Monday, 29 April 2024
สส

ลือสะพัด!! ส.ส.เกือบครึ่งร้อยเตรียมซบ ‘ภูมิใจไทย’ พร้อมชู ‘อนุทิน’ นั่งนายกฯ คนที่ 30

สะพัดส.ส. เกือบครึ่งร้อย ตบเท้าร่วมเปิดตัว ‘รีโนเวทพรรคภท.ใหม่’ 16 ธ.ค.นี้ ชู ‘อนุทิน’ นั่งนายกรัฐมนตรี คนต่อไป หลัง จนท.กริ๊งหาขอสำเนา ‘บัตรปชช.-ทะเบียนบ้าน’ ทำเรื่องลาออกส.ส. 15 ธ.ค. นี้ ด้าน ‘บิ๊กแกนนำสีน้ำเงิน’ อาจพิจารณาเป็นรายกรณีตามความสมัครใจ ส่วนหลายคนอยากยื้อ ขอตุนคะแนนปีใหม่ ขณะที่ ‘รังสรรค์’ ส.ส. เชียงราย พท.ประเดิมลาออกแล้ว ขอเวลาแนะนำตัวใหม่กับชาวบ้าน

(11 ธ.ค. 65) ผู้สื่อข่าวรายงานความคืบหน้าส.ส.ย้ายพรรค เพื่อเตรียมความพร้อมในการเลือกตั้งในช่วงต้นปี66 สำหรับความเคลื่อนไหวของพรรคภูมิใจไทย (ภท.) พบว่ามีความเคลื่อนไหวที่น่าสนใจ ทางพรรคภูมิใจไทย ซึ่งเมื่อวันที่ 6 เม.ย.65 ที่ผ่านมาได้ครบรอบวันเกิดพรรค ‘ก้าวเข้าสู่ปีที่ 14’ และได้มีการปรับปรุงที่ทำการพรรคโดยการรีโนเวทที่ทำการพรรคภูมิใจไทย ครั้งใหญ่ เมื่อช่วงกลางเดือน เม.ย.65 ที่ผ่านมา ใช้เวลา 8 เดือน โดยจะมีพิธีเปิดที่ทำการพรรค ในวันที่ 16 ธ.ค.นี้

โดยมีนายอนุทิน ชาญวีรกูล รองนายกรัฐมนตรีและรมว.สาธารณสุข หัวหน้าพรรคภูมิใจไทย เป็นประธานในพิธีเปิด พร้อมแกนนำพรรค กรรมการบริหารพรรค ส.ส. ว่าที่ผู้สมัครส.ส. สมาชิกพรรค เข้าร่วมงานอย่างพร้อมเพรียง

ขณะเดียวกันมีรายงานว่าข่าวว่า ในวันที่ 16 ธ.ค.นี้ จะมีการประกาศศักดาการเตรียมความพร้อมและแสดงพลังของบรรดา ‘ว่าที่ผู้สมัครส.ส.’ ของทุกพรรคการเมืองที่ประกาศตัวชัดเจนว่าจะลงสมัครรับเลือกตั้งกับพรรคภูมิใจไทย จำนวน 37 คน เข้าร่วมงานด้วย ภายหลังจากที่ส.ส.เหล่านั้น อาจยื่นใบลาออกจากการเป็นสมาชิกพรรคและส.ส.ของพรรคการเมืองเดิม ที่สังกัด ในวันที่ 15 ธ.ค.นี้ ก่อนที่จะเริ่มประกาศตัวหาเสียงในนามพรรคภูมิใจไทย และชูนายอนุทิน หัวหน้าพรรคภูมิใจไทย เป็นนายกรัฐมนตรี คนที่ 30 ในการเลือกตั้งเที่ยวหน้า

จากการตรวจสอบล่าสุดพบว่า มีส.ส.ที่จะเข้าพรรคภูมิใจไทย เบื้องต้น จำนวน 37 คน อาทิ

>> พรรคพลังประชารัฐ 14 คน ได้แก่ 

1.นายจักรพันธ์ พรนิมิตร ส.ส.กทม. 

2.นายกษิดิ์เดชชุติมันต์ ส.ส.กทม. 

3.น.ส.พัชรินทร์ ซำศิริพงษ์ ส.ส.กทม.

4.นายมณเฑียร สงฆ์ประชาส.ส.ชัยนาท 

5.นายสัมฤทธิ์ แทนทรัพย์ ส.ส.ชัยภูมิ 

6.นายปฐมพงศ์ สูญจันทร์ส.ส.นครปฐม 

7.นายกฤษณ์ แก้วอยู่ ส.ส.เพชรบุรี 

8.นายสุชาติ อุสาหะ ส.ส.เพชรบุรี

9.นายอนุชา น้อยวงศ์ ส.ส.พิษณุโลก 

10.นายประทวน สุทธิอํานวยเดช ส.ส.ลพบุรี

11.นายสมเกียรติ วอนเพียร ส.ส.กาญจนบุรี 

12.นายธรรมวิชญ์ โพธิพิพิธ ส.ส.กาญจนบุรี 

13.นายอัฎฐพล โพธิพิพิธ ส.ส.กาญจนบุรี 

14.พล.อ.สมชาย วิษณุวงศ์ส.ส.กาญจนบุรี

>> พรรคเพื่อไทย (พท.) จำนวน 10 คน ได้แก่ 

1.นายจาตุรงค์ เพ็งนรพัฒน์ ส.ส.ศรีสะเกษ

2.นายธีระ ไตรสรณกุล ส.ส.ศรีสะเกษ 

3.นางผ่องศรี แซ่จึง ส.ส.ศรีสะเกษ 

4.นายประเดิมชัย บุญช่วยเหลือ ส.ส.กทม. 

5.นายรังสรรค์ วันไชยธนวงศ์ ส.ส.เชียงราย

6.นายนิยมช่างพินิจ ส.ส.พิษณุโลก 

7.นายจักรพรรดิ ไชยสาส์น ส.ส.อุดรธานี 

8.นายวุฒิชัย กิตติธเนศวร ส.ส.นครนายก 

9.นายสุชาติ ภิญโญ ส.ส.นครราชสีมา 

10.นายนพ ชีวานันท์ส.ส.พระนครศรีอยุธยา

>> พรรคก้าวไกล (ก.ก.) จำนวน 5 คน ได้แก่ 

1.นายขวัญเลิศ พานิชมาท ส.ส.ชลบุรี

2.นายเอกภพ เพียรพิเศษ ส.ส.เชียงราย 

3.นายพีรเดช คําสมุทร ส.ส.เชียงราย 

4.นายเกษมสันต์ มีทิพย์ ส.ส.บัญชีรายชื่อ 

5.นายคารม พลพรกลาง ส.ส.บัญชีรายชื่อ

>> เศรษฐกิจไทย (ศท.) จำนวน 3 คน ได้แก่ 

1.นายธนัสถ์ ทวีเกื้อกูลกิจ ส.ส.ตาก 

2.นายธนะสิทธิ์ โควสุรัตน์ ส.ส.อุบลราชธานี 

3.นายณัฏฐพล จรัสรพีพงษ์ ส.ส.สุรินทร์

>> พรรคประชาธิปัตย์ (ปชป.) จำนวน 1 คน ได้แก่ 

1.น.ส.แนน บุณย์ธิดา สมชัยส.ส.อุบลราชธานี 

>> พรรคเพื่อชาติ จำนวน 1 คน ได้แก่ 

1.นายอารี ไกรนรา ส.ส.บัญชีรายชื่อ

>> พรรคประชาภิวัฒน์ จำนวน 1 คน ได้แก่ 

1.น.ส.นันทนา สงฆ์ประชา ส.ส.บัญชีรายชื่อ 

> พรรคชาติพัฒนา จำนวน 1 คน ได้แก่ 

1.นายสมัคร ป้องวงษ์ ส.ส.สมุทรสาคร 

>>พรรครวมพลัง จำนวน 1 คน ได้แก่ 

1.น.ส.อนุสรี ทับสุวรรณ ส.ส.บัญชีรายชื่อ

‘เพื่อไทย’ จวก กกต. แบ่งเขตเลือกตั้งบิดเบี้ยว เย้ย!! ต่อไปคงต้องเรียก ส.ส.แขวง

‘เพื่อไทย’ กางตำรากฎหมายจวก กกต. แบ่งเขตเลือกตั้งบิดเบี้ยว พื้นที่เดียวกันมีผู้สมัคร 3 คน เย้ยต่อไปต้องเรียก ส.ส.แขวง โวยปชช.โดนรัฐประหารผ่านการแบ่งเขต จี้ทบทวนด่วน

(13 ก.พ. 66) ที่พรรคเพื่อไทย นายวิชาญ มีนชัยนันท์ ประธานภาค กทม. พรรคเพื่อไทย นางสุภาภรณ์ คงวุฒิปัญญา ส.ส. กทม. และน.ส.ธีรรัตน์ สำเร็จวาณิชย์ ส.ส.กทม. และโฆษกพรรค ร่วมแถลงกรณีการเสนอรูปแบบการแบ่งเขตเลือกตั้งของพรรคเพื่อไทย ในเขตพื้นที่ กทม. ต่อคณะกรรมการการเลือกตั้ง (กกต.)

