Sunday, 19 May 2024
พิธา_ลิ้มเจริญรัตน์

‘สว.สมชาย’ ฟันธง!! ‘ไอทีวี’ ยังเป็นสื่่อ เชื่อ ‘พิธา’ ตกม้าตายซ้ำรอย ‘ธนาธร’

(23 ม.ค. 67) นายสมชาย แสวงการ สมาชิกวุฒิสภา (สว.) โพสต์เฟซบุ๊ก ระบุว่า ทำไมหุ้น ไอทีวี ยังเป็นหุ้นสื่อมวลชน และนายพิธา ลิ้มเจริญรัตน์ อาจขาดคุณสมบัติ และมีลักษณะต้องห้าม เห็นพรรคการเมือง และผู้นำทางความคิดของพรรคก้าวไกลออกมาสื่อสารกับสังคมต่อเนื่อง อาจทำให้สังคมไขว้เขว หรือทำให้คำวินิจฉัยศาลรัฐธรรมนูญ เบี่ยงเบน ขาดความน่าเชื่อถือ ตนเสนอความเห็นส่วนตัว ดังนี้ 

1.บริษัท ไอทีวี ยังคงเป็นสื่อ โดยมีสถานะความเป็นบริษัทจดทะเบียนที่มีวัตถุประสงค์ จดแจ้งไว้กับกรมพัฒนาธุรกิจการค้าเกี่ยวกับสื่อ รวม 5 ข้อ จนถึงปัจจุบันไอทีวียังไม่มีการจดทะเบียนเลิกบริษัท หรือจดยกเลิกวัตถุประสงค์ที่เกี่ยวข้องกับสื่อดังกล่าว สอดรับคำวินิจฉัยศาลรัฐธรรมนูญ 14/2562 วินิจฉัยนายธนาธร จึงรุ่งเรืองกิจ ขาดคุณสมบัติ และมีลักษณะต้องห้าม ในคดีการถือหุ้น บริษัทวีลัคมีเดีย ที่อ้างว่า ปิดกิจการแล้ว แต่ไม่จดทะเบียนยกเลิกบริษัท ศาลเห็นว่า ยังสามารถประกอบกิจการสื่อมวลชนได้ตลอดเวลา ตราบใดที่ไม่ได้จดเลิกบริษัท

นายสมชาย ระบุว่า 2.บริษัท ไอทีวี ชนะคดีเบื้องต้นแล้ว 2 ยก รัฐต้องคืนคลื่นความถี่ ชดใช้ค่าเสียหาย โดยไอทีวีถูกปิดสถานี และยึดคลื่นคืน เมื่อ 17 ปีก่อน ได้ยื่นคำเสนอข้อพิพาทต่อสถาบันอนุญาโตตุลาการ ขอให้สำนัดปลัดสำนักนายกฯ ชดเชยความเสียหายตามสัญญาเข้าร่วมงานฯ - คณะอนุญาโตตุลาการ ชี้ขาดให้ไอทีวีชนะ ได้รับเงินเยียวยา คืนคลื่นความถี่ - สปน.นำคดีสู่ต่อ ศาลปกครองกลาง แต่ศาลพิพากษายกคำร้อง - สปน.ยื่นอุทธรณ์คำพิพากษาต่อ - สถานะปัจจุบัน ศาลปกครองสูงสุด ยังไม่มีคำพิพากษาในคดีนี้ 

จึงเห็นว่า นายพิธา น่าจะขาดคุณสมบัติ และมีลักษณะต้องห้าม เพราะคำชี้ขาดของอนุญาโตตุลาการ และศาลปกครองกลาง ให้ไอทีวี เป็นผู้ชนะคดี ได้รับการเยียวยา และคืนสัมปทานคลื่นความถี่โทรทัศน์ ไอทีวี จึงอยู่ในฐานะที่พร้อมประกอบกิจการสถานีโทรทัศน์ได้ 

