Sunday, 12 May 2024
ภาคเหนือ

สืบสวนนครบาลขยายผลทลายขบวนการลักลอบลำเลียงยาเสพติดภาคเหนือเข้าสู่ใจกลางมหานคร

ตามนโยบายรัฐบาลโดย พล.อ.ประยุทธ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี และ พล.อ.ประวิตร วงษ์สุวรรณ รองนายกรัฐมนตรี ตระหนักถึงปัญหายาเสพติดซึ่งเป็นภัยคุกคามและเป็นหนึ่งในปัญหาชาติที่สำคัญ ต้องแก้ไขอย่างเร่งด่วนและจริงจัง จึงมอบนโยบายให้สำนักงานตำรวจแห่งชาติ  โดย พล.ต.อ.ดำรงศักดิ์ กิตติประภัสร์ ผบ.ตร., พล.ต.อ.ชินภัทร สารสิน รอง ผบ.ตร., พล.ต.ท.ธิติ แสงสว่าง ผบช.น., พล.ต.ต.นพศิลป์ พูลสวัสดิ์ รอง ผบช.น. , พล.ต.ต.สําเริง สวนทอง รอง ผบช.น. ,พล.ต.ต.ธีรเดช ธรรมสุธีร์ ผบก.สส.บช.น./หน.ชป.5 ศอ.ปส.ตร , พ.ต.อ.เกียรติศักดิ์ สระทองออย รอง ผบก.สส.บช.น. จึงได้สั่งการให้ พ.ต.อ.ธัญญพัทธ์ บุญสุข ผกก.สส.2 บก.สส.บช.น., พ.ต.ท.ณัฐวุฒิ สีเสมอ, พ.ต.ท.นิติกรณ์ ระวัง รอง ผกก.กก.สส.2 บก.สส.บช.น.พร้อมเจ้าหน้าที่ตำรวจ กองกำกับการสืบสวน 2 ทำการสืบสวนผู้ต้องหาคดียาเสพติดรายใหญ่ รายสำคัญ ให้ได้ผลอย่างเป็นรูปธรรมเพื่อป้องกันไม่ให้ยาเสพติดแพร่กระจายลงสู่ชุมชน ได้ร่วมทำการตรวจยึด ของกลาง 

1. ยาเสพติดให้โทษประเภท 1 (ไอซ์) น้ำหนักรวมประมาณ 499 กิโลกรัม 
2. ยาเสพติดให้โทษประเภท 1 (ยาบ้า) จำนวนประมาณ 1,000,000 เม็ด  
3. รถยนต์บรรทุก หกล้อยี่ห้อฮีโน่สีขาวหมายเลขทะเบียน 70-8583 ลำปาง จำนวน 1 คัน

โดยกล่าวหาว่า “จำหน่ายยาเสพติดให้โทษประเภท 1(เมทแอมเฟตามีน) อันเป็นการมีไว้เพื่อจำหน่ายอันเป็นการกระทบต่อความมั่นคงของรัฐหรือความปลอดภัยของประชาชนทั่วไป ”
สถานที่ตรวจยึด บริเวณริมถนนสิงหวัฒน์ ตำบลบ้านใหม่สุขเกษม อำเภอกงไกรลาศ  จังหวัดสุโขทัย เมื่อวันที่ 7 เมษายน 2566 เวลาประมาณ  20.00 น.

ส่อง 17 ผลงานเด่นของรัฐบาลตลอด 8 ปีที่ฝากไว้ใน ‘ภาคเหนือ’

ตั้งแต่พลเอกประยุทธ์ จันทร์โอชา เข้ามาบริหารประเทศ เกิดการพัฒนาทั่วทุกภาคของประเทศ ในส่วนการพัฒนาภาคเหนือ มีการกำหนดให้พื้นที่จังหวัดเชียงราย จังหวัดเชียงใหม่ จังหวัดลำพูน และจังหวัดลำปาง เป็นระเบียงเศรษฐกิจพิเศษภาคเหนือเพื่อยกระดับให้เป็นพื้นที่ลงทุนด้านการพัฒนาให้เป็นฐานเศรษฐกิจสร้างสรรค์หลักของประเทศอย่างยั่งยืน นอกจากนี้ยังมีการพัฒนาเขตพัฒนาเศรษฐกิจพิเศษชายแดน 

การพัฒนาและผลงานที่เป็นรูปธรรมและเอื้อประโยชน์ให้แก่พี่น้องชาวภาคเหนือมีมากมายหลายโครงการ ขอยกตัวอย่างมาให้เห็นคร่าวๆ ดังนี้

1.) พัฒนาศูนย์เปลี่ยนถ่ายรูปแบบการขนส่งสินค้าเชียงของ ที่เชียงราย

2.) เชื่อมโยงเส้นทางท่องเที่ยวอารยธรรมล้านนา การท่องเที่ยวธรรมชาติและสุขภาพ ตามเส้นทางเมืองเก่าลำพูน ลำปาง เชียงใหม่และแม่ฮ่องสอน

3.) ปรับปรุงเพิ่มประสิทธิภาพทางหลวงหมายเลข 11 ตอนแยกภาคเหนือ-ขุนตาล จาก 4 ช่องจราจรเป็น 8 ช่องจราจร

4.) พัฒนาทางหลวงหมายเลข 116 ตอนป่าสัก-สะปุ๋ง-บ้านเรือน-สันป่าตอง จาก 2 ช่องจราจรเป็น 4 ช่องจราจร ระยะทาง 19 กม.

5.) พัฒนาทางหลวงหมายเลข 10.35 ตอนวังหม้อพัฒนา-แจ้ห่ม ระยะทาง 19 กม.

