Friday, 26 April 2024
หัวลำโพง

'พงศ์พรหม' แนะ!! ปั้นหัวลำโพง ต้องสร้างสรรค์ อย่าฉาบฉวยและประเคนที่ดินสวยๆ ให้นายทุน

นายพงศ์พรหม ยามะรัต ได้โพสต์ข้อความลงเพจส่วนตน Pongprom Yamarat สะท้อนมุมมองการพัฒนาสถานีรถไฟหัวลำโพง ว่า 

เช้านี้ขอเสนอแนวทางการพัฒนา “หัวลำโพง” สู่การเป็น 
“ASEAN new Iconic Destination”

ต่อ รมว.คมนาคม คุณศักดิ์สยาม ชิดชอบ (ขออภัยที่ไม่เรียกว่าท่านนะครับ ผมว่าเราควรยุติการใช้สรรพนามว่า “ท่าน” กับนักการเมือง และข้าราชการได้แล้ว แต่ขอใช้คำว่า “คุณ” บนความเคารพแทน)

ยาวนิดนะครับ แต่เปลี่ยนประเทศได้เลย ผมยืนยัน

ผมมานั่งอ่านรายละเอียดแผนการพัฒนาหัวลำโพงฉบับกระทรวงคมนาคม ผมไม่รู้สึกผิดหวังอะไรเลย เพราะเจอมาตั้งแต่แนวทางการพัฒนามักกะสันสมัยนายกยิ่งลักษณ์ ที่จะเอามักกะสันไปทำศูนย์ประชุมเชย ๆ

เกือบ 10 ปี แนวคิดกระทรวงเมืองไทยก็ยังเป็นแบบเดิม คือ “ตัดป่าสัก ไปปลูกพืชมูลค่าต่ำเช่นข้าวโพด” อยู่เสมอ 

เช้านี้ผมขอเสนอบ้างนะครับ

1.) ท่านต้องเก็บการเดินรถไฟบางสาย โดยเฉพาะสายชานเมืองที่วิ่งเข้าหัวลำโพงครับ แค่ตัดรถไฟสายหลักออกไปอยู่บางซื่อ เส้นที่เก็บไว้ก็เหลือไม่ถึง 10% ของทั้งหมดแล้ว ไม่กระทบการจราจรมากมายเหมือนที่ท่านพูดหรอก

แต่จะช่วยค่าครองชีพให้คนได้อีก 5,000-10,000 คน ทีเดียว คนเหล่านี้หากมีค่าเดินทางเพิ่มขึ้นอีกวันละเป็นร้อยบาท มันเยอะครับท่าน ชีวิตล่มสลายเลยนะ ยิ่งในสภาวะเศรษฐกิจห่วยแบบนี้ 

2.) ผมเสนอพัฒนาหัวลำโพงทั้งผืนภายใต้คอนเซปต์
“Gateway to ASEAN”

ท่านเห็นมั้ยครับว่าหัวลำโพงอยู่ “กึ่งกลาง” ระหว่างเมืองเก่า และเมืองใหม่พอดี

หัวลำโพงควรเป็นพิพิธภัณฑ์ขนาดใหญ่ที่สามารถเป็นทั้งแหล่งท่องเที่ยวแห่งใหม่ในอาเซียน และเป็นแหล่งบ่มเพาะ Creative Economy ให้คนไทยได้

ใครพูดว่า Soft power ผมด่าหัวแตกเลยนะครับ

จำไว้นะครับ Soft power คือของสำเร็จรูป คือ Event base คือ Service base

แต่การจะทำให้ครบ ต้องสร้าง “Ecosystem” เราเรียกเศรษฐกิจแบบนั้นว่า “Creative Economy” ครับ ช่วยอย่าโง่ใช้คำว่า “Soft power” จนพร่ำเพรื่อแบบนี้

แล้วสังเกตมั้ยครับ ทำไมผมจึงใช้คำว่า “ASEAN” แทนคำว่า “Bangkok”?