3.บริษัทไอทีวี ไม่ได้ประกอบกิจการแล้ว แต่ยังมีบริษัทลูกประกอบกิจการสื่อ มีรายรับ จากบริษัทอาร์ตแวร์มีเดีย ที่ไอทีวี เป็นผู้ถือหุ้น 99% โดยมีผลประกอบกิจการจดทะเบียนทำสื่อโฆษณา รายการให้เช่าเครื่องมือ ลิขสิทธิ์ และอื่น ๆ ฯลฯ ที่ถือได้ว่าเป็นธุรกิจสื่อ

นายสมชาย กล่าวว่า 4.นายพิธา ถือหุ้นไอทีวี เพียงแค่เล็กน้อย ทำไมจึงผิด ศาลรัฐธรรมนูญ เคยมีคำวินิจฉัยที่ 12-14/2553 ในคดีถือหุ้นสื่อและหุ้นสัมปทานรัฐ ที่วินิจฉัยให้ รมต. สส. สว.พ้นจากสมาชิกภาพ และเคยวินิจฉัยไว้ว่า หุ้นสื่อและหุ้นสัมปทานเป็นลักษณะต้องห้ามแม้ถือหุ้นเพียง1หุ้น ก็ขาดคุณสมบัติ  การที่นายพิธา อ้างว่าถือหุ้นไอทีวีเพียง 42,000 หุ้น จาก 1,206,697,400 หุ้น คิดเป็น 0.0035 เปอร์เซ็นต์ ไม่มีอํานาจสั่งการบริษัท ข้อโต้แย้งนี้นายพิธาจึงฟังไม่ขึ้น ไม่อาจหักล้างคำวินิจฉัยศาลรัฐธรรมนูญ ที่เคยวางแนวไว้เดิม พร้อมน้อมรับคำวินิจฉัยศาลรัฐธรรมนูญ ในคดีที่ศาลจะมีคำวินิจฉัย คดีการถือหุ้นสื่อไอทีวี ไม่ว่าจะออกมาในแนวทางใด

จับตาด่านสอง ‘พิธา-ก้าวไกล’ ‘คดี ม.112-ล้มล้างฯ’ มีเสียว!!

นับเป็นโชคดีของ ‘พิธา ลิ้มเจริญรัตน์’ ที่ได้กลับสู่สภาฯ อีกครั้ง หลังจากศาลรัฐธรรมนูญ มีมติ 8 ต่อ 1 วินิจฉัยว่าแม้พิธาจะถือหุ้นไอทีวีอยู่จริง แต่ในขณะนั้นไอทีวีไม่ได้ประกอบกิจการสื่อ ไม่มีรายได้ ฯลฯ จึงไม่นับเป็นหุ้นสื่อ ไม่มีลักษณะต้องห้ามมาตรารัฐธรรมนูญมาตรา 98 (3) ที่ห้ามถือหุ้นสื่อ...จึงไม่พ้นสมาชิกภาพความเป็น สส.ตามมาตรา101 (6)

ส่วนตัว ‘เล็ก เลียบด่วน’ ต้องขอแสดงความยินดีกับ พิธา...และเชื่อว่าหากจากนี้ไปหากพิธาซื่อตรงกับข้อเท็จจริงในทุกเรื่อง รวมทั้งชีวิตส่วนตัว...แปลไทยเป็นไทยว่า อย่าพูดโกหกไม่ว่าเรื่องใด ๆ ก็จะจำเริญรุ่งเรือง เพราะคนไทยเชื่อในพุทธภาษิต “คนพูดโกหกไม่ทำชั่วไม่มี” แก้ตรงนี้เสีย...อนาคตก็จะก้าวไกลเหมือนชื่อพรรค เฉพาะหน้าประชุมใหญ่วิสามัญเดือน เม.ย.ก็น่าจะได้คัมแบ็ก นั่งหัวหน้าพรรค และสเตปต์ต่อไปก็คือ เป็นผู้นำฝ่ายค้านสภาผู้แทนราษฎร…

สมัยนี้ก็เป็นผู้นำฝ่ายค้าน เป็นนายกฯ รถแห่ หรือ นายกฯ ว่าวไปก่อน...บำเพ็ญเพียรบารมี ยกระดับวุฒิภาวะอีกขึ้นไปอีกระดับหนึ่ง เลือกตั้งรอบหน้าระเบิดเถิดเทิง

