Monday, 13 May 2024
อลงกรณ์พลบุตร

‘เฉลิมชัย’ มอบนโยบายเร่ง ‘เพิ่มรายได้’ เกษตรกร พร้อมตั้งเป้าพัฒนา ‘อาชีพปศุสัตว์’ สู่เกษตรมูลค่าสูง

'อลงกรณ์' ขานรับทันทีเดินหน้าเพชรบุรีโมเดลดีเดย์ 11 พ.ย.ระดมพลคนปศุสัตว์ผนึกทุกภาคส่วนร่วมพัฒนาโคขุนโคนมโคพื้นเมืองตั้งแต่ต้นน้ำถึงปลายน้ำพร้อมยกระดับวัวลานประเพณีวิถีไทยสู่มาตรฐานใหม่

นายอลงกรณ์ พลบุตร ที่ปรึกษารัฐมนตรีเกษตรและสหกรณ์เปิดเผยวันนี้ว่า ภายใต้นโยบายของดร.เฉลิมชัย ศรีอ่อน รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ที่ให้เร่งเพิ่มรายได้เกษตรกรอย่างยั่งยืนโดยตั้งเป้าหมายพัฒนาอาชีพปศุสัตว์สู่เกษตรมูลค่าสูงตามหมุดหมายใหม่ของแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติฉบับที่ 13 ในระหว่างปฏิบัติราชการที่จังหวัดเพชรบุรีเมื่อวันที่ 21 ตุลาคมที่ผ่านมาสำนักงานปศุสัตว์จังหวัดเพชรบุรีโดยคำแนะนำของที่ปรึกษารัฐมนตรีเกษตรฯ จึงได้จัดการประชุมเรื่อง 'การพัฒนาโคขุนโคนม โคพื้นเมืองและวัวลานกีฬาประเพณีวิถีไทย' เป็นครั้งแรกเพื่อพัฒนาการปศุสัตว์อย่างเป็นระบบและยกระดับรายได้ของเกษตรกรให้สูงขึ้นอย่างยั่งยืนในวันศุกร์ที่ 11 พ.ย. เวลา 14.00- 16.00 น. ณ ห้องประชุม สำนักงานเกษตรและสหกรณ์จังหวัดเพชรบุรีโดยประสานงานเขิญทุกภาคส่วนได้แก่จังหวัดเพชรบุรี พาณิชย์จังหวัด เกษตรและสหกรณ์จังหวัด เกษตรจังหวัด สหกรณ์จังหวัด อุตสาหกรรมจังหวัด ศูนย์วิจัยอาหารสัตว์ วิทยาลัยเกษตรและเทคโนโลยี ศูนย์เทคโนโลยีเกษตรและนวัตกรรมเพชรบุรี มหาวิทยาลัยราชภัฏเพชรบุรี มหาวิทยาลัยศิลปากรวิทยาเขตชะอำ สภาอุตสาหกรรม หอการค้า สมาพันธ์เอาเอ็มอี ตัวแทนกลุ่มเกษตรกรผู้เลี้ยงโคขุนโคนมโคพื้นเมือง วัวลาน วิสาหกิจชุมชนโค โคแปลงใหญ่ และตัวแทนจากกรมปศุสัตว์ ฯลฯ เข้าร่วมประชุม

นายอลงกรณ์กล่าวว่า เพชรบุรีเป็นจังหวัดที่มีการเลี้ยงโคขุนโคนมและโคพื้นเมืองมากที่สุดจังหวัดหนึ่งของประเทศถือเป็นฐานรายได้สำคัญของเกษตรกรจึงมีความพร้อมที่จะเดินหน้ายกระดับการพัฒนาแบบครบวงจรภายใต้โครงการเพชรบุรีโมเดลตั้งแต่พันธ์ุโค อาหารสัตว์ มาตรการฟาร์ม การปฏิบัติทางการเกษตรที่ดี (GAP) ฟาร์มที่มีระบบการป้องกันโรคและการเลี้ยงสัตว์ที่เหมาะสม (GFM) ฟาร์มปลอดโรคปากและเท้าเปื่อย (FMD) คอกกักมาตรฐานเอกชนสำหรับการนำเข้า การส่งออก และปลอดโรค FMD การแปรรูปสร้างมูลค่าเพิ่ม การสร้างแบรนด์ และการตลาดแบบออฟไลน์และออนไลน์เช่นกรณีของพรี่เมี่ยมบี๊ฟ(Premium Beef)แปรรูปผลิตภัณฑ์จำหน่ายได้มากกว่า 30 ผลิตภัณฑ์ เช่น สันนอก สเต็กแช่แข็ง ลิ้นแองกัสสไลด์แช่แข็ง เนื้อหมักกระเทียมพริกไทยเสียบไม้ โดยจำหน่ายให้กับผู้ประกอบการรายใหญ่ และส่งไปจำหน่ายยังสาธารณรัฐแห่งสหภาพพม่าได้อีกด้วยหรือกลุ่มโคเพชรบุรีสามารถส่งโคไปภาคใต้สู่ตลาดมาเลเซียเป็นต้นหากมีการยกระดับการพัฒนาจะเพิ่มศักยภาพเพิ่มโอกาสให้เกษตรกรมากขึ้นโดยเฉพาะการขยายความสัมพันธ์การค้าการลงทุนระหว่างไทยกับซาอุดีอาระเบียด้านการเกษตรและปศุสัตว์จะเพิ่มช่องทางใหม่ๆให้กับเพชรบุรีซึ่งเลี้ยงและจำหน่ายโคกว่า140,000-150,000ตัวต่อปี พร้อมกันนี้ก็จะจะพัฒนาวัวลานซึ่งเป็นกีฬาประเพณีวิถีไทยสู่มาตรฐานใหม่ให้สามารถจัดการแข่งขันได้สม่ำเสมอรวมทั้งการส่งเสริมวัวเทียมเกวียน

'อลงกรณ์' คิกออฟงาน 'ประเพณีแรกนาเกลือ' ครั้งแรกของประเทศส่งเสริมวัฒนธรรมซอฟท์เพาเวอร์ผสานเทคโนโลยีสมัยใหม่ภายใต้แผนพัฒนาเกลือทะเลไทย

นายอลงกรณ์ พลบุตร ที่ปรึกษารัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ในฐานะประธานคณะกรรมการพัฒนาเกลือทะเลไทยของกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ เป็นประธานเปิดงานอนุรักษ์และสืบสาน 'ประเพณีแรกนาเกลือ'เต็มรูปแบบภูมิปัญญาด้านเกลือทะเล ครั้งแรกของประเทศในวันนี้ที่ตำบลโคกขาม อำเภอเมือง จังหวัดสมุทรสาคร

