Monday, 29 April 2024
ภาษี

‘จาก ร.6 ถึง ร.10’ พระมหากษัตริย์ ผู้ยอมให้...รัฐเก็บภาษี!! | MEET THE STATES TIMES EP.62

📌 ‘จาก ร.6 ถึง ร.10’ พระมหากษัตริย์ ผู้ยอมให้...รัฐเก็บภาษี!!
📌 ด้วยพระราชปณิธานของ รัชกาลที่ 6 สืบสานถึง รัชกาลที่ 10!! 

👄 ในรายการ MEET THE STATES TIMES ข่าวคุยเพลิน

💻 ดำเนินรายการโดย หยก THE STATES TIMES

.

.

'แม่ค้าออนไลน์' โอด!! โดนเรียกภาษีย้อนหลัง 4 ล้าน หลังเจอสรรพากรแคปทุกโพสต์ เก็บทุกเม็ด

กำลังเป็นประเด็นในโลกออนไลน์ เมื่อ ปุ๊กกี้ แม่ค้าออนไลน์คนดัง และโค้ชสอนด้านการตลาด อีกทั้งยังเป็นผู้สมัครเข้าประกวดมิสแกรนด์พิษณุโลก ได้ออกมาโพสต์ข้อความหลังถูกสรรพากรเรียกเก็บภาษีย้อนหลังกว่า 4 ล้านบาท 

โดยเพจ 'เชียงใหม่นิวส์ Chiang Mai News ข่าวเชียงใหม่' ได้โพสต์ข้อความ ว่า...

"ตั้งแต่โดนภาษีย้อนหลัง 4 ล้าน ก็ไม่โพสรายได้/สเตทเม้นอีกเลย เข็ด5555555 #ขอใช้ชีวิตเงียบๆ เตรียมวางแผนย้ายไปอยู่ ตปท.ละ เคสกี้โดนจับตามองมา 4 ปี แบบไม่รู้ตัว ตั้งแต่เฟสเก่า ยันเฟสใหม่ นามสกุลใหม่ แคปทุกโพส ทุกความสำเร็จของเรา ซื้อบ้าน รถ ที่ดิน ตามเก็บเหมือนเป็น FC เล๊ยยยย ต้องอธิบายให้ครบเอกสารประมาณ 2 แฟ้มใหญ่ ๆ ที่ทางเขาเก็บไว้🤣 โดนตรวจสอบแบบปวดหัวไปหมด  #หวังดีนะทุกคน จ่ายภาษีก็จริง แต่ถ้ารู้ว่าเราไม่เคลียร์จริงๆ เอกสารไม่ครบ โดนเหมา 60 / 40 +ค่าปรับจุก ๆ อย่าหาทำเลย ภาพลักษณ์ที่ได้ ไม่คุ้มกับเงินที่เสีย"

ตกผลึกภาษี หน้าที่ของคนไทยทุกคนที่ควรต้องจ่าย ยกเว้นบางชนิด ไม่ใช่ทุกคนที่ต้องแจม

เมื่อพูดถึง ‘ภาษี’ คนจำนวนหนึ่งอาจรู้สึกว่าเป็น ‘ภาระ’ แต่ในอีกมุมหนึ่ง ภาษีนั้นคือ ‘หน้าที่’ ที่คนในสังคมทุกคนจะต้องร่วมกันรับผิดชอบมาก-น้อยแตกต่างกันไป ซึ่งความแตกต่างตรงนี้เองที่ควรจะทำความเข้าใจว่า ใครและคนกลุ่มไหนในสังคมจะต้องเสียภาษีตัวไหน ประเภทไหน เพราะภาษีนั้นมีหลากหลายและไม่ใช่ทุกคนที่จะต้องจ่ายทุกชนิด

โดยก่อนจะเข้าใจถึงภาษีประเภทต่างๆ เราอาจจะต้องไปทำความรู้จักกับหน่วยงานภาครัฐที่ทำหน้าที่เกี่ยวข้องกับการจัดเก็บภาษีเสียก่อน โดยหลักๆ แล้วจะมีอยู่ 4 หน่วยงาน คือ 1. กรมสรรพากร 2. กรมสรรพสามิต 3. กรมศุลกากร และ 4. องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น (อปท.) เช่น องค์การบริหารส่วนตำบล (อบต.) หรือ สำนักงานเขต

เมื่อทำความรู้จักกับหน่วยงานภาครัฐที่ทำหน้าที่จัดเก็บภาษีแล้ว ก็จะทำให้เราพอจะเห็นภาพคร่าวๆ ถึงประเภทของภาษีชนิดต่างๆ ได้ โดยทั้ง 4 หน่วยงานนั้นจัดเก็บภาษีแตกต่างกันไป กล่าวคือ...

กรมสรรพากรจัดเก็บภาษีอากรจากรายได้และการสร้างผลประโยชน์ต่างๆ ของประชากรในประเทศ โดยจะดำเนินการจัดเก็บภาษี 5 ประเภท คือ 1. ภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา (Personal Income Tax ; PIT) 2. ภาษีเงินได้นิติบุคคล (Corporate Income Tax; CIT) 3. ภาษีมูลค่าเพิ่ม (Value Added Tax ; VAT) 4. ภาษีธุรกิจเฉพาะ (Specific Business Tax ; SBT) และ 5. อากรแสตมป์ (Stamp Duty ; SD)

โดยในกลุ่มภาษีอากรทั้ง 5 ประเภทนี้ เราจะเห็นมีเพียง 2 ประเภทที่เกี่ยวข้องกับประชาชนทั่วไปโดยตรง นั่นคือ ภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา ซึ่งจัดเก็บกับบุคคลที่ประกอบอาชีพและทำงานต่างๆ ที่มีรายได้ และ ภาษีมูลค่าเพิ่ม ซึ่งจัดเก็บกับการบริโภคสินค้าต่างๆ เมื่อมีการซื้อ-ขายปลีกและซื้อ-ขายส่ง

