Sunday, 5 May 2024
จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

'ดร.เสรี' ซัด!! สามนิ้วจุฬาบ้าอุดมการณ์ ไม่เคารพการสืบสาน เหมือนเป็นคนไร้ราก

25 ต.ค. 64 - ดร.เสรี วงษ์มณฑา ผู้ร่วมก่อตั้งสถาบันทิศทางไทย บรรณาธิการบริหาร เพื่อวางกลยุทธ์สื่อสาร ศบค. โพสต์เฟซบุ๊กว่า ถ้าหากชาวจุฬาฯ ทั้งผู้บริหาร คณาจารย์ ศิษย์เก่า ศิษย์ปัจจุบัน เขาไม่คิดจะทำอะไรกับการแถลงการณ์ที่ให้ยกเลิกการอัญเชิญพระเกี้ยวเพื่อลดความเหลื่อมล้ำ ดำรงความทัดเทียม คนอื่นก็อย่าไปยุ่งเลยค่ะ

ในฐานะเป็นคนไทยที่กตัญญูรู้คุณ ก็รู้สึกเสียใจ เศร้าใจ ไม่คิดว่าจะมีเหตุการณ์เช่นนี้กับสถาบันที่ได้รับพระมหากรุณาธิคุณจากพระราชวงศ์จักรีที่ทรงปรารถนาให้พสกนิกรได้รับการศึกษา

'สันติ' จี้ ผู้บริหารจุฬาฯ แสดงจุดยืนให้ชัด ปมเลิกอัญเชิญพระเกี้ยว งานบอลประเพณี

นายสันติ กีระนันทน์ อดีตกรรมการผู้ช่วยรัฐมนตรีว่าการกระทรวงอุตสาหกรรม โพสต์เพจเฟซบุ๊ก ระบุข้อความว่า ข่าวที่เกี่ยวกับจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยในช่วงนี้ ที่ทำให้นิสิตเก่าเกิดความไม่พอใจอย่างมากในขณะนี้ ก็คือ ข่าวที่ผม copy มาจาก BBC NEWS ดังต่อไปนี้ครับ

คณะกรรมการบริหารสโมสรนิสิตจุฬาฯ ยังระบุด้วยว่า กิจกรรมขบวนอัญเชิญพระเกี้ยว "เป็นกิจกรรมที่ล้าหลังอันขัดต่อคุณค่าสากลอย่างประชาธิปไตย ความเท่าเทียม และสิทธิมนุษยชน" ดังนั้น จากมติในวาระการประชุมสามัญครั้งที่ 1/2564 ของคณะกรรมการบริหารฯ มีมติ 29 : 0 เสียง เห็นควรให้มีการยกเลิกกิจกรรมการคัดเลือกผู้อัญเชิญพระเกี้ยวในงานฟุตบอลประเพณีจุฬาฯ-ธรรมศาสตร์ โดยระบุเหตุผล "เพื่อยุติการผลิตซ้ำธรรมเนียมปฏิบัติที่สะท้อนถึงความไม่เท่าเทียมมิให้คงอยู่ในสถาบันการศึกษาอีกต่อไป"

"ไม่สูญสิ้นอะไรหรอก กิจกรรมนี้พึ่งมีมาไม่กี่ปีนี่เอง และก็แค่หมดสมัยไปแล้วเท่านั้น" นายกองค์การบริหารสโมสรนิสิตจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย (อบจ.) ระบุบนเฟซบุ๊กของเขา

ความเห็นส่วนตัวของผมนั้น ไม่อยากจะถกเถียงกับนิสิตปัจจุบัน (ซึ่งก็คงไม่ได้นับเป็นพี่น้องกันแล้ว ในยุคสมัยนี้)

‘ดร.ชัยภัฏ’ ขู่ถอดถอน ผู้บริหารจุฬาฯ ยกแผง หากยังเพิกเฉย ปมยกเลิกอัญเชิญพระเกี้ยว

