Sunday, 5 May 2024
Inspire

เรื่องรักนักเรียนนายร้อย ตอนที่ 7 ได้อย่าง…เสียอย่าง

>> เล่าเรื่องนักเรียนนายร้อย 
ในช่วงเทอมที่เป็นการฝึกวิชาทหาร มีวิชาที่นักเรียนนายร้อยจะเรียนเพื่อใช้ประโยชน์สำหรับการรับราชการในอนาคต และเป็นเครื่องหมายที่ติดตัวไปตลอดชีวิต คือการฝึกหลักสูตรกระโดดร่ม ในตอนปลายปีชั้นปีที่ 3 อีกหลักสูตรคือการฝึกเป็นผู้นำหน่วยทหาร หรือจู่โจมซึ่งจะฝึกในปลายปีชั้นปีที่ 4

>> ความเดิมเมื่อตอนที่แล้ว 
กรกฎและจ้ำได้ไปหาเขมมิกาและสาวิตรีที่วิทยาลัย จากนั้นก็ได้ไปทานข้าวด้วยกัน กรกฎรู้สึกมีความสุขมากอย่างบอกไม่ถูก แต่ว่า…สุเทวาดันรู้ข่าวเข้า ก็เลยอยากจะพาเขมิกาไปดูหนังบ้าง แถมยังเดินมาบอกกันซึ่งๆ หน้าอีก แบบนี้…เปิดฉากท้ารบชัดๆ

เมื่อสุเทวาบอกแบบนั้น การแข่งขันเพื่อยึดครองที่ว่างในหัวใจของเขมิกาเริ่มขึ้น และก็เป็นอย่างที่เขาพูดไว้ สุเทวาได้พาเขมิกาไปดูหนังที่เซ็นทรัล ลาดพร้าว แล้วกลับมาเล่าเรื่องไปดูหนังกับเขมิกาให้เพื่อนๆ ที่โรงเรียนฟัง

สัปดาห์ต่อมา
ที่โรงเรียนมีกิจกรรมบำเพ็ญประโยชน์ของชมรมที่ทำร่วมกับวิทยาลัยพยาบาลทุกเหล่า กิจกรรมคือ การไปเลี้ยงอาหารเด็กที่บ้านมุทิตาแถวๆ สมุทรปราการ กรกฎได้พบกับเขมิกาอีกครั้ง และไปทำกิจกรรมร่วมกัน (คือไปเลี้ยงอาหารเด็กนะครับ ผู้อ่านอย่าคิดเป็นอย่างอื่น) กรกฎชอบนะที่ได้เห็นแววตาและรอยยิ้มของเขมิกา เวลาที่เธอตักอาหารให้เด็ก

และสุเทวาก็ไม่พลาด พอรู้เรื่องที่กรกฎได้อยู่กับเขมิกา เมื่อเจอกับกรกฎก็รีบเข้ามาบอกทันที

“...อาทิตย์หน้า ผมจะชวนเขมิกาไปเที่ยวเทค เดอะพาเลซ…”

เป็นความเหมือนที่แตกต่าง ระหว่าง กรกฎและสุเทวานั้นก็คือ กรกฎชวนเขมิกาไปทำบุญ แต่สุเทวาชวนไปเที่ยว เขมิกาก็มีมารยาทซะเหลือเกิด เธอไม่ได้ปฏิเสธในน้ำใจของทั้งสองคน และเลือกที่จะไปกับทั้งสองคน แบบว่าไม่เลือกใครให้ชัดเจน

มิวสิค “...ได้อย่างก็ต้องเสียอย่าง เลือกเดินบนทางสักทางได้ไหม เลือกมาว่าจะรักใครก็อยากให้เธอตัดใจเสียที...”

ผู้อ่านพอจะจำรุ่นพี่ปี 2 ที่พาเขมิกามางานกีฬาเหล่าได้ไหม พี่คนนี้ชื่อ ‘จามินทร์’ ตอนนี้อยู่ชั้นปีที่ 4 แล้ว

จามินทร์รู้ว่า กรกฎ กับสุเทวา แย่งสาวคนเดียวกัน และก็เป็นคนเดียวกับที่เขาเคยพามาในงานกีฬาเหล่า 
ก็เลยเข้ามาคุยกบกรกฎ

“พี่เห็น น้องกับสุเทวา ขัดแย้งกันเรื่องเขมิกา พี่ว่าเป็นเพื่อนกันไม่น่าจะขัดแย้งเพราะผู้หญิงคนเดียวนะ พี่รู้จักน้องเขมิกาดีเพราะเคยทำงานชมรมค่ายอาสาด้วยกัน น้องเขาเป็นคนน่ารักอัธยาศัยดี พี่ยังชอบเลย” 

กรกฎฟังที่จามินทร์พูดก็หน้าเจื่อนลง คิดในใจ เจอคู่แข่งอีกแล้ว แต่เหมือนจามินทร์จะรู้ตัว เขาจึงหยุดไปนิดหนึ่งก่อนพูดต่อ 

“ชอบในฐานะพี่น้องนะ อย่าคิดมากน่า” พูดจบจามินทร์ก็ตบที่ไหล่ของกรกฎเบาๆ

อย่างที่เคยเล่าไว้ว่าเวลาผ่านไป 3 ปี รัฐบาลและทหารที่เดินขนานกันมาเป็นระยะเวลาหนึ่ง สายใยที่เคยผูกพันก็ขาดสะบั้นลงเมื่อวันที่ 23 กุมภาพันธ์ 2534 เกิดการปฏิวัติในนาม รสช. ที่เล่าให้ฟังคือแค่เปรียบเทียบช่วงเวลาเท่านั้นครับ

ในช่วงนั้นผมเรียนปี 3 แล้วและกำลังจะขึ้นปี 4 ผมต้องไปเรียนที่ลพบุรีในหลักสูตรกระโดดร่ม การเรียนเป็นระยะเวลาประมาณเดือนกว่าๆ 