6.) ก่อสร้างส่วนขยายสะพานข้ามทางแยกต่างระดับ แยกภาคเหนือ จุดตัดทางหลวงหมายเลข 1 ตอนเกาะคา-สามัคคี กับทางหลวงหมายเลข 11 ตอนแยกภาคเหนือ-ขุนตาน

7.) ก่อสร้างสะพานข้ามทางรถไฟ ทางหลวงหมายเลข 1136 ตอนเหมืองง่า-ลำพูน เพื่อเชื่อมทางเลี่ยงเมืองลำพูน สายเหมืองง่า-ท่าจักร และเชื่อมโยงจังหวัดเชียงใหม่

8.) ก่อสร้างทางเลี่ยงเมืองแม่ริม เมืองสันกำแพง

9.) สร้างสถานีขนส่งสินค้าจังหวัดเชียงใหม่ เพื่อเป็นศูนย์รวบรวมและกระจายสินค้าในภูมิภาค

10.) ปรับปรุงภูมิทัศน์พื้นที่มรดกทางวัฒนธรรม 'เมืองเก่าลำพูน'

11.) พัฒนาโครงสร้างพื้นฐานบริเวณถนนนิมมานเหมินทร์ ให้เป็นแหล่งท่องเที่ยวชั้นนำ

12.) ขยายท่าอากาศยานฯ และการศึกษาความเหมาะสมการขยายระบบการขนส่งน้ำมันทางท่อ (Logistic) เชื่อมต่อจากจังหวัดลำปาง-จังหวัดเชียงใหม่ เพื่อส่งเสริมการค้าการลงทุน และลดต้นทุนการขนส่งน้ำมัน

13.) โครงการเพิ่มปริมาณน้ำในอ่างเก็บน้ำเขื่อนแม่กวงอุดมธารา

14.) ก่อสร้างประตูระบายน้ำดอยแต ตำบลเหมืองจี้ อำเภอเมืองลำพูน จังหวัดลำพูน

เวลาเปลี่ยน เมืองไทยเปลี่ยน: สนามบินภาคเหนือ 

ตอนนี้ความเจริญกำลังแพร่ขยายไปสู่ภาคอื่น ๆ ของประเทศไทย โดยในภาคเหนือก็มีการพัฒนาสนามบิน ได้แก่ สนามบินแพร่ สนามบินเชียงใหม่ สนามบินลำปาง และสนามบินน่านนคร

เวลาเปลี่ยน เมืองไทยเปลี่ยน: สนามบินเชียงใหม่ เชื่อมอาเซียนตอนบน ศูนย์กลาง CLMV

รัฐบาลมุ่งพัฒนา ‘สนามบินเชียงใหม่’ ยกระดับสนามบิน แก้ปัญหาจราจร และพื้นที่จอดรถ สร้างอาคารอเนกประสงค์ และอาคารจอดรถ
 

เวลาเปลี่ยน เมืองไทยเปลี่ยน: ท่าอากาศยานพะเยา

รัฐบาลพร้อมเดินหน้าพัฒนา ‘ท่าอากาศยานพะเยา’ หลังรอมากว่า 7 ปี การพัฒนาครั้งนี้เพื่อให้สามารถรองรับผู้โดยสารได้มากขึ้น และมีพื้นที่ใช้สอยในส่วนต่างๆ ได้มากขึ้น อีกทั้งยังห่างจากตัวเมืองพะเยาเพียง 18 กิโลเมตร
 

'บิ๊กต่าย' แถลง ตำรวจ ปส. ทลาย 2 เครือข่ายค้ายา ภาคเหนือ และภาคอีสาน ยึดยาบ้ากว่า 14 ล้านเม็ด ปะปนมากับแตงกวา และไอซ์ 100 กก. หวังกระจายในพื้นที่ชั้นใน

ตามนโยบายการแก้ไขปัญหายาเสพติดของ นายเศรษฐา ทวีสิน นายกรัฐมนตรี เน้นการจับกุมทำลายเครือข่ายวงจรยาเสพติด ยึดทรัพย์ที่ได้มาจากการค้ายาเสพติด และเร่งรัดในการทำลายยาเสพติดของกลาง โดย พล.ต.อ.ต่อศักดิ์ สุขวิมล ผบ.ตร. ได้รับนโยบายจากนายกรัฐมนตรี มาดำเนินการ และได้สั่งการให้ พล.ต.อ.กิตติ์รัฐ พันธุ์เพ็ชร์ รอง ผบ.ตร. และ ผู้ช่วย ผบ.ตร. ผู้รับผิดชอบงานยาเสพติด เข้าไปกำกับดูแลสั่งการ 

ซึ่งวันนี้ 24 พ.ย.66 เวลา 10.30 น. พล.ต.อ.กิตติ์รัฐ พันธุ์เพ็ชร์ รอง ผบ.ตร./ผอ.ศอ.ปส.ตร. เป็นประธานการแถลงผลการกวาดล้างเครือข่ายยาเสพติดรายใหญ่ 2 เครือข่าย พร้อมด้วย พล.ต.ท.อัคราเดช พิมลศรี ผู้ช่วย ผบ.ตร./รอง ผอ.ศอ.ปส., พล.ต.ท.คีรีศักดิ์ ตันตินวะชัย ผบช.ปส., พล.ต.ต.สมเกียรติ วัฒนพรมงคล, พล.ต.ต.สมบูรณ์ เทียนขาว, พล.ต.ต.ออมสิน ตรารุ่งเรือง, พล.ต.ต.พลัฎฐ์ วิเศษสิงห์ รอง ผบช.ปส., พล.ต.ต. ธนรัชน์ สอนกล้า ผบก.ปส.2, พล.ต.ต.พรศักดิ์ สุรสิทธิ์ ผบก.ปส.4, พล.ต.ต.อิทธิพล จันทร์ศรีบุตร ผบก.ขส. และ พล.ต.ต.วิทัศน์ บริรักษ์ ผบก.สกส. ด้าน ผบช.ปส. เผยว่า บช.ปส. จะเดินหน้าปราบปรามเครือข่ายยาเสพติดทุกเครือข่ายอย่างหนัก รวมไปถึงการสืบสวนขยายผล  ใช้เครื่องมือและกฎหมายที่มีอยู่เพื่อเอาผิดกับเครือข่ายและผู้ที่ร่วมกันให้การสนับสนุนเครือข่ายค้ายาเสพติดอย่างเด็ดขาด เพื่อตัดวงจรการค้ายาเสพติด ขณะเดียวกันก็ได้ขับเคลื่อนงานด้านการป้องกันยาเสพติดควบคู่ไปด้วย ล่าสุด ตำรวจ ปส. สามารถจับกุมผู้ต้องหาและตรวจยึดยาเสพติดได้เป็นจำนวนมาก ได้แก่ ไอซ์ 100 กก. และ ยาบ้า 13,400,000 เม็ด 

