Friday, 4 July 2025
เวียดนาม

ความสำเร็จในการพัฒนาทางเศรษฐกิจของจีน และเวียดนาม ซึ่งปกครองด้วย พรรคคอมมิวนิวต์ พรรคเดียว

(24 พ.ค. 68) ศ.เจมส์ โรบินสัน ผู้ร่วมเขียนหนังสือ Why Nations Fail ให้กับบีบีซีไทย 
ได้ให้ความเห็น เกี่ยวกับความสำเร็จในการพัฒนาทางเศรษฐกิจของจีน และเวียดนาม 
ซึ่งปกครองด้วย พรรคคอมมิวนิวต์ พรรคเดียว โดยได้ระบุว่า ...

ถ้าคุณกำลังพิจารณาว่าประเทศจะไปในทิศทางใดในอีก 10 ปีข้างหน้า หรืออนาคตจะเป็นอย่างไร ผมจะมองไปว่าประเทศเหล่านี้ได้สร้างสถาบันทางการเมืองแบบครอบคลุมไว้มากน้อยแค่ไหน 

ประเทศเวียดนามน่าจะยังห่างไกล จากการมีระบบการเมืองที่ชอบทำและมีความครอบคลุมเมื่อเทียบกับประเทศไทย ประเทศเวียดนามโดยพื้นฐานแล้วยังคงถูกควบคุมโดยพรรคคอมมิวนิสต์ พวกเขาเรียนรู้จากช่วงทศวรรษ 1980 ที่พวกเขาทำแบบเดียวกัน 

พวกเขาเรียนรู้จากจีนและเติ้งเสี่ยวผิง สิ่งที่เติ้งเสี่ยวผิงทำ และพวกเขาก็ตระหนักว่าถ้าเราทำสิ่งนี้ในเวียดนามมันจะดี แล้วมันก็ดีจริงๆในทางเศรษฐกิจไม่มีข้อสงสัยเลย แต่ยังคงมีคำถามข้อนี้เกี่ยวกับการเปลี่ยนผ่าน จะเกิดอะไรขึ้นในประเทศเวียดนาม ตอนที่พักคอมมิวนิสต์สูญเสียอำนาจ ซึ่งผมคิดว่ามันเรื่องไม่ได้ที่จะเกิดขึ้น

ผมคิดว่าสิ่งที่หลักฐานโชว์ก็คือ ประชาธิปไตยช่วยส่งเสริมการจัดสรรสินค้าสาธารณะ ประชาธิปไตยเป็นสิ่งดี สำหรับการพัฒนาเศรษฐกิจในทุกที่ทั่วโลก 

แต่สิ่งที่คุณเห็นได้จากกรณีของเอเชียตะวันออกก็คือ กรณีที่ประสบความสำเร็จด้านการเติบโตทางเศรษฐกิจแม้ปราศจากประชาธิปไตย 

จริงๆแล้วมันมีตัวอย่างเช่นนี้มากมายในประวัติศาสตร์โลก แต่สำหรับทุกๆ 1 ประเทศที่รัฐบาลเผด็จการส่งเสริมการเติบโตทางเศรษฐกิจได้สำเร็จ สามารถยกตัวอย่างอื่นๆได้อีก 5 ประเทศที่รัฐบาลเผด็จการทำให้ประเทศยากจนลง

และก็มีอีกหลายกรณีเช่น เรื่องการเติบโตของ AI ในจีนรวมถึงเทคโนโลยี 

ซึ่งนี่คล้ายกับสหภาพโซเวียตมาก สหภาพโซเวียตเคยทุ่มเททรัพยากรจำนวนมหาศาล และจัดสรรบุคลากรที่เก่งๆไปยังการพัฒนาอาวุธ อาวุธทางทหาร รถถัง จรวด ขีปนาวุธอาวุธนิวเคลียร์ พวกเขาพัฒนาอาวุธนิวเคลียร์ของตัวเองขึ้นมา และรัฐบาลจีนก็กำลังทำในสิ่งเดียวกันกับ AI จีนทุ่มเททรัพยากรจำนวนมหาศาลลงไปใน AI เพราะพวกเขาเชื่อว่า นี่คือเทคโนโลยีที่สอดคล้องกับเป้าหมายในการรักษาการควบคุมสังคมของตัวเอง พวกเขาสามารถใช้มันได้ มันจะช่วยเพิ่ม ผลิตผลทางการผลิต 

