Wednesday, 15 January 2025
Amazon

CP เข้าประมูลซื้อห้าง Metro AG อินเดีย วัดพลัง ‘มูเกซ อัมบานี’ และ ‘เจฟฟ์ เบโซส’

บริษัทเครือเจริญโภคภัณฑ์ (CP) เตรียมสู้ศึกประมูลกิจการ Metro AG ห้างค้าส่งของเยอรมันในอินเดีย ที่จะต้องเจอคู่แข่งระดับพระกาฬ ทั้ง Reliance Industries เครือบริษัทยักษ์ใหญ่เจ้าถิ่น และ Amazon ของสหรัฐอเมริกา

สำหรับ Metro  AG ได้ดำเนินธุรกิจในอินเดียมาตั้งแต่ปี 2003 ปัจจุบันมีสาขามากถึง 31 สาขาทั่วประเทศ รวมถึงมีศูนย์กระจายสินค้าขนาดใหญ่ ร้านค้าปลีกขนาดย่อย โรงแรม ร้านอาหาร ซึ่งคาดว่ามีมูลค่าสูงถึง 1.5-1.75 พันล้านเหรียญ

แต่เมื่อ Metro AG ต้องการถอนทุนออกจากอินเดีย และประกาศขายกิจการ จึงมีบรรดาอภิมหาเศรษฐีเจ้าของธุรกิจหลายรายในโลกสนใจเข้าซื้อกิจการ โดยหนึ่งในนั้นก็มี เจ้าสัวธนินท์ เจียรวนนท์ แห่งอาณาจักรเครือเจริญโภคภัณฑ์ (CP) ที่มีเครือข่ายธุรกิจค้าส่ง และปลีกที่ใหญ่ที่สุดในประเทศไทย สนใจเข้าร่วมประมูลด้วย 

อันที่จริงแล้วทาง CP ก็มีห้างค้าส่งเปิดตัวอยู่ในตลาดอินเดียก่อนแล้ว ภายใต้แบรนด์ LOTS Wholesale Solutions ดำเนินธุรกิจตั้งแต่ปี พ.ศ.2560 ปัจจุบันมี 3 สาขา พร้อมช่องทางออนไลน์ ที่มีลูกค้าสมัครเป็นสมาชิกแล้วกว่า 8 แสนราย เรียกว่ามีสถานะเป็นคู่แข่งโดยตรงกับ Metro AG ในตลาดอินเดียเลยก็ว่าได้ ดีลนี้จึงมีความหมายหาก CP อยากขยายตัวเองในตลาดอินเดีย ตลาดที่กำลังจะมีประชากรแซงหน้าจีนในอีกไม่นานนี้

อย่างไรก็ตามคู่แข่งคนสำคัญของการประมูลในครั้งนี้ คือ Reliance Industries ของนาย มูเกซ อัมบานี อภิมหาเศรษฐีที่ร่ำรวยที่สุดในเอเชีย ที่ประกอบกิจการหลายอย่างทั้ง พลังงานและปิโตรเคมี ค้าปลีก เทเลคอมส์ สื่อ สิ่งทอ และอื่นๆ เป็นเครือบริษัทเอกชนยักษ์ใหญ่ในอินเดีย ที่สร้างรายได้ต่อปีไม่น้อยกว่า 9.7 หมื่นล้านเหรียญ 

Amazon ทุ่มเฉียด 2 แสนลบ. เปิด AWS Asia Pacific (Bangkok) สนับสนุนการเปลี่ยนแปลงทางดิจิทัลของประเทศไทย

ภายหลังข่าวแผนกคลาวด์คอมพิวติ้งของแอมะซอน หรือ AWS ได้ออกมาเปิดเผยว่า มีแผนลงทุนมูลค่า 5 พันล้านดอลลาร์ในไทย เพื่อยกระดับโครงสร้างพื้นฐานของ AWS

(19 ต.ค. 65) ด้าน ดร.สมเกียรติ โอสถสภา อดีตอาจารย์ประจำคณะเศรษฐศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ก็ได้โพสต์ข้อความเกี่ยวกับเรื่องนี้ ว่า...