คดีที่ 1 ตำรวจ กก.3 บก.ปส.2 ร่วมกับตำรวจ บก.ขส. ร่วมกันสืบสวนติดตามกลุ่มเครือข่ายที่มีพฤติการณ์ลำเลียงยาเสพติดในพื้นที่รับผิดชอบ กระทั่งช่วงบ่ายของวันที่ 19 พ.ย. ที่ผ่านมา พบความเคลื่อนไหวกลุ่มเครือข่ายจะลำเลียงยาเสพติดจากพื้นที่แนวชายแดน ด้าน จว.นครพนม ไปส่งให้กับลูกค้าในเขตพื้นที่ตอนในประเทศ โดยใช้รถยนต์ หมายเลขทะเบียน xx 61xx กรุงเทพมหานคร ในการลำเลียงยาเสพติด เจ้าหน้าที่จึงประสานกำลังกับเจ้าหน้าที่ทหารกองกำลังสุรศักดิ์มนตรี เฝ้าติดตามตามเส้นทางที่ได้รับแจ้ง พบรถเป้าหมายวิ่งไปตามถนนเส้นสกลนคร - อ.สมเด็จ จว.กาฬสินธุ์ ต่อเนื่อง จว.มหาสารคาม  ก่อนจะมาจอดรถติดสัญญาณไฟจราจรที่บริเวณแยกวังยาว ต.เกิ้ง อ.เมือง จว.มหาสารคาม ตำรวจชุดจับกุมได้แสดงตัวเข้าจับกุมพร้อมตรวจสอบพบ นายจักรกฤษ อายุ 36 ปี ชาว จว.กาฬสินธุ์ เป็นผู้ขับขี่ ผลการตรวจค้นรถพบไอซ์ ซุกซ่อนในฝากระโปรงท้ายรถยนต์ รวมจำนวน 100 กก. ด้านผู้ต้องหาให้การว่า ประมาณเดือนกันยายน ที่ผ่านมาได้รู้จักและไปทำงาน กับผู้รับเหมาก่อสร้างรายหนึ่งในหมู่บ้านโคกกลาง ต.ลำปาว อ.เมือง จว.กาฬสินธุ์ ที่ตนอาศัยอยู่ เมื่องานเสร็จผู้รับเหมาได้ย้ายไปที่อื่น ตนจึงไม่มีงานทำ ก่อนจะโทรศัพท์ติดต่อเพื่อของานกับผู้รับเหมารายนี้ จึงแนะนำให้ตนขับรถขนยาเสพติดและถูกจับกุมดังกล่าว ซึ่งหลังการจับกุมเจ้าหน้าที่จะขยายผลหาตัวการใหญ่ในการว่าจ้างลำเลียงยาเสพติดจำนวนนี้ต่อไป เบื้องต้น แจ้งข้อหา “ร่วมกันกับพวกที่หลบหนีจำหน่ายยาเสพติดให้โทษชนิดร้ายแรงประเภท 1 (สารไอซ์) โดยการมีไว้เพื่อจำหน่ายอันเป็นการกระทำเพื่อการค้า ก่อให้เกิดการแพร่กระจายในกลุ่มประชาชนและทำให้เกิดผลกระทบต่อความมั่นคงของรัฐหรือความปลอดภัยของประชาชนโดยฝ่าฝืนต่อกฎหมาย”

คดีที่ 2 ตำรวจ บก.สกส. จับกุม 3 ผู้ต้องหา คือ นายไตร, นายสมชาย และ เยาวชน 1 ราย หลังได้รับแจ้งจากสายลับว่าจะมีเครือข่ายยาเสพติดเตรียมลำเลียงยาเสพติดจากพื้นที่ จว.เชียงใหม่ เพื่อไปส่งให้กับเครือข่ายในพื้นที่ จว.นครศรีธรรมราช โดยบรรทุกมากับกระบะแบบมีคอก และ มีรถนำเส้นทางอีก 1 คัน กระทั่งวันที่ 14 พ.ย. ที่ผ่านมา พบความเคลื่อนไหวของรถเป้าหมายคือ รถกระบะหมายเลขทะเบียน xx 92xx เชียงใหม่ และ รถยนต์หมายเลขทะเบียน xx 5xx เชียงใหม่ กำลังเดินทางลงสู่พื้นที่ภาคใต้ เจ้าหน้าที่ชุดจับกุมจึงตรวจสอบพบว่ารถได้ขับผ่านพื้นที่ อ.ท่าแซะ จว.ชุมพร แต่ไม่พบรถออกนอกพื้นที่ จึงคาดว่าอาจจะหลบพักอยู่ในพื้นที่ กระทั่งพบรถกระบะจอดพักบริเวณรีสอร์ตแห่งหนึ่ง ในพื้นที่ อ.เมือง จว.ชุมพร 