แต่มันก็อนุญาตให้พวกเขาจับตาและควบคุมประชาชน คล้ายกับรูปแบบของเผด็จการเบ็ดเสร็จ มันจะได้ผลไหม ก็ไม่รู้ มีงานวิจัยที่น่าสนใจเกี่ยวกับเรื่องนี้อยู่มากในตอนนี้ ยังไม่สามารถบอกได้ว่าสิ่งนี้จะดีหรือไม่ มันอาจจะแตกต่างอย่างมากจากกรณีของสหภาพโซเวียตก็ได้ 

จีนอาจสามารถผสมผสานรวมโลกสมัยใหม่ กับเทคโนโลยี ซึ่งช่วยเพิ่มประสิทธิภาพของแรงงาน พร้อมกับการควบคุมประชาชน และบางทีมันก็อาจจะจริง และเทคโนโลยีอาจทำให้ทฤษฎีในหนังสือของเราไม่สอดคล้องกับโลกยุคนี้ อีกต่อไปก็ได้ ซึ่งในปัจจุบันเรายังไม่รู้ว่าจีนจะสามารถทำแบบนั้นได้หรือไม่

นักลงทุนโวย!! เวียดนามหั่น!! เงินสนับสนุน ‘โซลาร์ - วินด์ฟาร์ม’ เสี่ยงเบี้ยวหนี้ระลอกใหญ่

(24 พ.ค. 68) บริษัทสาธารณูปโภคไฟฟ้าของรัฐในเวียดนามมีการปรับลดอัตราเงินสนับสนุนที่เคยตกลงไว้กับโครงการพลังงานแสงอาทิตย์ และลมบางแห่งลง ซึ่งส่งผลให้การลงทุนในโครงการพลังงานหมุนเวียนเหล่านี้เสี่ยงต่อการผิดนัดชำระหนี้

สำหรับคำร้องดังกล่าวลงวันที่ 16 พฤษภาคม และส่งถึงผู้กำหนดนโยบายระดับสูงของเวียดนาม สืบเนื่องจากคำเตือนก่อนหน้านี้ของกลุ่มนักลงทุนกลุ่มเดียวกัน

โดยเตือนว่าเม็ดเงินลงทุนหลายพันล้านดอลลาร์กำลังตกอยู่ในความเสี่ยงจากการเปลี่ยนแปลงนโยบายเงินสนับสนุนของรัฐ ทั้งที่เวียดนามยังคงพยายามผลักดันการเติบโตของกำลังการผลิตไฟฟ้าจากพลังงานหมุนเวียนอย่างรวดเร็ว

คำร้องระบุว่า ตั้งแต่มกราคม 2025 บริษัทในเครือของการไฟฟ้าแห่งชาติเวียดนาม (Electricity of Vietnam: EVN) ได้เริ่มระงับการจ่ายเงินบางส่วน 

และใช้อัตราค่าธรรมเนียมไฟฟ้าชั่วคราว (provisional tariff) ที่กำหนดเองโดยฝ่ายเดียว

นักลงทุนรายหนึ่งที่ลงนามในคำร้องกล่าวว่าการดำเนินการนี้ได้บังคับให้บริษัทต้องละเมิดข้อตกลงกับธนาคารทั้งในประเทศและต่างประเทศ ซึ่งทำให้บริษัทมีความเสี่ยงอย่างมากต่อการผิดนัดชำระหนี้ เนื่องจากบริษัทต้องเผชิญกับปัญหาการชำระหนี้และขาดกระแสเงินสดในการดำเนินงาน

โดยมีผู้ถือหุ้นต่างชาติจำนวน 16 รายร่วมลงนามในจดหมายฉบับนี้ อาทิ บริษัทร่วมทุน Dragon Capital, สาขาในเวียดนามของกลุ่มพลังงาน ACEN จากฟิลิปปินส์ รวมถึงนักลงทุนจากไทย จีน เกาหลีใต้ และสิงคโปร์ นอกจากนั้นยังมีผู้พัฒนาโครงการท้องถิ่นอีกหลายรายร่วมสนับสนุนจดหมาย

การบูมของพลังงานหมุนเวียนในเวียดนามเริ่มต้นจากอัตรารับซื้อไฟฟ้าตามนโยบาย (feed-in tariffs: FiTs) ที่น่าสนใจ รัฐบาลรับประกันการรับซื้อไฟฟ้านาน 20 ปี ที่ราคาสูงกว่าตลาด เป็นแรงจูงใจสำคัญให้ผู้ผลิตพลังงาน จะไม่ถูกนำมาใช้กับโครงการที่ละเมิดแนวทางข้อกำหนดด้านกฎระเบียบ อย่างไรก็ดี บริษัทฯ ยังไม่ได้ชี้แจงว่าได้รับใช้กฎเกณฑ์ย้อนหลังหรือไม่ หรือโครงการใดที่ได้รับผลกระทบบ้าง

