Tuesday, 8 July 2025
PoliticsQUIZ

‘พิธา’ วอนขอ ส.ส. โหวตหนุน ‘สุราก้าวหน้า’ ชี้!! เพื่ออนาคตเกษตรกร-ผู้ประกอบการรายย่อย

พิธา อภิปรายโค้งสุดท้าย ‘สุราก้าวหน้า’ เทียบกฎกระทรวงกับร่างสุราก้าวหน้าแตกต่างชัดเจน ยังคงกีดกันการค้ารายย่อยหนุนทุนใหญ่ผูกขาดเหมือนเดิม พร้อมกระตุกจิตสำนึก ส.ส. โหวตเสร็จคงจะกลับไปกินเหล้านอกต่อไม่ว่ากัน แต่ขอโหวตเพื่ออนาคตของเกษตรกรและผู้ประกอบการรายย่อยด้วย

พิธา ลิ้มเจริญรัตน์ หัวหน้าพรรคก้าวไกล อภิปรายสนับสนุนร่างแก้ไข พ.ร.บ.สรรพสามิต หรือร่างกฎหมาย ‘สุราก้าวหน้า’ ที่กำลังมีการอภิปรายในวาระ 2 และจะมีการลงมติวาระ 3 ในวันนี้ พร้อมชี้ข้อเปรียบเทียบกับกฎกระทรวง ว่าด้วยการผลิตสุรา ที่ออกมาใหม่โดยรัฐบาลเมื่อวานนี้

พิธาระบุว่าหลักการที่สำคัญที่สุดในการพิจาราเรื่องนี้ คือการเอาสภาพข้อเท็จจริงและศักยภาพของผู้ประกอบการ มาเทียบกับร่างกฎหมายสุราก้าวหน้า และกฎกระทรวงที่ออกมาเมื่อวานนี้ ว่าสิ่งใดที่เหมาะสมกับข้อเท็จจริงของประเทศและศักยภาพของผู้ประกอบการมากกว่ากัน

ซึ่งหากเป็นกฎกระทรวงที่ออกมาเมื่อวานนี้ กล่าวได้ว่าเป็นเพียงแค่การเปลี่ยนจากล็อกเก่ามาเป็นล็อกใหม่เท่านั้น หากพิจารณาตามข้อเท็จจริง ผู้ประกอบการจินหรือรำ ทั้งที่เชียงใหม่ หนองคาย สงขลา สุราษฎร์ธานี ที่เป็นผู้ประกอบการระดับโลก ส่งออกไปได้ 17 ประเทศ ชนะการประกวดทั้งที่ปารีส โตเกียว ฮ่องกง ชนะคู่แข่งจากออสเตรเลีย อาร์เจนติน่าจะไม่ได้รับการปลดล็อกจากกฎกระทรวงฉบับนี้ ด้วยการกำหนดกำลังการผลิตขั้นต่ำ 30,000 ลิตรต่อวันที่ไม่เปลี่ยนแปลงเลย รวมทั้งการที่ต้องจดทะเบียนเป็นนิติบุคคล ทั้ง ๆ ที่ไม่มีความจำเป็น

‘สุราก้าวหน้า’ กระสุนสั่งลาของ ‘ก้าวไกล’ แค่คนไม่ได้หน้าในฐานะผู้เคาะนโยบาย

หลังจาก พรบ. ภาษีสรรพสามิต ฉบับที่ .. พ.ศ. …. ที่พรรคก้าวไกลเสนอเข้าสภาวาระ 2 – 3 ในวันที่ 2 พฤศจิกายน 2565 (เรียกย่อว่า พรบ. สุราก้าวหน้า) ถูกกฎกระทรวงการอนุญาตผลิตสุรา พ.ศ. 2565 ประกาศในราชกิจจานุเบกษา วันที่ 1 พฤศจิกายน 2565 ออกตัดหน้า พรบ. สุราก้าวหน้า ในเวลาเพียงไม่กี่ชั่วโมง

บรรดา ‘หัวก้าวหน้า’ ต่างก็ออกมาร่วมซัด กฎกระทรวงฉบับใหม่ ที่ว่ากันว่า ออกมาแย่งซีนบ้าง กันท่าบ้าง สาระสำคัญยังอวยยศให้นายทุนเหล้าเบียร์อยู่บ้าง แม้จะเป็นการออกมาร่วมกันสำทับแบบกลืนน้ำลายในคอ เพราะรู้ตัวดีว่ากฎกระทรวงใหม่นี้ ก็ไม่ได้มีอะไรที่หลุดจากพรบ.สุราก้าวหน้ามากมายก็ตาม 

