Thursday, 2 May 2024
ปตท

‘ปตท.’ ผนึก ‘ม.ศิลปากร’ จัดประกวดศิลปกรรม หัวข้อ ‘จุดประกายความหวัง จุดพลังชีวิต’ ส่งผลงานได้ตั้งแต่ 5 มิ.ย. 66 เป็นต้นไป

ปตท. จับมือ ม.ศิลปากร จัดประกวดศิลปกรรม ครั้งที่ 38 หัวข้อ "จุดประกายความหวัง จุดพลังชีวิต" เปิดให้ทั้งระดับระดับเยาวชน และ ประชาชนทั่วไป ส่งผลงานเข้าประกวด ชิงรางวัลรวม เกือบ 1 ล้านบาท เปิดให้ส่งทางไปรษณีย์ ตั้งแต่ 5 มิ.ย. 66 (ผลงานจะต้องส่งถึงจุดรับผลงานไม่เกินวันที่ 21 มิ.ย. 66) ส่งด้วยตัวเองระหว่างวันที่ 12 - 18 มิ.ย. 66

 ปตท. ร่วมกับมหาวิทยาลัยศิลปากร จัดกิจกรรมการประกวดศิลปกรรม ปตท. ครั้งที่ 38 ในหัวข้อ "จุดประกายความหวัง จุดพลังชีวิต" เพื่อส่งเสริมให้ศิลปินทุกระดับมีความคิดริเริ่มสร้างสรรค์และสนับสนุนการพัฒนาวงการศิลปะร่วมสมัยของไทย ผ่านผลงานศิลปะทุกประเภท ทั้งด้านจิตรกรรม ประติมากรรม ภาพพิมพ์ และผลงานสร้างสรรค์ทางด้านทัศนศิลป์อื่น ๆ โดยแบ่งการประกวดเป็น 2 ระดับ คือระดับเยาวชน และประชาชนทั่วไป โดยได้วางระเบียบการประกวด ดังต่อไปนี้ ทั้งนี้สามารถติดตามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ www.pttplc.com

หัวข้อการประกวด "จุดประกายความหวัง จุดพลังชีวิต"

ประเภทศิลปกรรม ได้แก่ ผลงานประเภทจิตรกรรม ประติมากรรม ภาพพิมพ์ และผลงานสร้างสรรค์ทางด้านทัศนศิลป์อื่นๆ

คุณสมบัติของผู้ส่งผลงานเข้าประกวด
1. เป็นบุคคลสัญชาติไทย และมีภูมิลำเนาอยู่ในประเทศไทย
2. เป็นผู้สร้างสรรค์ศิลปกรรมที่ส่งเข้าประกวดด้วยฝีมือและความคิดของตนเองและเป็นเจ้าของลิขสิทธิ์ในงานที่เข้าประกวด ซึ่งจะต้องไม่ละเมิดลิขสิทธิ์ของบุคคล หรือบริษัทอื่นใด
3. เป็นผลงานที่ไม่เคยเข้าร่วมประกวดที่ใดมาก่อน


ผู้ส่งผลงานเข้าประกวดแบ่งเป็น 2 ระดับ ดังนี้
1. ระดับเยาวชน มี 3 กลุ่ม
- กลุ่มอายุต่ำกว่า 9 ปี (แจ้งเกิดตั้งแต่วันที่ 13 มิถุนายน 2557)
- กลุ่มอายุ 9 - 13 ปี (แจ้งเกิดตั้งแต่วันที่ 13 มิถุนายน 2552 ถึงวันที่ 12 มิถุนายน 2557)
- กลุ่มอายุ 14 - 18 ปี (แจ้งเกิดตั้งแต่วันที่ 13 มิถุนายน 2547 ถึงวันที่ 12 มิถุนายน 2552)

2. ระดับประชาชนทั่วไป (แจ้งเกิดก่อนวันที่ 12 มิถุนายน 2547 เป็นต้นไป)

ขนาดผลงาน
ระดับเยาวชน ต้องมีขนาดผลงาน ดังนี้
- กลุ่มอายุต่ำกว่า 9 ปี และกลุ่มอายุ 9 - 13 ปี จะต้องส่งผลงานที่มีขนาดไม่ต่ำกว่า 40 x 60เซนติเมตร หรือ ไม่ต่ำกว่าขนาด A2 และไม่เกิน 60 x 80 เซนติเมตร หรือไม่เกินขนาด A1ไม่รวมกรอบหรือฐาน

- กลุ่มอายุ 14 - 18 ปี จะต้องส่งผลงานที่มีขนาดไม่ต่ำกว่า 60 x 80 เซนติเมตร และมีความกว้าง ความยาว หรือความสูง ไม่เกิน 100 เซนติเมตร ไม่รวมกรอบหรือฐาน