ดร.ชัยภัฏ จันทร์วิไล ในฐานะอดีตนิสิตคณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย เปิดเผยถึงกรณี องค์การบริหารสโมสรนิสิตจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย (อบจ.) ออกแถลงการณ์ ยกเลิกกิจกรรมขบวนอัญเชิญพระเกี้ยวในงานฟุตบอลประเพณีจุฬาฯ - ธรรมศาสตร์ ว่า การยกเลิกโดยอ้างเหตุผลว่าให้คนเท่าเทียมกันนั้น เป็นการโกหก ตลบตะแลง และสร้างความแตกแยก ซึ่งกิจกรรมขบวนอัญเชิญพระเกี้ยวเป็นการแสดงความกตัญญูรำลึกถึงพระเจ้าอยู่หัวรัชกาลที่ 5 ในฐานะผู้พระราชทานกำเนิดมหาวิทยาลัย แต่การที่มายกเลิกกิจกรรม ถือเป็นการเนรคุณบุญคุณพระเจ้าอยู่หัวรัชกาลที่ 5 คนที่ทำให้คนเท่ากันจริงคือพระเจ้าอยู่หัวรัชกาลที่ 5 พระองค์เดียวเท่านั้น ที่ทรงเลิกทาส เลิกไพร่ และส่งเสริมให้ประชาชนได้รับการศึกษาจนถึงระดับปริญญาตรี คนพวกนี้เหมือนอ่านหนังสือวนไปวนมาไม่เข้าใจ เนรคุณ ใช้คำพูดบิดเบือนสร้างความแตกแยก ทรยศผู้มีพระคุณ ไม่ได้มีอุดมการณ์อะไร แต่เป็นพวกแหกคอก

ซึ่งทางคณะพิทักษ์เกียรติภูมิจุฬาฯ จะออกแถลงการณ์เรื่องนี้ในไม่ช้า ถึงผู้บริหารจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยให้ดำเนินการจัดการกับกลุ่มคนเหล่านี้ที่ทำผิดซ้ำซาก โดยเฉพาะนายเนติวิทย์ โชติภัทร์ไพศาล นายกสโมสรนิสิตจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย หากผู้บริหารจุฬาลงกรณ์ยังนิ่งเฉยไม่ยอมดำเนินการ ตนก็จะหาวิธีการถอดถอนอธิการบดี และนายกสภาจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยต่อไป เพราะเมื่อเกิดเรื่องแล้วควรเรียกประชุมด่วนทันที สิ่งที่เกิดขึ้นแบบนี้เกิดซ้ำแล้วซ้ำเล่าโดยนายกสโมสรนิสิตจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยที่ต้องการสร้างความแตกแยก แต่มหาวิทยาลัยกลับไม่สนใจดำเนินการ

เหลือแต่ความทรงจำ!! ทุบทิ้งแล้ว ‘โรงหนังสกาลา’ ปิดตำนานโรงหนังสุดคลาสสิก

ทุบทิ้งแล้ว ‘โรงภาพยนตร์สกาลา’ ปิดตำนานโรงหนังยุคบุกเบิกสุดคลาสสิก เตรียมส่งมอบพื้นที่ให้เซ็นทรัลพัฒนา หรือซีพีเอ็น พัฒนาพื้นที่ต่อหลังคว้าสิทธิ์ในพื้นที่ 30 ปี

เมื่อวันที่ 1 พฤศจิกายน พ.ศ. 2564 ผู้สื่อข่าวรายงานว่า หลังซีพีเอ็นชนะการประมูลพื้นที่ที่ดิน Block A จากสํานักงานจัดการทรัพย์สิน จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย เป็นเวลา 30 ปี คิดเป็นค่าตอบแทนกว่า 7,750 ล้านบาท ประกอบด้วย โรงภาพยนตร์สกาลา ซึ่งเป็นโรงภาพยนตร์สแตนด์อโลนขนาด 1,000 ที่นั่ง เปิดให้บริการมาตั้งแต่ปี 2512 หรือกว่า 50 ปี

