Thursday, 2 May 2024
BYD

ต่อยอดสู่การเติบโต!! EA ปูทางขยายธุรกิจรถโดยสารไฟฟ้าเต็มตัว หลังเข้าซื้อหุ้น BYD 23% มูลค่ากว่า 6.99 พันล้าน

EA เดินหน้าต่อยอดธุรกิจอย่างต่อเนื่อง ล่าสุดทุ่ม 6,997 ล้านบาท ส่งบ.ย่อยเข้าซื้อหุ้นเพิ่มทุน BYD สัดส่วน 23% เตรียมขยายธุรกิจรถโดยสารไฟฟ้า ซึ่งเป็นหนึ่งในธุรกิจที่จะเป็น New S-Curve ในอนาคต

นับเป็นอีกหนึ่งก้าวย่างที่สำคัญทางธุรกิจของบริษัท พลังงานบริสุทธิ์ จำกัด (มหาชน) หรือ EA ที่ยังคงเดินหน้าต่อยอดสร้างการเติบโตอย่างต่อเนื่อง เมื่อนายอมร ทรัพย์ทวีกุล รองประธานเจ้าหน้าที่บริหาร แจ้งตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย (ตลท.) ว่า ที่ประชุมคณะกรรมการ เมื่อวันที่ 30 มิ.ย. 65 อนุมัติให้ บริษัท อีเอ โมบิลิตี โฮลดิง จำกัด (EMH) ซึ่งเป็นบริษัทย่อยเข้าลงทุนใน บริษัทหลักทรัพย์ บียอนด์ จำกัด (มหาชน) หรือ BYD, บริษัท เอซ อินคอร์ปอเรชั่น จำกัด (ACE) และบริษัท ไทย สมายล์ บัส จำกัด (TSB)

ทั้งนี้ EMH จะเข้าซื้อหุ้นสามัญเพิ่มทุนให้แก่บุคคลในวงจำกัด (PP) ของ BYD จำนวน 990,800,000 หุ้น มูลค่าที่ตราไว้หุ้นละ 5 บาท หรือคิดเป็น 23.63% ของทุนชำระแล้วภายหลังการเพิ่มทุน ในราคาหุ้นละ 7.062 บาท คิดเป็นมูลค่าซื้อหุ้นเพิ่มทุน 6,997,029,600 บาท
 
สำหรับ BYD นั้น เป็นบริษัทจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์ฯ ประกอบธุรกิจหลักเป็นนายหน้าซื้อขายหลักทรัพย์ และสัญญาซื้อขายล่วงหน้า ซึ่งได้รับใบอนุญาตประกอบธุรกิจหลักทรัพย์จากกระทรวงการคลัง, คณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย

ขณะที่ ACE ประกอบธุรกิจหลักในการเข้าถือหุ้นในบริษัทจำกัด และ/หรือ บริษัทมหาชน จำกัด โดยมี BYD ถือหุ้น ในอัตรา 49% และ TSB ประกอบธุรกิจหลักในการให้บริการรถโดยสารไฟฟ้าประจำทางในเขตกรุงเทพและปริมณฑล โดยมี ACE เป็นผู้ถือหุ้นในอัตรา 100%

นายอมร ระบุว่า การเข้าลงทุนใน BYD จะทำให้บริษัทได้มาซึ่งพันธมิตรทางธุรกิจ ซึ่งจะก่อให้เกิดโอกาสในการเติบโตทางธุรกิจของบริษัทฯ เนื่องจากการลงทุนในครั้งนี้ จะทำให้บริษัทมีโอกาสในการสร้างยอดขายรถโดยสารพลังงานไฟฟ้าเพิ่มมากขึ้น ส่วนแหล่งเงินทุนที่ใช้มาจากกระแสเงินสดของบริษัทและเงินกู้ยืมจากสถาบันการเงิน
 

BYD ปักธงไทย แห่งแรกในอาเซียน ทุ่ม 1.7 หมื่นล้าน ตั้งโรงงานผลิตรถ EV ใน EEC

BYD รถยนต์ EV สัญชาติจีน ที่มียอดขายสูงที่สุดในโลก เซ็นสัญญาซื้อที่ดินตั้งโรงงานแรกในพื้นที่ EEC และถือเป็นแห่งแรกในอาเซียน ด้วยเม็ดเงินลงทุนกว่า 1.7 หมื่นล้านบาท