ระดับประชาชนทั่วไป ต้องมีขนาดผลงาน ดังนี้

- ผลงานจิตรกรรม ภาพพิมพ์ หรือผลงานเทคนิคอื่นๆ ที่ไม่ใช่ผลงาน 3 มิติ จะต้องมีขนาดผลงาน โดยมีความกว้าง ความยาว หรือ ความสูงไม่เกิน 200 เซนติเมตร รวมกรอบ หรือฐาน
- ผลงานประติมากรรม หรือสื่อ 3 มิติ จะต้องส่งผลงานที่มีขนาดรวมแท่น ฐาน และกรอบ(กว้าง x ยาว x สูง) ด้านละไม่เกิน 150 เซนติเมตร

4. งานที่ส่งเข้าประกวดจะต้องอยู่ในสภาพที่เรียบร้อย พร้อมที่จะติดตั้งได้ ทั้งนี้ คณะกรรมการคัดเลือกและตัดสินจะพิจารณาคัดเลือกเฉพาะผลงานที่มีคุณภาพและเหมาะสมเข้าร่วมแสดงผลงานคณะกรรมการดำเนินงานจะระวังรักษาผลงานที่เข้าประกวดอย่างดีที่สุด ยกเว้นความเสียหายที่เกิดขึ้นโดยเหตุสุดวิสัย

5. ผู้ส่งผลงานเข้าประกวดตกลงให้ ปตท. มีสิทธิแต่เพียงผู้เดียวตลอดระยะเวลาแห่งการคุ้มครองลิขสิทธิ์ตามกฎหมายในการทำซ้ำ ดัดแปลง เผยแพร่ต่อสาธารณชน หรือ นำผลงานของผู้ส่งผลงานเข้าประกวดไปใช้ประโยชน์ในการดำเนินงานของ ปดท. โดยไม่มีค่าตอบแทน ทั้งนี้ ผู้ส่งผลงานเช้าประกวดตกลงที่จะไม่ให้สิทธิแก่บุคคลอื่นในการดำเนินการข้างต้น โดยผู้ส่งผลงานเข้าประกวดตกลงให้เอกสารใบสมัครนี้เป็นหนังสืออนุญาตให้สิทธิแก่ ปตท. ตามความในมาตรา 16 แห่งพระราชบัญญัติลิขสิทธิ์ พ.ศ. 2537 (ในกรณีที่เป็นผู้เยาว์ จะต้องได้รับความยินยอมจากผู้แทนโดยชอบด้วยกฎหมายในการยื่นเอกสารการรับสมัคร)

รางวัลพร้อมใบประกาศเกียรติคุณ
1. ระดับเยาวชน แบ่งรางวัลในแด่ละกลุ่ม ดังนี้
กลุ่มอายุต่ำกว่า 9 ปี
รางวัลยอดเยี่ยม 1 รางวัล เงินรางวัล 10,000 บาท
รางวัลดีเด่น 5 รางวัล รางวัลละ 7,000 บาท

กลุ่มอายุ 9 - 13 ปี
รางวัลยอดเยี่ยม 1 รางวัล เงินรางวัล 15,000 บาท
รางวัลดีเด่น 5 รางวัล รางวัลละ 10,000 บาท

กลุ่มอายุ 14 - 18 ปี
รางวัลยอดเยี่ยม 1 รางวัล เงินรางวัล 20,000 บาท
รางวัลดีเด่น 5 รางวัล รางวัลละ 15,000 บาท

2. ระดับประชาชนทั่วไป
รางวัลยอดเยี่ยม 1 รางวัล เงินรางวัล 200,000 บาท
รางวัลดีเด่น 5 รางวัล รางวัลละ 100,000 บาท

และได้รับสิทธิ์ในการจัดนิทรรศการแสดงผลงานที่หอศิลป์ ณ บ้านเจ้าพระยา ภายใต้เงื่อนไขที่ ปตท.กำหนด

ปตท. ชวนเพิ่มพื้นที่สีเขียว ผ่านแอปพลิเคชัน ‘คุณช่วยเก็บ เราช่วยปลูก’ หนุนโครงการปลูกป่า 1 ล้านไร่ ลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจก

ปตท. ชวนเพิ่มพื้นที่สีเขียว เล่นเกมผ่านแอปฯ ‘คุณช่วยเก็บ เราช่วยปลูก’ พร้อมลุ้นของรางวัลมากมาย

บริษัท ปตท. จำกัด (มหาชน) หรือ ปตท. ได้กำหนดเป้าหมายการปล่อยก๊าซเรือนกระจกสุทธิเป็นศูนย์ (Net Zero Emissions) ภายในปี 2050 โดยมีกลยุทธ์ในการมุ่งสู่เป้าหมาย ได้แก่ เร่งปรับ กระบวนการผลิต ลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจก, เร่งเปลี่ยน สู่ธุรกิจที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม และ เร่งปลูกป่า เพื่อดูดซับก๊าซเรือนกระจก

เพื่อสร้างการมีส่วนร่วมของภาคประชาชน ในการเป็นส่วนหนึ่งของการปลูกป่า ตามแนวทาง ‘เร่งปลูก’ เพิ่มพื้นที่สีเขียว ซึ่งเป็นกลไกสำคัญที่ช่วยดูดซับก๊าซเรือนกระจกด้วยวิธีทางธรรมชาติ ตลอดจนสร้างการรับรู้และเข้าใจถึงความสำคัญของป่า ปตท. จึงได้จัดทำ mobile application game ‘คุณช่วยเก็บ เราช่วยปลูก’ ขึ้น ให้ผู้เล่นเป็นส่วนหนึ่งของการลดก๊าซเรือนกระจก โดยต้นไม้ทุกต้นที่ผู้เล่นเก็บได้ และดูแลรักษาในเกม ปตท. จะนำไปปลูกจริงในพื้นที่ปลูกป่า 1 ล้านไร่ของ ปตท.

