในการนำเข้าสินค้าเกษตรของไทยมายังประเทศญี่ปุ่น ณ บริษัท P.K. SIAM  เมืองโยโกฮามา จังหวัดคานากาวะ โดยมีนายรุ่งสิทธิ์ สนธิอัชชรา ผู้จัดการฝ่ายการค้า(Trading Division Manager) ให้การต้อนรับ พาชมพร้อมบรรยายสรุป โดยบริษัท พี.เค.สยาม(P.K.SIAM )เป็นบริษัทผู้นำเข้า  ผักและผลไม้รายใหญ่ในกรุงโตเกียว  อาทิ มะม่วงทุเรียน กล้วยหอม ส้มโอ มะพร้าว มังคุด  ผักสด น้ำมะนาวคั้นสด รวมถึงสินค้าแปรรูป อาหาร ผลไม้กระป๋อง เป็นต้น 

จากนั้นนายอลงกรณ์และคณะะได้เดินทางไปพบหารือกับคณะผู้บริหารของบริษัทไนไกนิตโตะซึ่งเป็นบริษัทโลจิสติกส์รายใหญ่มีการร่วมทุนกับไทยจัดตั้งบริษัทในประเทศไทยมากว่า25ปีพร้อมกับเยี่ยมชมระบบขนส่งทางเรือทางอากาศซึ่งมีบริการขนส่งยางพาราและเครื่องจักรกลการเกษตรด้วย 
 

“กระทรวงเกษตรฯ.” เร่งขับเคลื่อน ”สภาเกษตรอินทรีย์พีจีเอส.” ผนึกทุกเครือข่ายเดินหน้าเกษตรออร์กานิคดันไทยขึ้นแท่นฮับอาเซียน

นายอลงกรณ์ พลบุตร ที่ปรึกษารัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ในฐานะประธานคณะอนุกรรมการขับเคลื่อนเกษตรกรรมยั่งยืนเป็นประธานพิธีเปิดและปาถกฐาพิเศษ เรื่อง “เกษตรอินทรีย์และเกษตรอินทรีย์พีจีเอส.”ที่รร.อมารี ดอนเมือง ผ่านระบบออนไลน์โดยนายอลงกรณ์กล่าวว่า รัฐบาลโดยกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ได้ให้ความสำคัญและสนับสนุนเกษตรอินทรีย์อย่างเต็มที่ เป็นอาหารแห่งอนาคต (Future Food)ที่มีโอกาสเติบโตในตลาดโลกได้อย่างมากจึงได้กำหนดวิสัยทัศน์ให้ประเทศไทยเป็นผู้นำในระดับภูมิภาค ด้านการผลิต การแปรรูป การบริโภค การค้าสินค้า และ การบริการเกษตรอินทรีย์ ที่มีความยั่งยืน และเป็นที่ยอมรับในระดับสากลภายใต้”ยุทธศาสตร์การพัฒนาเกษตรอินทรีย์แห่งชาติ พ.ศ.2560-2564” โดยมีคณะกรรมการเกษตรอินทรีย์แห่งชาติและคณะกรรมบริหารการพัฒนาระบบเกษตรกรรมยั่งยืนที่มีดร.เฉลิมชัย ศรีอ่อน รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์เป็นประธานเป็นกลไกระดับนโยบายและมีคณะอนุกรรมการขับเคลื่อนเกษตรกรรมยั่งยืนเป็นกลไกในการขับเคลื่อนภายใต้3คณะทำงานได้แก่คณะกรรมการด้านเกษตรอินทรีย์ คณะทำงานด้านเกษตรทฤษฎีใหม่และเกษตรผสมผสานและคณะทำงานด้านวนเกษตรและเกษตรธรรมชาติ ได้เร่งขับเคลื่อนแผนปฏิบัติการปี 2564-2565เดินหน้าจัดทำร่างยุทธศาสตร์การพัฒนาเกษตรอินทรีย์แห่งชาติ พ.ศ 2566-2570 และร่างพรบ.เกษตรกรรมยั่งยืนพร้อมกับเห็นชอบให้มีการจัดตั้งสถาบันเกษตรอินทรีย์แห่งชาติรวมทั้งการจัดทำโครงการเกษตรกรรมยั่งยืนในเมือง(Urban Farming)และโครงการธนาคารสีเขียว(Green Bank) ประการสำคัญคือการจัดตั้งสภาเกษตรอินทรีย์พีจีเอส.แห่งประเทศไทยขึ้นเป็นครั้งแรกเมื่อ19สิงหาคม2564 โดยมอบหมายให้สำนักงานมาตรฐานสินค้าเกษตรและอาหารแห่งชาติ (มกอช.)จัดทำหลักเกณฑ์การรับรองมาตรฐานเกษตรอินทรีย์แบบมีส่วนร่วม (PGS)หรือเกษตรอินทรีย์วิถีชุมชน
   วันนี้ถือเป็นวันสำคัญที่สภาเกษตรอินทรีย์ พีจีเอส.แห่งประเทศไทยได้เห็นชอบธรรมนูญของสภาฯ.และคณะกรรมการบริหารอย่างเป็นทางการชุดแรกแทนคณะกรรมการบริหารชุดเฉพาะกิจด้วยความร่วมมือของทุกภาคส่วนโดยเฉพาะเครือข่ายองค์กรเกษตรอินทรีย์หลักๆเช่น มูลนิธิเกษตรอินทรีย์ไทย มูลนิธิ เกษตรกรรมยั่งยืน สมาพันธ์เกษตรอินทรีย์ไทย พี จี เอส สหพันธ์เกษตรกรรมยั่งยืนแห่ง ประเทศไทย ยังมีกลุ่มเกษตรกรเกษตรอินทรีย์ พี จี เอส ในเครือข่ายอื่นๆ อีกเป็นจํานวนมากที่พร้อมจะร่วมกันขับเคลื่อนสภาเกษตรอินทรีย์ พี จี เอส และแผนดําเนินงานขับเคลื่อนระบบ พี จี เอส ของประเทศให้พัฒนาก้าวหน้าต่อไป เพื่อให้บรรลุวัตถุประสงค์ (1) เพิ่มพื้นที่และปริมาณการผลิตเกษตรอินทรีย์ (2) เพิ่มการค้าและการบริโภคสินค้าเกษตรอินทรีย์ (3) เพื่อให้สินค้าเกษตรอินทรีย์ที่ได้รับการรับรองตามมาตรฐานเป็นที่ยอมรับของผู้บริโภคทั้งในและต่างประเทศ (4) เพื่อให้ไทยเป็นศูนย์กลาง (Hub) ของสินค้าและบริการด้านเกษตรอินทรีย์ในระดับภูมิภาคอาเซียน 