และพื้นที่อาคารพาณิชย์สูง 3-4 ชั้น จํานวน 79 คูหา ส่วนใหญ่ประกอบกิจการเป็นคลินิก ร้านอาหาร ร้านค้าสินค้าแฟชั่น เครื่องสําอาง ธนาคาร โรงเรียนกวดวิชา ฯลฯ ตั้งอยู่บริเวณสี่แยกปทุมวัน จุดตัดระหว่างถนนพญาไทกับถนนพระรามที่ 1 ตรงข้ามกับสยามดิสคัฟเวอรี่ มีเนื้อที่โครงการทั้งหมดประมาณ 7 ไร่ 31 ตารางวา

ล่าสุด เพจเฟซบุ๊ก Foto momo โพสต์ภาพรวมไปถึงคลิปไลฟ์สดทางเฟซบุ๊ก เกี่ยวกับการปรับปรุงพื้นที่รื้อถอน-ทุบทิ้งโรงภาพยนตร์สกาลา ก่อนส่งมอบให้บริษัท เซ็นทรัลพัฒนา จำกัด (มหาชน) หรือ CPN นำไปพัฒนาตามแผนงานต่อไป

'จุฬาฯ' คิดค้นน้ำยาฆ่าเชื้อโควิดใน 1 นาที ฉีดพ่นไม่ระคายเคืองผิว - จดสิทธิบัตรแล้ว

4 พ.ย. 64 - ผศ.ดร.นพ.อมรพันธุ์ เสรีมาศพันธุ์ ผู้อํานวยการศูนย์นวัตกรรมทางการแพทย์คณะแพทยศาสตร์จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ในฐานะ หัวหน้าหน่วยวิจัย Nanomedicine Research Unit จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย พร้อมด้วย ผศ.ดร.โรจน์ฤทธิ์ โรจนธเนศ ภาควิชาเคมี คณะวิทยาศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย และ สำนักงานการวิจัยแห่งชาติ (วช.) จับมือร่วมกันคิดค้น ผลิตภัณฑ์นวัตกรรมน้ำยาฆ่าเชื้อจุลชีพก่อโรค Medical Antiseptic and Moisturizing Spray นวัตกรรมน้ำยาฆ่าเชื้อไวรัสและแบคทีเรีย ผลการทดสอบการฆ่าเชื้อโควิด-19 พบว่า สามารถฆ่าเชื้อตายภายใน 1 นาทีพร้อมทั้งได้รับคัดเลือกให้เป็นนวัตกรรมเพื่อสุขภาพเป็นของที่ระลึก ในงานมหกรรมงานวิจัยแห่งชาติ 2564 หรือ Thailand Research Expo 2021 และได้รับการจดแจ้งสิทธิบัตรระดับชาติแล้ว

ผศ.ดร.โรจน์ฤทธิ์ กล่าวว่าการล้างมือด้วยแอลกอฮอล์ เพื่อป้องกันโควิด-19 ที่ใช้อย่างแพร่หลาย ทดแทนการล้างมือด้วยน้ำและสบู่ แต่แอลกอฮอล์ที่นิยมใช้เป็นองค์ประกอบหลักคือ เอทานอล (Ethanol หรือ Ethyl alcohol) มีคุณสมบัติ เป็นสารทำให้เกิดการคายน้ำ เมื่อใช้เป็นเวลานาน จะทำให้เกิดการระคายเคืองผิวแห้งแตก และหยาบกระด้าง จึงเกิดแนวคิดพัฒนาผลิตภัณฑ์น้ำยากำจัดเชื้อจุลชีพก่อโรคที่ปราศจากแอลกอฮอล์แต่ยังคงมีประสิทธิภาพในการกำจัดเชื้อจุลชีพก่อโรค จึงเป็นที่มาของการพัฒนาน้ำยาฆ่าเชื้อจุลชีพก่อโรค Medical Antiseptic and Moisturizing Spray ขึ้น