อย่างไรก็ตามวันพุธที่ 31 ม.ค. 67 มีอีกด่านที่ พิธา ในฐานะผู้ถูกร้องที่ 1 และพรรคก้าวไกลผู้ถูกร้องที่ 2 จะต้องลุ้นระทึกคือ คดีที่ถูกร้องเรื่องการหาเสียงที่เดินหน้าแก้ไขมาตรา 112 สืบเนื่องถึงปัจจุบัน เข้าข่ายล้มล้างการปกครอง...หรือไม่?

ผู้ร้องคือ นายธีรยุทธ สุวรรณเกษตร ศิษย์เอกคนหนึ่งของอดีตพระพุทธะอิสระ...

เป็นคดีที่ผู้ร้องต่อยอดมาจากคำวินิจฉัยของศาลรัฐธรรมนูญเมื่อ 10 พ.ย. 64 กรณีการชุมนุมที่ธรรมศาสตร์ ที่มีการเสนอ 10 ข้อแบบ ‘ทะลุเพดาน’ ให้มีการปฏิรูปสถาบันพระมหากษัตริย์ ซึ่งศาลสั่งให้นายอานนท์ นำภา, ภาณุพงศ์ จาดนอก และ รุ้ง ปนัสยา รวมทั้งองค์เครือข่ายหยุดการดำเนินการเพราะเป็นการเคลื่อนที่ไหวที่ “มีเจตนาซ่อนเร้นเพื่อล้มล้างการปกครองในระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข ไม่ใช่เป็นการปฏิรูป..”

นายธีรยุทธเห็นว่าพรรคก้าวไกลดำเนินการขัดกับคำวินิจฉัย จึงใช้สิทธิ์ตามรัฐธรรมนูญมาตรา 49 ยื่นร้อง และศาลมีมติรับคำร้องเมื่อ 12 ก.ค. 66

ตอนท้ายของหน้าที่ 18 ของคำร้อง นายธีรยุทธ ขอให้ศาลวินิจฉัยว่า…

“...เพื่อเป็นมาตรการป้องกันความเสียร้ายแรงที่อาจจะเกิดกับสถาบันหลักของประเทศไว้ก่อน อันเป็นรัฐประศาสโนบายที่จำเป็นเพื่อดับไฟกองใหญ่ไว้แต่ต้นล้ม ผู้ร้องจึงขอให้ศาลรัฐธรรมนูญโปรดพิจารณาวินิจฉัยสั่งให้นายพิธา ลิ้มเจริญรัตน์ หัวหน้าพรรคก้าวไกล ผู้ถูกร้องที่ 1 และพรรคก้าวไกล ผู้ถูกร้องที่ 2 เลิกดำเนินการใด ๆ หรือกระทำการใด ๆ เพื่อยกเลิกหรือแก้ไขประมวลกฎหมายอาญามาตรา 112 และให้เลิกการแสดงความคิดเห็น การพูด การเขียน การพิมพ์ การโฆษณาและการสื่อความหมายโดยวิธีอื่น เพื่อให้มีการยกเลิกหรือแก้ไขประมวลกฎหมายอาญามาตรา 112  ที่กระทำอย่าและเลิกดำเนินการใด ๆ หรือกระทำการใด ๆ ที่จะเกิดขึ้นต่อไปในอนาคต ตามรัฐธรรมนูญมาตรา 49 วรรคสอง”

ดูตามคำร้องคำขอ...คดีนี้ ก็คงไม่ไปไกลถึงขั้นยุบพรรคอะไรที่ไหนหรอก...แต่ที่ควรจับตามองคือ รายละเอียดและข้อเท็จจริงบางช่วงตอนที่ศาลจะวินิจฉัยเกี่ยวกับพฤติการณ์ของพิธาและก้าวไกลว่าเกี่ยวโยงกับคำวินิจฉัยของศาลรธน.10 พ.ย. 64 หรือไม่และอย่างไร?...ซึ่งตรงนั้นอาจเป็นเชื้อหรือสารตั้งต้น ให้บรรดา ‘นักร้อง’ นำไปทำหน้าที่กันต่อไป…

‘พิธา-ก้าวไกล’ อย่ามองข้ามความปลอดภัย...!!

