Monday, 13 May 2024
สว

‘รศ.ดร.เจษฎ์’ จวก!! กระแสกดดัน ส.ว.โหวตเลือกนายกฯ ลั่น!! ต่อให้ได้ถึง 750 เสียง ก็ไม่มีสิทธิ์ทำแผ่นดินลุกเป็นไฟ

เมื่อวันที่ 23 พ.ค. 66 ที่ผ่านมา รศ.ดร.เจษฎ์ โทณะวณิก ได้กล่าวในรายการตอบโจทย์ ของสถานีข่าวไทยพีบีเอสกรณีปมกดดัน สมาชิกวุฒิสภา หรือ ส.ว.ให้โหวตเลือกนายกรัฐมนตรีตามเสียงข้ามากของสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร หรือ ส.ส.

โดยประเด็นนี้ นักวิชาการด้านนิติศาสตร์ และประธานคณะนิติศาสตร์ วิทยาลัยบัณฑิตเอเชีย กล่าวในหัวข้อ จับกระแส ‘กดดัน ส.ว.’ โหวตเลือกนายกฯ ของทางรายการข่าวว่า ร่างรัฐธรรมนูญเขียนเรื่อง ส.ว.ไป และข้อต่อ ส.ว. มาทำอะไรตรงนี้ ทำไม ส.ว.ต้องมาลงมติเพื่อได้มาซึ่งนายกรัฐมนตรี ซึ่งมุมดังกล่าวนักวิชาการในร่างแขกรับเชิญ ระบุต่อมา ตรงนี้อาจจะถือเป็นก้าวที่ คสช. ก้าวผิดไป

“ถ้าวันนี้ คสช.ไม่เอา ส.ว. มาร่วมด้วยเนี่ยนะ เมื่อวันปี 62 ท่านก็ได้เสียงข้างมากไปละ รัฐบาลที่จัดตั้งด้วยเสียงข้างมากทหาร วันนี้ถ้าหากเป็นระบบรัฐสภาจริง ๆ จะไม่เกิดเหตุหรือเกิดน้อยมากที่พรรรคที่ได้คะแนนเสียงลำดับ 1 กับลำดับ 2 จับ” กล่าวจบ รองศาสตราจารย์ยังยกตัวอย่างเพื่อย้ำข้อเท็จจริง โดยระบุให้ไปดูตัวอย่างของประเทศระบบรัฐสภาส่วนใหญ่ ไม่ใช่แต่เพียงพรรคจะไม่จับกัน แต่ประชาชนก็ไม่อยากให้จับมือร่วมรัฐบาลกันแบบนี้ด้วย เพราะจะใหญ่เกิน”

“ข้อ 2 ในระบบรัฐสภา สิทธิจัดตั้งก่อน ไม่ใช่ได้สิทธิเป็น ตอนนี้ต้องเข้าใจให้ดีว่า ได้สิทธิในการจัดตั้งนะ ถ้าจัดตั้งไม่ได้ก็ต้องเป็นหน้าที่ของสิทธิลำดับพรรคที่ได้คะแนนเสียงลดหลั่นกันไป”

รศ.ดร.เจษฎ์ กล่าวต่อถึงประเด็นกลไก ตอนปี 60 มีประชามติการให้ความเห็นชอบคำถามพ่วง ว่าจะให้ ส.ว.มาร่วมเลือกนายกรัฐมนตรีด้วยหรือไม่ ปรากฏว่า ผู้มาใช้สิทธิส่วนใหญ่ 15,132,050 คน (58.07%) เห็นด้วยกับการให้ ส.ว.มาร่วมเลือกนายกรัฐมนตรี

จุดนี้เองทำให้นักวิชาการคณะนิติศาสตร์ฯ แสดงมุมมองตัวเองเสริมไปว่า ครั้งนั้นเมื่อไม่มีการผลักดัน ตีฆ้องร้องป่าว เท่ากับเป็นคะแนนบริสุทธิ์ ประชาชนก็มาออกเสียง ในกลไก คือ เอา ส.ว. มาเพราะปฏิรูปประเทศ

เมื่อถูกถามว่าอิสระจริงรึเปล่า? ถอดจากคำให้สัมภาษณ์ในรายการโดยละเอียดของ รศ.ดร.เจษฎ์ โทณะวณิก สามารถระบุได้ดังนี้

“ผมถึงได้พูดว่าการที่ไม่สามารถที่จะแสดงทรรศนะ ว่าเห็นด้วยหรือเห็นต่างเป็นสาธารณะ หรือมาบอกว่า เธอเห็นด้วยสิ เธอเห็นต่างสิ เธออย่าไปเอาร่างรัฐธรรมนูญ อย่าไปเอาคำถามเพิ่มเติมนะ เธอเอาสิ ไม่มีเลย แสงดว่ามันเป็นคะแนนบริสุทธิ จะด้วยภาวะการณ์ เขาลงคะแนนบริสุทธิ์ ถูกไหมครับ เขาลงคะแนนมาแล้วให้ ส.ว.มาเลือกนายกฯ อันนี้คือประชามติ

“ประชามติ คือ ประชาธิปไตยทางตรงนะ ตรงยิ่งกว่าการเลือกตั้งอีกนะ การเลือกตั้งมันเป็นประชาธิปไตยทางอ้อมนะ คุณเลือก ส.ส. และ ส.ส.ไปเลือกนายกให้นะ แต่นี่ประชาธิปไตยมันตรงนะ คุณจะเอาไม่เอา เขาเอามาแล้ว มันกลายเป็นหน้าที่แล้ว กลายเป็นลักษณะพิเศษของบ้านนี้เมืองนี้ ส.ว.เขาเลยต้องมาลงมติ ที่ถามไว้แบบนี้จะเป็นรอื่นเป็นแบบไหนได้อีกไหม คุณมี 160 ไปขอเพื่อน 150 เลขกลม เพื่อนอีกจำนวนรวมได้ 313 พอรวมได้ตามเงื่อนไขรัฐธรรมนูญต้อง 376 ขึ้นไป”

“ความอยากได้ตรงนี้เองทำให้เกิด ‘ความบิดเบี้ยว’ ของกลไกรัฐสภา ส.ว. และ ส.ส. ต้องไม่เป็นพวกเดียวกัน ต้องไม่ใช่คนที่จะมาพูดคุยอะไรกัน ต้องตรวจสอบถ่วงดุลค้านอำนาจกันเสียด้วย”

มาถึงเรื่อง ปิยบุตร แสงกนกกุล ออกมาเคลื่อนไหวจะส่งผลอะไรต่อพิธาในการเดินหน้าจัดตั้งรัฐบาลล่าสุดนี้บ้าง เจษฎ์ตอบข้อสงสัยนี้โดยเริ่มจากยกตัวอย่างกรณีที่หากต่อให้ การออกมาเคลื่อนไหวของนายปิยบุตรล่าสุดไม่มีผลใด ๆ กับฝ่ายที่สนับสนุนพรรคก้าวไกล แต่นั่นไม่ได้หมายความว่าจะไม่มีผลต่อคนอื่น ๆ

รศ.ดร.เจษฎ์ ย้ำว่าอย่าลืมว่า ตอนนี้มีคนเลือกคุณ 14 ล้าน ไม่เลือก 27 ล้าน แล้วคนที่ไม่ได้มาเลือกด้วย อีกเท่าไร นับรวมให้ครบคนไทยทั้งประเทศ มีเสียง 160 หย่อน ๆ 300 กว่าคือไม่มี ก่อนจะสรุปด้วยวาจาแข็งกร้าวขึ้นกว่าเดิมว่า...

