Wednesday, 17 April 2024
ClickonClever

อัจริยะลาออกวิศวะฯ จุฬาฯ มุ่งมั่นสร้างธุรกิจติวออนไลน์ "ณัฐชนน กำเนิดมณี" | Click on Clever EP.4

จากนักเรียน Gifted คณิตศาสตร์โรงเรียนดัง ตัวแทนโรงเรียนแข่งขันรายการ 180 iq สอบเข้าวิศวกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณมหาวิทยาลัย (ภาคอินเตอร์) ได้คะแนนเต็ม SAT เลข ฟิสิกส์และเคมี แต่ตัดสินใจลาออกหลังจากเรียนไปแค่เทอมเดียว เพราะค้นหาตัวเองเจอ และมุ่งมั่นแน่วแน่ที่จะสร้างอนาคตและธุรกิจติวออนไลน์ด้วยตัวของเขาเอง

.

.

'จุฑาเทพ จุฑานนท์' อุดมการณ์เพื่อมวลชน และอิทธิพลของนิยายจีนจึงทำให้มีวันนี้ | Click on Clever EP.5

อาชีพในฝันของใครหลายคนที่เรียนกฎหมาย อาชีพ “อัยการ” ที่ต้องแลกมาด้วยความอดทนและคราบน้ำตา

.

.

THE STUDY TIMES Special ส่งนักเรียนทุนรัฐบาลไทย เรียนต่อสหรัฐอเมริกา | Click on Clever EP.7

นักเรียนทุนศึกษาต่อต่างประเทศ!! ความฝันของเด็กๆหลายๆคน Click on Clever เทปพิเศษนี้จะพาไปดูบรรยากาศ การเดินทางไปเรียนต่อต่างประเทศของกลุ่มนักเรียนทุนรัฐบาลไทย จำนวน 35 คน

.

"เหมือนแพร กุสลานุภาพ" เด็กกิจกรรมเพื่อสังคม ใฝ่ฝันเปิดมูลนิธิพัฒนาเยาวชน | Click on Clever EP.8

ศักยภาพของเยาวชนคนหนึ่ง ส่องสว่างยิ่งขึ้นจากการทำกิจกรรมเพื่อพัฒนาตัวเอง และนำไปสู่ความมุ่งมั่นในการช่วยเหลือผู้อื่นตามมา นี่คือเรื่องราวของเธอ สาวนักกิจกรรมเพื่อสังคม ที่ใฝ่ฝันมีมูลนิธิเป็นของเธอเอง

.

.

.

.

ผอ. อายุน้อยที่สุดในประเทศไทย "เมธชนนท์ ประจวบลาภ" | Click on Clever EP.9

สุดทึ่ง ! ผู้อำนวยการสถานศึกษา อายุน้อยที่สุดในประเทศ พร้อมเป็นผู้นำในการผลักดันการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัย เพราะทักษะชีวิตคือส่วนหนึ่งของการศึกษา

.

ผู้ประกาศข่าวรุ่นใหม่ อดีตนักพูดรางวัลระดับประเทศ "ธีร์วัฒน์ ชูรัตน์" | Click on clever Ep.10

 

เปิดเคล็ดลับการพูดของผู้ประกาศข่าวรุ่นใหม่ ฝีมือไม่ธรรมดา จากประสบการณ์การแข่งขันด้านการพูดได้รับรางวัลระดับประเทศมากมาย สู่อาชีพผู้ประกาศข่าว ที่นอกจากอาศัยทักษะการพูดแล้ว ยังต้องพัฒนาตัวเองด้านอื่น ๆ ในทุก ๆ วัน

.

"พงศธร จันทร์แก้ว" นักสังคมสงเคราะห์ด้านเด็กและครอบครัว นักเรียนทุนสหภาพยุโรป | Click on Clever EP.11

เพราะมีโอกาสมากกว่าคนอื่นจึงอยากจะตอบแทนสังคมด้วยบทบาทนักสังคมสงเคราะห์ เพื่อส่งเสริมให้ทุกคนมองเพื่อนมนุษย์อย่างเข้าอกเข้าใจ

.

.

คุณพ่ออ๊อด และน้องน้ำฟ้า คุณพ่อผู้สนับสนุนลูก ให้โดดเด่นตามศักยภาพที่แท้จริง | Click on Clever EP.12

พ่อและแม่คือครูคนแรกของลูก การเรียนรู้ศักยภาพที่แท้จริงของลูก เพื่อสนับสนุนเขาให้โดดเด่นในแบบฉบับของเขา คือสิ่งสำคัญสำหรับพ่อแม่

.

.