จุดนี้สำคัญ

นี่คือสิ่งที่กระทรวงคมนาคม ไม่ได้ทำการบ้าน

นอกจากการเดินทางโดยเรือแล้ว หัวลำโพงนี่แหละครับ เคยเป็น “ชุมทาง” การเดินทางของพี่น้องชาวไทย ชาวจีน ชาวมลายู ชาวพม่า ชาวลาว ชาวเขมร ชาวเวียดนาม ไปสู่ทั่วภูมิภาค

นี่แหละครับ “Super Soft power hub of ASEAN”!! ที่มีองค์กรร่วมสร้าง Creative Economy มาอยู่ด้วย

นักการเมือง-ข้าราชการ ต้องคิดแบบนี้ให้เป็นครับ อย่าเอาแต่จะทำอะไรฉาบฉวย พวกคุณกินเงินภาษีประชาชนอยู่นะครับ

“โฆษกรัฐบาล” เผย นายกฯ สั่งเปิดเวทีรับฟังความคิดเห็นทุกส่วน หลังปิดหัวลำโพง ยัน พัฒนาพื้นที่ ไม่ทุบ-รื้อถอน -ไม่ให้กระทบปชช.

นายธนกร วังบุญคงชนะ โฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี เปิดเผยว่า พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี และรมว.กลาโหม สั่งการให้หารือถึงผลกระทบจากการปิดสถานีรถไฟกรุงเทพ หรือหัวลำโพง เพื่อพัฒนาพื้นที่ โดยให้หน่วยงานเกี่ยวข้องพิจารณาดำเนินการให้เกิดประโยชน์สูงสุด ส่งผลกระทบถึงประชาชนน้อยที่สุด ซึ่งกระทรวงคมนาคม โดยการรถไฟแห่งประเทศไทย ได้เร่งเปิดเวทีสาธารณะ รับฟังความคิดเห็นจากทุกภาคส่วน เพื่อนำมาประกอบการพิจารณาหาข้อสรุปการใช้งานและการพัฒนาพื้นที่เชิงพาณิชย์ ให้สามารถตอบโจทย์ในทุกมิติ ไม่ให้เกิดผลกระทบต่อประชาชน 

ทั้งนี้การพัฒนาพื้นที่จะไม่ทุบหรือรื้อทิ้งสิ่งปลูกสร้างสถานีรถไฟหัวลำโพง เพราะจากการประเมินรายได้ในอนาคตระยะเวลา 30 ปี พบว่าจะมีรายได้รวม 8แสนล้านบาท โดยในปีแรกจะอยู่ที่ 5พันล้านบาท และปีที่ 5 จะเพิ่มขึ้นอยู่ที่ประมาณ 1 หมื่นล้านบาท เพียงพอต่อการแก้ไขปัญหาภาระหนี้ของรถไฟที่ขาดทุนสะสมต่อเนื่อง  

25 มิถุนายน พ.ศ. 2459 สถานีรถไฟหัวลำโพง เปิดใช้งานวันแรก มรดกทรงคุณค่าจากในหลวง รัชกาลที่ 5

สถานีรถไฟกรุงเทพ หรือที่นิยมเรียกกันว่า สถานีรถไฟหัวลำโพง เป็นสถานีรถไฟหลักของประเทศไทย และเป็นสถานีที่เก่าแก่ที่สุด สร้างในสมัย รัชกาลที่ 5 ในปี พ.ศ. 2453 สร้างเสร็จและเริ่มใช้งาน วันที่ 25 มิถุนายน พ.ศ. 2459 ในช่วงรัชสมัย ร.6 

สถานีรถไฟหัวลำโพง  เป็นศูนย์กลางการคมนาคมที่เชื่อมต่อหัวเมืองต่าง ๆ ทำให้การขนส่งสินค้าและการเดินทางของผู้คนสะดวกรวดเร็ว สถานีกรุงเทพ จึงมีเรื่องราวที่น่าสนใจมากมายตั้งแต่ ประวัติความเป็นมา อีกทั้งยังมีวิถีชีวิตผู้คนที่ผูกพันกับหัวลำโพงตลอดมา ผ่านยุคสมัย นำมาซึ่งผู้คนที่เริ่มเดินทางเข้ามาตั้งรกรากถิ่นฐานมากมายจากทุกทิศทั่วไทย มีส่วนทำให้ชุมชนเมืองของกรุงเทพฯ ขยายตัวและเจริญยิ่งขึ้น เปรียบเป็นสถานีชุมทางเศรษฐกิจที่สำคัญของกรุงเทพฯ มาอย่างยาวนาน และเป็นต้นทางในการนำความเจริญออกไปทั่วประเทศไทยในทุกทิศ จากภาคกลาง สู่ภาคเหนือ ภาคตะวันออกภาคตะวันออกเฉียงเหนือ และภาคใต้ ตามเส้นทางรถไฟสายต่าง ๆ ที่สร้างครอบคลุมทั่วประเทศไทย ที่มาจากจุดกำเนิดเดียวกัน คือ สถานีกรุงเทพ 