น.ส.ธีรรัตน์ กล่าวว่า การแบ่งเขตเลือกตั้งในพื้นที่ กทม. นั้น เดิมมี 5 รูปแบบ ซึ่งมากกว่าจังหวัดอื่น ๆ อยู่แล้ว ล่าสุด กกต. แบ่งออกมาเพิ่มอีกรวมเป็น 8 รูปแบบ ทำให้ประชาชนเกิดความสับสนในการเลือกตั้ง ส.ส.เขต เรียกได้ว่าเป็นการแบ่งเขตที่บิดเบี้ยว ไม่เป็นไปตามธรรมชาติของแต่ละพื้นที่ การแบ่งเขตรูปแบบที่ 6 - 8 นี้ไม่เป็นไปตามพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญ (พ.ร.ป.) ว่าด้วยการเลือกตั้ง ส.ส. พรรคเพื่อไทยและพรรคอื่น ๆ ไม่เห็นด้วย เพราะจะเป็นการสร้างปัญหาให้กับประชาชน เกิดความไม่สะดวกเพราะต้องไปใช้สิทธิเลือกตั้งไม่ตรงกับที่อยู่อาศัย รวมถึงสร้างความลำบากต่อเจ้าหน้าที่ของรัฐเอง ทำให้ไม่คุ้นเคยกับพื้นที่ซึ่งเคยทำงานมา

“การแบ่งเขตดังกล่าวยังส่งผลให้ผู้สมัครพบปัญหาว่าในเขตเดียวมีผู้สมัครถึง 3 - 4 คน ต่างพรรคต่างเบอร์กัน จะเป็นเหตุให้การเลือกตั้งครั้งต่อไปผิดพลาดบกพร่อง เกิดบัตรเสียจำนวนมาก และไม่เป็นผลดีต่อระบอบประชาธิปไตย กกต. ควรยึดตามหลักกฎหมายและความเป็นจริง ขอเรียกร้องให้ กกต. ทบทวนใหม่” โฆษกพรรคเพื่อไทย ระบุ

ด้านนายวิชาญ กล่าวว่า การแบ่งเขตรูปแบบ 6 - 8 ซึ่ง กทม.มีทั้งหมด 30 เขต จำนวนประชากรประมาณ 5 ล้านคน จากการรวบรวมความเห็นของประชาชน และพิจารณาตามหลักของ พระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญ (พ.ร.ป.) ว่าด้วยการเลือกตั้ง ส.ส. รวมถึงระเบียบของ กกต. เป็นเกณฑ์ เห็นว่าการแบ่งเขตแบบ 1-3 มีความชัดเจน พื้นที่มีความคาบเกี่ยวกัน การจัดรูปแบบดังกล่าวมีความสอดคล้องกว่า ไม่สร้างความสับสน มี 25 เขต จาก 30 เขต ที่ไม่ต้องแบ่งเขตเพิ่มเติมใหม่

“การแบ่งเขตแบบที่ 6 - 8 มีโอกาสสร้างความสับสนให้ประชาชนมากกว่า หากมีการแบ่งพื้นที่ตามแขวง คงเรียก ส.ส.เขต ไม่ได้ ต้องเรียกว่า ส.ส.แขวง และจะสร้างผลเสียคือบัตรเสียจะมากขึ้น จากการฟังเสียงประชาชน พรรคเพื่อไทยจึงเสนอว่ารูปแบบการแบ่งเขตแบบที่ 1 - 2 มีความเหมาะสมมากที่สุด เพราะเขตหลักๆ ยังอยู่ ไม่ถูกแบ่งแยก จึงมีความสะดวกต่อประชาชนมากกว่า” นายวิชาญ กล่าว

‘ไพบูลย์’ ไม่หวั่น ปม ส.ส.ทยอยลาออกจาก พปชร. ลั่น!! เตรียมตัวมาดี หากยุบสภาฯ พร้อมเดินหน้าทันที

(14 มี.ค. 66) ที่พรรคพลังประชารัฐ (พปชร.) นายไพบูลย์ นิติตะวัน ส.ส.บัญชีรายชื่อ และรองหัวหน้าพรรค พปชร. ให้สัมภาษณ์ กรณีที่มี ส.ส.ของพรรคทยอยลาออก โดยล่าสุดคือ นายสรวุฒิ เนื่องจำนงค์ ส.ส.ชลบุรี และแกนนำพรรค พปชร. ว่า คนที่ออกไปส่วนใหญ่เป็นกลุ่มที่จะลาออกตั้งแต่ต้น มีเจตจำนงค์ที่จะไปพรรคอื่น แต่ยังไม่ลาออกอย่างเป็นทางการ วันนี้เป็นการลาออกอย่างเป็นทางการ และคนที่ออกไปก็อยู่ในจำนวนที่เคยบออกไปตั้งแต่แรกว่าเป็นส่วนน้อย แต่ส่วนใหญ่ยังอยู่ที่พรรค

และยังมีกลุ่ม ส.ส.ที่มาจากพรรคอื่นที่เข้ามาจำนวนมาก ยืนยันว่า พรรค พปชร. มีความพร้อมที่สุดที่จะเข้าสู่การเลือกตั้ง ที่มีข่าวว่าคนนู้นคนนี้ลาออก เป็นเรื่องที่เกินไป ไม่ใช่อย่างนั้น พรรคไม่มีปัญหา และกระแสพรรคตอนนี้ไม่ได้ดรอปและดีขึ้น โดยพรรคได้จัดทำโพลสำรวจเป็นระยะ จึงไม่รู้สึกหนักใจอะไร ขณะเดียวกันเรื่องที่ดี คือหัวหน้าพรรคมีภาพลักษณ์และทำกิจกรรมที่มีภาพปรากฎในสื่อเป็นไปในทางบวก ถือเป็นข้อดี

นายไพบูลย์ กล่าวว่า สำหรับการเตรียมความพร้อมเลือกตั้ง จะมีคณะกรรมการชุดต่าง ๆ เข้ามาดูแลขับเคลื่อนการดำเนินงานของพรรค อาทิ ฝ่ายดูแลเวทีและกิจกรรมของพรรค โดยมีนายวิรัช รัตนเศรษฐ รองหัวหัวหน้าพรรค เป็นผู้ดูแล คณะกรรมการฝ่ายอำนวยการเลือกตั้ง โดยมีนายสันติ พร้อมพัฒน์ รมช.คลัง ในฐานะเลขาธิการพรรค เป็นผู้ดูแล และมีนายวราเทพ รัตนากร เป็นผู้ช่วยดูแล คณะกรรมการจัดทำนโยบาย มีนายอุตตม สาวนายน เป็นประธาน คณะกรรมการยุทธศาสตร์การเมือง มีนายสนธิรัตน์ สนธิจิรวงศ์ เป็นผู้ดูแล และตนเป็นประธานคณะกรรมการฝ่ายกฎหมาย

ทั้งนี้ เมื่อยุบสภาฯ จะเข้าสู่การเลือกตั้งเต็มรูปแบบ พรรคก็จะดำเนินการให้เต็มรูปแบบ ขณะนี้ทีมงานมีความพร้อมที่ดีมาก และมีผู้รับผิดชอบในแต่ละด้านทั้ง 7 ฝ่าย สำหรับขุนพลปราศรัยของพรรคมีทุกเวที และน่าจะมีคนเกินมากกว่าเวที โดยการปราศรัยแต่ละครั้งต้องมีประชาชนมาฟังให้เต็ม ไม่ใช่มีแต่เก้าอี้ ที่พูดไม่ได้ประชดใคร ขณะที่การขึ้นเวทีดีเบต พล.อ.ประวิตร วงษ์สุวรรณ รองนายกรัฐมนตรี ในฐานะหัวหน้าพรรค พปชร. ได้มอบหมายให้หลายคนเป็นตัวแทน พล.อ.ประวิตร จะพูดบนเวทีปราศรัย หรือการให้สัมภาษณ์พิเศษ