จุฬาฯ พัฒนาชุดตรวจโควิด RT-LAMP แบบ 3 ยีน ให้ผลตรวจแม่นยำ ราคาถูกกว่า RT-PCR 5 เท่า

รศ.ดร.นราพร สมบูรณ์นะ ภาควิชาจุลชีววิทยา คณะวิทยาศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย หัวหน้าโครงการพัฒนาชุดตรวจโควิด-19 ด้วยวิธี RT-LAMP เผยถึงความสำเร็จอีกขั้นหนึ่งของชุดตรวจวินิจฉัยเชื้อโควิด-19 ด้วยวิธี RT-LAMP ที่พัฒนาขึ้นโดยจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ซึ่งสามารถตรวจวินิจฉัยโควิด-19 เช่นเดียวกับวิธี Real Time PCR ที่เป็นที่นิยมใช้อยู่ในปัจจุบัน โดยได้เพิ่มความพิเศษในการตรวจสารพันธุกรรมของไวรัสแบบ 3 ยีน ซึ่งครอบคลุมวงจรชีวิตของไวรัส ทำให้มีความไวในการตรวจสูง ไม่จำเป็นต้องใช้เครื่องมือในการตรวจที่ยุ่งยาก ไม่มีราคาแพงเหมือน Real Time PCR สามารถตรวจเชื้อโควิด-19 ได้ทั้งจากโพรงจมูก ลำคอ รวมถึงน้ำลายและวัตถุต่าง ๆ ในสภาพแวดล้อมที่ปนเปื้อนเชื้อโควิด-19 จึงเหมาะสำหรับการลงพื้นที่ไปตรวจกลุ่มเสี่ยงในชุมชน โรงเรียน รวมถึงสถานประกอบการต่าง ๆ

รศ.ดร.นราพร เผยว่าจากการลงพื้นที่ตรวจโควิด-19 โดยตรวจจากน้ำลายของกลุ่มเสี่ยงในปริมาณ 5 มิลลิลิตร จะใช้น้ำลายจริงเพียง 1 มิลลิลิตรนำมาสกัดสารพันธุกรรม จากนั้นเป็นขั้นตอนการเพิ่มปริมาณสารพันธุกรรมและเข้าสู่ขั้นตอนการวิเคราะห์ผล เครื่องมือในการตรวจราคาไม่แพง สูตรสำเร็จของชุดตรวจนี้อยู่ที่การทำปฏิกิริยาภายในชุดทดสอบ สามารถเพิ่มปริมาณสารพันธุกรรมทั้ง DNA และ RNA ที่อุณหภูมิ 85 องศาเซลเซียส มีความไวในการตรวจวัดสูง สามารถรู้ผลการตรวจภายในเวลา 1 ชั่วโมง

จุดเริ่มต้นของชุดตรวจ RT-LAMP แบบ 3 ยีน
รศ.ดร.นราพร กล่าวว่า ก่อนที่โควิด-19 จะระบาดหนัก ห้องปฏิบัติการของภาควิชา จุลชีววิทยา คณะวิทยาศาสตร์ จุฬาฯ ได้พัฒนาชุดตรวจด้วยเทคโนโลยีการเพิ่มปริมาณสารพันธุกรรมด้วยอุณหภูมิเดียวเพื่อตรวจวินิจฉัยโรคต่าง ๆ ที่หลากหลาย รวมถึงการตรวจการปนเปื้อนในอาหาร สำหรับชุดตรวจ RT-LAMP แบบ 3 ยีน เป็นความร่วมมือระหว่างภาควิชาจุลชีววิทยา คณะวิทยาศาสตร์ จุฬาฯ ภาควิชาเคมี คณะวิทยาศาสตร์ คณะแพทยศาสตร์ จุฬาฯ และ CU Innovation Hub เพื่อพัฒนาชุดตรวจโควิด-19 ที่ตอบโจทย์ความแม่นยำ ใช้ง่าย และราคาถูก เนื่องจากปัจจุบันชุดตรวจ RT-LAMP ที่มีการใช้กันนั้นมีประสิทธิภาพสูงสุดคือการตรวจแบบ 2 ยีน แต่ RT-LAMP ที่จุฬาฯ พัฒนาขึ้นนั้นสามารถตรวจยีนที่หลากหลายได้ 3 ยีนพร้อมกัน ทำให้เพิ่มความไวในการตรวจพบเชื้อโควิด-19