‘ศาลรธน.’ สั่งก้าวไกลหยุดการกระทำ กรณีแก้ไข ม.112

เมื่อวานนี้ (31 ม.ค. 67) ตุลาการศาลรัฐธรรมนูญ มีคำวินิจฉัย กรณี ‘นายพิธา ลิ้มเจริญรัตน์’ และ ‘พรรคก้าวไกล’ เสนอแก้ไขประมวลกฎหมายอาญามาตรา 112 และใช้เป็นนโยบายหาเสียง เป็นการใช้สิทธิเสรีภาพล้มล้างการปกครองระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข พร้อมสั่ง ‘ยุติการกระทำ’ บางช่วงบางตอนในการวินิจฉัยระบุว่า…

“บทบัญญัติตามรัฐธรรมนูญ มาตรา 49 มิให้มีการใช้สิทธิหรือเสรีภาพที่จะส่งผลเป็นการบั่นทอน หรือทำลายพื้นฐาน และสั่นคลอนคติรากฐานของการปกครองระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุขของไทย ที่ดำรงอยู่ ให้เสื่อมทรามหรือต้องสิ้นสลายไป”

เปิดรายชื่อ 44 สส. ส่อเสี่ยงหมดสิทธิทางการเมือง ‘ตลอดชีวิต’

จากกรณีเมื่อวันที่ 31 ม.ค. 67 ศาลรัฐธรรมนูญ ได้มีมติเป็นเอกฉันท์ 9 ต่อ 0 วินิจฉัยว่า นายพิธา ลิ้มเจริญรัตน์ (ผู้ถูกร้องที่ 1) และพรรคก้าวไกล (ผู้ถูกร้องที่ 2) กรณีการหาเสียงเรื่องการแก้ไข มาตรา 112 เข้าข่ายล้มล้างการปกครอง ตามรัฐธรรมนูญ มาตรา 49 วรรคหนึ่ง

พร้อมสั่งการให้ผู้ถูกร้องทั้งสองเลิกการแสดงความคิดเห็น การพูด การเขียน การพิมพ์ การโฆษณา และการสื่อความหมายโดยวิธีอื่นเพื่อให้มีการยกเลิกประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 112

ภายหลังคำวินิฉัยของศาลรัฐธรรมนูญ มีหลายฝ่ายแสดงความเห็นว่า การที่คำวินิจฉัยออกมาเช่นนี้ จะเป็นการส่งไม้ต่อไปสู่การยื่น กกต. เพื่อให้ศาลรัฐธรรมนูญวินิฉัยยุบพรรคก้าวไกล ให้ลำดับต่อไป อีกทั้ง 44 สส. พรรคก้าวไกล ที่ได้ลงชื่อแก้ไขมาตรา 112 เมื่อปี 2564 อาจถูกยื่นร้องเรียนต่อ ป.ป.ช. เอาผิดจริยธรรมร้ายแรง ซึ่งโทษสูงสุดคือ ‘เพิกถอนสิทธิสมัครรับเลือกตั้งตลอดชีวิต เพิกถอนสิทธิเลือกตั้งไม่เกิน 10 ปี และไม่มีสิทธิดำรงตำแหน่งทางการเมืองใด ๆ’

สำหรับรายชื่อ สส. 44 คน ของพรรคก้าวไกล (สส.จากการเลือกตั้งปี 2562) ที่ยื่นเสนอร่างแก้ไขเพิ่มเติมประมวลกฎหมายอาญา (ฉบับที่ …) เกี่ยวกับการแก้ไขประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 112 เมื่อปี 2564 มีดังนี้