ผู้สื่อข่าวถามว่า บุคคลที่ลาออกซึ่งรับผิดชอบพื้นที่เลือกตั้ง จำเป็นต้องมีการปรับอะไรหรือไม่ นายไพบูลย์ กล่าวว่า ไม่จำเป็น เพราะหัวหน้าพรรคมอบหมายงานให้รับผิดชอบ ซึ่งแต่ละพื้นที่ไม่ได้มีคนเดียว มี 2-3 คนอยู่แล้ว คนที่อยู่ก็ทำงานต่อ คนที่ออกก็ออกไป ไม่มีผลกระทบอะไร ยืนยันว่าพรรคมีความพร้อมในการเลือกตั้ง เนื่องจากรายชื่อที่ออกไป พรรครู้และเตรียมการไว้ล่วงหน้าอยู่แล้ว ไม่ใช่เรื่องน่าแปลกใจหรือเซอร์ไพรส์อะไร เราทราบก่อนหน้านั้นแล้ว แค่วันนี้ออกอย่างเป็นทางการ

‘ทวี สุระบาล’ ว่าที่ส.ส. ตรัง ขอบคุณประชาชน ที่เทคะแนนเสียง  ทำให้ครองแชมป์อันดับ1 ของประเทศ ย้ำ พร้อมลุยทำงานแก้ปัญหาปากท้อง

นายทวี สุระบาล ว่าที่สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร เขต 2 จ.ตรัง  กล่าวว่า ตนขอขอบคุณพี่น้องประชาชนชาวจังหวัดตรังเขต 2 ที่มอบคะแนนเสียงอย่างท่วมท้น จนสามารถมีคะแนนเลือกตั้ง ส.ส. 2566 สูงสุดเป็นอันดับ 1 ของประเทศ ด้วยคะแนนเสียง 63,185 คะแนน เป็นครั้งที่ 2  ที่พี่น้องชาวจ.ตรังให้ความไว้วางใจ จากเมื่อปี 2544 ที่เคยได้รับคะแนนเสียงสูงสุดเป็นครั้งแรก 65,458 คะแนน นับเป็นคนแรกของรัฐสภาไทยที่ได้คะแนนสูงสุด สองครั้ง ซึ่งเป็นการทำงานลงพื้นที่อย่างต่อเนื่อง และตลอด 4 ปีที่ผ่านมา ยังได้ทำหน้าที่พบปะประชาชน อย่างใกล้ชิดไม่เคยทิ้งพื้นที่ 

นายทวี กล่าวต่อว่า พี่น้องประชาชนยังพอใจในนโยบายของพรรคพลังประชารัฐ โดยเฉพาะการเพิ่มเบี้ยสวัสดิการ 700 บาท และ และ เบี้ยยังชีพผู้สูงวัย โดยการเพิ่มเบี้ยยังชีพแบบขั้นบันได ตั้งแต่อายุ 60 ปี เพิ่มเป็นจำนวน 3,000 บาทต่อเดือน อายุ 70 ปี ขึ้นไป เพิ่มเป็นจำนวน 4,000 บาทต่อเดือน และอายุ 80 ปีขึ้นไป เพิ่มเป็นจำนวน 5,000 บาทต่อเดือน หรือเรียกว่า‘เพิ่มเบี้ยผู้สูงอายุ 3 4 5 และ 6 7 8’ 

“หลังจากนี้ แม้ว่าจะยังไม่มีการประกาศอย่างเป็นทางการ จากคณะกรรมการการเลือกตั้ง (กกต.) ได้เตรียมพร้อม และลงพื้นที่ต่อเนื่อง ไม่เคยปฏิเสธการเข้าถึงประชาชนเพื่อช่วยเหลือในทุกเรื่อง โดยเฉพาะปัญหาปากท้อง ที่ต้องเร่งเสนอต่อ พรรค เพื่อนำไปผลักดันในสภาฯ ต่อไป “

‘รศ.ดร.เจษฎ์’ จวก!! กระแสกดดัน ส.ว.โหวตเลือกนายกฯ ลั่น!! ต่อให้ได้ถึง 750 เสียง ก็ไม่มีสิทธิ์ทำแผ่นดินลุกเป็นไฟ

เมื่อวันที่ 23 พ.ค. 66 ที่ผ่านมา รศ.ดร.เจษฎ์ โทณะวณิก ได้กล่าวในรายการตอบโจทย์ ของสถานีข่าวไทยพีบีเอสกรณีปมกดดัน สมาชิกวุฒิสภา หรือ ส.ว.ให้โหวตเลือกนายกรัฐมนตรีตามเสียงข้ามากของสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร หรือ ส.ส.

โดยประเด็นนี้ นักวิชาการด้านนิติศาสตร์ และประธานคณะนิติศาสตร์ วิทยาลัยบัณฑิตเอเชีย กล่าวในหัวข้อ จับกระแส ‘กดดัน ส.ว.’ โหวตเลือกนายกฯ ของทางรายการข่าวว่า ร่างรัฐธรรมนูญเขียนเรื่อง ส.ว.ไป และข้อต่อ ส.ว. มาทำอะไรตรงนี้ ทำไม ส.ว.ต้องมาลงมติเพื่อได้มาซึ่งนายกรัฐมนตรี ซึ่งมุมดังกล่าวนักวิชาการในร่างแขกรับเชิญ ระบุต่อมา ตรงนี้อาจจะถือเป็นก้าวที่ คสช. ก้าวผิดไป

“ถ้าวันนี้ คสช.ไม่เอา ส.ว. มาร่วมด้วยเนี่ยนะ เมื่อวันปี 62 ท่านก็ได้เสียงข้างมากไปละ รัฐบาลที่จัดตั้งด้วยเสียงข้างมากทหาร วันนี้ถ้าหากเป็นระบบรัฐสภาจริง ๆ จะไม่เกิดเหตุหรือเกิดน้อยมากที่พรรรคที่ได้คะแนนเสียงลำดับ 1 กับลำดับ 2 จับ” กล่าวจบ รองศาสตราจารย์ยังยกตัวอย่างเพื่อย้ำข้อเท็จจริง โดยระบุให้ไปดูตัวอย่างของประเทศระบบรัฐสภาส่วนใหญ่ ไม่ใช่แต่เพียงพรรคจะไม่จับกัน แต่ประชาชนก็ไม่อยากให้จับมือร่วมรัฐบาลกันแบบนี้ด้วย เพราะจะใหญ่เกิน”

“ข้อ 2 ในระบบรัฐสภา สิทธิจัดตั้งก่อน ไม่ใช่ได้สิทธิเป็น ตอนนี้ต้องเข้าใจให้ดีว่า ได้สิทธิในการจัดตั้งนะ ถ้าจัดตั้งไม่ได้ก็ต้องเป็นหน้าที่ของสิทธิลำดับพรรคที่ได้คะแนนเสียงลดหลั่นกันไป”

รศ.ดร.เจษฎ์ กล่าวต่อถึงประเด็นกลไก ตอนปี 60 มีประชามติการให้ความเห็นชอบคำถามพ่วง ว่าจะให้ ส.ว.มาร่วมเลือกนายกรัฐมนตรีด้วยหรือไม่ ปรากฏว่า ผู้มาใช้สิทธิส่วนใหญ่ 15,132,050 คน (58.07%) เห็นด้วยกับการให้ ส.ว.มาร่วมเลือกนายกรัฐมนตรี

จุดนี้เองทำให้นักวิชาการคณะนิติศาสตร์ฯ แสดงมุมมองตัวเองเสริมไปว่า ครั้งนั้นเมื่อไม่มีการผลักดัน ตีฆ้องร้องป่าว เท่ากับเป็นคะแนนบริสุทธิ์ ประชาชนก็มาออกเสียง ในกลไก คือ เอา ส.ว. มาเพราะปฏิรูปประเทศ

เมื่อถูกถามว่าอิสระจริงรึเปล่า? ถอดจากคำให้สัมภาษณ์ในรายการโดยละเอียดของ รศ.ดร.เจษฎ์ โทณะวณิก สามารถระบุได้ดังนี้