นนร.พีรวัส ชูศักดิ์ (ลัคกี้) | Click on Clever EP.14

บทสัมภาษณ์ รายการ Click on Clever EP.14
นนร.พีรวัส ชูศักดิ์ (ลัคกี้) นักเรียนนายร้อย จปร. ได้รับทุนกองทัพบกศึกษาต่อ “West Point” สหรัฐอเมริกา โรงเรียนเตรียมทหาร ที่ดีที่สุดในโลก

เจาะลึก!!! นักเรียนทหารยุคใหม่ ที่ 1 จปร. คว้าทุนเรียนต่อ “WEST POINT” สหรัฐอเมริกา วางแผนมั่นคง ในอาชีพและการเงิน

Q: แนะนำตัวหน่อยค่ะ

A:  ผมชื่อ พีรวัส ชูศักดิ์ อายุ 18 ปี เป็นนักเรียนนายร้อย อยู่ชั้นปีที่ 1 กำลังจะไปเรียนต่อโรงเรียนนายร้อยที่อเมริกาครับ

Q: ที่ 1 สอบเข้า จปร. มีเคล็ดลับการ “สอบเข้าเตรียมทหาร” อย่างไร ?

A: เตรียมทหารจะมีการสอบทั้งหมด 4 เหล่า คือ ทหารบก ทหารเรือ ทหารอากาศ และตำรวจ ผมก็ไปสอบทั้ง 4 เหล่าเลยครับ การสอบจะมีสองรอบ รอบแรกเป็นรอบวิชาการ โดยจะคัดคนมาก่อน จากนั้นคนที่เข้าเกณฑ์จะได้เข้ามาสอบรองสอง ซึ่งเป็นรอบทดสอบร่างกาย ตอนปีผมที่สมัครก็มีมาสอบเป็นหมื่นเลยนะครับ ของทหารบกรับแค่ประมาณ 290 คน สำหรับการสอบรอบแรกจะเป็นการแยกสอบ ให้โอกาสทุกคนในการเลือกเหล่า ส่วนในรอบสองจะเลือกได้แค่เหล่าเดียว 

สอบรอบแรกเป็นรอบวิชาการ มีทั้งวิชาคณิตศาสตร์ วิทยาศาสตร์ อังกฤษ ไทย สังคม ตอนแรกผมได้ที่ 2 ครับ แต่พอมารอบทดสอบร่างกายเขาเอาคะแนนมาคิดด้วย พอรวมแล้วก็ได้ที่ 1 ของทหารบกครับ ส่วนของเหล่าอื่นในรอบวิชาการ สอบทหารอากาศได้ที่ 2 ตำรวจที่ 2 ทหารเรือที่ 7 ครับ

ข้อสอบใช้ความรู้ของ ม.ต้น และ ม.4 เพราะเขาให้เกณฑ์สอบได้ตั้งแต่ ม.4 ขึ้นไป ผมอยู่ม.4 ก็ไปสอบ ผมไปศูนย์หนังสือจุฬาฯ ไปซื้อหนังสือแนวข้อสอบเก่าๆ ของเตรียมทหารมา แล้วก็มีเรียนพิเศษที่ต่างๆ เตรียมตัวพอสมควร หลายเดือนอยู่เหมือนกัน  

ของโรงเรียนทหารจะไม่เหมือนสอบเข้าโรงเรียนต่างๆ ตรงที่มันจะมีทดสอบร่างกายด้วยครับ ซึ่งก็มีผลต่ออันดับและการสอบเข้า เหมือนเพื่อนผมคนนึงตอนสอบเข้าได้อันดับท้ายๆ ที่เขาจะเรียก แต่สุดท้ายเขาสอบเข้าได้แซงคนอื่น เพราะคะแนนร่างกายเขาได้เต็ม ระหว่างที่ผมเตรียมตัวเพื่อที่จะสอบเข้านะครับ แน่นอนว่าต้องทำโจทย์ด้านวิชาการอยู่แล้ว ทำไปเรื่อยๆ สอบถามรุ่นพี่ถึงเทคนิค และอย่าลืมเรื่องร่างกาย ผมก็วิ่งทุกวัน มีทดสอบดึงข้อ อันหลักเลย กระโดดไกล วิ่งเก็บของ ว่ายน้ำ อะไรแบบนี้ครับ

Q: ก่อนสอบ มีตารางการเตรียมตัวทั้งด้านร่างกายและวิชาการในหนึ่งวันอย่างไรบ้าง?