ในขณะที่ภาษีอากรชนิดอื่นๆ นั้นก็เป็นภาษีที่ประชาชนหรือบุคคลทั่วไปไม่ได้มีหน้าที่จะต้องเสีย อย่างภาษีเงินได้นิติบุคคล ก็จะต้องเป็นนิติบุคคล (เช่น ห้างหุ้นส่วน หรือ บริษัทจำกัด) ถึงจะมีหน้าที่เสียภาษีประเภทนี้ หรืออย่างกรณีของภาษีธุรกิจเฉพาะนั้นก็ระบุเจาะจงลงไปอีกว่าเป็นธุรกิจต่อไปนี้เท่านั้นที่จะต้องเสียภาษีประเภทนี้ คือ การธนาคาร, การประกอบธุรกิจเงินทุน ธุรกิจหลักทรัพย์ ธุรกิจเครดิตฟองซิเอร์ (Credit Foncier), การรับประกันชีวิต, การรับจำนำ, การประกอบกิจการโดยปกติเยี่ยงธนาคารพาณิชย์, หรือ การขายอสังหาริมทรัพย์เป็นการค้าหรือหากำไร หรืออากรแสตมป์นั้นก็เป็นการจัดเก็บต่อธุรกรรมเฉพาะกรณีไป โดยมี 28 ลักษณะ เช่น ตราสารเช่าที่กับโรงเรือน เช่าซื้อทรัพย์สิน จ้างทำของ กู้ยืมเงิน เป็นต้น

'ชัยวุฒิ' เสนอนโยบาย 'เปลี่ยนส่วยเป็นภาษี' นำเงินพัฒนาประเทศ พร้อมปรับกฎหมายให้เป็นสากล หนุน 'ธุรกิจผับ บาร์'

(19 ก.พ. 66) นายชัยวุฒิ ธนาคมานุสรณ์ รมว.ดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม(ดีอีเอส) ในฐานะรองหัวหน้าพรรคพลังประชารัฐ (พปชร.) กล่าวถึงการแก้ปัญหาทุนสีเทา ว่า รัฐบาลเอาจริงและจะเร่งดําเนินการเรื่องนี้ให้ถึงที่สุด เพื่อแก้ปัญหาให้ประชาชน โดยจะนำเรื่องดังกล่าวเสนอที่ประชุมพรรคพิจารณา เพื่อจัดทำเป็นนโยบายพรรค ด้วยวิธีแก้กฎหมายที่ล้าสมัยหรือขัดกับวิถีชีวิตของประชาชน ต้องปรับให้ทันสมัยตรงกับหลักสากล ให้ธุรกิจไปได้ โดยเปลี่ยนส่วยมาเป็นภาษี จะทำให้ได้เงินเข้ามาพัฒนาประเทศ ธุรกิจไม่ต้องมีการจ่ายส่วย ไม่มีการคอรัปชั่น 

นายชัยวุฒิ กล่าวว่า เรื่องนี้รัฐบาลยืนยันว่าไม่มีส่วนเกี่ยวข้อง และพรรคพปชร.มองว่าแนวทางการแก้ไขปัญหานอกจากการปราบปรามอย่างจริงจัง ต้องแก้ไขกฎหมายเปลี่ยนส่วยให้เป็นภาษี สกัดกั้นช่องทางเรียกรับส่วยจากผู้มีอำนาจและเจ้าหน้าที่ของรัฐ เช่นธุรกิจบริการบางประเภท เช่น ผับ บาร์ เป็นต้น ควรเปิดขายได้มากกว่าเที่ยงคืนเช่นเดียวกับต่างประเทศ แต่ไทยไม่สามารถเปิดให้บริการได้ ทำให้เกิดการลักลอบจำหน่ายเครื่องดื่มแอลกอฮอล์โดยผู้ประกอบการจ่ายเงินให้กับเจ้าหน้าที่ของรัฐ ให้เปิดบริการเกินเวลา รองรับท่องเที่ยวต่างชาติได้ จึงเกิดทุนสีเทา ธุรกิจผิดกฎหมายขึ้นมา

‘ครม.’ ไฟเขียว ขยายเวลายกเว้นภาษีนิติบุคคล 50% หวังจูงใจเอกชน จ้างงานผู้พ้นโทษเพิ่มอีก 4 ปี

(7 มี.ค. 66) น.ส.รัชดา ธนาดิเรก รองโฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี แถลงผลการประชุมคณะรัฐมนตรี (ครม.) ว่า ครม.อนุมัติร่างพระราชกฤษฎีกาออกตามความในประมวลรัษฎากร ว่าด้วยการยกเว้นรัษฎากร (ฉบับที่ ..) พ.ศ. .... ซึ่งเป็นการขยายระยะเวลามาตรการภาษี เพื่อสนับสนุนการจ้างงานผู้พ้นโทษออกไปอีก 4 ปี สำหรับรอบระยะเวลาบัญชีที่เริ่มในหรือหลังวันที่ 1 มกราคม 2565 แต่ไม่เกินวันที่ 31 ธันวาคม 2568 (4 ปีภาษี) จากเดิมที่สิ้นสุดเมื่อวันที่ 31 ธันวาคม 2564 เพื่อเป็นการจูงใจให้ผู้ประกอบการรับผู้พ้นโทษเข้าทำงานอย่างต่อเนื่อง

มาตรการภาษีเพื่อสนับสนุนการจ้างงานผู้พ้นโทษนี้ บริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลที่รับผู้พ้นโทษที่ได้รับการปล่อยตัวจากเรือนจำไม่เกิน 3 ปี นับแต่วันที่ได้รับการปล่อยตัวเข้าทำงาน จะได้รับการยกเว้นภาษีเงินได้นิติบุคคลสำหรับเงินได้เป็นจำนวนร้อยละ 50 ของรายจ่ายที่ได้จ่ายเป็นค่าใช้จ่ายในการจ้างผู้พ้นโทษเฉพาะที่ไม่เกิน 15,000 บาทต่อคนต่อเดือน สำหรับรอบระยะเวลาบัญชีเริ่มในหรือหลังวันที่ 1 มกราคม 2565 แต่ไม่เกินวันที่ 31 ธันวาคม 2568

‘พงษ์ภาณุ’ สะท้อน!! ความจำเป็น ‘จัดเก็บภาษี-กู้เงิน’ ในวันที่ประเทศต้องพัฒนาและปวงประชาต้องมีสวัสดิการ