   

'อลงกรณ์' นำกระทรวงเกษตรขับเคลื่อน ”เพชรบุรีโมเดล” คิกออฟโครงการพืชเศรษฐกิจใหม่สาหร่ายอาหารแห่งอนาคต(Future Food)หวังสร้างอาชีพเพิ่มรายได้ให้เกษตรกร

นายอลงกรณ์ พลบุตร ที่ปรึกษารัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ในฐานะประธานคณะกรรมการฟื้นฟูและพัฒนาศักยภาพการประมงไทยกล่าววันนี้(14 ส.ค.)ว่า วันนี้เป็นการคิกออฟขับเคลื่อนโครงการพืชเศรษฐกิจใหม่สาหร่าย:อาหารแห่งอนาคต(Future Food)ที่เพชรบุรีเป็นจังหวัดแรกเพื่อสร้างอาชีพเพิ่มรายได้เกษตรกรโดยกรมประมงซึ่งมีภารกิจตามกฎหมายรับผิดชอบสัตว์น้ำและพืชน้ำเป็นหน่วยงานหลักในการบริหารโครงการร่วมด้วยนายสมบุญ ธัญญาผล ประมงจังหวัด ว่าที่ร้อยตรีอาณัติ หุ่นหลา เกษตรจังหวัด นส.ศิริวรรณ เครือเล็ก เกษตรและสหกรณ์จังหวัด นายประพัฒน์ ก่อสวัสดิพัฒน์ ผอ.ศูนย์วิจัยและพัฒนาประมงชายฝั่งจังหวัดเพชรบุรี

การเลือกเพชรบุรีเป็นจังหวัดคิดออฟโครงการเนื่องจากมีพื้นฐานการเพาะเลี้ยงสาหร่ายพวงองุ่นใหญ่ที่สุดในประเทศไทยในพื้นที่อำเภอบ้านแหลมโดยการสนับสนุนของกรมประมงและเป็นจังหวัดตัวอย่างต้นแบบในยุทธศาสตร์และแผนกลยุทธ์การพัฒนาสาหร่ายให้เป็นหนึ่งในจังหวัดต้นแบบภายใต้แนวทาง ”เพชรบุรีโมเดล” ซึ่งจะส่งเสริมตั้งแต่การวิจัยและพัฒนา การพัฒนาการผลิตด้วยภูมิปัญญาท้องถิ่นและเทคโนโลยีสมัยใหม่ การสร้างศักยภาพผู้เพาะเลี้ยงสาหร่าย การแปรรูปสร้างมูลค่าเพิ่มโดยวิสาหกิจชุมชน องค์กรชุมชนประมงท้องถิ่นและผู้ประกอบการภาคเอกชน  การสร้างแบรนด์และการส่งเสริมการตลาดทั้งออนไลน์และออฟไลน์ โดยกรมประมงได้ผนึกความร่วมมือกับภาครัฐภาคเอกชนภาควิชาการ มูลนิธิเวิลด์วิว ไคลเมท และมูลนิธิเวิลด์วิว อินเตอร์เนชั่นแนลโดยได้เยี่ยมชมศูนย์วิจัยและพัฒนาประมงชายฝั่งจังหวัดเพชรบุรีที่แหลมผักเบี้ยดำเนินการวิจัยและพัฒนาสาหร่ายทะเลหลายสายพันธุ์เช่น สาหร่ายพวงองุ่น สาหร่ายลิ้นมังกร สาหร่ายผักกาด สาหร่ายโพรง สาหร่ายขนนกและสาหร่ายผมนางเป็นต้น จากนั้นจึงไปดูกิจการฟาร์มเลี้ยงสาหร่ายเช่นแฟมิลิฟาร์ม เบญจมาศฟาร์มและฟาร์มเลี้ยงสาหร่ายแบบเกษตรอินทรีย์ที่ฟาร์มทะเลตัวอย่างในสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์พระบามราชินีนาถ

