‘รศ.ดร.เจษฎ์’ จวก!! กระแสกดดัน ส.ว.โหวตเลือกนายกฯ ลั่น!! ต่อให้ได้ถึง 750 เสียง ก็ไม่มีสิทธิ์ทำแผ่นดินลุกเป็นไฟ

เมื่อวันที่ 23 พ.ค. 66 ที่ผ่านมา รศ.ดร.เจษฎ์ โทณะวณิก ได้กล่าวในรายการตอบโจทย์ ของสถานีข่าวไทยพีบีเอสกรณีปมกดดัน สมาชิกวุฒิสภา หรือ ส.ว.ให้โหวตเลือกนายกรัฐมนตรีตามเสียงข้ามากของสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร หรือ ส.ส.

โดยประเด็นนี้ นักวิชาการด้านนิติศาสตร์ และประธานคณะนิติศาสตร์ วิทยาลัยบัณฑิตเอเชีย กล่าวในหัวข้อ จับกระแส ‘กดดัน ส.ว.’ โหวตเลือกนายกฯ ของทางรายการข่าวว่า ร่างรัฐธรรมนูญเขียนเรื่อง ส.ว.ไป และข้อต่อ ส.ว. มาทำอะไรตรงนี้ ทำไม ส.ว.ต้องมาลงมติเพื่อได้มาซึ่งนายกรัฐมนตรี ซึ่งมุมดังกล่าวนักวิชาการในร่างแขกรับเชิญ ระบุต่อมา ตรงนี้อาจจะถือเป็นก้าวที่ คสช. ก้าวผิดไป

“ถ้าวันนี้ คสช.ไม่เอา ส.ว. มาร่วมด้วยเนี่ยนะ เมื่อวันปี 62 ท่านก็ได้เสียงข้างมากไปละ รัฐบาลที่จัดตั้งด้วยเสียงข้างมากทหาร วันนี้ถ้าหากเป็นระบบรัฐสภาจริง ๆ จะไม่เกิดเหตุหรือเกิดน้อยมากที่พรรรคที่ได้คะแนนเสียงลำดับ 1 กับลำดับ 2 จับ” กล่าวจบ รองศาสตราจารย์ยังยกตัวอย่างเพื่อย้ำข้อเท็จจริง โดยระบุให้ไปดูตัวอย่างของประเทศระบบรัฐสภาส่วนใหญ่ ไม่ใช่แต่เพียงพรรคจะไม่จับกัน แต่ประชาชนก็ไม่อยากให้จับมือร่วมรัฐบาลกันแบบนี้ด้วย เพราะจะใหญ่เกิน”

“ข้อ 2 ในระบบรัฐสภา สิทธิจัดตั้งก่อน ไม่ใช่ได้สิทธิเป็น ตอนนี้ต้องเข้าใจให้ดีว่า ได้สิทธิในการจัดตั้งนะ ถ้าจัดตั้งไม่ได้ก็ต้องเป็นหน้าที่ของสิทธิลำดับพรรคที่ได้คะแนนเสียงลดหลั่นกันไป”

รศ.ดร.เจษฎ์ กล่าวต่อถึงประเด็นกลไก ตอนปี 60 มีประชามติการให้ความเห็นชอบคำถามพ่วง ว่าจะให้ ส.ว.มาร่วมเลือกนายกรัฐมนตรีด้วยหรือไม่ ปรากฏว่า ผู้มาใช้สิทธิส่วนใหญ่ 15,132,050 คน (58.07%) เห็นด้วยกับการให้ ส.ว.มาร่วมเลือกนายกรัฐมนตรี

จุดนี้เองทำให้นักวิชาการคณะนิติศาสตร์ฯ แสดงมุมมองตัวเองเสริมไปว่า ครั้งนั้นเมื่อไม่มีการผลักดัน ตีฆ้องร้องป่าว เท่ากับเป็นคะแนนบริสุทธิ์ ประชาชนก็มาออกเสียง ในกลไก คือ เอา ส.ว. มาเพราะปฏิรูปประเทศ

เมื่อถูกถามว่าอิสระจริงรึเปล่า? ถอดจากคำให้สัมภาษณ์ในรายการโดยละเอียดของ รศ.ดร.เจษฎ์ โทณะวณิก สามารถระบุได้ดังนี้

“ผมถึงได้พูดว่าการที่ไม่สามารถที่จะแสดงทรรศนะ ว่าเห็นด้วยหรือเห็นต่างเป็นสาธารณะ หรือมาบอกว่า เธอเห็นด้วยสิ เธอเห็นต่างสิ เธออย่าไปเอาร่างรัฐธรรมนูญ อย่าไปเอาคำถามเพิ่มเติมนะ เธอเอาสิ ไม่มีเลย แสงดว่ามันเป็นคะแนนบริสุทธิ จะด้วยภาวะการณ์ เขาลงคะแนนบริสุทธิ์ ถูกไหมครับ เขาลงคะแนนมาแล้วให้ ส.ว.มาเลือกนายกฯ อันนี้คือประชามติ