(9 เม.ย. 66) นายพงษ์ภาณุ เศวตรุนทร์ ผู้เชี่ยวชาญด้านเศรษฐศาสตร์ ที่มหาวิทยาลัยเศรษฐศาสตร์ฮิโรชิมะ ประเทศญี่ปุ่น และอดีตปลัดกระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา ได้กล่าวถึงแหล่งที่มาของเงินเพื่อนำมาพัฒนาประเทศ โดยข้องเกี่ยวกับภาษีที่ประชาชนอย่างเราๆ ท่านๆ ต้องจ่าย รวมถึงความจำเป็นในการกู้เงินเพื่อนำมาต่อยอดประเทศในด้านต่างๆ ผ่านรายการ ‘NAVY TIME เรื่องดี ๆ ประเทศไทยยามเช้า’ ออกอากาศช่วงเช้า เวลา 07.00- 08.00 น. ทางสถานีวิทยุเสียงจากทหารเรือวังนันทอุทยาน (ส.ทร.วังนันทอุทยาน) FM93 เมื่อวันที่ 9 เม.ย. 66 ระบุว่า…

ถ้าย้อนความเรื่องของการจัดเก็บภาษี ก็ต้องบอกว่ามีมาช้านานแล้ว และไม่ใช่เพียงแค่ในรูปแบบของเงินเท่านั้นด้วย โดยในสมัยก่อนยังมีเรื่องของการเสียภาษีเป็นทาส กล่าวคือ การเอาคนมาเป็นทาส ถือเป็นการเก็บภาษีจากแรงงานของคน โดยไม่ได้รับผลตอบแทนใด ๆ เป็นต้น

แต่แน่นอนว่า ยุคสมัยเปลี่ยนไป รูปแบบการจัดเก็บภาษีก็เปลี่ยนแปลง เพื่อให้สามารถเข้ากับรูปแบบสังคมในปัจจุบัน ซึ่งก็เป็นไปในรูปแบบของการจัดเก็บเงินได้แบบที่เราคุ้นเคยกัน แต่จะมีความต่างจากในสมัยก่อน เพราะเงินภาษีที่ประชาชนยอมสละส่วนหนึ่งไปให้รัฐฯ นั้น ก็เพื่อนำไปพัฒนาประเทศต่อ ไม่ได้หายไปเปล่า ๆ เหมือนดั่งเช่นในอดีต

ฉะนั้น เมื่อมักมีคนถามถึงเหตุผลที่รัฐฯ เข้ามาบังคับจัดเก็บภาษี ว่าเก็บไปเพื่ออะไร และทำไมจึงต้องมีการจัดเก็บภาษีเท่านั้นเท่านี้...

ผมก็ต้องเรียนตามตรงว่า เรื่องนี้เป็นประเด็นเชิงปรัชญา เช่น เวลาเราถามว่า รัฐฯ คืออะไร และต้องใหญ่ขนาดไหน ซึ่งบางทีก็ต้องไปดูความต้องการของรัฐฯ ในประเทศนั้น ๆ ต้องการมีส่วนแบ่งในระบบเศรษฐกิจมากเพียงใด ซึ่งแน่นอนว่ามันก็จะผูกพันและเปลี่ยนแปลงไปตามแต่ละยุค แต่ละสมัย แต่ละประเทศ แต่ละศาสนา แต่ละสังคมที่ไม่เหมือนกันด้วย

เรื่องเล่าจาก ‘เงินถุงแดง’ ย้อนไทม์ไลน์วิวัฒนาการของ ‘ทรัพย์สินพระมหากษัตริย์’ ผ่านเหตุการณ์สำคัญในหน้าประวัติศาสตร์ของไทย

(27 พ.ค. 66) จากประเด็น ‘ทรัพย์สินพระมหากษัตริย์’ ที่ได้เกิดขึ้นมาตลอดในช่วง 2 ปีที่ผ่านมา หลัง ‘กลุ่มราษฎร’ ได้ประกาศจุดยืนในการเปลี่ยนแปลงประเทศ จึงทำให้ทางรายการข่าววันศุกร์ ข่าวช่องวัน ได้ออกมานำเสนอข่าว ‘วิวัฒนาการของทรัพย์สินพระมหากษัตริย์’ ว่ามีความเป็นมาอย่างไร

โดยได้สรปุอย่างคราวๆ เพื่อให้ง่ายต่อการทำความเข้าใจ ไล่ตั้งแต่สมัยรัชกาลที่ 1 จนถึงรัชกาลที่ 10 โดยระบุว่า…

วิวัฒนาการของทรัพย์สินพระมหากษัตริย์ เริ่มต้นจากพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช รัชกาล 1 ซึ่งนับเป็นยุคกรุงรัตนโกสินทร์ ตอนต้น ทรัพย์ราชสำนัก กับรัฐบาลที่ทับซ้อนกัน พระมหากษัตริย์ทรงใช้จ่ายได้อย่างอิสระ เนื่องจากในยุคนั้น ยังมีการปกครองแบบสมบูรณาญาสิทธิราชย์ ดังนั้น รัฐบาลจึงหมายถึง ตัวขององค์พระมหากษัตริย์ ซึ่งทรงเป็นทั้งประมุขและผู้นำฝ่ายบริหาร ยังไม่มีการจัดการเกี่ยวกับเรื่องของทรัพย์สินของรัฐฯ เพราะในยุคสมัยนั้น ยังไม่มีการจัดตั้งกระทรวง ทบวง กรม ในการรับผิดชอบ ดูแลเรื่องต่างๆ ในประเทศ

จนกระทั่ง ได้มีวิวัฒนาการก่อกำเนิดที่ชัดเจนยิ่งขึ้น ในสมัยของพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 3 ซึ่งทรงมีปรีชาสามารถในเรื่องเกี่ยวกับการค้าขาย ทรงออกทะเลไปทำการเจรจาทางการค้ากับต่างประเทศ เมื่อได้เงินกลับมาจากการค้า จึงได้นำมาใส่ไว้ใน ‘ถุงแดง’ พระองค์ได้ทำการเก็บสะสมเงินเหล่านี้ไว้ เมื่อมีมากขึ้นจึงต้องสร้างห้อง ซึ่งติดกับพระแทน หรือ พระที่ เพื่อเก็บเงินถุงแดงเอาไว้ จนเรียกกันติดปากว่า ‘เงินข้างที่’ ซึ่งเป็นต้นกำเนิดของคำว่า ‘พระคลังข้างที่’ นั่นเอง และเงินส่วนนี้ นับเป็นเงินส่วนพระองค์ เพราะพระองค์ทรงเป็นผู้ออกเรือไปทำการค้าขาย ยังไม่นับว่าเป็นเงินของประเทศไทย หรือ ‘สยาม’ ใน ณ ขณะนั้น

