Tuesday, 8 July 2025
NewsFeed

ฐานทัพเรือสัตหีบ จัดกิจกรรมเนื่องในวันคล้ายวันพระบรมราชสมภพพระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร วันชาติ และ วันพ่อแห่งชาติ 5 ธันวาคม2567

(4 ธ.ค. 67) ที่กองบัญชาการ ฐานทัพเรือสัตหีบ อ.สัตหีบ จ.ชลบุรี พลเรือโท วัชระ พัฒนรัฐ ผู้บัญชาการฐานทัพเรือสัตหีบ เป็นประธานในพิธีจัดกิจกรรมเนื่องในวันคล้ายวันพระบรมราชสมภพพระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร วันชาติ และ วันพ่อแห่งชาติ 5 ธันวาคม2567 ในพื้นที่กองทัพเรือ อ.สัตหีบ จ.ชลบุรี ซึ่งประกอบด้วยพิธีทำบุญตักบาตรพระสงฆ์-สามเณร 98 รูป พิธีเจริญพระพุทธมนต์ พิธีบำเพ็ญกุศลทักษิณานุปทาน และพิธีวางพานพุ่มถวายราชสักการะ โดยมีผู้แทนหน่วยงานกองทัพเรือและกำลังพลพื้นที่สัตหีบ เข้าร่วมพิธี

สำหรับการกิจกรรมเนื่องในวันคล้ายวันพระบรมราชสมภพพระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร วันชาติ และวันพ่อแห่งชาติ 5 ธันวาคม2567 ในครั้งนี้กองทัพเรือได้จัดกิจกรรมพร้อมกันหลายพื้นที่ประกอบด้วย พื้นที่กรุงเทพฯ และปริมณฑล พื้นที่ อ.สัตหีบ จ.ชลบุรี พื้นที่ จ.สงขลา พื้นที่ จ.ภูเก็ต - จ.พังงา พื้นที่ จ.จันทบุรี - จ.ตราด พื้นที่จังหวัดในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ และพื้นที่ 3 จังหวัดชานแดนภาคใต้  เพื่อแสดงออกถึงความจงรักภักดีและเทิดทูนสถาบันพระมหากษัตริย์ รวมทั้งรำลึกถึงพระมหากรุณาธิคุณที่มีต่อพสกนิกรปวงชนชาวไทย

ภาพข่าว สมนึก เชื้อสนุก

รัฐมนตรีสุดาวรรณ เผย ยูเนสโก รับรอง ‘ต้มยำกุ้ง’ อาหารชื่อดังของประเทศไทย ขึ้นทะเบียนมรดกวัฒนธรรมที่จับต้องไม่ได้ของมนุษยชาติ ประจำปี 2567 

(4 ธ.ค. 67) นางสาวสุดาวรรณ หวังศุภกิจโกศล รัฐมนตรีว่าการกระทรวงวัฒนธรรม (รมว.วธ.) เปิดเผยว่า ที่ประชุมคณะกรรมการระหว่างรัฐบาลเพื่อการสงวนรักษามรดกวัฒนธรรมที่จับต้องไม่ได้ ครั้งที่ 19 (The nineteenth session of the Intergovernmental Committee for the Safeguarding of the Intangible Cultural Heritage: IGC-ICH) ขององค์การการศึกษา วิทยาศาสตร์และวัฒนธรรมแห่งสหประชาชาติ หรือ UNESCO เมื่อวันที่ 3 ธันวาคม พ.ศ. 2567 เวลา 16.10 น. (เวลาท้องถิ่น) ณ นครอซุนซิออน (Asuncion) สาธารณรัฐปารากวัย หรือตรงกับ วันที่ 4 ธันวาคม 2567 เวลาประมาณ 02.10 น. (ประเทศไทย เร็วกว่า 10 ชั่วโมง) มีมติรับรองให้ “ต้มยำกุ้ง” (Tomyum Kung) ขึ้นทะเบียนเป็นรายการตัวแทนมรดกวัฒนธรรมที่จับต้องไม่ได้ของมนุษยชาติ (Representative List of the Intangible Cultural Heritage of Humanity : RL) ประจำปี 2567 ต่อจากรายการ โขน นวดไทย โนราและ สงกรานต์ ในปีที่ผ่านมา 

รมว.วธ. กล่าวว่า ในการเสนอ ต้มยำกุ้ง ขึ้นทะเบียนมรดกฯ กับยูเนสโก นี้ คณะรัฐมนตรี มีมติเมื่อวันที่ 23 มีนาคม พ.ศ. 2564 เห็นชอบให้ กระทรวงวัฒนธรรม โดยกรมส่งเสริมวัฒนธรรม เสนอขอขึ้นทะเบียน “ต้มยำกุ้ง” (Tomyum Kung) เป็นรายการตัวแทนมรดกวัฒนธรรมที่จับต้องไม่ได้ของมนุษยชาติ ภายใต้อนุสัญญาว่าด้วยการสงวนรักษามรดกวัฒนธรรมที่จับต้องไม่ได้ ค.ศ. 2003 ของยูเนสโก หลังจากที่ ต้มยำกุ้ง ได้รับการประกาศขึ้นบัญชีมรดกภูมิปัญญาทางวัฒนธรรมของชาติเมื่อปี พ.ศ. 2554 ในสาขาความรู้และการปฏิบัติเกี่ยวกับธรรมชาติและจักรวาล ประเภทอาหารและโภชนาการ ด้วย ต้มยำกุ้ง เป็นมรดกภูมิปัญญาฯ ที่สะท้อนให้เห็นถึงวิถีการดำเนินชีวิตของคนไทย ที่มีความเรียบง่าย มีสุขภาวะทั้งกายและใจที่แข็งแรง รู้จักการพึ่งพาตนเองด้วยวิธีธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมรอบตัว เป็น “กับข้าว” ที่คนในชุมชนเกษตรกรรมริมแม่น้ำในพื้นที่ภาคกลาง นำวัตถุดิบที่มีอยู่ในชุมชนท้องถิ่นมาสร้างสรรค์เป็นอาหารเพื่อสุขภาพ โดยชื่อ ต้มยำกุ้ง เกิดจากการนำคำ 3 คำมารวมกันได้แก่ “ต้ม” “ยำ” และ “กุ้ง” ซึ่งหมายถึงกระบวนการทำอาหารที่นำเนื้อสัตว์ คือ กุ้ง ต้มลงในน้ำเดือดที่มีสมุนไพรซึ่งปลูกไว้กินเองในครัวเรือนอย่างข่า ตะไคร้ ใบมะกรูด และปรุงรสจัดจ้านแบบยำ ให้มีรสเปรี้ยวนำด้วยมะนาว ตามด้วยรสเค็มจากเกลือหรือน้ำปลา รสเผ็ดจากพริก รสหวานจากกุ้ง และขมเล็กน้อยจากสมุนไพร นั่นเอง