นายอลงกรณ์ กล่าวเปิดงานว่า การจัดงานอนุรักษ์และสืบสาน 'ประเพณีแรกนาเกลือ' ครั้งนี้ ถือเป็นการจัดงานครั้งแรกแบบเต็มรูปแบบภูมิปัญญาและวัฒนธรรมการทำนาเกลือทะเล ซึ่งจะเป็นต้นแบบให้กับจังหวัดอื่น ๆ ที่มีการประกอบอาชีพทำนาเกลือทะเล ได้แก่ เพชรบุรี สมุทรสงคราม ฉะเชิงเทรา ชลบุรี จันทบุรี และปัตตานี ได้นำไปประยุกต์ในการจัดงานในปีต่อ ๆ ไป ถือเป็นการรื้อฟื้นประเพณีโบราณของนาเกลือเพื่อความเป็นสิริมงคลฤกษ์งามยามดีสู่ผลผลิตที่สมบูรณ์ต่อยอดด้วยมาตรฐานและคุณภาพใหม่ (มาตรฐานสินค้าเกษตร (มกษ.) และการปฏิบัติทางการเกษตรที่ดี (GAP) ตลอดจนการพัฒนาผลิตภัณฑ์หลากหลายสร้าง Story สร้างแบรนด์ด้วยการตลาดยุคดิจิทัลและแนวทางซอฟท์เพาเวอร์(Soft power) ซึ่งก่อนหน้านี้ได้จัดงานสืบสานประเพณี 'ทำขวัญเกลือ' เป็นครั้งแรกที่อำเภอบ้านแหลมจังหวัดเพชรบุรี เมื่อวันที่28 มกราคม 2565ที่ผ่านมา

นอกจากนี้ ภายในงานนี้ยังมีการจัดนิทรรศการของหน่วยงานภาคีเพื่อเป็นการถ่ายทอดเทคโนโลยีการผลิตเกลือทะเลเพื่อการเริ่มต้นฤดูกาลผลิตใหม่ในด้านต่าง ๆ เช่น ทิศทางในการพัฒนาเกลือทะเลไทย ปี 2566 – 2570 จากสำนักงานเลขานุการคณะกรรมการพัฒนาเกลือทะเลไทย กรมส่งเสริมการเกษตร การพัฒนาเกลือทะเลให้มีคุณภาพและมาตรฐาน (GAP เกลือทะเล) จากสำนักงานมาตรฐานสินค้าเกษตรและอาหารแห่งชาติ การแสดงเทคโนโลยีการพัฒนาต้นแบบรถลำเลียงเกลือแบบตัวตักด้านหน้ากึ่งอัตโนมัติ จากมหาวิทยาลัยราชภัฏเพชรบุรี และการเชื่อมโยงการทำนาเกลือกับกิจกรรมอื่น ๆ เช่น แหล่งท่องเที่ยวเชิงเกษตร การสร้างรายได้เสริมนอกฤดูกาลการทำนาเกลือ อาทิ การเลี้ยงสัตว์น้ำประมงชายฝั่ง การเพาะเลี้ยงและการแปรรูปสาหร่ายพวงองุ่น และการแปรรูปเกลือทะเลเพื่อเพิ่มมูลค่า รวมทั้งการจัดแสดงและจำหน่ายสินค้าที่เกี่ยวข้องกับเกลือทะเล เช่น อาหารทะเลแปรรูป แหล่งท่องเที่ยวเชิงเกษตร และร้านอาหารและที่พักที่อยู่ในการท่องเที่ยวเส้นทางเกลือ ภายใต้แนวคิด 'Salt Sand Seafood'

“เกลือทะเลนั้นมีประวัติศาสตร์ยาวนานคู่กับประวัติศาสตร์ไทย ส่วนประวัติศาสตร์เกลือโลกนั้นในยุโรปยุคกรีก-โรมันเรียกเกลือว่า สสารแห่งพระเจ้า เป็นยุทธปัจจัยและสารอาหารที่สำคัญมาก สำหรับประเทศไทยมีการทำนาเกลือมากว่า800ปีการฟื้นฟูให้ความสำคัญกับพิธีแรกนาเกลือและพิธีทำขวัญเกลือจึงเป็นส่วนหนึ่งของแผนพัฒนาเกลือทะเลไทยเพื่อสร้างขวัญกำลังใจและสร้างแบรนด์เกลือทะเลไทย” นายอลงกรณ์กล่าวในที่สุด

'ประเพณีแรกนาเกลือ' เป็นการประกอบพิธีกรรมการเริ่มทำนาเกลือในฤดูกาลใหม่ ที่จัดขึ้นก่อนเริ่มทำนาเกลือในแต่ละปี คือประมาณเดือนพฤศจิกายนหรือช่วงหลังออกพรรษา โดยถือฤกษ์ยามอันดีคือตรงกับวันพฤหัสบดีและวันธงชัย ในเวลาเช้าของวัน ตั้งแต่ 07.00 เป็นต้นไป ผู้ทำพิธีจะหันหน้าไปทางทิศตะวันออก โดยชาวนาเกลือมีความเชื่อว่าเป็นพิธีกรรมที่เกิดขึ้นจากความเชื่อในเรื่องสิ่งศักดิ์สิทธิ์ เพื่อให้เกิดความเป็นสิริมงคลในการทำนาเกลือ ทำให้การทำนาเกลือมีความราบรื่น ไม่มีอุปสรรค และได้ผลผลิตเกลือเป็นจำนวนมาก เพื่อให้การทำนาเกลือได้ผลผลิตตามที่ต้องการ และประสบผลสำเร็จในการทำนาเกลือ จึงมีพิธีเซ่นไหว้สิ่งศักดิ์สิทธิ์ด้วยของมงคล อาทิ ขนมต้มแดงต้มขาว ขนมขี้หนู ไข่ต้ม หัวหมู เป็ดพะโล้ และผลไม้มงคล 9 อย่าง เป็นต้นการจัดงานเริ่มจากพิธีสงฆ์ โดยพระสงฆ์ จำนวน 9 รูป เจริญพระพุทธมนต์ รับประเคนภัตตาหารเช้า และให้พรเพื่อความเป็นสิริมงคล แล้วจึงเริ่มประกอบพิธีแรกนาเกลือ โดยพราหมณ์หรือเจ้าพิธีทำพิธีบวงสรวงเชิญเทพยดา ถวายเครื่องสักการะเป็นเครื่องบูชาในการประกอบพิธีแรกนาเกลือ ประธานในพิธีและแขกผู้มีเกียรติจุดธูปเทียนสักการะสิ่งศักดิ์สิทธิ์นำกระทงบรรจุขนมมงคลไปวางอยู่บริเวณหูนา นำพลั่วขุดดินขานานำน้ำแก่เข้านาเพื่อเริ่มการทำนาเกลือทะเล โดยประธานประพรมน้ำพระพุทธมนต์ พร้อมลั่นฆ้องเพื่อเป็นสัญญาณการเริ่มต้นการแรกนาเกลือ บริเวณนาเกลือเพื่อเป็นสิริมงคล เป็นอันเสร็จพิธี

‘อลงกรณ์’ นำสินค้าเกษตรฯร่วมไฮไลท์เอเปค โชว์ก้าวใหม่สร้างสรรค์เกษตรสู่มูลค่าสูง

‘อลงกรณ์’ รวมพลคนครีเอทีฟร่วมคิกออฟ งานสินค้าเกษตรXคาแรคเตอร์ หนึ่งในกิจกรรมไฮไลท์การประชุมเอเปค 2022 ระหว่างวันที่ 18 - 20 พ.ย.ที่ตลาดน้ำ อตก.