แม้ปัจจุบันเส้นทางถนนและรถยนต์จะเจริญมากขึ้นและแบ่งความเจริญไปบนเส้นทางถนนจำนวนหนึ่ง แต่ก็ปฏิเสธไม่ได้ว่าทุกวันนี้ การเดินทางของประชาชนจำนวนมากก็ยังต้องพึ่งพาการเดินทางด้วยรถไฟอยู่ตลอดมา ตามบทบาทและตามสถานการณ์ที่แปรเปลี่ยนไปจนถึงยุคปัจจุบัน ถึงแม้ว่าในอนาคตการรถไฟแห่งประเทศไทยจะพัฒนาไปสู่ยุครถไฟฟ้า รถไฟความเร็วสูง อาจทำให้สถานีกรุงเทพไม่เพียงพอที่จะรองรับการเดินทางของประชาชนในอนาคต แต่สถานีกรุงเทพ ยังคงมีความสำคัญในฐานะประวัติศาสตร์ของการเดินทางอีกแห่งหนึ่งของประเทศไทย ที่ให้อนุชนรุ่นหลังได้เรียนรู้จุดกำเนิดของการขนส่งระบบรางต่อไปในอนาคต และยังคงต้องอยู่กับคนไทย ไปอีกตราบนานเท่านาน

พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 5 ได้ทรงตระหนักถึงความสำคัญของการคมนาคมทางรถไฟเพื่อให้เกิดความเจริญแก่บ้านเมืองเป็นสำคัญ เป็นการสะท้อนให้เห็นถึงการเป็นสัญลักษณ์แห่งการนำพาสยามสู่ยุคแห่งการพัฒนาประเทศ เพื่อสร้างความเจริญเท่าเทียมนานาอารยประเทศ อันนำมาซึ่งความภาคภูมิใจของคนไทยเป็นอย่างยิ่ง

หลังจากที่การรถไฟแห่งประเทศไทยได้เปิดเดินขบวนรถไฟหลวงสายแรกในราชอาณาจักรไปยังจังหวัดพระนครศรีอยุธยา เมื่อวันที่ 26 มีนาคม 2439 และได้ดำเนินการก่อสร้างทางรถไฟสายต่าง ๆ เพิ่มมากขึ้น ทำให้สถานีรถไฟกรุงเทพแห่งแรกที่อยู่บริเวณหลังอาคารกรมรถไฟหลวง ไม่สามารถรองรับการให้บริการของประชาชนได้อย่างเพียงพอ กรมรถไฟหลวง จึงริเริ่มที่จะสร้างสถานีรถไฟกรุงเทพที่มีความทันสมัย สวยงามเป็นศรีสง่าแก่พระนคร โดยมีคุณค่าในด้านต่าง ๆ กล่าวคือ 

ได้เวลาต้นทางแห่งใหม่ 'สถานีกลางกรุงเทพอภิวัฒน์' พร้อม 52 ขบวนเชิงพาณิชย์ 'เหนือ-ใต้-อีสาน'

(21 ธ.ค. 65) เพจ 'โครงสร้างพื้นฐาน ประเทศไทย Thailand Infrastructure' ได้โพสต์ข้อความ ระบุว่า

ตั้งแต่วันที่ 20 ธ.ค. 65 เปิดให้จองตั๋วรถไฟ ต้นทางสถานีกลางฯ พร้อมรับ 52 ขบวนเชิงพาณิชย์ 19 มค. 66 มาสถานีกลางกรุงเทพอภิวัฒน์

วันนี้ (20) เป็นวันแรก ที่เข้าสู่ช่วงเปลี่ยนผ่าน ของจุดศูนย์กลางระบบรางไทย จากสถานีกรุงเทพ (#หัวลำโพง) สู่ สถานีกลางกรุงเทพอภิวัฒน์ (#สถานีกลางบางซื่อ) 

โดยเป็นวันแรกที่ได้มีการเปิดให้จองต้นทางใหม่ ของรถไฟเชิงพาณิชย์ 52 ขบวน ที่เริ่มต้นจาก สถานีกลางกรุงเทพอภิวัฒน์ ซึ่งจะกลายเป็น ต้นทาง-ปลายทาง ของทั้ง 52 ขบวนนี้ ตั้งแต่วันที่ 19 มกราคม 66 เป็นต้นไป 

ขอให้ผู้โดยสารทุกคน เตรียมตัว ทั้งการจองตั๋วโดยสาร และการวางแผนการเดินทางให้ถูกต้องด้วยนะครับ!!!