สื่อนอกชี้! เวียดนามคือจุดหมายใหม่ของนักเดินทาง สวยกว่า ถูกกว่า อาหารอร่อย น่าเที่ยวกว่าไทย

(29 พ.ค. 68) สื่อต่างประเทศรายงานว่า เวียดนามกำลังกลายเป็นทางเลือกใหม่ในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้สำหรับนักเดินทางที่มองหาประสบการณ์ที่แตกต่างจากไทย ด้วยธรรมชาติที่หลากหลายและวัฒนธรรม นักท่องเที่ยวต่างชาติหลายคนเริ่มยกย่องเวียดนามว่าให้ประสบการณ์ที่เหนือกว่าไทย ทั้งในด้านสถานที่ท่องเที่ยว อาหาร และความคุ้มค่าของค่าใช้จ่าย

เวียดนามมีสถานที่ท่องเที่ยวระดับโลกหลายแห่ง เช่น อ่าวฮาลองที่งดงามด้วยเกาะหินปูนและน้ำสีมรกต, เมืองมรดกโลกฮอยอันที่เต็มไปด้วยประวัติศาสตร์, และเกาะฟู้โกว๊กกับหาดทรายขาวสวยสงบ รวมถึงเส้นทางขี่มอเตอร์ไซค์ “Ha Giang Loop” ในภาคเหนือที่โด่งดังในหมู่นักผจญภัย

นอกจากนี้ เวียดนามยังเป็นประเทศที่ค่าใช้จ่ายในการเดินทางไม่สูงเมื่อเทียบกับไทย อาหารเวียดนามทั้งสด อร่อย และดีต่อสุขภาพ เช่น เฝอ บั๋นหมี่ และปอเปี๊ยะ นอกจากนี้ยังมีชื่อเสียงในเรื่องกาแฟ ไม่ว่าจะเป็นกาแฟไข่ กาแฟมะพร้าว หรือกาแฟเกลือ ที่มีรสเข้มข้นและเป็นเอกลักษณ์

แม้การท่องเที่ยวในเวียดนามจะขยายตัวอย่างรวดเร็ว แต่จำนวนยังไม่มากเท่าไทย ซึ่งทำให้หลายพื้นที่ยังคงมีความสงบและเสน่ห์เฉพาะตัว เหมาะสำหรับนักท่องเที่ยวที่กำลังมองหาทางเลือกใหม่ในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้

เวียดนามสั่งแบน The Economist ฉบับ ‘โต เลิม’ หวั่นปกนิตยสารกระทบ!..ภาพลักษณ์ผู้นำพรรคคอมมิวนิสต์

(30 พ.ค. 68) รัฐบาลเวียดนามมีคำสั่งห้ามวางจำหน่ายนิตยสาร The Economist ฉบับล่าสุด หลังขึ้นปกภาพ โต เลิม เลขาธิการพรรคคอมมิวนิสต์วัย 67 ปี โดยภาพดังกล่าวแสดงให้เห็นดวงตาของเขาถูกปิดด้วยดาวสีเหลืองบนพื้นหลังสีแดง พร้อมพาดหัวว่า 'บุรุษผู้มีแผนสำหรับเวียดนาม' ซึ่งถูกมองว่าเป็นภาพเชิงสัญลักษณ์ที่อ่อนไหว

แหล่งข่าวในประเทศให้ข้อมูลกับสำนักข่าว Reuters ว่า ได้รับคำสั่งให้ฉีกหน้าปกและบทความที่เกี่ยวข้องกับ โต เลิม ออกจากนิตยสาร ก่อนที่จะมีคำสั่งให้ระงับการจำหน่ายทั้งหมด แม้จนถึงขณะนี้ ทางการยังไม่มีแถลงการณ์ชี้แจงอย่างเป็นทางการเกี่ยวกับเหตุผลของการแบน