Reporter Journey เผยว่า BYD รถยนต์ไฟฟ้าจีนพร้อมลงทุนใน EEC โดยวันที่ 8 กันยายน จะเซ็นสัญญาซื้อที่ดิน WHA นิคมฯ ระยอง 36 เพื่อสร้างโรงงานแห่งแรกในอาเซียนมูลค่า 1.7 หมื่นล้านบาท

รายงานจากบริษัท ดับบลิวเอชเอ คอร์ปอเรชั่น จำกัด (มหาชน) หรือ WHA เปิดเผยว่า ในวันที่ 8 กันยายนนี้ บริษัทเตรียมจัดพิธีเซ็นสัญญาซื้อ-ขายที่ดินระหว่าง WHA Group และ บริษัท บีวายดี ออโต้ อินดัสทรี จำกัด (BYD) ผู้ผลิตรถยนต์ไฟฟ้า (EV) ที่มียอดจำหน่ายสูงที่สุดในโลกจีน ลงทุนก่อสร้างโรงงานผลิตรถ EV แห่งแรกของ BYD ในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ที่นิคมอุตสาหกรรมระยอง 36 ในพื้นที่เขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก (EEC)

BYD ซื้อที่ดิน 600 ไร่จาก WHA ตั้งโรงงานผลิต EV เตรียมส่ง ATTO3 รถอีวีรุ่นแรกที่ผลิตและขายในไทย

บีวายดี (BYD) เผย ATTO3 จะเป็นรถยนต์ไฟฟ้ารุ่นแรกที่ผลิตและขายในไทย ตามแผนการลงทุนมูลค่า 17,891 ล้านบาท หลังซื้อที่ดิน 600 ไร่จาก WHA ตั้งโรงงานผลิต EV กำลังผลิต 150,000 คัน ดันไทยเป็นฮับส่งออกของอาเซียน

หลิว เสวียเลี่ยง ผู้จัดการทั่วไป ฝ่ายขายประจำภูมิภาคเอเชียแปซิฟิก บริษัท บีวายดี ออโต้ อินดัสทรี จำกัด กล่าวว่า บีวายดีได้ตัดสินใจลงทุนในประเทศไทยเพื่อตั้งโรงงานประกอบรถยนต์และเป็นฐานการผลิตรถยนต์พวงมาลัยขวาของภูมิภาคอาเซียน โดยมีมูลค่าการลงทุน 17,891 ล้านบาทตามที่นำเสนอผ่านบีโอไอของไทย

สำหรับการลงทุนครั้งนี้ เป็นการลงทุนของบีวายดี 100% ล่าสุดได้มีการลงนามเซ็นสัญญาซื้อที่ดินจำนวน 600 ไร่ ในนิคมอุตสาหกรรมดับบลิวเอชเอ ระยอง36 ของกลุ่มบริษัท ดับบลิวเอชเอ คอร์ปอเรชั่น จำกัด(มหาชน) หรือ WHAโดยไม่สามารถเปิดเผยมูลค่าได้ ส่วนการก่อสร้างคาดว่าจะเริ่มได้ในปีนี้และเริ่มผลิตในปี 2567 มีกำลังการผลิตสูงสุด 150,000 คันต่อปี

ดีลแห่งปี!! WHA&BYD จุดเริ่มจากความเชื่อมั่นที่ไทยต้องเป็นศูนย์กลาง EV สู่ดีลขายที่ผืนใหญ่ เพื่อตั้งโรงงานผลิตรถไฟฟ้าป้อนโลก

นับเป็นข่าวฮือฮาในช่วงสัปดาห์ เมื่อ WHA ปิดดีลขายที่ดินผืนใหญ่ 600 ไร่ให้ BYD ซึ่งเป็นย่างก้าวสำคัญที่จะดันไทยกลายเป็นศูนย์กลางผลิตรถยนต์ EV ได้อย่างจริงจัง จากการ BYD จะนำที่ดินผืนนี้มาตั้งเป็นโรงงานผลิตรถ EV รุกอาเซียน-ยุโรป

นางสาวจรีพร จารุกรสกุล ประธานคณะกรรมการบริษัท และประธานเจ้าหน้าที่บริหารกลุ่ม บมจ.ดับบลิวเอชเอ คอร์ปอเรชั่น (WHA) เปิดเผยว่า บริษัทลงนามในสัญญาซื้อขายที่ดินครั้งใหญ่กับบริษัทผู้ผลิตรถยนต์ไฟฟ้าชั้นนำ 'บีวายดี' (BYD) จำนวน 600 ไร่ ในนิคมอุตสาหกรรมดับบลิวเอชเอ ระยอง 36 ซึ่งเป็นนิคมอุตสาหกรรมลำดับที่ 11 ของ WHA ตั้งอยู่ในทำเลยุทธศาสตร์ในโครงการเขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก (EEC)