ส่วนกรกฎก็ส่งจดหมายไปขอกำลังใจจากเขมิกา โดยได้ส่งรูปหล่อๆ ของเขาในชุดฝึกใส่หมวกเหล็ก ติดร่มที่ด้านหลังไปให้เธอด้วย

ส่วนเขมิกาก็ส่งรูปกลับมาเป็นรูปถ่ายคู่ในงานกิจกรรมวันเลี้ยงเด็กที่บ้านมุทิตา และพร้อมอวยพรให้กำลังใจ…กรกฎมีความสุขและมีกำลังใจมาก 

อ่าา…ผมไม่ได้เล่าถึงจ้ำเลย ผู้อ่านน่าจะคิดถึงกันพอสมควร

จ้ำนั้นมีความสุขกับสาวิตรี แบบสบายๆ ไร้คู่แข่ง ทั้งสองคิดไกลและวางแผนอนาคตร่วมกันว่าหลังจากสาวิตรีจบแล้ว 1 ปีก็พอดีที่จ้ำจบแล้วและจะแต่งงานกัน (นักศึกษาพยาบาลเรียน 4 ปี ส่วนนักเรียนนายร้อยเรียน 5 ปีครับ)

ถือว่าเป็นเรื่องที่ดี ที่พวกเราผ่านการฝึกหลักสูตรกระโดดร่มและปลอดภัยทุกคน

เรื่องรักนักเรียนนายร้อย ตอนที่ 8 จดหมายตัดรัก

>> ความเดิมเมื่อตอนที่แล้ว 
ความรักของกรกฎกำลังไปด้วยดี ติดเพียงแค่มีสุเทวาคอยจ้องหาจังหวะเข้าหาเขมิกาตลอด 

>> พูดคุย
เรื่องเล่าชีวิตนักเรียนนายร้อยเมื่อเรียนจบชั้นปีที่ 5 แล้วก็จะติดยศ ว่าที่ร้อยตรี จากนั้นก็จะไปรับราชการในหน่วยทหารต่างๆ ทั่วประเทศ จนเมื่อมีการโปรดเกล้าฯ ให้เข้าพิธีรับพระราชทานกระบี่ ก็จะกลับเข้ามาทำพิธีดังกล่าว

ตอนนี้กรกฎและจ้ำขึ้นชั้นปีที่ 4 แล้ว เหลืออีก 1 ปีเท่านั้นก็จะเรียนจบ

...แม้เวลาจะผ่านไปหลายปี แต่กรกฎเล่าให้ผมฟังว่า เขาจำวันนี้วันที่ 5 ธันวาคม 2534 ได้แม่นยำราวกับเหตุการณ์เพิ่งจะเกิดขึ้นเมื่อวาน เพราะว่า เป็นครั้งสุดท้ายที่เขาจะได้พบกับเขมิกาในใบหน้าที่เต็มไปด้วยรอยยิ้ม...

หลังจากนี้ เหตุการณ์ทุกอย่างก็เปลี่ยนไป...

วันหนึ่ง พี่จามินทร์ รุ่นพี่ปีที่ 5 เรียกกรกฎเข้าไปพบในห้อง กรกฎรู้สึกผิดสังเกต เพราะปกติแล้วนักเรียนนายร้อยถูกเรียกไปพบมักเป็นเรื่องไม่ค่อยดี 

เมื่อกรกฎเข้าไป พี่จามินทร์ก็พูดกับกรกฎทันที

“น้องมีอะไรกับเขมิกาหรือเปล่า”

พี่จามินทร์พูดพร้อมชูจดหมายให้ดู 

“เขมิกา เขียนมาตัดพ้อต่อว่าน้องและส่งรูปของน้องมาในซองด้วย...”

กรกฎใจหายวาบ แต่ก็รีบตอบพี่จามินทร์ไป

“ไม่ทราบเหมือนกันครับ ผมยังไม่ได้อ่านจดหมายเลยครับ”

พี่จามินทร์ยื่นจดหมายให้พร้อมพูดปลอบ

"อย่าเพิ่งคิดอะไรไปมากนะ ค่อยหาวิธีแก้ปัญหากัน”

“ขอบคุณครับ” กรกฎตอบ พร้อมรับจดหมายแล้วรีบกลับมาที่ห้อง

พอมาถึงห้อง เขารีบเปิดอ่านจดหมายทันที

เนื้อความในจดหมาย บอกว่า

“สุเทวาเป็นคนไม่ดี ด่าว่าเพื่อนของเขมิกา และเอาเรื่องของเพื่อนเขมิกาไปเล่าในทางเสียหาย ทำให้พวกเขมิกาไม่สามารถรับได้ และในอนาคตต่อไปหากกรกฎและเขมิกาคบกันไปวันหนึ่งก็ต้องเจอกับสุเทวา ซื่งเป็นเพื่อนรุ่นเดียวกัน จะทำให้มองหน้ากันไม่ติด ดังนั้นเราควรเลิกติดต่อกัน” (อ้าว แล้วมันเกี่ยวอะไรกับกรกฎด้วย)

นอกจากนี้ เขมิกายังส่งรูปถ่ายที่กรกฎเคยส่งไปให้ รวมถึงตัดภาพที่เคยถ่ายคู่กับเขมิกาออกไป เหลือเพียงภาพของกรกฎคืนมาเท่านั้น กรกฎมองรูปที่ขาดออกเหมือนหัวใจเขาถูกฉีกออกเช่นกัน (มันปวดร้าว)

เรื่องรักนักเรียนนายร้อย ตอนที่ 9 อยากให้มันมีปาฏิหาริย์

>> พูดคุย
เรื่องเล่าชีวิตนักเรียนนายร้อย เมื่อเรียนจบจะมีพิธีโยนกระเป๋า เป็นพิธีสุดท้าย ซึ่งเป็นการแสดงออกว่าจะไม่มีการเรียนในโรงเรียนนายร้อยอีกต่อไป...