ทั้งนี้ ผู้ที่สนใจสามารถดาวน์โหลดแอปพลิเคชัน ‘คุณช่วยเก็บ เราช่วยปลูก’ ได้ง่ายๆ บนโทรศัพท์มือถือทั้งระบบ iOS และ Android ผ่านช่องทาง App Store และ Google Play Store โดยเสิร์ชชื่อ ‘คุณช่วยเก็บ เราช่วยปลูก’ หรือคลิก : https://bit.ly/3JJpAW7
 

‘ปตท.’ ยึดมั่นในนโยบายรัฐ ดำเนินธุรกิจก๊าซธรรมชาติ เพื่อประโยชน์ของประเทศเป็นหลัก มุ่งสร้างสมดุลทุกภาคส่วน

นายวุฒิกร สติฐิต ประธานเจ้าหน้าที่ปฏิบัติการกลุ่มธุรกิจปิโตรเลียมขั้นต้นและก๊าซธรรมชาติ บริษัท ปตท. จำกัด (มหาชน) เปิดเผยถึงกรณีการพาดพิงการดำเนินธุรกิจก๊าซธรรมชาติของ ปตท. ที่จำหน่ายให้อุตสาหกรรมปิโตรเคมีในราคาที่ถูกกว่าโรงไฟฟ้าเป็นสาเหตุให้ค่าไฟฟ้าแพง ซึ่งอาจทำให้เกิดความเข้าใจคลาดเคลื่อน ดังนี้

การจัดสรรก๊าซธรรมชาติในอ่าวไทยให้แก่กลุ่มอุตสาหกรรมปิโตรเคมีเป็นสัดส่วนเพียง 20% ใช้ในภาคอุตสาหกรรมขนส่งและครัวเรือนประมาณ 30% และใช้ในการผลิตกระแสไฟฟ้า 50% ซึ่งตลอดระยะเวลาที่ผ่านมาปริมาณความต้องการใช้ก๊าซธรรมชาติเพื่อผลิตไฟฟ้าเพิ่มสูงขึ้นอย่างต่อเนื่อง ขณะที่ปริมาณการผลิตก๊าซธรรมชาติในอ่าวไทยที่ดำเนินการมากว่า 40 ปี ปริมาณสำรอง และปริมาณการผลิตลดลง ไม่เพียงพอต่อความต้องการ จำเป็นต้องมีการนำเข้าก๊าซธรรมชาติจากประเทศเพื่อนบ้านและนำเข้าก๊าซธรรมชาติเหลว (LNG) จากแหล่งต่างๆ ทั่วโลก ทั้งนี้ ราคาก๊าซธรรมชาติในอ่าวไทยที่ใช้เป็นเชื้อเพลิงในการผลิตไฟฟ้าและวัตถุดิบของอุตสาหกรรมปิโตรเคมีใช้ต้นทุนราคาเนื้อก๊าซเดียวกัน สำหรับในส่วนที่ต้องจัดหาเชื้อเพลิงเพิ่มเติมเพื่อใช้ผลิตไฟฟ้า หรือวัตถุดิบเพิ่มเติมในแต่ละผลิตภัณฑ์จะเป็นไปตามปัจจัยสถานการณ์ตลาดพลังงานโลก และตลาดของผลิตภัณฑ์นั้นๆ

ปตท. ผนึก JERA นำร่องพัฒนาธุรกิจไฮโดรเจนและแอมโมเนียในไทย มุ่งสู่เป้าหมาย Net Zero Emissions 2050