“ประชามติ คือ ประชาธิปไตยทางตรงนะ ตรงยิ่งกว่าการเลือกตั้งอีกนะ การเลือกตั้งมันเป็นประชาธิปไตยทางอ้อมนะ คุณเลือก ส.ส. และ ส.ส.ไปเลือกนายกให้นะ แต่นี่ประชาธิปไตยมันตรงนะ คุณจะเอาไม่เอา เขาเอามาแล้ว มันกลายเป็นหน้าที่แล้ว กลายเป็นลักษณะพิเศษของบ้านนี้เมืองนี้ ส.ว.เขาเลยต้องมาลงมติ ที่ถามไว้แบบนี้จะเป็นรอื่นเป็นแบบไหนได้อีกไหม คุณมี 160 ไปขอเพื่อน 150 เลขกลม เพื่อนอีกจำนวนรวมได้ 313 พอรวมได้ตามเงื่อนไขรัฐธรรมนูญต้อง 376 ขึ้นไป”

“ความอยากได้ตรงนี้เองทำให้เกิด ‘ความบิดเบี้ยว’ ของกลไกรัฐสภา ส.ว. และ ส.ส. ต้องไม่เป็นพวกเดียวกัน ต้องไม่ใช่คนที่จะมาพูดคุยอะไรกัน ต้องตรวจสอบถ่วงดุลค้านอำนาจกันเสียด้วย”

มาถึงเรื่อง ปิยบุตร แสงกนกกุล ออกมาเคลื่อนไหวจะส่งผลอะไรต่อพิธาในการเดินหน้าจัดตั้งรัฐบาลล่าสุดนี้บ้าง เจษฎ์ตอบข้อสงสัยนี้โดยเริ่มจากยกตัวอย่างกรณีที่หากต่อให้ การออกมาเคลื่อนไหวของนายปิยบุตรล่าสุดไม่มีผลใด ๆ กับฝ่ายที่สนับสนุนพรรคก้าวไกล แต่นั่นไม่ได้หมายความว่าจะไม่มีผลต่อคนอื่น ๆ

รศ.ดร.เจษฎ์ ย้ำว่าอย่าลืมว่า ตอนนี้มีคนเลือกคุณ 14 ล้าน ไม่เลือก 27 ล้าน แล้วคนที่ไม่ได้มาเลือกด้วย อีกเท่าไร นับรวมให้ครบคนไทยทั้งประเทศ มีเสียง 160 หย่อน ๆ 300 กว่าคือไม่มี ก่อนจะสรุปด้วยวาจาแข็งกร้าวขึ้นกว่าเดิมว่า...

“ผมเรียนอย่างนี้ครับว่า ต่อให้คุณมีเสียง ส.ส. 500 มีเสียง ส.ว.อีก 250 มีคนไทยทั้งประเทศ คุณก็ไม่มีสิทธิทำลายสิ่งที่บรรพบุรุษคนไทยสร้างไว้ให้ แล้วบรรพบุรุษที่พูดถึงไม่ใช่แค่บรรพบุรุษเจ้าเท่านั้นด้วย เป็นบรรพบุรุษทั้งเจ้าทั้งคนไม่ใช่เจ้าทั้งหมด บรรพบุรุษไทยที่สร้างแผ่นดินนี้มา เขาคือเจ้าของแผ่นดินนี้ที่แท้จริง คุณเป็นผู้สืบทอดเขามา ต่อให้คุณได้ 500 เสียง ส.ส. 250 เสียง ส.ว. คุณก็ไม่มีสิทธิที่จะทำให้แผ่นดินนี้ลุกเป็นไฟ คุณไม่มีสิทธิที่จะทำลายแผ่นดินนี้

หลัง เจษฎ์ โทณะวณิก กล่าวจบ แพทย์หญิง พรทิพย์ โรจนสุนันท์ สมาชิกวุฒิสภา หรือ ส.ว. ก็กล่าวเสริมทันทีว่า เธอเองเห็นด้วย

“อันนั้นล่ะคะ เห็นด้วยอย่างยิ่ง เขาไม่เข้าใจ เขาหาว่าเราบ้า อะไรประมาณนี้ เขามีเสียงข้างมาก สิ่งนี้เขาจะไม่ฟังเลย” คำกล่าวเสริมถึงกรณีกดดัน ส.ว.โหวตเลือกนายกฯ จากปากของแพทย์หญิงพรทิพย์ที่หลังจากแสดงมุมมองของตัวเธอจบ รศ.ดร.เจษฎ์ แขกรับเชิญนักวิชาการไทยก็ สรุปถึงสิ่งที่สังคมจะต้องทำและทุก ๆ ประเทศต้องทำ คือ ช่วยกันทำนุบำรุงบ้านเมืองนั้นให้พัฒนาและดีขึ้นเรื่อย ๆ ดีกว่าที่บรรพบุรุษทำไว้ เพื่อเราจะได้มีแผ่นดินที่ดี ดีขึ้นเรื่อย ๆ และเพื่อลูกหลานเราจะได้มีแผ่นดินที่ดีและดีขึ้นเรื่อย ๆ ไม่ใช่พากันทำลาย