>> ความเดิมเมื่อตอนที่แล้ว
กรกฎอกหักและเศร้าเป็นอย่างมาก เมื่อเขมิกาเขียนจดหมายมาตัดความสัมพันธ์ เขาเอาแต่คิดหาวิธีที่จะได้กลับไปคุยกับเขมิกาเหมือนเดิม แต่ว่า...ความหวังมันริบหรี่จริงๆ 

หลังจากได้รับจดหมายตัดสัมพันธ์ได้ไม่นานนัก ก็มีกิจกรรมนอกโรงเรียนอีกครั้ง อาจารย์ให้ไปช่วยจัดแถวให้นักเรียนนักศึกษาพยาบาลเหล่าทัพในการแข่งขันกีฬา พอรู้แบบนี้ กรกฎก็รีบคว้าโอกาสไว้ จึงสมัครไปทำงานทันที

งานนี้จัดที่สนามกีฬาศุภชลาสัย ที่ๆ นักเรียนนายร้อยคุ้นเคยเป็นอย่างดี

...ด้านหลังสนามศุภฯ บริเวณลานจอดรถ นักเรียนนายร้อยที่มาช่วยงานแต่งชุดวอร์มสีดำ แถบเหลืองแดง ยืนล้อมเป็นวงกลมเพื่อฟังคำชี้แจงการทำงานจากอาจารย์ หลังจากอาจารย์แบ่งมอบงานจบแล้ว 
ก็เป็นการประสานงานระหว่างสตาฟฟ์ของนักศึกษาวิทยาลัยพยาบาลตำรวจ

เหมือนมีปาฎิหาริย์กลุ่มสตาฟฟ์นั้นมีเขมิการวมอยู่ด้วย เธอเดินเข้ามาประสานงานกับกลุ่มของกรกฎ นี่คือปาฏิหาริย์ครั้งที่หนึ่ง

กรกฎหวังว่าจะได้พูดคุยทำความเข้าใจกับเขมิกา หวังให้มีปาฎิหาริย์ครั้งที่สอง 

ปาฏิหาริย์ครั้งที่สามที่หวังคือจะได้ปรับความเข้าใจกับเขมิกา

แต่ผิดคาด เขมิกามาในชุดวอร์มใบหน้าของเธอเรียบเฉย ไม่มีรอยยิ้ม และแววตาของเธอไม่เป็นประกายสดใสเหมือนเก่า

“สวัสดีครับ ผมจะขอคุยด้วยเป็นการส่วนตัวได้ไหมครับ” กรกฎพูดในจังหวะที่คุยงานจบแล้ว

“เราไม่มีอะไรต้องคุยกัน ทุกอย่างจบแล้ว” เขมิกาพูดด้วยเสียงเรียบ แม้น้ำเสียงพูดนั้นไม่ใช่มีดแต่มันบาดลึกไปในใจของกรกฎ ตามด้วยคำพูดสั้นๆ ว่า

“แค่นี้นะ”

ถึงตอนนี้กรกฎรู้แล้วว่า ปาฏิหาริย์ครั้งที่สามนั้นไม่มีจริง เขาทำได้แค่ปล่อยให้เขมิกาเดินจากไป...

กรกฎทำงานตามที่ได้รับมอบ ตอนนี้เขามองไม่เห็นใครเลย แม้จะมีนักเรียนพยาบาลเป็นพันคนในสนามศุภฯ แต่สายตาของเขามองหาแต่เขมิกาเพียงคนเดียวเท่านั้น

กรกฎต้องหอบใจช้ำๆ ของเขากลับมาที่โรงเรียน ไม่ว่าจะทำอะไร เขาก็คิดถึงแต่เขมิกา ยิ่งคิดถึงยิ่งเศร้า และเมื่อยิ่งเศร้าก็ยิ่งคิดถึง วนอยู่แบบนี้

...เขาภาวนาให้มีปาฏิหาริย์อีกสักครั้ง ถึงแม้ว่ามันจะน้อยมากๆ ก็ตาม

มิวสิค “~เก็บเธอไว้ ข้างในจนลึกสุดใจ ได้คิดถึงเธอทุกคราว ~ เมื่อวันที่เหงาจับใจ ไม่มีใคร ฉันยังมีเธอ~”

เรื่องรักนักเรียนนายร้อย ตอนที่ 10 เก็บเธอไว้ ข้างในจนลึกสุดใจ (อวสาน)

>> พูดคุย
ที่โรงเรียนนายร้อยจะมีคำกลอนที่ติดไว้ที่ผนังของโรงเรียนว่า ‘เรียน รัก รู้ รบ เจนจบ หมดสิ้น คืออัศวิน จปร.’ เป็นคำที่นักเรียนนายร้อยทุกคนสามารถท่องได้ โดยคำแปลแบบสรุปว่า เรียนจบจากโรงเรียนนายร้อยแล้วต้องรู้ทุกเรื่อง

>> ความเดิมเมื่อตอนที่แล้ว
กรกฎได้มีโอกาสเจอเขมิการะหว่างไปทำกิจกรรมที่สนามศุภชลาสัย ทว่า เขาไม่มีโอกาสได้คุยกับเธอได้มากอย่างที่ใจหวัง และเขมิกาก็ไม่มีทีท่าว่าจะยอมคุยด้วย นั่นจึงทำให้กรกฎรู้ว่า…ปาฏิหาริย์ไม่มีจริง