“ปัจจุบัน ภูมิปัญญาการทำต้มยำกุ้งได้มีการสืบทอดจากรุ่นสู่รุ่นอย่างต่อเนื่อง และแพร่กระจายไปยังพื้นที่อื่น อย่างกว้างขวางทั้งในประเทศและต่างประเทศ ก่อให้เกิดการสร้างสรรค์สูตรต้มยำกุ้งที่แปลกใหม่มากมาย เพื่อตอบสนองต่อสภาพทางภูมิศาสตร์ วิถีชีวิต และรสนิยมการบริโภคอาหารที่แตกต่างกันไปของคนกลุ่มต่าง ๆ ทั้งยังเป็นอาหารที่ได้รับความนิยม ชื่นชอบของชาวต่างชาติ ถือเป็น Soft power ด้าน อาหาร เมนูสำคัญของประเทศไทย ที่กระทรวงวัฒนธรรม พร้อมสนับสนุนให้เกิดการพัฒนาต่อยอดเป็นเมนูยอดนิยมของคนทั่วโลก” รมว.วธ. กล่าว

รมว.วธ. กล่าวเพิ่มเติมว่า หลังจากที่มรดกวัฒนธรรมของไทย ได้รับการขึ้นทะเบียนแล้ววธ. มีแนวทางการส่งเสริมและต่อยอดตามนโยบายของรัฐบาล โดยกระทรวงวัฒนธรรม ในการขับเคลื่อน Soft power ด้านอาหาร โดยใช้เศรษฐกิจทางวัฒนธรรม กระตุ้นให้เกิดการสร้างงาน สร้างรายได้ และสร้างความมั่นคงทางเศรษฐกิจ ทั้งในระดับชุมชนและระดับประเทศ อาทิ ส่งเสริมให้ผู้ประกอบการภาคอุตสาหกรรมภาพยนตร์ ละคร เกม รายการโทรทัศน์ รวมถึงสื่อออนไลน์ ให้สอดแทรกเนื้อหา ต้มยำกุ้ง เพื่อสร้างกระแสความนิยมในวงกว้าง และบูรณาการกับภาคธุรกิจ-การท่องเที่ยว ในการนำ ต้มยำกุ้ง เป็นเมนูหลัก เมนูอาหารต้องชิม เมื่อมาเที่ยวเมืองไทย บรรจุลงในโปรแกรมการท่องเที่ยว และเป็นเมนูอาหารที่ต้องระบุไว้ในรายการอาหารขึ้นโต๊ะผู้นำ รวมทั้งผู้เข้าร่วมในการประชุมที่จัดในประเทศไทย หรือที่ประเทศไทยเป็นเจ้าภาพ ตลอดจนเชิญชวนให้ผู้ประกอบการด้านท่องเที่ยวและการบริการ เช่น โรงแรม ภัตตาคาร ร้านอาหาร ร่วมจัดแคมเปญพิเศษในการส่งเสริมการขาย เพื่อเป็นการกระตุ้นยอดขายเมนูต้มยำกุ้ง และยังเป็นการสร้างการรับรู้ถึงคุณค่าและสาระของเมนูต้มยำกุ้งไป สู่ประชาชนและนักท่องเที่ยวทั้งชาวไทยและต่างชาติอีกด้วย

รมว.วธ. เปิดเผยอีกว่า นอกจากรายการต้มยำกุ้งแล้ว ในวันที่ 4 ธันวาคม 2567 เวลาระหว่าง 09.30 - 12.30 น. (เวลาท้องถิ่น) สาธารณรัฐปารากวัย ซึ่งตรงกับวันที่ 4 ธันวาคม 2567 เวลาระหว่าง 19.30 – 22.30 น. (เวลาประเทศไทย) ขอเชิญชวนชาวไทย โดยเฉพาะพี่น้องภาคใต้ เตรียมลุ้น “เคบายา” รายการมรดกวัฒนธรรมที่เสนอขอขึ้นร่วม 5 ประเทศ คือ ประเทศมาเลเซีย บรูไน อินโดนีเซีย สิงคโปร์ และไทย จะได้รับการรับรองให้ขึ้นทะเบียนในปีเดียวกัน อีกด้วย 