การดำเนินการดังกล่าวสอดคล้องกับแนวทางควบคุมสื่อที่เข้มงวดของรัฐบาลเวียดนาม ซึ่งมีประวัติการจำกัดเสรีภาพในการแสดงความคิดเห็น โดยเวียดนามอยู่ในอันดับที่ 173 จาก 180 ประเทศ ตามดัชนีเสรีภาพสื่อของ Reporters Without Borders (RSF) ปี 2025 สะท้อนถึงเสรีภาพของสื่อมวลชนที่อยู่ในระดับต่ำมาก

สำหรับเนื้อหาในบทความของ The Economist ระบุว่า โต เลิม เป็นผู้นำที่แข็งกร้าวซึ่งจำเป็นต้องปรับบทบาทเป็นนักปฏิรูปเพื่อรับมือกับความท้าทายทางเศรษฐกิจ การใช้ภาพสื่อถึงสัญลักษณ์ชาติบนใบหน้าของเขาอาจถูกตีความว่าเป็นการวิจารณ์เชิงล้อเลียน

การแบนครั้งนี้สะท้อนถึงความอ่อนไหวของรัฐบาลเวียดนามต่อการวิจารณ์ผู้นำระดับสูงจากสื่อต่างชาติ แม้ฉบับพิมพ์จะถูกระงับ แต่บทความฉบับออนไลน์ของ The Economist ยังสามารถเข้าถึงได้

เวียดนาม เข้าร่วมเป็น Partner กลุ่ม BRICS แล้ว ส่วน อินโดนีเซีย เป็นสมาชิกเต็มตัว ตั้งแต่ต้นปี

(15 มิ.ย. 68) รศ.ดร.อักษรศรี พานิชสาส์น อาจารย์ประจำคณะเศรษฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ได้โพสต์เฟซบุ๊ก Aksornsri Phanishsarn ระบุว่า ...

#เวียดนาม ไปต่อไม่ย่ำอยู่กับที่ เน้น diversify ตลาดใหม่ๆ ในยุคสงครามการค้าระอุ ล่าสุด เวียดนามเข้าร่วม BRICS ในฐานะ partner country เรียบร้อยแล้ว

15.06.2025 เวียดนามได้รับการรับรองให้เป็น partner ของกลุ่ม BRICS โดยบราซิลในฐานะประธานกลุ่ม BRICS ชั่วคราว ประกาศยอมรับเวียดนามอย่างเป็นทางการ “รัฐบาลบราซิลมีความยินดีที่เวียดนามตัดสินใจเข้าร่วมสร้างระเบียบระหว่างประเทศ และสนับสนุนให้เกิดความร่วมมือระหว่างกันอย่างยั่งยืน”
 

กัมพูชาสับคัตเอาต์ไทย หันใช้ไฟฟ้าเวียดนามแทน ปอยเปตดับ 20 นาที ชาวบ้านโอดไฟตกทั้งวัน

เมื่อช่วงเช้าวันที่ (17 มิ.ย. 68) เจ้าหน้าที่การไฟฟ้ากัมพูชาได้ทำการสับคัตเอาต์ตัดกระแสไฟฟ้าที่รับจากประเทศไทยบริเวณเสาไฟข้างสำนักงานตรวจคนเข้าเมืองปอยเปต ฝั่งกัมพูชา ใกล้สะพานมิตรภาพไทย-กัมพูชา ก่อนเชื่อมต่อกระแสไฟฟ้าจากเวียดนามเข้าระบบแทน

การเปลี่ยนแหล่งจ่ายไฟฟ้าทำให้พื้นที่ฝั่งปอยเปตเกิดไฟดับชั่วคราวประมาณ 20 นาที ก่อนระบบจะกลับมาใช้งานได้ตามปกติ โดยมีการจ่ายไฟจากสายส่งเวียดนามเข้าทดแทน

อย่างไรก็ตาม ชาวบ้านในพื้นที่ปอยเปตต่างร้องเรียนว่า กระแสไฟฟ้าจากเวียดนามมีความไม่เสถียร บางจุดเกิดไฟตก ขณะที่บางจุดไม่มีกระแสไฟเลย ส่งผลกระทบต่อการดำเนินชีวิตประจำวัน

การตัดไฟจากไทยและหันมาใช้ไฟเวียดนามของกัมพูชาเกิดขึ้นท่ามกลางความตึงเครียดในระดับภูมิภาค โดยยังไม่มีการชี้แจงอย่างเป็นทางการถึงเหตุผลของการเปลี่ยนแหล่งจ่ายไฟฟ้าในครั้งนี้จากทางการกัมพูชา

รวบดาว TikTok เวียดนาม โกงภาษีกว่า 100 ล้าน สรรพากรแฉ! ใช้บัญชีคู่–ตั้งบริษัทซ้อน–โอนเงินผ่านบัญชีม้า