'อลงกรณ์' ชู นครปฐม เมืองอุตสาหกรรมเกษตร ไฟเขียวแผนพัฒนาการเกษตรและสหกรณ์จังหวัดนครปฐม 5 ปี (2566-2570) ย้ำเร่งเดินหน้าพัฒนาเกษตรกรรมยั่งยืนระดับตำบลและชุมชนเมือง

นายอลงกรณ์ พลบุตร ที่ปรึกษารัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ และคณะ เป็นประธานการประชุมคณะอนุกรรมการพัฒนาการเกษตรและสหกรณ์จังหวัดนครปฐม โดยมี นายรัฐศาสตร์ ชิดชู รองผู้ว่าราชการจังหวัดนครปฐม นายพูลลาภ อุไรงาม เกษตรและสหกรณ์จังหวัดนครปฐม นายศิริชัย เลี้ยงอำนวย เกษตรจังหวัดนครปฐม นายสมคิด เปี่ยมค้า นายณฐกร สุวรรณธาดา คณะที่ปรึกษารัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ นายจิตติศักดิ์ ศรีปัญญา ผู้อำนวยการกองนโยบายเทคโนโลยีเพื่อการเกษตรและเกษตรกรรมยั่งยืน พร้อมด้วยหัวหน้าส่วนราชการที่เกี่ยวข้อง ให้การต้อนรับและเข้าร่วมประชุม ณ ห้องประชุมสามัคคีมุขมาตย์ ชั้น 4 (ส่วนต่อขยาย) ศาลากลางจังหวัดนครปฐม

นายอลงกรณ์ กล่าวว่า นครปฐมเป็นเมืองอุตสาหกรรมเกษตรที่สำคัญของประเทศและเป็นเมืองหลักของจังหวัดปริมณฑล สำหรับการขับเคลื่อนการดำเนินงานภาคการเกษตรในพื้นที่จังหวัดนครปฐม ตามนโยบาย 5 ยุทธศาสตร์ 15 นโยบายของรัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ มีโครงการสำคัญที่ดำเนินการใน 5 เรื่อง ได้แก่ 1) การขับเคลื่อนการเกษตรระดับหมู่บ้านสู่การผลิตสินค้าเกษตรมูลค่าสูง 2) การพัฒนาเกษตรกรรมยั่งยืนในเมือง 3) การพัฒนาการเกษตรกรรมยั่งยืนระดับตำบล 4) การขับเคลื่อน BCG ด้านการเกษตร และ 5) การขับเคลื่อนการดำเนินงานศูนย์เทคโนโลยีเกษตรและนวัตกรรม (AIC) และการบริหารจัดการเชิงพื้นที่จังหวัดนครปฐม มีสินค้าสำคัญ ทั้งด้านพืช ประมง และปศุสัตว์ ได้แก่ ข้าว กล้วยไม้ มะพร้าวน้ำหอม กุ้งขาว กุ้งก้ามกราม ปลานิล สุกร โคนม และไก่ไข่

ซึ่งการประชุมในครั้งนี้ ที่ประชุมได้เห็นชอบ (ร่าง) แผนพัฒนาการเกษตรและสหกรณ์จังหวัดนครปฐม ฉบับ 5 ปี (พ.ศ. 2566 - 2570) ฉบับทบทวน รอบปี พ.ศ. 2567 ที่จะเป็นกรอบในการขับเคลื่อนงานภาคการเกษตรในพื้นที่ต่อไปแผนพัฒนาการเกษตรและสหกรณ์จังหวัดนครปฐม 5 ปี (2566-2570) 