“ผมเรียนอย่างนี้ครับว่า ต่อให้คุณมีเสียง ส.ส. 500 มีเสียง ส.ว.อีก 250 มีคนไทยทั้งประเทศ คุณก็ไม่มีสิทธิทำลายสิ่งที่บรรพบุรุษคนไทยสร้างไว้ให้ แล้วบรรพบุรุษที่พูดถึงไม่ใช่แค่บรรพบุรุษเจ้าเท่านั้นด้วย เป็นบรรพบุรุษทั้งเจ้าทั้งคนไม่ใช่เจ้าทั้งหมด บรรพบุรุษไทยที่สร้างแผ่นดินนี้มา เขาคือเจ้าของแผ่นดินนี้ที่แท้จริง คุณเป็นผู้สืบทอดเขามา ต่อให้คุณได้ 500 เสียง ส.ส. 250 เสียง ส.ว. คุณก็ไม่มีสิทธิที่จะทำให้แผ่นดินนี้ลุกเป็นไฟ คุณไม่มีสิทธิที่จะทำลายแผ่นดินนี้

หลัง เจษฎ์ โทณะวณิก กล่าวจบ แพทย์หญิง พรทิพย์ โรจนสุนันท์ สมาชิกวุฒิสภา หรือ ส.ว. ก็กล่าวเสริมทันทีว่า เธอเองเห็นด้วย

“อันนั้นล่ะคะ เห็นด้วยอย่างยิ่ง เขาไม่เข้าใจ เขาหาว่าเราบ้า อะไรประมาณนี้ เขามีเสียงข้างมาก สิ่งนี้เขาจะไม่ฟังเลย” คำกล่าวเสริมถึงกรณีกดดัน ส.ว.โหวตเลือกนายกฯ จากปากของแพทย์หญิงพรทิพย์ที่หลังจากแสดงมุมมองของตัวเธอจบ รศ.ดร.เจษฎ์ แขกรับเชิญนักวิชาการไทยก็ สรุปถึงสิ่งที่สังคมจะต้องทำและทุก ๆ ประเทศต้องทำ คือ ช่วยกันทำนุบำรุงบ้านเมืองนั้นให้พัฒนาและดีขึ้นเรื่อย ๆ ดีกว่าที่บรรพบุรุษทำไว้ เพื่อเราจะได้มีแผ่นดินที่ดี ดีขึ้นเรื่อย ๆ และเพื่อลูกหลานเราจะได้มีแผ่นดินที่ดีและดีขึ้นเรื่อย ๆ ไม่ใช่พากันทำลาย

‘สว.สมชาย’ คิดหนัก หลังเห็นรายชื่อว่าที่ประธานสภาฯ เย้ย ไร้ฝีมือ-ด้อยคุณภาพ ลั่น!! ไม่ขอเรียกท่านประธานที่เคารพ

(27 พ.ค. 66) จากกรณีกระแสข่าวการชิงตำแหน่งประธานสภาผู้แทนราษฎร ซึ่งกำลังเป็นที่วิพากษ์วิจารณ์กันในสังคมนั้น ล่าสุด นายสมชาย แสวงการ สมาชิกวุฒิสภา (ส.ว.) โพสต์รูปภาพและข้อความบนเฟซบุ๊ก ระบุว่า…

“555ว่าที่ท่านประธานสภาที่เคารพไม่ลง”

โดยภาพที่นายสมชายโพสต์ ระบุข้อความว่า “#คิดหนักมาก เปิดประชุมร่วมรัฐสภาฯ ดูหน้ารายชื่อว่าที่ประธานสภาที่พรรคกร้าวเสนอ ไร้ฝีมือ ด้อยคุณภาพ ไม่ขอเรียกท่านประธานสภาที่เคารพแน่นอน #กระดากปาก”

ส.ว.’ เพื่อนบิ๊กตู่ งัดไม้เด็ด ม.157 ขู่เตรียมสับ ‘กกต.’ เอาผิดฐานแทงกั๊ก ปมตรวจสอบคุณสมบัติ ‘พิธา’

ถ้าไม่มีอะไรผิดคิว สัปดาห์นี้สำนักงานคณะกรรมการการเลือกตั้ง หรือ ‘กกต.’ ก็คงจะเริ่มทยอยประกาศรับรองผลเลือกตั้งได้แล้ว ซึ่งเป็นเรื่องดีที่จะได้ช่วยให้บรรยากาศทางการเมืองให้ผ่อนคลายขึ้น…

แต่สำหรับเรื่องของนายพิธา ลิ้มเจริญรัตน์ หัวหน้าพรรคก้าวไกล แม้จะมีความชัดเจนส่วนหนึ่งแล้ว แต่ดูเหมือนจะยังมีความร้อนแรง และเงื่อนปมความยุ่งเหยิงซุกซ่อนอยู่ไม่น้อย…

มาทำความเข้าใจกันแบบช้าๆ ชัดๆ อีกครั้ง ว่ากันแบบเนื้อๆ เน้นๆ

ปลายสัปดาห์ที่แล้ว กกต.มีมติตีตกไม่รับเรื่องของปมคุณสมบัติกรณีถือหุ้นไอทีวี อ้างเหตุเพราะยื่นเรื่องร้องช้ากว่าที่ระเบียบกฎหมายกำหนด อย่างไรก็ตาม กกต.โดยคุณแสวง บุญมี เลขาธิการสำนักงาน กกต.ได้ตอบคำถามพอที่จะสรุปทิศทางได้ว่า เรื่องคุณสมบัตินายพิธาจะดำเนินการได้ต่อเมื่อเป็น ส.ส.แล้ว ส่วนเรื่องคดีอาญาตามมาตรา 151 ของ พ.ร.บ.ประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการเลือกตั้ง หรือ พ.ร.ป เลือกตั้ง 2560 นั้น ตอนนี้จะพิจารณาดำเนินการ

คำสัมภาษณ์ดังกล่าว คือที่มาของการจับประเด็น และพาดหัวไปในทิศทางเดียวกันของสื่อมวลชนน้อยใหญ่ว่า ‘พิธารอด” รับรองผลก่อน… สอยทีหลัง…

บางสำนักฯ ก็พาดหัวข้ามช็อต เอาบทลงโทษของ พ.ร.ป.เลือกตั้งมาตรา 151 มาพาดหัวว่า “พิธาหนักกว่าเดิม ลุ้นระทึกโดนตัดสิทธิ-ติดคุก…”