เจ้าหน้าที่ชุดจับกุมจึงเข้าตรวจสอบพบว่ารถยนต์คันแรก มีนายไตรภพ เป็นผู้ขับขี่ ให้การว่า ขับรถบรรทุกแตงกวามาเต็มคันรถเพื่อไปส่งลูกค้าที่ จว.นครศรีธรรมราช ส่วนรถคันที่ 2 มีนายสมชาย เป็นผู้ขับขี่ และมีเยาวชน 1 ราย โดยสารมาด้วย เมื่อนายสมชาย เห็นเจ้าหน้าที่ตำรวจ ได้สารภาพว่าได้ขับรถนำสำรวจเส้นทาง สำรวจด่านตรวจของเจ้าหน้าที่ ให้กับรถยนต์ที่ซุกซ่อนยาเสพติดมากับแตงกวา เจ้าหน้าที่ตำรวจจึงคุมตัวผู้ต้องหา และรถทั้งหมดไปตรวจเอ็กซ์เรย์ที่ด่านตรวจยานพาหนะท่าแซะ จว.ชุมพร ของ กก.2 บก.ปส.4 พบยาบ้าถูกซุกซ่อนอยู่รวมจำนวน 13,400,000 เม็ด สอบถามผู้ต้องหา ให้การว่ายาเสพติดของกลาง ดังกล่าวเป็นของตนเองจริง ซึ่งมีคนว่าจ้างให้ไปรับยาเสพติดในพื้นที่ จว.เชียงใหม่ เบื้องต้นแจ้งข้อหา “ร่วมกันจำหน่ายยาเสพติดให้โทษชนิดร้ายแรงประเภท ๑ (ยาบ้าหรือเมทแอมเฟตามีน) โดยมีไว้ในครอบครองเพื่อจำหน่าย โดยไม่ได้รับอนุญาต อันเป็นการกระทำเพื่อการค้า และเป็นการก่อให้ เกิดการแพร่กระจายในกลุ่มประชาชน และทำให้เกิดผลกระทบต่อความมั่นคงของรัฐ หรือความปลอดภัยของประชาชนทั่วไป”

สำหรับเดือน ตุลาคม 2566 – ปัจจุบัน ตำรวจปราบปรามยาเสพติด (บช.ปส.) ได้จับกุมขบวนการค้ายาเสพติดรายสำคัญ  34 คดี ผู้ต้องหา 58 คน ของกลาง ยาบ้า 34,601,643 เม็ด, ไอซ์ 872.76 กก. เฮโรอีน 25.99 กก., โคเคน 3.61 กก. และตรวจยึดทรัพย์ ไว้ตรวจสอบมูลค่าประมาณ 131.62 ล้านบาท

ดัชนีความเชื่อมั่นผู้บริโภค ‘ภาคเหนือ-ใต้’ ลดลง สะท้อน ‘นโยบายประชานิยม’ ใช้ไม่ได้ผลเสมอไป

สำนักงานนโยบายและยุทธศาสตร์การค้า (สนค.) ได้รายงานดัชนีความเชื่อมั่นผู้บริโภค เดือน พฤศจิกายน 2566 ในภาพรวมนั้น ดัชนีความเชื่อมั่นผู้บริโภค เท่ากับ 55.0 ปรับลดจาก 55.8 ในเดือนตุลาคม 2566

สำหรับดัชนีความเชื่อมั่นผู้บริโภค จำแนกรายภาค เปรียบเทียบกับเดือนตุลาคม 2566 พบว่า

- กรุงเทพฯ และปริมณฑล ดัชนีปรับตัวเพิ่มขึ้นจากระดับ 55.9 มาอยู่ที่ระดับ 57.4

- ภาคกลาง ดัชนีปรับตัวเพิ่มขึ้นจากระดับ 55.3 มาอยู่ที่ระดับ 55.7

- ภาคเหนือ ดัชนีปรับตัวลดลงจากระดับ 57.3 มาอยู่ที่ระดับ 53.4

- ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ดัชนีปรับตัวเพิ่มขึ้นจากระดับ 56.3 มาอยู่ที่ระดับ 57.0

- ภาคใต้ ดัชนีปรับตัวลดลงจากระดับ 53.1 มาอยู่ที่ระดับ 51.8

ปัจจัยสำคัญที่ส่งผลต่อความเชื่อมั่นผู้บริโภค ที่สำคัญที่สุด คือ ‘เศรษฐกิจไทย’ คิดเป็นร้อยละ 44.12 รองลงมา คือ ‘มาตรการภาครัฐ’ คิดเป็นร้อยละ 14.93 ลำดับ 3 เป็น ‘ราคาสินค้าเกษตร’ คิดเป็นร้อยละ 11.48 

ถึงแม้ว่า หากเทียบกับดัชนีความเชื่อมั่น ในปี 2564 เฉลี่ยอยู่ที่ 43.0 และ ปี 2565 เฉลี่ยอยู่ที่ 46.2 จะพบว่า ดัชนีความเชื่อมั่นผู้บริโภค ปรับตัวสูงขึ้นมาก แต่ส่วนหนึ่ง เกิดจากภาวะการแพร่ระบาดของเชื้อไวรัสโคโรน่า (COVID-19) และ สงครามรัสเซีย-ยูเครน ซึ่งกระทบต่อเศรษฐกิจโลก และ เศรษฐกิจไทย เป็นอย่างมาก ส่งผลให้ดัชนีความเชื่อมั่นผู้บริโภค ต่ำกว่าระดับ 50.0 หมายถึง ผู้บริโภคมีความไม่เชื่อมั่นต่อภาวะเศรษฐกิจ (อยู่ในช่วงไม่เชื่อมั่น) 

ซึ่งในปี 2566 ดัชนีความเชื่อมั่นโดยรวม อยู่เกินระดับ 50.0 ในทุกเดือน สะท้อนให้เห็นถึง สถานการณ์ปัจจุบัน หลังผ่านเหตุการณ์สำคัญดังกล่าว ภาพรวมของเศรษฐกิจไทย ปรับตัวดีขึ้นมาก รวมทั้งการท่องเที่ยวที่ขยายตัวเพิ่มขึ้น สิ่งหนึ่งที่ต้องชื่นชมอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ ก็คือ มาตรการของรัฐ ที่ใช้กระตุ้นเศรษฐกิจในช่วงภาวะวิกฤต ของรัฐบาลชุดที่ผ่านมา 