ดร.บุรณิน รัตนสมบัติ ประธานเจ้าหน้าที่ปฏิบัติการกลุ่มธุรกิจใหม่และโครงสร้างพื้นฐาน บริษัท ปตท. จำกัด (มหาชน) เป็นประธานในพิธีลงนามข้อตกลงความร่วมมือโครงการริเริ่มการขยายห่วงโซ่อุปทานและการใช้ประโยชน์จากไฮโดรเจนและแอมโมเนีย เพื่อลดการปลดปล่อยก๊าซเรือนกระจกในประเทศไทย โดยมี ดร.ยุทธนา สุวรรณโชติ ผู้ช่วยกรรมการผู้จัดการใหญ่สถาบันนวัตกรรม บริษัท ปตท. จำกัด (มหาชน) และ Mr. Toshiro Kudama (โทชิโระ คุดามะ) Senior Managing Executive Officer และ CEO JERA Asia บริษัท JERA Co., Inc. (JERA) (ที่ 2 จากขวา) ร่วมลงนาม พร้อมทั้งผู้บริหารของทั้งสององค์กรร่วมเป็นสักขีพยาน ณ อาคารสำนักงานใหญ่ บริษัท ปตท. จำกัด (มหาชน) ความร่วมมือในครั้งนี้ มุ่งศึกษาแนวทางการพัฒนาธุรกิจ และการใช้ไฮโดรเจนและแอมโมเนียในรูปแบบต่าง ๆ เพื่อแสวงหาโอกาสการลงทุนในอนาคต ตอกย้ำว่า ปตท. พร้อมเป็นผู้นำในการขับเคลื่อนการพัฒนานวัตกรรมพลังงานที่ยั่งยืน

ปตท. เผยผลประกอบการไตรมาส 1/2566 เป็นไปตามแผนธุรกิจ ใช้งบกว่า 20,000 ล้านบาท ฟื้นฟูประเทศหลังโควิด-19

เมื่อวานนี้ (11 พ.ค. 66) นายอรรถพล ฤกษ์พิบูลย์ ประธานเจ้าหน้าที่บริหารและกรรมการ ผู้จัดการใหญ่ บริษัท ปตท. จำกัด (มหาชน) เปิดเผยว่า จากปัญหาความขัดแย้งและความตึงเครียดทางภูมิรัฐศาสตร์ในหลายประเทศ การปรับลดกำลังการผลิตน้ำมันดิบในกลุ่มประเทศ OPEC และชาติพันธมิตร จนถึงสิ้นปี 2566 และเศรษฐกิจทั่วโลกชะลอตัว ส่งผลให้ไตรมาส 1 ปี 2566 ปตท. และบริษัทย่อยมีกำไรจากการดำเนินงานก่อนค่าเสื่อมราคาและค่าตัดจำหน่าย ต้นทุนทางการเงิน และภาษีเงินได้ (EBITDA) ที่ 104,008 ล้านบาท ลดลง 36,904 ล้านบาท หรือร้อยละ 26.2 จากไตรมาส 1 ปี 2565 ที่จำนวน 140,912 ล้านบาท โดยหลักจากกลุ่มธุรกิจปิโตรเคมีและการกลั่น ซึ่งมีผลขาดทุนจากสต๊อกน้ำมันเพิ่มขึ้น นอกจากนี้ ผลการดำเนินงานของธุรกิจที่ ปตท. ดำเนินการเอง เช่น กลุ่มธุรกิจก๊าซธรรมชาติมีผลการดำเนินงานลดลงจากธุรกิจโรงแยกก๊าซฯ ที่มีราคาขายเฉลี่ยที่ลดลงเกือบทุกผลิตภัณฑ์ตามราคาปิโตรเคมีในตลาดที่ใช้อ้างอิง ประกอบกับปริมาณการขายลดลงและต้นทุนค่าเนื้อก๊าซสูงขึ้น สำหรับกลุ่มธุรกิจสำรวจและผลิตปิโตรเลียมมีผลการดำเนินงานเพิ่มขึ้นตามปริมาณการขายเฉลี่ยที่เพิ่มขึ้น อย่างไรก็ตาม ในไตรมาสนี้ มีผลขาดทุนจากตราสารอนุพันธ์ที่ลดลง เมื่อเทียบกับไตรมาส 1 ปี 2565 ส่งผลให้ ปตท. และบริษัทย่อยในไตรมาส 1 ปี 2566 มีกำไรสุทธิจำนวน 27,855 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 3,063 ล้านบาท หรือร้อยละ 12.4 จากไตรมาส 1 ปี 2565 ที่จำนวน 24,792 ล้านบาท 

ปตท. ในฐานะบริษัทพลังงานแห่งชาติ ยึดมั่นพันธกิจสร้างความมั่นคงทางพลังงาน พร้อมเป็นแรงสำคัญขับเคลื่อนอุตสาหกรรม และประเทศให้เดินหน้าได้อย่างต่อเนื่อง โดยในปี 2563 - 2565 ได้ใช้งบประมาณกว่า 20,000 ล้านบาท เพื่อบรรเทาผลกระทบของภาคประชาชนจากวิกฤตโควิด-19 และสงครามรัสเซีย-ยูเครน อาทิ การสำรองน้ำมัน 4 ล้านบาร์เรล การตรึงราคา NGV การช่วยเหลือราคา LPG แก่หาบเร่แผงลอยผู้มีรายได้น้อยผ่านบัตรสวัสดิการแห่งรัฐ การสนับสนุนเงินเข้ากองทุนน้ำมัน และการขยายเทอมการชำระเงินแก่ กฟผ. เพื่อลดภาระค่า FT เป็นต้น 