อย่างไรก็ตาม คุณแสวง บุญมี ก็ได้พูดกว้างๆ เอาไว้ตามหลักกฎหมายว่า เรื่องคุณสมบัตินั้นสมาชิกรัฐสภาและ กกต.สามารถยื่นเรื่องตาม “ความปรากฏ” ต่อ กกต.ได้ ตามมาตรา 82 (วรรคสี่) แต่ไม่ได้บอกว่า กกต.จะดำเนินการหรือไม่
.
ความที่ชอบแถลงกันแบบกำกวม หรือการ์ดสูงของ กกต.ชุดนี้นี่เอง ที่ทำให้นาทีนี้ กกต.ตกเป็นเป้าการวิพากษ์วิจารณ์ว่า หลายต่อหลายครั้งออกอาการ “เหยาะแหยะ และขาดความคมชัด”

และด้วยความไม่ชัดเจนกรณีการดำเนินการเรื่องคุณสมบัติของนายพิธานี่เอง ที่กลุ่มสมาขิกวุฒิสภาจำนวนไม่น้อย โดยเฉพาะ ส.ว.สายบิ๊กตู่ เตรียมทหารบกรุ่น 12 ได้จับกลุ่มหารือกันเมื่อวันสองวันที่ผ่านมา และมีความเห็นคล้ายๆ กันว่า “ใช่หรือไม่? ว่าตอนนี้ กกต.กำลังโยนเผือกร้อนให้ ส.ว.และ ส.ส.โหวตคว่ำพิธาไปก่อน” จากนั้น กกต.ค่อยไปคิดอีกทีว่าจะทำอะไรหรือไม่ อย่างไร

ส.ว.กลุ่มนี้ตั้งคำถามด้วยว่า จะดำเนินคดีอาญา ตามมาตรา 151 กับนายพิธาได้อย่างไร ถ้าปัญหาคุณสมบัติยังไม่ได้ถูกพิจารณา และใครต่อใครก็รู้ว่า คดีอาญาตามมาตรา 151 นั้นใช้เวลาอีกนานและโอกาสรอดก็มีสูง เหมือนที่ นายธนาธร จึงรุ่งเรืองกิจ เคยรอดมาแล้ว เพราะอัยการสูงสุดสั่งไม่ฟ้องเมื่อปี 2565 หลังจากใช้เวลาทั้งหมด 2 ปีครึ่ง…

หลายเสียงใน ส.ว.กลุ่มนี้ เลยตั้งประเด็นขึ้นมาว่า หาก กกต.ไม่ดำเนินการประเด็นคุณสมบัติของนายพิธาให้เป็นที่แจ้งชัด อาจจะต้องฟ้อง กกต.ผิดอาญามาตรา 157 ละเว้นปฏิบัติหน้าที่ก็ได้…

“ขอเวลาให้พวกผมดูข้อกฎหมาย รายละเอียดต่างๆ ให้รอบคอบ หาข้อมูลข่าวสารเพิ่มเติมอีกหน่อย” ส.ว.เตรียมทหารรุ่น 12 ท่านหนึ่งกล่าว

พูดถึง ส.ว.จากเตรียมทหารบก รุ่น 12 ก็ต้องบอกว่าพวกเขาคือขุมกำลัง ส.ว.สายทหารที่ใหญ่ที่สุดมีถึง 28 คน เสียชีวิตไปหนึ่งคน คือ พล.ร.อ.ชุมนุม อาจวงศ์ เหลือ 27 คน ที่ชื่อคุ้นๆ เช่น พล.อ.สิงห์ศึก สิงห์ไพร รองประธานวุฒิสภา, พล.อ.ฉัตรชัย สาริกัลยะ, พล.อ.ยอดยุทธ บุญญาธิการ, พล.อ.อกนิษฐ์ หมื่นสวัสดิ์, พล.อ.ธวัชชัย สมุทรสาคร, พล.อ.วรพงษ์ สง่าเนตร เป็นต้น

สรุปว่า ในชั้นนี้… พิจารณาจากไทม์ไลน์แล้วอีกเดือนเศษ นายพิธา ลิ้มเจริญรัตน์ ก็จะเดินเข้าสู่ที่ประชุมรัฐสภา ในฐานะแคนดิเดทนายกรัฐมนตรี… แต่โอกาสผ่าน 376 เสียงนั้นยังมืดมิด ส่วนหลังจากนั้น จะถูกสอยด้วยปัญหาคุณสมบัติหรือไม่อย่างไร ก็รอดูกระบวนท่า กกต.อีกนิด ก็จะชัดเจนขึ้น

 

‘สว.คำนูณ’ กางแผน ‘พรรคก้าวไกล’ แก้ไขมาตรา 112 ลดระดับการคุ้มครองสถาบันฯ ครั้งแรกในรอบกว่า 90 ปี

24 มิ.ย. 2566 - นายคำนูณ สิทธิสมาน สมาชิกวุฒิสภา(สว.) โพสต์เฟซบุ๊กเกี่ยวกับประเด็น "ประเด็นแก้ไข 112" โดยมีเนื้อหาดังนี้

กำลังจะเปิดรัฐสภาแล้ว จะมีรัฐพิธีไม่เกินวันที่ 3 กรกฎาคม 2566 พรรคก้าวไกลหาเสียงไว้ว่าจะเสนอร่างกฎหมาย 45 ฉบับภายใน 100 วันแรก หรือทันทีที่เปิดรัฐสภา โดยจะเสนอในนามสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร หนึ่งในนั้นคือร่างกฎหมายแก้ไขมาตรา 112

มาดูภาพรวมกันสั้น ๆ โดยสังเขปสักนิด
อาจจะทำให้พอเข้าใจเหตุผลของผู้คนในฟากฝั่งที่เห็นต่างและคัดค้าน
ตามหลักการที่พรรคก้าวไกลนำเสนอในการหาเสียง ปรากฎทั้งข้อความและแผ่นภาพ ประกอบกับร่างกฎหมายที่เคยยื่นต่อสภาผู้แทนราษฎรเมื่อปี 2562 แต่ไม่ได้รับการบรรจุ จะพบว่าไม่ใช่การแก้ไขกฎหมายทั่วไปมาตราหนึ่งเท่านั้น หากแต่เป็นการแก้ไขเปลี่ยนแปลงใหญ่ที่จะกระทบทั้งระบอบและระบบ

เฉพาะเรื่องหลักคือการคุ้มครององค์พระมหากษัตริย์ ก็ยกเลิก 1 มาตราเพิ่มเติม 4 มาตรา
ยกเลิกมาตรา 112 เพิ่มมาตรา 135/5 - 135/9

สรุปโดยภาพรวมได้ว่าเป็นการลดระดับการคุ้มครองสถานะอันเป็นที่เคารพสักการะผู้ใดจะละเมิดมิได้ขององค์พระมหากษัตริย์ลงมาเป็นครั้งแรกในรอบกว่า 90 ปีนับตั้งแต่วันที่ 10 ธันวาคม 2475 จากการคุ้มครองเด็ดขาด เป็นการคุ้มครองอย่างมีเงื่อนไข มีทั้งบทยกเว้นความผิด บทยกเว้นโทษ และบทจำกัดผู้ร้องทุกข์