AWS ประกาศแผนการลงทุนโครงสร้างพื้นฐานระบบคลาวด์ในไทย มูลค่ามากกว่า 5 พันล้าน ดอลลาร์ หรือ 1.9 แสนล้านบาท ในระยะเวลา 15 ปี ด้วยการเปิดตัว Region แห่งใหม่ ที่มีชื่อว่า 'AWS เอเชียแปซิฟิก' (กรุงเทพฯ)

อะเมซอน เว็บ เซอร์วิสเซส (Amazon Web Services: AWS) บริษัทในเครือ Amazon.com, Inc. ประกาศแผนการลงทุนโครงสร้างพื้นฐานระบบคลาวด์ ด้วยการเปิดตัว Region ในประเทศไทย ที่จะมีชื่อว่า AWS Asia Pacific (Bangkok)

โดย Region แห่งใหม่นี้จะประกอบด้วย Availability Zone สามแห่ง ซึ่งเพิ่มเติมจาก Availability Zone ของ AWS ที่มีอยู่แล้ว 87 แห่งใน 27 ภูมิภาคทั่วโลก และ AWS ได้ประกาศแผนที่จะสร้าง Availability Zone ทั่วโลกอีก 24 แห่งและ AWS  Region อีก 8 แห่งในออสเตรเลีย, แคนาดา, อินเดีย, อิสราเอล, นิวซีแลนด์, สเปน, สวิตเซอร์แลนด์ รวมถึงประเทศไทย

AWS Region ที่กําลังจะมีขึ้นในประเทศไทยจะช่วยให้นักพัฒนา สตาร์ตอัพ และองค์กรต่างๆ รวมถึงภาครัฐ การศึกษา และองค์กรไม่แสวงผลกําไร สามารถเรียกใช้แอปพลิเคชันของตนและให้บริการผู้ใช้ปลายทางจากศูนย์ข้อมูล AWS ที่ตั้งอยู่ในประเทศไทย เพื่อให้ลูกค้าที่ต้องการเก็บข้อมูลของตนไว้ในประเทศไทยสามารถทําได้

Alexa เอไอ ของ Amazon โชว์โหด!! แนะพ่อ ‘ต่อยคอเด็ก’ เพื่อให้หยุดหัวเราะ

พ่อชาวอังกฤษวัย 45 ปี สุดช็อกหลัง ‘Alexa’ ลำโพงเอไอของแอมะซอนที่เพิ่งได้มาตั้งคำถามถึงวิธีการเลี้ยงดูเด็กแนะนำให้เขาต่อยคอลูกเพื่อให้หยุดหัวเราะ แอมะซอนยืนยันรีบลบข้อมูลทันทีที่รู้เรื่อง

เดอะมิเรอร์ สื่ออังกฤษรายงานเมื่อวันที่ (1 พ.ย. 65) ว่า พ่อชาวอังกฤษวัย 45 ปี อดัม แชมเบอร์เลน (Adam Chamberlain) จากเชฟฟิลด์ (Sheffield) ตกใจและเปิดเผยต่อสาธารณะหลังพบว่า ‘อเล็กซา’ (Alexa) ซึ่งเป็นเอไอลำโพงคอมพิวเตอร์แอมะซอน Echo ที่โด่งดังและเพิ่งได้มาใหม่นั้น ได้แสดงวิธีการเลี้ยงดูเด็กที่เป็นอันตราย

โดย แชมเบอร์เลน ได้โพสต์วิดีโอคลิปที่เป็นการถามตอบระหว่างเขาและอเล็กซา และกลายเป็นที่โด่งดังไปอย่างรวดเร็ว ซึ่งโดยในวิดีโอคลิปพบว่าคุณพ่อวัย 45 ปี ได้ตั้งคำถามถึงวิธีการทำให้เด็กหยุดหัวเราะ ซึ่งในคลิปเขาถามอเล็กซาว่า “อเล็กซา คุณจะหยุดเด็ก ๆ จากการหัวเราะได้อย่างไร”

และในวิดีโอคลิปพบว่าอเล็กซา ซึ่งเป็นเอไอตอบกลับมาว่า...

‘เจฟฟ์ เบโซส’ พร้อมบริจาคทรัพย์สิน 1.24 แสนล้าน ตั้งใจส่งมอบเพื่อการกุศลในขณะที่เขายังมีชีวิตอยู่

‘เจฟฟ์ เบโซส’ ผู้ก่อตั้งเว็บไซต์ Amazon.com ในโรงรถเล็ก ๆ ที่เมืองซีแอตเติ้ล จนกลายเป็นอภิมหาเศรษฐีอันดับต้น ๆ ของโลก ได้ให้สัมภาษณ์ผ่านรายการของ โคล มีลาส ใน CNN ว่า เขาตั้งใจที่จะบริจาคทรัพย์สินส่วนใหญ่ที่เขามีกว่า 1.24 แสนล้านเหรียญเพื่อการกุศลในขณะที่เขายังมีชีวิตอยู่ 