RT-LAMP แบบ 3 ยีน มีศักยภาพทั้งในการเพิ่มปริมาณสารพันธุกรรม และสามารถแสดงผลการตรวจโควิดจากการสังเกตการเปลี่ยนแปลงของสีได้ด้วยตาเปล่า ขั้นตอนการตรวจไม่ยุ่งยากซับซ้อน ผู้ใช้งานสามารถตรวจเชื้อโควิดได้ด้วยตนเองโดยได้รับคำแนะนำการใช้งานจากผู้เชี่ยวชาญ ช่วยลดภาระของบุคลากรทางแพทย์ ที่สำคัญมีราคาถูกกว่าการตรวจแบบ RT-PCR ถึง 5 เท่า

“จากการทดสอบกับกลุ่มตัวอย่างทางคลินิกของคณะแพทยศาสตร์ จุฬาฯ และการลงพื้นที่ตรวจในภาคสนามในกลุ่มตัวอย่างจริง โดยตรวจสารคัดหลั่งจากน้ำลายและวัตถุต่าง ๆ จากสภาพแวดล้อมในพื้นที่บริเวณนั้น เช่น ลูกบิดประตู ที่กดชักโครก รวมถึงธนบัตร เมื่อนำผลตัวอย่างมาเทียบเคียงกับการตรวจแบบ Real Time PCR ได้ผลการยืนยันประสิทธิภาพที่แม่นยำ ว่องไวและเที่ยงตรงเช่นเดียวกัน แผนงานที่วางไว้จะทำการเก็บสารคัดหลั่งจากกลุ่มตัวอย่างเพิ่มเติมอีก 2,000 ตัวอย่าง เพื่อนำมาวิเคราะห์ประสิทธิภาพเพิ่มเติม” รศ.ดร.นราพร กล่าว

นิสิตจุฬาฯ เสนอขอ ลดค่าเทอม อย่างน้อย 20% หวังช่วยลดภาระ หลังโควิดยังระบาดหนัก

เมื่อวันที่ 11 มกราคม สโมสรนิสิตรัฐศาสตร์ จุฬาฯ ส่ง จดหมายเปิดผนึกถึงคณบดี เรื่องเสนอข้อเรียกร้องให้มหาวิทยาลัยทบทวนมาตรการลดค่าเทอมเพิ่ม โดยระบุว่า ตามที่สโมสรนิสิตรัฐศาสตร์ ร่วมกับองค์การบริหารสโมสรนิสิตจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย และสโมสรนิสิต/กรรมการนิสิตทุกคณะ พร้อมกับผู้สนับสนุนกว่า 8,000 รายชื่อได้เสนอข้อเรียกร้องถึงอธิการบดีให้พิจารณาลดค่าเล่าเรียนในภาคการศึกษาต้น ประจำปีการศึกษา 2564 ร้อยละ 50 อันมีผลสำเร็จไปแล้วนั้น

ปรากฏว่าในภาคการศึกษาปลาย ประจำปีการศึกษา 2564 สถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19) ยังคงส่งผลกระทบต่อสภาวะความเป็นอยู่ของนิสิตและประชาชนในประเทศเป็นวงกว้าง และได้นำไปสู่ปัญหาเศรษฐกิจถดถอยในทุกภาคส่วน ซึ่งอาจลดทอนโอกาสในการเข้าถึงทรัพยากรทางการศึกษาของนิสิตจากการเรียนการสอนออนไลน์ ประกอบกับสถานการณ์การแพร่ระบาดในประเทศยังไม่มีแนวโน้มคลี่คลายลง ทำให้นิสิตไม่สามารถเข้าใช้พื้นที่ภายในมหาวิทยาลัย ตลอดจนสวัสดิการของมหาวิทยาลัยตามปกติได้อีกชั่วระยะหนึ่ง