ซึ่งอาจขัดรัฐธรรมนูญ 2560 มาตรา 6 อันเป็นบทหลักมาตราแรกของหมวดพระมหากษัตริย์
หรือเสมือนเป็นการแก้รัฐธรรมนูญหมวดพระมหากษัตริย์ทางประตูหลัง นี่คือประเด็นหลักที่จะกระทบระบอบ

นอกจากนั้น ยังมีประเด็นแวดล้อมตามมาเป็นการแก้ไขประมวลกฎหมายอาญามาตราอื่นที่เกี่ยวกับการหมิ่นประมาทและดูหมิ่นบุคคลประเภทอื่นตามมาอีก 2 กลุ่ม 11 มาตราด้วยกัน ยกเลิก 2 เพิ่มเติม 4 แก้ไขเพิ่มเติม 5

ดูหมิ่นเจ้าพนักงานเซึ่งกระทำการตามหน้าที่หลือแค่โทษปรับ
ดูหมิ่นศาลหรือผู้พิพากษาในการพิจารณาหรือพิพากษาคดี เหลือแค่โทษปรับ ขัดขวางการพิจารณาคดีหรือพิพากษาของศาล เหลือแค่โทษปรับ หมิ่นประมาทบุคคลธรรมดา เหลือแค่โทษปรับไม่เกิน 2 หมื่นบาท หมิ่นประมาทด้วยการโฆษณา เหลือแค่โทษปรับไม่เกิน 2 แสนบาท ดูหมิ่นผู้อื่นซึ่งหน้าหรือด้วยการโฆษณา เหลือแค่โทษปรับไม่เกิน 1 หมื่นบาท ฯลฯ

เป็นการเปลี่ยนแปลงระบบการคุ้มครองบุคคลที่ปฏิบัติหน้าที่ตามรัฐธรรมนูญและกฎหมาย โดยเฉพาะศาลหรือผู้พิพากษาขณะพิจารณาหรือพิพากษาคดี รวมทั้งบุคคลธรรมดา โดยเป็นการลดระดับการคุ้มครองบุคคลทุกประเภทลงจากเดิมด้วยการกำหนดโทษใหม่ที่ต่ำลงมาก ส่วนใหญ่จะเหลือแค่โทษปรับ ยิ่งถ้าในอนาคตนำระบบการคิดโทษปรับตามฐานะทางเศรษฐกิจ (Day-fine) มาใช้ในระบบกฎหมายไทย ผู้กระทำความผิดทีีมีรายได้นัอยหรือไม่มีรายได้จะยิ่งมีข้อต่อสู้ให้ได้รับโทษน้อยลงไปอีก
สังคมไทยจะไม่เหมือนเดิม

พรรคก้าวไกลจัดร่างกฎหมายแก้ไขมาตรา 112 อยู่ในกลุ่มคุ้มครองสิทธิเสรีภาพ
แน่ละว่าด้านหนึ่ง สิทธิเสรีภาพของคนที่วิพากษ์วิจารณ์บุคคลทุกระดับได้รับการคุ้มครองเพิ่มขึ้น
แต่ในด้านตรงข้าม สิทธิเสรีภาพบุคคลทุกระดับที่ปฏิบัติหน้าที่ตามรัฐธรรมนูญและกฎหมายรวมทั้งบุคคลธรรมดาที่จะไม่ถูกวิพากษ์วิจารณ์โดยไม่เป็นธรรมกลับได้รับการคุ้มครองลดลงอย่างมีนัยสำคัญ
จึงมีผู้เห็นต่างในหลักการ คัดค้าน และจะเป็นประเด็นสำคัญในแต่ละเหตุการณ์ทางการเมืองในสภาผู้แทนราษฎรชุดใหม่นี้

‘กลุ่มพิราบขาว’ ยื่นศาล รธน. สอย ‘พิธา’ ปมคุณสมบัติ ด้าน ‘เสรี’ เย้ย มี ส.ว.หนุนนั่งนายกฯ ไม่เกิน 5 เสียง

(27 มิ.ย. 66) ที่รัฐสภา นายนพรุจ วรชิตวุฒิกุล อดีตแกนนำพิราบขาว 2006 ยื่นหนังสือต่อนายสมชาย แสวงการ ส.ว.ในฐานะประธานคณะกรรมาธิการ (กมธ.) สิทธิมนุษยชน สิทธิเสรีภาพ และการคุ้มครองผู้บริโภค วุฒิสภา และนายเสรี สุวรรณภานนท์ ส.ว.ในฐานะประธานกมธ.การพัฒนาการเมือง และการมีส่วนร่วมของประชาชน วุฒิสภา เพื่อขอให้ ส.ว.ร่วมกันลงชื่อร้องเรียน นายพิธา ลิ้มเจริญรัตน์ ส.ส.บัญชีรายชื่อ และแคนดิเดตนายกรัฐมนตรีพรรคก้าวไกล กรณีถือหุ้นสื่อไอทีวี ซึ่งอาจขัด พ.ร.ป.ว่าด้วย ส.ส.มาตรา 42 (3) และกรณีโอนหุ้นให้กับบุคคลอื่นหลังวันเลือกตั้ง อาจเข้าลักษณะต้องห้ามตามรัฐธรรมนูญ มาตรา 98 (3) หรือไม่

นายสมชาย กล่าวว่า ประเด็นหุ้นสื่อ ตนขอเรียกร้องให้ คณะกรรมการการเลือกตั้ง (กกต.) ยื่นศาลรัฐธรรมนูญตรวจสอบ เพื่อให้ความเป็นธรรมกับนายพิธา และไม่มีปัญหากับการเป็นนายกฯ ส่วนที่เสนอให้ ส.ว.เข้าชื่อเพื่อตรวจสอบคุณสมบัติของนายพิธานั้น ในความเป็นส.ส.ของนายพิธา ส.ว.ไม่สามารถทำได้ แต่หากเป็นประเด็นของนายกฯ ส.ว.ทำได้

เมื่อถามถึงนายพิธา มั่นใจว่าจะได้รับเสียงโหวตจาก ส.ว.ให้เป็นนายกฯ นายสมชาย กล่าวว่า จากที่ตนพูดคุยกับ ส.ว.ที่ลงคะแนนเลือกตั้งให้พรรคก้าวไกล พบว่าไม่ได้เห็นด้วยกับนโยบายของพรรคก้าวไกล เช่น การแก้ไขมาตรา 112 การแก้ไขรัฐธรรมนูญที่รวมถึงหมวด 1 หมวด 2 แต่เห็นด้วยกับบางนโยบาย ดังนั้น การลงมติเลือกของ ส.ว.ขอให้มั่นใจในดุลยพินิจ และวุฒิภาวะของ ส.ว.ที่จะพิจารณาในประเด็นสิ่งที่เป็นผลกระทบต่อความมั่นคงของประเทศ ความสงบสุข

“ส.ว.ไม่ได้จัดตั้งรัฐบาล หรือคำนึงถึงการเปลี่ยนขั้วอำนาจ เปลี่ยนข้างหรือข้ามขั้วหรือไม่ แต่ประเด็นนายกฯ มีความเกี่ยวข้องกับการตั้งรัฐบาล ต้องพิจารณาสิ่งที่จะไม่ทำให้เกิดความกังวลในความมั่นคงของประเทศ และไม่นำไปสู่ปัญหาความไม่มั่นคง สำหรับบางนโยบายของพรรค พบว่าสุ่มเสี่ยง ดังนั้น ผมขอให้เอาออกเพื่อประโยชน์ของประเทศ” นายสมชาย กล่าว