“ผมถึงได้พูดว่าการที่ไม่สามารถที่จะแสดงทรรศนะ ว่าเห็นด้วยหรือเห็นต่างเป็นสาธารณะ หรือมาบอกว่า เธอเห็นด้วยสิ เธอเห็นต่างสิ เธออย่าไปเอาร่างรัฐธรรมนูญ อย่าไปเอาคำถามเพิ่มเติมนะ เธอเอาสิ ไม่มีเลย แสงดว่ามันเป็นคะแนนบริสุทธิ จะด้วยภาวะการณ์ เขาลงคะแนนบริสุทธิ์ ถูกไหมครับ เขาลงคะแนนมาแล้วให้ ส.ว.มาเลือกนายกฯ อันนี้คือประชามติ

“ประชามติ คือ ประชาธิปไตยทางตรงนะ ตรงยิ่งกว่าการเลือกตั้งอีกนะ การเลือกตั้งมันเป็นประชาธิปไตยทางอ้อมนะ คุณเลือก ส.ส. และ ส.ส.ไปเลือกนายกให้นะ แต่นี่ประชาธิปไตยมันตรงนะ คุณจะเอาไม่เอา เขาเอามาแล้ว มันกลายเป็นหน้าที่แล้ว กลายเป็นลักษณะพิเศษของบ้านนี้เมืองนี้ ส.ว.เขาเลยต้องมาลงมติ ที่ถามไว้แบบนี้จะเป็นรอื่นเป็นแบบไหนได้อีกไหม คุณมี 160 ไปขอเพื่อน 150 เลขกลม เพื่อนอีกจำนวนรวมได้ 313 พอรวมได้ตามเงื่อนไขรัฐธรรมนูญต้อง 376 ขึ้นไป”

“ความอยากได้ตรงนี้เองทำให้เกิด ‘ความบิดเบี้ยว’ ของกลไกรัฐสภา ส.ว. และ ส.ส. ต้องไม่เป็นพวกเดียวกัน ต้องไม่ใช่คนที่จะมาพูดคุยอะไรกัน ต้องตรวจสอบถ่วงดุลค้านอำนาจกันเสียด้วย”

มาถึงเรื่อง ปิยบุตร แสงกนกกุล ออกมาเคลื่อนไหวจะส่งผลอะไรต่อพิธาในการเดินหน้าจัดตั้งรัฐบาลล่าสุดนี้บ้าง เจษฎ์ตอบข้อสงสัยนี้โดยเริ่มจากยกตัวอย่างกรณีที่หากต่อให้ การออกมาเคลื่อนไหวของนายปิยบุตรล่าสุดไม่มีผลใด ๆ กับฝ่ายที่สนับสนุนพรรคก้าวไกล แต่นั่นไม่ได้หมายความว่าจะไม่มีผลต่อคนอื่น ๆ

รศ.ดร.เจษฎ์ ย้ำว่าอย่าลืมว่า ตอนนี้มีคนเลือกคุณ 14 ล้าน ไม่เลือก 27 ล้าน แล้วคนที่ไม่ได้มาเลือกด้วย อีกเท่าไร นับรวมให้ครบคนไทยทั้งประเทศ มีเสียง 160 หย่อน ๆ 300 กว่าคือไม่มี ก่อนจะสรุปด้วยวาจาแข็งกร้าวขึ้นกว่าเดิมว่า...

“ผมเรียนอย่างนี้ครับว่า ต่อให้คุณมีเสียง ส.ส. 500 มีเสียง ส.ว.อีก 250 มีคนไทยทั้งประเทศ คุณก็ไม่มีสิทธิทำลายสิ่งที่บรรพบุรุษคนไทยสร้างไว้ให้ แล้วบรรพบุรุษที่พูดถึงไม่ใช่แค่บรรพบุรุษเจ้าเท่านั้นด้วย เป็นบรรพบุรุษทั้งเจ้าทั้งคนไม่ใช่เจ้าทั้งหมด บรรพบุรุษไทยที่สร้างแผ่นดินนี้มา เขาคือเจ้าของแผ่นดินนี้ที่แท้จริง คุณเป็นผู้สืบทอดเขามา ต่อให้คุณได้ 500 เสียง ส.ส. 250 เสียง ส.ว. คุณก็ไม่มีสิทธิที่จะทำให้แผ่นดินนี้ลุกเป็นไฟ คุณไม่มีสิทธิที่จะทำลายแผ่นดินนี้

หลัง เจษฎ์ โทณะวณิก กล่าวจบ แพทย์หญิง พรทิพย์ โรจนสุนันท์ สมาชิกวุฒิสภา หรือ ส.ว. ก็กล่าวเสริมทันทีว่า เธอเองเห็นด้วย

“อันนั้นล่ะคะ เห็นด้วยอย่างยิ่ง เขาไม่เข้าใจ เขาหาว่าเราบ้า อะไรประมาณนี้ เขามีเสียงข้างมาก สิ่งนี้เขาจะไม่ฟังเลย” คำกล่าวเสริมถึงกรณีกดดัน ส.ว.โหวตเลือกนายกฯ จากปากของแพทย์หญิงพรทิพย์ที่หลังจากแสดงมุมมองของตัวเธอจบ รศ.ดร.เจษฎ์ แขกรับเชิญนักวิชาการไทยก็ สรุปถึงสิ่งที่สังคมจะต้องทำและทุก ๆ ประเทศต้องทำ คือ ช่วยกันทำนุบำรุงบ้านเมืองนั้นให้พัฒนาและดีขึ้นเรื่อย ๆ ดีกว่าที่บรรพบุรุษทำไว้ เพื่อเราจะได้มีแผ่นดินที่ดี ดีขึ้นเรื่อย ๆ และเพื่อลูกหลานเราจะได้มีแผ่นดินที่ดีและดีขึ้นเรื่อย ๆ ไม่ใช่พากันทำลาย

หนทางพิสูจน์ม้า กาลเวลายังต้องพิสูจน์คน!!

‘พิธา ลิ้มเจริญรัตน์’ จะก้าวขึ้นสู่ตำแหน่งนายกรัฐมนตรี ในอีก 2 เดือนข้างหน้าได้หรือไม่? แต่ที่เหนือกว่าการเป็น ‘นายกฯ’ คือการนำพารัฐนาวาให้อยู่ตลอดรอดฝั่ง

ซึ่งกุญแจสำคัญที่ปฏิเสธไม่ได้ นั่นคือ การมี ‘ทีมที่ดี’ ว่าแล้วลองเหลียวมอง (ว่าที่) ส.ส.ที่จะมาเป็นลูกทีมบริหารของพิธา แต่ละคน สายล่อฟ้าเรียกพี่!!

ย้อนไทม์ไลน์ ‘พิธา’ เส้นทางการเมืองจากคนตัวเล็กๆ สู่ผู้ถืออำนาจใหญ่ของการเลือกตั้งไทย ปี 66

นาทีนี้ ไม่มีใครร้อนแรงเกินกว่า ‘ทิม - พิธา  ลิ้มเจริญรัตน์’ ที่ใช้เวลากว่า 3 ปี เปลี่ยนผ่านจากยุคอนาคตใหม่มาสู่ยุคของพรรคก้าวไกลที่มีเขาเป็นผู้นำพรรค สั่งสมความนิยม จากพรรคอันดับรอง ไต่กระแส สร้างปรากฏการณ์ ‘สีส้ม’ ทั่วทั้งแผ่นดิน จนสามารถโกยคะแนนเสียงขึ้นมาเป็นอันดับ 1 ในการเลือกตั้งล่าสุด

ความสำเร็จของ ‘พิธา’ ไม่ได้ไหลบ่ามาเพียงชั่วข้ามคืน แต่มาจากการค่อย ๆ สั่งสม เก็บเกี่ยวประสบการณ์ จากการข้องเกี่ยวกับผู้คนในแวดวงการเมืองมานานเกือบ 20 ปี ขยับจากเจ้าหน้าที่ตัวเล็ก ๆ ที่นั่งจดวาระการประชุมหลังห้อง จนกระทั่งกลายเป็นว่าที่นายกรัฐมนตรี ผู้กำหนดวาระของประเทศไทยในวันนี้ เส้นทางการเมืองของ ‘พิธา’ เป็นอย่างไร ย้อนไปดูกัน 