ในโอกาสที่น่ายินดีนี้ กระทรวงวัฒนธรรม โดยกรมส่งเสริมวัฒนธรรม จึงขอเชิญพี่น้องประชาชนร่วมกิจกรรม งานฉลองต้มยำกุ้งและเคบายา มรดกภูมิปัญญาทางวัฒนธรรมของมนุษยชาติ ระหว่างที่ 6-8 ธันวาคม 2567 ณ Quartier Avenue ชั้น G ศูนย์การค้า เอ็มควอเทียร์ โดยในวันที่ 6 ธันวาคม เวลา 18.00 น. จะมีพิธีเปิดงานโดย นางสาวสุดาวรรณ หวังศุภกิจโกศล รัฐมนตรีว่าการกระทรวงวัฒนธรรม ให้เกียรติเปิดงานอย่างเป็นทางการ ภายในงานพบกับเชฟไอซ์ ศุภักษร จงศิริ ผู้สร้างประวัติศาสตร์พาร้านอาหารไทย 'ศรณ์' คว้ารางวัล สามดาวมิชลินเป็นแห่งแรกของโลก และการสาธิตการทำต้มยำกุ้ง โดยเชฟตุ๊กตา (ครัวบ้านยี่สาร) หนึ่งในผู้เข้าแข่งขันเชฟกระทะเหล็กประเทศไทย พร้อมให้ชิมต้มยำกุ้งฟรี รวมถึงการแสดงแฟชั่นโชว์ชุดเคบายา นำโดยนางสาวไทยและรองนางสาวไทย และร่วมชมนิทรรศการ “ต้มยำกุ้ง” และนิทรรศการ/สาธิตการปักชุด-เครื่องประดับ “เคบายา” และอาหารเปอรานากัน จากจังหวัดภูเก็ต พังงา ระนอง กระบี่ ตรังและสตูล และยังได้เพลิดเพลินกับการแสดงดนตรี การแสดงทางวัฒนธรรมให้รับชมตลอดงาน โดยติดตามรายละเอียดได้ที่ www.culture.go.th และเฟสบุ๊คกรมส่งเสริมวัฒนธรรม

เจนกิจ นัดไธสง รายงาน 

‘สุวรรณภูมิ’ คว้ารางวัล Prix Versailles 2024 ชูความวิจิตรเอกลักษณ์ไทยอวดสายตาชาวโลก

(4 ธ.ค.67) ดร.กีรติ กิจมานะวัฒน์ กรรมการผู้อำนวยการใหญ่ บริษัท ท่าอากาศยานไทย จำกัด (มหาชน) (AOT) และนายเอนก ธีระวิวัฒน์ชัย รองกรรมการผู้อำนวยการใหญ่ สายงานยุทธศาสตร์ เข้ารับรางวัล Prix Versailles ประจำปี 2024 หมวดหมู่ สนามบิน สาขาสถาปัตยกรรมดีเด่นด้านรูปลักษณ์อาคาร (Exterior) ณ สำนักงานใหญ่ UNESCO กรุงปารีส ประเทศฝรั่งเศส

ดร.กีรติ กล่าวว่า อาคารเทียบเครื่องบินรองหลังที่ 1 (Midfield Satellite 1: SAT-1) ท่าอากาศยานสุวรรณภูมิ (ทสภ.) ได้รับรางวัล Prix Versailles ในฐานะสนามบินสวยที่สุดในโลกประจำปี 2567 (The World’s most beautiful List 2024) จากคณะกรรมการ The Prix Versailles Selection Committee ร่วมกับ United Nations Educational, Scientific and Cultural Organization หรือ UNESCO ซึ่งอาคาร SAT-1 ทสภ.ได้ถ่ายทอดความวิจิตรของเอกลักษณ์และอัตลักษณ์ไทยตั้งแต่ก้าวแรกที่นักท่องเที่ยวเดินทางเข้ามาในประเทศ

ด้วยการนำจุดแข็งทางวัฒนธรรมมาออกแบบการตกแต่งภายในอาคารเป็นแบบผสมผสานระหว่างสถาปัตยกรรมและศิลปะที่สะท้อนเอกลักษณ์ความเป็นไทยให้กลมกลืนไปกับโครงสร้างอาคารที่ทันสมัยครอบคลุมทั้งประวัติศาสตร์ และวิถีชีวิต โดยรางวัลนี้ถือเป็นหนึ่งในความภาคภูมิใจของคนไทยทุกคน ไปพร้อมกับการสร้างประสบการณ์ใหม่ให้กับนักท่องเที่ยวได้สัมผัสวัฒนธรรมไทยผสานการออกแบบอาคารที่ยั่งยืน (Sustainable Design) ใช้วัสดุการก่อสร้างที่ดูแลรักษาได้ง่าย เพื่อช่วยให้ประหยัดพลังงานและเน้นการใช้แสงธรรมชาติตอบสนองนโยบายสนามบินสีเขียว (Green Airport) ทั้งยังเป็นการตอกย้ำด้านการยกระดับงานบริการ (Level of Service) ของ AOT ซึ่งจะผลักดันให้ท่าอากาศยานไทยก้าวเป็นศูนย์กลางการบินของภูมิภาค

ดร.กีรติ กล่าวเพิ่มเติมว่า AOT รู้สึกเป็นเกียรติและภูมิใจเป็นอย่างมาก ซึ่งการได้รับรางวัลนี้จะเป็นการยืนยันถึงความสำคัญของอีกหนึ่งการสร้างประสบการณ์ที่ดีที่สุดให้แก่ผู้โดยสารจากทั่วโลก และเราจะมุ่งมั่นรักษามาตรฐานความสวยงามและประสิทธิภาพในการให้บริการ เพื่อให้ทุกการเดินทางของผู้โดยสารเป็นประสบการณ์ที่น่าประทับใจและจดจำ ซึ่งจะเป็นการสร้างภาพลักษณ์ที่ดีของประเทศไทยต่อไป