ด้านนายเสรี กล่าวว่า เรื่องการถือหุ้นของนายพิธา อยู่ระหว่างการตรวจสอบของ กมธ.พัฒนาการเมือง วุฒิสภาอยู่แล้ว และในวันที่ 28 มิ.ย. เวลา 10.00 น. กมธ.จะไปมอบให้กับประธานกกต. ขอทราบความคืบหน้าการตรวจสอบนายพิธา ที่ถูกตรวจสอบตาม พ.ร.ป.ว่าด้วยการเลือกตั้ง ส.ส. มาตรา 151 กรณีรู้ตัวขัดคุณสมบัติ แต่ยังลงสมัครเลือกตั้ง และจะนำหลักฐานการถือครองหุ้นสื่อไอทีวีของนายพิธา และข้อมูลการถือครองที่ดิน 14 ไร่ อ.ปราณบุรี จ.ประจวบคีรีขันธ์ ของนายพิธาไปยื่นต่อ กกต. โดยเห็นว่า กกต. ควรส่งเรื่องนี้ให้ศาลรัฐธรรมนูญวินิจฉัยก่อนจะมีการเลือกนายกฯ เพื่อเป็นข้อมูลให้กับ ส.ว.ตัดสินใจ

นายเสรี กล่าวว่า หลังจากนี้ ส.ว.จะเข้าชื่อกันตามรัฐธรรมนูญ มาตรา 82 ส่งเรื่องให้ประธานวุฒิสภา ยื่นเรื่องไปยังศาลรัฐธรรมนูญ พิจารณาคุณสมบัติการเป็นแคนดิเดตนายกฯของนายพิธา ที่ระบุต้องมีคุณสมบัติตามมาตรา 160 ที่ไม่มีลักษณะต้องห้ามการถือครองหุ้นสื่อ ตามรัฐธรรมนูญมาตรา 98 (3) ในฐานะที่ ส.ว.ต้องมีส่วนร่วมเห็นชอบนายกฯ

ดังนั้น เมื่อมีข้อสงสัยเรื่องคุณสมบัติต้องห้ามย่อมยื่นตีความให้ตรวจสอบได้ โดยควรยื่นให้ตรวจสอบก่อนจะโหวตเลือกนายกฯ แต่จะมีผลทำให้การโหวตนายกฯ ต้องยุติก่อนหรือไม่ ขึ้นอยู่กับประธานรัฐสภาจะพิจารณา หาก กกต.ไม่ยื่นตีความคุณสมบัติของนายพิธา ก่อนโหวตนายกฯ ก็อาจเป็นไปได้ที่ ส.ว.จะเข้าชื่อกันยื่นตีความคุณสมบัติการเป็นแคนดิเดตนายกฯของนายพิธา

ผู้สื่อข่าวถามว่า หาก ส.ว.ยื่นตีความคุณสมบัตินายกฯ ของนายพิธา จะทำให้ปลุกกระแสสังคมออกมาต่อต้านหรือไม่ นายเสรี กล่าวว่า กระแสสังคมคือส่วนหนึ่ง ความถูกต้องคือส่วนหนึ่ง ถ้ากระแสสังคมไม่ถูกต้อง จะยึดอะไรระหว่างความถูกต้องกับกระแส ถ้ายึดแต่กระแสก็ไม่สามารถแก้ปัญหาได้

เมื่อถามว่านายพิธามั่นใจว่ามีเสียง ส.ว.เพียงพอจะโหวตให้เป็นนายกฯนั้น นายเสรีกล่าวว่า หากเสียงมากพอ ก็เป็นนายกฯ ได้เลย แต่ขณะนี้ยังไม่ปรากฏชัดเจนว่า ส.ว.คนใดสนับสนุน นอกจาก 17 คน ที่มีชื่อและหลายคนก็บอกว่าถูกเอาชื่อไปใส่ และหลายคนบอกว่า ถ้าได้เสียงข้างมากจะเลือกให้เป็นนายกฯ แต่ตอนนี้ทุกคนพูดตรงกันว่าถ้าเสียงข้างมาก แล้วยังไปแก้มาตรา 112 ก็จะไม่ลงคะแนนให้

“เท่าที่ทราบตอนนี้มี 5 คน ที่จะโหวตให้ ส่วนตนยืนยันมาตลอดว่าหากมีการแสดงออก หรือมีการกระทำไปในแนวทางที่แก้ไขมาตรา 112 ก็ไม่โหวตให้แน่นอน ดังนั้น การลงมติในครั้งนี้ ถึงไม่เหมือนกับการเลือกนายกรัฐมนตรีเมื่อปี 2562 พร้อมยืนยัน ส.ว.มีอิสระในการตัดสินใจ ไม่มีใบสั่งจากใครนอกจากประชาชน” นายเสรี กล่าว

เมื่อถามว่า หากเสนอชื่อแคนดิเดตนายกฯ มาจากพรรคเพื่อไทย จะทำให้สบายใจขึ้นในการโหวตให้เป็นนายกฯ หรือไม่ นายเสรี กล่าวว่า ไม่ใช่เรื่องสบายใจหรือไม่สบายใจ แต่เป็นเรื่องที่ ส.ส.จะไปตกลงกันให้สบายใจ ไปจัดทัพรวบรวมเสียงกันมา เมื่อถึงตอนนั้น ส.ว.จะพิจารณาตามมาตรา 159 คือเลือกบุคคลที่ไม่มีคุณสมบัติขัดต่อรัฐธรรมนูญ

เมื่อถามย้ำว่า หากแนวโน้มเป็นแคนดิเดตจากพรรคเพื่อไทย จะมีภาษีมากกว่านายพิธาหรือไม่ นายเสรี กล่าวว่า ต้องดูว่าเป็นใคร เพราะพรรคเพื่อไทยมี 3 ชื่อ ก็ต้องดูว่าเสนอใคร ส่วนพรรคภูมิใจไทยก็มีนายอนุทิน ชาญวีรกูล หัวหน้าพรรค อย่างไรก็ตาม ขณะนี้คงยังตอบไม่ได้ ต้องพิจารณาก่อนว่าบุคคลนั้นเหมาะสมหรือไม่ รวมถึง พล.อ.ประวิตร วงษ์สุวรรณ หัวหน้าพรรคพลังประชารัฐ ก็อยู่ในเกณฑ์เดียวกัน

‘ส.ว.สมชาย’ ยัน 250 ส.ว. ยึดถือพระราชดำรัสในหลวง มุ่งมั่นทำหน้าที่เพื่อประโยชน์ส่วนรวมของปวงชนชาวไทย