#เลียบเคียงการเมือง
ถ้ากล่าวถึง ‘ลิ้มเจริญรัตน์’ คนที่ติดตามการเมืองคงคุ้นเคยเป็นอย่างดี เพราะเป็นนามสกุลของ ‘ผดุง’ เลขานุการส่วนตัวของ ‘ดร.ทักษิณ ชินวัตร’ อดีตนายกรัฐมนตรี และด้วยความที่ ‘พิธา’ มีศักดิ์เป็นหลานของนายผดุง ทำให้เขามีโอกาสได้รู้จักมักคุ้นกับบุคคลการเมืองในพรรคไทยรักไทย รวมถึงทายาทของ ดร. ทักษิณ ชินวัตร ทั้ง โอ๊ค เอม และอุ๊งอุ๊งมาตั้งแต่ก่อนก้าวขาเข้ามาสัมผัสบรรยากาศ และกลิ่นอายของการเมืองด้วยตัวของเขาเอง

#จากเจ้าหน้าที่แถวหลัง ค่อยๆ ขยับก้าวมาสู่แถวหน้าการเมือง 
ช่วงปลายของการศึกษาปริญญาตรี สาขาบัญชี - การเงิน ที่ ม.ธรรมศาสตร์ พิธาเริ่มต้นฝึกงานที่บริษัทหลักทรัพย์ซึ่งมี ดร. ศุภวุฒิ สายเชื้อ เป็นผู้บริหาร และเป็นผู้ที่พิธายกให้เป็นเจ้านายคนแรกของเขา ก่อนจะขยับมาทำงานเป็นที่ปรึกษาธุรกิจให้กับอีกบริษัท ซึ่งพิธาเล่าว่า ช่วงนั้นเขามีโอกาสดูแลลูกค้ารายแรก คือ ‘ไทยซัมมิท’ ของ ‘ธนาธร จึงรุ่งเรืองกิจ’ ซึ่งมีโปรเจกต์ขยายตลาดอุตสาหกรรมยานยนต์ไปที่ประเทศอินเดีย  

หลังจากนั้น 2 ปี พิธาได้มีโอกาสขยับเข้าใกล้งานการเมืองมากขึ้น ในช่วงหลังเหตุการณ์สึนามิ ที่ภาคใต้ และทีมงานของ ดร.สมคิด จาตุศรีพิทักษ์ รองนายกรัฐมนตรีในขณะนั้น ติดต่อมายังบริษัทของเขา ให้เข้าไปทำงานให้กับหลายกระทรวง ทำให้พิธา ได้เริ่มสัมผัส และซึมซับการทำงานของนักการเมืองหลายคนในรัฐบาลในช่วง ปี 2547-48

ก่อนที่เขาจะขยับเข้าใกล้การเมืองมากขึ้น เมื่อตัดสินใจข้ามฝั่ง จากที่ปรึกษาธุรกิจเอกชน มารับบทบาทข้าราชการ ติดตาม ‘ดร. สมคิด’ ตั้งแต่ในทำเนียบรัฐบาล ก่อนย้ายไปที่กระทรวงการคลัง และกระทรวงพาณิชย์ตามลำดับ ทำให้ได้เรียนรู้การทำงานกับทีมงานของ ดร. สมคิด อย่าง ดร. อุตตม สาวนายน, ดร. สุวิทย์ เมษินทรีย์ รวมถึง ดร.โอฬาร ไชยประวัติ 

ในบทบาทของทีมเลขาฯ ตามนาย ที่นั่งอยู่แถวหลังสุดมุมห้อง พิธาใข้ช่วงเวลานั้น แอบบันทึก และซึมซับสาระสำคัญ รวมถึงวิธีคิด ของคีย์แมนทางการเมืองไปพร้อมกันด้วย แม้เป็นช่วงระยะเวลาไม่นาน ก่อนเขาจะตัดสินใจไปเรียนต่อที่สหรัฐอเมริกา กระทั่งเกิดเหตุการณ์รัฐประหาร ในปี 2549

#เป็นผู้สังเกตการณ์การเมืองระดับโลก
อีกด้าน พิธา มีโอกาสได้เปิดมุมมอง และได้พบเห็นการทำงานการเมืองระดับโลก ที่สหรัฐอเมริกา ในช่วงเวลาที่เขาเดินทางไปศึกษาต่อ ทั้งในปี 2000 ช่วงการเลือกตั้งใหญ่ ที่เป็นการขับเคี่ยวกัน ของ จอร์จ ดับเบิ้ลยู บุช จากรีพับลิกัน และ อัล กอร์ จากเดโมแครต  ซึ่งเป็นช่วงเดียวกับที่เขาไปเรียนต่อด้านการเงิน ที่รัฐเท็กซัส ทำให้ได้เห็นบรรยากาศและวิธีการหาสียงในฟากของพรรครีพับลิกัน 

กระทั่ง 16 ปี คล้อยหลัง พิธากลับไปศึกษาต่อปริญญาโท ที่สหรัฐอีกครั้ง ซึ่งเป็นช่วงเดียวกับการหาเสียงเลือกตั้งใหญ่ของสหรัฐฯ แต่หนนี้เขาได้ไปอยู่ในพื้นที่ของพรรคเดโมแครต ได้เห็นการต่อสู้ทางการเมืองระหว่าง ‘โอบามา’ กับ ‘แม็คเคน’ ซึ่งพิธาได้เห็นวิวัฒนาการการหาเสียงผ่านโซเชียลมีเดีย รวมถึงได้แลกเปลี่ยนกับเพื่อนๆ ร่วมคลาสการเมือง ซึ่งต่อมาเติบโตไปเป็นคนการเมืองระดับประเทศในสหรัฐฯ รวมถึงได้ติดตามเพื่อน ออกไปหาเสียง ได้เห็นและเรียนรู้สิ่งที่เรียกว่า ‘เครื่องจักรทางการเมือง’ ซึ่งเป็นยุทธวิธี ในการลงพื้นที่เรียกคะแนน รวมถึงการเคาะประตูเพื่อขอรับบริจาคเงินสนับสนุนพรรคการเมือง จนได้นำสิ่งที่ได้เห็นและสัมผัส กลับมาปรับใช้ได้จริง เมื่อเขาตัดสินใจผันตัวเองเข้าสู่บทบาท ‘นักการเมือง’ เต็มตัว

‘พิธา’ ในบทบาทของผู้นำจัดตั้งรัฐบาล เพิ่งประกาศเอ็มโอยู ระหว่าง 8 พรรค 313 เสียง ที่ร่วมจัดตั้งรัฐบาลไปเมื่อต้นสัปดาห์ แน่นอนว่า กระแส ‘พิธาฟีเวอร์’ และ ‘ด้อมส้ม’ มาแรงต่อเนื่อง หากไม่มีอุบัติเหตุ หรือความผิดพลาดทางการเมืองเกิดขึ้น ว่าที่ผู้นำคนรุ่นใหม่ ที่มาพร้อมความคาดหวังในความเปลี่ยนแปลงฉากทัศน์ทางการเมือง ที่ชื่อ ‘พิธา ลิ้มเจริญรัตน์’ กับประสบการณ์การเมืองที่เขาเรียนรู้และสั่งสมมา จะได้ใช้งานอย่างเต็มที่ในบทบาท และฐานะผู้นำของประเทศต่อไป

‘ธรรมนัส’ เคลียร์ใจ อดีตผู้สมัคร ส.ส.นครศรีฯ ‘พปชร.’ ปมท่อน้ำเลี้ยงตัน ยัน!! ไร้ปัญหาคาใจ พร้อมร่วมงานกันต่อ

(29 พ.ค. 66) ร.อ.ธรรมนัส พรหมเผ่า ว่าที่ ส.ส.พะเยา พรรคพลังประชารัฐ (พปชร.) กล่าวกรณีนายคมเดช มัชฌิมวงศ์ อดีตผู้สมัคร ส.ส.นครศรีธรรมราช เขต 7 พรรคพลังประชารัฐ ออกมาเรียกร้องความเป็นธรรมแทนอดีตผู้สมัคร ส.ส. ประมาณ 20 คน โดยทวงถามเงินค่าใช้จ่ายหลังเลือกตั้งว่า ตนได้รับมอบหมายจาก พล.อ.ประวิตร วงษ์สุวรรณ รองนายกฯ ในฐานะหัวหน้าพรรค เพื่อพูดคุยทำความเข้าใจกับกลุ่มอดีตผู้สมัคร ส.ส. และเข้าใจกันดีแล้ว ทราบว่าปัญหาเกิดจากการประสานงานเข้าใจกันคลาดเคลื่อน ในเรื่องการปฎิบัติงานต่างๆ ในพื้นที่ จากนี้จะร่วมกันแก้ปัญหาต่อไป