แต่หากพิจารณาเฉพาะข้อมูลส่วนนี้ จะพบประเด็นที่น่าสนใจ ว่า พื้นที่ ภาคเหนือ และ ภาคใต้ ดัชนีความเชื่อมั่นปรับตัวลดลง โดยเฉพาะภาคเหนือ มีอัตราการลดลง มากที่สุด อยู่ที่ 3.9 และ ปัจจัยสำคัญที่ส่งผลต่อดัชนีความเชื่อมั่น ของพื้นที่ภาคเหนือ ลำดับที่ 2 อยู่ที่ ‘มาตรการภาครัฐ’ สัญญาณเล็กๆ นี้ ที่รัฐบาลชุดปัจจุบัน อาจต้องให้ความสนใจพอสมควร เพราะสิ่งที่ต้องไม่ลืม ในทางการเมือง พื้นที่นี้ เดิม เป็นพื้นที่ฐานเสียงหลักของรัฐบาลปัจจุบัน และการเลือกตั้งที่ผ่านมา หลายพื้นที่ ได้เสียฐานคะแนนเสียงให้กับคู่แข่ง มากพอสมควร

ประชาชนในพื้นที่ภาคเหนือ มีดัชนีความเชื่อมั่นลดต่ำลง และ ปัจจัยสำคัญ คือ มาตรการภาครัฐ ที่จะใช้เพื่อการประชานิยม เพิ่มคะแนนเสียง และมาตรการสำคัญที่กำลังถูกจับตา คือ นโยบายการแจกเงินดิจิทัล 10,000 บาท หรือโครงการ Digital wallet ที่อาจจะยังมองไม่เห็นทางออกในการดำเนินการโครงการนี้ ซึ่งมีการปรับเปลี่ยนเงื่อนไข ลดกลุ่มเป้าหมายที่จะแจกเงินดิจิทัล ลงอย่างต่อเนื่อง

สุดท้าย พื้นที่สำคัญนี้ ของรัฐบาล จะรักษาไว้ได้ หรือ เสียคะแนนเพิ่ม ดัชนี้ผู้บริโภค อาจเป็นคำตอบได้เป็นอย่างดี

‘สนค.’ เผย ภาคเหนือครองใจประชาชน อันดับ 1 หลังคนไทยแห่เที่ยวในประเทศเพิ่มขึ้น 30.28%

(13 ธ.ค. 66) นายพูนพงษ์ นัยนาภากรณ์ ผู้อำนวยการสำนักงานนโยบายและยุทธศาสตร์การค้า (สนค.) เปิดเผยว่า ผลสำรวจความคิดเห็นของประชาชนเดือนพฤศจิกายน 2566 ทุกอำเภอทั่วประเทศ เกี่ยวกับแผนการท่องเที่ยวในประเทศช่วงเดือนพฤศจิกายน-ธันวาคม 2566 ซึ่งเป็นฤดูกาลท่องเที่ยวและเทศกาลเฉลิมฉลอง และเป็นการสำรวจต่อเนื่องจากเดือนพฤศจิกายน 2565 โดยพบว่า ประชาชนมีแผนท่องเที่ยวเพิ่มขึ้นเล็กน้อยเมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน

ทั้งนี้ ภาคเหนือยังเป็นจุดหมายที่ครองใจประชาชนอันดับหนึ่ง รองลงมาคือ ภาคกลาง และภาคใต้ และคาดว่าจะใช้จ่าย 5,001-10,000 บาท/คน/ทริป เพื่อเป็นค่าเดินทาง อาหาร และที่พัก

อย่างไรก็ตาม ความกังวลด้านภาระทางการเงิน ระดับราคาสินค้าและบริการ ทำให้ประชาชนส่วนใหญ่ระมัดระวังการใช้จ่ายและยังไม่มีแผนการท่องเที่ยว

โดยแผนการท่องเที่ยวในภาพรวม พบว่ามีผู้ตอบ 32.19% ที่มีแผนการท่องเที่ยวในช่วงเดือนพฤศจิกายน-ธันวาคม 2566 เพิ่มขึ้นเล็กน้อยจากการสำรวจในปี 2565 (30.28%) ซึ่งผู้ที่มีแนวโน้มว่าจะท่องเที่ยวส่วนใหญ่ เป็นพนักงานของรัฐ 43.10% พนักงานบริษัท 41.85% นักศึกษา 40.25% โดยมีรายได้ 30,000 บาท/เดือนขึ้นไป

นอกจากนี้ พบว่า กลุ่มผู้อาศัยในกรุงเทพฯ และปริมณฑล มีแผนท่องเที่ยวในสัดส่วนที่มากกว่าครึ่ง คือ 52.91% ส่วนหนึ่งคาดว่าอาจเป็นเพราะกำลังซื้อที่สูงตามระดับรายได้ของครัวเรือนที่สูงกว่าภาคอื่นๆ แต่เป็นที่น่าสังเกตว่า ผู้ที่ไม่มีแผนท่องเที่ยวยังคงมีความกังวลใน 3 เรื่องหลักเช่นเดียวกับปี 2565 คือ ภาระทางการเงิน ระดับราคาสินค้าและบริการ และไม่ชอบการเดินทาง อย่างไรก็ดี มีผู้ตอบบางส่วน ซึ่งเป็นผู้ประกอบการ พนักงานของรัฐฯ และมีรายได้ตั้งแต่ 30,000 บาท/เดือนขึ้นไป ให้เหตุผลว่าจะมีแผนท่องเที่ยวหลังจากนี้ ซึ่งเป็นสัญญาณที่ดีต่อภาคการท่องเที่ยวไทยในปี 2567

“การท่องเที่ยวในประเทศช่วง 2 เดือนสุดท้ายปี 2566 มีแนวโน้มคึกคัก โดยเฉพาะในภาคเหนือ และการท่องเที่ยวภายในภูมิลำเนา ประกอบกับภาครัฐมีมาตรการกระตุ้นการท่องเที่ยวอย่างเข้มข้น โดยเฉพาะการท่องเที่ยวของนักท่องเที่ยวต่างชาติ ดังนั้น หน่วยงานและสถานประกอบการที่เกี่ยวข้องควรเตรียมความพร้อมในทุกด้าน เพื่อให้สามารถรองรับจำนวนประชาชนไทยและนักท่องเที่ยวต่างชาติที่เพิ่มขึ้นกว่าปีก่อน” นายพูนพงษ์ กล่าว