ทั้งนี้ หากลองย้อนกลับไปตั้งแต่เมื่อวันที่ 29 พฤษภาคม 2563 ซึ่งถือเป็นจุดเริ่มต้นของกฎหมายสุราก้าวหน้าในสภา โดย เท่าพิภพ ลิ้มจิตรกร ส.ส.พรรคก้าวไกล แถลงเปิดตัวร่าง พ.ร.บ.สุราก้าวหน้า อธิบายว่าร่างนี้แก้ไขเพิ่มเติม พ.ร.บ.ภาษีสรรพสามิต มาตรา 153 เพื่อให้มีการ ‘ปลดล็อกการผลิตสุรารายย่อย’ อีกทั้งยังรวมถึงการ ‘ปลดล็อกอนุญาตให้ทำสุราเพื่อบริโภคเองภายในครัวเรือน’ (แต่จริงๆ ก็เป็นผู้ได้รับผลกระทบจากกฎหมายที่ทำให้ตัวเองไม่สามารถทำคราฟต์เบียร์ได้เสรีแล้วก็โวยวายจนกลายเป็นร่างเสนอ) ซึ่งหากมองจากกฎกระทรวงใหม่ ก็มีการ ‘ปลดล็อก’ เงื่อนไขในแบบที่สอดคล้องกับ พรบ.สุราก้าวหน้า ในระดับหนึ่งกันเลยทีเดียว

ว่าแต่ การเปลี่ยนแปลงที่เรียกว่า ‘ปลดล็อก’ ของกฎกระทรวงใหม่ 2565 มีความต่างจากปี 2560 และสอดคล้องกับ พรบ.สุราก้าวหน้าอย่างไรบ้าง?

1.
กฎกระทรวง 2560 >> บริวผับ (บรรจุขวดขายไม่ได้) ต้องมีทุนจดทะเบียน 10 ล้านบาท
พรบ. สุราก้าวหน้า >> ห้ามกำหนดทุนจดทะเบียนขั้นต่ำ
กฎกระทรวง 2565 >> ไม่กำหนดทุนจดทะเบียน

2.
กฎกระทรวง 2560>> บริวผับ (บรรจุขวดขายไม่ได้) ต้องมีกำลังผลิตขั้นต่ำ 100,000 ลิตร ไม่เกิน 1 ล้านลิตรต่อปี
พรบ. สุราก้าวหน้า >> ห้ามกำหนดกำลังผลิตขั้นต่ำและการกีดกันอื่นใด
กฎกระทรวง 2565 >> ไม่กำหนดกำลังผลิตขั้นต่ำ แต่ต้องมีเครื่องจักรที่ได้มาตรฐานตามที่กำหนด และ ***ปฏิบัติตาม กม. สิ่งแวดล้อมและสาธารณสุข***

3.
กฎกระทรวง 2560 >> โรงเบียร์ ต้องมีทุนจดทะเบียน 10 ล้านบาท
พรบ. สุราก้าวหน้า >> ห้ามกำหนดทุนจดทะเบียนขั้นต่ำ
กฎกระทรวง 2565 >> ไม่กำหนดทุนจดทะเบียนขั้นต่ำ

4.
กฎกระทรวง 2560 >> โรงเบียร์ ต้องมีกำลังผลิตขั้นต่ำ 10 ล้านลิตรต่อปี
พรบ. สุราก้าวหน้า >> ห้ามกำหนดกำลังผลิตขั้นต่ำและการกีดกันอื่นใด
กฎกระทรวง 2565 >> ไม่กำหนดกำลังผลิตขั้นต่ำ ***แต่ต้องมีสายการผลิตที่ติดตั้งระบบพิมพ์เครื่องหมายการเสียภาษี และผ่านความเห็นชอบรายงานผลกระทบสิ่งแวดล้อม***

'บิ๊กป้อม' คุมเข้มปราบ 'ขบวนการค้ามนุษย์' ย้ำ!! จนท.รัฐ พัวพัน โดน 'วินัย-อาญา' แน่

พล.อ.ประวิตร คุมเข้มปราบ 'ขบวนการค้ามนุษย์' เน้นทำงานเชิงรุก 'ผู้เสียหาย เป็นศูนย์กลาง' ย้ำเอาผิด จนท.รัฐ ทั้งวินัย/อาญา หากพัวพัน สั่งตั้ง 'รองโจ๊ก' นั่งหน.เฉพาะกิจช่วยเหลือ/เยียวยาเหยื่อ