1. นายพิธา ลิ้มเจริญรัตน์ หัวหน้าพรรคก้าวไกล
2. นายพิจารณ์ เชาวพัฒนวงศ์ สส.บัญชีรายชื่อ
3. นายธีรัจชัย พันธุมาศ สส.บัญชีรายชื่อ
4. น.ส.ญาณธิชา บัวเผื่อน สส.จันทบุรี
5. น.ส.ศิริกัญญา ตันสกุล สส.บัญชีรายชื่อ
6. นายกัญจน์พงศ์ จงสุทธนามณี สส.บัญชีรายชื่อ
7. น.ส.เบญจา แสงจันทร์ สส.บัญชีรายชื่อ
8. พ.ต.ต.ชวลิต เลาหอุดมพันธ์ สส.บัญชีรายชื่อ
9. นายนิติพล ผิวเหมาะ สส.บัญชีรายชื่อ
10.นายเท่าพิภพ ลิ้มจิตรกร สส.กทม.

11.นายณัฐชา บุญไชยอินสวัสดิ์ สส.กทม.
12.นายปกรณ์วุฒิ อุดมพิพัฒน์สกุล สส.บัญชีรายชื่อ
13.นายปดิพัทธ์ สันติภาดา สส.พิษณุโลก
14.นางอมรัตน์ โชคปมิตต์กุล สส.บัญชีรายชื่อ
15.นายประเสริฐพงษ์ ศรนุวัตร์ สส.บัญชีรายชื่อ
16.นายปริญญา ช่วยเกตุ คีรีรัตน์ สส.บัญชีรายชื่อ
17.นายณัฐวุฒิ บัวประทุม สส.บัญชีรายชื่อ
18.นายณัฐพงษ์ เรืองปัญญาวุฒิ สส.กทม.
19.น.ส.ณธีภัสร์ กุลเศรษฐสิทธิ์ สส.บัญชีรายชื่อ
20.น.ส.สุทธวรรณ สุบรรณ ณ อยุธยา สส.นครปฐม

21.นายวรภพ วิริยะโรจน์ สส.บัญชีรายชื่อ
22.นายคำพอง เทพาคำ สส.บัญชีรายชื่อ
23.นายสมเกียรติ ถนอมสินธุ์ สส.กทม.
24.นายทองแดง เบ็ญจะปัก สส.สมุทรสาคร
25.นายจิรัฏฐ์ ทองสุวรรณ์ สส.ฉะเชิงเทรา
26.นายจรัส คุ้มไข่น้ำ สส.ชลบุรี
27.นายสุเทพ อู่อ้น สส.บัญชีรายชื่อ
28.นายธัญวัจน์ กมลวงศ์วัฒน์ สส.บัญชีรายชื่อ
29.นายอภิชาติ ศิริสุนทร สส.บัญชีรายชื่อ
30.นายองค์การ ชัยบุตร สส.บัญชีรายชื่อ

31.พล.ต.ต.สุพิศาล ภักดีนฤนาถ สส.บัญชีรายชื่อ
32.นายณัฐพล สืบศักดิ์วงศ์ สส.บัญชีรายชื่อ
33.นายศักดินัย นุ่มหนู สส.ตราด
34.นายมานพ คีรีภูวดล สส.บัญชีรายชื่อ
35.นายวาโย อัศวรุ่งเรือง สส.บัญชีรายชื่อ
36.น.ส.วรรณวิภา ไม้สน สส.บัญชีรายชื่อ
37.นายวิโรจน์ ลักขณาอดิศร สส.บัญชีรายชื่อ
38.นายสุรเชษฐ์ ประวีณวงศ์วุฒิ สส.บัญชีรายชื่อ
39.นายทวีศักดิ์ ทักษิณ สส.บัญชีรายชื่อ
40.นายสมชาย ฝั่งชลจิตร สส.บัญชีรายชื่อ

41.นายสมเกียรติ ไชยวิสุทธิกุล สส.บัญชีรายชื่อ
42.นายวุฒินันท์ บุญชู สส.สมุทรปราการ
43.นายรังสิมันต์ โรม สส.บัญชีรายชื่อ
44.นายสุรวาท ทองบุ สส.บัญชีรายชื่อ