(26 มิ.ย. 68) เจ้าหน้าที่ตำรวจกรุงฮานอย ประเทศเวียดนาม ดำเนินคดีอาญากับ Vũ Nam Phương หรือที่รู้จักกันในโลกออนไลน์ในชื่อ 'Cún Bông' TikToker ชื่อดัง พร้อมสามีและผู้ร่วมขบวนการ ฐานกระทำความผิดเกี่ยวกับบัญชีและการเลี่ยงภาษีอย่างมีระบบ โดยมีการจัดทำบัญชีคู่และตั้งบริษัทที่อยู่ตรงกับที่อยู่ของกิจการเพื่อสับเปลี่ยนเอกสารและปกปิดรายได้จริง

จากการสอบสวนพบว่า สามีภรรยาคู่นี้ดำเนินธุรกิจสินค้าอุปโภคบริโภคและผลิตภัณฑ์ความงามภายใต้ชื่อบริษัท Dược Hoa Kỳ ผ่านช่องทาง Facebook, TikTok และแพลตฟอร์มออนไลน์ต่าง ๆ มียอดผู้ติดตามรวมหลายแสนราย แต่ในเบื้องหลัง กลับจงใจจัดทำบัญชีสองชุดเพื่อหลีกเลี่ยงการเสียภาษี โดยมีรายได้จริงกว่า 120 พันล้านดอง (ราว 190 ล้านบาท) แต่แจ้งรายได้เพียง 5 พันล้านดอง (7.14 ล้านบาท) ซึ่งจากการกระทำของเธอทำให้รัฐขาดรายได้กว่า 10 พันล้านดอง หรือประมาณ 12 ล้านบาท

นาย Vũ Mạnh Cường ผู้อำนวยการสำนักงานภาษีเขต 1 เปิดเผยว่า นี่เป็นกรณีเลี่ยงภาษีที่มีความซับซ้อนสูง โดยผู้ต้องหาใช้วิธีออกใบเสร็จในนามบริษัทหากลูกค้าขอใบกำกับภาษี แต่หากไม่ขอก็จะขายผ่านชื่อบุคคลธรรมดาเพื่อเลี่ยงการบันทึกรายได้ ซึ่งถือเป็นการวางแผนและดำเนินการอย่างเป็นระบบ

นอกจากนี้ เจ้าหน้าที่ยังตรวจสอบธุรกรรมทางการเงินผ่านบัญชีส่วนตัวของ Phương ที่มียอดเคลื่อนไหวกว่า 500 พันล้านดอง (622.5 ล้านบาท) พร้อมเตือนว่าปัจจุบันมีผู้ค้าหลายรายใช้วิธีรับเงินสดหรือโอนผ่านบัญชีบุคคลใกล้ชิดเพื่อหลบเลี่ยงการตรวจสอบ อย่างไรก็ตามด้วยการบูรณาการข้อมูลจากหน่วยงานภาษี ตำรวจ และธนาคาร พฤติกรรมเลี่ยงภาษีไม่ว่าจะแยบยลเพียงใด ก็สามารถตรวจจับได้ในท้ายที่สุด

‘เวียดนาม’ เร่งปิดดีลโรงไฟฟ้านิวเคลียร์ หวังบรรลุข้อตกลงกับ ‘รัสเซีย’ ภายใน ส.ค. นี้

(26 มิ.ย. 68) รัฐบาลเวียดนามสั่งการให้กระทรวงอุตสาหกรรมเร่งสรุปการเจรจากับรัสเซียภายในเดือนกรกฎาคม เพื่อเตรียมลงนามข้อตกลงระหว่างรัฐบาลว่าด้วยความร่วมมือก่อสร้างโรงไฟฟ้านิวเคลียร์นิญถ่วน 1 ในเดือนสิงหาคม โดยโครงการนี้มีเป้าหมายแล้วเสร็จภายในสิ้นปี 2030 หรืออย่างช้าที่สุดในปี 2031

บุ่ย แทงห์ เซิน รองนายกรัฐมนตรี ระบุว่า การเจรจากับรัสเซียล่าช้ากว่ากำหนด ซึ่งอาจส่งผลต่อกระบวนการอนุมัติและดำเนินโครงการ กระทรวงอุตสาหกรรมในฐานะฝ่ายเลขานุการของคณะกรรมการพัฒนาโรงไฟฟ้านิวเคลียร์ จึงถูกกำชับให้จัดตั้งคณะเจรจาโดยด่วน และต้องระบุความรับผิดชอบของแต่ละฝ่ายในข้อตกลงอย่างชัดเจน