วัคซีนโควิด ChulaCov19 ผลิตในประเทศได้แล้ว ลุ้นขึ้นทะเบียนปลายปี หลังทดสอบในคนเสร็จ

จุฬาฯ เผยข่าวดี วัคซีนโควิด ChulaCov19 สัญชาติไทย ผลิตล็อตแรกในประเทศแล้ว เล็งยื่นขอ อย.อนุมัติทดสอบในคน คาดเริ่มได้เร็วๆ นี้ หากผลดีจ่อขึ้นทะเบียนปลายปี พร้อมพัฒนาต่อรุ่น 2 รับมือ ‘โอมิครอน’ 

เมื่อวันที่ 4 พ.ค. ศ.นพ.เกียรติ รักษ์รุ่งธรรม ผอ.บริหารโครงการพัฒนาวัคซีนโควิด-19 ศูนย์วิจัยวัคซีน คณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ให้สัมภาษณ์ถึงความคืบหน้าการพัฒนาวัคซีนโควิด “ChulaCov19” ชนิด mRNA สัญชาติไทย ว่า ภาพรวมถือว่าเป็นข่าวดี ซึ่งการพัฒนาระยะแรกเป็นการออกแบบวัคซีน และให้โรงงานในสหรัฐอเมริกาผลิตล็อตแรก มีข่าวดีว่า ผ่านการพิสูจน์ในอาสาสมัครระยะที่ 1 และ 2 เรียบร้อยแล้ว มีความปลอดภัย กระตุ้นภูมิได้สูงเป็นที่น่าพอใจ ขนาดที่เราเลือกเมื่อเทียบกับวัคซีนไฟเซอร์ที่อนุมัติใช้ในไทย เราได้ภูมิที่สูงกว่าชัดเจน

ส่วนระยะที่ 2 คือ การผลิตวัคซีนในประเทศ โดยบริษัท ไบโอเน็ตเอเชีย จำกัด ซึ่งเป็นโรงงานในไทย สามารถผลิตวัคซีนล็อตแรกเรียบร้อยแล้ว ผ่านการประกันคุณภาพแล้ว ทีมวิจัยได้ส่งเอกสาร ข้อมูลต่างๆ เข้าสู่การพิจารณาของคณะกรรมการอาหารและยา (อย.) เพื่อขอทดสอบในอาสาสมัครระยะที่ 1 และ 2 อยู่ระหว่างรอการอนุมัติจาก อย. คาดว่า จะได้รับคำตอบเร็วๆ นี้ หากทดสอบได้ตามเป้าหมายที่วางไว้ น่าจะขอขึ้นทะเบียนวัคซีนได้ภายในปลายปี 2565

นักศึกษาไทยชุบชีวิต 'ชะลอม' ผ่านผลงานโลโก้ APEC กระตุ้นความนิยมงานจักสานสู่สังคมไทยอีกครั้ง

ทราบหรือไม่ว่า โลโก้สามสีของการประชุมผู้นําเขตเศรษฐกิจเอเปค (APEC Economic Leaders Meeting) ปี 2022 ที่ปรากฏอยู่ทั่วกรุงเทพมหานคร ซึ่ง เป็นเมืองเจ้าภาพจัดการประชุมฯ ในสัปดาห์นี้นั้น เกิดจากฝีมือการออกแบบของนักศึกษาไทย วัย 21 ปี