โดยอภิมหาเศรษฐีแห่ง Amazon ต้องการบริจาคเงินในโครงการด้านสิ่งแวดล้อม เพื่อแก้ป้ญหาสภาพอากาศของโลก และอีกส่วนหนึ่งจะสนับสนุนกลุ่มคนที่อุทิศตนเพื่อช่วยเหลือสังคมที่กำลังเผชิญวิกฤติด้านความแตกแยกทางความคิดอย่างรุนแรงในขณะนี้ และได้ร่างแผนบริจาคเงินเพื่อการกุศลร่วมกับ ลอเรน ซานเชซ คู่ชีวิตคนปัจจุบันของเขา 

ก่อนหน้านี้ เจฟฟ์ เบโซส ถูกวิจารณ์อย่างหนัก ในฐานะที่เขาเป็นถึงมหาเศรษฐีอันดับ 4 ของโลก แต่กลับไม่มีโครงการเพื่อการกุศลอย่างชัดเจน เหมือนกับอภิมหาเศรษฐีรายอื่น ๆ ในระดับเดียวกัน อย่าง บิล เกตส์ หรือ มาร์ก ซักเคอร์เบิร์ก 

‘Amazon’ จ่อปลดพนักงาน 18,000 ตำแหน่ง เซ่นพิษเศรษฐกิจ - ภาวะเงินเฟ้อ

‘แอมะซอน’ ยักษ์ใหญ่อีคอมเมิร์ซอเมริกัน ประกาศตัดลดตำแหน่งงานมากกว่า 18,000 ตำแหน่งจากกำลังแรงงานของบริษัท ซึ่งมากกว่าที่เคยเปิดเผยเอาไว้ก่อนหน้านี้ โดยให้เหตุผลเรื่อง ‘เศรษฐกิจที่ไม่มีความแน่นอน’ และข้อเท็จจริงที่ว่าทางบริษัทมีการ ‘จ้างงานอย่างรวดเร็ว’ ระหว่างที่เกิดโรคระบาดใหญ่โควิด-19

เมื่อวานนี้ (4 ม.ค. 66) แอนดี แจสซี ซีอีโอของแอมะซอน กล่าวในคำแถลงถึงบรรดาลูกจ้างพนักงานที่มีการนำออกเผยแพร่ต่อสาธารณชนว่า จากที่บริษัทได้เคยแจ้งเรื่องการลดตำแหน่งงานเมื่อเดือนพฤศจิกายนปีที่แล้ว เมื่อมาถึงตอนนี้บริษัทวางแผนจะปลดลูกจ้างพนักงานมากกว่า 18,000 ตำแหน่งเล็กน้อย ทั้งนี้ ตอนที่บริษัทประกาศไว้ในเดือน พ.ย. โดยที่เริ่มให้ลูกจ้างพนักงานในแผนกเครื่องมืออุปกรณ์ออกไปนั้น ระบุว่าจะเลย์ออฟราว ๆ 10,000 คน

ซีอีโอของแอมะซอนบอกว่า ตำแหน่งงานที่ถูกตัดลดลงคราวนี้ ส่วนใหญ่จะเป็นผู้ที่ทำงานอยู่ในพวกองค์กรด้านอีคอมเมิร์ซ และด้านทรัพยากรบุคคลของบริษัท และบางส่วนจะเกิดขึ้นในยุโรป โดยแอมะซอนจะเริ่มแจ้งให้ลูกจ้างพนักงานที่ถูกกระทบทราบตั้งแต่วันที่ 18 มกราคม

ในคำแถลง แจสซี กล่าวว่า คณะผู้นำของบริษัท มีความตระหนักอย่างลึกซึ้งว่า การลดตำแหน่งงานเหล่านี้สร้างความยากลำบากให้แก่ผู้คน และเราไม่ได้ตัดสินใจในเรื่องนี้ด้วยความง่ายดายเลย

“เรากำลังทำงานเพื่อสนับสนุนผู้ที่ได้รับความกระทบกระเทือน และกำลังจัดทำแพกเกจต่าง ๆ ซึ่งรวมถึงการจ่ายเงินสำหรับการต้องแยกจากกัน ผลประโยชน์ด้านการประกันสุขภาพระหว่างช่วงเปลี่ยนผ่าน และความสนับสนุนในเรื่องการหาตำแหน่งงานจากภายนอก” ซีอีโอของแอมะซอน กล่าว

แอมะซอน มีกำลังแรงงานทั่วทั้งบริษัทราวๆ 300,000 คน การเลย์ออฟคราวนี้จึงเท่ากับลดคนลงไปประมาณ 6% และก็เป็นเครื่องหมายแสดงให้เห็นถึงการกลับลำอย่างรวดเร็วยิ่งของยักษ์ใหญ่ขายปลีกผ่านออนไลน์รายนี้ ซึ่งเพียงไม่นานมานี้เอง ยังเพิ่งขยายเพดานสูงสุดของเงินเดือนฐานของตนไป 1 เท่าตัว ในระหว่างการแข่งขันกันอย่างดุเดือดกับบริษัทอื่น ๆ เพื่อช่วงชิงผู้มีความรู้ความสามารถ