ขอนแก่น - "ราชมงคล" จัดพิธีเนื่องในวันคล้ายวันพระบรมราชสมภพ พระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร ฯ 

มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลอีสาน วิทยาเขตขอนแก่น พร้อมใจจัดพิธีเนื่องในวันคล้ายวันพระบรมราชสมภพ พระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศรฯ วันชาติและวันพ่อแห่งชาติ ในทุกปีเพื่อน้อมรำลึกถึงพระมหากรุณาธิคุณและแสดงออกถึงความจงรักภักดี ต่อชาติ ศาสนา และพระมหากษัตริย์ สถาบันหลักที่ประชาชนคนไทยทุกหมู่เหล่า

(4 ธ.ค. 67) ที่ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลอีสาน วิทยาเขตขอนแก่น (มทร.อีสาน วิทยาเขตขอนแก่น) ได้จัดพิธีเจริญพระพุทธมนต์เพื่อถวายเป็นพระราชกุศล เนื่องในวันคล้ายวันพระบรมราชสมภพ พระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร วันชาติและวันพ่อแห่งชาติ ประจำปี 2567 ที่ ศาลาพระพุทธนวราชมงคล และลานรวมใจ วิทยาเขตขอนแก่น

โดยมี อาจารย์ปริญ นาชัยสิทธิ์ รองอธิการบดีประจำวิทยาเขตขอนแก่น เป็นประธานในพิธีเจริญพระพุทธมนต์ ถวายเครื่องราชสักการะและวางพานพุ่มดอกไม้ เป็นผู้แทนกล่าวน้อมรำลึกในพระมหากรุณาธิคุณ แด่พระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร พร้อมนำคณะผู้บริหาร คณาจารย์ เจ้าหน้าที่และนักศึกษา ถวายบังคมด้วยความพร้อมเพรียง และพร้อมใจร่วมขับร้องเพลง พระผู้ทรงเป็นนิรันดร์ และต้นไม้ของพ่อ เพื่อน้อมรำลึกถึงพระมหากรุณาธิคุณและแสดงออกถึงความจงรักภักดี ต่อชาติ ศาสนา และพระมหากษัตริย์ สถาบันหลักที่ประชาชนคนไทยทุกหมู่เหล่าต่างยึดมั่นเทิดทูนและเคารพบูชา ตลอดระยะเวลาแห่งการครองราชย์ กว่า 70 ปีทรงปฏิบัติพระราชกรณียกิจนานัปการด้วยพระราชวิริยะ อุตสาหะ ด้วยพระราชปณิธาน ด้วยพระราชหฤทัยอันมุ่งมั่น ดังพระปฐมบรมราชโองการ ในพระราชพิธีราชาภิเษก 5 พ.ค.2493 เราจะครองแผ่นดินโดยธรรม เพื่อประโยชน์สุขแห่งมหาชนชาวสยาม

‘รองนายกฯ ประเสริฐ’ ประกาศความร่วมมือ ‘ดีอี-อว.- ศธ.’ และ ‘UNESCO’ เตรียมเป็นเจ้าภาพงาน ‘UNESCO Global Forum on the Ethics of AI 2025’ ครั้งแรกในเอเชียแปซิฟิก ย้ำบทบาทประเทศไทย ผู้นำด้านจริยธรรม AI ในเวทีโลก

(4 ธ.ค.67) นายประเสริฐ จันทรรวงทอง รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม (ดีอี) แสดงวิสัยทัศน์ผ่านปาฐกถาพิเศษในการแถลงข่าวการจัดงานประกาศความร่วมมืออย่างเป็นทางการของกระทรวงดีอี กับกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (อว.) กระทรวงศึกษาธิการ (ศธ.) และองค์การเพื่อการศึกษา วิทยาศาสตร์ และวัฒนธรรมแห่งสหประชาชาติ (UNESCO) ในการเตรียมเป็นเจ้าภาพจัดงานระดับโลก ‘The 3rd UNESCO Global Forum on the Ethics of AI 2025’ ภายใต้แนวคิด ‘Ethical Governance of AI in Motion’ ที่จะจัดขึ้นระหว่างวันที่ 24-27 มิถุนายน 2568 ที่กรุงเทพมหานคร ซึ่งกระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม (ดีอี) ร่วมกับ กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (อว.) กระทรวงศึกษาธิการ (ศธ.) และองค์การเพื่อการศึกษา วิทยาศาสตร์ และวัฒนธรรมแห่งสหประชาชาติ (UNESCO) ว่า ความมุ่งมั่นของรัฐบาลไทยในการส่งเสริมและสนับสนุนการใช้เทคโนโลยีดิจิทัลเพื่อเพิ่มขีดความสามารถของประเทศ โดยเฉพาะการประยุกต์ใช้เทคโนโลยี AI ที่ควรต้องเป็นไปตามหลักการสำคัญ ซึ่งในช่วงที่ผ่านมาจะเห็นได้ว่าองค์กรต่างๆ ในประเทศไทยมีแผนและการเตรียมการในการนำ AI มาใช้ในองค์กรเพิ่มมากขึ้น โดยในปี 2567 สูงถึง 73.3% ซึ่งสูงกว่าปีที่ผ่านมาเกือบ 20% (ข้อมูลจากรายงาน AI Readiness Measurement 2024) ที่จัดทำโดย ETDA และ สวทช. นอกจากนี้ ประเทศไทยได้มีการประกาศ แนวทางการกำกับดูแลโดยมี ‘แนวทางการประยุกต์ใช้ AI อย่างมีธรรมาภิบาลสำหรับผู้บริหาร’ และ ‘คู่มือแนวทางการประยุกต์ใช้ Generative AI อย่างมีธรรมาภิบาลสำหรับองค์กร’ เพื่อประโยชน์ในการนำแนวทางและคู่มือไปประกอบการพิจารณาการนำ AI มาใช้ในระดับองค์กรเพิ่มมากขึ้น