ร.อ.ธรรมนัส กล่าวว่า หลังพูดคุยกับอดีตผู้สมัคร ส.ส.ทุกคนยืนยันยังเคารพ รัก และเชื่อมั่นในตัวพล.อ.ประวิตร อย่างเหนียวแน่นและพร้อมทำงานกับพรรค เพื่อช่วยเหลือประชาชนในพื้นที่ต่อไปในทุกเรื่องที่ทำได้ และจะไปทำความเข้าใจกับอดีตผู้สมัคร ส.ส.คนอื่น ที่ไม่ได้มาพูดคุยวันนี้ เพื่อให้เข้าใจว่าพรรค จะแก้ปัญหาและให้ความเป็นธรรมแน่นอน

ด้านนายคมเดช กล่าวว่า จากการพูดคุยกับ ร.อ.ธรรมนัส ทุกคนเข้าใจกันดี จากนี้จะรอการประสานงานเพื่อแก้ปัญหาร่วมกับผู้ใหญ่ในพรรคตามขั้นตอน โดย ร.อ.ธรรมนัส จะนำเรื่องไปรายงานหัวหน้าพรรค จากนั้นจะนัดหมายทำความเข้าใจ และหารือแก้ปัญหาต่อไป

ตนและกลุ่มอดีตผู้สมัคร ส.ส.ยืนยันกับ ร.อ.ธรรมนัส ว่าเรายังเคารพรักและเชื่อมั่นในตัว พล.อ.ประวิตร เสมอและตลอดไป เราไม่ต้องการทำลายพรรค และยังยืนยันจะทำงานร่วมกับพรรค เพื่อช่วยเหลือประชาชนในพื้นที่ต่อไปแน่นอน

‘ชัยมงคล ไชยรบ’ ว่าที่ ส.ส. สกลนคร เชื่อคว้าชัย เพราะนโยบายพรรค พร้อมทำงาน เร่งเดินหน้าแก้หนี้สิน ให้เกษตรกร

นายชัยมงคล ไชยรบ ว่าที่สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร (ส.ส.) จ.สกลนคร เขต 5 กล่าวว่า ในการเลือกตั้งที่ผ่านมา ขอขอบพระคุณทุกคะแนนเสียงที่มอบให้ตน ซึ่งเป็นคนสว่างแดนดินให้ได้เป็นผู้แทน การได้รับเลือกครั้งนี้เป็นตนตั้งใจจะเปลี่ยนเพื่อพัฒนาสว่างแดนดินให้ดีขึ้น จะถือโอกาสทำงานพัฒนาเมืองสว่างฯ ให้เจริญก้าวหน้า เรามีเป้าหมายชัดเจนในการฟื้นฟูเศรษฐกิจ โดยต้องแก้ไขปัญหาหนี้สิน  ควบคู่กับการสร้างรายได้ เนื่องจากปัจจุบันประชาชนประสบกับหนี้สินทั้งในและนอกระบบจำนวนมาก

นายชัยมงคล กล่าวต่อว่า สิ่งที่ตนได้บอกกับประชาชนในพื้นที่ก็คือ ตนจะผลักดันให้จังหวัดสกลนครมีการพัฒนาด้านคมนาคมด้วยรถไฟความเร็วสูงเพื่อการขนส่ง และสกลนครจะต้องอยู่ในแผนของการวางระบบโครงสร้างพื้นฐาน ที่จะนำรถไฟความเร็วสูง  จากอุดรธานี ผ่านสกลนคร ไปนครพนม แม้ว่าจะได้เป็นรัฐบาลหรือฝ่ายค้านก็ตาม เรื่องนี้คือยุทธศาสตร์ในการพัฒนาที่ตนตั้งใจว่าจะทำให้ได้ และประชาชนก็ขานรับเป็นอย่างดี เพราะสาเหตุที่ทำให้ประชาชนตัดสินใจให้ตนมาเป็นผู้แทนฯนอกเหนือจากนโยบายของพรรคพลังประชารัฐแล้ว ก็มาจากนโยบายรถไฟความเร็วสูงด้วย 

"รถไฟความเร็วสูงที่จะเกิดขึ้น จะทำให้เกิดการสร้างรายได้ให้กับชาวบ้าน เพราะจะสามารถส่งออกผลผลิตทางการเกษตรเพิ่มขึ้น ถือว่าเป็นการแก้ไขปัญหาอย่างยั่งยืน ไม่ใช่การที่ต้องนำเอางบประมาณจากภาครัฐลงไปสนับสนุนอยู่ตลอดเวลา และก็แก้ปัญหาได้เพียงชั่วคราวเท่านั้น" นายชัยมงคล กล่าว

นายชัยมงคล กล่าวต่อว่า ตนยังมีโครงการระบบสูบน้ำพลังงานแสงอาทิตย์เพื่อการเกษตรด้วยที่ตั้งใจจะผลักดันให้สำเร็จเพราะเป็นบริหารการจัดการน้ำและส่งเสริมวิถีชุมชนการเกษตรที่ยั่งยืน โดยจะสูบน้ำจากบ่อบาดาลด้วยพลังงานแสงอาทิตย์ หรือโซล่าเซลล์ ถือเป็นการพัฒนาระบบโครงสร้างพื้นฐาน และยกระดับคุณภาพชีวิต เพิ่มรายได้ให้กับเกษตรกรมากยิ่งขึ้น อีกทั้งยังเป็นการลดต้นทุนทางการเกษตรโดยที่ไม่ต้องใช้น้ำมันอีกด้วย

‘หมอวรงค์’ เผยอนาคตการเมือง ไม่ลงเลือกตั้ง  ยอมรับสู้ไม่ได้ เน้นไปเคลื่อนไหวในเวทีประชาชนแทน

18 มิ.ย. 2566 – นพ.วรงค์ เดชกิจวิกรม หัวหน้าพรรคไทยภักดี ให้สัมภาษณ์เป็นครั้งแรก หลังการเลือกตั้งเมื่อ 14 พ.ค. ที่ผ่านมา ซึ่งพรรคไทยภักดีไม่มีที่นั่งส.ส.ในสภาผู้แทนราษฎร แม้แต่คนเดียว และหลังจากนั้น นพ.วรงค์ ก็เก็บตัวเงียบมาตลอด จนแวดวงการเมืองสงสัยหายไปไหนและจะวางมือทางการเมืองหรือไม่


โดยนพ.วรงค์ กล่าวว่าพรรคไทยภักดียังคงอยู่ และจะอยู่บนถนนการเมืองต่อไป แต่หากกติกาและบริบทการเลือกตั้งยังคงเป็นแบบที่เป็นตอนเลือกตั้งที่ผ่านมา ก็ตัดสินใจแล้วว่าหากมีการเลือกตั้งเกิดขึ้นตนเองและพรรคไทยภักดี คงไม่ลงเลือกตั้ง แต่จะหันไปเคลื่อนไหวการเมืองภาคประชาชนแทนเพื่อต่อสู้ทางความคิดในเวทีประชาชนแทน

นพ.วรงค์ กล่าวต่อว่า หลังเลือกตั้งได้มีการถอดบทเรียนและประเมินผลเลือกตั้งที่ออกมา จนสรุปสิ่งที่เกิดขึ้นได้ว่า หนึ่ง รัฐบาลล้มเหลว เราต้องยอมรับก่อน ซึ่งผมรู้อยู่แก่ใจแล้ว แต่ในสถานการณ์ช่วงก่อนการเลือกตั้ง มันไม่เหมาะที่จะไปวิพากษ์วิจารณ์ ถามว่าเขาล้มเหลวอะไรบ้าง เห็นว่า รัฐบาลปัจจุบันล้มเหลวสี่เรื่อง

หนึ่ง เขาไปแก้ไขรัฐธรรมนูญรายมาตราและนำไปสู่การแก้ไขพรบ.ประกอบรัฐธรรมนูญฯ ว่าด้วยการเลือกตั้งส.ส. ที่แก้ไข เปลี่ยนระบบการเลือกตั้งจากตอนเลือกตั้งปี 2562 ที่ใช้บัตรใบเดียว ทุกคะแนนเสียงไม่ตกน้ำ ก็ไปแก้เป็น บัตรสองใบ -หาร 100 จนฝ่ายค้านเวลานั้น ประกาศทันที จะชนะเลือกตั้งแลนด์สไลด์ ทั้งที่พรรคไทยภักดีเคยเตือนแต่แรกว่า หากแก้ไขจะนำไปสู่ปัญหาของประเทศในอนาคต และฝ่ายรัฐบาลจะแพ้ทั้งกระดาน แต่เขาไม่ฟัง