Amazon เตรียมปลดพนักงานอีก 9 พันคน ท่ามกลางความกังวลเศรษฐกิจถดถอย

Amazon ประกาศเลิกจ้างงานรอบสองอีก 9,000 คน รวม 2 รอบ ยอดรวมเป็น 27,000 คน

บริษัท Amazon Inc แถลงเมื่อวันจันทร์ (20 มีนาคม) ว่า จะเลิกจ้างงาน 9,000 ตำแหน่ง ซึ่งทำให้เป็นบริษัทเทคโนโลยียักษ์ใหญ่รายล่าสุดที่ประกาศเลิกจ้างรอบสอง ท่ามกลางความเป็นไปได้ที่จะเกิดภาวะเศรษฐกิจถดถอย 

บริษัทเทคโนโลยีรายใหญ่หลายแห่ง ซึ่งรวมทั้ง Microsoft Corp, Salesforce Inc และ Alphabet and Meta Platforms ต่างปรับลดตำแหน่งงานหลายพันในช่วงไม่กี่เดือนมานี้ หลังมีการจ้างงานมากเกินไป ส่วน Amazon ตามรอย Meta บริษัทแม่ของ Facebook กลายเป็นบริษัทที่ประกาศลดพนักงานรอบสอง โดยก่อนหน้านี้ได้ปลดไปแล้ว 18,000 คน เมื่อเดือนมกราคม 2566 ที่ผ่านมา

แอนดี แจสซี กรรมการบริหาร หรือซีอีโอ ของ Amazon กล่าวว่า ทางบริษัทได้เพิ่มพนักงานจำนวนมากในช่วงไม่กี่ปีที่ผ่านมา แต่สภาพเศรษฐกิจผันผวนไร้ความแน่นอน ทำให้บริษัทต้องเลือกลดต้นทุนและลดพนักงานลง โดยการลดพนักงานมุ่งเน้นไปในส่วนของการบริการคลาวด์ โฆษณาและทวิตช์

Trillion Dollar Club Companies ของโลก มูลค่าสูงกว่าตลาดหุ้นไทย - GDP ประเทศยักษ์ใหญ่

จากราคาหุ้น Nvidia บริษัทเทคโนโลยีสัญชาติอเมริกันที่มีชื่อเสียงในด้านการออกแบบและผลิตหน่วยประมวลผลกราฟฟิก (GPUs) ซึ่งส่วนใหญ่จะใช้ในคอมพิวเตอร์สำหรับเล่นเกมและเวิร์กสเตชันระดับมืออาชีพ ที่ยังคงร้อนแรงและเดินหน้าขึ้นอย่างต่อเนื่อง ทำให้ปัจจุบัน Nvidia มีมูลค่าตลาด (Market Cap) เบียดและผลัดกันแซงหน้าหุ้นพี่ใหญ่อย่าง Microsoft มาแบบชนิดไม่มีใครยอมใคร โดยที่ทั้งสองบริษัทเป็นบริษัทที่ปัจจุบันมีมูลค่าตลาดที่สูงกว่า 3 ล้านล้านดอลลาร์สหรัฐ (3 Trillion Dollar) ไปเป็นที่เรียบร้อยแล้วค่ะ

ซึ่งในสหรัฐฯ เองจะมีการจัดอันดับบริษัทที่มีมูลค่าตลาดสูงเกินกว่า 1 ล้านล้านเหรียญดอลลาร์ขึ้นไป โดยไม่จำเป็นต้องเป็นบริษัทจดทะเบียนในตลาดหุ้นเท่านั้นนะคะ แต่เพียงแค่บริษัทนอกตลาดหุ้นจะถูกนำมาประเมินมูลค่าได้ยากกว่าบริษัทในตลาดที่จดทะเบียนค่ะ 

แล้ว 1 ล้านล้านดอลลาร์ใหญ่ขนาดไหน? ถ้าเทียบกับมูลค่าตลาดหุ้นไทย 

ณ ปัจจุบัน ตลาดหุ้นไทยมีมูลค่าอยู่ที่ 4 แสนกว่าล้านเหรียญเองค่ะ โดยบริษัทกลุ่มนี้ก็จะมีชื่อเรียกเฉพาะค่ะ เราจะเรียกบริษัทกลุ่มนี้ว่าเป็นบริษัทในกลุ่ม Trillion Dollar Club ซึ่งจากข้อมูลล่าสุดบริษัทในคลับนี้มีด้วยกันอยู่ 6 บริษัทซึ่งทั้งหมดเป็นบริษัทที่จดทะเบียนในตลาดหุ้นค่ะ โดยทั้ง 6 บริษัทประกอบไปด้วย...