นายอลงกรณ์ พลบุตร ที่ปรึกษารัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ เป็นประธานเปิดงาน 'ตลาดนัดสินค้าเกษตร X คาแรคเตอร์' ( Agriproducts X Character Market ) พร้อมกล่าวว่า กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ดำเนินงานตามนโยบายรัฐบาล ยุทธศาสตร์การพัฒนาประเทศ นโยบาย 'ตลาดนำการผลิต และนโยบายเทคโนโลยีเกษตร 4.0' ของ ดร.เฉลิมชัย ศรีอ่อน รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ที่มุ่งพัฒนาการผลิตตั้งแต่ต้นน้ำถึงปลายน้ำเพื่อให้ประเทศไทยเป็นครัวของโลก รวมทั้งยกระดับสู่เกษตรมูลค่าสูงตามหมุดหมายใหม่ของแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติฉบับที่ 13 โดยใช้แนวทางเศรษฐกิจสร้างสรรค์ในรูปแบบคาแรคเตอร์มาเพิ่มมูลค่าของสินค้าเกษตรและผลิตภัณฑ์เกษตรของเกษตรกร วิสาหกิจชุมชน สหกรณ์และสถาบันเกษตรกร รวมทั้งการส่งเสริมสตาร์ทอัพเกษตรรุ่นใหม่ 

ซึ่งจากข้อมูลของสมาคมลิขสิทธิ์นานาชาติ หรือ LIMA ระบุว่า สำหรับปี 2564 ภาพรวมของสินค้าและบริการที่นำเอาลิขสิทธิ์ของผลงานสร้างสรรค์ในรูปแบบต่าง ๆ มาใช้ในโลก มีมูลค่าสูงถึง 315.5 พันล้านเหรียญสหรัฐ โดยเพิ่มขึ้นมาจากปี 2019 ร้อยละ 7.75 แม้จะเป็นช่วงที่มีสถานการณ์การระบาดของโคโรนาไวรัสทั่วโลกก็ตาม นอกจากนี้มูลค่าของค่าลิขสิทธิ์ผลงานสร้างสรรค์ในช่วงเวลาเดียวกัน ก็เพิ่มขึ้นร้อยละ 10.6 โดยมีมูลค่าราว 17.4 พันล้านเหรียญสหรัฐ โดยคาแรคเตอร์เป็นประเภทผลงานสร้างสรรค์ที่มูลค่าสูงสุดถึง 129.9 พันล้านเหรียญ หรือคิดเป็นร้อยละ 41 ของผลงานสร้างสรรค์ทุกประเภท เนื่องจากคาแรคเตอร์มีจุดเด่นที่สามารถนำเอาไปใช้ได้ง่าย และเข้าถึงผู้บริโภคได้หลากหลายวิธี ส่วนในประเทศไทยมีมูลค่าการใช้คาแรคเตอร์สูงกว่าค่าเฉลี่ยของโลกราวร้อยละ 20 (ร้อยละ 62 ของมูลค่ารวมโดยประมาณ) ติดต่อกันมาอย่างต่อเนื่องหลายปี โดยใช้ในการส่งเสริมการขายและการตลาดของภาคธุรกิจในสินค้าหลากหลายประเภทที่จำหน่ายอยู่ในร้านสะดวกซื้อ ตามกิจกรรมการตลาดที่ประชาสัมพันธ์ออกมาตามสื่อต่าง ๆ หรือนำไปผลิตเป็นสินค้า ตลอดจนใช้ในการประชาสัมพันธ์การบริการต่าง ๆ ซึ่งเกือบทั้งหมดก็จะเป็นคาแรคเตอร์ชั้นนำ ที่ได้รับความนิยมจากต่างประเทศที่เรารู้จักกันดี แต่แทบจะไม่มีคาแรคเตอร์ไทยได้แชร์ส่วนแบ่งเลย

สำหรับการจัดงานในครั้งนี้ กระทรวงเกษตรและสหกรณ์มองเห็นโอกาสดังกล่าวในการนำไปเพิ่มมูลค่าของสินค้าเกษตรไทย จึงได้กำหนดแนวทางการดำเนินการส่งเสริมการใช้คาแรคเตอร์กับธุรกิจเกษตร โดยคณะอนุกรรมการขับเคลื่อนธุรกิจเกษตร (Agribusiness) ของกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ซึ่งมีนายโฆสิต สุวินิจจิต เป็นประธาน ได้ต่อยอดผลสำเร็จของโครงการ Change 2021 และ 2022 Visual Character Arts for SME ของสำนักงานส่งเสริมเศรษฐกิจสร้างสรรค์ ร่วมกับสมาคมการค้าลิขสิทธิ์และของที่ระลึก จากคาแรคเตอร์ดีไซน์ของเล่น และผลงานศิลป์ร่วมสมัยไทย หรือสมาคม TCAP (ทีแคป) ซึ่งยึดแนวความคิดแบบเศรษฐกิจเผื่อแผ่ โดยให้โอกาสเกษตรกร วิสาหกิจชุมชน และผู้ประกอบการ SME ในพื้นที่ของคาแรคเตอร์นั้น ๆ สามารถยื่นขออนุญาตนำลิขสิทธิ์คาแรคเตอร์ไปใช้ส่งเสริมการขายสินค้าและบริการของตนได้ โดยไม่มีค่าลิขสิทธิ์ ซึ่งแนวทางนี้หากได้รับความร่วมมือจากหน่วยงานและองค์กรต่าง ๆ ทั้งภาครัฐและเอกชนร่วมผลักดัน ซึ่งนอกจากจะทำให้เกิดความแข็งแรงของคาแรคเตอร์ในภาพรวมเปรียบเสมือนหนึ่งในแบรนดิ้งจังหวัดแล้ว ยังจะทำให้เกิดประโยชน์กับทุกภาคส่วนที่นำไปใช้ กระจายไปทั่วประเทศ โดยผู้สนใจสามารถติดต่อสอบถาม เพื่อซื้อหรือขอใช้ลิขสิทธิ์คาแรคเตอร์ไปใช้ในการพัฒนาสินค้า โดยกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ จะขยายผลความร่วมมือนี้ให้กระจายไปสู่พี่น้องเกษตรกรและผู้ประกอบการทั่วประเทศต่อไป 

'อลงกรณ์' ชงฟรุ้ทบอร์ดเห็นชอบโครงการจัดตั้ง มหานครผลไม้ (Fruit Metropolis) และ กองทุนผลไม้แห่งชาติ เพื่อยกระดับจันทบุรีและภาคตะวันออกเป็นฮับผลไม้โลก