เวลาผ่านไป กรกฎและเพื่อน ๆ ก็ขึ้นปีห้า กันแล้ว เวลาผ่านไปไวเหมือนโกหกเลย ในขณะเดียวกันเขมิกากับสาวิตรีก็เรียนจบแล้วและกำลังจะรับพระราชทานปริญญาบัตร

ดังคำเขาว่า เวลาจะเยียวยาทุกอย่างเอง ตอนนี้ความเศร้าเสียใจจากอาการอกหักของกรกฎ ค่อย ๆ เลือนหายไป เขาไม่ได้คิดถึงเขมิกาจนกินไม่ได้นอนไม่หลับอีกแล้ว กรกฎกลับมาใช้ชีวิตปกติเหมือนตอนที่ไม่รู้จักเขมิกาได้แล้ว

ที่ห้องนอนของนักเรียนนายร้อย 

จ้ำเดินเข้ามาหากรกฎพร้อมกับเอ่ยถาม

“กบ เอ้ย กรกฎ จะฝากอะไรไปให้เขมิกาไหม พอดีอาทิตย์นี้เพื่อนจะไปงานรับปริญญาสาวิตรีนะ น่าจะได้เจอกันแน่ๆ อยากฝากอะไรไหม?”

พอได้ฟังแบบนั้น กรกฎก็บอกกลับไปว่า “ฝากให้ช่วยซื้อดอกกุหลาบสีเหลืองให้เธอหนึ่งช่อ และบอกว่าจากกรกฎ”

จ้ำได้ยินแบบนั้นก็เอียงคอถามด้วยความสงสัย “มีความหมายอะไรหรือเปล่าวะ สีเหลืองเนี่ย?” 

กรกฎนิ่งไม่ตอบ จ้ำจึงเอ่ยถึงความหมายของสีดอกกุหลาบตามที่เขารู้มา

“แบบว่ากุหลาบสีดำรักอมตะ กุหลาบสีขาวรักบริสุทธิ์…”

พอเห็นเพื่อนกำลังจะร่ายยาว กรกฎก็รีบตัดบททันที

“ไม่มีอะไร พอดีเพื่อนเกิดวันจันทร์ ก็วันจันทร์สีเหลืองไง” เหมือนจ้ำจะไม่เชื่อในสิ่งที่กรกฎบอก ไม่ใช่ไม่เชื่อว่าเกิดวันจันทร์ แต่ไม่เชื่อว่าความหมายของดอกกุหลาบสีเหลืองจะมีแค่นี้ต่างหาก แต่ว่าจ้ำก็ไม่ได้ถามเซ้าซี้ต่อ เพราะรู้ทั้งรู้ว่ากรกฎอกหักมา และกลัวว่าจะยังทำใจไม่ได้

แค่พูดถึงเขมิกาได้ด้วยท่าทางปกติ ก็ถือว่าเก่งแล้ว

“กับสาวิตรีเป็นอย่างไรบ้าง?” ห้องเงียบได้ไม่นาน กรกฎก็ถามจ้ำกลับบ้าน จ้ำยกยิ้มกว้างก่อนจะเอ่ยบอก

“ก็ดีนะ เราวางแผนจะแต่งงานกัน ตอนนี้ก็ไปดูที่แถวคลองสามไว้ จะซื้อร่วมกัน แล้วตอนนี้เราก็ฝากเงินในธนาคารใช้ชื่อร่วมกัน…” จ้ำเล่าด้วยท่าทางที่มีความสุขแบบสุดๆ ไม่แปลกหากจะมีความสุขขนาดนี้เพราะจ้ำก็ฝันเอาไว้เยอะว่าจะไปได้ด้วยดีกับสาวิตรี ซึ่งพอได้ยินแบบนั้นกรกฎก็ยกยิ้มแสดงความยินดีกับเพื่อน

เพื่อนได้ดี…เราต้องดีใจด้วย

แต่อย่างที่เรารู้กัน และมันคือสัจธรรมของโลกใบนี้ ไม่ใช่ทุกคนที่จะสมหวัง

กรกฎเองก็เช่นกัน แม้จะชอบเขมิกาขนาดไหน หรือเขมิกาจะเป็นรักแรกและรักเดียวของเขา แต่ก็ไม่ได้สมหวังอย่างที่ใจนึก แต่กรกฎก็รู้สึกดีนะที่ช่วงเวลาหนึ่งในชีวิตเขา เขาได้รู้จักเขมิกาและเธอก็ทำให้โลกทั้งใบของกรกฎเป็นสีชมพู

แค่ช่วงเดียว…ก็ดีใจ

สิ่งที่เขมิกาคิดและพูดอาจจะถูกต้องก็ได้ การที่เธอไม่อยากคบกับกรกฎเพราะเธอไม่ต้องการเจอหน้าสุเทวาอีก เธอรู้อยู่เต็มอกว่าหากคบกับกรกฎต่อไป เธอต้องเจอสุเทวา และถึงแม้ทั้งคู่ดูจะเป็นเพื่อนที่ไม่ถูกหน้าชะตากัน แต่เพราะเรียนด้วยกัน ชั้นปีเดียวกัน วันไหนสักวันก็คงต้องกลับไปคบกันเหมือนเดิมนั่นแหละ

เขมิกาคิดถูกจริงๆ

เพราะหลังจากที่กรกฎไม่ได้ติดต่อกับเขมิกาแล้ว ชีวิตเขาก็วนเวียนอยู่แค่ในโรงเรียน และสุดท้าย กรกฎและสุเทวาก็กลับมาเป็นเพื่อนกัน เพราะทั้งคู่ไม่ได้เป็นคู่แข่งหัวใจกันอีกแล้ว และเมื่อเวลาผ่านไป แล้วได้ลองย้อนกลับมานึกดู ทั้งกรกฎและสุเทวาก็อาจจะหัวเราะให้กับสิ่งที่เคยทำลงไปก็ได้