รายละเอียดการเปิดให้บริการ สถานีกลางกรุงเทพอภิวัฒน์

https://www.facebook.com/491766874595130/posts/1572680416503765/?mibextid=cr9u03

การใช้บริการรถไฟทางไกล ในสถานีกลางกรุงเทพอภิวัฒน์ 

ประตูเข้าพื้นที่รอคอยในสถานี อยู่บริเวณประตู 4 ทางด้านเหนือของสถานีกลางฯ โดยจะใกล้กับศูนย์อาหาร 

ซึ่งตรงนี้ จะมีทั้งพื้นที่โถงรอคอย พื้นที่จำหน่ายตั๋วรถทางไกล ศูนย์อาหาร เพื่อจะบริการผู้โดยสาร ก่อนขึ้นบันไดเลื่อนขึ้น ชั้น 2 เพื่อขึ้นชานชาลา 

รายละเอียดสถานีกลางบางซื่อ

สถานีกลางบางซื่อมีทั้งหมด 4 ชั้นคือ

ชั้นใต้ดิน B/B1 เป็นพื้นที่เชื่อมต่อสถานีรถไฟฟ้า MRT บางซื่อ และอีกส่วนหนึ่งเป็นพื้นที่จอดรถ สำหรับผู้ใช้บริการ

ชั้น 1 เป็นโถงพักคอย และจำหน่ายตั๋วโดยสาร รวมถึงทางขึ้นชานชาลาแต่ละชานชาลา 

ชั้น M1/M2 เป็นชั้นลอยด้านโถงทางเข้าหลัง ซึ่งต้องขึ้นจากชั้น 1 

ชั้น M1 เป็นพื้นที่พักคอยและศูนย์การค้า/ร้านค้า ภายในสถานี เพื่อให้ผู้โดยสารเข้าใจบริการระหว่างรอรถไฟ

ชั้น M2 เป็นพื้นที่สำนักงานและศูนย์ควบคุมสถานีของโครงการ ได้แก่รถไฟทางไกล, รถไฟฟ้าสายสีแดง, รถไฟฟ้าความเร็วสูง และรถไฟฟ้า 3 สนามบิน

ชั้น 2  เป็นพื้นที่ชานชาลารถไฟขนาดราง 1 เมตรทั้งหมด 12 ชานชาลา แบ่งเป็น...

- รถไฟทางไกล 8 ชานชาลา 
- รถไฟชานเมืองสายสีแดง 4 ชานชาลา 

ซึ่งขึ้นได้จากโถงพักคอยชั้น 1 

ชั้น 3 เป็นพื้นที่ชานชาลารถไฟขนาดราง 1.435 เมตร ทั้งหมด 12 ชานชาลา แบ่งเป็น...

-รถไฟความเร็วสูงสายใต้ 4 ชานชาลา
-รถไฟความเร็วสูงสายเหนือ/อีสาน 6 ชานชาลา
-รถไฟเชื่อม 3 สนามบิน/สายตะวันออก 2 ชานชาลา

รายละเอียดการจัดวางพื้นที่ภายในสถานีกลางฯ
https://www.facebook.com/491766874595130/posts/1090660238039121/?mibextid=cr9u03

เตรียมอำลา ‘สถานีกรุงเทพ’ ต้นสายการเดินทาง สู่ ‘สถานีกลางกรุงเทพอภิวัฒน์’ ศูนย์กลางใหม่รถไฟไทย

เมื่อวานนี้ (9 ม.ค. 66) เพจ ‘โครงสร้างพื้นฐาน ประเทศไทย Thailand Infrastructure รู้สึกได้รับพรที่ สถานีรถไฟหัวลำโพง (Bangkok Railway Station)’ ได้โพสต์ข้อความเกี่ยวกับการอำลาสถานีกรุงเทพ (หัวลำโพง) เพื่อเปลี่ยนไปใช้สถานีกลางกรุงเทพอภิวัฒน์ ศูนย์กลางใหม่ของรถไฟไทย โดยระบุว่า…

อีก 10 วัน!!! เตรียมอำลาสถานีกรุงเทพ (หัวลำโพง) สู่สถานีรอง มุ่งสู่ สถานีกลางกรุงเทพอภิวัฒน์ ศูนย์กลางใหม่ของรถไฟไทย!!!