"กระทรวงเกษตรฯ มุ่งขับเคลื่อนภาคการเกษตรสู่เกษตรมูลค่าสูง (Next Normal) โดยมี 12 คานงัดสำคัญ ได้แก่ 1) ศูนย์เทคโนโลยีเกษตรและนวัตกรรม (AIC) 2) ศูนย์ข้อมูลเกษตรแห่งชาติ 3) ดิจิตอล ทรานสฟอร์เมชั่น (Digital Transformation) 4) เกษตรอัจฉริยะและตลาดออนไลน์ 5) เกษตรกรรมยั่งยืนในเมือง-ชนบท 6) เกษตรแห่งอนาคต อาหารแห่งอนาคต 7) โลจิสติกส์เกษตรเชื่อมไทย-เชื่อมโลก 8) เกษตรแปลงใหญ่ สตาร์ทอัพเกษตร 9) ยกระดับเกษตรกรก้าวใหม่ 10) เกษตรสร้างสรรค์ สู่เกษตรมูลค่าสูง (The Brand Project) เน้นแปรรูปสร้างมูลค่าและพัฒนาแบรนด์ 11) การพัฒนาเชิงพื้นที่ (Area base) ไม่มีเหลื่อมล้ำ 12) เปิดกว้างสร้างหุ้นส่วน (Partnership platform) ในประเทศและต่างประเทศ”

นายอลงกรณ์ได้ย้ำให้เดินหน้าพัฒนาเกษตรกรรมยั่งยืนระดับตำบลและชุมชนเมืองเป็นโครงการใหม่เสมือนคานงัดการปฏิรูปภาคเกษตรของกระทรวงเกษตรฯ ภายใต้แนวคิด “บริหารโดยชุมชน เป็นของชุมชน และเพื่อชุมชน” โดยมีคำสั่งแต่งตั้งคณะกรรมการพัฒนาเกษตรกรรมยั่งยืนทุกตำบลของนครปฐมและทุกจังหวัดแล้ว ซึ่งจะเป็นกลไกพัฒนาหมู่บ้านตำบลแบบบูรณาการทุกภาคส่วน ควบคู่กับการเดินหน้าโครงการเกษตรกรรมยั่งยืนในเมือง มีวัตถุประสงค์เพื่อส่งเสริมระบบเกษตรกรรมยั่งยืนในรูปแบบต่างๆ เช่น เกษตรอินทรีย์ เกษตรทฤษฎีใหม่ วนเกษตร เกษตรธรรมชาติ เกษตรผสมผสาน เพื่อเพิ่มพื้นที่สีเขียวและพัฒนาเกษตรกรรมยั่งยืนครอบคลุม 76 จังหวัดและกรุงเทพมหานคร

จากนั้นที่ปรึกษารัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ได้ลงพื้นที่ตรวจติดตามความก้าวหน้าการดำเนินงานแปลงใหญ่ข้าวและการบริหารจัดการศูนย์เรียนรู้การเพิ่มประสิทธิภาพการผลิตสินค้าเกษตร (ศพก.) โดยมี ว่าที่ร้อยโทอรรถชล ทรัพย์ทวี นายอำเภอกำแพงแสน เจ้าหน้าที่ กำนัน ผู้ใหญ่บ้านและนายสมคิด เปี่ยมคล้า ทีมงานที่ปรึกษารัฐมนตรีเกษตรรวมถึงเกษตรกร ให้การต้อนรับ ณ หมู่1 ตำบลทุ่งขวาง อำเภอกำแพงแสน จังหวัดนครปฐม ซึ่งแปลงใหญ่ดังกล่าว สามารถลดต้นทุนการผลิต เพิ่มผลผลิต จากเดิม 800 กิโลกรัม/ไร่ เพิ่มเป็น 1,000 กิโลกรัม/ไร่ มีการพัฒนาคุณภาพ โดยสมาชิกผู้ปลูกข้าวแปลงใหญ่ทั้งหมด อยู่ระหว่างการขอการรับรองมาตรฐานการผลิตข้าว GAP แบบกลุ่ม ซึ่งปัจจุบันอยู่ในขั้นตอนการดำเนินการเตรียมความพร้อมเพื่อขอการรับรอง เป้าหมายเกษตรกรแปลงใหญ่ได้รับใบรับรอง GAP ทั้งหมด 32 ราย หรือ 100% รวมถึงมีการสร้างเครือข่ายด้านการตลาด และจำหน่ายผ่านช่องทางออนไลน์ เช่น facebook ฯลฯ

‘อลงกรณ์’ ลุยพัฒนาเกษตรฯยั่งยืนระดับตำบล นำร่องเพชรบุรีจังหวัดแรก ก่อนขยายไปทั่วปท.