เธอกล่าวอีกด้วยว่า การซื้อขายที่ดินกับ บีวายดี ครั้งนี้ ซึ่งถือเป็นดีลที่ใหญ่ที่สุดในรอบ 20 ปี ของ WHA เน้นให้เห็นถึงกลยุทธ์ในการสนับสนุนโครงการอีอีซี และการดึงดูดอุตสาหกรรมเป้าหมาย (S-curve Industry) โดยเฉพาะอย่างยิ่งกลุ่มอุตสาหกรรมยานยนต์สมัยใหม่

ด้วยการสนับสนุนจากสำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุน (บีโอไอ) บริษัท บีวายดี (ประเทศไทย) จำกัด จะสร้างโรงงานผลิตรถยนต์นั่งไฟฟ้าพวงมาลัยขวาที่ใช้เทคโนโลยีใหม่ล่าสุด ในนิคมอุตสาหกรรมดับบลิวเอชเอ ระยอง 36 โดยคาดว่าจะเริ่มผลิตได้ในปี 67 ด้วยกำลังการผลิตรถยนต์นั่งไฟฟ้าจำนวน 150,000 คัน/ปี เพื่อส่งออกไปยังประเทศต่างๆในกลุ่มอาเซียนและยุโรป

บีวายดี ก่อตั้งในประเทศจีน โดยมีประสบการณ์ด้านการผลิตยานยนต์พลังงานใหม่มานานกว่า 20 ปี โดยเมื่อเดือน เม.ย.65 บริษัทได้หยุดผลิตรถยนต์เครื่องยนต์สันดาปภายในมาเน้นผลิตรถยนต์ไฟฟ้าแบตเตอรี่ (BEV) และรถยนต์ไฟฟ้าปลั๊กอินไฮบริด (PHEV) แทน และเมื่อวันที่ 8 ส.ค.ที่ผ่านมา บีวายดี แต่งตั้งบริษัท เรเว่ ออโตโมทีฟ จำกัด ให้เป็นผู้แทนจำหน่าย BYD แต่เพียงผู้เดียวในประเทศไทย และตั้งเป้ายอดขายปีแรกกว่า 10,000 คัน

ด้านนายหลิว เสวียเลี่ยง ผู้จัดการทั่วไป ฝ่ายขายประจำภูมิภาคเอเชียแปซิฟิก บริษัท บีวายดี ออโต้ อินดัสทรี จำกัด กล่าวว่า การเปิดโรงงานผลิตแห่งใหม่ในต่างประเทศที่นิคมอุตสาหกรรมดับบลิวเอชเอ ระยอง 36 ครั้งนี้ ถือเป็นความก้าวหน้าครั้งสำคัญในการขยายบริษัทของเราอย่างแท้จริง พร้อมเสริมว่า หลังจากที่ได้ทำการค้นหาและคัดเลือกอย่างละเอียด ประเทศไทยและนิคมอุตสาหกรรมดับบลิวเอชเอ ระยอง 36 ได้กลายเป็นตัวเลือกที่สมบูรณ์แบบ เนื่องจากทำเลที่ตั้งและชื่อเสียงของบริษัทในฐานะผู้พัฒนานิคมอุตสาหกรรมชั้นนำของภูมิภาค

“โครงการอีอีซีและนิคมอุตสาหกรรมดับบลิวเอชเอ ระยอง 36 มีสิ่งที่เรามองหา ทั้งทำเลที่ตั้งอันโดดเด่น ทรัพยากรบุคคลที่มีคุณภาพ ระบบสาธารณูปโภคและบริการระดับเวิลด์คลาส รวมไปถึงการขนส่งและโครงสร้างพื้นฐานคุณภาพสูง นอกจากนั้นแล้ว ดับบลิวเอชเอ กรุ๊ป ยังมีบทบาทสำคัญในการขยายคลัสเตอร์ยานยนต์ในอีอีซีด้วย สิ่งเหล่านี้ล้วนเป็นปัจจัยสำคัญสำหรับการลงทุนของบีวายดี และเราหวังว่าจะมีความสัมพันธ์ระยะยาวอันดีร่วมกับดับบลิวเอชเอ กรุ๊ป ต่อไปในอนาคต”ผู้บริหาร บีวายดี กล่าว