(3 พ.ย. 65) พล.ท.พัชร์ชศักดิ์ ปฏิรูปานนท์ ผช.โฆษก รองนายกรัฐมนตรี เปิดเผยว่า พล.อ.ประวิตร วงษ์สุวรรณ รอง นรม. ได้เป็นประธานการประชุม 2 คณะ ต่อเนื่องกัน คือ คณะกรรมการประสานและกำกับการดำเนินงานป้องกันและปราบปรามการค้ามนุษย์ และ คณะกรรมการป้องกันเจ้าหน้าที่ของรัฐมิให้เกี่ยวข้องกับการค้ามนุษย์ ณ ห้องประชุม มูลนิธิอนุรักษ์ป่ารอยต่อ 5 จังหวัด ผ่านสื่ออิเล็กทรอนิกส์

เวลา 10.00น. เริ่มการประชุม คณะกรรมการประสานและกำกับการดำเนินงานป้องกันและปราบปรามการค้ามนุษย์ (ปกค.) ครั้งที่4/2565 ที่ประชุมได้รับทราบ ความก้าวหน้าการจัดตั้งศูนย์คัดแยกฯ ผู้เสียหาย (ดอนเมือง) ซึ่งอยู่ระหว่างการดำเนินการปรับปรุงอาคารศูนย์ฝึกอบรม สำนักงานตรวจคนเข้าเมือง ดอนเมือง ให้เป็นศูนย์คัดแยกฯ และกำลังดำเนินการพัฒนาระบบศูนย์คัดแยกฯ ซึ่งเป็นกลไกการทำงานที่สหรัฐฯ ให้ความสำคัญ และรับทราบความคืบหน้า 8 หน่วยงานหลัก ที่เกี่ยวข้องในการเตรียมการรองรับแผนปฏิบัติการ ว่าด้วยกลไกการส่งต่อระดับชาติ การบริหารจัดการคดี และช่วยเหลือคุ้มครองผู้เสียหาย จากการค้ามนุษย์และบังคับใช้แรงงาน หรือบริการ พ.ศ.2565 จากนั้นที่ประชุมได้พิจารณา แต่งตั้งคณะอนุกรรมการเฉพาะกิจกำกับ และติดตามการดำเนินงาน ช่วยเหลือและเยียวยา ผู้เสียหายจากการค้ามนุษย์ ซึ่งมี พล.ต.อ.สุรเชษฐ์ หักพาล รอง ผบ.สตช. เป็นประธาน

'สุพัฒนพงษ์' ยัน ไม่ทบทวนเรื่องต่างชาติซื้อที่ดิน ชี้!! หากขายชาติจริง ก็ทำมาตั้งแต่ปี 2542

สุพัฒนพงษ์ย้ำให้ต่างชาติซื้อที่ดินในไทย ไม่ใช่กฎหมายขายชาติ ชี้หากทำจริงก็เริ่มตั้งแต่ปี 2542 โวระเบียบยุคนี้ 'เข้ม-เหนือกว่า' ในอดีต ยกนานาประเทศ ก็เปิดให้ครอบครองในลักษณะเดียวกัน

(3 พ.ย. 65) นายสุพัฒนพงษ์ พันธ์มีเชาว์ รองนายกรัฐมนตรี และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงพลังงาน กล่าวถึงเสียงวิพากษ์วิจารณ์มติคณะรัฐมนตรี (ครม.) ที่ให้ต่างชาติซื้อที่ดินในประเทศไทยเป็นกฎหมายขายชาติ ว่าเรื่องนี้ไม่มีประเด็น เพราะการดำเนินการไม่ต่างไปจากหลักเกณฑ์เดิม เพียงแค่ระยะเวลาเท่านั้นเอง โดยคนที่เราอยากให้ได้รับสิทธิเพื่อให้เข้ามาพำนักในประเทศมี 4 กลุ่ม ซึ่งปัญหาที่เกิดขึ้นเป็นเรื่องของหลักเกณฑ์โดยจะแก้ไขเมื่อไหร่ก็ได้ เราก็ทดลองนำร่องไปก่อน ซึ่งดูแล้วว่าไม่มีอะไร เพราะประเทศอื่นเขาก็ซื้อและครอบครองกันได้ อาทิ มาเลเซีย, สิงคโปร์, ญี่ปุ่น, สหรัฐอเมริกา และประเทศในยุโรป

‘พิธา’ ซัดขายที่ดินให้ต่างชาติเป็นทางลัดโบราณ หวั่นราคาบ้านในไทยพุ่งสูงเหมือนอังกฤษ - ฮ่องกง