'อลงกรณ์' เร่งวางรากฐานการพัฒนาเกษตรกรรม ยกระดับสู่ความยั่งยืน 7,255 ตำบลทั่วประเทศ ลุยเดินหน้าผนึกพลังชุมชนนำร่องเพชรบุรีโมเดลร่วมกับหน่วยราชการศูนย์ AIC และ ภาคเอกชน

นายอลงกรณ์ พลบุตร ที่ปรึกษารัฐมนตรีเกษตรและสหกรณ์ในฐานะประธานคณะอนุกรรมการขับเคลื่อนเกษตรกรรมยั่งยืนแห่งชาติเปิดเผยวันนี้ภายหลังเป็นประธานการประชุมเพื่อสร้างการรับรู้นโยบายและแนวทางการขับเคลื่อนคณะกรรมการพัฒนาเกษตรกรรมยั่งยืนระดับตำบลในจังหวัดเพชรบุรีภายใต้เพชรบุรีโมเดลเป็นจังหวัดแรก ที่ห้องประชุมองค์การบริหารส่วนตำบลบ้านหม้อและที่ห้องประชุมองค์การบริหารส่วนตำบลหนองโสน อำเภอเมือง จังหวัดเพชรบุรี โดยมีคณะกรรมการพัฒนาเกษตรกรรมยั่งยืนระดับตำบล ตัวแทนส่วนราชการสังกัดกระทรวงเกษตร กลุ่มอาสาสมัครเกษตร กลุ่มเกษตรแปลงใหญ่ เกษตรกรรุ่นใหม่ (Young smart farmer) ศูนย์เรียนรู้การเพิ่มประสิทธิภาพการผลิตสินค้าเกษตร (ศพก.) วิสาหกิจชุมชน กลุ่มแม่บ้านเกษตร ปราชญ์เกษตร กลุ่มผู้ใช้น้ำ ผู้แทนศูนย์เทคโนโลยีเกษตรและนวัตกรรมหรือศูนย์ AIC เพชรบุรี ผู้แทนคณะทำงานเพชรบุรีโมเดล ผู้แทนคณะกรรมการพัฒนาแบรนด์เพชรบุรี คณะทำงานที่ปรึกษารัฐมนตรีเกษตรและสหกรณ์ และผู้นำชุมชนในตำบลบ้านหม้อ ต้นมะม่วง ตำบลหนองโสน ตำบลธงชัย และตำบลบ้านกุ่ม เข้าร่วมประชุม

นายอลงกรณ์ กล่าวถึงวัตถุประสงค์ในการประชุมว่าต้องการที่จะให้แต่ละตำบลได้มีการพัฒนาระบบเกษตรกรรมในแนวทางการพัฒนาอย่างยั่งยืนพร้อมกันทั่วประเทศ 7,255 ตำบล ขณะนี้มีการแต่งตั้งเสร็จแล้ว ซึ่งเป็นความร่วมมืออย่างใกล้ชิดระหว่างกระทรวงเกษตร กระทรวงมหาดไทยและทุกภาคีภาคส่วนโดยหวังว่าการพัฒนาเกษตรกรรมยั่งยืนจะสร้างอาชีพสร้างรายได้เพิ่มให้กับเกษตรกรและชุมชน เป็นเครื่องมือในการแก้ปัญหาหนี้สินและความยากจน โดยมีการส่งเสริมทั้ง3สาขาเกษตรคือพืช ประมงและปศุสัตว์ตามศักยภาพและอัตลักษณ์ของแต่ละตำบลเป็นการปักหลักวางหมุดหมายการพัฒนาแบบยั่งยืนลงไปถึงระดับชุมชนหมู่บ้าน ภายใต้ 5 ยุทธศาสตร์ของ ดร.เฉลิมชัย ศรีอ่อน รัฐมนตรีเกษตรฯ ได้แก่ ตลาดนำการผลิต เทคโนโลยีเกษตร 4.0 เกษตรปลอดภัย เกษตรยั่งยืน เกษตรมั่นคง การบูรณาการทำงานเชิงรุกทุกภาคส่วน และเกษตรกรรมยั่งยืนตามแนวทางศาสตร์พระราชาเพื่อสร้างการเปลี่ยนแปลงในระดับพื้นที่ซึ่งจะเป็นกลไกการพัฒนาหมู่บ้านตำบลแบบบูรณาการทุกภาคส่วน เชื่อว่ากลไกใหม่ที่วางไว้ทุกตำบลทั่วทั้งประเทศ จะเป็นเสาเข็มใหม่ 7,255 ต้นที่จะเป็นฐานที่แข็งแกร่งให้กับชุมชนและประเทศ

'อลงกรณ์' เชิญอธิบดีกรมวิชาการชี้แจงฟรุ้ทบอร์ด หลังทราบข่าว 'ผู้อำนวยการสวพ.6' ถูกโยกย้าย