1. Apple (AAPL)
2. Microsoft (MSFT)
3. Alphabet (GOOG)
4. Amazon (AMZN)
5. Nvidia (NVDA) 
และ 6. Meta (META)

ก่อนหน้านี้ก็มีบริษัทหุ้นผลิตรถยนต์ไฟฟ้าอย่าง Tesla (TSLA) และบริษัทผลิตน้ำมันสัญชาติซาอุดีอาระเบียอย่าง Saudi Aramco (2222) ที่เคยเข้ามา แต่ก็ถูกนำออกไปตอนที่มูลค่าตลาดของบริษัทพวกนั้นลดลงค่ะ โดยบริษัทแรกที่เข้าในคลับก็คือ AAPL โดย AAPL เข้ามาในคลับตั้งแต่วันที่ 2 สิงหาคม 2018 และจนถึงทุกวันนี้ก็ไม่เคยออกจากคลับอีกเลยค่ะ 

ถ้าเทียบขนาดของ AAPL ก็เทียบได้เท่า ๆ กับ GDP ของแคนาดา และ ออสเตรเลียเลยทีเดียวค่ะ ส่วน Nvidia ที่กำลังร้อนแรงเข้ามาร่วมคลับในตอนเดือนพฤษภาคม 2023 เพราะตอนนั้นมูลค่าตลาดโตขึ้นมาถึง 200% เลยค่ะ 

จริง ๆ แล้วบริษัทที่แตะ 1 ล้านล้านเหรียญแห่งแรกของโลก คือบริษัทสัญชาติจีนอย่าง Petro China ซึ่งจดทะเบียนอยู่ในตลาดหลักทรัพย์เซี่ยงไฮ้ค่ะ โดยเข้ามาแตะในกลุ่ม Trillion Club ในวันแรกของการซื้อขายในช่วงพฤศจิกายน 2007 ค่ะแต่ก็อยู่ได้ไม่นานก็หลุดไปค่ะ 

อย่างไรก็ตามบริษัทในคลับนี้สามารถเปลี่ยนแปลงได้ค่ะ โดยจะสลับเปลี่ยนหมนุนเวียนเข้าออกตามมูลค่าตลาดที่เปลี่ยนแปลงไปค่ะ 

Amazon-Microsoft-Google ทุ่มลงทุนโรงไฟฟ้านิวเคลียร์ รับปริมาณการใช้ไฟฟ้ามหาศาลจาก Ai และ Data Center

(17 ต.ค. 67) สำนักข่าว The New York Times รายงานว่า บริษัทเทคโนโลยีต่าง ๆ กำลังมองหาโรงไฟฟ้านิวเคลียร์เพื่อเป็นแหล่งพลังงานที่ปราศจากการปล่อยก๊าซเรือนกระจกในการขับเคลื่อนปัญญาประดิษฐ์และธุรกิจอื่น ๆ เช่น Data Center

ไมโครซอฟท์ กูเกิล และอเมซอน ได้ทำข้อตกลงกับผู้ดำเนินการและผู้พัฒนาโรงไฟฟ้านิวเคลียร์เพื่อสนับสนุนการเติบโตของศูนย์ข้อมูล ซึ่งเป็นแหล่งให้บริการด้านการประมวลผลแก่ธุรกิจขนาดใหญ่และขนาดเล็ก ความต้องการนี้เพิ่มขึ้นเนื่องจากการลงทุนครั้งใหญ่ของบริษัทเทคโนโลยีเหล่านี้และบริษัทอื่น ๆ ในด้านปัญญาประดิษฐ์ ซึ่งต้องการพลังงานมากกว่าธุรกิจเทคโนโลยีแบบดั้งเดิม เช่น สื่อสังคมออนไลน์ การสตรีมวิดีโอ และการค้นหาทางเว็บ

ไมโครซอฟท์ได้ตกลงจ่ายเงินให้เพื่อฟื้นฟูโรงไฟฟ้านิวเคลียร์ Three Mile Island ที่ปิดตัวลงในเพนซิลเวเนีย และในสัปดาห์นี้ อเมซอนและกูเกิล ได้ประกาศว่ากำลังมุ่งเน้นไปที่เทคโนโลยีใหม่ของเตาปฏิกรณ์นิวเคลียร์ขนาดเล็กแบบโมดูล เทคโนโลยียังไม่ถูกนำมาใช้เชิงพาณิชย์อย่างเต็มที่ แต่ผู้เชี่ยวชาญด้านพลังงานกล่าวว่าอาจมีต้นทุนต่ำกว่าและสร้างง่ายกว่าเตาปฏิกรณ์นิวเคลียร์ขนาดใหญ่ที่สหรัฐอเมริกาได้สร้างขึ้นตั้งแต่ทศวรรษ 1950