A: การเตรียมตัวส่วนใหญ่ผมจะทำพวกออกกำลังกายช่วงเย็น เพราะผมมีนิสัยอย่างนึงคือถ้าเหนื่อยจะไม่อยากอ่านหนังสือ ช่วงเช้าบ่ายก็จะอ่านหนังสือ ทำโจทย์เต็มที่เลย พอตอนเย็นก็ไปเน้นกับการออกกำลังกาย ต้องมี Passion ในตัวเอง อยากที่จะสอบเข้าได้ อยากที่จะทำได้ดี มันก็จะมีแรงกระตุ้นตัวเองว่าวันนี้ต้องอ่านหนังสือ วันนี้ต้องออกกำลังกาย 

แต่ผมโชคดีอย่างหนึ่งที่ครอบครัวสนับสนุน เวลาที่ผมมีความรู้สึกว่าวันนี้ไม่อยากอ่านแล้ว พ่อแม่ก็จะคอยมาปราม แต่ก็ขึ้นอยู่กับตัวเองด้วย เพราะยังไงพ่อแม่คุมเราไม่ได้ทุกเรื่องอยู่แล้ว 

Q: คำแนะนำสำหรับน้องๆ ที่อยากสอบเข้าเตรียมทหาร

A: สำหรับผมยิ่งเตรียมตัวนานยิ่งมีประโยชน์ครับ มันจะมีพวกค่ายติวต่างๆ เกี่ยวกับเตรียมทหาร พวกนี้ก็ถือว่าเป็นส่วนสำคัญ เพราะอาจารย์ที่สอนเหล่านี้เขาสอนมาหลายรุ่นแล้ว เขามีเทคนิคในการแชร์อะไรต่างๆ ให้เราประสบความสำเร็จในการสอบครับ ในการอ่านหนังสือ ส่วนใหญ่เกณฑ์คะแนนสอบวิชาวิทยาศาสตร์กับคณิตศาสตร์จะมีเปอร์เซ็นต์มากกว่าวิชาไทยสังคม ผมก็เน้นพวกนี้มากกว่า แล้วก็วิชาภาษาอังกฤษที่เรียกว่าเป็นวิชาจำเหมือนไทยสังคม แต่ให้คะแนนที่มากกว่า ก็ควรจะเน้นเรื่องภาษาอังกฤษด้วยครับ

Q: ตั้งเป้าจะชิงทุนไปเรียนต่างประเทศตั้งแต่วันแรกที่สอบติดเตรียมทหาร เล่าให้ฟังถึงความ “แน่วแน่” เรื่องนี้หน่อยค่ะ

A: จริงๆ ผมเชื่อว่าเป็นความฝันของใครหลายคนนะครับที่อยากจะไปเรียนต่อเมืองนอก พ่อผมก็เห็นแล้วว่ามันมีโอกาส จะมีทุนไหนที่ได้ไปเรียนอเมริกาฟรี แล้วก็มีเงินเดือนให้ด้วยระหว่างเรียน ไม่ใช่โอกาสที่หาง่ายๆ แล้ววิชาชีพทหารก็เป็นวิชาชีพที่คุณพ่อทำ ตอนผมเด็กๆ ครอบครัวก็อาศัยอยู่ในค่ายทหารอยู่แล้ว เป็นอาชีพที่คุ้นเคยครับ ผมก็เลยไม่มีปัญหากับเรื่องนี้เท่าไหร่ เป็นโอกาสนึงในชีวิตที่จะได้ไปเมืองนอก ถ้าเกิดมีก็ควรจะคว้าเอาไว้ และตอนสอบเข้าผมสอบได้ที่ 1 ด้วยครับ คิดว่ามีโอกาสสูงที่ผมจะได้ไป มันเป็นโอกาสอ่ะครับ

Q: เทคนิคการชิงทุนเรียนต่อ WEST POINT

A: คือต้องบอกไว้ก่อนว่า WEST POINT ไม่ได้เปิดทุกปีนะครับ ในโรงเรียนจะมีคนไทยได้แค่ 4 คน หากรุ่นผมมีคนครบ 4 คนแล้ว ถึงผมจะได้ไปเรียนอเมริกา แต่ผมต้องไปเรียนมหาวิทยาลัยทหารที่อื่น ซึ่งปีผมจะมีรุ่นพี่ที่จบ WEST POINT สองคนพอดี และรุ่นผมได้ไปอเมริกาสองคนเหมือนกัน เรียกว่าโชคดีครับที่ได้ไป แต่ไม่ใช่ว่าได้ทุนแล้วจะได้ไปนะครับ ต้องมีการทดสอบร่างกายของทางอเมริกา มีเกณฑ์คะแนนสอบ IELTS SAT รวมทั้งการเขียน Essay ถึงเขา ถึงจะได้รับคัดเลือกไป 

ในการสอบไปเมืองนอกจริงๆ ไม่ได้มีแค่อเมริกา ปีผมมี 7 ทุน คือ อเมริกา 2 ทุน เกาหลี ญี่ปุ่น เยอรมัน รัสเซีย และออสเตรเลียเกณฑ์บางปีจะแตกต่างต่างกัน ของปีผมจะเอาเกรดจากเตรียมทหารมาเป็น 50% อีก 50% แบ่งเป็นทดสอบร่างกาย 20% คะแนนวิชาการอีก 20% และสัมภาษณ์อีก 10% ครับ 