ชวนนท์ วงศ์ตระกูลจง นักศึกษาชั้นปีที่ 3 คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย คือ คนเก่งที่ว่า โดยเขาได้บอกเล่าถึงกระบวนการออกแบบโลโก้สําหรับการประชุมทางเศรษฐกิจระดับโลกกับสํานักข่าวซินหัวว่า ความท้าทายอยู่ที่จะผสมผสานอัตลักษณ์ ของเอเปคเข้ากับสัญลักษณ์ของไทยได้อย่างไร 

ชวนนท์ เผยว่า ช้าง วัด หรือยักษ์ มักถูกใช้เป็นสัญลักษณ์ของไทย แต่เขามองว่ามันธรรมดาเกินไปและอยากคิดนอก กรอบ และไม่อยากใช้สัญลักษณ์ที่ใช้กันบ่อย ๆ จึงนึกถึง 'ชะลอม' ขึ้นมา 

“เรานึกถึงต้มยํากุ้งเมื่อพูดถึงอาหารไทย หรือรถตุ๊กตุ๊กเมื่อพูดถึงการขนส่ง แล้วสัญลักษณ์ของเศรษฐกิจในไทยที่อยู่คู่กับ คนไทยมานานคืออะไร ผมนึกถึงชะลอม ซึ่งเป็นเครื่องไม้เครื่องมือที่ใช้งานกันมาแต่โบราณ มันจักสานขึ้นจากไม้ไผ่และเป็นงานฝีมือ ที่ยั่งยืน ซึ่งสะท้อนความสมดุลของวิสัยทัศน์การประชุมฯ ในปีนี้” ชวนนท์กล่าว 

ชวนนท์ใช้เวลาราว 3 เดือน ปรับแต่งลักษณะของชะลอมจนกลายเป็นโลโก้รูปแบบสุดท้าย โดยไผ่ที่จักสานเข้าด้วยกัน ก่อตัวเป็นช่องว่าง 21 ช่อง สื่อถึงสมาชิก 21 เขตเศรษฐกิจของเอเปค ส่วนปลายชะลอมที่ชี้ขึ้นฟ้าสื่อถึงการเติบโตของเอเปค ส่วนสีต่าง ๆ อาทิ สีน้ำเงินอันเป็นสัญลักษณ์การอํานวยความสะดวก สีชมพูแห่งการเชื่อมโยง และสีเขียวที่ยั่งยืน ยัง สะท้อนหัวข้อการประชุมฯ ปีนี้ ได้แก่ 'เปิดกว้าง สร้างสัมพันธ์ เชื่อมโยงกัน สู่สมดุล' (Open. Connect. Balance.) 

ทันตะ จุฬาฯ จับมือ ปตท. ต่อยอดเทคโนโลยีด้านทันตกรรม มุ่งยกระดับมาตรฐานการแพทย์ไทย

เมื่อวันที่ (21 มี.ค.66) นายอรรถพล ฤกษ์พิบูลย์ ประธานเจ้าหน้าที่บริหารและกรรมการผู้จัดการใหญ่ บริษัท ปตท. จำกัด (มหาชน) พร้อมด้วย ศ.ดร.บัณฑิต เอื้ออาภรณ์ อธิการบดี จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ศ.ทพ.ดร.พรชัย จันศิษยานนท์ คณบดี คณะทันตแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย และ ดร.บุรณิน รัตนสมบัติ ประธานเจ้าหน้าที่ปฏิบัติการกลุ่มธุรกิจใหม่และโครงสร้างพื้นฐาน บริษัท ปตท. จำกัด (มหาชน) ร่วมพิธีลงนามบันทึกข้อตกลงความร่วมมือโครงการพัฒนาผลิตภัณฑ์วัสดุชั้นสูงและการประยุกต์ใช้ปัญญาประดิษฐ์ และการแพทย์ทางไกลในด้านการดูแลสุขภาพสำหรับสุขภาพช่องปากและการรักษาทางทันตกรรม ระหว่าง บริษัท ปตท. จำกัด (มหาชน) และ คณะทันตแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย


TRENDING
© Copyright 2021, All rights reserved. THE STATES TIMES
Take Me Top