บริษัทเทคโนโลยีขนาดใหญ่ ซึ่งเคยลงทุนมากในพลังงานลมและพลังงานแสงอาทิตย์ กำลังหันมาสนใจพลังงานนิวเคลียร์เนื่องจากต้องการพลังงานที่ใช้ได้ตลอด 24 ชั่วโมงและไม่ปล่อยก๊าซเรือนกระจก พลังงานลมและพลังงานแสงอาทิตย์ไม่ก่อให้เกิดการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ แต่ไม่สามารถใช้ได้ตลอดเวลาหากไม่มีแบตเตอรี่หรือรูปแบบการจัดเก็บพลังงานอื่น ๆ บริษัทเทคโนโลยีรายใหญ่ที่สุดได้ให้คำมั่นว่าจะดำเนินการโดยใช้พลังงานที่ปราศจากการปล่อยก๊าซเรือนกระจกภายในปี 2030 แต่คำมั่นสัญญาดังกล่าวเกิดขึ้นก่อนการเติบโตของปัญญาประดิษฐ์ ซึ่งต้องการพลังงานมากขึ้น

"พวกเขามีความปรารถนาที่จะปลูกฝังสิ่งเหล่านี้ในรูปแบบที่ยั่งยืน และในขณะนี้ คำตอบที่ดีที่สุดคือพลังงานนิวเคลียร์" Aneesh Prabhu ผู้จัดการทั่วไปของ S&P Global Ratings กล่าว

เมื่อวันจันทร์ Google ประกาศว่าได้ตกลงซื้อพลังงานนิวเคลียร์จากเตาปฏิกรณ์ขนาดเล็กแบบโมดูลที่กำลังพัฒนาโดยบริษัทสตาร์ทอัพชื่อ Kairos Power และคาดว่าจะเริ่มใช้งานได้ในปี 2030 จากนั้นในวันพุธ อเมซอนได้ประกาศว่าจะลงทุนในการพัฒนาเตาปฏิกรณ์ขนาดเล็กแบบโมดูลโดยบริษัทสตาร์ทอัพอีกแห่งหนึ่ง คือ X-Energy ข้อตกลงของไมโครซอฟท์กับ Constellation Energy เพื่อฟื้นฟูเตาปฏิกรณ์ที่ Three Mile Island ได้รับการประกาศเมื่อเดือนที่แล้ว

นาย Prabhu กล่าวว่าเตาปฏิกรณ์ขนาดเล็กแบบโมดูลอาจมีค่าใช้จ่ายในการสร้างประมาณ 1 พันล้านดอลลาร์ต่อเครื่อง และอาจเป็นไปได้ในอนาคตที่จะวางเตาปฏิกรณ์เหล่านี้ไว้ใกล้กับศูนย์ข้อมูล

บริษัทเทคโนโลยีไม่ใช่บริษัทเดียวที่สนับสนุนพลังงานนิวเคลียร์ ประธานาธิบดีไบเดนเพิ่งลงนามในกฎหมายที่ผ่านโดยเสียงข้างมากทั้งสองพรรคในรัฐสภา ซึ่งผู้เขียนกฎหมายระบุว่าจะช่วยเร่งการพัฒนาโครงการพลังงานนิวเคลียร์ใหม่ๆ

ฝ่ายบริหารของไบเดนมองว่าพลังงานนิวเคลียร์ ซึ่งผลิตไฟฟ้าได้ประมาณร้อยละ 20 ของประเทศในปัจจุบัน มีความสำคัญต่อเป้าหมายในการลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจก ซึ่งถือเป็นการเปลี่ยนแปลงจากอดีตที่พรรคเดโมแครตจำนวนมากคัดค้านโรงไฟฟ้านิวเคลียร์แห่งใหม่เนื่องจากกังวลเรื่องความปลอดภัย สิ่งแวดล้อม และเศรษฐกิจ

“การฟื้นฟูภาคส่วนนิวเคลียร์ของอเมริกาเป็นกุญแจสำคัญในการเพิ่มพลังงานปลอดคาร์บอนให้กับโครงข่ายและตอบสนองความต้องการของเศรษฐกิจที่เติบโตของเรา ไม่ว่าจะเป็น AI และศูนย์ข้อมูล การผลิต และการดูแลสุขภาพ” เจนนิเฟอร์ เอ็ม. แกรนโฮล์ม รัฐมนตรีว่าการกระทรวงพลังงานกล่าวในแถลงการณ์