นายอลงกรณ์ พลบุตร ที่ปรึกษารัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ในฐานะประธานคณะทำงานศึกษาโครงการมหานครผลไม้ และการขนส่งผลไม้ผ่านสนามบินจันทบุรี เปิดเผยวันนี้ภายหลังเป็นประธานการประชุม คณะทำงานศึกษาโครงการมหานครผลไม้ และการขนส่งผลไม้ผ่านสนามบินจันทบุรี ว่า คณะทำงานฯ.จะเสนอฟรุ้ทบอร์ด (Fruit Board) พิจารณาเห็นชอบพิมพ์เขียวแนวทางการพัฒนาโครงการจัดตั้งมหานครผลไม้ (Fruit Metropolis Blueprint) และหลักการแห่งร่างกฎหมายกองทุนผลไม้แห่งชาติ (National Fruit Fund)รวมทั้งแนวทางการพัฒนาสนามบินจันทบุรีในการประชุมฟรุ้ทบอร์ดครั้งต่อไปคาดว่าเป็นปลายเดือนหน้าหรือต้นเดือนมกราคมเพื่อยกระดับจันทบุรี ภาคตะวันออกเป็นฮับผลไม้โลกในฐานะที่ประเทศไทยเป็นประเทศผู้นำการผลิตและส่งออกผลไม้และผลิตภัณฑ์ผลไม้ของโลกโดยปีที่ผ่านมาสามารถส่งออกสร้างรายได้เข้าประเทศกว่า 2 แสนล้านบาท 

โครงการมหานครผลไม้มุ่งต่อยอดการพัฒนาจากฐานศักยภาพปัจจุบันของจังหวัดจันทบุรี ระยอง ตราดและจังหวัดอื่นๆในภาคตะวันออกเชื่อมโยงกับศักยภาพของระเบียงเศรษฐกิจตะวันออก(Eastern Economic Corridor)โดยจะจัดตั้งบนพื้นที่ของรัฐในอำเภอนายายอามและอำเภอท่าใหม่ของจังหวัดจันทบุรีพร้อมกับการพัฒนาสนามบินจันทบุรีเป็นสนามบินพาณิชย์
โดยโครงการมหานครผลไม้ประกอบไปด้วยการแบ่งโซนพื้นที่และองค์ประกอบสำคัญเช่น
1.ศูนย์บริหารจัดการผลไม้ครบวงจร 
2.ศูนย์ธุรกิจ แสดงสินค้าและการประชุม
3. ศูนย์การค้าอีคอมเมิร์ซและการประมูลออนไลน์
4.ศูนย์แปรรูปผลไม้
5.ศูนย์โลจิสติกส์ การขนส่งและคลังสินค้า
6.ศูนย์รวบรวมคัดแยกและบรรจุผลไม้สด
7. ศูนย์ห้องเย็น(Cold Chain Center)
8.ศูนย์ปฎิบัติการแล็ปกลาง
9.ศูนย์ตรวจรับรองคุณภาพผลไม้
10.ศูนย์วิจัยและพัฒนาโดยสถาบันผลไม้(Fruit Academy)จัดตั้งภายใต้ระบบAIC(ศูนย์เทคโนโลยีเกษตรและนวัตกรรม-Agritech and Innovation Center)

นายอลงกรณ์กล่าวต่อไปว่า การบริหารจัดการจะใช้รูปแบบPPPและการลงทุนของภาคเอกชนเป็นหลักเน้นการแปรรูปสร้างมูลค่าเพิ่มสู่เกษตรมูลค่าสูงโดย ต่อยอดและเชื่อมโยงเสริมศักยภาพปัจจุบันของตลาดผลไม้และระบบการค้าการส่งออกที่มีอยู่เดิมเพิ่มในส่วนที่ขาดมุ่งสู่การเป็นศูนย์กลางผลไม้ของโลก รวมทั้งการสร้างแพลตฟอร์มเครือข่ายความร่วมมือกับภาครัฐภาคเอกชนภาควิชาการและภาคเกษตรกรชาวสวนผลไม้ภายในประเทศและต่างประเทศที่เป็นตลาดสำคัญเช่น จีน ญี่ปุ่น อินเดีย ฮ่องกง อาเซียน อังกฤษ สหรัฐอเมริกา ออสเตรเลีย ดูไบ ซาอุดีอาระเบีย เนเธอร์แลนด์และอียู ฯลฯ ในรูปแบบคล้ายคลึง FKIIของญี่ปุ่นและโมเดลFood Valleyของเนเธอร์แลนด์ ทั้งนี้ในฐานะประธานกรกอ.จะนำโครงการมหานครผลไม้เข้าสู่การพิจารณาของการประชุมคณะกรรมการความร่วมมือระหว่างกระทรวงเกษตรและสหกรณ์กับสภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย(กรกอ.)ครั้งหน้าเพื่อเชิญชวนผู้ประกอบการโรงงานกลุ่มคลัสเตอร์แปรรูปผลไม้และเวชสำอางค์ที่สนใจมาลงทุน

นอกจากนี้ ที่ประชุมได้รับทราบความก้าวหน้าในการพัฒนาและปรับปรุงสนามบินท่าใหม่ จังหวัดจันทบุรี และเห็นว่ามีศักยภาพที่จะพัฒนาเป็นสนามบินพาณิชย์เพื่อการขนส่ง การค้าและการท่องเที่ยวของกลุ่มจังหวัดนอกเขตอีอีซี.โดยช่วงแรกจะใช้สนามบินอู่ตะเภา สนามบินนานาชาติสุวรรณภูมิและสนามบินจังหวัดตราดไปพลางก่อนโดยจะมีหนังสือขอการสนับสนุนจากกระทรวงคมนาคมรวมทั้งการขยายระบบรางมายังโครงการมหานครผลไม้ด้วย

‘อลงกรณ์’ ไอเดียกระฉูด!! มุ่งพัฒนาเกษตรวิถีเมือง สอดรับ BCG Model ช่วยยกระดับเศรษฐกิจสีเขียว

วันนี้ (7 ธันวาคม 2565) นายอลงกรณ์ พลบุตร ที่ปรึกษารัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ได้ให้เกียรติบรรยาย ในหัวข้อเรื่อง ‘เกษตรอินทรีย์วิถีในเมือง สู่ BCG Model’ ในงานสัมมนาออนไลน์ส่งเสริมเกษตรกรรมยั่งยืนวิถีในเมือง ผ่านระบบ Zoom Cloud Meeting ซึ่งจัดขึ้นโดย สำนักงานมาตรฐานสินค้าเกษตรและอาหารแห่งชาติ เพื่อให้ผู้เข้าร่วมสัมมนาตระหนักถึงนโยบายและความสำคัญของเกษตรกรรมยั่งยืนโดยเฉพาะพื้นที่ในเมืองที่สร้างความมั่นคงทางอาหารของคนเมือง รวมถึงสนับสนุนการสร้างพื้นที่เกษตรกรรมในเมืองให้เป็นแหล่งผลิตอาหาร ส่งเสริมคุณภาพชีวิต และเศรษฐกิจชุมชนมีรายได้ด้วยเศรษฐกิจสีเขียว

นายอลงกรณ์ ได้กล่าวถึง 17 เป้าหมายการพัฒนาอย่างยั่งยืนของสหประชาชาติ (Sustainable Development Goals : SDGs) เป็นส่วนหนึ่งของแนวทางในการกำหนดแผนแม่บทเพื่อการพัฒนา เศรษฐกิจและสังคมสู่ความยั่งยืน ซึ่งประเทศไทยเป็นครัวของโลกมีศักยภาพและเป้าหมายในการเป็นประเทศผู้ผลิตและส่งออกเกษตรปลอดภัย และอาหารปลอดภัยท็อปเทนของโลก โดยกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ได้กำหนดยุทธศาสตร์ที่สำคัญ คือ ยุทธศาสตร์ 3 s (Safety-Security-Sustainability )เกษตรปลอดภัย เกษตรมั่นคง และเกษตรยั่งยืน 