มิวสิก “ด้วยเหตุและผลที่มีมากมาย…เก็บเธอไว้ข้างในจนลึกสุดใจ ได้คิดถึงเธอทุกคราว…”

เพลงนี้ กรกฎขอมอบให้เขมิกา…

อวสาน

น้ำใจจากชุมชน ความดีงามแห่งสยาม ปันทุกข์เพื่อคนยากช่วยคนอิ่มท้อง จนแม้แต่ WHO ยังชื่นชม

ส่วนหนึ่งจากงานวิจัย ‘ตู้ปันสุข: วิถีปกติใหม่ ยุคโควิด-19’ ของ ‘อุษณีย์ พรหมศรียา’ กับ ‘อัปสร อีซอ’ จากมหาวิทยาลัยราชภัฏยะลา ระบุว่า “...การแพร่ระบาดของไวรัสโควิด-19 ก่อให้เกิดปัญหาทั้งทางเศรษฐกิจและสังคม อีกทั้งมาตรการปิดเมือง หรือ ล็อคดาวน์ (Lockdown) การหยุดกิจกรรมต่าง ๆ ทำให้มีคนจำนวนมากต้องขาดรายได้ หรือตกงาน ส่งผลต่อการใช้ชีวิตที่ยากลำบาก”

“...มีรูปแบบการช่วยเหลือซึ่งได้รับความนิยม คือ 'โครงการตู้ปันสุข’ ที่มุ่งช่วยเหลือคนในชุมชน ด้วยการให้คนที่มีกำลังช่วยเหลือ ร่วมแบ่งปันของต่าง ๆ นำมาใส่เอาไว้ให้กับคนที่ต้องการมาเปิดตู้กับข้าวนี้ เพื่อไปหยิบใช้ได้ฟรี โดยมุ่งหวังช่วยเหลือผู้คนที่เดือดร้อนให้ผ่านวิกฤตจากโควิด-19 ไปด้วยกัน”

จะมีสักกี่ประเทศบนโลกซึ่งผ่านเผชิญหน้ากับเชื้อมหันตภัยไวรัสเดียวกัน โดยมีสิ่งซึ่งเรียกว่า 'ตู้ปันสุข' เช่นไทยเรา สิ่งนี้คือความดีงามของน้ำใจ แม้ผู้ให้ไม่เคยรู้จักกันกับผู้รับมาก่อน ความเอื้อเฟื้อเผื่อแผ่อันมีมาแต่โบราณ ถูกส่งต่อมายังยุคปัจจุบัน อย่างที่ใครหน้าไหนก็ 'ด้อยค่า' ลงมิได้ นี่คือแนวคิดแบบ "หยิบใส่ตู้อิ่มใจ หยิบออกไปอิ่มท้อง" อย่างไทยแท้ คือเอกลักษณ์ที่องค์กรระดับโลก WHO ยังต้องสรรเสริญสดุดี

ฝนหลวงพระราชทาน ‘ดับไฟ-ดับฝุ่น-ดับทุกข์’ ‘คิด-ทดลอง’ ซ้ำๆ ก่อนคนไทยได้รับประโยชน์

ท่ามกลางละอองฝุ่นควันมลพิษ PM 2.5 ปกคลุมจนคล้ายกับอาเพศ 'หมอกมุงเมือง' สะสมตั้งแต่ต้นปี พ.ศ. 2566 ไล่เรื่อยตั้งแต่ภาคเหนือ, ตะวันออกเฉียงเหนือ, ภาคกลางตอนบน และวิกฤติสุดหยุด ณ กรุงเทพมหานคร โดยรอยต่อปลายเดือนมกราคมขึ้นกุมภาพันธ์ พบว่าภาพรวมปริมาณ PM 2.5 ในประเทศเกินค่ามาตรฐาน จนน่าเป็นห่วงปนวิตกต่อสุขภาพทางเดินหายใจประชาชนอย่างยิ่ง

รอคอยกันไปมาจนถึงเวลา 'นักรบฝนหลวง' ต้องออกมากอบกู้สถานการณ์

นอกเหนือจาก 'ฝนหลวง' จะช่วยป้องกัน แก้ไขปัญหาภัยแล้ง ช่วยเติมน้ำให้เขื่อนและอ่างเก็บน้ำ สร้างความชุ่มชื้น ลดไฟป่า แถมยับยั้งการเกิดลูกเห็บได้ผลแล้ว 'ฝนหลวง' ยังช่วยสลายหมอกควัน ลดมลพิษทั้งทางน้ำและในอากาศอีกด้วย

ปริมาณฝนซึ่งตกทั่วกรุงเทพฯ และรอบเขตปริมณฑลช่วงนี้ (5 - 9 กุมภาพันธ์) มีที่มาจากการขึ้นทำฝนหลวงบริเวณอำเภอบ้านบึง จังหวัดชลบุรี โดยมีจุดมุ่งหมายเพื่อให้น้ำฝนตกใกล้พื้นที่เมืองหลวงมากที่สุด ด้วยไม่สามารถปฏิบัติการทำฝนหลวงในกรุงเทพฯ ได้ เพราะติดข้อจำกัดทางการบิน

ต่อมา 'กรมฝนหลวง' จะดำเนินการ 'ฝนเร่งด่วน' ต่อเนื่องติดต่อถึงห้าวัน โดยตั้งหน่วยเฉพาะกิจเพื่อแก้ปัญหาฝุ่น PM 2.5 ขึ้นเฉพาะ เน้นพื้นที่ภาคเหนือ, ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ, ภาคตะวันออก, ภาคกลาง ซึ่งพบว่ามีมวลความกดอากาศสูงแผ่ลงมา ทำให้มีความชื้นสัมพัทธ์เกินกว่า 40 - 50% เอื้อต่อการก่อมวลเมฆได้ผลดี บวกกับสภาพลมช่วยพัดพาเมฆฝนมาตกบนพื้นที่เป้าหมาย