การสนับสนุนโครงการนิวเคลียร์ของอุตสาหกรรมเทคโนโลยีอาจช่วยฟื้นฟูแหล่งพลังงานที่ประสบปัญหาได้ ด้วยโรงไฟฟ้านิวเคลียร์ที่ยังเปิดดำเนินการอยู่ 94 แห่ง สหรัฐอเมริกามีหน่วยปฏิบัติการมากกว่าประเทศอื่นๆ แต่ในช่วงไม่กี่ทศวรรษที่ผ่านมา มีการสร้างเพียงสองหน่วยในสหรัฐฯ หน่วยปฏิบัติการทั้งสองหน่วยสร้างขึ้นที่โรงไฟฟ้านิวเคลียร์วอกเทิลในเวย์นส์โบโร รัฐจอร์เจีย แต่ใช้งบประมาณเกินหลายหมื่นล้านดอลลาร์และล่าช้าไปหลายปี

หน่วยทั้งสองเป็นส่วนหนึ่งของ "ยุคฟื้นฟูนิวเคลียร์" ที่หลายคนรอคอย ซึ่งคาดว่าจะส่งผลให้มีเครื่องปฏิกรณ์ใหม่ประมาณสองโหล แต่ความทะเยอทะยานเหล่านั้นล้มเหลวเป็นส่วนใหญ่เนื่องมาจากปัญหาของ Vogtle และโครงการพลังงานนิวเคลียร์ที่ล้มเหลวในเซาท์แคโรไลนา

ผู้บริหารในอุตสาหกรรมเทคโนโลยีกล่าวว่าครั้งนี้จะแตกต่างออกไป และบางคนก็เสี่ยงโชคส่วนตัวกับความเชื่อดังกล่าว Bill Gates ผู้ร่วมก่อตั้ง Microsoft ได้ลงทุนมากกว่า 1 พันล้านดอลลาร์ในบริษัทสตาร์ทอัพที่ชื่อว่า TerraPower ซึ่งกำลังดำเนินการพัฒนาเครื่องปฏิกรณ์ขนาดเล็กร่วมกับ PacifiCorp บริษัทสาธารณูปโภคของ Warren Buffett

แนวคิดคือ ส่วนประกอบของแต่ละหน่วยอาจมีขนาดเล็กพอที่จะผลิตเป็นจำนวนมากบนสายการประกอบ ทำให้มีราคาถูกลง โรงไฟฟ้าแต่ละแห่งอาจเริ่มต้นด้วยเครื่องปฏิกรณ์หนึ่งหรือสองเครื่อง จากนั้นจึงค่อยเพิ่มเครื่องปฏิกรณ์เข้าไปอีกในอนาคต

“กุญแจสำคัญของพลังงานนิวเคลียร์คือคุณต้องเลือกบางอย่างและสร้างมันขึ้นมาจำนวนมากเพื่อให้มีราคาถูก” ริช พาวเวลล์ หัวหน้าสมาคมผู้ซื้อพลังงานสะอาด ซึ่งเป็นกลุ่มการค้าที่มีสมาชิกเป็นบริษัทเทคโนโลยีขนาดใหญ่ กล่าว

แต่บรรดานักวิจารณ์พลังงานนิวเคลียร์ยังคงไม่เชื่อ พวกเขาโต้แย้งว่าแม้ว่าข้อเสนอจากบริษัทสาธารณูปโภคและบริษัทเทคโนโลยีอาจฟังดูน่าสนใจ แต่ข้อเสนอเหล่านั้นไม่ได้ช่วยแก้ปัญหาพลังงานนิวเคลียร์ที่มีมายาวนาน ปัญหาเหล่านี้รวมถึงต้นทุนที่สูงของเตาปฏิกรณ์ใหม่ ความล่าช้าในการก่อสร้าง และไม่มีสถานที่จัดเก็บถาวรสำหรับเชื้อเพลิงนิวเคลียร์ใช้แล้ว

“ตั้งแต่ปี 1960 เป็นต้นมา สหรัฐอเมริกาพยายามสร้างเตาปฏิกรณ์พลังงาน 250 เครื่อง” อาร์นี่ กันเดอร์เซน หัวหน้าวิศวกรของ Fairewinds Energy Education ซึ่งเป็นองค์กรไม่แสวงหากำไรที่ต่อต้านพลังงานนิวเคลียร์ กล่าว “มากกว่าครึ่งหนึ่งถูกยกเลิกก่อนที่จะผลิตไฟฟ้าได้ เตาปฏิกรณ์ที่เหลือไม่มีเครื่องใดเลยที่สร้างเสร็จทันเวลาและไม่เกินงบประมาณ”