โดยยกตัวอย่างการเพิ่มพื้นที่สีเขียวและการทำเกษตรกรรมยั่งยืนในประเทศ ๆ เช่น จีน สวีเดน สิงคโปร์ อัลบาเนีย เกาหลี ญี่ปุ่นที่สามารถนำมาเป็นแนวทางในการปรับพื้นที่สีเขียวในเมืองให้เข้ากับพื้นที่ในประเทศไทย

ปัจจุบันกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ได้วางหมุดหมายการพัฒนาเกษตรกรรมยั่งยืนทั้ง 5 สาขา คือ เกษตรอินทรีย์ วนเกษตร เกษตรธรรมชาติ เกษตรทฤษฎีใหม่ และเกษตรผสมผสานครอบคลุมทั่วประเทศเพื่อเพิ่มพื้นที่สีเขียวและทำการเกษตร เป็นการพัฒนาแบบคู่ขนานทั้งในเมืองและชนบท

‘อลงกรณ์’ ดันไทยเป็นฮับรถยนต์ไฟฟ้าดัดแปลงของอาเซียน (ASEAN Ev Conversion Hub) เสนอแผนปั้นอุตสาหกรรมรถยนต์ไฟฟ้าแนวใหม่ แนะรัฐออก 8 มาตรการส่งเสริมการแปลงรถยนตร์เบนซินดีเซลเป็นรถไฟฟ้า

นายอลงกรณ์ พลบุตร ที่ปรึกษารัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ในฐานะผู้ก่อตั้งและประธานที่ปรึกษามูลนิธิสถาบันพลังงานทางเลือกแห่งประเทศไทย ให้เกียรติกล่าวปาฐกถาพิเศษ ‘อนาคตประเทศไทยภายใต้ความท้าทายใหม่’ ในงาน ‘We Change ... BEV Conversion’ โดยมุ่งเน้นถึงทิศทางแนวโน้มอุตสาหกรรม แนวทางสนับสนุนของภาครัฐ องค์กร เพื่อลดปัญหาอุปสรรค ข้อจำกัดของอุตสาหกรรมการใช้ยานยนต์ไฟฟ้า และการดัดแปลงยานยนต์ไฟฟ้าของไทย ซึ่งมูลนิธิสถาบันพลังงานทางเลือกแห่งประเทศไทย (AEITF) ร่วมกับ บริษัท สื่อสากล จำกัด ตระหนักถึงความสำคัญในการสร้างความมั่นใจให้ผู้บริโภค ได้รับทราบถึงทิศทางการพัฒนาของอุตสาหกรรมยานยนต์ไฟฟ้าที่จะเป็นประโยชน์ต่อการสร้างมูลค่าเพิ่มเชิงเศรษฐกิจการพาณิชย์ ตามนโยบายไทยแลนด์ 4.0 ของรัฐบาล แผนการอนุรักษ์พลังงาน พ.ศ. 2558-2579 ของกระทรวงพลังงาน ตลอดจนสร้างกระแสความรับรู้มาตรการส่งเสริมภาครัฐ มุมมองการดัดแปลงยานยนต์ไฟฟ้าและจักรยายนต์ไฟฟ้าสำหรับธุรกิจรายย่อยและประชาชนทั่วไป โดยมี นายสุเมฆ ปัณฑรานุวงศ์ ประธานมูลนิธิสถาบันพลังงานทางเลือกแห่งประเทศไทย กล่าวรายงานวัตถุประสงค์ในการจัดงาน นายขวัญชัย ปภัสร์พงษ์ ประธานบริษัทสื่อสากล จำกัด และประธานจัดงานมหกรรมยานยนต์ กล่าวเปิดงานและกล่าวต้อนรับผู้เข้าร่วมการเสวนา ณ งานมหกรรมยานยนต์ ครั้งที่ 39 The 39th Thailand International MOTOR EXPO 2022 ห้องประชุมจูปีเตอร์ 8-9 อาคารชาเลนเจอร์ อิมแพ็คเมืองทองธานี

นายอลงกรณ์ ได้กล่าวปาถกถาถึงศักยภาพและอนาคตอุตสาหกรรมยานยนต์ไฟฟ้าประเทศไทย โอกาสและความท้าทายของสถานการณ์สำคัญของโลก และการตอบโจทย์การเปลี่ยนแปลงทางสภาพภูมิอากาศของโลก (Climate Chang) โดยรัฐบาลได้มีนโยบายส่งเสริมให้เกิดการผลิตการใช้ยานยนต์ไฟฟ้าในประเทศ 

โดยคณะกรรมการยานยนต์ไฟฟ้าแห่งชาติ (บอร์ด EV) กำหนดนโยบาย 30@30 >> การผลิตรถ ZEV (Zero Emission Vehicle) หรือรถยนต์ที่ปล่อยมลพิษเป็นศูนย์ให้ได้อย่างน้อย 30% ของการผลิตยานยนต์ทั้งหมดในปี ค.ศ. 2030โดยมุ่งสู่สังคมคาร์บอนต่ำ (Low Carbon Society) และการเป็นฐานการผลิตยานยนต์ไฟฟ้าและชิ้นส่วนที่สำคัญของโลกหรือศูนย์กลางของภูมิภาค (EV Hub) 

'อลงกรณ์' มั่นใจประชาธิปัตย์ภาคกลางได้ ส.ส.เพิ่มขึ้น เร่งเดินหน้าฟื้นศรัทธาประชาชนพร้อมชูธงนำประเทศก้าวข้ามความขัดแย้งฝ่าวิกฤตเศรษฐกิจการเมือง

นายอลงกรณ์ พลบุตร รองหัวหน้าพรรคและประธานคณะกรรมการขับเคลื่อนยุทธศาสตร์พรรคประชาธิปัตย์เป็นประธานในพิธีเปิดโครงการสัมนาสมาชิกและเครือข่ายแกนนําพรรคประชาธิปัตย์ 26 จังหวัดภาคกลางและบรรยายพิเศษในหัวข้อ” นโยบายและผลงานพรรคประชาธิปัตย์กับการเลือกตั้งครั้งหน้า”ระหว่างวันที่ 16- 17 ธันวาคมนี้ที่จังหวัดเพชรบุรี