นิคมอุตสาหกรรมดับบลิวเอชเอ ระยอง 36 เป็นนิคมอุตสาหกรรมแห่งใหม่ล่าสุดของดับบลิวเอชเอ กรุ๊ป ในประเทศไทย ครอบคลุมพื้นที่ทั้งหมด 1,281 ไร่ ตั้งอยู่ในทำเลยุทธศาสตร์ใกล้ทางหลวงหมายเลข 36 และ 3375 ในจังหวัดระยอง และห่างจากท่าเรือน้ำลึกมาบตาพุดเพียง 25 กม. ท่าเรือน้ำลึกแหลมฉบัง 31 กม. และสนามบินอู่ตะเภา 23 กม.

เกินคาด!! ปรากฏการณ์แห่จอง BYD ATTO 3 วันแรกแน่นโชว์รูม หลังมีรถพร้อม 5,000 คัน

เปิดจองวันแรก ATTO 3 คนล้นโชว์รูมบีวายดี ทั่วประเทศ หลังเปิดราคา 1.199 ล้าน ด้าน เรเว่ฯ ลั่นมีรถพร้อม 5,000 คันสำหรับปีนี้

(1 พ.ย. 65) กลายเป็นอีกปรากฏการณ์น่าทึ่งสำหรับบรรยากาศการเปิดรับจองรถยนต์ไฟฟ้าบีวายดี ATTO 3 รุ่นแรกที่เข้ามาทำตลาดภายในประเทศไทย ซึ่งได้รับกระแสตอบรับจากลูกค้าที่ให้ความสนใจมาเข้าคิวจอง ATTO 3 ที่โชว์รูม BYD ทั่วประเทศกันแบบก่อนคืนวันเปิดจองจริง (1 พ.ย.)

สำหรับ BYD ATTO 3 มาพร้อมแนวคิด ENERGY AWAKEN ปลุกพลังใหม่ปลุกชีวิตที่ดีกว่า คือ แนวคิดของ BYD รถยนต์สัญชาติจีน ที่สร้างกระแสคนแห่จองกันถล่มทลาย ในราคาขาย ที่ 1,199,900 บาท (หักเงินสนับสนุนจากภาครัฐมูลค่า 150,000 บาท) พร้อมทั้งมอบเรเว่แคร์ มูลค่า 180,000 บาท 

ว่าแต่ ค่าตัวขนาดนี้ มันจะมีอะไรน่าสนใจบ้าง ไปดูกันเลย!!

BYD ATTO 3 รถยนต์ไฟฟ้า 100% ประเภท B-SUV ที่มากับจุดเด่นมอเตอร์ไฟฟ้า Permanent Magnet Sycnchronous Motor กำลังสูงสุด 204 แรงม้า แรงบิด 310 นิวตันเมตร เร่งความเร็ว 0 – 100 กม. / ชม. ในเวลาแค่ 7.3 วินาที และแบตเตอรีที่ใช้เทคโนโลยี BYD Blade Battery Lithium-ion phosphate (LFP) ขนาด 60.4 kWh ให้ระยะทางในการขับขี่ได้ไกลสูงสุดถึง 480 กม. ต่อการชาร์จเต็มหนึ่งครั้ง 

ระบบชาร์จแบตเตอรี่ผ่านหัว Type 2 รองรับกำลังไฟสูงสุด 7 kW สามารถชาร์จแบตเตอรี่จนเต็ม 100% ในเวลาราว ๆ 8 ชั่วโมงครึ่ง นอกจากนี้ ATTO 3 ยังมากับระบบจ่ายไฟฟ้าจากตัวรถ VTOL Mobile Power Supply Function 2.2 kW ให้สามารถเอาเครื่องใช้ไฟฟ้ามาเสียบใช้งานกับตัวรถได้เลย เหมาะมากกับสายลุยเข้าป่า ยิ่งถ้าหน้าหนาวอากาศดีดี ไปกางเต็นท์ตั้งแคมป์ในวันหยุดยาวแล้วละก็ ขอบอกว่า ฟินสุดสุด !