วันนี้ผมมาเก็บภาพสถานีกรุงเทพ หรือที่คนทั่วไปเรียกว่า หัวลำโพง ก่อนที่จะถูกย้ายต้นทางหลักของการรถไฟไปสู่สถานีกลางกรุงเทพอภิวัฒน์ (สถานีกลางบางซื่อ) ในวันที่ 19 มกราคม 66 นี้ ซึ่งเหลืออีกแค่ 10 วันเท่านั้น!!!!

รายละเอียดการย้ายศูนย์กลางระบบรางสู่สถานีกลางกรุงเทพอภิวัฒน์ ตามลิงก์นี้ครับ
https://www.facebook.com/491766874595130/posts/1584694601969013/?mibextid=cr9u03

บรรยากาศสถานีหัวลำโพงที่เราคุ้นเคย ก็ยังคึกคักอยู่เหมือนเดิม พร้อมกับผู้โดยสารที่รอเดินทางอยู่หลายร้อยคน บริเวณโถงสถานีรถไฟหัวลําโพง

ขสมก. - รฟท.จัดรถ Shuttle Bus ให้บริการฟรี เชื่อม สถานีกลางกรุงเทพอภิวัฒน์ – หัวลำโพง

ขสมก. - รฟท. จัดรถ Shuttle Bus บริการฟรี! เชื่อมต่อสถานีกลางกรุงเทพอภิวัฒน์-หัวลำโพง ตั้งแต่เวลา 04.30-23.00 น.

(19 ม.ค. 66) น.ส.รัชดา ธนาดิเรก รองโฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี เปิดเผยว่า ตามที่การรถไฟแห่งประเทศไทย ได้ปรับเปลี่ยนสถานีต้นทางปลายทางของขบวนรถไฟทางไกล สายเหนือ ใต้ อีสาน ทั้งขบวนรถด่วนพิเศษ รถด่วน รถเร็ว จำนวน 52 ขบวน มาที่สถานีกลางกรุงเทพอภิวัฒน์ โดยเริ่มจะจำหน่ายตั๋วโดยสารอย่างเต็มรูปแบบ ตั้งแต่ 19 ม.ค. นี้ เป็นต้นไป

น.ส.รัชดา กล่าวว่า องค์การขนส่งมวลชนกรุงเทพ (ขสมก.) ได้จัดเดินรถ Shuttle Bus บริการฟรี เส้นทาง “สถานีกลางกรุงเทพอภิวัฒน์-สถานีรถไฟกรุงเทพ (หัวลำโพง) (ทางด่วน)รองรับการเปิดให้บริการรถไฟทางไกล จำนวน 52 ขบวน ที่สถานีกลางกรุงเทพอภิวัฒน์ ตั้งแต่วันที่ 19 ม.ค.เป็นต้นไป เพื่ออำนวยความสะดวกให้แก่ประชาชนในการเดินทาง เชื่อมต่อระหว่างสถานีรถไฟทั้ง 2 แห่ง

คลี่ประวัติศาสตร์ผ่านดนตรี แสง สี เสียง ในบรรยากาศสุดคลาสสิคที่ 'หัวลำโพง'

วันนี้ (18 มี.ค.66) ที่สถานีรถไฟกรุงเทพ สำนักงานส่งเสริมเศรษฐกิจสร้างสรรค์ (องค์การมหาชน) หรือ CEA ได้ร่วมกับ Lighting Designers Thailand ที่มาร่วมออกแบบแสงไฟ (Lighting Installation) เพื่อช่วยสร้างเรื่องราวและขับเน้นความงดงามของสถาปัตยกรรม พร้อมกับจัดการแสดงดนตรีที่ได้รับการคัดสรรมาให้สอดคล้องกับการที่สถานีรถไฟหัวลำโพงเป็นชุมทางของคนเดินทาง

พื้นที่สถานีรถไฟกรุงเทพ หรือ หัวลำโพงสุดคลาสสิก เคยเป็นชุมทางของการเดินทางจากผู้คนทั่วประเทศมายังกรุงเทพมหานคร แม้ปัจจุบันจะลดความคับคั่งลงเหลือเพียงการเดินรถไฟไม่กี่สาย แต่สถานีรถไฟหัวลำโพงยังคงมีความสำคัญในฐานะอาคารทรงคุณค่าทางประวัติศาสตร์ ทั้งด้านสถาปัตยกรรม และความทันสมัยด้านระบบคมนาคมของประเทศไทย