จนเมื่อถึงรัชสมัยของรัชกาลที่ 5 พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 5 ได้เกิดเหตุการณ์ ‘รัตนโกสินทร์ศก’ หรือที่เรียกกันว่า ‘ร.ศ.112’ ที่เกิดการปะทะกันระหว่างประเทศไทยและจักรวรรดินิยมของโลกในขณะนั้น อย่างประเทศอังกฤษ และฝรั่งเศส โดยเฉพาะฝรั่งเศส ที่มีการปะทะกันอย่างรุนแรง จนทำให้รัชกาลที่ 5 ต้องนำเงินถุงแดงมาจ่ายให้กับรัฐบาลฝรั่งเศส เพื่อเจรจาต่อรองให้กองทัพของฝรั่งเศส ถอดทัพออกจากปากแม่น้ำเจ้าพระยา และยังต้องยอมแลกแผ่นดินบางส่วนของประเทศให้กับฝรั่งเศส เพื่อรักษาแผ่นดินผืนใหญ่ของชาติเอาไว้

หลังจากเหตุการณ์นั้นทำให้รัชกาลที่ 5 ท่านทรงเล็งเห็นความสำคัญของการเปลี่ยนแปลงรูปแบบการจัดการการปกครองต่างๆ ในประเทศมากขึ้น โดยได้เปลี่ยนจากรูปแบบเวียง วัง คลัง นา เป็นการจัดตั้งกระทรวงต่างๆ ขึ้นมาใหม่ และได้มีการตั้ง ‘กระทรวงพระคลังมหาสมบัติ’ เพื่อจัดเก็บภาษี เป็นเงินแผ่นดิน นับเป็นการแยกทรัพย์สินของแผ่นดินสยาม และทรัพย์สินพระมหากษัตริย์ ออกจากกันเป็นครั้งแรก ที่ได้มีการบันทึกไว้

นอกจากนี้ ยังได้ตั้ง ‘กรมพระคลังข้างที่’ ขึ้น เพื่อคอยดูแลจัดการทรัพย์สินส่วนพระองค์ และยังเริ่มทำการลงทุนในด้านอสังหาริมทรัพย์อีกด้วย ซึ่งทำให้รายได้หลักของกรมพระคลังข้างที่นั้น มาจากการปล่อยให้เช่าอสังหาริมทรัพย์ จึงเป็นที่มาของการก่อตั้งธนาคารไทยพาณิชย์ และการก่อตั้งบริษัท ปูนซิเมนต์ไทย จำกัด (มหาชน) หรือ ‘SCG’ ในสมัยรัชกาลที่ 6 ทั้งหมดนี้ ล้วนเป็นเงินจากกรมพระคลังข้างที่ ถือการลงทุนมหาศาลจนกลายเป็นหน่วยงานที่มีการครอบครองที่ดินมากที่สุดในประเทศไทย นอกจากนี้ ยังได้งบประมาณจากการจัดเก็บภาษี ปีละ 15% จากกระทรวงพระคลังมหาสมบัติ เข้ากรมพระคลังข้างที่

ต่อมา ในรัชสมัยของพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 7 ที่ได้เกิดการเปลี่ยนแปลงการปกครองจากสมบูรณาญาสิทธิราชย์ มาเป็นการปกครองแบบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข ทำให้กรมพระคลังข้างที่ ที่เคยมีบทบาทอย่างมากในรัชสมัยของรัชกาลที่ 5 ถูกลดบทบาทลงมาจนกลายเป็น ‘สำนักงานพระคลังข้างที่’ ซึ่งขึ้นตรงกับนายกรัฐมนตรี อีกทั้งยังเป็นรัชสมัยที่สำคัญที่ทำให้ทรัพย์สินพระมหากษัตริย์นั้นเกิดความสั่นคลอน โดยคณะ ‘อภิวัฒน์สยาม 2475’

ทำให้ในอีก 4 ปีต่อมา ในสมัยของพระบาทสมเด็จพระปรเมนทรมหาอานันทมหิดล รัชกาลที่ 8 ได้เกิดการต่อสู้เพื่อแย่งชิงอำนาจกันอย่างดุเดือด ระหว่างฝ่ายอํามาตย์ และคณะราษฎร ว่าใครจะเป็นผู้ได้ทรัพย์สินจากกรมพระคลังข้างที่ ใครจะได้ทรัพย์สินที่เป็นของพระมหากษัตริย์ และอีกหนึ่งเหตุการณ์ที่สำคัญที่สุด คือการออกฎกหมาย พ.ร.บ.จัดระเบียบทรัพย์สิน ฝ่ายพระมหากษัตริย์ พ.ศ. 2479 และได้จัดตั้ง ‘สำนักงานทรัพย์สินส่วนพระมหากษัตริย์’ ซึ่งเป็นสำนักงานภายใต้การดูแลของกระทรวงการคลัง โดยได้ทำการแยกทรัพย์สินส่วนพระมหากษัตริย์ ออกเป็น 3 ส่วน ได้แก่

1.) ทรัพย์สินส่วนพระมหากษัตริย์ คือ ทรัพย์สินของสถาบันพระมหากษัตริย์ 
2.) ทรัพย์สินส่วนพระองค์ คือ ทรัพย์สินของพระมหากษัตริย์ ในฐานะบุคคลคนหนึ่ง
3.) ทรัพย์สินส่วนสาธารณสมบัติของแผ่นดิน ซึ่งอยู่ภายใต้การดูแลของสํานักงานพระราชวัง