ดังนั้น จากศักยภาพของประเทศในมิติต่างๆ จึงได้นำไปสู่ความพร้อมในการเป็นเจ้าภาพร่วมเพื่อจัดงาน ‘UNESCO Global Forum on the Ethics of AI 2025’ ในปีหน้านี้ จะมีทั้งเวทีในการแลกเปลี่ยนความรู้ การส่งเสริมความร่วมมือในระดับพหุภาคี รวมไปถึงการเสริมสร้างความสามารถในการกำกับดูแล AI ในประเทศที่กำลังพัฒนา ที่ถือได้ว่าจะเป็นโอกาสในการสร้างความเชื่อมั่นต่อประชาคมโลก ที่ไทยให้ความสำคัญกับการพัฒนาองค์ความรู้และความร่วมมือระหว่างประเทศสมาชิก และแสดงให้เห็นว่าไทยเองมีความสามารถในการเป็น ‘แหล่งเรียนรู้’ ในด้าน AI Governance ที่พร้อมร่วมมือกับ UNESCO อีกด้วย 

ด้าน นายศุภชัย ใจสมุทร ผู้ช่วยรัฐมนตรีประจำกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (อว.) กล่าวถึง ความพร้อมของประเทศไทยจากบทบาทของ กระทรวง อว. ในการส่งเสริมการวิจัยและพัฒนาที่เกี่ยวข้องกับการนำเทคโนโลยี AI ไปประยุกต์ใช้ในอุตสาหกรรมต่างๆ โดยไม่เพียงเน้นสร้างนวัตกรรมเท่านั้น ยังให้ความสำคัญกับจริยธรรมและความรับผิดชอบต่อสังคม โดยมีหน่วยงาน ภายใต้กระทรวง อว. คือ สวทช. ที่ร่วมผลักดันการสร้างองค์ความรู้และนวัตกรรม AI ที่จะช่วยตอบโจทย์ระดับประเทศ รวมถึงการมีบทบาทสำคัญในการร่วมพัฒนากรอบจริยธรรม AI ที่มุ่งเน้นความสอดคล้องกับมาตรฐานระดับสากล ประกอบกับ ประเทศไทยได้มีการส่งเสริมและพัฒนาความพร้อมในการประยุกต์ใช้เทคโนโลยี AI ผ่านการเตรียมทำการประเมินความพร้อมด้าน AI ตามกรอบแนวทางของ UNESCO RAM ที่เป็นเครื่องมือที่จะช่วยให้ไทยได้เข้าใจสถานการณ์ความพร้อม ซึ่งครอบคลุมในมิติต่างๆ 

อีกทั้งข้อมูลที่วิเคราะห์ได้ จะพัฒนาไปเป็นข้อเสนอแนะ เพื่อนำไปสนับสนุนการวางแผนสำหรับประโยชน์ในการพัฒนาศักยภาพ ตลอดจนการปรับปรุงในมิติที่จำเป็น ภายใต้บริบทของไทยให้มีความชัดเจนมากยิ่งขึ้น ดังนั้น การร่วมจัดงาน Global Forum on the Ethics of AI 2025 ในปีหน้านี้ จะช่วยสะท้อนถึงการผนึกกำลังที่เข้มแข็งระหว่างกระทรวง อว. พร้อมด้วยกระทรวงดีอี และกระทรวง ศธ. จากประเทศไทย ในการทำงานร่วมกับ UNESCO เพื่อร่วมสร้างอนาคตที่เท่าเทียมและยั่งยืนสำหรับทุกคน

ขณะที่ นายซิง ฉวี่ รองผู้อำนวยการใหญ่ UNESCO ได้กล่าวชื่นชมประเทศไทยในความเป็นผู้นำด้านการส่งเสริมธรรมาภิบาลจริยธรรม AI และการผลักดันความร่วมมือระดับนานาชาติ พร้อมเน้นย้ำว่าภารกิจของยูเนสโก ในการสร้างสันติภาพผ่านการศึกษา วิทยาศาสตร์ และวัฒนธรรม มีความสำคัญมากยิ่งขึ้นในยุคที่ AI เข้ามามีบทบาทสำคัญในการเปลี่ยนแปลงสังคม เศรษฐกิจ และชีวิตของผู้คน พร้อมยังกล่าวถึงการเติบโตอย่างรวดเร็วของเศรษฐกิจดิจิทัลในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ที่มาพร้อมกับความก้าวหน้าในโครงสร้างพื้นฐาน AI ของภูมิภาค จนอาจนำมาสู่ความท้าทายที่เกิดขึ้น เช่น ความเหลื่อมล้ำทางดิจิทัล และผลกระทบต่อการจ้างงานจากระบบอัตโนมัติอย่าง AI เป็นต้น ซึ่งการที่ประเทศไทยได้มีการนำกรอบแนวทางการประเมินความพร้อมด้าน AI ของยูเนสโก (UNESCO RAM) มาใช้นั้น ถือเป็นก้าวสำคัญของกรอบการทำงานในการประเมินความพร้อมด้านการประยุกต์ใช้ AI ของไทย ที่มีความแข็งแกร่งและพร้อมส่งเสริมการใช้ AI ด้วยโปร่งใส ตามกรอบธรรมาภิบาลและจริยธรรมตามมาตรฐานสากล โดย Global Forum on the Ethics of AI 2025 จะเป็นเวทีสำคัญสำหรับการเจรจาระดับโลกในการร่วมพัฒนาจริยธรรมการประยุกต์ใช้ AI ที่เคารพสิทธิมนุษยชน โปร่งใส เป็นธรรม พร้อมผลักดันให้ประเทศไทยก้าวขึ้นเป็นผู้นำระดับภูมิภาคด้านธรรมาภิบาลจริยธรรม AI อย่างแท้จริง