หัวหน้าพรรคก้าวไกล ตั้งกระทู้สดถามนายกฯ นโยบายต่างชาติซื้อที่ดินได้ มีการประเมินข้อดี-ข้อเสีย ของนโยบายหรือไม่ ชี้ มาตรการดึงต่างชาติลงทุน-อาศัยในไทยเพื่อกระตุ้นเศรษฐกิจ เป็นแนวคิดสุดโบราณ

พิธา ลิ้มเจริญรัตน์ หัวหน้าพรรคก้าวไกล ตั้งกระทู้ถามสดถึงนโยบายต่างชาติซื้อที่ดินว่าเรื่องนี้ไม่ใช่เรื่องใหม่ มีกฎกระทรวงที่ย้อนหลัง ไปถึงรัชกาลที่ 4 ที่มีบันทึกเรื่องของกฎหมายให้ชาวต่างชาติมาใช้ที่ดินในประเทศไทย แต่ในภาวะปัจจุบันนโยบายนี้เป็นนโยบายที่ผิดที่ผิดทาง เพราะผลบวกที่ได้ทางเศรษฐกิจยังไม่มีการประเมินที่แน่ชัด ในขณะที่ประชาชนชาวไทยจำนวนมากที่ยังไม่มีที่อยู่อาศัยและที่ดินทำกิน

ปัญหาข้อแรก ตั้งคำถามถึงเป้าหมายที่ชัดเจนของการแก้กฎกระทรวงเพื่อให้ต่างชาติเข้ามาถือครองที่ดินในประเทศไทยคืออะไร เพราะจากข้อมูลพบว่าในรอบ 20 ปี มีต่างชาติเพียง 8 คน เป้าหมายจากคำสัมภาษณ์ที่เห็นมีเพียงระบุกว้าง ๆ ว่า ต้องการดึงดูดชาวต่างชาติ 1 ล้านคน ซึ่งว่าการเปลี่ยนกฎกระทรวงในครั้งนี้ยังมองไม่เห็นเป้าหมายและความชัดเจนว่าต้องการอะไรกันแน่ แล้วตลอดหลายเดือนที่ผ่านมามีการเปลี่ยนตัวเลขกลับไปมา จึงไม่แน่ใจในเป้าหมาย

ปัญหาข้อที่สอง พิธา ตั้งคำถามถึงผลกระทบและข้อเสียงของการแก้ไขกฎกระทรวงว่าได้คำนึงถึงผลกระทบในทางลบที่จะเกิดขึ้นหรือไม่ ยกตัวอย่างประเทศอังกฤษ ว่าหลังจากการปล่อยให้ต่างชาติเข้าไปซื้อที่ดินทำให้ราคาบ้านสูงเพิ่มขึ้นถึง 19% และตัวอย่างในประเทศฮ่องกงที่การเปิดเสรีเข้าซื้อที่ดินทำให้ราคาที่อยู่อาศัยสูงขึ้นจนคนในประเทศที่มีรายได้น้อยต้องอาศัยอยู่ในที่พักเล็ก ๆ ที่เป็นเหมือน “อพาร์ทเมนท์โรงศพ”

ทั้งนี้ พิธา ระบุว่า ตนกังวลเรื่องความเหลื่อมล้ำในการเข้าถึงที่ดิน ขณะที่ทางรัฐบาลพยายามจะให้ชาวต่างชาติ 1 ล้านคนเข้ามาซื้อที่ดิน แต่ 75% ของคนไทยยังไม่สามารถเข้าถึงที่ดินทำกินของประเทศบ้านเกิดตัวเองได้ คนไทยธรรมดาที่มีที่ดินจริง ๆ มีเพียง 20 เปอร์เซ็นเท่านั้น โควตาของต่างชาติคนละ 1 ไร่ก็ไปเบียดเบียนที่ดินของพี่น้องประชาชนแล้ว ยังมีประชาชนที่มีรายได้น้อยที่ไม่มีกรรมสิทธิ์ในที่อยู่อาศัย ยกตัวอย่างข้อมูลจากกระทรวงพัฒนาสังคมและมนุษย์ 1 ใน  5 ของคนจนไม่มีที่อยู่ และ 15 ปีต่อมา 1 ใน 3 ของคนจนไม่มีที่อยู่อาศัย พร้อมตั้งคำถามว่านายกรัฐมนตรีและผู้ที่เกี่ยวข้องเรียงลำดับความสำคัญ ในขณะที่ประชาชนป่าสงวนหรือในพื้นที่อุทยานเงื่อนไขและข้อจำกัดในการเข้าถึงที่ดินจำนวนมาก ต่างชาติกลับมีเงื่อนไขเพียง 5 บรรทัดเท่านั้น ก็ต้องตั้งคำถามถึงรัฐบาลว่าจะให้ความสำคัญกับการให้ต่างชาติมีที่ดินก่อน หรือประชาชนมีที่ทำกินก่อน