ปัญหาฝุ่นละออง PM 2.5 ที่คนกรุงเทพฯ ต้องเผชิญตลอดสองเดือนที่ผ่านมา ส่วนใหญ่เกิดจากการเผาผลผลิตเหลือใช้ทางเกษตรจำนวนมากของประเทศเพื่อนบ้าน ประกอบกับแนวกระแสลมพัดพาเข้ามายังไทยเพิ่มขึ้น คือปัจจัยหลักของปริมาณฝุ่นละอองมลพิษเพิ่มสูง มากกว่าฝุ่นมลพิษที่เกิดจากไทยเราเอง แต่ด้วยการช่วยให้ฝนตกลงมาจะช่วยซับละอองหมอกควันในอากาศจนเจือจางลง

ต่างชาติยอมรับ ผ่าโมเดลเศรษฐกิจประเทศไทยในช่วงโควิด แบบอย่างความสำเร็จ ที่ถูกเผยแพร่ไปทั่วโลก

'ยูเอ็น' ยก 'โมเดลความสำเร็จของประเทศไทย' เป็นแบบอย่างที่ประสบความสำเร็จในการสร้างชาติ และมีการนำรายละเอียดไปเผยแพร่ต่อประชาคมโลก

ประวัติศาสตร์การส่งออกไทย ปี 65 กันสักเล็กน้อย ชาติไทยเรามีตัวเลขบวก 5.5% คิดเป็นมูลค่าก็เฉียด 10 ล้านล้านบาท

สำนักข่าว 'Bloomberg' ประกาศให้ไทยอันดับ 1 ประเทศแนวโน้มจะเป็นตลาดเกิดใหม่ (Emerging Market) ที่มีภาพรวมทางเศรษฐกิจดีที่สุดในปี 2564

ฝ่าวิกฤตสร้างเงินเข้าประเทศ ตั้งเป้าส่งออก 2566 บวก 1 - 2% เผยผ่านค้าชายแดนปี 65 ร่วม 1,029,837 ล้านบาท!

*** ที่ยกมาข้างต้น คือ สรุปข่าวจากสื่อชั้นนำทั่วโลกที่กล่าวถึงไทย

ถึงวันนี้เป็นที่ยอมรับกันว่า ปัจจัยโดดเด่นของไทยยังคงเป็น 'เศรษฐกิจมหภาคที่มีเสถียรภาพ' รวมถึงภาคการเงินอันเข้มแข็ง และสวัสดิการด้านสุขภาพที่ดี ซึ่งประชากรส่วนใหญ่ของประเทศสามารถเข้าถึง นั่นคือ 3 เหตุผลหลัก ซึ่งทำให้บ้านเรายังคงมีกำลังการผลิตสูงตลอดมา ทั้งภาคเกษตรกรรมและอุตสาหกรรม โดยสามารถอธิบายง่ายๆ ว่า "แม้ขณะที่ผู้คนหลบอยู่ในบ้าน ไร้ซึ่งการพบปะสังสรรค์ทั้งระดับท้องถิ่นและนานาชาติ แต่การบริโภคกลับไม่เคยลดลง" เพราะฉะนั้นการส่งออก โดยเฉพาะด้านเกษตรกรรม จึงเติบโตฉุดภาพรวมพลิกฟื้นยืนขึ้นอย่างสง่างาม

องค์การการค้าโลก (WTO) ทำรายงาน 'Trade Policy Review' สำหรับไทยบนฐานะสมาชิกฯ โดยเนื้อหาส่วนหนึ่งระบุ "...ประเทศไทยช่วง 5 ปี (พ.ศ. 2558 - 2562) มีอัตราขยายตัวเศรษฐกิจเฉลี่ยปีละ 3.4% ปัจจัยหลักมาจากการบริโภคภาคเอกชนและการส่งออก และยังมีโครงสร้างของภาคบริการ ซึ่งรวมถึงการก่อสร้าง ในสัดส่วนถึง 61% ต่อจีดีพี ซึ่งเพิ่มขึ้นจากปี 2558 ที่ 58%

และว่า “...ฐานะทางการคลังของไทยมีทุนสำรองระหว่างประเทศสูงถึง 224.3 พันล้านดอลลาร์ เมื่อสิ้นปี 2562 ซึ่งเป็นแรงกดดันต่อค่าเงินบาทแข็งค่า และกดดันต่อขีดแข่งขันการค้าระหว่างประเทศ แม้เงินบาทอ่อนค่าลงช่วงต้นปี จากการระบาดโควิดก็ตาม" พร้อมยังยกย่องรัฐบาลภายใต้การนำของพลเอก ประยุทธ์ จันทร์โอชา ว่า “...ต้องขอบคุณรัฐบาลไทยที่เคร่งครัดต่อสุขภาพทางการคลังตลอดเวลาที่ผ่านมา มีการออกกฎหมายว่าด้วยความรับผิดชอบทางการคลัง หรือ Fiscal Responsibility Act (FRA) ซึ่งเข้มงวดเรื่องเป้าหมายหนี้ การใช้งบประมาณ และการลงทุนต่างๆ”

หันมาดูสถานะการส่งออกเดือนในเดือนธันวาคม พ.ศ. 2565 ที่หมวดสินค้าเกษตร นำเม็ดเงินเข้าประเทศถึง 72,992 ล้านบาท โดยภาพรวมของสินค้าขยายตัวดี ได้แก่ ไก่สด (ทั้งแช่เย็น - แช่แข็ง) สับปะรดสด ทุเรียนสด (เฉพาะทุเรียนขายได้ 8,016 ล้านบาท แม้ผลผลิตจะน้อยกว่าปี 2564 เพราะฝนตกชุก)