พร้อมกันนี้ ในการแถลงข่าวความร่วมมือครั้งนี้ ประเทศไทย ยังได้ประกาศจุดยืนต่อผู้นำโลก ถึงความพร้อมของการประยุกต์ใช้งาน AI อย่างมีจริยธรรมและธรรมาภิบาล ตามกรอบ UNESCO’s AI Readiness Assessment หรือ UNESCO RAM พร้อมเปิดเวทีเสวนาเชิงลึกโดยผู้นำและผู้เชี่ยวชาญที่เกี่ยวข้อง กับการเสวนาใน 2 ประเด็นที่สำคัญ ได้แก่

• "Thailand's Journey in Driving AI Ethics & Governance: Insights from Hosting the Global Forum on the Ethics of AI" เส้นทางของไทยในการขับเคลื่อนจริยธรรมและการกำกับดูแล AI: มุมมองจากการเป็นเจ้าภาพ Global Forum on the Ethics of AI โดย ดร.เวทางค์ พ่วงทรัพย์ เลขาธิการคณะกรรมการดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ, ดร.ชัย วุฒิวิวัฒน์ชัย ผอ. NECTEC,
ดร.ศักดิ์ เสกขุนทด ที่ปรึกษาอาวุโส ETDA และ ดร.วีระ วีระกุล รองประธานสภาดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคมแห่งประเทศไทย ที่จะมาร่วมแบ่งปันวิสัยทัศน์การใช้การประชุมระดับโลกครั้งนี้เป็นแพลตฟอร์มในการยกระดับบทบาทของไทยสู่การเป็นผู้นำด้าน AI ในระดับสากล

• “Policy and Strategic Frameworks”, in the Region Readiness Assessment Methodology (RAM)” นโยบายและกรอบยุทธศาสตร์” ในกรอบแนวทางการประเมินความพร้อมระดับภูมิภาค โดยนายอิราคลี โคเดลี หัวหน้าหน่วยจริยธรรมปัญญาประดิษฐ์ UNESCO ร่วมกับ ดร.ชัยชนะ มิตรพันธ์ ผอ. ETDA, ดร.ชัย วุฒิวิวัฒน์ชัย ผอ. NECTEC ที่จะมาร่วมแลกเปลี่ยนในประเด็นการวางกรอบการประเมินความพร้อมด้านปัญญาประดิษฐ์ (UNESCO RAM) ที่จะเป็นเครื่องมือมาตรฐานสำหรับประเทศในภูมิภาค พร้อมแนวทางการจัดตั้งหอสังเกตการณ์จริยธรรมและการกำกับดูแลปัญญาประดิษฐ์ระดับโลก ที่จะช่วยสร้างระบบนิเวศปัญญาประดิษฐ์ที่ยั่งยืน

จากสถานการณ์การเตรียมความพร้อมของประเทศ และกระแสการส่งเสริมการประยุกต์ใช้เทคโนโลยี AI อย่างมีจริยธรรมและธรรมาภิบาลในเวทีระดับโลก ที่สะท้อนจากมุมมองในระดับนโยบายของประเทศ สู่ความร่วมมือจากหน่วยงานสำคัญของไทยและ UNESCO จึงได้นำสู่การร่วมดำเนินงานโครงการสำรวจความพร้อมด้านจริยธรรม AI ของประเทศไทยตามแนวทางแนะนำของ UNESCO (โดยติดตามความคืบหน้าในการจัดงานอย่างต่อเนื่อง ได้ผ่านเพจ https://www.ai.in.th/) รวมถึงการเตรียมจัดการประชุมระดับนานาชาติครั้งแรกในเอเซียแปซิฟิก “The 3rd UNESCO Global Forum on the Ethics of AI 2025” ในแนวคิด “Ethical Governance of AI in Motion” ที่จะจัดขึ้นระหว่างวันที่ 24-27 มิถุนายน 2568 ที่กรุงเทพฯ โดยติดตามความคืบหน้าในการจัดงานอย่างต่อเนื่อง ได้ผ่านเพจ ETDA Thailand

“บสย.” ซับน้ำตาน้ำท่วมภาคใต้ “พักหนี้-พักค่างวด-พักค่าธรรมเนียม 6 เดือน” ให้พื้นที่ประสบอุทกภัย

(4 ธ.ค. 67) ดร.เผ่าภูมิ โรจนสกุล รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงการคลัง ให้สัมภาษณ์ว่า จากสถานการณ์อุทกภัยในภาคใต้ตอนล่าง ได้ส่งผลเดือดร้อนต่อพี่น้องประชาชน ผู้ประกอบธุรกิจ SME จำนวนมาก ทั้งด้านการดำรงชีวิต ด้านการประกอบธุรกิจ และด้านสุขภาพ บรรษัทประกันสินเชื่ออุตสาหกรรมขนาดย่อม (บสย.) จึงได้ออกมาตรการเร่งด่วน ให้ความช่วยเหลือให้ SMEs ประคับประคองธุรกิจ และสามารถฟื้นฟูกิจการหลังน้ำท่วมทันที สำหรับผู้ประกอบการ SMEs ผู้ประสบอุทกภัย และมีสถานประกอบการตั้งอยู่ในพื้นที่ประสบอุทกภัยที่ กรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย (ปภ.) ประกาศ ดังนี้