“จริงจัง แก้ไขปัญหา เพื่อประชาชน”กองทัพภาคที่ 3 จัดประชุมบูรณาการขับเคลื่อนการป้องกันและแก้ไขปัญหาไฟป่าหมอกควันและฝุ่นละออง 17 จังหวัดภาคเหนือ ประจำปี 2567

เมื่อวันที่ 20 ธันวาคม 2566 พลโท ประสาน แสงศิริรักษ์ แม่ทัพภาคที่ 3/ ผู้อำนวยการรักษาความมั่นคงภายในภาค 3 /ผู้อำนวยการศูนย์ปฏิบัติการดับไฟป่า ภาค 3 เป็นประธานการประชุมบูรณาการขับเคลื่อนการป้องกันและแก้ไขปัญหาไฟป่าหมอกควันและฝุ่นละอองขนาดเล็กในพื้นที่ 17 จังหวัดภาคเหนือ ประจำปี 2567 เพื่อเตรียมการรองรับสถานการณ์ไฟป่าหมอกควันและฝุ่นละอองขนาดเล็ก PM2.5 ประจำปี 2567 ณ ห้องประชุมคชรัตน์ 1 กองบัญชาการกองทัพภาคที่ 3 ค่ายสมเด็จพระนเรศวรมหาราช จังหวัดพิษณุโลก มีหน่วยงานเข้าร่วมประชุม ได้แก่ หน่วยขึ้นตรงกองทัพภาคที่ 3ิ, กองอำนวยการรักษาความมั่นคงภายในจังหวัด 17 จังหวัดภาคเหนือ , กองทัพอากาศ , กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม, กรมควบคุมมลพิษ, กรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่า และพันธุ์พืช ,กรมฝนหลวงและการบินเกษตร, สำนักเทคโนโลยีอวกาศและภูมิสารสนเทศ (องค์การมหาชน), ตำรวจภูธรภาค 5 และ ภาค 6, ศูนย์เทคโนโลยีดิจิทัสและอากาศยาน กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม, สำนักงานจัดการทรัพยากรป่าไม้, สำนักงานบริหารพื้นที่อนุรักษ์,  สำนักงานทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมจังหวัด/สำนักงานป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยจังหวัด และสำนักงานส่งเสริมการปกครองท้องถิ่น ในพื้นที่ 17 จังหวัดภาคเหนือ   

สำหรับการประชุมได้แนวทางการเตรียมแผนปฏิบัติการระดับจังหวัดและ  กองทัพภาคที่ 3 /กองอำนวยการรักษาความมั่นคงภายในภาค 3  เสนอแผนการจัด ชป.ลว.ชุดปฏิบัติการลาดตระเวนร่วม จำนวน 69 ชุดปฏิบัติการ สนับสนุนให้กับกรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่า และพันธุ์พืช ตามนโยบายของรัฐบาลในสร้างการรับรู้ การลาดตระเวน ตรึงกำลัง ในพื้นที่ 9 ป่าแปลงใหญ่เผาไหม้ซ้ำซาก  

ด้าน ศูนย์บรรเทาสาธารณภัยกองทัพอากาศ และหน่วยเกี่ยวข้อง วางแผนการดำเนินงานตั้งแต่ห้วงก่อนเกิดสถานกาณ์วิกฤต โดยเริ่มติดตามสถานการณ์ ประสานการปฏิบัติกับภาคีเครือข่าย และตรวจสอบความพร้อมของหน่วยปฏิบัติตั้งแต่เดือน ตุลาคม  ตั้งแต่วันที่  1 ธันวาคม 2566 ที่ผ่านมา ศูนยุทธการทางอวกาศ / ได้ทำการวิเคราะห์จุดความร้อนที่มีโอกาส เกิดไฟไหม้ ส่งให้ ศูนย์ปฏิบัติการดับไฟป่า กองทัพภาคที่ 3   และ กรมยุทธการทหารอากาศ / วางแผนการฝึกบินควบคุมไฟป่า กองทัพอากาศ ประจำปี 2567  ในเดือน ธันวาคม โดยใช้พื้นที่ จังหวัดเชียงใหม่ และเชียงราย เป็นพื้นที่การฝึก

ในเดือนมกราคม 2567 ศูนย์บรรเทาสาธารณภัยกองทัพอากาศ วางแผนพิจารณาในการส่งอากาศยาน ในการบินกระจายเสียงเพื่อรณรงค์ สร้างการรับรู้และเข้าใจ ในการไม่เผาป่า  ให้กับประชาชนในพื้นที่ที่ยากแก่การเข้าถึง และยากแก่การรับรู้ข้อมูลข่าวสาร ส่วนเดือน กุมภาพันธ์  – พฤษภาคม เป็นห้วงที่สถานการณ์รุนแรงที่สุด ในห้วงนี้จะพิจาณาในการส่งอากาศยานประเภท sensor shooter ตามระดับสถานการณ์ และตามที่ได้รับการประสานจากหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ในการสนับสนุนภารกิจ และ ตั้งแต่เดือน มิถุนายน เป็นต้นไป เป็นห้วงที่สถานการณ์ในภาคเหนือคลี่คลายลง ในห้วงนี้ จะเป็นห้วงของการสรุปผลการปฏิบัติ และปรับปรุงแผนการปฏิบัติการ 