ทั้งนี้ ปตท. เร่งเดินหน้ากลยุทธ์ ‘ปรับ เปลี่ยน ปลูก’ เพื่อขับเคลื่อนประเทศไทยสู่สังคมคาร์บอนต่ำ ตั้งเป้าบรรลุความเป็นกลางทางคาร์บอน ในปี 2583 และการปล่อยก๊าซเรือนกระจกสุทธิเป็นศูนย์ (Net Zero Emissions) ภายใน ปี 2593 ด้วยการทำงานเชิงรุก ปรับกระบวนการผลิต พัฒนาเทคโนโลยีใหม่ พร้อมเปลี่ยน สู่ธุรกิจพลังงานสะอาด ที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม รวมทั้งขยายสู่ธุรกิจใหม่ที่ไกลกว่าพลังงาน เพิ่มปริมาณการดูดซับก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ผ่านการ ปลูกป่าเพิ่ม 1 ล้านไร่ ภายในปี 2573 ในรูปแบบวิสาหกิจชุมชน เพื่อการมีส่วนร่วมดูแลรักษาป่า ส่งเสริมอาชีพ และรายได้ของชุมชนในพื้นที่ ในอนาคตพื้นที่ป่าเหล่านี้จะช่วยดูดซับก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ได้กว่า 4.15 ล้านตัน/ปี 

“ปตท. มุ่งมั่นดำเนินงานในทุกมิติ เพื่อยกระดับคุณภาพชีวิตคนไทย สนับสนุนการใช้พลังงานแห่งอนาคต สร้างระบบนิเวศยานยนต์ไฟฟ้าสมบูรณ์แบบ พร้อมศึกษาพลังงานไฮโดรเจน และพลังงานหมุนเวียน เพื่อเป็นแรงสำคัญขับเคลื่อนประเทศสู่การเป็นสังคมคาร์บอนต่ำอย่างเป็นรูปธรรม รวมทั้งเพิ่มพื้นที่สีเขียวและพลิกฟื้นผืนป่าให้อุดมสมบูรณ์ นำพาประเทศบรรลุเป้าหมาย Net Zero Emissions ได้อย่างยั่งยืนต่อไป” นายอรรถพล กล่าวเสริม

กระทรวงพลังงาน จับมือ ปตท. ร่วมเป็นเจ้าภาพงาน Future Energy Asia 2023 ขับเคลื่อนอุตสาหกรรมพลังงาน และยานยนต์ ระดับภูมิภาคเอเชีย

ดร.วีรพัฒน์ เกียรติเฟื่องฟู รองปลัดกระทรวงพลังงาน เป็นประธานในพิธีเปิดนิทรรศการและการประชุมสุดยอดด้านการเปลี่ยนแปลงทางพลังงานระดับภูมิภาค Future Energy Asia 2023 โดยมีนายประสงค์ อินทรหนองไผ่ รองกรรมการผู้จัดการใหญ่บริหารกลยุทธ์กลุ่มธุรกิจปิโตรเลียมขั้นปลาย บริษัท ปตท.จำกัด (มหาชน) ร่วมกล่าวปาฐกถาเรื่องการเปลี่ยนผ่านทางพลังงาน (Energy Transition) คาดการณ์สัดส่วนการใช้พลังงานหมุนเวียนที่มีแนวโน้มเพิ่มมากขึ้นในอนาคต อย่างไรก็ตาม กลุ่ม ปตท. ได้ปรับกลยุทธ์การดำเนินธุรกิจเตรียมพร้อมรับความท้าทาย ตามวิสัยทัศน์ “Powering Life with Future Energy and Beyond” มุ่งเน้นการปรับเปลี่ยนการดำเนินงาน สู่การดำเนินธุรกิจพลังงานแห่งอนาคต อาทิ การลงทุนในธุรกิจพลังงานหมุนเวียนและระบบกักเก็บพลังงาน ธุรกิจยานยนต์ไฟฟ้า และธุรกิจไฮโดรเจน รวมถึงเร่งการดำเนินงานในธุรกิจ LNG ที่จะมีบทบาทสำคัญในการสนับสนุนการเปลี่ยนผ่านทางพลังงานอีกด้วย

เปิดบ้านต้อนรับนวัตกรรุ่นใหม่ โครงการ สานพลัง x PTT Group Young Socialpreneur Hackathon

สานพลัง ร่วมกับ กลุ่ม ปตท. เปิดบ้านต้อนรับคนรุ่นใหม่หัวใจพัฒนาธุรกิจเพื่อสังคม ในงาน Open House โครงการสานพลัง x PTT Group Young Socialpreneur Hackathon ร่วมเปิดมุมมองพร้อมรับแรงบันดาลใจการทำธุรกิจเพื่อสังคม พร้อมชวนปล่อยไอเดียนวัตกรรมทางธุรกิจ ชิงรางวัลรวมมูลค่ากว่า 540,000 บาท ขยายเวลารับสมัครถึง 2 มิ.ย. ศกนี้