บิ๊กตู่ มั่นใจ 'เป้าหมายกรุงเทพฯ' จะบรรลุผลและนำไปสู่ความร่วมมือในภูมิภาคที่เป็นรูปธรรม

ไม่นานมานี้ พลเอก ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม ได้เป็นประธานและกล่าวปาฐกถาพิเศษในงานประชุม Global Compact Network Thailand Forum (GCNT 2022) หัวข้อ ‘เร่งหาทางออกของภาคธุรกิจเพื่อแก้ปัญหาสภาวะโลกร้อนและวิกฤตความหลากหลายทางชีวภาพ’ ณ ศูนย์การประชุมสหประชาชาติ (UNCC)   

การเข้าร่วมการประชุม GCNT ในครั้งนี้ ถือเป็นโอกาสสำคัญและเป็นช่วงของการเตรียมตัวก่อนที่ไทยจะเป็นเจ้าภาพการประชุมผู้นำเขตเศรษฐกิจเอเปค (APEC 2022) โดยไทยได้ผลักดันการฟื้นฟูเศรษฐกิจในภูมิภาคเอเปคในยุคหลังวิกฤตโควิด – 19 เพื่อให้ทุกประเทศเติบโตได้อย่างยั่งยืน สมดุล และครอบคลุมมากขึ้น ภายใต้หัวข้อหลัก ‘Open. Connect. Balance.’  

รัฐบาลไทยยืนยันถึงเจตนารมณ์ “ความมุ่งมั่นและการลงมือทำของไทยในฐานะเจ้าภาพการประชุมเอเปค เพื่อลดสภาวะโลกร้อนและความเสียหายต่อธรรมชาติ” โดยภาคเอกชนและสหประชาชาติเป็นภาคีสำคัญในการขับเคลื่อนการพัฒนาเศรษฐกิจ สังคม และสิ่งแวดล้อมอย่างยั่งยืนของไทย

ไทยตระหนักดีว่าการลดภาวะโลกร้อนมิใช่เพื่อแก้ปัญหาภาวะวิกฤติธรรมชาติเท่านั้น แต่เพื่อความเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจอย่างยั่งยืนด้วย และได้เสนอหลักการ ‘การพัฒนาเศรษฐกิจแบบ BCG’ ที่คำนึงถึงการพัฒนาเติบโตทางเศรษฐกิจควบคู่กับการเยียวยารักษาธรรมชาติอย่างมีสมดุล เป็นหัวใจของเอกสารผลลัพธ์ของเอเปค ที่เรียกว่า ‘เป้าหมายกรุงเทพว่าด้วยเศรษฐกิจชีวภาพ เศรษฐกิจหมุนเวียน เศรษฐกิจสีเขียว’ 

'เพื่อไทย' ร่อนแถลง ผิดหวังกับผลโหวต 'สุราก้าวหน้า' ชี้!! จะเดินหน้าผลักดันต่อเนื่อง หวังหยุดการผูกขาด

วันที่ (3 พ.ย. 65) พรรคเพื่อไทย (พท.) ออกแถลงการณ์กรณี สภาฯ โหวตไม่ผ่านร่าง พ.ร.บ.สุราก้าวหน้า ซึ่ง ส.ส.พรรคเพื่อไทยได้ร่วมโหวตสนับสนุนร่างกฎหมายดังกล่าวแต่แพ้โหวตไป 2 คะแนนว่า...

พรรคเพื่อไทยขอเรียนว่าพรรคผิดหวังกับผลโหวต แต่จะเดินหน้าผลักดันนโยบายสุราประชาชน โดยผ่านกฎหมายให้ประชาชนสามารถต้ม หรือผลิตสุราในท้องถิ่นเพื่อจำหน่ายได้ ซึ่งแนวนโยบายนี้เคยมีมาตั้งแต่พรรคไทยรักไทยแล้ว แต่มีการรัฐประหารในปี 2549 พรรคเพื่อไทยจะเดินหน้านโยบายนี้เพื่อหยุดการผูกขาด ปลดปล่อยศักยภาพของชุมชน ธุรกิจเอส เอ็ม อี ร้านค้าทั่วประเทศในการสร้างรายได้ ขยายโอกาสนำรายได้เข้าประเทศ