(7 ก.ค. 66) นายสมชาย แสวงการ สมาชิกวุฒิสภา (ส.ว.) โพสต์ข้อความผ่านเฟซบุ๊กว่า สมาชิกวุฒิสภาย่อมเป็นผู้แทนของปวงชนชาวไทยเช่นเดียวกับสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร และต้องปฏิบัติหน้าที่ด้วยความซื่อสัตย์สุจริต เพื่อประโยชน์ส่วนรวมของปวงชนชาวไทย

วุฒิสภาชุดที่ 12 มาจากรัฐธรรมนูญ 2560 ดังนี้ 
1) ตามตำแหน่ง 6 คน 
2) สรรหาตรงจากคณะกรรมการสรรหา 194 คน 
3) สรรหาจากการเลือกกันเองทั่วประเทศ 50 คน

สมาชิกวุฒิสภาทั้ง 250 คน ได้รับพระบรมราชโองการโปรดเกล้าฯ แต่งตั้งสมาชิกวุฒิสภา ตามมาตรา 269 ตามรัฐธรรมนูญ แตกต่างจากสมาชิกวุฒิสภาในอดีต ทั้งรัฐธรรมนูญ 2540 และ 2550 ที่มาจากการเลือกตั้งโดย และสรรหา ผสมเลือกตั้ง เมื่อได้ครบตามจำนวนแล้ว มีแค่การประกาศรับรองโดยคณะกรรมการการเลือกตั้ง ประกาศในราชกิจจานุเบกษาเท่านั้น มิได้มีพระบรมราชโองการโปรดเกล้าฯ แต่งตั้งเช่นสมาชิกวุฒิสภาชุดนี้

ดังนั้นสมควรอย่างที่สมาชิกวุฒิสภาทั้ง 250 คน จักได้น้อมนำพระราชดำรัสในพิธีเปิดประชุมรัฐสภา เมื่อวันจันทร์ที่ 3 กรกฎาคม 2566

‘วันนอร์’ ยัน โหวตนายกฯ ยึดตามรัฐธรรมนูญ 13 ก.ค.นี้ เชื่อ ‘ส.ว.’ ใช้ดุลยพินิจ-คุณวุฒิเพื่อประโยชน์ของชาติ

(7 ก.ค. 66) ที่รัฐสภา นายวันมูหะมัดนอร์ มะทา ประธานรัฐสภา และประธานสภาฯ พร้อมด้วยนายปดิพัทธ์ สันติภาดา รองประธานสภาคนที่ 1 และนายพิเชษฐ์ เชื้อเมืองพาน รองประธานสภาคนที่ 2 แถลงภายหลังเข้าร่วมพิธีรับพระบรมราชโองการโปรดเกล้าโปรดกระหม่อมแต่งตั้งประธานผู้แทนราษฎร และรองประธานผู้แทนราษฎร

โดยนายวันมูหะมัดนอร์ กล่าวว่า วันนี้นับเป็นพระมหากรุณาธิคุณอย่างยิ่ง ที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ได้มีพระบรมราชโองการให้พวกเราทั้ง 3 คน ดำรงตำแหน่งประธานผู้แทนราษฎรและรองประธานผู้แทนราษฎร ซึ่งพวกเราจะขอน้อมนำพระราชดำรัสของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ที่ได้พระราชทานให้กับสมาชิกรัฐสภา เมื่อวันที่ 3 ก.ค.ในพิธีเปิดสมัยประชุมสภาผู้แทนราษฎรสมัยที่ 26 ที่ผ่านมา เพื่อประโยชน์ของประชาชนและประเทศชาติต่อไป 

นายวันมูหะมัดนอร์ กล่าวถึงวันโหวตเลือกนายกฯ ว่า “เรื่องนี้เราต้องปฏิบัติตามรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทยปี 2560 และข้อบังคับของการประชุมรัฐสภาปี 2563 ส่วนกรอบเวลาของการประชุม ตลอดจนเรื่องจะโหวตอย่างไรนั้น เป็นเรื่องที่เราต้องปฏิบัติตามอยู่แล้ว ส่วนรายละเอียดอื่นๆ ตนคิดว่าถ้าเราพูดก่อนล่วงหน้าอาจจะไม่ตรงกับสถานการณ์ที่เกิดขึ้นจริง ซึ่งจะมีการประชุมในวันที่ 13 ก.ค. และหวังว่าจะดำเนินการด้วยความเรียบร้อย”

“แต่หากไม่เสร็จสิ้นในวันที่ 13 ก.ค.เราก็ได้หารือกับประธานวุฒิสภาแล้วว่า เราก็อาจจะต้องมาประชุมกันในวันที่ 19 ก.ค. เพราะดูแล้วว่าน่าจะเป็นวันที่เหมาะสมที่สุด เพราะเว้นไป 1 สัปดาห์ เพื่อให้เลขาธิการสภาฯ ได้ทำหนังสือเชิญมาประชุมอีกครั้งในเวลาเช่นเดิม ส่วนการประชุมในวันที่ 19 ก.ค.นั้น จะเสร็จสิ้นเรียบร้อยหรือไม่ขึ้นอยู่กับที่ประชุม ทั้งนี้ หน้าที่ของรัฐสภามีหน้าที่ตามรัฐธรรมนูญ ซึ่งจะเป็นองค์กรที่ทำหน้าที่ในการเลือกนายกรัฐมนตรี เพื่อไปบริหารประเทศต่อไป โดยเราต้องทำหน้าที่นี้เพื่อให้ได้นายกรัฐมนตรี ไม่เช่นนั้นประเทศจะไม่มีนายกรัฐมนตรี เพราะปัญหาที่ประชาชน และปัญหาของประเทศชาติกำลังรอคอยรัฐบาลใหม่อยู่มากข้างหน้า ดังนั้น หน้าที่ของฝ่ายนิติบัญญัติคือ ต้องสนับสนุนให้การบริหารประเทศต่อไปได้ในเวลาที่เหมาะสม” นายวันมูหะมัดนอร์ กล่าว

นอกจากนี้ นายมูหะมัดนอร์ ยังกล่าวต่อว่า “ส่วนข้อกังวลของสมาชิกวุฒิสภา (ส.ว.) ในเรื่องการโหวตนายกฯ นั้น ตนเห็นว่า ส.ว.ซึ่งเป็นผู้แทนปวงชนชาวไทยเช่นเดียวกับ ส.ส.ตามรัฐธรรมนูญนั้น ในการปฏิบัติหน้าที่ก็เป็นอิสระของแต่ละคนที่จะใช้ดุลพินิจวินิจฉัย ให้เป็นไปตามรัฐธรรมนูญกำหนดไว้ เราคงไม่สามารถคาดได้ว่าสมาชิกจะโหวตอย่างไร เป็นเรื่องที่ท่านจะต้องใช้ดุลพินิจเพื่อประชาชนและประเทศชาติ เพราะทุกคนก็มีคุณวุฒิวัยวุฒิมีประสบการณ์ และทุกคนก็ต้องมีหัวใจตรงกัน คือ บ้านเมือง ประเทศชาติ และประชาชนเป็นสิ่งสำคัญ ทุกคนต้องทำให้ดีที่สุด และตนขอฝากกับพี่น้องประชาชนทั่วประเทศ ว่ารัฐสภาของเราจะทำหน้าที่ที่ได้รับมอบหมายให้ดีที่สุดตามที่ท่านได้คาดหวัง”