ซึ่งจะมีชาเลนจ์อย่างนึงที่เรียกว่า การสอบ ALCPT หรือ American Language Course Placement Test  เต็ม 100 คะแนน หากได้ไม่ถึง 70 คะแนน ไม่มีสิทธิ์ไปเมืองนอก แต่ถ้าเกิน 70 แต่ไม่ถึง 80 คะแนน ไม่มีโอกาสได้ไปอเมริกากับออสเตรเลีย สุดท้ายถึงอันดับจะดีแต่ถ้าคะแนนภาษาอังกฤษไม่ถึงเขาก็ไม่ให้คุณไป ผมได้ 91 คะแนนครับ 

Q: เตรียมตัวอย่างไรบ้าง ตั้งใจเรียนขนาดไหน?

A: ในการเรียนของทหารก็เหนื่อยอยู่แล้ว เพราะฝึกทุกวัน มันก็ต้องมีวินัยในตัวเองว่าเวลาเหนื่อยอย่าไปหลับในห้องเรียน เป็นปัญหาอยู่ เพราะฝึก มีวิ่ง มีออกกำลังกายทุกวัน เหนื่อยเป็นธรรมดา แล้วก็ต้องแบ่งเวลามาอ่านหนังสือเองด้วย เขาจะมีเวลาตอนกลางคืนให้อ่านหนังสือ ถ้าตั้งใจจริงๆ ก็ต้องอ่านหนังสือครับ ต้องสู้กับตัวเองทั้งด้านความเหนื่อย ความง่วง และต้องมีความตั้งใจด้วยครับ 

Q: การตั้งเป้าหมายสำคัญอย่างไร?

A: มันทำให้เราเห็นปลายทางอ่ะครับ เหมือนคนไม่มีเป้าเขาก็ไม่รู้ว่าจะตั้งใจเรียนไปเพื่ออะไรใช่ไหม อาจจะคิดแค่ว่าเรียนให้ไม่ซ้ำชั้นหรือเปล่า แล้วแต่คนครับ แต่สำหรับผมเหมือนกับนักเรียน ม.ปลายธรรมดาที่เห็นเป้าหมายก็ต้องพยายามอ่านหนังสือ พยายามกระตุ้นตัวเอง ของผมก็คล้ายๆ กัน คือผมตั้งเป้าหมายไว้ว่าอยากไปเมืองนอก ก็ไปถามรุ่นพี่ว่ามีหลักเกณฑ์ยังไง ทำคะแนนอย่างไรบ้าง ต้องเตรียมตัวทั้งด้านวิชาการและด้านร่างกาย อย่าละเลยครับ 

Q: โรงเรียนทหารสอนอะไรบ้าง?

A: ที่เห็นชัดสุดคือการพึ่งพาตัวเองครับ เพราะการไปเรียนทหารเราต้องไปอยู่ที่โรงเรียนประจำ บางเสาร์อาทิตย์ก็ไม่ได้กลับ เราอยู่ด้วยตัวเอง ไม่มีพ่อแม่ อีกเรื่องคือการมีระเบียบวินัย ซึ่งตอนปีหนึ่งทุกเช้าจะมีการตรวจโรงนอน ต้องพับผ้าห่ม ดึงเตียงให้ตึง เหมือนเป็นการฝึกให้โอเวอร์ไปเลย พอโตขึ้นมาจริงๆ มันติดเป็นนิสัย ชีวิตปกติเราก็คงไม่ตึงขนาดนั้นอยู่แล้ว แต่ก็เป็นนิสัยเรา พอเราห่างหายไปอยู่บ้าน ยังไงเราก็จัดเตียงอยู่ดี 

Q: ในฐานะเด็กรุ่นใหม่ เรียนโรงเรียนทหาร ผสมผสานความเป็นคนรุ่นใหม่กับกฎระเบียบและวิธีคิดแบบทหาร อย่างไร?

A: โรงเรียนเตรียมทหารมีการเปลี่ยนแปลงพัฒนาไปทุกรุ่น รุ่นพี่ของผมเวลาสอนอะไรเขาจะพูดเสมอว่า อะไรที่ดีก็เก็บไปคิดไว้ และให้สืบต่อรุ่นต่อไป แต่อะไรที่ไม่ดี ก็ให้เก็บไว้เหมือนกัน แต่อย่าไปทำรุ่นต่อไป ทุกคนมีข้อดีข้อเสียของตัวเองอยู่แล้ว เราก็แค่เก็บข้อดีเขามาทำต่อ เห็นข้อเสียมาก็เก็บไว้เป็นข้อคิด และไม่ไปทำต่อแค่นั้นเอง 