ด้านการใช้อากาศยาน ศูนย์บรรเทาสาธารณภัยกองทัพอากาศ ได้ประยุกต์ใช้ ขีคความสามารถของกองทัพอากาศ สำหรับภารกิจ ดังนี้
1. การบินกระจายเสียง รณรงค์ สร้างการรับรู้และเข้าใจ ในการไม่เผาป่า ให้กับประชาชนในพื้นที่ที่ยาก แก่การเข้าถึง รับรู้ข้อมูลข่าวสาร โดย อากาศยานแบบ AU-23
2. การบินเพื่อลาดตระเวนค้นหาพื้นที่ไฟป่า โดย อากาศยานแบบ AU-23,  อากาศยานแบบ DA-42 และอากาศยานไร้คนขับแบบ Aerostar BP
3. การบินควบคุมไฟป่าโดย BT-67 ที่ติดตั้ง Fire Guardian Tank  สามารถบรรทุกน้ำได้ 3000 ลิตรต่อ 1 ครั้ง และ C-130 บรรทุกอุปกรณ์ PCADS โดยบรรทุกได้มากสุด 10 ลูกต่อ 1 ครั้ง, โดย PCADS 1 ลูกบรรจุน้ำผสมสารยับยั้งไฟป่า จำนวน 1000 ลิตร ในการบินควบคุมไฟป่านั้น จะใช้พิจารณาอากาศยานและอุปกรณ์ ตามลักษณะภูมิประเทศและพื้นที่เป้าหมาย / เพื่อสร้างแนวกันไฟ ไม่ให้ลุกลามไปยังพื้นที่ที่กำหนด
4. การบินลำเลียงทางอากาศ เพื่อขนส่งกำลังพล และยุทโธปกรณ์ให้กับหน่วยงานที่ร่วมปฏิบัติภารกิจ และการบินส่งกลับสายแพทย์ทางอากาศ ในกรณีมีผู้ปฏิบัติงานได้รับบาดเจ็บรุนแรง และต้องการการรักษาอย่างเร่งด่วน โดย อากาศยานแบบ C-130 และ เฮลิคอปเตอร์แบบ EC-725

และ 5. การบินค้นหาและช่วยชีวิต ในกรณีหน่วยดับไฟป่าภาคพื้นติดกับดักของไฟ หรือ หลงป่า โดย เฮลิคอปเตอร์แบบ EC-725 

นอกจากนี้ ยังได้ประยุกต์ใช้ขีดความสามารถของหน่วยภาคพื้น เพื่อประกอบกำลังและสนับสนุนการปฏิบัติงานของหน่วยบิน เช่น 1. ชุดวางแผนร่วม ทำหน้าที่ประสานการปฏิบัติกับหน่วยงานต่าง ๆ เพื่อแบ่งพื้นที่ปฏิบัติงาน กำหนดวงรอบปฏิบัติงาน และวางแผนการปฏิบัติ ร่วมกัน
2. ชุดแปลความภาพถ่าย จะนำภาพถ่ายทางอากาศที่บินค้นหาพื้นที่ไฟป่า วิเคราะห์ขนาดความรุนแรง ทิศทาง และจัดลำดับความสำคัญ และส่งให้กับหน่วยเกี่ยวข้อง เพื่อจัดการกับพื้นที่ไฟป่า
3. ชุดควบคุมห้วงอากาศ เพื่อ monitor และแนะนำการปฏิบัติให้กับอากาศยานจากหน่วยงานต่าง ๆ เพื่อความปลอดภัยในการปฏิบัติภารกิจ และ 4. ชุดวิเคราะห์จุดความร้อน จะนำภาพถ่าย Hotspot จากดาวเทียม มาวิเคราะห์และคัดกรองอีกครั้งหนึ่ง เพื่อกำหนดพื้นที่ที่คาดว่าจะเกิดไฟป่า

‘วิชัย ทองแตง’ เดินหน้าขจัดฝุ่นพิษ เล็งสร้างโรงงานชีวมวลอัดเม็ดทั่วภาคเหนือ  หวังสกัดการเผา - เปลี่ยนเศษซากการเกษตรให้เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมยิ่งขึ้น

เมื่อวานนี้ (23 ธ.ค.66) จากเฟซบุ๊ก ’Akom Suwanganta‘ ได้โพสต์ข้อความระบุว่า…

‘วิชัย ทองแตง’ Godfather of Startup - SMEs และบทบาทแก้ปัญหา PM 2.5 ด้วยโมเดลหยุดเผาเรารับซื้อ ลุยสร้างโรงงานชีวมวลอัดเม็ด 3,500 ล้านบาททั่วภาคเหนือ 

“ผมต้องมาเชียงใหม่บ่อยขึ้น เพราะวางภารกิจสำคัญในสิ่งที่ตัวเองทำได้ คือการเป็นส่วนหนึ่งในกลไกแก้ไขปัญหาฝุ่นควันภาคเหนือ เพราะเป็นกับดักสำคัญของการพัฒนาเศรษฐกิจที่เนิ่นนาน และเป็นอุปสรรคสำคัญของสุขภาพ และการเติบโตของเมืองสู่ Wellness” เป็นการเปิดบทสนทนาของชายวัย 77 ที่มีพลังและความมุ่งมั่นด้วยแก่นแกนความคิดว่า การทำงานมี 2 เรื่อง คือเรื่องที่ตัวเองทำได้ I can do และสิ่งที่ทำไม่ได้ I cant do เรื่องไหนที่ทำได้ก็ต้องทำเลย 

พร้อมยกตัวอย่างการทำงานเชิงปฏิบัติการในพื้นที่ภาคเหนือ 2 เรื่อง ที่ได้ทำไปแล้วคือ โครงการหยุดเผาเรารับซื้อ ด้วยการรับซื้อซังข้าวโพดจากเกษตรกร สกัดการเผาทำลายซังข้าวโพด สาเหตุสำคัญที่เกิด PM 2.5 เน้นที่การบริหารจัดการเศษวัสดุการเกษตร นำมาแปรเป็นชีวมวลอัดแท่งหรือปุ๋ยอินทรีย์ รวมถึงสนับสนุนให้ชุมชนมีส่วนร่วมในการป้องกันไฟป่า ปรับระบบการทำการเกษตรอย่างครบวงจรให้เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม โดยนำมาแปรรูปเป็นชีวมวลอัดแท่งส่งไปสู่ระบบคาร์บอนเครดิต 