ดาวกระจาย!! ค่ายรถ EV จีน สะเทือนบัลลังก์ ‘ญี่ปุ่น-ตะวันตก’

ค่ายรถยนต์จีนกำลังบุกตลาดโลกต่อเนื่อง หวังต่อกรกับแบรนด์ดังจากค่ายรถยนต์ยุโรป รวมถึงกระโดดเข้ามากวาดตลาดที่กำลังเติบโตอย่างในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้แบบไม่หยุด

ในประเทศไทยเอง ก็เป็นหนึ่งในหมุดหมายของค่ายรถยนต์จีน และพร้อมเข้ามากระชากส่วนแบ่งออกจากอกค่ายรถยนต์ญี่ปุ่น ที่เดิมครองตำแหน่งเบอร์ 1 ด้วยส่วนแบ่งตลาดถึง 80% มาช้านาน 

โดยเมื่อเดือนกันยายน 2565 ที่ผ่านมา บริษัทผลิตรถยนต์ไฟฟ้าและไฮบริดจีนค่ายดังอย่าง BYD  ประกาศที่จะสร้างโรงงานประกอบรถยนต์ไฟฟ้าสาขาต่างประเทศแห่งแรกของบริษัทที่ไทย โดยเลือกที่ทำเลที่จังหวัดระยองในการสร้างโรงงาน เพื่อผลิตรถยนต์ป้อนตลาดในอาเซียน 

ด้าน Great Wall Motor ค่ายรถยนต์จากจีนอีกแห่ง ที่มาเปิดโรงงานที่นิคมอุตสาหกรรมอีสเทิร์นซีบอร์ด ในระยองเช่นกันก็เพิ่งบรรลุเป้าหมายผลิตรถยนต์คันที่ 1 หมื่นได้สำเร็จ ส่วน Hozon New Energy ค่ายรถยนต์จากเซี่ยงไฮ้ขอชิมลางด้วยการเปิดโชว์รูมแห่งแรกในไทยที่เซ็นทรัล พระราม 2

ไม่เพียงแต่ค่ายรถที่เข้ามาเปิดโชว์รูม หรือสร้างโรงงานประกอบรถยนต์ในไทยเท่านั้น!! 

ในตลาดเมืองไทยเอง ก็ยังมีการนำเข้ารถยนต์ไฟฟ้าจากจีนเข้ามาจำหน่ายด้วย โดยปัจจุบันมียอดเติบโตขึ้นอย่างต่อเนื่อง พิจารณาจากตัวเลขล่าสุดพบว่า ตั้งแต่เดือนมกราคม - กันยายน 2565 ไทยนำเข้ารถยนต์ไฟฟ้าจากจีนแล้วถึง 59,375 คัน ยอดเพิ่มขึ้นจากปีที่แล้วถึง 176% และทำให้ประเทศไทยขึ้นมาอยู่ในอันดับ 3 ของตลาดส่งออกรถยนต์ไฟฟ้าจากจีน รองจากเบลเยียม และอังกฤษ

สาเหตุที่ตลาดรถยนต์ของไทยเป็นที่ดึงดูดใจของค่ายรถยนต์จากจีน สืบเนื่องจากที่ไทยเป็นศูนย์กลางการผลิตรถยนต์ที่ใหญ่ที่สุดในภูมิภาคอาเซียน และใหญ่เป็นอันดับ 10 ของโลกจนได้รับสมญาว่าเป็น ‘ดีทรอยต์แห่งเอเชีย’ 

นอกจากนี้ ไทยยังเป็นชาติแรกในภูมิภาคนี้ที่รัฐบาลอนุมัติเงินสนับสนุนสำหรับผู้ใช้รถยนต์ไฟฟ้าในวงเงินตั้งแต่ 15,000 - 180,000 บาท รวมกับสิทธิประโยชน์ด้านภาษีแล้ว รวมมูลค่าสูงถึง 4.3 หมื่นล้านบาท เพื่อกระตุ้นการใช้รถยนต์ไฟฟ้าในประเทศมากขึ้นทดแทนรถยนต์น้ำมัน 

ในภาคการผลิต รัฐบาลไทยยังให้ลดภาษีนำเข้ารถยนต์ไฟฟ้าจากจีนจนถึงสิ้นปี 2023 แลกกับการที่บริษัทรถยนต์จีนจะมาลงทุนตั้งฐานการผลิตในไทยตั้งแต่ปี 2024 เป็นต้นไปโดยมีเป้าหมายว่า 30% ของรถยนต์ที่ผลิตในประเทศจะต้องเป็นรถยนต์ไฟฟ้า ทั้งนี้เพื่อให้ไทยเป็นหนึ่งในศูนย์กลางการผลิตรถยนต์ไฟฟ้าของโลก และดึงดูดค่ายรถยนต์อื่นๆ นอกจากจีนเข้ามาลงทุนในไทยมากขึ้น