โดยนายอลงกรณ์กล่าวว่า พรรคประชาธิปัตย์เป็นพรรคการเมืองพรรคแรกของประเทศอยู่มา76ปีถือเป็นสถาบันทางการเมืองหลักผ่านร้อนผ่านหนาวเป็นฝ่ายค้านที่ทำหน้าที่ตรวจสอบรัฐบาลปกป้องรักษาผลประโยชน์ของประชาชนและเมื่อเป็นรัฐบาลได้สร้างผลงานเป็นรูปธรรมมาหลายยุคหลายสมัยในการวางรากฐานเศรษฐกิจและการพัฒนาประเทศโดยเฉพาะในช่วง30ปีที่ผ่านมา(2535-2565)ตั้งแต่ยุคหัวหน้าพรรค นายชวน หลีกภัย นายบัญญัติ บรรทัดฐาน นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ และนายจุรินทร์ ลักษณวิศิษฎ์ รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีพาณิชย์ หัวหน้าพรรคคนปัจจุบันครอบคลุมการพัฒนาประเทศทุกมิติ เช่น การพัฒนาเศรษฐกิจ การค้า การลงทุน การพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานและโลจิสติกส์ การพัฒนาท้องถิ่น การกระจายอำนาจ การพัฒนาคุณภาพชีวิต การพัฒนาการศึกษาและการสาธารณสุข เช่นการจัดตั้ง กระทรวงแรงงาน กองทุนกู้ยืมเพื่อการศึกษา โครงการนมโรงเรียนและอาหารกลางวัน องค์การบริหารส่วนตำบล(อบต.) โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล( รพสต. ) กองทุนฟื้นฟูและพัฒนาเกษตรกร มหาวิทยาลัยภูมิภาค ถนนสี่เลน รถไฟทางคู่ สนามบินสุวรรณภูมิ โฉนดชุมชน การปฏิรูปที่ดิน กองทุนเศรษฐกิจสร้างสรรค์ โครงการประกันรายได้เกษตรกร ศูนย์เทคโนโลยีเกษตรและนวัตกรรม77จังหวัด คณะกรรมการพัฒนาเกษตรกรรมยั่งยืน7,255ตำบล และการสร้างรายได้เข้าประเทศจากการส่งออกกว่า8.5ล้านล้านบาทในปีที่ผ่านมา เป็นต้นและในยามที่บ้านเมืองเกิดวิกฤติทางการเมืองและทางเศรษฐกิจเช่นต้มยำกุ้งและแฮมเบอร์เกอร์ไครซิส พรรคประชาธิปัตย์ได้เข้ามาบริหารจนประเทศรอดพ้นปลอดภัยจากวิกฤติหลายต่อหลายครั้ง

 

‘อลงกรณ์’ ปลื้ม ปชช.โหวตเชื่อมั่น ‘ประชาธิปัตย์’ ชู เป็นสถาบันการเมืองหลัก ไร้ประวัติทุจริต

‘อลงกรณ์’ ขอบคุณประชาชนโหวตเชื่อมั่นพรรคประชาธิปัตย์ ยืนหนึ่งสถาบันทางการเมืองหลักของประเทศ พร้อมยินดีกับพรรคภูมิใจไทยและ ‘อนุทิน’ ที่ประชาชนเชื่อมั่น เตรียมนำขนมหม้อแกงเมืองเพชรเป็นขนมใจพบหารือปมปัญหา 2 พรรค

นายอลงกรณ์ พลบุตร รองหัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์ ประธานคณะกรรมการขับเคลื่อนยุทธศาสตร์พรรคและที่ปรึกษารัฐมนตรีเกษตรและสหกรณ์ เขียนแสดงความเห็นในไลน์กรณีซูเปอร์โพลเปิดเผยผลสำรวจภาพจดจำ “ที่สุดแห่งปีและที่สุดของพรรคการเมือง” วันนี้ว่า ขอขอบคุณซูเปอร์โพลและพี่น้องประชาชนที่โหวตจดจำพรรคประชาธิปัตย์เป็นที่สุดของพรรคการเมืองแห่งปีในฐานะสถาบันทางการเมืองหลักของประเทศและเป็นพรรคขวัญใจของเกษตรกร ไม่มีประวัติด่างพร้อยเรื่องทุจริตและนายจุรินทร์ ลักษณวิศิษฏ์ หัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์ยังเป็นผู้นำพรรคการเมืองที่ประชาชนเชื่อมั่นในการแก้ปัญหาปากท้อง รายได้และหนี้สินของประชาชนอันดับที่3

“กำลังใจของพี่น้องประชาชนที่มอบให้ในครั้งนี้ พรรคประชาธิปัตย์จะแปรเปลี่ยนเป็นพลังในการมุ่งมั่นทุ่มเททำงานพัฒนาและแก้ไขปัญหาของประชาชนด้วยความซื่อสัตย์สุจริตเพื่อนำประเทศฝ่าวิกฤติเศรษฐกิจและก้าวข้ามความขัดแย้งทางการเมืองให้สำเร็จโดยเร็วให้สมกับความไว้วางใจของประชาชน

พร้อมกันนี้ ขอแสดงความยินดีกับพรรคภูมิใจไทยและนายอนุทิน ชาญวีระกุล หัวหน้าพรรคที่ได้รับการโหวตเป็นพรรคการเมืองแห่งปีในภาพการจดจำการบริหารวัคซีนโควิดและผู้นำอันดับหนึ่งที่เชื่อว่าจะแก้ไขปัญหาปากท้องรายได้และหนี้สินของประชาชน

ก็ถือโอกาสวันดี ๆ ของพรรคประชาธิปัตย์และพรรคภูมิใจไทยขอบิณฑบาตปมปัญหา 2 พรรค เพราะประชาชนไม่อยากเห็นความขัดแย้งทางการเมือง สัปดาห์หน้าจะเอาขนมหม้อแกงเมืองเพชรไปฝากพร้อมจับเข่าสนทนากันครับ” นายอลงกรณ์เขียนทิ้งท้ายในที่สุด

ทั้งนี้เมื่อวันที่ 18 ธ.ค.ที่ผ่านมา ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.นพดล กรรณิกา ผู้อำนวยการสำนักวิจัยซูเปอร์โพล (SUPER POLL) ได้เปิดเผยผลสำรวจความคิดเห็นประชาชน เรื่อง 'ที่สุดแห่งปี ที่สุดแห่งพรรคการเมือง' กรณีศึกษาประชาชนทุกสาขาอาชีพทั่วประเทศ จำนวน 1,190 ตัวอย่าง ระหว่างวันที่ 14 – 17 ธ.ค.2565 เมื่อถามถึงพรรคการเมืองที่เป็นสถาบันการเมืองในระบอบประชาธิปไตยมายาวนานที่สุด พบว่า พรรคประชาธิปัตย์ได้ร้อยละ 56.3 รองลงมาคือ พรรคเพื่อไทย ร้อยละ 20.4 พรรคภูมิใจไทย ร้อยละ 18.9 และอื่น ๆ ร้อยละ 4.4 ได้แก่ พรรคพลังประชารัฐ พรรคก้าวไกล เป็นต้น 

เมื่อถามถึงพรรคการเมืองที่ถูกคาดหวังให้ช่วยเหลือเกษตรกร พบ 5 อันดับแรกที่มากที่สุดคือ พรรคประชาธิปัตย์ ร้อยละ 43.0 รองลงมาคือ พรรคภูมิใจไทย ร้อยละ 39.8 พรรคเพื่อไทยร้อยละ 30.7 พรรคพลังประชารัฐร้อยละ 26.9 และพรรคก้าวไกล ร้อยละ 9.6