(26 ต.ค. 65) นายอลงกรณ์ พลบุตร ที่ปรึกษารัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ในฐานะประธานที่ประชุมคณะกรรมการพัฒนาและบริหารจัดการผลไม้ (ฟรุ้ทบอร์ด) เปิดเผยว่า หลังจากทราบข่าวว่ามีการโยกย้าย นายชลธี นุ่มหนู ผู้อำนวยการสำนักวิจัยและพัฒนาการเกษตรเขตที่ 6 (สวพ.6) ไปดำรงตำแหน่งผู้อำนวยการกองพัฒนาระบบและรับรองมาตรฐานสินค้าพืช จนมีเสียงเรียกร้องจากหลายองค์กรด้านผลไม้ขอให้มีการทบทวนการโยกย้ายดังกล่าว จึงให้ฝ่ายเลขาฯ เชิญอธิบดีกรมวิชาการมาชี้แจงต่อที่ประชุมฟรุ้ทบอร์ด ซึ่งมีการประชุมทุก 2 เดือน โดยครั้งต่อไปจะประชุมในวันพฤหัสบดีที่ 27 ตุลาคมนี้ถึงเหตุผลในการโยกย้ายนายชลธี ซึ่งเป็นข้าราชการในสังกัดกรมวิชาการที่รับผิดชอบพื้นที่ภาคตะวันออกอันเป็นแหล่งผลิตผลไม้แหล่งใหญ่ที่สุดของประเทศ

"ฟรุ้ทบอร์ดเป็นคณะกรรมการระดับชาติมีหน้าที่รับผิดชอบการพัฒนาและบริหารจัดการผลไม้เศรษฐกิจของประเทศจึงให้ความสำคัญกับบุคคลากรที่เป็นคีย์แมนคนสำคัญๆ ของทุกกระทรวงทบวงกรมและตำแหน่งผู้อำนวยการสวพ.6 ก็เป็นหนึ่งในจำนวนนั้น จึงขอทราบเหตุผลและความจำเป็นของการโยกย้ายดังกล่าว แม้การโยกย้ายแต่งตั้งข้าราชการจะเป็นอำนาจของผู้บริหารกรม ซึ่งฟรุ้ทบอร์ดไม่มีอำนาจไปก้าวก่ายแทรกแซงการบริหารงานบุคคล

'อลงกรณ์' เผย กรกอ. มีมติเห็นชอบโครงการ 'เพชรบุรีฟู้ดวัลเลย์' เขตอุตสาหกรรมเกษตรใหญ่ที่สุดของประเทศ พร้อมสนับสนุนโครงการจัดตั้งศูนย์นวัตกรรมอาหารภาคกลางตอนล่างของมหาวิทยาลัยราชภัฏเพชรบุรี 

สภาอุตสาหกรรมภาคกลางเตรียมเชิญ 'เกรียงไกร เธียรนุกุล' ประธานสอท. ลงพื้นที่เยี่ยมชมโครงการเพชรบุรีฟู้ดวัลย์ 24พ.ย. นี้

นายอลงกรณ์ พลบุตร ที่ปรึกษารัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ในฐานะประธานคณะกรรมการความร่วมมือระหว่างกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ และสภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย (กรกอ.) เป็นประธานการประชุมครั้งที่ 4/2565 ผ่านระบบประชุมทางไกล Zoom Meeting วันนี้ (7 พฤศจิกายน 2565) โดยมีผู้เข้าร่วมประชุมประกอบด้วย นายประยูร อินสกุล ปลัดกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ นายทวีกิจ จตุรเจริญคุณ รองประธานสภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย นายสุรชัย โสตถีวรกุล ประธานสภาอุตสาหกรรมภาคกลาง นายสาโรจน์ วสุวานิช ประธานสภาอุตสาหกรรมภาคตะวันออก ทันตแพทย์สุพจน์ หวังปรีดาเลิศกุล ประธานสภาอุตสาหกรรมภาคเหนือ นายหัสดิน สุวัฒนะพงศ์เชฏ เลขาธิการสภาอุตสาหกรรมภาคตะวันออกเฉียงเหนือ นายนิติธร กฤตสิน กรรมการสภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย และผู้แทนหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง 

โดยมี นางสาวพรชาตา บุสสุวัณโณ ผู้อำนวยการส่วนแผนพัฒนาระบบโลจิสติกส์ด้านการเกษตร ทำหน้าที่เลขานุการฯ การประชุม นายอลงกรณ์เปิดเผยภายหลังการประชุมว่า วันนี้ที่ประชุม 'กรกอ.'ในวาระเพื่อพิจารณาได้มีมติเป็นเอกฉันท์เห็นชอบโครงการ เพชรบุรีฟู้ดวัลเลย์ (Phetchaburi Food Valley ) นำเสนอโดยนายมานพ โตการค้า ผู้บริหารโครงการตั้งอยู่ในอำเภอแก่งกระจาน และอำเภอท่ายาง จังหวัดเพชรบุรี ในพื้นที่ที่มีศักยภาพทั้งทางด้านคมนาคม การสื่อสาร ไฟฟ้า และน้ำ โดยพื้นที่ดังกล่าว เคยเป็นโครงการสร้างเมืองอุตสาหกรรมท่องเที่ยวบริการ ปัจจุบันได้ปรับพื้นที่เป็นโครงการอุตสาหกรรมเกษตรขนาดใหญ่ ที่ได้มีการจัดสรรพื้นที่ตามศักยภาพ และเป็นไปตามกฎหมายผังเมือง ประกอบด้วย 