‘ศาลรธน.’ ชี้ชัด!! นโยบายหาเสียง แก้ ม.112 พรรคก้าวไกล เข้าข่ายล้มล้างการปกครองฯ

เมื่อวานนี้ (31 ม.ค. 67) ตุลาการศาลรัฐธรรมนูญ มีคำวินิจฉัย กรณี ‘นายพิธา ลิ้มเจริญรัตน์’ และ ‘พรรคก้าวไกล’ เสนอแก้ไขประมวลกฎหมายอาญามาตรา 112 และใช้เป็นนโยบายหาเสียง เป็นการใช้สิทธิเสรีภาพล้มล้างการปกครองระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข พร้อมสั่ง ‘ยุติการกระทำ’ บางช่วงบางตอนในการวินิจฉัยระบุว่า…

“กฎหมายอาญามาตรา 112 เป็นบทบัญญัติที่กำหนดโทษแก่ผู้กระทำความผิดที่ดูหมิ่น อาฆาตมาดร้าย พระมหากษัตริย์ พระราชินี รัชทายาท และผู้สำเร็จราชการ โดยพระเกียรติยศของพระมหากษัตริย์ เป็นการผดุงไว้ซึ่งเกียรติยศของประเทศ จึงมีความชอบธรรมที่ต้องมีกฎหมายคุ้มครอง ผู้ใดจะละเมิดหรือฟ้องร้องในทางใดๆ ไม่ได้”

‘ศาลรธน.’ ชี้!! การกระทำผิดต่อสถาบัน ถือเป็นการทำผิดต่อความมั่นคงของประเทศ

เมื่อวันที่ 31 ม.ค. 67 ตุลาการศาลรัฐธรรมนูญ มีคำวินิจฉัย กรณี ‘นายพิธา ลิ้มเจริญรัตน์’ และ ‘พรรคก้าวไกล’ เสนอแก้ไขประมวลกฎหมายอาญามาตรา 112 และใช้เป็นนโยบายหาเสียง เป็นการใช้สิทธิเสรีภาพล้มล้างการปกครองระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข พร้อมสั่ง ‘ยุติการกระทำ’ บางช่วงบางตอนในการวินิจฉัยระบุว่า…

“การที่พรรคก้าวไกล เสนอให้ย้ายมาตรา 112 ออกจากความผิดเกี่ยวกับความมั่นคงของรัฐนั้น ตามรัฐธรรมนูญ มาตรา 2 พระมหากษัตริย์ กับประเทศไทย ดำรงอยู่คู่เป็นเนื้อเดียวกัน หากผู้ใดกระทำความผิดต่อสถาบันพระมหากษัตริย์ จึงถือเป็นการกระทำความผิดต่อความมั่นคงของประเทศด้วย"

‘ศาลรธน.’ ชี้ การเสนอย้าย ม.112 ออกจากความผิดเกี่ยวกับความมั่นคงของรัฐ ถือเป็นอันตรายต่อความมั่นคงของรัฐ

เมื่อวันที่ 31 ม.ค. 67 ตุลาการศาลรัฐธรรมนูญ มีคำวินิจฉัย กรณี ‘นายพิธา ลิ้มเจริญรัตน์’ และ ‘พรรคก้าวไกล’ เสนอแก้ไขประมวลกฎหมายอาญามาตรา 112 และใช้เป็นนโยบายหาเสียง เป็นการใช้สิทธิเสรีภาพล้มล้างการปกครองระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข พร้อมสั่ง ‘ยุติการกระทำ’ บางช่วงบางตอนในการวินิจฉัยระบุว่า…

“การที่นายพิธา และพรรคก้าวไกล เสนอให้ย้ายมาตรา 112 ออกจากความผิดเกี่ยวกับความมั่นคงของรัฐ ถือเป็นอันตรายต่อความมั่นคงของรัฐ และเป็นความผิดที่ร้ายแรงในระดับเดียวกันกับลักษณะอื่น”

หนึ่งในคำวินิจฉัยจาก ‘ศาล รธน.’ กรณีพรรคก้าวไกลเสนอแก้ ม.112 ถือเป็นการล้มล้างการปกครอง