จนกระทั่ง ในสมัยของพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช มหิตลาธิเบศรรามาธิบดี จักรีนฤบดินทร สยามินทราธิราช บรมนาถบพิตร รัชกาลที่ 9 ได้มีการปรับเปลี่ยน และแก้ไข พ.ร.บ.จัดระเบียบทรัพย์สิน ฝ่ายพระมหากษัตริย์ พ.ศ. 2491 ในภายหลังจากที่กลุ่มคณะราษฎรนั้นได้เริ่มอ่อนกำลังลง จนกระทั่งสิ้นสุดอำนาจลง หลังจากการจากไปของจอมพล ป. พิบูลสงคราม สำนักงานทรัพย์สินส่วนพระมหากษัตริย์ได้ถูกยกระดับ จากหน่วยงานราชการ ขึ้นเป็น ‘นิติบุคคล’ มีอิสระจากรัฐบาล โดยมีประธานกรรมการ คือ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง ทำให้สำนักงานทรัพย์สินส่วนพระมหากษัตริย์ ‘ไม่ต้องเสียภาษี’ แต่ทรัพย์สินส่วนพระองค์ ‘ต้องเสียภาษี’ และทรัพย์สินส่วนสาธารณสมบัติของแผ่นดิน ขึ้นตรงกับสํานักงานพระราชวัง

ทำให้นับจากนั้นเป็นต้นมา จนถึงในรัชสมัยปัจจุบันของ พระบาทสมเด็จพระปรเมนทรรามาธิบดีศรีสินทรมหาวชิราลงกรณ มหิศรภูมิพลราชวรางกูร กิติสิริสมบูรณ์อดุลยเดช สยามินทราธิเบศรราชวโรดม บรมนาถบพิตร พระวชิรเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 10 ได้มีการเปลี่ยนแปลง พ.ร.บ.จัดระเบียบทรัพย์สินพระมหากษัตริย์ พ.ศ. 2561 โดยไม่มีการแบ่งฝ่ายในการจัดการอีกต่อไป ได้มีการรวมเอาทรัพย์สินทั้งหมดเข้าไว้ด้วยกัน และได้ให้มีการเสียภาษี

ทั้งหมดนี้ คือ วิวัฒนาการของสำนักงานทรัพย์สินพระมหากษัตริย์ ใครจะมีความเห็นด้วย หรือไม่เห็นด้วยอย่างไร หรือจะตีความอย่างไร กับสิ่งที่ได้นำเสนอมานั้น เป็นเรื่องปัจเจกบุคคลที่ทุกท่านต้องใช้วิจารณญาณในการศึกษาเพิ่มเติมด้วยตัวเองกันต่อไป

‘นักวิชาการ’ เผย เห็นด้วย รบ.ใหม่ปรับแก้เก็บภาษีไม่เป็นธรรม แนะ โครงสร้างส่วนใหญ่ดีอยู่แล้ว ปรับเปลี่ยนแค่บางเรื่องก็พอ

เมื่อไม่นานมานี้ นายภัทร เหมสุข นักวิชาการอิสระ ได้โพสต์ข้อความผ่านเฟซบุ๊ก ‘Pat Hemasuk’ ถึงประเด็น นโยบายปรับโครงสร้างภาษีที่ไม่เป็นธรรม ของแคนดิเดตรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง ภายใต้การทำงานของรัฐบาลชุดใหม่ โดยระบุว่า…

“ในสังคมคอมมิวนิสต์ยังทำไม่ได้เลยครับ ลองคิดดูว่าข้าวในจานของวิศวกรสร้างจรวด กับข้าวในจานของคนสานตะกร้า คุณภาพอาหารมันยังไม่เท่าเทียมกันเลย ถึงแม้จะกินอิ่มเหมือนกันก็ตาม 

สิ่งที่ควรคิด คือ ทำอย่างไรให้มีช่องทางหาข้าวจากนอกบ้าน มาเติมเพิ่มให้จานทุกใบในบ้านกินได้ดีขึ้น อิ่มขึ้น แต่ไม่ใช่ไปแย่งเอาข้าวในบ้านจากจานของคนทำงานหนักกว่า มาใส่ในจานคนทำงานน้อย

แบบนี้ใครจะอยากทำงานหนักตอนหนุ่มเพื่ออนาคตตอนแก่ของตัวเอง ที่เงินถูกสูบออกไปในรูปของภาษีที่เกินกว่าเหตุในทุกช่องทางอยู่ตลอดเวลา อีกสิบปีข้างหน้า คนแก่ที่ไม่ได้ทำงานแล้วจะเหลือเงินให้กินใช้เพียงพอก่อนตายหรือเปล่าก็ไม่รู้

ผมไม่แปลกใจหรอกนะ ที่ตลาดหุ้นตลาดทุนมันเจริญลงฮวบๆ อย่างที่เห็นในเวลานี้ คงได้เห็นการดิ่งลงทะลุแนวต้านที่พันห้าร้อยในเวลาอันใกล้

ทุกรัฐบาลในอดีตเน้นการเรียกทุนต่างชาติจากภายนอกให้เข้ามาในประเทศ ไม่ต่างกับการหาข้าวนอกบ้านมาเติมให้จานข้าวทุกใบมีอาหารมากขึ้น

ผมเห็นด้วยในนโยบายบางเรื่องของแคนดิเดต รมว.คลังของรัฐบาลใหม่ ที่จะปรับโครงสร้างภาษีที่ไม่เป็นธรรม ผมเน้นอีกที่ว่า ‘บางเรื่อง’ เท่านั้น แต่ไม่ใช่ทุกเรื่อง เพราะบางเรื่องไปแตะมันแล้ว คือ การสร้างความวิบัติให้ระบบโครงสร้างหลักที่กำลังเดินมาดีแล้วให้หยุดลง

ผมรู้ ทุกคนรู้ ว่าการออกไปหาข้าวนอกบ้านมาเติมในจานทุกคน มันยากกว่าที่จะแย่งข้าวในจานคนอื่นบนโต๊ะอาหารเดียวกัน ถ้ายังไม่เลิกความคิดแบบนี้ ระบบเศรษฐกิจจะล้มจากภายใน ที่เป็นการล้มที่แก้คืนได้ยากมาก สำหรับรัฐบาลที่จะเข้ามาใหม่ในอีกหลายปีข้างหน้า ที่ต้องมาเช็ดขี้รัฐบาลก่อนหน้า คือ รัฐบาลที่กำลังจะมีในเวลานี้ที่ขี้แตกทิ้งไว้เต็มเก้าอี้ไปหมด