เรื่องที่เห็นชัดที่สุดของผม ตอนอยู่ปี 1 เตรียมทหาร โทรศัพท์คือห้ามเอาเข้ามาเลย เป็นเรื่องใหญ่พอตัว แต่พอผมมาอยู่ปี 2 เขาก็มีการอนุโลมให้น้องปี 1 ที่เข้ามาใหม่ หลังจากจบช่วงปรับตัวก็อนุญาตให้เอาเข้ามาได้ ถือเป็นการปรับตัวตามยุคสมัย เพราะถ้ายังจำกัดในเรื่องนี้อยู่ก็ค่อนข้างจะล้าสมัย

Q: งานอดิเรก ไลฟ์สไตล์ หรือความสนใจด้านอื่นๆ

A: ผมเล่นเปียโนตั้งแต่เด็ก ช่วงนี้ก็ยังฝึกบ้างให้พอเล่นได้ เพราะตั้งแต่เข้าเรียนเตรียมทหารไปผมก็ไม่ค่อยมีโอกาสเรื่องนี้เท่าไหร่ครับ พอช่วงนี้ได้กลับมาอยู่บ้านก็เล่นเปียโน ฝึกกีต้าร์นิดหน่อยครับ

Q: คาดหวังจากการไปเรียนต่างประเทศอย่างไรบ้าง?

A: คาดหวังนะครับ ปฏิเสธไม่ได้ว่าประเทศอเมริกาเจริญเป็นมหาอำนาจ ผมก็อยากจะรู้ว่า West Point มหาวิทยาลัยทหารที่ถูกเรียกว่าดีที่สุดในโลกมันเป็นยังไง แล้วสิ่งไหนที่สามารถนำมาปรับใช้กับบ้านเราได้บ้าง สามารถมาพัฒนาให้เท่าทันเขาได้ แต่ไม่ใช่เอาของเขามาหมดเลย เพราะมีความต่างกันอยู่ ต้องมาปรับใช้เอาครับ

Q: เห็นว่ามีความสนใจด้านเศรษฐศาสตร์ด้วย 

A: เป็นเรื่องตั้งแต่ตอนเด็กๆ ที่พ่อผมเป็นทหาร จะมีช่วงที่เขาตำแหน่งดีๆ เงินเดือนสูง เขาจะชอบมาบ่นว่ารู้งี้น่าเอาไปทำอะไรอย่างนั้นอย่างนี้ ให้ครอบครัวดีกว่านี้ ผมก็คิดว่าถ้าผมจะตามรอยพ่อ ผมควรจะมีความรู้เรื่องนี้บ้าง เพื่อมาจัดการด้านการเงิน จริงๆ เศรษฐศาสตร์สำคัญกับทุกอาชีพอยู่แล้ว เลยเป็นสิ่งที่น่าสนใจควบคู่กับอาชีพทหาร หรือบางทีอาจจะมีโอกาสในการทำงานในอนาคต ก็ยังไม่แน่ใจเหมือนกัน ต้องรอดูครับ 

Q: มีความคาดหวัง ภาพฝันในอนาคตไหม?

A: เรื่องนี้ก็ยังตอบได้ไม่ชัดขนาดนั้น แต่ที่อยากทำจริงๆ ก็คือเอาความรู้ของอเมริกาที่เขาบอกว่าระบบดีมากขนาดนั้น จะสามารถมาปรับใช้ พัฒนากับระบบไทยเราได้ไหม เพราะมีรุ่นพี่หลายคนที่จบจากอเมริกาแล้วกลับมาที่โรงเรียนนายร้อยก็พยายามจะปรับปรุงเหมือนกัน ผมก็คิดว่ามันน่าสนใจที่จะเป็นคนส่วนหนึ่งที่จะมาปรับปรุงโรงเรียนที่ให้ทุนเราไปครับ

Q: ความภาคภูมิใจในการเป็นนักเรียนทหาร หรือ การเป็นทหารคืออะไร?

A: ความภาคภูมิใจในนักเรียนทหาร เรียกว่าเป็นสถาบันที่ผลิตนายทหารหลักของประเทศ ในการพัฒนาบ้านเมืองต่างๆ ถือว่าเป็นเกียรติครับ และเป็นระบบที่สอนให้ผมมีวินัยมากขึ้น พัฒนาให้ผมเป็นผมในวันนี้ โรงเรียนทหารสอนหลายอย่าง ทั้งการพัฒนาตัวเอง ภาวะผู้นำ การฝึกบุคลิกภาพ มารยาท ผมคิดว่าสอนผมมาเยอะมาก

.

.

.

.