 

1. ศูนย์แสดงนวัตกรรมการเกษตร 70 ไร่ หน้าพื้นที่โครงการ จะเป็นศูนย์เรียนรู้นวัตกรรมการเกษตร และการเจรจาธุรกิจ ห้องประชุม และศูนย์วิจัยเทคโนโลยี PlatForm การเกษตร ก่อสร้างคืบหน้า 50%
2. แปลงปลูกข้าวโพด และหญ้าเนเปียร์ 12,000 ไร่ ในพื้นที่อำเภอแก่งกระจาน ปัจจุบันปลูกข้าวโพดและหญ้าเนเปียร์แล้ว 5,000 ไร่ เพื่อผลิตอาหารสัตว์ที่มีราคาถูก

3. คอกโคกลาง 1,600 ไร่ ในพื้นที่อำเภอแก่งกระจาน เป็นคอกมาตรฐานที่มีการใช้ร่ววมกัน มีน้ำสะอาด อาหารราคาถูก และการดูแลรักษาได้มาตรฐานลดต้นทุนการผลิต โดยจังหวัดเพชรบุรีเป็นจังหวัดที่เลี้ยงโคส่งขายปีละกว่า140,000- 150,000 ตัว
4. ฟาร์มกุ้งระบบปิด 2,000 ไร่ ในพื้นที่ตำบลท่าไม้รวกและตำบลกลัดหลวง อำเภอท่ายาง ซึ่งได้รับอนุญาตจากประมงแล้ว โดยจะมีการใช้เทคโนโลยีเป็นเครื่องมือในการช่วยให้สามารถเพิ่มผลิตภาพการผลิตกุ้งอย่างมีคุณภาพ
5. โรงงานแปรรูป 1,000 ไร่ ในพื้นที่ตำบลไม้รวก อำเภอท่ายาง เป็นโซนพื้นที่รองรับการตั้งโรงงานแปรรูปผลผลิตการเกษตร ซึ่งมีความพร้อมทั้งถนนคอนกรีต น้ำประปา แหล่งน้ำขนาดใหญ่ ไฟฟ้าแรงสูง รวมถึง Internet
6. โซล่าฟาร์ม 4,000 ไร่ ซึ่งเป็นพื้นที่เหมาะสมสำหรับผลิตโซล่าฟาร์ม มีสายส่งขนาด 115KV ผ่าน ปัจจุบันได้เริ่มดำเนินการแล้ว 900 ไร่ โดยบริษัทด้านโซล่าฟาร์มชั้นนำของประเทศ

ในการนี้ ประธานฯ ได้ให้ผู้บริหารโครงการพิจารณาจัดทำฮาลาลฟู้ดวัลเลยฺ( Halal Food Valley )ในพื้นที่โครงการด้วย จัดว่าเป็นเขตอุตสาหกรรมเกษตรใหญ่ที่สุดในประเทศไทย

ทั้งนี้โครงการ เพชรบุรีฟู้ดวัลเลย์จะเป็นส่วนหนึ่งของโครงการ 1 กลุ่มจังหวัด 1 เขตส่งเสริมอุตสาหกรรมเกษตรอาหาร ซึ่งเป็นหนึ่งในโครงการเรือธง (Flagship Project) ของคณะกรรมการความร่วมมือระหว่างกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ และสภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย ในกลุ่มจังหวัดเพชรสมุทรคีรี (เพชรบุรี ประจวบคีรีขันธ์ สมุทรสงครามและสมุทรสาคร) โดยมีศูนย์ AIC เพชรบุรีคือมหาวิทยาลัยราชภัฏเพชรบุรีให้การสนับสนุน และเป็นส่วนหนึ่งของการพัฒนาระเบียงเศรษฐกิจตะวันตก (Western Economic Corridor: WEC) ตามนโยบายรัฐบาลนับเป็นอีกตัวอย่างหนึ่งของการบริหารงานใหม่แบบใหม่ นำไปสู่เกษตรมูลค่าสูง ด้วยเทคโนโลยีของไทย ครอบคลุมทั้งพืช ประมง และปศุสัตว์โดยใช้เทคโนโลยีเกษตรและนวัตกรรมเมดอินไทยแลนด์เป็นฐานสำคัญ