รถเมล์สายประเทศไทยคันเดิมมันดีอยู่แล้ว ส่วนที่เสียต้องซ่อมไม่ถึง 5% หรอกครับ ซ่อมได้ แต่อย่าไปรื้อเครื่องยนต์เก่าออกหมด แล้วเอาเครื่องใหม่ที่ยังไม่รู้เลย ว่าจะติดเครื่องได้หรือเปล่ามาฝันละเมอว่าดีกว่าแล้วใส่แทน นั่นคือความวิบัติของประเทศจากคนด้อยประสบการณ์ แต่คิดว่าตัวเองเก่งสุดในสามโลก”

 

กูรูหลักทรัพย์มอง ‘เพื่อไทย’ จัดตั้งรัฐบาล เพิ่มแรงส่ง ‘ตลาดหุ้น-คลายกังวลขึ้นภาษี’

(20 ก.ค. 66) หลังจากเมื่อวานนี้ มติศาลรัฐธรรมนูญรับคำร้องคดีหุ้นสื่อไอทีวี และสั่งให้ นายพิธา ลิ้มเจริญรัตน์ หยุดปฏิบัติหน้าที่ ส.ส.ไว้ก่อน ขณะที่ที่ประชุมรัฐสภาลงความเห็นห้ามนำญัตติที่ตกไปแล้วเสนอซ้ำ จึงเสนอชื่อพิธาโหวตนายกฯ รอบ 2 ไม่ได้ โดยเตรียมโหวตนายกฯ ครั้งต่อไปในวันที่ 27 ก.ค. 66 นั้น

ด้าน นายกิจพณ ไพรไพศาลกิจ ผู้ช่วยกรรมการผู้จัดการและนักกลยุทธ์ฝ่ายวิเคราะห์หลักทรัพย์ บริษัทหลักทรัพย์ (บล.) ยูโอบี เคย์เฮียน (ประเทศไทย) จำกัด (มหาชน) เปิดเผยว่า ภาพรวมตลาดหุ้นมีความชัดเจนด้านการเมืองพอสมควร ปัจจุบันเหลือเพียง 2 scenario คือ…

1. พรรคเพื่อไทยเป็นแกนนำจัดตั้งรัฐบาล โดยมี ‘ก้าวไกล’ ร่วมรัฐบาล และ
2. มีพรรคเพื่อไทยแกนนำจัดตั้งรัฐบาล แต่พรรคก้าวไกลเป็นฝ่ายค้าน

แต่ไม่ว่าผลจะออกมาทางใด มองเป็นปัจจัยบวกต่อตลาดหุ้น จากการที่ตลาดมีความเชื่อมั่นในทีมเศรษฐกิจพรรคเพื่อไทย ทั้งยังลดแรงกดดันจากความกังวลนโยบายพรรคก้าวไกล ในเรื่องการเก็บภาษีหุ้น Capital Gain Tax  ภาษีความมั่งคั่งเพื่อลดความเหลื่อมล้ำ ภาษีนิติบุคคล ฯลฯ การปรับลดราคาพลังงาน ทำให้เราประเมินว่าว่าภาพโดยรวมของตลาดหุ้น จะมีแรงส่งจากทิศทางการเมืองที่มีความชัดเจนขึ้น และน่าจะเป็นปัจจัยดึงดูดโฟลว์จากต่างประเทศเข้าไทยได้ต่อเนื่องไประยะหนึ่ง

นายกิจพณ กล่าวอีกว่า หากมองเปอร์เซนต์โอกาสที่ ‘พรรคก้าวไกล’ จะมาเป็นพรรคร่วมรัฐบาลแค่ 30% แต่หากได้ทั้ง 2 พรรคมาร่วมรัฐบาล จะส่งผลดีต่อตลาดหุ้นมากกว่าในแง่ความเป็นเอกภาพ แต่หากเป็นการดึงจากหลายพรรค มาแทนที่ ‘ก้าวไกล’ เพื่อให้ได้เสียงเพียงพอ อาจมีความเสี่ยงเรื่องอำนาจต่อรอง เก้าอี้ รมต. และผลประโยชน์การบริหารกระทรวงต่างๆ

ทั้งนี้หากมองถึงปัจจัยเสี่ยงจากภายนอกว่า ปัจจุบันมีความนิ่งพอสมควร ธนาคารกลางสหรัฐ (เฟด) จะยุติวงจรการขึ้นดอกเบี้ย อีกทั้งราคาน้ำมันดิบที่เคยกดดันในครึ่งปีแรก ปรับลดลงจนส่งผลต่อกำไรหุ้นพลังงานที่คิดเป็น 1 ใน 3 ของกำไรตลาด แต่ครึ่งปีหลัง เข้าสู่ฤดูหนาว เศรษฐกิจสหรัฐก็ไม่ได้ถดถอยอย่างรุนแรง และประเทศจีนเปิดประเทศ ทั้งหมดนี้ทำให้ภาพของราคาน้ำมันดิบมีโอกาสการฟื้นตัวในครึ่งปีหลัง ซึ่งเป็นผลดีต่อกำไรตลาดในครึ่งปี มีโอกาสจะปรับขึ้นด้วย

สำหรับ บล.ยูโอบีฯ ให้กรอบเป้าหมายดัชนีหุ้นไทยปี 66 ที่ 1450- 1630 จุด พีอี 16 เท่า พร้อมมองการฟื้นตัวของตลาดหุ้นไทยในครึ่งปีหลัง จากปัจจัยการเมืองในประเทศ และผลประกอบบริษัทจดทะเบียนได้ผ่านจุดต่ำสุดไปแล้ว อีกทั้งกลุ่มพลังงานที่จะมีแรงส่งจากราคาน้ำมันดิบที่เริ่มขยับขึ้น จะทำให้ดัชนี SET ค่อยๆ ฟื้นจากระดับ 1500 จุด ในปัจจุบันได้