พิพิชชญะ ศรีดำ (น้องสไปรท์) | Click on Clever EP.15

บทสัมภาษณ์ รายการ Click on Clever EP.15 
พิพิชชญะ ศรีดำ (น้องสไปรท์) นักเรียน Year 9 โรงเรียนนานาชาติบลูมส์เบอรี่ หาดใหญ่
เด็กไทยอายุน้อยที่สุด คว้าเหรียญทอง คณิตศาสตร์โอลิมปิกระหว่างประเทศ (IMO 2021)

อัจฉริยะอายุน้อย เหรียญทองคณิตศาสตร์ระดับโลก พรสวรรค์ ที่มาพร้อม พรแสวง ร่วมค้นหาเคล็ดลับความเก่ง! 

Q: รู้สึกยังไงบ้างที่กลายเป็นเด็กไทยที่อายุน้อยที่สุด ที่คว้าเหรียญทอง คณิตศาสตร์โอลิมปิก เวทีระดับโลก

A: ก็รู้สึกภูมิใจที่ทำได้ตามที่ตั้งไว้ แต่ว่าส่วนนึงผมรู้สึกว่ามันก็เป็นโชคด้วย เพราะคะแนนผมก็ไม่ได้โดดเด่นอะไรมาก จริงๆ ทุกคนก็เก่งเท่าๆ กันครับ บางทีมันก็อยู่ที่ว่าข้อสอบที่เราเกร็งมากับที่ออกตรงกันหรือเปล่า 

Q: เดินสายแข่งขันทางวิชาการตั้งแต่เด็ก เพราะความชอบ?

A: ตอนประมาณป.2 โรงเรียนได้มีโอกาสเชิญผมไปลองแข่งขันสนามหนึ่งของสสวท. ผมรู้สึกว่ามันก็สนุกดีเวลาที่ได้ทำโจทย์ ผมก็เดินสายนี้มาตั้งแต่ตอนนั้น 

Q: ทำไมรู้สึกสนุกกับการแก้โจทย์คณิตศาสตร์ เห็นเสน่ห์อะไร?

A: ผมรู้สึกว่าโจทย์มันแต่งยังไงก็ได้ พอมันพลิกแพลงอะไรนิดนึงแล้วมันดูน่าสนใจ บางทีน่าค้นหา คณิตศาสตร์เป็นวิชาที่คำตอบแทบจะมีตายตัวเลย แต่ตัววิธีการที่จะได้มาซึ่งคำตอบนั้นบางทีมันก็ต้องใช้ไอเดียที่น่าสนใจ การที่จะได้มาซึ่งไอเดียนั้นก็เป็นขั้นตอนที่สนุก บางทียิ่งยากก็ยิ่งสนุก ผมก็งงตัวเองเหมือนกัน 

Q: วิถีชีวิตของเด็กสายแข่งขันคณิตศาสตร์?

A: หนึ่งวันมี 24 ชั่วโมง นอนไป 8 เหลือ 16 ผมก็จะแบ่งเวลาออกมาเป็น 8 กับ 8 เอาไปพัฒนาตัวเองในรายวิชาคณิตศาสตร์ อีกส่วนจะเอาไปทำกิจกรรม ตั้งแต่เช้ามาผมก็จะเริ่มเรียนก่อน พอรู้สึกว่ามันเริ่มเครียดแล้ว ผมก็จะไปพัก อาจจะไปทานข้าวหรือเตะบอล จากนั้นก็มาพัฒนาต่อ สลับกันไปเรื่อยๆ ครับ บางทีมันก็ไม่ได้เป๊ะขนาดนั้น มียืดหยุ่นได้บ้าง 

Q: การวางตารางชีวิตแบบนี้ได้มาจากไหน?

A: หลักๆ ก็ได้มาจากคุณพ่อครับ คุณพ่อชอบแบ่งตารางเวลาและเน้นย้ำเรื่องเวลาอยู่เสมอ เขาจะย้ำว่า ในหนึ่งวันแต่ละคนมีเวลาเท่ากัน เราก็ใช้เวลาให้มันคุ้มค่า หากเราแบ่งเวลาจะเป็นตัวช่วยให้เรามีวินัยและทำให้เรารู้ว่าเวลานี้ต้องทำอะไร เพื่อไม่หลุดออกจากลู่ทางไปครับ เพราะหากเราไม่มีตรงนี้ เราก็จะไม่รู้ว่าวันนี้เราได้แบ่งเวลาไปยังไงบ้าง บางทีอาจพัฒนาได้ไม่ครบ

Q: ได้ข่าวว่าชอบออกกำลังกาย การออกกำลังกายพัฒนาเราอย่างไรบ้าง?