รวมถึงความต้องการรถยนต์ไฟฟ้าในไทย ที่จะเพิ่มสูงขึ้นอย่างมากในอีกไม่กี่ปีข้างหน้า สอดคล้องกับกระแสการขับเคลื่อนสู่สังคมปลอดคาร์บอนที่เป็นวาระของโลก คาดการณ์ว่าไทยจะมีรถยนต์ไฟฟ้าถึง 2.7 ล้านคันภายในปี พ.ศ. 2583

BYD เปิดตัว 2 Application ‘BYD’ และ ‘Rever’ ไลฟ์สไตล์อัจฉริยะ ตอบโจทย์สาวก BYD

สำหรับผู้ใช้งานรถยนต์ไฟฟ้า (อีวี) การใช้งานผ่าน Application เฉพาะเพื่อเชื่อมต่อกับรถยนต์ของตน ดูจะกลายเป็นสิ่งหนึ่งที่หลีกเลี่ยงไม่ได้เสียแล้ว ไหนจะตรวจสอบสถานะตัวรถ แบตเตอรี่ การชาร์จ การปลดล็อก หรือสั่งงานไร้สายระยะไกลด้วยคำสั่งต่าง ๆ เช่น สตาร์ตรถ เปิดแอร์ ลดกระจก เปิดกระจก เป็นต้น 

ล่าสุดค่ายรถไฟฟ้าอีวีที่ครองแชมป์การขายรถไฟฟ้าได้มากที่สุดในงานมอเตอร์เอ็กซ์โป อย่าง BYD ก็ได้ออก Application มาใหม่ 2 ตัว Application ด้วยกัน นั่นก็คือ BYD Application และ Rever Application ซึ่งในการเปิดตัวในวันนั้นผมก็ได้อยู่ในงานด้วย 

คำถามแรกของผมก็คือ ทำไมต้องใช้ถึง 2 แอป ใช้แค่แอปฯ เดียว จับมันมารวมกันเลยไม่ได้หรือ?

คำตอบที่ผมได้จากท่านผู้บริหารก็คือ Application ทั้งสองนั้น จะแบ่งแยกการทำงานกันอย่างชัดเจน เพื่อความอุ่นใจในทุกการเดินทาง โดยแอป BYD นั้น จะออกมาในลักษณะที่ว่าใช้เหมือนกันทั่วโลก โดยเน้นใช้ควบคุมตัวรถเป็นหลัก แต่แอป Rever นั้น จะเป็นเหมือนแอปฯ ที่ใช้เฉพาะในประเทศไทยเท่านั้น 

ฉะนั้นในการใช้งาน หรือการสมัคร การเข้าถึงข้อมูลส่วนบุคคล จึงมีความแตกต่างกัน โดยเริ่มต้นหากสนใจอยากจะใช้รถ BYD นั้น ก็ต้องเริ่มจากโหลด แอป Rever มาใช้ก่อน เพื่อศึกษาข้อมูล ค้นหาผู้จำหน่าย โชว์รูมใกล้บ้าน จองคิว Test drive เป็นต้น เมื่อได้รถมาแล้ว ก็ถึงจะโหลดแอป BYD มาเพื่อใช้ควบคุมตัวรถ แต่ถึงกระนั้น ก็ยังควรใช้ แอปฯ Rever ต่อไป เพื่ออำนวยความสะดวกในเรื่องต่างๆ ในการใช้งาน ยกตัวอย่างเช่น การหาสถานีชาร์จ การจองนัดหมายเข้าใช้บริการที่ศูนย์บริการ การติดต่อประกันภัยผ่านแอป กรณีเกิดอุบัติเหตุ โดยไม่ต้องแจ้งเลขกรมธรรม์ 

สำหรับสองแอปฯ นี้นั้น ใช้งานง่ายมากครับ เพียงโหลด Application ผ่านโทรศัพท์มือถือ แล้วกรอกข้อมูลลงทะเบียน โดยใช้หมายเลข VIN no. พร้อมทั้งระบุหมายเลขโทรศัพท์มือถือเพื่อแสดงความเป็น เจ้าของรถ แค่นี้ก็จะสามารถดูสถานะต่างๆ ของตัวรถคันที่ท่านระบุเป็นเจ้าของได้ ส่วนแต่ละแอปฯ จะมีคุณสมบัติอะไรบ้าง ผมแยกให้ชัดๆ ดังนี้ครับ