>> ทรีนีตี้ จับตา ‘ภูมิใจไทย’ มาแรงร่วมรัฐบาล
ด้าน บล.ทรีนีตี้ จำกัด โดยนายณัฐชาต เมฆมาสิน ผู้ช่วยกรรมการผู้จัดการ ฝ่ายวิเคราะห์หลักทรัพย์ ได้เผยบทวิเคราะห์ล่าสุด ว่า มองกรณีที่ประชุมรัฐสภา (19 ก.ค.) ลงมติเห็นด้วยกับข้อบังคับการประชุม 41 ที่ห้ามมีการเสนอญัตติซ้ำเป็นครั้งที่สอง เป็นตัวจุดประกายให้ ‘พรรคเพื่อไทย’ ซึ่งจะเป็นพรรคลำดับถัดไปในการเสนอชื่อนายกฯรัฐมนตรีนั้น เดินเกมส์ที่ปลอดภัยมากขึ้น เพื่อสร้างความมั่นใจว่าการโหวตนายกฯ ที่มาจากแคนดิเดตพรรคนั้น จะประสบความสำเร็จตั้งแต่รอบแรก ด้วยวิธีการ 2 แบบ ดังต่อไปนี้…

1) การไปดึงพรรคอื่นมาเพิ่มเติมเสียงให้กับกลุ่มจัดตั้งรัฐบาลที่มีอยู่ 8 พรรคเดิม อาทิ การจับมือกับพรรคภูมิใจไทยเข้ามา ซึ่งก็จะทำให้มีคะแนนเสียงส.ส.ในมือรวมกันใหม่เป็น 384 ที่นั่ง เกินกึ่งหนึ่งของรัฐสภา
2) การตัดสินใจข้ามขั้วไปจับมือกับแกนนำฝั่งพรรคอนุรักษ์นิยมทันที เช่นพรรคภูมิใจไทย พลังประชารัฐ เพื่อเรียกคะแนนเสียงจากสว.ให้ลงมติหนุนนายกที่มาจากแคนดิเดตเพื่อไทย รวมกันเกินกึ่งหนึ่งของรัฐสภา

Winner : ไม่ว่าในกรณีไหน มองโอกาสในการก้าวขึ้นมาเป็นพรรคร่วมรัฐบาลของภูมิใจไทย ซึ่งเป็นพรรคอันดับ 3 ตอนนี้มีสูงมาก ประเด็นนี้อาจทำให้เห็นแรงเก็งกำไรต่อเนื่องไปยังกลุ่มหุ้นที่ STEC, STPI, เชื่อมโยงกับพรรคดังกล่าวอย่างเช่น PTG เป็นต้น

สำหรับใน 3 ตัวนี้มี PTG ที่อยู่ภายใต้ Coverage ของเรา โดยในเชิงพื้นฐานแม้แนะนำ ‘ถือ’ แต่มีประเด็นเชิงบวกล่าสุดได้แก่ การที่กบน.มีมติใช้กองทุนน้ำมันฯ ตรึงราคาดีเซลให้อยู่ที่ 32 บาทต่อลิตร หลังมาตรการลดภาษีสรรพสามิตน้ำมันดีเซลจะสิ้นสุดลงในวันที่ 20 ก.ค.

>> เอเซียพลัส : มองการเมืองบวกกับตลาดหุ้น คาดได้รัฐบาลใหม่ช่วงส.ค.66
ฝ่ายวิจัย บล.เอเซีย พลัส ประเมินว่ามีความเป็นไปได้สูงที่พรรคที่ได้ ส.ส.มากเป็นอันดับ 2 อย่าง ‘พรรคเพื่อไทย’ จะเป็นแกนนำจัดตั้งรัฐบาล โดยเสนอชื่อแคนดิเดตนายกฯ ในการประชุมรัฐสภา 27 ก.ค.66 ซึ่งฝ่ายวิจัยฯ คาดว่าพรรคเพื่อไทย จะต้องดำเนินการให้เรียบร้อยในครั้งนี้ (27 ก.ค. 66)

เนื่องจากการประชุมสภารอบที่ผ่านมา มีข้อสรุปว่าไม่สามารถเสนอรายชื่อ บุคคลเดิมเป็นแคนดิเดตนายกฯซ้ำได้ ภายใต้สถานการณ์อื่นไม่เปลี่ยนเป็น ‘ญัตติต้องห้าม’ ตามข้อบังคับการประชุมรัฐสภา ข้อที่ 41 ในเบื้องต้น โดยเชื่อว่ามีโอกาสที่จะได้รัฐบาลชุดใหม่เข้ามาบริหารประเทศในช่วง ส.ค.66 โดย Scenario ที่สามารถเกิดขึ้นได้ในการจัดตั้งรัฐบาลครั้งนี้ มีดังนี้…

- พรรคเพื่อไทย จับมือพรรคร่วมรัฐบาลเดิมทั้ง 8 พรรค และสามารถจัดตั้งรัฐบาลได้สำเร็จ
- พรรคเพื่อไทย จับมือพรรคร่วมรัฐบาลใหม่ โดยไม่มีพรรคก้าวไกล และยังเป็นรัฐบาลเสียงข้างมากในสภาผู้แทนราษฎร

นอกจากนี้ ยังได้ประเมินภาพการเมืองในช่วงนี้ว่า อยู่ในวิสัยที่สามารถคาดการณ์ได้มากขึ้น และน่าจะทำให้ดาวน์ไซด์ของ SET Index จำกัด โดยเชื่อว่าน่าจะได้รัฐบาลใหม่เข้ามาบริหารประเทศได้ในช่วงเดือน ส.ค. 66 จะมีก็แค่ ‘ความเสี่ยงนอกสภาฯ’ ที่หากมีความรุนแรงและยืดเยื้อขึ้น จะเป็นปัจจัยกดดัน SET Index อีกครั้ง ซึ่งหากพิจารณา Google Trends คำว่า ‘ม็อบ-ประท้วง-Protest’ ในปัจจุบันยังอยู่ระดับต่ำกว่าในอดีตมาก

'สุกัญญา มิเกล' ลั่น!! อีก 4 ปี ค่อยจ่ายภาษี จ่ายแล้วไม่ได้ประโยชน์

เมื่อวานนี้ (31 ก.ค. 66) ดารานักร้องเสียงห้าว สุกัญญา มิเกล มาร่วมพิธีบวงสรวง ซีรีส์ High School Bully ที่ ม.กรุงเทพ รังสิต หลังจากเสร็จพิธีกรเจ้าตัวได้ให้สัมภาษณ์ถึงเรื่องที่ตั้งแต่ออกมาคอลเอาท์ก็โดนบูลลี่หนัก