'เฉลิมชัย' เดินหน้าพัฒนาประจวบคีรีขันธ์เป็นมหานครสับปะรดของโลก หลังไทยยืนหนึ่งแชมป์โลกส่งออกสับปะรด

นายอลงกรณ์ พลบุตร ที่ปรึกษารัฐมนตรีเกษตรและสหกรณ์และรองหัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์ได้รับมอบหมายจาก ดร.เฉลิมชัย ศรีอ่อน รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ให้เป็นประธานเปิดงานและบรรยายในการประชุมใหญ่ครั้งที่38ของสหกรณ์ชาวไร่สับปะรดสามร้อยยอด จังหวัดประจวบคีรีขันธ์ โดยมี นายมนตรี ปาน้อยนนท์ ส.ส.ประจวบคีรีขันธ์ นายณฐกร สุวรรณธาดา คณะที่ปรึกษารัฐมนตรีเกษตรฯ นายอำเภอสามร้อยยอด สหกรณ์จังหวัดประจวบคีรีขันธ์ ส่วนราชการต่างๆ นายชาญชัย ธนะกมลประดิษฐ์ ประธานและคณะกรรมการอำนวยการสหกรณ์และสมาชิกให้การต้อนรับ โดยนายอลงกรณ์กล่าวบรรยายว่าสถานการณ์การเพาะปลูกและผลผลิตสับปะรดในปี 2565 มีพื้นที่เก็บเกี่ยว 457,255 ไร่ คิดเป็นปริมาณผลผลิต 1.772 ล้านตัน โดยแหล่งผลิตสำคัญ ได้แก่ ประจวบคีรีขันธ์ ราชบุรี เพชรบุรี พิษณุโลกและระยอง 

ซึ่งเพิ่มขึ้นจาก 3 ปีที่ผ่านมาร้อยละ 0.39 ร้อยละ 2.68 และร้อยละ 2.27 ตามลำดับ ทางด้านราคาตั้งแต่ปี 2563 ถึงต้นปี 2564 ราคาอยู่ในเกณฑ์ดีทำให้เกษตรกรรายใหม่ขยายพื้นที่ปลูกเพิ่มขึ้นนายอลงกรณ์กล่าวต่อไปว่า ศักยภาพของประเทศไทยในฐานะประเทศผู้ส่งออกสับปะรดและผลิตภัณฑ์สับปะรดกระป๋องเป็นอันดับ1ของโลกด้วยมูลค่า2หมื่นล้านบาทครองสัดส่วนตลาดโลก32%ตามมาด้วยฟิลิปปินส์22% ซึ่งพื้นที่ปลูกสับปะรดมากที่สุดและมีโรงงานสับปะรดมากที่สุดคือประจวบคีรีขันธ์จึงเป็นเสมือนมหานครสับปะรดของไทยและของโลก โดยการบริหารจัดการสับปะรดเชิงโครงสร้างและระบบ และการกำหนดแผนและเป้าหมายการเป็นมหานครสับปะรดของโลก ภายใต้ คณะกรรมการนโยบายและพัฒนาสับปะรดแห่งชาติที่มีรองนายกรัฐมนตรีจุรินทร์ ลักษณวิศิษฏ์เป็นประธาน ดร.เฉลิมชัย ศรีอ่อน รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ เป็นรองประธาน ได้ปรับแผนเดิมเป็นแผนใหม่รับมือวิกฤติโควิด19เมรียกว่าแผนพัฒนาสับปะรดปี 2563-2565 พร้อมกับจัดทำแผนพัฒนาสับปะรด5ปี(2566-2570)เพื่อเพิ่มศักยภาพการผลิตการแปรรูปและการตลาด

‘อลงกรณ์’ เผยบอร์ดเกลือเห็นชอบโครงการรักษาเสถียรภาพราคาเกลือ และโครงการสินเชื่อชะลอการขายเกลือปีการผลิต 2565/66 รองรับปริมาณเกลือทะเลปีหน้า 5 แสนตัน

นายอลงกรณ์ พลบุตร ที่ปรึกษารัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ในฐานะประธานคณะกรรมการพัฒนาเกลือทะเลไทยเปิดเผยภายหลังเป็นประธานการประชุมคณะกรรมการฯ ครั้งที่ 5/2565  ว่า ผลการดำเนินการการพัฒนาเกลือทะเลในปี2565 รวมถึงกิจกรรมการสืบทอดและฟื้นฟูประเพณีทำขวัญเกลือและพิธีแรกนาเกลือ เพื่อให้เห็นถึงความสำคัญของเกลือทะเลไทยและเป็นหนึ่งในแนวทางการส่งเสริมSoft power ตลอดจนการคุ้มครองเกลือทะเลไทยจากการค้าระหว่างประเทศ การแสวงหาโอกาสในการส่งออก การพัฒนามาตรฐานเกลือ เพื่อเข้าสู่ตลาดผู้บริโภค รวมทั้งการใช้ผลผลิตจากนาเกลือไปใช้ประโยชน์ด้านต่าง ๆ เช่น การใช้ขี้แดดนาเกลือเพื่อเป็นปุ๋ยให้กับพืช
 
ตลอดจนการแปรรูปเกลือเพื่อเป็นผลิตภัณฑ์เกลือ เช่น เกลือสปา สบู่เกลือ การให้ความสำคัญของการสร้างแบรนด์ การพัฒนานาเกลือเพื่อเป็นแหล่งท่องเที่ยว การช่วยเหลือเกษตรกรกรณีเกิดภัยพิบัติ การสนับสนุนแหล่งสินเชื่อเงินทุนให้กับเกษตรกร ฯลฯ พร้อมทั้งกล่าวชื่นชมและขอบคุณคณะกรรมการพัฒนาเกลือทะเลไทยและหน่วยงานจากทุกภาคส่วนที่เกี่ยวข้อง ในการบูรณาการการทำงานเชิงรุกจากทุกภาคส่วนร่วมกัน ตลอดจนการสร้างระบบและโครงสร้างการพัฒนาเกลือทะเลไทยอย่างยั่งยืน มีการจัดตั้งสถาบันเกลือทะเลไทยซึ่งเป็นศูนย์เทคโนโลยีเกษตรและนวัตกรรม (ศูนย์AIC)ประเภทศูนย์ความเป็นเลิศด้านเกลือ ในการยกระดับการพัฒนาเกลือทะเลไทยสู่มาตรฐานสากล
 