A: ช่วงเย็นๆ ประมาณ 5-6 โมงก็มีเตะบอลหน้าบ้านครับ บางครั้งก็เล่นบาสกับครอบครัว เพื่อนบ้าน หรือเพื่อนที่โรงเรียนก็ชวนกันไป แล้วก็ปั่นจักรยานครับ หลักๆ ก็มีเท่านี้ 

การออกกำลังกายทำให้เราผ่อนคลาย บางทีถ้าทำโจทย์คณิตศาสตร์เยอะๆ อาจจะมีความเครียด พอไปออกกำลังกายแล้วรู้สึกผ่อนคลาย นอกจากนี้อาจจะช่วยให้เรามีไหวพริบมากขึ้นด้วย ซึ่งตรงนี้ผมก็ไม่แน่ใจเหมือนกันว่ามันเกี่ยวกันหรือเปล่า แต่บางทีที่เราเล่นบอลเล่นบาสมันก็ต้องใช้ไหวพริบ ซึ่งตรงนี้ก็จะมาช่วยในการฝึกแก้โจทย์ด้วย

Q: เมื่อต้องแข่งขัน รู้สึกเครียดและกดดันไหม? บริหารจัดการความกดดันอย่างไร?

A: จริงๆ ก็มีเครียดเป็นเรื่องปกติอยู่แล้ว แต่ถ้าเราเปลี่ยนมุมมองจากการมองโจทย์คณิตศาสตร์ว่าน่าเบื่อ เครียด มองให้มันสนุก แล้วเอนจอยไปกับมัน จะช่วยลดความเครียดได้ระดับนึงครับ ผมชอบไปหาโจทย์ที่ท้าทายเอามาทำ บางทีก็คิดไม่ออก แต่ผมก็สอนตัวผมเอง รู้สึกว่าถ้าเกิดมันยิ่งยากก็ยิ่งท้าทาย ยิ่งสนุก

ถ้าเป็นในห้องสอบแล้วทำไม่ได้ผมก็เครียดอยู่ครับ แต่ถ้ามาฝึกทำแบบนี้ เวลามันมีเหลือเฟือ บางโจทย์ผมก็ใช้เวลา 2-3 วันในการคิดก็มี แต่ถ้ามันคิดไม่ออกแล้วจริงๆ ผมแนะนำว่าให้ดูเฉลยดีกว่า มันจะได้ไอเดียใหม่ๆ ไปทำโจทย์ข้ออื่นด้วย

Q: คุณพ่อคุณแม่สนับสนุนอย่างไรบ้าง?

A: คุณพ่อคุณแม่ก็จะช่วยหาสนามสอบหรือบางทีก็จะช่วยหาข้อสอบที่น่าสนใจมาให้ผมลองทำ แล้วก็ช่วยไกด์แนวทางที่จะไปถึงจุดที่ผมต้องการ ผมรู้สึกว่าการที่ได้เหรียญทองโอลิมปิกอะไรประมาณนี้ก็เป็นเกียรติที่น่าชื่นชม ผมก็เลยตั้งไว้

Q: คติประจำใจ “I would like to say every moment counts for you, so make the time that you spend for your dreams a very special moment, make sure that you do something that you’ll be happy with when you go back and look at yourself” – Jennie Kim I BLACKPINK บ่งบอกถึงความคิด ตัวตนของตัวเองอย่างไร?

A: สรุปง่ายๆ ก็คือ เราทำสิ่งที่เราต้องการ และจงระลึกไว้ว่า อย่าใช้เวลาให้มันสิ้นเปลือง เราใช้เวลากับสิ่งที่จะพัฒนาตัวเราให้ไปถึงจุดนั้น เพื่อที่ว่าในอนาคตเรามองกลับมาที่ตัวเราในวันนี้ เราจะไม่เสียดายทีหลังครับ 

Q: นิยามความสุขที่เราได้เจอกับสิ่งที่รักอย่างคณิตศาสตร์

A: ความสุขมันก็เหมือนกับ เวลาผมทำโจทย์คณิตศาสตร์แล้วบางทีทำไม่ได้ มันก็ยิ่งท้าทาย เหมือนติดกับมันไปแล้ว เอาออกจากหัวไม่ได้ มันก็กลายเป็นความสุข

Q: คุณพ่อคุณแม่เป็นห่วงไหมเวลาทำโจทย์หนักๆ ให้บาลานซ์ชีวิตด้านอื่นอย่างไรบ้าง?

A: จริงๆ ก็มีมาบอกให้บาลานซ์เรื่องการทำโจทย์และเรื่องการไปทำกิจกรรมอย่างอื่น บางทีเขาก็จับเวลาแล้วหาเวลาพาครอบครัวไปทำกิจกรรมด้วยกัน ตรงนี้ก็ช่วยพักผ่อนสมอง ทำให้ไม่เครียดมาก

Q: การเรียนในโรงเรียนอินเตอร์กับโรงเรียนไทยแตกต่างกันอย่างไร?