วันนี้ (20 พ.ค. 2566) - บริษัท สานพลัง วิสาหกิจเพื่อสังคม จำกัด ร่วมกับ กลุ่ม ปตท. จัดงาน Open House โครงการ สานพลัง x PTT Group Young Socialpreneur Hackathon เปิดบ้านต้อนรับนวัตกรรมรุ่นใหม่ ที่สนใจการพัฒนาธุรกิจเพื่อสังคม ร่วมรับฟังรายละเอียดโครงการ โดยได้รับเกียรติจาก ดร. บุรณิน รัตนสมบัติ ประธานเจ้าหน้าที่ปฏิบัติการกลุ่มธุรกิจใหม่และโครงสร้างพื้นฐาน บริษัท ปตท. จำกัด (มหาชน) (ปตท.) และ นายวรพงษ์ นาคฉัตรีย์ ผู้ช่วยกรรมการผู้จัดการใหญ่บริหารความยั่งยืน ปตท. ในฐานะประธานบริษัท สานพลัง วิสาหกิจเพื่อสังคม จำกัด ร่วมแสดงวิสัยทัศน์และเปิดมุมมองทิศทางของนวัตกรรมเพื่อสังคม ณ อาคารสำนักงานใหญ่ ปตท. 

ดร.บุรณิน รัตนสมบัติ ประธานเจ้าหน้าที่ปฏิบัติการกลุ่มธุรกิจใหม่และโครงสร้างพื้นฐาน ปตท. เผยถึงวิสัยทัศน์และนโยบายการทำงานของกลุ่ม ปตท. ด้านสังคมและความยั่งยืนว่า กลุ่ม ปตท. ตระหนักและเห็นถึงความสำคัญของการพัฒนาประเทศ โดยหนึ่งในการสนับสนุนคือการจัดทำวิสาหกิจเพื่อสังคม (Social Enterprise) เพื่อสร้างรายได้ให้ชุมชนควบคู่ไปกับการแก้ไขปัญหาและยกระดับความเป็นอยู่ของสังคมอย่างยั่งยืน ซึ่ง “โครงการสานพลัง x PTT Group Young Socialpreneur Hackathon” เป็นอีกหนึ่งโครงการภายใต้วิสัยทัศน์ของ ปตท. และบริษัทในกลุ่มที่ผนึกกำลังกับบริษัท สานพลัง วิสาหกิจเพื่อสังคม จำกัด เฟ้นหาไอเดียนวัตกรรมจากนวัตกรรุ่นใหม่ที่เต็มไปด้วยความคิดเเละพลังในการสร้างสรรค์มาช่วยแก้ปัญหาสังคม ชุมชน และสิ่งแวดล้อม

ด้าน นายวรพงษ์ นาคฉัตรีย์ ผู้ช่วยกรรมการผู้จัดการใหญ่บริหารความยั่งยืน ปตท. ในฐานะ ประธานบริษัท สานพลัง วิสาหกิจเพื่อสังคม จำกัด กล่าวว่า “สานพลัง” จัดตั้งขึ้นโดยเล็งเห็นจุดแข็งของธุรกิจกลุ่ม ปตท. ในการสร้างวิสาหกิจเพื่อสังคมต้นเเบบ โดยมีโครงการที่เกิดขึ้นภายใต้การดำเนินงานผ่านทางสานพลัง เช่น โครงการ Cafe' Amazon for Chance สร้างอาชีพมอบโอกาสแก่กลุ่มผู้ด้อยโอกาส โครงการ Community Coffee Sourcing ช่วยเกษตรกรชาวเขาที่ทำไร่กาแฟ มีช่องทางในการจำหน่ายเมล็ดกาแฟที่แน่นอนผ่านร้าน Cafe' Amazon โครงการ Upcycling SE จัดการขยะพลาสติกครบวงจร รีไซเคิลสู่สินค้าแฟชั่นและของใช้ประจำวัน โครงการชุมชนยิ้มได้ ยกระดับสินค้าชุมชนให้ทันสมัย ตอบโจทย์ความต้องการของตลาดเพิ่มรายได้ให้วิสาหกิจชุมชน และโครงการ SE Solar Energy Business นำร่องที่ตลาดหัวปลี จ.สระบุรี จับมือชุมชนเปลี่ยนแหล่งที่มาของพลังงานที่ใช้มาเป็นพลังงานสะอาด เป็นต้น

ซึ่งในวันนี้สานพลังได้มองเห็นความสำคัญของการนำนวัตกรรมเข้ามาใช้ตอบโจทย์การพัฒนาเพื่อความยั่งยืน และสามารถขยายผลการแก้ปัญหาในวงกว้าง จึงได้ผนึกกำลังกับกลุ่ม ปตท. ในโครงการสานพลัง x PTT Group Young Socialpreneur Hackathon เพื่อคัดเลือกสุดยอดไอเดียที่จะสามารถเป็นต้นแบบธุรกิจที่แก้ไขปัญหาสังคมได้ โดยจะสนับสนุนและช่วยปั้นไอเดียธุรกิจเพื่อสังคมร่วมกับไรส์ (RISE) สถาบันเร่งสปีดนวัตกรรมองค์กร โดยใช้จุดแข็งของกลุ่ม ปตท. ในการสร้างโซลูชันใน 4 โจทย์หลัก ได้แก่ การพัฒนาเมืองยั่งยืน การมีสุขภาพและความเป็นอยู่ที่ดี การพัฒนาเศรษฐกิจท้องถิ่น และการพัฒนาสิ่งแวดล้อม