เมื่อวันที่ 31 ม.ค. 67 ตุลาการศาลรัฐธรรมนูญ มีคำวินิจฉัย กรณี ‘นายพิธา ลิ้มเจริญรัตน์’ และ ‘พรรคก้าวไกล’ เสนอแก้ไขประมวลกฎหมายอาญามาตรา 112 และใช้เป็นนโยบายหาเสียง เป็นการใช้สิทธิเสรีภาพล้มล้างการปกครองระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข พร้อมสั่ง ‘ยุติการกระทำ’ บางช่วงบางตอนในการวินิจฉัยระบุว่า…

“การเสนอให้ความผิด ม.112 ยอมความได้ มาตรา 139/1 และ วรรคสอง ให้สำนักพระราชวังเป็นผู้ร้องทุกข์และเป็นผู้เสียหาย ถือเป็นความมุ่งหมายให้การกระทำ ม.112 เป็นการลดสถานะ และไม่ให้ความคุ้มครองสถาบันพระมหากษัตริย์ จนกลายเป็นคู่ขัดแย้งกับประชาชนโดยตรง”

‘ศาล รธน.’ วินิฉัย!! พรรคก้าวไกลเสนอแก้ ม.112 หวังผลการเลือกตั้ง-เจตนาบ่อนทำลาย-ล้มล้างการปกครอง

เมื่อวันที่ 31 ม.ค. 67 ตุลาการศาลรัฐธรรมนูญ มีคำวินิจฉัย กรณี ‘นายพิธา ลิ้มเจริญรัตน์’ และ ‘พรรคก้าวไกล’ เสนอแก้ไขประมวลกฎหมายอาญามาตรา 112 และใช้เป็นนโยบายหาเสียง เป็นการใช้สิทธิเสรีภาพล้มล้างการปกครองระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข พร้อมสั่ง ‘ยุติการกระทำ’ บางช่วงบางตอนในการวินิจฉัยระบุว่า…

“การที่นายพิธาและพรรคก้าวไกล เสนอแก้ 112 เป็นนโยบายหาเสียงเลือกตั้ง ถือเป็นการดึงสถาบันฯ ลงมาเพื่อหวังผลในการได้คะแนนเสียงและประโยชน์ในทางการเมือง อันจะเป็นผลให้สถาบันฯ ตกเป็นคู่ขัดแย้งกับประชาชน ส่อเจตนาเซาะกร่อนบ่อนทำลายที่อาจนำไปสู่การล้มล้างการปกครองฯ ได้ในที่สุด”

‘ศาล รธน.’ วินิจฉัย!! พรรคก้าวไกลเสนอแก้ 112 และเป็นนายประกันให้ผู้ต้องหาคดี 112 เข้าข่ายแล้วล้มล้างการปกครอง

เมื่อวันที่ 31 ม.ค. 67 ตุลาการศาลรัฐธรรมนูญ มีคำวินิจฉัย กรณี ‘นายพิธา ลิ้มเจริญรัตน์’ และ ‘พรรคก้าวไกล’ เสนอแก้ไขประมวลกฎหมายอาญามาตรา 112 และใช้เป็นนโยบายหาเสียง เป็นการใช้สิทธิเสรีภาพล้มล้างการปกครองระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข พร้อมสั่ง ‘ยุติการกระทำ’ บางช่วงบางตอนในการวินิจฉัยระบุว่า…

“พฤติการณ์เรียกร้องของ นายพิธา ซึ่งเป็นหัวหน้าพรรค และสมาชิกพรรคที่เป็นกรรมการบริหารพรรค (กก.บห.) ตลอดจน สส. ที่เรียกร้องให้แก้ไขหรือยกเลิกมาตรา 112 รวมทั้งไปเป็นนายประกันให้กับผู้ต้องหาคดีมาตรา 112 สะท้อนให้เห็นความมุ่งหมายในการยกเลิกมาตรา 112 อันเป็นการลดการคุ้มครองสถาบันพระมหากษัตริย์”


TRENDING
© Copyright 2021, All rights reserved. THE STATES TIMES
Take Me Top