อย่างไรก็ตาม ผู้บริหารด้านเทคโนโลยีและพลังงานจำนวนมากกล่าวว่าพลังงานนิวเคลียร์มีความจำเป็น เนื่องจากแหล่งพลังงานหมุนเวียน เช่น พลังงานลม พลังงานแสงอาทิตย์ และพลังงานน้ำ ไม่น่าเชื่อถือเพียงพอที่จะตอบสนองความต้องการพลังงานที่เพิ่มขึ้น

การใช้ไฟฟ้าเพิ่มขึ้นแล้วในช่วงไม่กี่ปีที่ผ่านมา เนื่องจากบุคคลทั่วไปและธุรกิจต่างหันมาใช้ยานยนต์ที่ใช้พลังงานแบตเตอรี่ ปั๊มความร้อน และเครื่องปรับอากาศ ปัจจุบัน ศูนย์ข้อมูลของอุตสาหกรรมเทคโนโลยีกำลังเร่งการเติบโตดังกล่าว

แม้ว่าศูนย์ข้อมูลจะมีสัดส่วนการใช้พลังงานเพียงเล็กน้อยทั่วโลก แต่สัดส่วนการใช้พลังงานก็เพิ่มขึ้นเรื่อยๆ และมักกระจุกตัวอยู่ในบางภูมิภาค เช่น เวอร์จิเนียตอนเหนือ ซึ่งอาจทำให้ระบบสายส่งไฟฟ้าในพื้นที่เกิดความเครียดได้

ศูนย์ข้อมูลใช้ไฟฟ้าในการเปิดเซิร์ฟเวอร์คอมพิวเตอร์ และที่สำคัญที่สุดคือทำให้เย็นลง พลังงานมีความสำคัญอย่างยิ่งสำหรับศูนย์ข้อมูลจนอุตสาหกรรมพูดถึงขนาดของอาคารโดยไม่ได้พิจารณาจากขนาดพื้นที่ แต่พิจารณาจากปริมาณเมกะวัตต์ที่ได้รับจากสาธารณูปโภค

ในศูนย์ข้อมูลทั่วไป เซิร์ฟเวอร์ 1 ชุดในศูนย์ข้อมูลต้องใช้พลังงานประมาณ 5 ถึง 10 กิโลวัตต์ แต่เซิร์เวอร์ที่เต็มไปด้วยชิปคอมพิวเตอร์ A.I. ขั้นสูงอาจต้องใช้พลังงานมากกว่า 100 กิโลวัตต์ Raul Martynek ประธานเจ้าหน้าที่บริหารของ DataBank ซึ่งเป็นบริษัทศูนย์ข้อมูล กล่าวในการสัมภาษณ์เมื่อเร็วๆ นี้ว่า “จากมุมมองด้านโครงสร้างพื้นฐานแล้ว ต้องใช้พลังงานมากกว่าถึงหลายเท่า” เขากล่าว

ยักษ์ใหญ่ด้านเทคโนโลยีได้เพิ่มการใช้จ่ายในระดับที่น่าทึ่ง ซึ่งส่วนใหญ่ก็เพื่อตอบสนองความต้องการและศักยภาพที่พวกเขาเห็นในด้าน A.I. บริษัทเทคโนโลยีที่ใหญ่ที่สุด 5 แห่ง เช่น Alphabet, Microsoft และ Amazon ใช้จ่ายเงินด้านทุนรวมกัน 59,000 ล้านดอลลาร์ในไตรมาสที่แล้วเพียงไตรมาสเดียว เพิ่มขึ้น 63 เปอร์เซ็นต์จากปีก่อน และพวกเขายังส่งสัญญาณไปยังนักลงทุนว่าพวกเขาวางแผนที่จะใช้จ่ายต่อไป

ในปีนี้ Amazon ใช้จ่ายเงิน 650 ล้านดอลลาร์เพื่อซื้อศูนย์ข้อมูลที่กำลังอยู่ระหว่างการพัฒนา ซึ่งจะใช้พลังงานโดยตรงจากโรงไฟฟ้านิวเคลียร์ที่มีอยู่แล้วในเพนซิลเวเนีย นอกเหนือจากข้อตกลงที่ Three Mile Island แล้ว Microsoft ยังตกลงที่จะซื้อพลังงานจาก Helion Energy ซึ่งเป็นบริษัทสตาร์ทอัพในพื้นที่ซีแอตเทิลที่มุ่งสร้างโรงไฟฟ้านิวเคลียร์ฟิวชันแห่งแรกของโลกภายในปี 2028


© Copyright 2021, All rights reserved. THE STATES TIMES
Take Me Top