ประเด็นที่สอง พรรคและคนในฝ่ายรัฐบาลมาแตกกันเอง แล้วแยกออกมาอยู่กันคนละพรรค ทำให้คนยิ่งเบื่อ เรื่องที่สาม เอื้อทุจริตและเอื้อทุนผูกขาด ที่ไทยภักดีก็ออกมาต่อต้านเรื่องพวกนี้ ทั้งเรื่องพลังงาน การสื่อสารผ่านดาวเทียม เป็นต้น และสุดท้ายที่พลาดมากๆ ทั้งที่เป็นหน้าที่ซึ่งต้องทำ และนำไปสู่ความพ่ายแพ้ครั้งยิ่งใหญ่ คือฝ่ายรัฐบาลไม่ต่อสู้ทางความคิด พรรคฝ่ายค้านเดิมเขาต่อสู้ทางความคิด โดยบิดเบือนหมด แต่ฝ่ายรัฐบาลไม่เอาความจริงมาสู้ ไม่เคยออกมาต่อสู้ทางความคิด ไม่ว่าจะเป็นเรื่อง 112 เรื่องสถาบันฯ อาจมีบ้างแต่ก็หยุมหยิม ไม่ได้ออกมาแบบสร้างชุดความคิดสู้ เลยทำให้คนเบื่อ เพราะพื้นฐานการที่่ฝ่ายรัฐบาลอยู่มาแปดปีกว่า คนเบื่ออยู่แล้ว มันก็เลยยิ่งสวิงมากขึ้น และมันก็มีผลกระทบกับพรรคไทยภักดีตามมา เพราะไทยภักดี คนมองว่าเป็นพรรคการเมืองที่เหมือนกับสนับสนุนรัฐบาล ทั้งที่อะไรที่ดีเราก็เชียร์ แต่อะไรไม่ดี เราก็วิพากษ์วิจารณ์รัฐบาล แต่แน่นอน มันหนีไม่พ้น พรรคไทยภักดี ย่อมได้รับผลกระทบจากสิ่งนี้ อันนี้คือภาพที่ทำให้เกิดปัญหา

นพ.วรงค์ กล่าวต่อว่า เมื่อเป็นอย่างที่กล่าวข้างต้น ทำให้การเมืองอีกซีกหนึ่งได้เปรียบ ใช้คำแบบนี้แล้วกัน การต่อสู้ตรงนี้มันเกิดจาก “ไม่ซื้อเสียง ก็ซื้อสื่อ” คำว่าซื้อสื่อ ให้ความหมายครอบคลุม คือผมเชื่อว่าสื่อเกือบ 70-80เปอร์เซ็นต์เป็นของเขา ผมไปออกทุกรายการ เป็นคนของเขาหมด เข้าข้างเขาหมด เวลาเราไปออกรายการ มีข้อมูลจะพูดเพื่อคัดค้านเขา ก็มีความพยายามปิดปากไม่ให้เราพูด รวมถึงสื่อโซเชียลมีเดีย และไอโอ ทำให้การปั่นกระแสของพวกนี้เขาจะได้เปรียบ อย่างผมขอยกตัวอย่าง กรณี”ลุงพล” จากผู้ร้ายทำให้กลายเป็นพระเอกขึ้นมา คือตัวอย่างที่ยกมาให้เห็น การที่พรรคการเมืองพรรคใดพรรคหนึ่งมีเครื่องมือมากในการปั่นกระแสต่างๆ มันจึงทำได้ง่ายมาก และที่สำคัญสิ่งที่ปั่นมันเฟกเยอะ

หัวหน้าพรรคไทยภักดี กล่าวว่า อีกฝ่ายที่ต้องตำหนิคือคณะกรรมการการเลือกตั้ง คือส่วนสำคัญมันก็อาจมาจากเรื่องของรัฐธรรมนูญ ที่ทำให้เกิดการแข่งขันที่ไม่เท่าเทียม คือการแข่งขันในระบอบประชาธิปไตยมันต้องเท่าเทียม ทุกพรรคต้องได้โอกาสเหมือนกัน ใช้เงินใกล้เคียงกัน แล้วให้ประชาชนไตร่ตรอง แต่สิ่งที่เห็นวันนี้มันไม่ใช่ เรื่องเงินค่าใช้จ่ายในการเลือกตั้งส.ส.ระบบเขตที่ผ่านมา ที่ให้ผู้สมัครส.ส.ระบบเขตแต่ละคนใช้เงินคนละไม่เกินหนึ่งล้านเก้าแสนบาท และบัญชีรายชื่อก็อีกร่วมร้อยกว่าล้านบาท เบ็ดเสร็จต้องหาเงินประมาณเก้าร้อยกว่าล้านบาท แต่ของพรรคไทยภักดี ใช้เงินในการเลือกตั้งที่ผ่านมาน้อยมาก ซึ่งเรารู้อยู่แล้วว่า หากเราไปเอาเงินจากบริษัทใหญ่ สุดท้ายต้องตอบแทน เราไม่ต้องการกระบวนการทุจริตเพื่อเอื้อประโยชน์เกิดขึ้น ตราบใดที่กติกาเป็นแบบนี้ ยังไง เราก็สู้ไม่ได้ ในเมื่อเราปฏิเสธการจะไปทำทุจริตอยู่แล้ว

“ผมคุยกับทีมงานพรรคไทยภักดีแบบตรงไปตรงมาเลยว่า เราต้องยอมรับว่ายังไง เราก็สู้เขาไม่ได้ ประกาศเลยผมสู้เขาไม่ได้ แต่ถ้าเรื่องความคิด ผมไม่แพ้คุณ แต่เพราะเราไม่มีองคาพยพที่จะมาจัดการสิ่งเหล่านี้ เราไม่มีปัญญาหาเงิน หาโครงข่ายที่มีผลประโยชน์ร่วม แม้แต่โครงข่ายจากต่างประเทศ แล้วมาทำสิ่งเหล่านี้ ส่วนทางออกคืออะไร ก็เป็นหน้าที่ของกกต.ในการจัดการเลือกตั้งให้เป็นธรรม ให้เท่าเทียมกันในทุกๆมิติ”นพ.วรงค์ระบุ

เมื่อถามถึงเส้นทางการเมืองต่อจากนี้ ของพรรคไทยภักดี นพ.วรงค์ กล่าวว่า หลังการเลือกตั้ง ได้คุยกับทีมงานของพรรคไทยภักดีว่าเราสู้เขาไม่ได้ ต้องยอมรับ หากกติกายังเป็นแบบนี้อยู่ ผมยอมรับเลยว่าผมพ่ายแพ้ สู้เขาไม่ได้ ยกเว้นมีการเปลี่ยนแปลง ทำให้เกิดการแข่งขันที่เป็นธรรม ผมจะสู้กับคุณ หัวเด็ดตีนขาด ผมไม่กลัว แต่ตราบใดที่คุณใช้ศักยภาพแบบนี้ ผมไม่มีศักยภาพจะไปหาเงินได้เยอะขนาดนั้น หาโครงข่ายจากต่างประเทศ เพราะผมต่อต้านโครงข่ายต่างประเทศอยู่แล้ว ดังนั้น ยังไง ผมก็สู้พวกคุณไม่ได้ ผมไม่สู้คุณ ในเวทีแบบนี้แล้ว เพราะยังไง ผมสู้พวกคุณไม่ได้ แต่ผมจะสู้กับพวกคุณในเวทีประชาชน

“ผมไม่ทิ้งการเมือง แต่ถ้าตราบใดที่ยังแข่งขันกันในลักษณะแบบนี้อยู่ ผมก็เคยบอกกับทีมงานว่า ถ้าแบบนี้เราสู้เขาไม่ได้ คือเขาใช้ทั้งซื้อเสียงหลายกลุ่ม ซื้อสื่อ แล้วเราจะเอาเงินที่ไหนไปซื้อ ในเมื่อไทยภักดีต่อต้านการทุจริตอยู่แล้ว ซึ่งการไปรับเงินจากทุนใหญ่ เขาใช้กันเป็นพันล้าน ไม่ใช่แค่หลักร้อยล้านบาท แต่ไทยภักดีเราใช้แค่หลักสิบล้านต้นๆ ไม่มีทางไปเปรียบเทียบได้”