ส่องมาตรการช่วยเหลือยามโควิด19 ระบาด คำสัญญาว่า “เราจะไม่ทิ้งใครไว้ข้างหลัง” จากบิ๊กตู่

ด้วยคำยืนยันจากปากของนายกรัฐมนตรีที่ชื่อ 'ประยุทธ์ จันทร์โอชา' ว่า "เราจะไม่ทิ้งใครไว้ข้างหลัง" ซึ่งคือคำสัญญาอย่างดีที่มีต่อประชาชนชาวไทย โดยเห็นเป็นรูปธรรมที่สุดผ่านนโยบายต่าง ๆ ท่ามกลางวิกฤต ทั้งหมดทั้งมวลก็เพื่อกระตุ้นเศรษฐกิจภายในประเทศ โดยไม่เคยทิ้งใครไว้ข้างหลังจริง ๆ อย่างที่ลั่นวาจา

โดยอาจสรุปย่อ ๆ ได้ดังนี้ มาตรการดูแลค่าเสี่ยงภัยให้บุคลากรทางการแพทย์ 20,000 เยียวยาผู้ประกอบการต่าง ๆ ด้วยสินเชื่อดอกเบี้ยต่ำ มาตรการดูแลเยียวยาอาชีพอิสระที่ไม่ได้อยู่ในระบบประกันสังคม เช่น แรงงานนอกระบบประกันสังคม 16 ล้านคน ชดเชยรายได้เกษตรกร 10 ล้านคน เยียวยากลุ่มเปราะบาง 6.8 ล้านคน รวมถึงกลุ่มผู้ไม่ได้รับการเยียวยาใด ๆ อีก 1.16 ล้านคน

เฉพาะยอดรวมงบประมาณการดูแลและเยียวยา (รอบสอง) ก็ได้ใช้จ่ายเพื่อ 'ไม่ทิ้งใครไว้ข้างหลัง' ไปถึง 455,956 ล้านบาท ช่วยเหลือแรงงานคนไทยได้เกือบ 34 ล้านคน หรือมากกว่า 50% ของประชากรทั้งประเทศ พร้อมกับปล่อยสินเชื่อฉุกเฉิน สินเชื่อพิเศษ สินเชื่อเพิ่มสภาพคล่องฯ รวมถึงการยืดชำระ ลดหย่อน ยกเว้นภาษีแทบทุกรูปแบบ คิดเป็นรายได้ที่รัฐต้องแบกรับเกินกว่าสามพันล้านบาท

ไทยเราบอบช้ำกับการระบาดรอบสองอย่างแสนสาหัสที่สุด

กล่าวโดยย่อ คือ รัฐบาลใช้เงินจำนวนมหาศาลมากกว่า 2.8 ล้านล้านบาท ในช่วงเวลา 1 ปีที่ผ่านมา เพื่อดูแลความเดือดร้อนไม่ให้ตกอยู่กับประชาชนจนมากเกินไปนั่นเอง

หากพวกอยู่ไม่สุขอยากทราบว่างบประมาณเท่านี้ซื้อเรือดำน้ำได้กี่ลำ? ก็อยากให้ลองเอาตัวเลข 11,250 ล้านบาทหารดู โดยที่ไทยยังติดอยู่ใน 4 ประเทศอาเซียนที่ยัง 'ไม่มีเรือดำน้ำ' เหมือนกับฟิลิปปินส์ กัมพูชา และลาว แต่ยังรักษาแสนยานุภาพทางทหาร เป็นลำดับสามของภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้

11 ต.ค.2564 'ไทย' การประกาศชัยชนะเหนือโควิด พร้อมรับนักท่องเที่ยวเข้าประเทศโดยไม่ต้องกักตัว

ถ้าปักหมุดที่ 20 มกราคม พ.ศ. 2563 คือจุดเริ่มต้นเผชิญหน้ากับโควิด-19 ในประเทศไทย วันที่ 11 ตุลาคม พ.ศ. 2564 จึงอาจถือเป็นเส้นชัยสำคัญต่อการประกาศชัยชนะต่อเชื้อโรคระบาดที่ปกคลุมทั่วราชอาณาจักรผืนนี้ก็ได้

"...หากไม่นับช่วงศึกสงคราม นี่ถือเป็นความท้าทายครั้งยิ่งใหญ่ที่สุดในประวัติศาสตร์ชาติไทย จากการแพร่ระบาดของโควิด-19" คือบทขึ้นต้นของแถลงการณ์นายกรัฐมนตรี - เพื่อเปิดรับนักท่องเที่ยวเข้าประเทศโดยไม่ต้องกักตัว ณ ไตรมาสสุดท้ายของปีที่ผ่านมา

เพราะเหตุใด? ผู้นำรัฐบาลจึงเลือกทางเสี่ยงรับนักท่องเที่ยวเข้าสู่ประตูเมือง ทั้งที่ยังมีโอกาสสูงที่พวกเขาอาจมาพร้อมเชื้อสายพันธุ์ใหม่ ๆ จนเกิดแพร่ระบาดใหญ่บนแผ่นดินไทยอีกระลอก

ด้วยข้อมูลท่องเที่ยวของ 'Global Travel' ซึ่งระบุว่าปี 2019 ไทยมีรายได้จากการท่องเที่ยวรวม 3.06 ล้านล้านบาท หรือคิดเป็น 20% ของมูลค่าเศรษฐกิจทั้งประเทศ นั่นคือวิสัชนาอันชัดเจน

จริงอยู่ที่ไทยเราเป็นประเทศผลิตและส่งออกอาหารแหล่งสำคัญของโลก ที่ถึงแม้ปิดตายประเทศ ปิดการส่งออกทุกด่านชายแดนและน่านฟ้า เราคนไทยก็ยังสามารถดำรงชีพอยู่ร่วมกันได้อีกหลายปี หรืออาจตลอดกาลนาน แต่เราก็จำเป็นต้องพึ่งพิงเม็ดเงินจากต่างแดนเข้ามาพัฒนาต่อยอดในรูปของการท่องเที่ยวมานานเนิ่นเฉกเช่นเดียวกัน