1.    พักชำระค่างวด 6 เดือน สำหรับลูกหนี้ บสย. ที่ได้รับผลกระทบจากอุทกภัยภาคใต้ปี 2567 ที่อยู่ระหว่างผ่อนชำระตามแผนปรับโครงสร้างหนี้ และไม่ผิดนัดชำระหนี้ โดยพักชำระค่างวดที่ถึงกำหนดชำระเป็นระยะเวลาสูงสุด 6 เดือน ยื่นคำขอพักชำระภายใน 31 ธันวาคม 2567

2.    พักชำระค่าธรรมเนียมและค่าจัดการค้ำประกัน 6 เดือน ทันที สำหรับ SMEs ลูกค้า บสย. ที่ได้รับผลกระทบจากอุทกภัยภาคใต้ปี 2567 และถึงกำหนดชำระค่าธรรมเนียมค้ำประกันและค่าจัดการค้ำประกัน

ปมปัญหาสงคราม ‘ไทย-ว้า’ ส่อจบบนโต๊ะเจรจา หลังผู้นำระดับสูงกลุ่มว้า ปูดทางการไทยขอคุยหาทางออก

หลังจากข่าวไทยกับว้ากระพือในโซเชียลทั้งฝั่งไทย จีน และเมียนมาก็มีข่าวออกมาในทำนองเดียวกันหมด อีกทั้งข่าวจากฝั่งว้าเองว่าจะไม่ถอยก็มีการยืนยันออกมาแล้วว่าจริง แม้กองทัพภาคที่ 3 จะออกมาแถลงการณ์อย่างเป็นทางการว่าไม่มีอะไรเกิดขึ้น ซึ่งสวนทางกับคลิปที่หลุดว่อนโซเชียลที่ถูกถ่ายทั้งจากผู้เห็นเหตุการณ์เองหรือแม้กระทั่งจากบนรถทหาร นั่นเป็นการตอกย้ำว่าไทยเรากำลังใกล้เข้าสู่สงครามอย่างจริงจังแล้ว

คำถามคือทำไมกองทัพภาคที่ 3 ถึงออกแถลงโดยมีเนื้อหาดังว่า

1. กองทัพภาคที่ 3 มีพื้นที่รับผิดชอบตามแนวชายแดน ความยาวประมาณ 1,926 กิโลเมตร โดยมีภารกิจที่สำคัญ ได้แก่

1.1 การปกป้องและรักษาอธิปไตยของชาติ

1.2 การดูแลความปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สินของประชาชนไทย ตามแนวชายแดน

1.3 การจัดระเบียบพื้นที่ชายแดน

1.4 การป้องกันและแก้ไขปัญหาความมั่นคงที่สำคัญ ได้แก่ ยาเสพติด ผู้หลบหนีเข้าเมืองโดยผิดกฎหมาย และอื่นๆ

2. กองทัพภาคที่ 3 ได้ปฏิบัติตามขอบเขตของอำนาจหน้าที่ตามกฎหมาย และได้ปฏิบัติการตามพันธกิจของกองทัพบก โดยใช้กลไกความร่วมมือที่มีอยู่ในทุกระดับ ได้แก่

2.1 คณะกรรมการชายแดนส่วนท้องถิ่น (Township Border Committee : TBC) ได้แก่ คณะกรรมการฯ TBC แม่ฮ่องสอน – ลอยก่อ และ คณะกรรมการฯ TBC แม่สาย – ท่าขี้เหล็ก

2.2 คณะกรรมการชายแดนส่วนภูมิภาค (Regional Border Committee : RBC) กองทัพภาคที่ 3 - สำนักปฏิบัติการพิเศษที่ 4 กองทัพเมียนมา

2.3 คณะกรรมการระดับสูง (High Level Committee : HLC) กองบัญชาการกองทัพไทย – กองทัพเมียนมา ในการแก้ปัญหาจะเริ่มจากเบาไปหาหนัก โดยการพูดคุยกับทุกกลุ่ม ทุกฝ่าย เพื่อแก้ปัญหาความขัดแย้งร่วมกันให้ปัญหายุติโดยเร็ว โดย กองทัพภาคที่ 3 มีความพร้อมในการปกป้องอธิปไตยในทุกพื้นที่

3. เส้นเขตแดนระหว่างไทย – เมียนมา ตั้งแต่จังหวัดเชียงราย ถึง จังหวัดระนอง รวมทั้งพื้นที่ทางทะเลยังไม่สามารถปักปันเขตแดนร่วมกันได้ครบทุกพื้นที่ ซึ่งบริเวณที่ปรากฏต่อสื่อมวลชนดังกล่าว ยังไม่มีการสำรวจ และปักปันเขตแดน ทั้งนี้ กองทัพภาคที่ 3 ได้ดำเนินการตามขั้นตอนในข้อ 2 ทุกระดับแล้ว ปัจจุบันอยู่ในขั้นตอนการเจรจาระหว่างรัฐต่อรัฐ