A: โรงเรียนอินเตอร์จะให้สิทธิในการเลือกมากกว่า ถ้าเราถนัดอันนี้ เขาก็จะส่งเสริมด้านนี้โดยเฉพาะ หรือถ้าเกิดเราไม่ถนัดด้านนี้ คุณครูก็จะเทคแคร์เราโดยเฉพาะ อาจจะมากกว่าเพื่อนคนอื่น ส่วนโรงเรียนไทยบางทีเด็กเยอะ เขาก็จะดูเป็นภาพรวมไป เช่น ทั้งห้องดูเกรดโดยรวมแล้วอ่อนวิชานี้ ก็จะไปส่งเสริมวิชานี้


Q: มีงานอดิเรกไหม

A: ส่วนใหญ่ก็ฟังเพลงครับ เวลาว่างๆ ผมก็หาเพลงในยูทูปฟัง ผมชอบฟังเพลงเกาหลีครับ ฟังไม่ออกผมก็เลยชอบฟัง รู้สึกมันน่าสนใจ ถ้าฟังออกเดี๋ยวเราจะมีความรู้สึกร่วมไปกับมัน พอฟังไม่ออกก็ไหลไปตามเนื้อ 

Q: มีความฝันไหม ได้เหรียญทองโอลิมปิกวิชาการแล้ว หลังจากนี้จะยังคงอยู่ในเส้นทางการแข่งขันวิชาการต่อไปไหม?

A: ที่ผมคิดไว้ก็จะไปแข่งรายการนี้อีก 1 ปีครับ จากนั้นผมก็อาจจะลองใช้ชีวิตดูครับ หาประสบการณ์ และเข้าเรียนมหาวิทยาลัย ตอนนี้ที่เล็งไว้อยากไปศึกษาต่อต่างประเทศ อย่างอเมริกา มหาลัยในฝันก็ Stanford MIT อยากไปเรียนด้านเทคโนโลยี รู้สึกว่ามันก้าวหน้าดี ที่ผมสนใจก็มี อีลอน มัสก์ กับ สตีฟ จอบส์ เขาพัฒนาเหมือนรับช่วงต่อจากเทคโนโลยีและพัฒนาให้มันไปได้ไกลกว่าเดิม ไม่ได้ย่ำอยู่กับที่ 

Q: มีบทความ เว็บไซต์ หรือหนังสืออะไรที่อยากแนะนำไหม?

A: หนังสือที่ผมชอบก็จะเป็น ซีรีย์ของเซเปียนส์ ผมว่ามันบอกกล่าวเกี่ยวกับตัวมนุษย์ได้ดีครับ บางทีเราอาจจะไปสังเกตพฤติกรรมที่เกิดขึ้นเพื่อนำมาพัฒนาเทคโนโลยีได้พอกับความต้องการ  

Q: ฝากคำแนะนำสำหรับเพื่อนๆ น้องๆ ในการเตรียมตัวที่จะไปแข่งขันคณิตศาสตร์โอลิมปิก

A: พูดถึงเรื่องการคิดก่อนแล้วกันนะครับ อันดับแรกคืออย่าไปกลัวโจทย์ ผมเห็นเด็กหลายคนเวลาเห็นโจทย์มาจากสนามนี้คิดว่ามันต้องยาก เราไม่ต้องไปคิดถึงเรื่องนั้น เราแค่ทำมัน แล้วก็หวังว่ามันจะทำออก ให้เราตั้งเป้าไว้สูง เพราะการที่เราตั้งเป้าไว้ที่จุดนึงเนี่ย เราไม่มีทางไปเกินเพดานเป้านั้นแน่นอน อาจจะตกลงมานิดหน่อย ถ้าเกิดเราอยากได้เลเวล 3 ให้ตั้งเป้าไว้เลเวล 4 เลเวล 5 ไปเลยก็ได้ 

ใช้เวลาเตรียมตัวจริงๆ สองปีครับ ตามขั้นตอนปกติ แต่ถ้าเรามีการตกรอบ อาจจะต้องไปวนใหม่อีกปีนึง ซึ่งการที่จะป้องกันตรงนี้ได้ เราก็ต้องทำโจทย์เยอะพอสมควร เพื่อให้มีประสบการณ์ของโจทย์ที่หลากหลาย เวลาเจอโจทย์อะไรเราก็จะได้มีไอเดียที่จะนำไปประยุกต์ใช้ต่อครับ 

Q: เวลาผิดหวัง ให้กำลังใจตัวเองอย่างไร?

A: ถ้าผมผิดหวัง ผมก็จะพยายามลืมเรื่องนั้นไปครับ เพราะถ้าเราไปจมอยู่กับตรงนั้น มันก็จะยิ่งเศร้า ผมก็อาจจะไปหากิจกรรมอย่างอื่นมาทำเพื่อปลอบใจตัวเอง อย่างเช่นเล่นกีฬา แล้วค่อยกลับมาทำโจทย์ใหม่ พัฒนาตัวเองให้ดีขึ้น 

.

.

.

.


TRENDING
© Copyright 2021, All rights reserved. THE STATES TIMES
Take Me Top