ในวาระเฉลิมฉลองครบรอบ 126 ปีการรถไฟแห่งประเทศไทยในวันที่ 26 มีนาคม 2566 ชวนคุณมาร่วมสีสันไปพร้อมกับการเปิดมุมมองใหม่ที่เปี่ยมเสน่ห์ของสถานีรถไฟกรุงเทพ ใน 'Unfolding Bangkok' สอดรับกับบทบาทที่เปลี่ยนไปของสถานีรถไฟหัวลำโพง จึงเป็นโอกาสในการทดลองปรับพื้นที่ของสถานีรถไฟให้กลายเป็นพื้นที่สำหรับการส่งเสริมสถาปัตยกรรม การเรียนรู้และสันทนาการของผู้คน

ทั้งนี้ Unfolding Bangkok ได้ประสบความสำเร็จกับกิจกรรมหลายครั้งก่อนหน้านี้ อาทิ โรงปั้นของมหาวิทยาลัยศิลปากร หรือพื้นที่โดยรอบพระบรมมหาราชวัง

นายนิรุฒ มณีพันธ์ ผู้ว่าการรถไฟแห่งประเทศไทย กล่าวในงานว่า "ทุกวันนี้จำนวนผู้เข้าใช้บริการในการรถไฟแห่งประเทศไทยนั้นมีเยาวชนมากกว่า 50% ซึ่งเป็นเรื่องน่ายินดีที่จะได้สอดแทรกประวัติศาสตร์อันดีงามของการรถไฟ พร้อมทั้งประสบการณ์ที่แตกต่างไปจากการเดินทางซึ่งได้รับความนิยมในปัจจุบันไม่ว่าจะเป็นรถทัวร์ รถยนต์ หรือเครื่องบิน และงานนี้จะเป็นต้นแบบให้องค์กรต่าง ๆ ร่วมกันส่งเสริมให้เห็นคุณค่าทางประวัติศาสตร์ของชาติต่อไป"

ผู้สนใจเข้าร่วมชมงานฯ สำหรับวันที่ 18-26 มีนาคม 2566 นี้ เป็นงานแสงสีเสียง  และดนตรี ที่สถานีรถไฟหัวลำโพงร่วมฉลองครบ 126 ปี การรถไฟแห่งประเทศไทย ในวันที่ 26 มีนาคมนี้ โดยรายละเอียดกิจกรรมงาน Living Old Building แสงสีเสียงหัวลำโพงนี้ มี 3 ส่วนคือ...

สถานีรถไฟกลางของนครแฟรงก์เฟิร์ต ต้นแบบของสถานีรถไฟ 'หัวลำโพง'

(24 มี.ค.66) ไม่นานมานี้ ทางสถานกงสุลใหญ่ ณ นครแฟรงก์เฟิร์ต ได้โพสต์เรื่องราวด้านสถาปัตยกรรมของสถานีรถไฟหัวที่มีต้นแบบมาจากสถานีรถไฟกลางของนครแฟรงก์เฟิร์ตผ่านเฟซบุ๊ก 'Royal Thai Consulate-General, Frankfurt' ว่า...

หากท่านเคยได้มีโอกาสเดินทางมาเยือนนครแฟรงก์เฟิร์ต เยอรมนี ท่านคงมีความรู้สึกคุ้นตาเมื่อได้เห็นสถานีรถไฟกลางของนครแฟรงก์เฟิร์ตแห่งนี้ นั่นเป็นเพราะว่าสถานีรถไฟกลางของนครแฟรงก์เฟิร์ตเป็นต้นแบบของสถานีรถไฟหัวลำโพง อดีตสถานีรถไฟกลางของกรุงเทพมหานครนั่นเอง 

ย้อนกลับไปในช่วงปี พ.ศ. 2450 ระหว่างการเสด็จประพาสเยอรมนีของพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 5 พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงมีโอกาสได้เสด็จผ่านสถานีกลางนครแฟรงก์เฟิร์ตและทรงประทับใจกับสถาปัตยกรรมทรงโดมของสถานี โดยหลังจากเสด็จกลับ ทรงได้เชิญสองสถาปนิกชาวอิตาเลียน Mario Tamagno และ Annibale Rigotti มาเป็นผู้ออกแบบสถานีรถไฟหัวลำโพง โดยมีสถาปัตยกรรมของสถานีรถไฟกลางนครแฟรงก์เฟิร์ตเป็นต้นแบบ


TRENDING
© Copyright 2021, All rights reserved. THE STATES TIMES
Take Me Top