ทุกวันนี้ยังโดนบูลลี่อยู่มั้ย? “ก็ยังมีเรื่อยๆ นะ เราอยู่ในโหมดกีฬาสีเหลืองแดงนี่โดนประจำ อยู่ทางไหนอีกฝั่งก็ถล่ม เป็นเรื่องปกติ”

พอก้าวผ่านมาได้แล้วยังเจ็บปวดอยู่มั้ย? “นี่ไปบำบัดจิตมานะ ถ้าไม่ไปบำบัดจิตน่าจะไม่ดีขึ้น แต่ก็ยังเหลือเชื้อบ้าง บางอย่าง คือพอดีมีครูลี่เป็นนักบำบัดไปเรียนมาจากต่างประเทศ เราก็เลยได้ไปอยู่ 3 ครั้ง เหมือนเข้าคอร์สสำหรับเคลียร์จิตใต้สำนึกเลย

หลังจากนั้นเราก็รู้สึกว่าเรามองหาสิ่งที่เป็นข้อดีของตัวเรา ดังนั้นเวลาที่เขาบูลลี่หรือด่าเรา เราจะไม่รู้สึก เพราะมันไม่ใช่ความจริง สิ่งที่เป็นจริงคือสิ่งที่เรารู้อยู่ว่าเราทำอะไร และตั้งมั่นว่าเรารับรู้อย่างชัดเจนว่าเราทำอะไร และเราทำเพื่ออะไร มันเป็นผลร้ายหรือผลดีกับใคร

พอเรารับรู้แล้วมันก็เป็นเสียงภายนอก เป็นมุมมองของแต่ละคน ซึ่งเราก็เคารพ ก็ว่าจะฟ้องหลายทีแล้ว แต่ยังไม่กล้าฟ้องใครเลย ชาวเน็ตนี่แหละ พอไปดูโปรไฟล์แล้วแต่ละคนก็น่าสงสารพอๆ กับเราเลย (หัวเราะ)”

พอเราออกมาคอลเอาท์เรื่องการเมืองบ่อยๆ โดนหนักเลยมั้ย? “ก็โดนหนัก เรื่องของงานบางทีบางคนก็อยากได้งานจากเรา แต่พอบรรดาผู้บริหารเห็นก็ไม่เอาก็มี หรือบางร้านที่อยากเอาเราไปเล่นก็กลัวว่าฝั่งตรงข้ามจะมาสร้างปัญหาภายในร้าน ก็เลยไม่เอาเราไปเล่นก็มี”

คิดจะเพลาๆ ลงมั้ย? “เพลาเพื่อ เรายังจ่ายภาษีอยู่ ถ้าไม่จ่ายและมันไม่เอาภาษีเราแล้ว เราจะหยุด บอกว่าไม่จ่ายแล้วไม่ผิดเราจะหยุดเลย อย่างเลือกตั้ง 4 ปีครั้งนึงเนี่ย กะว่าอีก 4 ปีค่อยจ่ายภาษี เพราะจ่ายไปแล้วมันไม่ได้ประโยชน์อะไร เลือกไปแล้วไม่ได้มา”

ตอนนี้สภาพจิตใจกลับมา 100% หรือยัง? “ค่อนข้าง 100 จะมีบางช่วงที่เครียดมากๆ พอเครียดมากๆ อาการดิ่งก็จะกลับมา แต่ดิ่งล่าสุดคือเกี่ยวกับเรื่องชีวิต เรื่องที่อยู่อาศัย แต่มันน้อยมากเลยถ้าเทียบกับเมื่อก่อนนี้จะเป็นตลอดเวลา เรียกว่าเป็นโรคซึมเศร้าขั้นรุนแรง

แต่คนข้างนอกไม่รู้ เพราะเราไม่เคยไปบอกใคร และเวลาที่ไปออกทีวีมีรายการมาเชิญไป เราก็ทำตามหน้าที่ที่เขามีเป้าหมายให้เราไปออก ดังนั้นเราก็เลยไม่เคยแชร์สิ่งที่มันเป็นความจริงของเราเลย

ดังนั้นคนภายนอกก็จะไม่รู้ว่าเกิดสถานการณ์อะไรกับเราบ้าง และเราก็มองว่าคนรุ่นวัยเรา ศิลปินไม่ได้มีหน้าที่มาร้องโวยวายหรือเรียกร้องอะไร มีหน้าที่คือมีงานมาก็ทำตามหน้าที่ และเวลาเจอแฟนคลับ เราดูแลเขา เราให้ความสุขกับเขา ไม่ใช่เอาความทุกข์ของเรามาให้เขาแบบ เราคิดแบบนี้นะ ดังนั้นก็เลยไม่ค่อยมีใครรู้ว่าเราเจออะไรมาบ้าง”

เรื่องที่อยู่อาศัยคือยังไง? “คือเวลาที่เราไปเป็นฝั่งประชาธิปไตย แล้วเขาไม่พอใจ ก็อยากให้เราออกเร็วๆ ก็ไม่เป็นไร อันนั้นเรื่องของเรา ตอนนี้ก็กำลังทำเรื่องเคลียร์อยู่ ต้องเป็นไปในทางที่ดีสิ (ยิ้ม)”

แฟนหรือคนรอบข้างมีส่วนช่วยมั้ย? “ช่วยมากนะ ลูกชายจะคอยฮีลใจเรา เวลาที่เราย่ำแย่ เขารู้แหละ พอเรามีสถานการณ์ที่เริ่มบีบเรา เขาก็จะมาบอกว่าหม่ามี้ไม่เป็นไรนะ เดี๋ยวมันต้องผ่านไปนะ เขาจะคอยทำเรื่องตลกๆ ให้เราสบายใจ คือไม่ทำตัวสร้างปัญหาให้เราเครียดมากขึ้น

อันนี้ก็เป็นสิ่งที่ลูกช่วยแม่ได้ ลูกชายตอนนี้ก็วัยรุ่นแล้ว 14 แล้ว เขาเข้าใจมาตั้งแต่ 6-7 ขวบแล้วแหละ เวลาเราถามเขาว่าหนูรู้สึกแย่มั้ย เขาก็จะบอกว่าผมไม่ๆ อย่างนึงเขาอาจจะรู้สึกแหละบางเรื่อง แต่เขาก็พยายามจะแข็งแรงเพื่อเรา”


TRENDING
© Copyright 2021, All rights reserved. THE STATES TIMES
Take Me Top