โดยนำร่องลงทุน 350 ล้านบาท สร้างโรงงานบริษัท ชีวมวลอัดเม็ด จอมทอง จำกัด ด้วยมาตรฐานระดับโลก พร้อมจะรับซื้อซังข้าวโพดตันละ 800-1,000 บาท มาอัดเป็นเชื้อเพลิงชีวมวลอัดเม็ดสีดำ หรือ Black Pellet ที่ตลาดในญี่ปุ่น และในประเทศมีความต้องการสูง และมีแผนที่จะสร้างอีก 10 โรงงานชีวมวลที่ เชียงราย แพร่ อุทัยธานี กระจายตัวทั่วภาคเหนือ

เรื่องที่สอง คือ ได้เล่าถึงคุณปุ่น (Naruemon Taksaudom) ในการสนับสนุนกาแฟฮิลล์คอฟให้เข้าสู่กระบวนการ #NeutralCarbon #Coffee ผลิตภัณฑ์กาแฟคาร์บอนต่ำแห่งแรกในประเทศไทย เกิดได้ในระบบ T-ver โดยทีม Green Standard payoff

คุณวิชัยเล่าแลกเปลี่ยนในวงกาแฟว่าแรงบันดาลใจหลังจากนี้คือจะเน้น 3 เรื่องคือ การศึกษาจะเดินสายบรรยายฟรีทั่วประเทศด้วยทุนของตนเอง สองการเกษตรจะเดินสายบรรยายองค์กรการเกษตร และโชห่วย การเตรียมออกแบบ Platform เพื่อช่วย SME คนตัวเลขในการคงวิถีค้าปลีกไทยที่นับวันจะลดลงตามอัตราเร่งของร้านสะดวกซื้อ

ส่วนงานด้านการลงทุน จะเน้นเรื่อง Digital Tranformation ที่ได้ทำบทบาทเป็นพ่อทูนหัวของ Start up-SME ในทำนอง Angle Fund ร่วมทุน ไม่ใช่เป็น VC แต่จะลงลึกไปในด้านการเสริมประสบการณ์ไปพร้อมกัน มีแผนที่จะผลักดันบริษัทสตาร์ตอัปเข้าตลาดหุ้นได้ ประมาณ 2 บริษัท โดยจะไม่ถือหุ้นใหญ่เกิน 50% อาจจะถือหุ้นแค่ 20-30% และไม่เข้าไปบริหาร แต่ต้องยึดหลักการ 3 ด้านคือ จะไม่ใช้เทคโนโลยีเพื่อโกงหรือหลอกลวงผู้อื่น สองเราจะเรียนรู้เพื่อสร้างสรรค์สังคมที่ดี และเราจะแบ่งปันความรู้ และโอกาสแก่ผู้ที่ด้อยกว่า

สูตรการเลือกสตาร์ตอัป คือ ขอให้มี 2G ก่อน G แรกคือ Growth ต้องมีการเติบโต รายได้มากน้อยไม่ว่ากัน และ G ที่สอง คือ Gain ต้องมีกำไร เพราะนั่นแปลว่าเข้าใจวิธีการบริหารและต้นทุนธุรกิจดีถ้ามี 2G แล้ว ผมก็ไม่ต้องเหนื่อยมาก จากนั้นก็จะหาช่องทางระดมทุน หรือแนะนำกลุ่มเวนเจอร์แคปปิตอล (VC) พร้อมทั้งช่วยวางแผนทางการเงินให้

พร้อมยกตัวอย่างสตาร์ตอัปที่ได้ไปร่วมสนับสนุนทุน Platform หลายตัว ที่ต้องตั้งเป้าให้เกิด Unicorn ของไทยเพิ่มอีก 1 ตัว ยกตัวอย่างมีหลาย Start up ที่ทยอยมา Pitch การเกษตร Smart Farmer เช่น Farmbook เป็น ‘กระดานเทรดข้าว’, Invitrace, รวมถึงด้าน Smart City ที่จะลงทุนที่นิมมานเหมินท์แห่งแรกที่จะตอบโจทย์แก้ไขปัญหาหลายด้านผ่านดิจิทัล Platform ด้วยการร่วมมือกับ NT นอกจากนั้นก็จะมีธุรกิจที่ใช้ AI ก็มีสตาร์ตอัปที่บริหารโหลดสำหรับการชาร์จไฟฟ้าของรถอีวี เพราะรถอีวีเวลาชาร์จไฟครั้งหนึ่งเท่ากับติดแอร์พร้อมกัน 10 ตัว ทำให้โหลดกระชากมาก

‘วิชัย ทองแตง’ ได้ประกาศ New Chapter ตอนอายุ 70 คือ สร้างคนเป็นหลัก ไม่เน้นสร้างเวลท์ (ความมั่งคั่ง) โดยเคลื่อนตัวผ่าน ‘วิชัยกรุ๊ป’ และในฐานะที่ปรึกษาโรงพยาบาลพญาไท ยืนยืนว่าไม่ได้ทิ้งธุรกิจด้านสุขภาพ (healthcare) เพราะเป็นธุรกิจที่มีความมั่นคงสูงมากประเภทธุรกิจที่ให้ความสำคัญ อีกทั้งยังกล่าวว่า จะเป็น ’เมกะเทรนด์‘

นอกจากเรื่องเทคโนโลยีบล็อกเชนแล้ว ก็ยังมีธุรกิจคาร์บอนเครดิต ซึ่งเตรียมจะเปิดตัวแถลงข่าวใหญ่ในเร็ว ๆ นี้ที่จังหวัดเชียงใหม่ โดยบริษัทนี้จะมีความเชี่ยวชาญในการออกแบบการเคลมคาร์บอนเครดิตได้สูงขึ้น และมีตลาดรองรับ ซึ่งจะเป็นธุรกิจที่จะช่วยแก้ปัญหาฝุ่น PM 2.5 ได้เป็นอย่างดี 


TRENDING
© Copyright 2021, All rights reserved. THE STATES TIMES
Take Me Top