ถึงเป็นมาตการ 'กินบุญเก่า' อันมีบรรพบุรุษรุ่นก่อนสร้างสมไว้ให้จนเกิด 'อัตลักษณ์' ซึ่งต่อยอดสู่ 'ซอฟท์ พาวเวอร์' (Soft Power) ผ่านการโฆษณาขายอย่างมีกุศโลบายที่แบยบยลอีกทีหนึ่ง

ก่อนเกิดการแพร่ระบาดของโควิด-19 ไทยเคยมีนักท่องเที่ยวต่างชาติเดินทางหมุนเวียนถึง 40 ล้านคนต่อปี จากหลากหลายสัญชาติ โดยแต่ละสัญชาติล้วนมีพฤติกรรมใช้จ่ายต่างกันไป นักท่องเที่ยวชาวจีนผู้มักมาเป็นกลุ่มใหญ่ (ทัวริ่งกรุ๊ป) พกเงินช็อปปิ้งและยอดซื้อของฝากกลับบ้านสูงกว่าชาติอื่น ๆ ขณะชาวยุโรปต้องการมาพักผ่อนหนีหนาว กลับชอบเดินทางด้วยตนเอง หรือเพียงกลุ่มเล็ก ๆ แต่กลับพักค้างอ้างแรมที่ใดที่หนึ่งเป็นระยะเวลานาน พร้อมกิน ดื่ม ท่องเที่ยวยามค่ำคืนชนิดไม่อั้นความสำราญ

ผีเสื้อโบยบิน ‘กรณีศึกษา’ แก่นแท้แห่งบุญอันยิ่งใหญ่ 1มอบโอกาสชีวิตใหม่ ผ่านการศึกษา

ว่ากันว่า บุญที่ยิ่งใหญ่ที่สุด ไม่ใช่เงินทอง หรือ สิ่งของที่มากคุณค่า หากแต่เป็น ‘องค์ความรู้ - การศึกษา’ ที่ส่งต่อให้กับใครสักคน ได้นำไปต่อยอดชีวิตในอนาคตได้ด้วยตนเอง

จากเฟซบุ๊ก Win Phromphaet ได้โพสต์เรื่องราวน่าประทับใจจากการเป็นผู้ให้แก่บุคคลท่านหนึ่ง (ไม่เอ่ยนาม) ที่เขาได้ให้การช่วยเหลือด้านทุนการศึกษา โดยในจดหมายดังกล่าวระบุความจากผู้รับความช่วยเหลือว่า...

รายงานผลการเรียนภาคเรียนที่ 1/2565

เรียน คุณวิน พรหมแพทย์

ตามที่กระผม ได้รับทุนการศึกษา ประจำปีการศึกษา 2565 จากท่าน กระผมขออนุญาตรายงานผลการศึกษาให้ท่านทราบว่า ขณะนี้กระผมได้จบการศึกษาแล้วภายในระยะเวลา 3.5 ปี ซึ่งในภาคการศึกษา (ภาค 1/2565) กระผมได้เกรดเฉลี่ย 3.30 ส่งผลให้เกรดเฉลี่ยสะสมเท่ากับ 3.12 ดังปรากฏในใบรับรองผลการศึกษาแนบ ทั้งนี้กระผมได้แนบบัญชีรายรับรายจ่ายมาพร้อมกับจดหมายฉบับนี้ด้วย

นอกจากการเรียนแล้ว กระผมใช้วลาว่างกับการค้นคว้าหาข้อมูลในด้านที่สนใจ เช่น การใช้โปรแกรมคอมพิวเตอร์ การฝึกใช้ภาษาอังกฤษ และการค้นหาอาชีพในอุตสาหกรรมที่น่าสนใจ นอกจากนี้ยังเข้าร่วมกิจกรรมของคณะ เช่น การเข้าร่วมฟังอบรมการสืบต้นฐานข้อมูลออนไลน์เพื่อการวิจัย การเข้าร่วมฟังกิจกรรมแนะแนวอาชีพ และกิจกรรมจิตอาสานอกรั้วมหาวิทยาลัย เช่น กิจกรรมปลูกป้าชายเลน เป็นต้น หลังจากจบการศึกษา กระผมมีความตั้งใจจะศึกษาต่อในระดับปริญญาโท คณะเศรษฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ เพื่อให้สามารถทำงานที่ตนเองสนใจและตรงกับสาขาที่เรียนมาในระดับที่สูงขึ้น และต้องเป็นงานที่ใช้ความรู้ที่เรียนมาพัฒนาประเทศต่อไป

กระผมขอขอบพระคุณในความอนุเคราะห์ของท่าน กระผมจะตั้งใจศึกษาล่าเรียนและปฏิบัติตนให้บรรลุเป้าหมายในชีวิตให้อย่างดีที่สุด เพื่อเป็นการตอบแทนพระคุณผู้ให้ทุนการศึกษากับกระผม เพราะครอบครัวของกระผม ซึ่งเป็นแหล่งสนับสนุนด้านการเรียนมีภาระค่าใช้จ่ายที่สูง และรายได้ที่ลดลงจากภาวะเศรษฐกิจในปัจจุบัน ส่งผลให้บิดาผู้ซึ่งหารายได้เพียงคนเดียวสนับสนุนด้านการเรียนของกระผมไม่ได้เต็มที่ อีกทั้งยังมีโรคประจำตัวเป็นโรคเบาหวาน ส่งผลต่ออาการเหนื่อยง่าย สายตาแย่ลง และพักผ่อนน้อย


TRENDING
© Copyright 2021, All rights reserved. THE STATES TIMES
Take Me Top