'สุทิน' ถามสด ต่างชาติซื้อที่ดิน 1 ไร่แลก 40 ลบ. คุ้มหรือ? ชี้!! นโยบายนี้เอื้อนายทุน - ซ้ำเติมประชาชนในชาติ

(3 พ.ย. 65) สุทิน คลังแสง ส.ส.มหาสารคาม รองหัวหน้าพรรคเพื่อไทย และประธานวิปฝ่ายค้าน ตั้ง #กระทู้สดด้วยวาจา กรณีมติคณะรัฐมนตรีแก้ไขกฎกระทรวงว่าด้วยการได้มาที่ดินเพื่อที่อยู่อาศัยของชาวต่างชาติ 

กระทู้สดด้วยวาจานี้ถามต่อนายกรัฐมนตรี โดยมีพลเอกอนุพงษ์ เผ่าจินดา รองนายกรัฐมนตรีมาเป็นผู้ตอบกระทู้ 

สาระสำคัญคือ ชี้ชวนจูงใจให้ต่างชาตินำเงินมาลงทุนไม่ต่ำกว่าคนละ 40 ล้านบาท เพื่อแลกกับการถือครองที่ดินได้คนละ 1 ไร่ โดยอ้างว่าเพื่อกระตุ้นเศรษฐกิจ กรณีดังกล่าวเป็นที่วิพากษ์วิจารณ์และวิตกกังวลสำหรับพี่น้องประชาชนคนไทยโดยทั่ว

การส่งเสริมให้คนต่างชาติถือครองที่ดิน คือการเปิดช่องให้ต่างชาติเข้ามาเป็นเจ้าของที่ดินในขณะที่คนไทยกำลังอ่อนแอ เพราะคนไทยกว่าร้อยละ 80 ยังไม่มีที่ดินเป็นของตัวเอง ความเหลื่อมล้ำในการถือครองที่ดินสูงมากไปกระจุกอยู่กับนายทุนคนละหลายแสนไร่ และยังจะซ้ำเติมด้วยต่างชาติเข้ามาถือครองอีก เรื่องนี้ชาวบ้านวิตกกันถึงขั้นว่าเป็นการ ‘ขายชาติ’ 

แม้รัฐบาลในอดีตเคยทำ แต่ทำบนข้อจำกัดและความจำเป็น คือเมื่อปี 2542 และปี 2545 รัฐบาลไปกู้เงินกองทุนการเงินระหว่างประเทศ หรือ ไอเอ็มเอฟ ก็ต้องปฏิบัติตามเงื่อนไขที่ไอเอ็มเอฟกำหนด แต่ก็ออกกฎกระทรวงหรือมีมาตรการที่ระมัดระวัง รอบคอบและรัดกุม จนในที่สุดแล้วมีต่างชาติมาซื้อที่ดินเพียงแค่ประมาณ 7-8 ราย ก็ถือว่าเราไม่ได้เกิดการสูญเสียที่ดิน

แต่รัฐบาลประยุทธ์ จันทร์โอชา อ้างว่าเพื่อความจำเป็นด้านเศรษฐกิจ อันมาจากวิกฤต เสมือนรัฐบาลยอมรับว่า วันนี้รัฐบาลได้จนมุมทางเศรษฐกิจ และจำเป็นแล้วที่ต้องใช้มาตรการนี้ หมายความว่าการเงินการคลังเรากำลังลำบาก ต้องรอแต่เงินต่างชาติอย่างเดียวแล้วหรือ? 

และที่รัฐบาลอ้างว่ามีมาตรการนั้น มาตรการดังกล่าวก็หละหลวมมาก คือที่อ้างว่าเปิดการลงทุนเพื่อให้ได้ผู้เชี่ยวชาญ ได้เงินลงทุน ได้เทคโนโลยี แต่ดูไปดูมา รัฐบาลนี้แค่อยากได้เงินเขาเท่านั้น เพราะแต่ละกลุ่มที่รัฐบาลเลือกมาคือ เศรษฐี ผู้เกษียณอายุ ซึ่งนี่ตรงกันข้ามกันกับที่บอกว่าอยากได้ผู้เชี่ยวชาญ ได้เทคโนโลยีได้การลงทุนสร้างงาน และมากกว่านั้น 

สุทินย้ำว่า เงินลงทุนแค่ 40 ล้านบาทคือ โอนเงินข้ามประเทศมาก็ได้ที่ดินเลย คนไม่ต้องมา โรงงานไม่ต้องมา เทคโนโลยีไม่ต้องมา นี่คือไม่ได้เกิดงานที่แท้จริง ไม่ได้เกิดการถ่ายทอดเทคโนโลยี แต่เอาเงินมา 40 ล้าน ครบ 3 ปีได้ดอกก็ถอนออกไป ตรงนี้อันตราย 