BYD Application จะช่วยควบคุมรถในฟังก์ชันการใช้งานต่างๆ ได้อย่างสะดวกสบายมากขึ้นและให้ ทราบถึงสถานะด้านต่างๆ ของรถ อาทิเช่น…

หัวใจสำคัญของรถ!! ‘BYD’ โร่แจงปมดรามา ค่าซ่อมสูงเฉียดล้าน ชี้! แบตเตอรี่มีความปลอดภัย-ประสิทธิภาพสูง

(4 มี.ค. 66) กรณี ยูทูบช่อง Priceza Money ออกมาเผยเรื่องราวของเจ้าของรถยนต์ไฟฟ้า BYD ATTO 3 ที่ประสบอุบัติชนเกาะกลางถนนช่วงเดือนกุมภาพันธ์ที่ผ่านมา แต่ต้องเจอค่าซ่อมรถสูงถึง 1 ล้านบาท ซึ่งค่าซ่อมที่แพง หนักสุด อยู่ที่ราคาก้อนแบตเตอรี่ของรถ ที่ถูกตีมูลค่าไว้สูงถึง 896,190 บาท

จบดรามา ‘ATTO 3’ หลังพบเสียหายจริงแค่เปลือกนอกหุ้มแบตฯ 'เจ้าของรถ' วอน!! อย่าเชื่อค่าซ่อมผิดๆ ที่แชร์ในโซเชียล

(7 มี.ค. 66) เจ้าของรถ BYD ที่กำลังเป็นประเด็นถึงเรื่องค่าซ่อมมหาโหด ได้ออกแถลงผ่านเฟซบุ๊ก ‘Seksan Laekreing’ ปมความไม่สบายใจของผู้ใช้งาน โดยระบุว่า

สวัสดีครับ ผมเป็นเจ้าของรถ ATTO3 ที่เกิดอุบัติเหตุที่เป็นข่าว 2-3 วันที่ผ่านมา จนทำให้เรื่องราวเป็นข่าวไปในวงผู้ใช้รถ BYD จนทำให้เกิดความไม่สบายใจที่ข่าวในบางสื่อบางช่องทางทำให้ข้อมูลไม่ตรงกับความเป็นจริง ขออนุญาตใช้พื้นที่ตรงนี้เข้ามาชี้แจงและ update ให้ทุกท่านทราบหน่อยนะครับ

หลังจากที่รถได้เกิดอุบัติเหตุ ผมก็ได้โทรแจ้งบริษัทประกันฯเพื่อทำเรื่องเคลม และได้รับการประสานงานจากศูนย์บริการและบริษัทประกันภัยเข้ามาร่วมกันตรวจสภาพรถประเมิณความเสียหายต่าง ๆ ว่ามีอะไรต้องเปลี่ยนหรือมีอะไรสามารซ่อมได้ เพื่อจะได้ทำใบประเมิณราคาตามขั้นตอนประกัน ชิ้นส่วนต่าง ๆ โดยทางประกันก็ได้ให้ทางศูนย์บริการและทีมช่างเทคนิคจากเรเว่เข้าตรวจสอบด้วย และผมได้รับการติดต่อจากบริษัทประกันว่า ทางบริษัทประกันได้รับใบสรุปค่าเสียหายมาจากทางศูนย์บริการแล้ว ตามที่ทุกคนเห็นจากรูปที่ถูกเผยแพร่ โดยบริษัทประกันแจ้งว่าจะต้องเป็นการคืนทุนประกัน แต่ผมไม่สบายใจเพราะว่า มีรายการหลายรายการที่มีมูลค่าสูง ไม่อยากให้เป็นการคืนทุนประกัน เลยไปปรึกษาเพื่อนในวงการ เพื่อขอคำแนะนำ

ซึ่งต้องขอขอบคุณ PricezaMoney ที่ทำให้ผมเข้าใจในกระบวนการประกันภัยมากขึ้นว่า ราคาไม่น่าสูงขนาดนั้นเพราะบางอย่างอาจจะไม่ต้องเปลี่ยนหรือเป็นการซ่อมแซมได้ ทำให้ผมสบายใจขึ้น

เชื่อมั่นประเทศไทย!! รถยนต์ไฟฟ้าจีน ‘BYD’ วางศิลาฤกษ์ ‘โรงงาน’ แห่งแรกในไทย ลั่น!! ดันไทย ฐานผลิต EV ของแบรนด์สู่ 'อาเซียน-ทั่วโลก'