นายวันมูหะมัดนอร์ เสริมอีกว่า “ในฐานะที่ผมเป็นประมุขฝ่ายนิติบัญญัติเป็นประธานรัฐสภา ต้องขอความสนับสนุนความร่วมมือจากพี่น้องประชาชนทั้งประเทศ เพราะต้องการความสมัครสมานสามัคคีจากทุกฝ่าย เพราะเรามาทำงานตรงนี้เพื่อประเทศชาติกันทุกคนรวมทั้งประชาชนด้วย ขอให้ท่านสนับสนุนให้มีนายกฯ คือ ผู้นำของประเทศอย่างเรียบร้อย ในเวลาที่ท่านรอคอยและจะทำให้ดีที่สุด ซึ่งผมคิดว่าต้องร่วมมือกันทุกฝ่ายทั้งสภาพรรคการเมืองและประชาชน เพื่องานที่เราจะมีในวันที่ 13 ก.ค.เป็นไปด้วยความเรียบร้อย”

ด้านนายปดิพัทธ์ กล่าวว่า สำหรับความห่วงใยเกี่ยวกับเรื่องการชุมนุมที่จะเกิดขึ้นบริเวณรัฐสภานั้น ในเรื่องนี้ไม่มีความกังวลใดๆ ในวันที่ 10 ก.ค. ประธานสภาฯ จะมีการแบ่งงานให้กับรองประธานทั้ง 2 คน ในส่วนของการชุมนุมการรักษาความปลอดภัยกับการให้บริการประชาชนในพื้นที่สภาฯ ซึ่งประชาชนมีสิทธิชุมนุมแน่นอนตามรัฐธรรมนูญ ถ้าอยู่ในขอบเขตอำนาจหน้าที่และ พ.ร.บ.การชุมนุม

‘ปรเมษฐ์ ภู่โต’ ย้ำ!! บทบาท ส.ว. ใต้รัฐธรรมนูญ 60  อย่าละเลย 'ตรรกะ' ที่ถูกต้อง บนอำนาจที่พึงมี

(10 ก.ค. 66) นายปรเมษฐ์ ภู่โต สื่อมวลชนอาวุโส พิธีกร ผู้ประกาศข่าว รายการคุยถึงแก่น ออกอากาศทางช่อง NBT ได้ออกมาแสดงความคิดเห็นเกี่ยวกับการโหวตเลือกนายกรัฐมนตรี โดย ส.ว. ระบุว่า...

เรื่องของการโหวตเลือกนายกรัฐมนตรี ซึ่งวันพฤหัสบดีที่ 13 กรกฎาคมนี้ ที่ประชุมร่วมรัฐสภา ก็จะลงคะแนนโหวตเลือกนายกรัฐมนตรี โดยมีนายพิธา ลิ้มเจริญรัตน์ แคนดิเดตนายกรัฐมนตรีและหัวหน้าพรรคก้าวไกลเป็นตัวยืนในการโหวตครั้งนี้ หลังมีพรรคร่วม 8 พรรคเป็นผู้เสนอชื่อนั้น

ประเด็นที่น่าสนใจ นอกจากประเด็นที่ว่า พรรคก้าวไกลจะหาเสียงสนับสนุนจาก ส.ว. ได้หรือไม่ ซึ่งล่าสุดคุณไหม ศิริกัญญา ก็ได้ออกมาให้สัมภาษณ์ว่าได้เสียงจาก ส.ว. ครบถ้วนแล้ว ตอนนี้ก็กำลังหาเสียงสำรองไว้เผื่อเหลือเผื่อขาดไว้อีกจำนวนเล็กน้อย แต่ก็มีการตั้งข้อสังเกตว่า ถ้าหาเสียงได้ครบแล้วจริงๆ ทำไมพรรคก้าวไกลนั้นดูร้อนรนเหลือเกิน มีการเปิดเวที เพื่อขอบคุณประชาชน ในหลายจังหวัดไม่ว่าจะเป็นในนครราชสีมา หรือที่จังหวัดสุพรรณบุรี ล่าสุดก็เป็นที่เซ็นทรัลเวิลด์ กรุงเทพฯ

สื่อหลายสำนักก็ยังได้วิเคราะห์ว่า นายพิธา ลิ้มเจริญรัตน์นั้น ยังไม่สามารถหาเสียงจาก ส.ว. ได้ครบ แต่ก็มี ส.ว.อีกบางส่วนได้ออกมาให้สัมภาษณ์ว่าจะสนับสนุนนายพิธา

ทั้งนี้ตามรัฐธรรมนูญมาตรา 272 ได้ให้อำนาจ ส.ว.ไว้ว่า มีหน้าที่ที่จะต้องให้ความเห็นชอบบุคคลที่จะเข้ามาดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรี ซึ่งตรงนี้เป็นสิ่งสำคัญที่เราจะพูดกัน และจะเป็นประเด็นสำคัญมากกว่าที่ ส.ว.จะเลือกหรือไม่เลือก พิธา หากแต่คุณจะใช้เหตุผลหรือตรรกะใดในการที่จะยกมือหรือไม่ยกมือให้นายพิธา เป็นนายกฯ ตรงนี้มากกว่าที่น่าสนใจ

แน่นอนว่า ส.ว.บางท่านที่ประกาศจุดยืนชัดเจนว่าจะ สนับสนุนให้พิธาเป็นนายกรัฐมนตรี ก็เพราะว่าพิธาได้รับเสียงส่วนใหญ่เสียงข้างมาก จากสภาผู้แทนราษฎร ซึ่งเท่ากับว่าเป็นเสียงแห่งฉันทามติของพี่น้องประชาชน ส.ว.ก็จะโหวตให้กับนายพิธา เพราะถือว่าทำตามฉันทามติของประชาชน...นี่คือเหตุผลของส.ว.คนที่มีจุดยืนในการเลือกนายพิธาเป็นนายกรัฐมนตรี

ทว่า การที่ ส.ว. ใช้เรื่องฉันทางมติมาเพื่อจะโหวตสนับสนุนนายพิธาเป็นนายกรัฐมนตรี ผมก็อยากจะขอถามไปยังท่าน ส.ว. ด้วยว่า ทำไมท่านใช้ตรรกะนี้ในการเลือกโดยไม่พิจารณาคุณสมบัติอื่น โดยเฉพาะคุณสมบัติส่วนบุคคล ว่าเหมาะหรือไม่เหมาะ จะมีปัญหาหรือไม่มีปัญหาในการทำงาน 

ที่ถามเช่นนี้ เพราะถ้าใช้ตรรกะนี้ในการทำงานอีกหน่อย ส.ส. พิจารณากฎหมายขึ้นมา จนมาถึงชั้นส.ว. ทาง ส.ว. ก็ต้องให้ผ่านไปเลย โดยไม่ต้องพิจารณาอะไรอีก เพราะว่าเสียงข้างมากของสภาฯ ผู้แทนราษฎรเขาผ่านเขาเห็นชอบกฎหมายฉบับนั้นๆมาแล้ว จะใช้ตรรกะเดียวกันแบบนี้จริงๆ หรือ?