นพ.วรงค์กล่าวต่อว่า ดังนั้นบอกเลย ผมสู้คุณไม่ได้ แต่ทางความคิด ผมสู้คุณได้ ซึ่งถ้ายังจัดการเลือกตั้งในรูปแบบนี้ ความเห็นส่วนตัวผม คือไม่ต้องไปลงแข่งแล้ว ถ้าไทยภักดีจะทำพรรคการเมืองต่อไป ก็เป็นพรรคการเมืองที่ทำการเมืองนอกรัฐสภา ชี้นำประเทศ ชี้นำประชาชนให้เห็นว่าตอนนี้เกิดปัญหาอะไรขึ้นบ้างในประเทศ เราต้องพยายามชี้นำทางความคิด เพราะวันนี้การต่อสู้ที่รุนแรงคือการต่อสู้ทางความคิด การต่อสู้ด้วยความจริง ข้อเท็จจริง ถ้าสู้แบบนี้ เราสู้เขาได้ และเราจะเห็นบทบาทของพรรคไทยภักดีในบทบาทแบบนี้เด่นชัดขึ้น คือเรายังเป็นนักการเมือง แต่ถ้าตราบใดที่กติกายังเป็นแบบนี้ ใช้เงินซื้อสื่อซื้อเสียงแบบนี้ ผมไม่แข่งกับคุณ พวกคุณไปแข่งกันเลยไป จนประชาชนเบื่อขึ้นมาเมื่อไหร่ ค่อยว่ากันอีกที หรือคนคิดได้ เริ่มมีการคิดเรื่องการทำให้เกิดระบบการแข่งขันมีความเป็นธรรมมากขึ้น เราจะเอาไทยภักดีไปแข่ง แต่ถ้ายังเป็นแบบนี้ คงไม่แข่งด้วย

หัวหน้าพรรคไทยภักดีกล่าวย้ำว่า สำหรับพรรคไทยภักดียังทำต่อไป ยังเคลื่อนไหวการเมืองต่อ ให้ความรู้ประชาชน สนับสนุนแนวคิดต่างๆ แต่หากกติกาเลือกตั้งยังไม่มีการแก้ไข ยังเป็นอยู่แบบนี้ ที่ไม่แฟร์ ก็ต้องบอกว่า กูไม่สู้มึง กูยอมแพ้ ผมไม่แข่งกับคุณ เรายอมแพ้ แต่ไทยภักดียังอยู่ พรรคจะบอกประชาชน จะชี้นำให้ประชาชนได้เห็นว่าอะไรเป็นอะไร ชี้นำความถูกต้อง แต่ต้องขอย้ำว่า ผมไม่ได้ปฏิเสธที่จะเล่นการเมือง จะยังคงเล่นการเมืองอยู่ เพียงแต่ถ้ากติกายังเป็นแบบนี้ ผมไม่ลง
ถามถึงกรณี หากมีพรรคการเมืองอื่น มาชวนให้ไปร่วมงานการเมือง ให้ไปอยู่ด้วย จะไปหรือไม่ นพ.วรงค์ กล่าวว่า มีคนเขียนคอมเมนต์ในเพจของผมเยอะมากเรื่องนี้ เขาอาจมองว่า เมื่อมีอุดมการณ์เรื่องชาติ ศาสนา พระมหากษัตริย์ที่ไปตรงกันกับบางพรรค แต่ผมก็ยังไม่แฮปปี้กับความคิดหลายอย่างของเขา โดยเฉพาะกับการเอื้อประโยชน์ทุนใหญ่ ซึ่งถ้าลดโทนได้ อันนั้นก็อีกเรื่องหนึ่ง เพราะไทยภักดีเอง ก็รู้ว่าการต่อสู้วันนี้มันใช้เงินเยอะมาก ซึ่งตราบใดที่การเลือกตั้งใช้เงินเยอะ ประเทศก็จะยังคงอยู่ในวงจรอุบาทว์ ดังนั้น หากไปอยู่พรรคอื่น เพียงเพื่อขอให้ได้เป็นส.ส. แล้วมันจะได้อะไร ผมก็มานั่งนึก จะให้ไปอยู่กับพรรคการเมืองบางพรรค ที่มีอุดมการณ์ปกป้องสถาบันฯตรงกัน แต่ยังทำการเมืองแบบเก่าๆ อยู่ ก็ไม่รู้ว่าจะทำไปทำไม มันไม่ได้ทำให้ประเทศดีขึ้น

วันนี้ผมยังไม่เห็นพรรคการเมืองที่ผมถูกใจ มันจึงเป็นที่มาที่ทำให้ผมมาตั้งพรรคการเมือง แต่มันก็พิสูจน์ให้เห็นแล้ว ถ้าพูดภาษาชาวบ้านคือ “กูไปไม่ไหวจริงๆ กับการต่อสู้แบบนี้” แต่ยังสนุกที่จะยังทำงานการเมือง ปกป้องประโยชน์ของประเทศชาติและประชาชน เมื่อมันเป็นแบบนี้ เราก็ไม่ลงเลือกตั้ง ก็ไม่เห็นเป็นไร ประชาชนเขาเห็น เขาก็อาจเชื่อใจ ที่เรายังไม่ลงเลือกตั้งแล้วเคลื่อนไหวทำอะไรเพื่อประชาชนจริงๆ ก็อาจทำให้เราได้รับการสนับสนุนจากประชาชนมากยิ่งขึ้นก็ได้
นพ.วรงค์ กล่าวตอนท้าย ขอย้ำว่าไม่ได้ปฏิเสธการเมือง เดี๋ยวจะเข้าใจผิดว่าผมปฏิเสธการเมือง หรือว่าผมจะไม่ลงการเมือง ไม่ลงสมัครส.ส.แล้ว ไม่ใช่แบบนั้น เพียงแต่ในอนาคต หากมีเงื่อนไขบางอย่างที่ทำให้เราเห็นว่าเราลงแล้วสู้ได้ เหมือนกับคุณเล่นกอล์ฟ ถ้าคุณให้แฮนดิแคปเราลงแข่งกับคุณ ถ้าคุณไม่ให้แฮนดิแคป เราคงไม่ลงแข่งกับคุณ ก็เหมือนกันในตอนนี้ เพราะผมว่ากติกาตอนนี้มันไม่แฟร์ การที่ไม่ลงเลือกตั้งก็ไม่เห็นเป็นไร เพราะเราต้องการชี้ให้เห็นถึงความตั้งใจของเราว่าการทำงานการเมือง ไม่ต้องมีตำแหน่งก็ได้ แต่ก็เคลื่อนไหวทำงานการเมืองได้ ผมยังยืนยันว่าผมเป็นนักการเมือง เพียงแต่ถ้ามีการแก้ไขเงื่อนไขอะไรบางอย่าง หรือในอนาคต หากว่าพรรคการเมืองมันลดโทนลง มาคุยกับผม แล้วบอกว่าเรื่องนี้ผมยอม เช่นเรื่องพลังงาน คุยกันแล้วโอเค ก็อาจเป็นไปได้ ก็เป็นอีกเรื่องหนึ่งแล้ว อนาคตก็ไม่แน่

“เรื่องที่ถามถึงโอกาสที่จะย้ายไปอยู่กับพรรคการเมืองอื่น ผมขอใช้คำนี้ดีกว่า คือ ณ วันนี้ เรื่องเหล่านี้ไม่ได้อยู่ในหัวผม เลยไม่อยากไปคาดการ ยังไม่อยากพูดถึงอนาคต เพราะไม่รู้ว่าจะเกิดอะไรขึ้นมา แต่ ณ วันนี้หลังจากไตร่ตรองมาเป็นเดือน ตั้งแต่หลังเลือกตั้ง 14 พ.ค. ได้คุยกับเพื่อนๆ และทีมงานไทยภักดีแล้ว ก็เห็นว่า ถ้ายังเป็นแบบปัจจุบันนี้ ก็อย่าไปแข่งกับมัน แข่งไปก็แพ้ สู้ไม่ได้ ก็ต้องยอมรับ ส่วนพรรคไทยภักดีก็อาจจะไปเน้นการเคลื่อนไหวนอกสภาฯ ผมว่าวันนี้ประชาชนต้องการคนที่เข้ามาต่อสู้ทางความคิด ซึ่ง ณ วันนี้ ผมดูแล้ว ฝ่ายพรรคการเมืองในสายอนุรักษ์นิยม ไม่มีการต่อสู้ทางความคิดเลย เราจึงมีความจำเป็นต้องยืนอยู่”นพ.วรงค์ระบุ


TRENDING
© Copyright 2021, All rights reserved. THE STATES TIMES
Take Me Top