นอกจากนี้ ผู้เข้าร่วมงานยังได้รับฟังเสวนาในหัวข้อ Powering Life with Social Innovations จากผู้นำรุ่นใหม่ที่มีบทบาทโดดเด่นด้านการพัฒนาสังคม ได้แก่ ด้านการพัฒนาเมืองจาก คุณวริทธิ์ธร สุขสบาย ผู้ร่วมก่อตั้ง Mayday ด้านสิ่งแวดล้อมจาก คุณสุภัชญา เตชะชูเชิด ผู้ร่วมก่อตั้ง Refill Station ด้านสุขภาพและความเป็นอยู่ จาก คุณชาคิต พรหมยศ ผู้ร่วมก่อตั้งและประธานเจ้าหน้าที่บริหาร YoungHappy  และด้านเศรษฐกิจท้องถิ่นจาก คุณภัทรารัตน์ ตั้งนิสัยตรง ผู้ร่วมก่อตั้งและผู้อำนวยการโครงการ Roots Incubation Program ดำเนินรายการโดย คุณทลปภร ปัญโยรินทร์ ผู้จัดการทั่วไป Social Enterprise Thailand Association  

สำหรับผู้เข้าร่วมโครงการ สานพลัง x PTT Group Young Socialpreneur Hackathon จะมีโอกาสเวิร์กชอปการพัฒนานวัตกรรมเพื่อสังคมในเชิงธุรกิจ โดยมีผู้เชี่ยวชาญจากบริษัทในกลุ่ม ปตท. และองค์กรพันธมิตรชั้นนำระดับประเทศ ร่วมกับไรส์ มาเป็นที่ปรึกษาอย่างใกล้ชิดตลอดโครงการ ซึ่งหากได้รับคัดเลือกเป็น 4 ทีมสุดท้าย จะมีโอกาสได้รับเงินรางวัลและเงินทุนตั้งต้นในการร่วมกระบวนการทดสอบไอเดียธุรกิจ Proof of Concept (POC) กับบริษัทในกลุ่ม ปตท. รวมมูลค่ากว่า 540,000 บาท เพื่อพัฒนาไอเดียให้สามารถออกสู่ตลาดพร้อมแก้ไขปัญหาสังคม ชุมชน และสิ่งแวดล้อมได้จริง โครงการฯ เปิดรับสมัคร ตั้งแต่วันนี้ - 2 มิถุนายน 2566
 

‘6.6.66’ on-ion ผนึก Sand Haus เปิดให้บริการสถานีชาร์จรถยนต์ไฟฟ้าแบบ DC fast charger 

ออน-ไอออน (on-ion) ภายใต้บริษัท อรุณ พลัส จำกัด (ARUN PLUS) รุกขยายเครือข่ายสถานีอัดประจุสำหรับยานยนต์ไฟฟ้า (on-ion EV Charging Station) ให้แข็งแกร่งและครอบคลุมมากขึ้น ณ โครงการแซนด์เฮาส์ เหม่งจ๋าย (Sand Haus) เพื่อรองรับการเติบโตของตลาด EV ให้พลังงานทางเลือกอยู่ใกล้ตัวกว่าที่คิด พร้อมสนับสนุนให้คนไทยใช้พลังงานสะอาด เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม ด้วยเครื่องอัดประจุไฟฟ้าชนิดกระแสสลับ (AC normal charger) และชนิดกระแสตรง (DC fast charger) โดยพร้อมเปิดให้บริการ 6 มิถุนายน 2566 นี้

นายเชิดชัย บุญชูช่วย รองกรรมการผู้จัดการใหญ่นวัตกรรมและธุรกิจใหม่ บริษัท ปตท. จำกัด (มหาชน) เปิดเผยว่า กลุ่ม ปตท. โดยบริษัท อรุณ พลัส จำกัด (ARUN PLUS) ได้เดินหน้าตามภารกิจในการขยายฐานธุรกิจยานยนต์ไฟฟ้าครบวงจร เพื่อร่วมสร้างระบบนิเวศยานยนต์ไฟฟ้าของประเทศไทยให้สมบูรณ์ยิ่งขึ้นในทุกมิติ โดยเฉพาะการขยายเครือข่ายสถานีชาร์จภายใต้แบรนด์ ออน- ไอออน (on-ion EV Charging Station) บนทำเลศักยภาพร่วมกับ “Sand Haus” คอมมิวนิตี้มอลล์แห่งใหม่ย่านเหม่งจ๋าย– ประชาอุทิศ ที่เดียวจบครบ ร้านของกิน คาเฟ่ คลินิก สถาบันเสริมพัฒนาการเด็ก และคอร์ดแบดขนาดใหญ่ เพื่อขับเคลื่อนสังคมคาร์บอนต่ำ เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม และเพิ่มความสะดวกสบายให้ผู้ใช้ EV ด้วยพลังงานสะอาด