ควบคู่กันนั้น ทางการเวียดนามยังรื้อฟื้นความร่วมมือกับญี่ปุ่นในโครงการนิญถ่วน 2 โดยมอบหมายให้หน่วยงานต่าง ๆ เร่งหารือและรายงานผลภายในเดือนกรกฎาคม ด้านโครงการนิญถ่วน 1 และ 2 ซึ่งอยู่ในจังหวัดนิญถ่วน จะมี การไฟฟ้าแห่งประเทศเวียดนาม (EVN) และ บริษัทน้ำมันและก๊าซธรรมชาติเวียดนาม (PVN) เป็นเจ้าของโครงการตามลำดับ

รัฐบาลเวียดนามเน้นย้ำว่า การฟื้นโครงการพลังงานนิวเคลียร์มีเป้าหมายเพื่อรองรับความต้องการพลังงานที่เติบโตต่อเนื่อง และสนับสนุนเป้าหมายลดการปล่อยคาร์บอนให้เป็นศูนย์ภายในปี 2050 พร้อมกำชับให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องเร่งจัดทำแผนการลงทุนและข้อกำหนดด้านความปลอดภัย รวมถึงการจัดสรรงบประมาณและแผนโยกย้ายชุมชนให้เสร็จสิ้นตามกรอบเวลาที่กำหนด

‘ทรัมป์’ ประกาศลดภาษีนำเข้าเวียดนามจาก 46% เหลือ 20% พร้อมลงทุนกว่าหมื่นล้านบาท ผุด Trump Tower ในโฮจิมินห์

(3 ก.ค. 68) ประธานาธิบดีโดนัลด์ ทรัมป์ แถลงผ่านโซเชียลมีเดียว่า สหรัฐฯ บรรลุข้อตกลงการค้าฉบับใหม่กับเวียดนาม โดยจะเก็บภาษีนำเข้าสินค้าจากเวียดนามในอัตรา 20% แทนการเก็บภาษี 46% ที่เดิมมีกำหนดบังคับใช้ในสัปดาห์หน้า ตามนโยบาย 'ภาษีตอบโต้' ที่ทรัมป์ประกาศไว้เมื่อเดือนเมษายน

ข้อตกลงนี้ยังเปิดโอกาสให้สินค้าจากสหรัฐฯ เข้าสู่ตลาดเวียดนามโดยไม่มีการเก็บภาษี ขณะที่สินค้าที่ผ่านเวียดนามโดยไม่ได้ผลิตในประเทศ (trans-shipping) จะถูกเก็บภาษีสูงถึง 40% เพื่อป้องกันการเลี่ยงภาษีจากประเทศอื่น โดยเฉพาะสินค้าจากจีนที่ถูกส่งผ่านเวียดนาม

ทรัมป์กล่าวว่า เวียดนามจะเปิดตลาดอย่างเต็มที่ ให้กับสหรัฐฯ ซึ่งไม่เคยเกิดขึ้นมาก่อน นับเป็นผลสำเร็จจากความร่วมมือที่เขาเรียกว่า “ข้อตกลงแห่งความร่วมมืออันยิ่งใหญ่” พร้อมทั้งย้ำว่าสหรัฐฯ จะสามารถส่งออกสินค้าไปยังเวียดนามโดยไม่ต้องเสียภาษีนำเข้า

ข้อตกลงใหม่นี้ส่งผลให้หุ้นของบริษัทที่ผลิตสินค้าในเวียดนามปรับตัวสูงขึ้นทันที อย่างไรก็ตาม ราคาหุ้นกลับปรับลดลงภายหลังมีรายละเอียดเพิ่มเติมว่าสินค้าจะยังคงถูกเก็บภาษี 20% ด้านผู้บริหารหอการค้าอเมริกันในฮานอยแสดงความเชื่อมั่นว่า ข้อตกลงนี้จะเป็นประโยชน์ต่อเวียดนามในระยะยาว แม้ยังมีข้อกังขาเรื่องการบังคับใช้กฎเกี่ยวกับ trans-shipping