แล้ว ถ้าท่าน ส.ว. อ้างเสียงส่วนใหญ่ที่เป็นฉันทามติมาจากประชาชน แล้ว ส.ว. ภายใต้รัฐธรรมนูญปี 60 นี้มีที่มาอย่างไร ส.ว.ก็มาจากรัฐธรรมนูญ แล้วรัฐธรรมนูญปี 60 มาจากไหน รัฐธรรมนูญปี 60 ก็มาจากประชาชน

ร่างรัฐธรรมนูญปี 60 ประชาชนไปลงรับร่างประมาณ 16,800,000 คน คิดเป็นประมาณ 61% ของผู้มาใช้สิทธิ์ ในขณะที่คำถามพ่วงเกี่ยวกับอำนาจหน้าที่ของ ส.ว. อำนาจในการเลือกนายกรัฐมนตรีของ ส.ว. ก็ได้รับคะแนนเสียงประมาณ 15,100,000 คิดเป็น 58% ของผู้ที่เดินทางมาใช้สิทธิ์ 

คำถาม คือ เจตจำนงของคนที่ไปลงคะแนนเมื่อปี 2560 คืออะไร? ประชาชนเหล่านี้เขาได้ให้อำนาจ ส.ว. ในการเลือกนายกรัฐมนตรี ให้อำนาจ ส.ว. ในการกลั่นกรองนายกรัฐมนตรีอีกชั้นหนึ่งหลังจากที่ผ่าน ส.ส.มาแล้ว ซึ่งก็กระทำการกันอย่างเป็นขั้นเป็นตอนใช่หรือไม่?

ถ้าใช่!! ที่มาของท่าน ส.ว.นั้น ก็ไม่สำคัญเท่ากับสิ่งที่ท่านจะทำ เพราะเมื่อท่าน ส.ว.ได้ถูกเลือกมาแล้วโดยรัฐธรรมนูญ ซึ่งเป็นกฎหมายที่ระบุอำนาจหน้าที่ของท่าน ส.ว.ไว้อย่างชัดเจนว่ามีอะไรบ้าง และที่สำคัญก็เป็นรัฐธรรมนูญที่คุณพิธา และพรรคก้าวไกลใช้ในการเลือกตั้งด้วย

แต่หากพวกท่าน ส.ว.ไม่คิดจะทำการอันใด รอฟังแต่เสียงจาก ส.ส.ส่วนใหญ่...ถ้าเป็นอย่างนั้น ท่านก็ไม่ควรที่จะทำหน้าที่ ส.ว. อีกต่อไป

ส.ว.สายโหวต ‘พิธา’ จี้ กกต. ส่งศาล รธน.สอบคุณสมบัติ หวั่น!! โหวตผู้มีลักษณะต้องห้ามเข้าสู่ตำแหน่ง

รีบเลย!! ‘ดิเรกฤทธิ์ เจนครองธรรม’ ส.ว. ซึ่งมีชื่อว่าจะโหวตเลือก ‘พิธา ลิ้มเจริญรัตน์’ เป็นนายกรัฐมนตรี แต่กลับออกมาจี้ กกต. รีบส่ง #ศาลรัฐธรรมนูญ วินิจฉัย คุณสมบัติ #พิธา โดยเร็ว ก่อน #โหวตนายก 13 ก.ค. กลัวต้องโหวตผู้มีลักษณะต้องห้ามเข้าสู่ตำแหน่ง ยันที่ประชุมรัฐสภา สามารถเลื่อนการประชุมโหวตได้ 

พฤหัสบดีที่ 13 กรกฎาคม จะเป็นวันนัดโหวตเลือกนายกรัฐมนตรี ซึ่งก้าวไกลจะเสนอชื่อ ‘พิธา’ เป็นนายกรัฐมนตรี โดยแกนนำบางคนออกมายืนยันแล้วว่า มีเสียงสมาชิกวุฒิสภาให้การสนับสนุนครบแล้ว ถ้าครบแล้ว หมายถึงได้รับการสนับสนุนจาก สว.แล้วไม่น้อยกว่า 66คน

ต้อง 66เสียง เพราะว่า พรรคก้าวไกลหายไป 1 คน จากเหตุเมาแล้วขับ และ กกต.ยังไม่รับรองในการเลื่อนลำดับถัดมา จึงยังไม่ได้เข้าสาบานตนรับตำแหน่ง ส่วนอีกคน ต้องทำหน้าที่ประธาน จะงดออกเสียงหรือไม่

แต่ประเด็นมาถึงวันนี้ สว.บางคนที่เคยเอ่ยปากสนับสนุน ‘พิธา’ เริ่มลังเลในการโหวต กลัวว่าจะเป็นการรับรองคนผิดเข้าสู่ตำแหน่ง แล้วจะถูกเล่นงานตลบหลัง ส่วนคนที่ตั้งใจ มุ่งมั่นแล้วก็ว่ากันไป แต่จำนวนเท่าไหร่แน่ ไม่มีใครยืนยัน

วันนี้ กกต.นัดประชุมสรุปอีกรอบในการดำเนินการตามคำร้องของเรืองไกร ลีกิจวัฒนะ ให้ตรวจสอบคุณสมบัติของพิธาว่าเข้าข่ายต้องห้ามหรือไม่กรณีถือหุ้นสื่อ (ไอทีวี) ซึ่งเมื่อวานได้พิจารณาแล้ว แต่พรรคก้าวไกลทำหนังสือแย้งไปว่า กกต.ยังไม่ได้ดำเนินการตามขั้นตอน คือเรียกผู้ถูกกล่าวหาไปชี้แจง กกต.จึงเลื่อนมาพิจารณาต่อในวันนี้

‘หมอพรทิพย์’ โพสต์ ก่อนโหวตนายกฯ ชี้ วาระนี้ คงเป็นกรรมจัดการ ลั่น!! “รับใช้แผ่นดินมาทั้งชีวิต ขอทำหน้าที่จนกว่าชีวิตจะหาไม่”

(13 ก.ค. 66) ผู้สื่อข่าวรายงานว่า รัฐสภา เตรียมประชุมวาระเลือกนายกฯ โดยประชาชนต่างสนใจการลงคะแนนของ ส.ว.ที่เป็นตัวแปรในครั้งนี้

โดย พญ.คุณหญิงพรทิพย์ โรจนสุนันท์ เป็น ส.ว.อีกหนึ่งคนที่ถูกจับตาตั้งแต่ประกาศผลการเลือกตั้ง

ซึ่งล่าสุด พญ.คุณหญิงพรทิพย์ ได้โพสต์อินสตาแกรม ระบุว่า…

“ทั้งชีวิตก็เลือกทำงานรับใช้แผ่นดิน ผ่านมาหลากหลายรัฐบาล ปากว่ารักชาติ รักแผ่นดินกันทั้งนั้น วาระนี้คงเป็นวาระกรรมจัดการ จะขอทำหน้าที่ให้ดีที่สุดจนกว่าชีวิตจะหาไม่”


TRENDING
© Copyright 2021, All rights reserved. THE STATES TIMES
Take Me Top