(12 มี.ค. 66) สำนักข่าวซินหัวรายงานว่า บีวายดี (BYD) ผู้ผลิตยานยนต์ไฟฟ้าชั้นนำของจีน ได้จัดพิธีวางศิลาฤกษ์ของการก่อสร้างโรงงานรถยนต์บีวายดีแห่งแรกในไทย เมื่อวันศุกร์ (10 มี.ค.) ซึ่งถือเป็นก้าวล่าสุดของกลุ่มผู้ผลิตยานยนต์สัญชาติจีนในการขยับขยายธุรกิจในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้

รายงานระบุว่าโรงงานรถยนต์บีวายดีแห่งใหม่ตั้งอยู่ที่โครงการเขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก (EEC) จังหวัดระยอง จะทำหน้าที่เป็นศูนย์กลางการผลิตและกระจายยานยนต์ไฟฟ้า (EV) ในไทย รวมถึงกลุ่มประเทศเพื่อนบ้านในอาเซียน และ ภูมิภาคอื่นๆ

อนึ่ง บีวายดี ซึ่งมีบทบาทสำคัญในตลาดยานยนต์ไฟฟ้าระดับโลก เปิดเผยว่ายอดจำหน่ายสะสมของยานยนต์พลังงานใหม่บีวายดีในปี 2022 สูงเกิน 1.86 ล้านคัน เพิ่มขึ้นร้อยละ 208.6 เมื่อเทียบปีต่อปี

บีวายดีกลายเป็นอีกหนึ่งแบรนด์รถยนต์สัญชาติจีน ต่อจากเอ็มจี (MG) ของเอสเอไอซี มอเตอร์ (SAIC Motor) และเกรท วอลล์ มอเตอร์ (GWM) ที่เข้ามาจัดตั้งการดำเนินงานผลิตในไทย ซึ่งมีแบรนด์รถยนต์สัญชาติญี่ปุ่นครองตลาดมาอย่างยาวนาน

หลิวเสวียเหลียง ผู้จัดการทั่วไปประจำฝ่ายจัดจำหน่ายยานยนต์ภูมิภาคเอเชียแปซิฟิกของบีวายดี ระบุว่าบีวายดีนำรถยนต์รุ่นยอดนิยมอย่าง “แอตโต3” (ATTO3) เข้ามาจำหน่ายในไทยเมื่อปี 2022 ซึ่งทำสถิติบรรลุยอดจำหน่ายเป้าหมาย 10,000 คัน ภายในระยะเวลาเพียง 42 คัน

บีวายดียังจัดพิธีส่งมอบรถยนต์รุ่นแอตโต3 คันที่ 9,999 และคันที่ 10,000 ณ วันทำพิธีวางศิลาฤกษ์ของโรงงานแห่งใหม่ที่มีกำหนดเริ่มต้นการผลิตในปี 2024 ด้วยกำลังการผลิตยานยนต์พลังงานใหม่รายปี 150,000 คัน

การลงทุนของบีวายดีในไทยยังสอดคล้องกับเป้าหมายของรัฐบาลไทย ซึ่งต้องการให้ร้อยละ 30 ของยานยนต์ที่ผลิตภายในประเทศเป็นยานยนต์ไฟฟ้าภายในปี 2030

“การที่บีวายดีตัดสินใจทำให้ไทยเป็นฐานการผลิตในภูมิภาคเอเชียแปซิฟิกสอดคล้องกับโมเดลเศรษฐกิจชีวภาพ เศรษฐกิจหมุนเวียน และเศรษฐกิจสีเขียว (BCG) ของไทย และทิศทางการพัฒนาอันเป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมและยั่งยืนของจีน” หวังหลี่ผิง อัครราชทูตที่ปรึกษาทางเศรษฐกิจและกิจการพาณิชย์ ณ สถานเอกอัครราชทูตจีนประจำประเทศไทยกล่าว

“การดำเนินการครั้งนี้ไม่เพียงสร้างโอกาสการทำงานและขับเคลื่อนการพัฒนาเศรษฐกิจในไทย แต่ยังส่งเสริมการบูรณาการเชิงลึกของกลุ่มอุตสาหกรรมยานยนต์พลังงานใหม่ในจีนและไทย” หวังกล่าว


TRENDING
© Copyright 2021, All rights reserved. THE STATES TIMES
Take Me Top