นอกจากนี้ มีรายงานว่า ทรัมป์และเลขาธิการพรรคคอมมิวนิสต์เวียดนาม โทรศัพท์พูดคุยกันในวันเดียวกัน โดยเวียดนามได้เชิญทรัมป์เยือนประเทศอีกครั้ง ขณะเดียวกัน องค์กรทรัมป์ยังเตรียมลงทุนกว่า 1.5 พันล้านดอลลาร์ (ราว 54,750 ล้านบาท) ในเวียดนาม และมีแผนสร้างตึก Trump Tower แห่งใหม่ในโฮจิมินห์ซิตี้อีกด้วย

‘ดร.กอบศักดิ์’ วิเคราะห์นัยยะอัตราภาษี “สหรัฐฯ-เวียดนาม” ชี้ เป็นจุดเปรียบเทียบที่ไทยต้องพยายามทำให้ได้ไม่น้อยหน้า

(3 ก.ค. 68) ‘ดร.กอบศักดิ์’ วิเคราะห์นัยยะอัตราภาษี หลัง “สหรัฐฯ-เวียดนาม” บรรลุการเจรจา ชี้เป็นจุดเปรียบเทียบไทยต้องพยายามให้ได้ไม่น้อยหน้า พร้อมให้กำลังใจทีมไทยแลนด์เจรจาให้ได้รับผลที่ดี

ดร.กอบศักดิ์ ภูตระกูล กรรมการรองผู้จัดการ ธนาคารกรุงเทพ ในฐานะประธานกรรมการสภาธุรกิจตลาดทุนไทย (FETCO) โพสต์เฟซบุ๊กว่า นัยยะจากผลการเจรจาของสหรัฐกับเวียดนาม ข้อสรุปล่าสุดสำหรับเวียดนามที่นายโดนัลด์ ทรัมป์ ประธานาธิบดีสหรัฐ ประกาศออกมาเมื่อคืน จะเป็น 1.จุดเปรียบเทียบที่ไทย ต้องพยายามให้ได้ ไม่น้อยหน้า 2.ต้นแบบและบรรทัดฐานให้กับทุกประเทศที่เหลือ โดยข้อตกลงดังกล่าวมีตัวเลขสำคัญ 3 ตัวเลข 0% 20% และ 40%

โดย 0% สำหรับสินค้าสหรัฐที่จะส่งมาที่เวียดนาม ที่ต่อไปนี้ ไม่ว่าจะเป็นสินค้าไหนก็ตามที่ผลิตในสหรัฐอเมริกา จะสามารถส่งมาที่เวียดนามโดยไม่โดนภาษีศุลกากร

“เรื่องนี้ แม้ว่าจะยังไม่ได้มีการพูดถึงชัด ๆ แต่คำว่า Total Access คงหมายรวมไปถึงว่า จะต้องไม่มี Non-tariff Barriers ต่าง ๆ ที่เวียดนามจะแอบทำด้วย ซึ่งสหรัฐคงจะแจ้งไทย (และคู่เจรจาคนอื่น ๆ) เช่นกันว่า เขาต้องการ 0% และ Total Access ที่ไม่มีการกีดกันอื่น ๆ สำหรับสินค้าสหรัฐ”

ขณะที่คิด 20% สำหรับสินค้าเวียดนามทุกอย่างที่ส่งออกมาที่สหรัฐ ตัวเลขนี้ก็มีความสำคัญเช่นกัน เพราะต่อไปจะเป็นต้นแบบให้กับประเทศต่าง ๆ ที่สหรัฐขาดดุลด้วย และเป็นจุดเปรียบเทียบสำคัญที่ไทย (และประเทศอื่นในเอเชีย) ต้องทำให้ได้ ให้ดีกว่าเวียดนาม หรืออย่างน้อย ไม่น้อยหน้าเวียดนาม

“หากจะจบสูงกว่าตัวเลขนี้ ก็ต้องให้ได้ไม่เกิน 25% ไม่เช่นนั้น บริษัทส่งออกในไทยก็จะเสียเปรียบคู่แข่งคนสำคัญของเรา บริษัทที่กำลังคิดว่าจะย้ายฐานมาที่ไทย ก็จะคิดหนักขึ้น ว่าไปเวียดนามดีกว่าไหม”

ส่วน 40% สำหรับสินค้าจีน (หรือประเทศอื่น ๆ) ที่จะแอบส่งมาให้เวียดนาม แล้วส่งต่อไปที่สหรัฐ โดยอัตรานี้จะเป็นข้อเรียกร้องที่สหรัฐทำกับทุกประเทศที่เจรจาด้วย โดยเฉพาะประเทศในเอเชียที่เป็นจุดส่งผ่านสำคัญ รวมถึงกับไทยด้วย