จึงเกิดข้อสงสัยถัดมาว่า จริงๆ แล้ว รัฐบาลเจตนาช่วยเหลือกลุ่มทุนที่วันที่ถือที่ดินไว้เต็มมือหรือไม่? บางรายมีที่ดินหลายแสนไร่ บางรายมีคอนโดมิเนียมนับหมื่นห้อง ซึ่งวันนี้ขายไม่ออก ตรงนี้เป็นแรงจูงใจหรือแรงผลักดันจากกลุ่มทุนหรือไม่ว่าให้ต่างชาติมาช่วยซื้อที่ดินซื้อบ้าน ดังนั้นจึงมีข้อสงสัยว่า รัฐบาลมีเจตนาหรือไม่เจตนาที่จะเอื้อกฎหมายนี้ให้เกิดประโยชน์กับกลุ่มนายทุนใหญ่ ถ้าเป็นเช่นนั้นจริง คนได้ประโยชน์คือทุนใหญ่ คนเสียประโยชน์คือชาวบ้าน 

วันนี้ พรรคเพื่อไทย จึงตั้งกระทู้ เพื่อถามนายกรัฐมนตรีว่า

1.) คณะรัฐมนตรีมีความจำเป็นหรือมีเหตุผลอะไรที่หนักหนาสาหัส ถึงขนาดต้องมีมติคณะรัฐมนตรีแบบนี้ออกมา

‘ธนกร’ ฟาด ‘ธนาธร’ แคร์สัญชาติตัวเองบ้าง อย่ามโนสร้างชุดข้อมูลมั่ว บอกกับต่างชาติ

‘ธนกร’ เดือด อัด ‘ธนาธร’ จ้องแต่จะชักศึกเข้าบ้าน อัดถ้าจะให้แต่ข้อมูลผิดๆ กับต่างชาติ ก็ควรแคร์สัญชาติตัวเองที่ถืออยู่บ้าง เย้ยอ้างหนุ่มสาวประท้วงยุบ ‘อนาคตใหม่’ ถ้าฝันอยู่ก็ลืมตาตื่นได้แล้ว 

นายธนกร วังบุญคงชนะ ส.ส.บัญชีรายชื่อ พรรคพลังประชารัฐ กล่าวถึงกรณีที่นายธนาธร จึงรุ่งเรืองกิจ ประธานคณะก้าวหน้า ระบุว่า การมี พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา ขึ้นมาเป็นนายกรัฐมนตรีจากการรัฐประหารในปี 2557 และยังคงสืบทอดอำนาจมาได้ถึง 8 ปีวันนี้ คือผลจากความล้มเหลวในการปกป้องประชาธิปไตยว่า คงเป็นแค่ความคิดของนายธนาธรและพรรคพวกเท่านั้น เพราะที่ผ่านมาประชาชนเองก็รับรู้และรับทราบความจริงหมดแล้วว่า ท่านนายกฯ เข้ามาเพื่อรักษาความสงบและขจัดความขัดแย้งของคนไทยด้วยกันเอง ต่อมาก็มีการเลือกตั้งตามระบอบประชาธิปไตย นายกก็เข้าสู่กระบวนการเลือกตั้งตามปกติและเป็นรัฐบาลที่มาจากการเลือกตั้ง แต่พรรคพวกนายธนาธรต่างหาก ที่ปรากฏภาพตามสื่ออยู่หลายครั้งว่า เข้าไปร่วมกับม็อบบนท้องถนน ม็อบจาบจ้วงสถาบันอยู่หลายครั้งหลายคราใช่หรือไม่ 

ส่วนกรณีที่ระบุว่าการขึ้นมาของ พล.อ.ประยุทธ์ ทำให้ประเทศไทยมีความสัมพันธ์ที่ไม่สมดุล เอียงข้างไปทางจีนมากขึ้นทั้งในทางการทูต เศรษฐกิจ และการทหารนั้น ไม่แน่ใจว่านายธนาธรพยายามจะสื่ออะไร หรือกำลังพยายามจะชักศึกเข้าบ้าน คิดเอง มโนเองว่าเอียงเข้าข้างประเทศนั้นประเทศนี้ ทั้ง ๆ ที่ไม่มีมูลความจริงใด ๆ เลย เป็นการมโนด้วยชุดข้อมูลมั่ว ๆ แล้วคิดว่าคนอื่นเขาจะตามไม่ทัน วันนี้ประชาชนฉลาดพอที่จะเลือกไม่รับข้อมูลผิด ๆ จากนายธนาธรอีกต่อไปแล้ว 