นอกจากนี้ที่ประชุมยังเห็นชอบสนับสนุนโครงการจัดตั้งศูนย์นวัตกรรมภาคกลางตอนล่างของมหาวิทยาลัยราชภัฏเพชรบุรี ซึ่งเป็นโครงการที่เกื้อหนุนโครงการเพชรบุรีฟู้ดวัลเลย์ด้วย
โดยนายสุรชัยโสตถีวรกุล ประธานสภาอุตสาหกรรมภาคกลางและประธานกรกอ.ภาคกลางเตรียมเชิญนายเกรียงไกร เธียรนุกุลประธานสภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทยลงพื้นที่เยี่ยมชมโครงการเพชรบุรีฟู้ดวัลย์ในวันที่ 24พ.ย. นี้ด้วย

นอกจากนี้ที่ประชุมยังรับทราบผลการดำเนินงานของคณะอนุกรรมการความร่วมมือระหว่างกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ และสภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย ระดับภาคได้แก่
1. คณะอนุกรรมการ”กรกอ.ภาคเหนือ )ได้จัดทำแนวทางการพัฒนาเกษตรอุตสาหกรรมและอาหารภาคเหนือ ระยะ 5 ปี (พ.ศ.2566 – 2570) โดยเพิ่มเติมพืชที่มีศักยภาพที่จะผลักดัน เข้าสู่โครงการเกษตรแม่นยำสู่ธุรกิจเกษตรอุตสาหกรรม 5 ล้านไร่ คือ ข้าวโพด ชา กาแฟ กล้วยหอมทอง และพืชสมุนไพร  นอกเหนือจาก อ้อย และข้าวโพดหวานที่ดำเนินการอยู่แล้ว 
2. คณะอนุกรรมการ”กรกอ.ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ”ได้เข้าพบประธานสภาอุตสาหกรรมภาคตะวันออกเฉียงเหนือ (นายสมยศ ชาญจึงถาวร) ซึ่งประธานฯ พร้อมให้การสนับสนุน เพื่อให้เกิดการขับเคลื่อนงานเชิงประจักษ์ตามแผนความร่วมมือระหว่าง กษ. และ ส.อ.ท. และขอให้มีการดำเนินการตามโครงการพัฒนาเกษตรแม่นยำสู่ธุรกิจเกษตรอุตสาหกรรม 2 ล้านไร่ ในระยะที่ 2 ต่อไป และรับทราบผลการจัดทำแผนขับเคลื่อนการบริหารจัดการสินค้าเกษตรที่สำคัญในระดับพื้นที่ (5 กลุ่มจังหวัด) โดยมีสินค้าสำคัญ คือ มันสำปะหลัง ข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ ยางพารา และโคเนื้อ ซึ่งจะนำมาเข้าเวทีเพื่อขับเคลื่อนและจัดทำแผนร่วมกันว่า สินค้าดังกล่าวมีความโดดเด่นเพียงใด โดยประธานฯ ได้มอบหมายให้ทุกคณะอนุกรรมการฯ ในแต่ละภาค เชื่อมโยงข้อมูลกับศูนย์ข้อมูลเกษตรแห่งชาติ( NABC )ของกระทรวงเกษตรและสหกรณ์รวมถึงเชื่อมโยงกับศูนย์เทคโนโลยีเกษตรและนวัตกรรม( AIC )ในเรื่อง รายการนวัตกรรม(Innovation Catalog )ที่มีเกือบ800นวัตกรรมโดยให้ฝ่ายเลขาฯ ภาค ประสานศูนย์ AIC ในการเข้าร่วมประชุม เพื่อนำเสนอเทคโนโลยีและนวัตกรรมเพื่อใช้ประโยชน์ต่อการพัฒนาในโครงการต่าง  ๆ
3. คณะอนุกรรมการฯ ภาคกลาง รายงานความก้าวหน้าโครงการการพัฒนาอุตสาหกรรมอาหารสัตว์น้ำและการเพาะเลี้ยงพันธุ์ปลาสวยงามในการส่งออกต่างประเทศ (Aqua Feed & Ornamental Freshwater Fish Industry : AFOF) เพื่อฟื้นฟูเศรษฐกิจหลังการระบาดของโรค Covid-19 ในเขตภาคกลางตอนล่าง 1 ได้ประชุมร่วมกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง อาทิ มหาวิทยาลัยมหิดล ศูนย์ AIC สภาอุตสาหกรรมฯ ระดับภาค โดยได้จัดทำข้อเสนอเพื่อขอรับการสนับสนุนงบประมาณจากกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ จำนวน 135 ล้านบาท


TRENDING
© Copyright 2021, All rights reserved. THE STATES TIMES
Take Me Top