ทั้งนี้ เพื่อป้องกันไม่ให้มีการลักไก่ ไม่ให้มีช่องที่จะเอาสินค้าจีนเข้ามา แล้วส่งต่อไปสหรัฐแบบ Transshipment เพื่อรับสิทธิภาษี 20% ของเวียดนาม

ซึ่งการเตรียมการลักษณะนี้ มีนัยยะต่อไปว่า ภาษีกับจีน ที่สหรัฐมีอยู่ในใจ และจะคิดในท้ายที่สุด คงใกล้ ๆ กับตัวเลขนี้

ทั้งนี้ หากลองกลับไปเปรียบเทียบกับกรณีอังกฤษ ที่ได้เจรจาเบื้องต้นไปเมื่อวันที่ 8 พฤษภาคม ก็จะทำให้เห็นภาพชัดเจน โดยอังกฤษยอมให้สหรัฐ 0% สำหรับสินค้าต่างๆ ที่สหรัฐส่งมา หมายความว่า สหรัฐคงมีอยู่ในใจ ที่จะใช้อำนาจต่อรองจากขนาดเศรษฐกิจที่ใหญ่ของตนเอง ในการเปิดประตูการค้าให้กับสหรัฐเอง เพื่อนำไปสู่ Free Trade / Free Access สำหรับสินค้าสหรัฐในทุกประเทศทั่วโลก

จะได้บอกบริษัทที่มาลงทุนที่สหรัฐว่า สินค้าที่ผลิตในสหรัฐ (อย่างน้อยเมื่อเทียบกับยุโรป หรือประเทศพัฒนาแล้วอื่น ๆ) จะสามารถส่งไปประเทศต่าง ๆ ทั่วโลกได้อย่างเสรี ไม่มีข้อจำกัด

ขณะเดียวกัน อังกฤษยอมให้สหรัฐคิดภาษีนำเข้า 10% ซึ่งตัวเลข 10% นี้ คงเป็นตัวเลขที่สหรัฐมีในใจ สำหรับประเทศที่สหรัฐเกินดุลด้วย

10% สำหรับประเทศเกินดุล และประมาณ 20% สำหรับประเทศที่สหรัฐขาดดุลด้วย คงจะกลายเป็น Benchmark ที่เป็นกรอบในการเจรจาของทีมสหรัฐ

เพราะตัวเลขนี้ จะช่วยสร้างรายได้ให้สหรัฐจากภาษีศุลกากรไม่ต่ำกว่า 3 แสนล้านดอลลาร์สหรัฐต่อปี (ในเดือนพฤษภาคม เก็บได้ประมาณ 2.2 หมื่นล้านดอลลาร์) ช่วยลดการขาดดุลการคลัง ช่วยในการลดภาษีของ One Big Beautiful Bill ที่กำลังจะออกมา ช่วยปรับสมดุลทางการค้าของสหรัฐ นอกจากนี้ ช่วยสร้างแรงจูงใจเพิ่มเติมให้กับบริษัทขยายการลงทุนในสหรัฐ เพื่อช่วยสร้างงานในประเทศ

ส่วนจีน (คู่ต่อสู้สำคัญของสหรัฐ ที่กำลังทาบรัศมี) ก็คงจะต้องจ่ายมากกว่าคนอื่นๆ 10% จาก Reciprocal Tariffs 20% จากกรณีของ Fentanyl และ 25% เดิม รวมแล้วอย่างน้อย 55% ทั้งนี้ สินค้าจีนที่แอบส่งมาผ่านประเทศที่ 3 ก็จะโดนตรวจเข้มและโดนภาษีอย่างน้อย 40% ซึ่งในจุดนี้ คงต้องปรับต่อไป เพราะว่าสินค้าขนาดเล็กของจีน (ราคาต่ำกว่า 800$) ที่ส่งไปสหรัฐ ขณะนี้โดนภาษี 54% ยังสูงกว่าการหลีกเลี่ยงผ่านประเทศที่ 3 ที่ตกลงกับเวียดนามล่าสุด

“ทั้งหมด จะเป็นข้อสรุปในรอบแรกของสงครามการค้าโลก ที่จะนำไปสู่กรอบใหม่และสมดุลใหม่ในการค้าระหว่างประเทศ ขอเป็นกำลังใจให้ทีมไทยแลนด์ สามารถเจรจาให้ได้ผลที่ดี”


© Copyright 2021, All rights reserved. THE STATES TIMES
Take Me Top