   นายอลงกรณ์ กล่าวต่อไปว่า ที่ประชุมได้รับทราบรายงาน (1) ผลการดำเนินงานอนุรักษ์และสืบสานภูมิปัญญาด้านเกลือทะเล “ประเพณีแรกนาเกลือ” จัดขึ้นเมื่อวันที่ 10 พฤศจิกายน 2565 ณ วิสาหกิจชุมชนสหกรณ์ หมู่ 3 โคกขาม ตำบลโคกขาม อำเภอเมืองสมุทรสาคร จังหวัดสมุทรสาคร (2) การคาดการณ์ปริมาณผลผลิตเกลือทะเล ปีการผลิต 2565/66 คาดการณ์ว่าจะมีผลผลิตเกลือทะเลรวม 7 จังหวัด จำนวน 531,201.87 ตัน โดยจังหวัดเพชรบุรี เป็นจังหวัดที่มีผลผลิตเกลือทะเลมากที่สุด จำนวน 219,292 ตัน คิดเป็นร้อยละ 41.27 รองลงมา ได้ สมุทรสาคร จำนวน 208,674.84 ตัน คิดเป็นร้อยละ 39.28 จังหวัดสมุทรสงคราม 93,840 ตัน จังหวัดชลบุรี 4,015.75 ตัน จังหวัดฉะเชิงเทรา 2,520.27 ตัน จังหวัดปัตตานี 2,310.01 ตัน และจังหวัดจันทบุรี 549 ตัน  (3) ความก้าวหน้าการดำเนินงานการพัฒนาเกลือทะเลไทย สถาบันเกลือทะเลไทย มหาวิทยาลัยราชภัฏเพชรบุรี
 
สถาบันเกลือทะเลไทย ซึ่งได้ดำเนินการขับเคลื่อนการพัฒนาเกลือทะเลไทยและการแก้ไขปัญหาเกลือทะเลอย่างเป็นระบบมาตั้งแต่ปี 2559 จนปัจจุบัน ยกระดับเป็นศูนย์ความเป็นเลิศเฉพาะ เมื่อวันที่ 1 มิถุนายน 2563 Kick off เป็น “ศูนย์เทคโนโลยีเกษตรและนวัตกรรม (Agritech and Innovation Center หรือ AIC)” ให้เป็นแหล่งบริการเกษตรกร ที่รวบรวมองค์ความรู้ทางด้านเทคโนโลยีและนวัตกรรมการเกษตร สามารถนำองค์ความรู้ต่าง ๆ ไปใช้พัฒนาต่อยอดการผลิต สามารถลดต้นทุนการผลิตสินค้าเกษตร และให้สินค้ามีคุณภาพและมาตรฐาน โดยเป็นการทำงานแบบบูรณาการร่วมกัน สำหรับในปีงบประมาณ 2565 ได้ดำเนินการในกิจกรรมต่าง ๆ ดังนี้
 
(1) การสนับสนุนให้เกษตรกรนำเทคโนโลยีสมาร์ทฟาร์มมาปรับใช้เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพและผลผลิตซึ่งจะช่วยลดต้นทุน ด้านแรงงานเพิ่มความสะดวก แม่นยำ และง่ายต่อการบริหารจัดการ ระบบจัดการเก็บเกี่ยวผลผลิตด้วยรถขนเกลือรถกลิ้งนาเกลือไร้คนขับ (2) การสนับสนุนอุตสาหกรรมแปรรูปการวิจัยและพัฒนาเพื่อแปรรูปผลผลิตเกษตรเป็นผลิตภัณฑ์ที่มีมูลค่าเพิ่มสูง อาทิ เกลือคุณภาพสูงน้ำแร่ เซรั่มบำรุงผิว สบู่ดอกเกลือ (3) การพัฒนาแหล่งท่องเที่ยววิถีใหม่จากความหลากหลายทางชีวภาพและวัฒนธรรม เกษตรภูมิปัญญาและระบบบริหารสถานที่ท่องเที่ยวการวิจัยและพัฒนาเพื่อนำเทคโนโลยีดิจิทัลมาช่วยท้องถิ่นสร้างเนื้อหาการท่องเที่ยว ตลอดจนบริหารจัดการเส้นทางและจำนวนนักท่องเที่ยวได้ด้วยตนเองบนเส้นทางสายเกลือ การยกระดับวัฒนธรรมประเพณีท้องถิ่น เช่น พิธีแรกนาเกลือทำขวัญเกลือ (4) การสร้างระบบเศรษฐกิจหมุนเวียนที่เน้นการแปลงของเสียให้เป็นแหล่งรายได้การวิจัยและฒนาเพื่อสร้างมูลค่าเพิ่มให้กับผู้ประกอบการเดิมในระบบรวมทั้งสร้างโอกาสทางเศรษฐกิจแก่ผู้ประกอบการรายใหม่ เช่น โมเดล Zero waste การใช้ประโยชน์จากวัสดุเศษเหลือ ปุ๋ยอินทรีย์ขี้แดดนาเกลือสำหรับพืชผลต่าง ๆ เกลือน้ำทะเลเทียมเพื่อการเลี้ยงสัตว์น้ำเค็ม 
 
ที่ประชุมได้พิจารณา (1) เห็นชอบในหลักการโครงการสินเชื่อชะลอการขายเกลือ ปีการผลิต 2565/66โดยเป็นเรื่องสืบเนื่องจากการประชุมในครั้งที่แล้ว มีวัตถุประสงค์เพื่อชะลอปริมาณเกลือทะเลไม่ให้ออกสู่ตลาดพร้อมกัน บรรเทาความเดือดร้อนของเกษตรกรนาเกลือด้านค่าใช้จ่ายในครอบครัวและหนี้สิน ตลอดจนยกระดับราคาเกลือให้สูงขึ้นและรักษาราคาเกลือให้มีเสถียรภาพ และมอบหมายให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องได้แก่ ธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร กระทรวงพาณิชย์ กรมส่งเสริมการเกษตร และหน่วยงานอื่น ๆ เร่งดำเนินการในส่วนที่เกี่ยวข้องต่อไป
 
(2) แนวการพัฒนาความร่วมมือด้านการตลาดเกลือทะเลไทยในต่างประเทศ  โดยความร่วมมือจากทูตเกษตร (ประเทศเบลเยี่ยม สหรัฐอเมริกา อิตาลี ออสเตรเลีย อินโดนีเซีย จีน ญี่ปุ่น)  เพื่อพิจารณาแนวทางความร่วมมือช่องทางการตลาดไปยังต่างประเทศ  เช่น ช่องทางการขยายตลาดไปต่างประเทศด้วยการตลาดออนไลน์ การให้ความรู้เกี่ยวกับประเทศที่สามารถส่งออก มาตรการสินค้าเกษตรในแต่ละประเทศ ความรู้ทั้งกฎหมายการค้า ภาษี สถิตินำเข้าส่งออกที่น่าสนใจ รวมไปถึงเทคนิคที่สร้างสินค้าให้โดนใจ สามารถเข้าใจ Insight แต่ละประเทศได้ และการเจาะไปที่การตลาดที่เหมาะสมในแบบประเทศนั้น ๆ เป็นต้น เพื่อการสร้างโอกาสในการแข่งขันในตลาดใหม่ และลดผลกระทบกับภาคการเกษตรของไทยเพื่อให้การขับเคลื่อนการสร้างโอกาสในการลงทุนการขยายช่องทางการตลาดเกลือทะเลในต่างประเทศด้วย
 
(3) การใช้นิยามศัพท์ “นาเกลือสมุทร” และ “นาเกลือทะเล” โดยที่ประชุมมีมติใช้คำว่า “นาเกลือทะเล” ซึ่งมีความเหมาะสม และเข้าใจง่ายตรงตามความหมายการทำนาเกลือของเกษตรกร


TRENDING
© Copyright 2021, All rights reserved. THE STATES TIMES
Take Me Top