‘อัษฎางค์’ ตบหน้า ‘ฝ่ายค้าน’ ปลุกปั่นรัฐกู้จนถังแตก ทั้งที่ทุนสำรองอยู่สูงกว่าหนี้ต่างประเทศถึง 3 เท่า

(4 พ.ย. 65) นายอัษฎางค์ ยมนาค นักวิชาการอิสระ โพสต์ข้อความผ่านเฟซบุ๊ก ในหัวข้อ ‘ฝ่ายค้านเบี่ยงประเด็นหรือไม่มีความรู้เรื่องเศรษฐกิจการเงิน’

ธนาคารแห่งประเทศไทยยืนยันว่า ประเทศไทยยังมีฐานะทางการเงินที่ดี จากระดับเงินสำรองฯ ที่อยู่ประมาณ 2.4 แสนล้านดอลลาร์ 

ทำให้ไทยเป็นประเทศที่มีเงินสำรองฯ มากที่สุดเป็นอันดับที่ 12 ของโลก 

และเมื่อเทียบเงินสำรองฯ ต่อ GDP จะคิดเป็น 48% ของ GDP ซึ่งสูงเป็นอันดับที่ 6 ของโลก 

รวมถึงยังสูงกว่าหนี้ต่างประเทศระยะสั้นของไทยถึงเกือบ 3 เท่า

ที่ออกมายุยง ปลุกปั่นว่า ‘กู้จนถังแตก’ นั้นคือ ยอดหนี้ 10 ล้านล้านบาทใช่มั้ย

แล้วที่รัฐบาลมีเงินสำรองฯ อยู่ 2.4 แสนล้านดอลลาร์ (ย้ำว่า หน่วยคือ แสนล้านดอลลาร์) คืออะไร...ทำไมไม่พูดถึง?

เรามีเงินทุนสำรองฯ อยู่สูงกว่าหนี้ต่างประเทศถึงเกือบ 3 เท่า...ทำไมไม่พูด?

การระบาดของไวรัสโควิด-19 ที่อุบัติขึ้นตั้งแต่ปลายปี 2019 ได้สร้างผลกระทบรุนแรงทั้งด้านสุขภาพ เศรษฐกิจ, สังคม ความเป็นอยู่ของผู้คน

IMF รายงานว่า สภาวการณ์ที่เศรษฐกิจชะลอและถดถอยไม่ได้เกิดขึ้นเฉพาะในเมืองไทย แต่กระทบไปทั่วโลก โดยส่งผลให้ภาระหนี้เอกชนและภาครัฐในหลายประเทศทั่วโลกเพิ่มขึ้น 35% หรือกว่า 355% ของ GDP

ภาระหนี้สิ้นทั่วโลกที่เพิ่มสูงขึ้นนี้มาจากภาครัฐเกินครึ่งหนึ่ง อันเป็นผลจากการใช้มาตรการในหลายด้าน ทั้งการสนับสนุนทางการเงินให้กับระบบสุขภาพ การเยียวยาให้กับภาคครัวเรือนและภาคธุรกิจ รวมทั้งการบรรเทาผลกระทบทางเศรษฐกิจและการจ้างงานที่ลดลง

สำหรับประเทศไทย หนี้รัฐบาลก็เป็นเงินกู้เพื่อใช้ในมาตรการรับมือกับโควิด เช่น การสนับสนุนทางการเงินให้กับระบบสุขภาพ การเยียวยาให้กับภาคครัวเรือนและเพื่อฟื้นฟูและเสริมสร้างความมั่นคงทางเศรษฐกิจ 

ฝ่ายค้านไร้ความรู้ในเรื่องเศรษฐกิจ สังคมและการเมืองแบบนี้ ประชาชนยังหลงเชื่อให้ทำหน้าที่บริหารประเทศอยู่ได้อย่างไร

หรือว่าฝ่ายค้านรับรู้สถานการณ์อย่างดี แต่แกล้งทำเป็นไม่รู้และพยายามบิดเบือนข้อเท็จจริง เพื่อยุยง ปลุกปั่นให้ประชาชนหลงเชื่อ ว่ารัฐบาลกู้เงินมาผลาญ หรือบริหารราชการผิดพลาดจนล้มละลาย จะได้ล้มรัฐบาลลงโดยง่าย


© Copyright 2021, All rights reserved. THE STATES TIMES
Take Me Top