4. กองทัพภาคที่ 3 ขอยืนยันว่าสถานการณ์ชายแดนจังหวัดเชียงใหม่ และจังหวัดแม่ฮ่องสอน อยู่ในภาวะปกติ สามารถใช้ชีวิตประจำวันได้อย่างปลอดภัย รวมทั้งความสัมพันธ์ตามแนวชายแดนยังคงอยู่ในระดับ  ที่ดีต่อกันกองทัพภาคที่ 3 พร้อมที่จะปกป้องอธิปไตยของชาติ และพี่น้องชาวไทยอย่างดีที่สุด

คำถามคือหากทุกอย่างยังปกติดีแล้วจะมีการเสริมกองทัพและยุทโธปกรณ์ทำไม การประกาศครั้งนี้จึงกลายเป็นตลกฉากใหญ่ฉีกหน้ากองทัพไปโดยสิ้นเชิง

ตามข้อมูลที่เอย่าได้มาจากแหล่งข่าวของผู้นำระดับสูงของว้าแจ้งมาว่าตอนนี้ทางการไทยต้องการจะเจรจาเพื่อหาทางออกของกรณีพิพาทนี้

เฉกเช่นที่เคยได้ยินมาจากภาพยนตร์ไทยเรื่องทวิภพ หรือ Siam Renaissance บทหนึ่งที่แม่มณีกล่าวว่า

"แสนยานุภาพจะกะไรนักหนา หากรู้จักเจรจา"

จากคำกล่าวนี้ตีความได้ว่าเราสามารถจบศึกได้ด้วยการพูดคุยเพียงแค่นั้น และอย่าลืมว่าไทยเรามีวาทศิลป์ที่ยอดเยี่ยมถึงขั้นที่ฝรั่งหัวทองเคยให้คำกล่าวถึงการเจรจาทางการทูตของไทยว่า "Siamese Talk" ถึงสุดท้ายไทยจะรบกับว้าหรือไม่ คงไม่ใช่สิ่งสำคัญ  แต่เรื่องสำคัญกว่าที่กองทัพไทยมองอาจจะเป็นเรื่องผลกระทบต่อคนในพื้นที่อันเป็นผลที่ตามมาหากเปิดฉากทำสงครามกับว้าก็เป็นได้

‘คำผกา’ ทวีตข้อความแซะ!! ‘จอห์น วิญญู’ อวย!! ‘สส.เกาหลี’ แขวะ!! ‘สส.ไทย’

เมื่อวานนี้ (4 ธ.ค. 67) คำ ผกา หรือ แขก พิธีกรชื่อดัง ทวีตข้อความผ่านแอปพลิเคชัน  X (ทวิตเตอร์) @kamphaka ระบุว่า...
อยากเห็นจอนลงถนนไม่ไหว พรุ่งนี้นำเลยนะ

‘ทนายเกิดผล’ โดนอ้างชื่อ!! สร้างช่อง TiKToK ชี้!! ใครเสียหาย ดำเนินคดีได้ ยินดีเป็นพยานให้

เมื่อวานนี้ (4 ธ.ค. 67) นายเกิดผล แก้วเกิด ทนายความชื่อดัง  โพสต์เฟซบุ๊กระบุข้อความว่า …

ใน tiktok มีคนนำข้อมูลส่วนตัวผม และ คลิปข่าวของผมไปลง โดยแอบอ้างว่าเป็นทนายเกิดผล ผมไม่ได้เป็นคนสร้าง ติ๊กต๊อก ช่องนี้  หากมีการแอบอ้างว่าเป็นผม และมีคนเสียหาย สามารถดำเนินคดีได้ และ ผมเป็นยินดีเป็นพยานให้ครับ รบกวน เพื่อนๆ ช่วยกดรายงาน ด้วยนะครับ

นอกจากนี้ได้แคปภาพช่อง TikTok ดังกล่าว พร้อมระบุข้อความอีกว่า …

บุคคลนี้แอบอ้างว่าเป็นผม และผมจะดำเนินคดีกับคนที่แอบอ้าง ฝากเพื่อนๆ ช่วยกดรายงานด้วยนะครับ

‘หนึ่ง วิทิตนันท์’ คนไทยคนแรกที่พิชิต ‘เอเวอเรสต์’ ปีนเขา!! สู้ความหนาว ร้องเพลง ‘สรรเสริญพระบารมี’ แสดงความจงรักภักดี ระลึกถึงในหลวง ร.9

(5 ธ.ค. 67) นายวิทิตนันท์ โรจนพานิช หรือ ‘หนึ่ง’ คนไทยคนแรกที่ปีนยอดเขาเอเวอเรสต์ได้สำเร็จ สร้างชื่อเสียงให้กับประเทศไทย และในวันที่ 5 ธันวาคม ของปีนี้ เขาก็มีความตั้งใจ ที่จะขึ้นไปร้องเพลง ‘สรรเสริญพระบารมี’ ให้ทั่วโลกได้รับฟัง 

เพจเฟซบุ๊ก ‘Vitidnan Rojanapanich’ ได้โพสต์คลิป ที่แสดงออกถึงความจงรักภักดี ที่มีต่อสถาบันพระมหากษัตริย์ อันเป็นศูนย์รวมจิตใจ ของคนไทยทั้งชาติ

“รอบนี้ 6,141 เมตรเหนือระดับน้ำทะเล ผมร้องเพลงไม่ไหว หมดแรงเพราะความยากและความเสื่อมถอยของร่างกาย ขอลงมาที่ระดับ 5,500 เมตร” 

“เตี้ยกว่าแต่…สะท้อนความรักเท่าเดิมและจะไม่เปลี่ยนแปลง”

ทรงพระเจริญ!!


© Copyright 2021, All rights reserved. THE STATES TIMES
Take Me Top