นางสาวนันทนัช ครองมงคลกุล ผู้บริหารโครงการแซนด์เฮาส์ กล่าวว่า การร่วมมือกับออน-ไอออนในครั้งนี้จะเป็นการขยายเครือข่ายสถานีชาร์จให้ครอบคลุมและตอบโจทย์ความต้องการของผู้ใช้ EV มากยิ่งขึ้น สำหรับสถานี Sand Haus แห่งนี้ เปิดให้บริการทุกวัน ตั้งแต่ 06.00 – 24.00 น. ให้บริการด้วยเครื่อง DC fast charger ขนาดกำลังไฟ 100 กิโลวัตต์ จำนวน 2 ช่องจอด สำหรับรถยนต์พลังงานไฟฟ้าแบบแบตเตอรี่ (BEV: Battery Electric Vehicle) ทุกรุ่น ทุกแบรนด์ที่รองรับหัวชาร์จ CCS2 และให้บริการด้วยเครื่อง AC normal charger ขนาดกำลังไฟ 22 กิโลวัตต์ จำนวน 3 ช่องจอด รองรับรถยนต์ปลั๊ก-อิน ไฮบริด (PHEV : Plug-in Hybrid) และรถยนต์พลังงานไฟฟ้าแบบแบตเตอรี่ (BEV: Battery Electric Vehicle) ทุกรุ่น ทุกแบรนด์ที่มีหัวชาร์จ Type 2 ควบคุมการใช้งานผ่าน on-ion Mobile Application ทั้งในระบบ Android และ iOS 
on-ion และ Sand Haus พร้อมส่งเสริมการใช้ EV อย่างเต็มรูปแบบ โดยมอบโปรโมชัน “ช้อป ช่วย ชาร์จ” ให้แก่ลูกค้าที่ใช้จ่ายในโครงการ Sand Haus เหม่งจ๋าย ครบ 500 บาทต่อวัน (รวมใบเสร็จได้) สามารถนำใบเสร็จมาแลกคูปองส่วนลดค่าบริการชาร์จ EV มูลค่าไม่เกิน 60 บาท ตั้งแต่วันนี้ – 31 สิงหาคม 2566 หรือจนกว่าจะครบจำนวนสิทธิ์ นอกจากนี้ ยังมอบสิทธิพิเศษสำหรับวันเปิดตัววันแรก “6.6.66” เป็นส่วนลดค่าบริการชาร์จ EV พิเศษเพียง 6 บาทต่อหน่วยสำหรับ DC fast charger ในวันที่ 6 มิถุนายน 2566 วันเดียวเท่านั้น! (จากค่าบริการปกติ 9.5 บาทต่อหน่วย) เพิ่มเติมได้ที่ Call Center: 02-017-0022 หรือ Line: @onionev

เข้ารอบ Final Pitching  โครงการ Content Lab โปรแกรม “ดิจิทัลคอนเทนต์”

บริษัท ปตท. จำกัด (มหาชน) ประกาศรายชื่อ 7 ทีม ผ่านเข้ารอบ Final Pitching โครงการ Content Lab สร้างสรรค์คอนเทนต์ไทย ดันไกลสู่สากล ในโปรแกรม “ดิจิทัลคอนเทนต์ (Digital Content)” สนับสนุนรวมกว่า 150,000 บาท/ทีม และเงินรางวัลสำหรับทีมที่ชนะในรอบ Final Pitching มูลค่ารวม 150,000 บาท พร้อมเปิดโอกาสนำเสนอโครงการให้กับผู้เชี่ยวชาญ และองค์กรชั้นนำของเมืองไทย หวังต่อยอด สร้างสรรค์ และ ประชาสัมพันธ์ผลงานในระดับสากล
นายชาญ กุลภัทรนิรันดร์ ผู้ช่วยกรรมการผู้จัดการใหญ่พัฒนาธุรกิจใหม่ บริษัท ปตท.จำกัด (มหาชน) กล่าวว่า...

ปตท. ได้ปรับการดำเนินงานให้สอดรับกับการเปลี่ยนแปลงในปัจจุบัน โดยมุ่งสร้างความมั่นคงทางพลังงาน ควบคู่กับการต่อยอดธุรกิจใหม่ที่นอกเหนือจากด้านพลังงาน พร้อมเป็นแรงสำคัญขับเคลื่อนอุตสาหกรรมของประเทศ โดยได้มีการสนับสนุนการพัฒนาอุตสาหกรรมสร้างสรรค์ ซึ่งเป็นหนึ่งในอุตสาหกรรมเป้าหมายที่ทั้งภาครัฐและเอกชนเล็งเห็นถึงโอกาสและศักยภาพที่ช่วยขับเคลื่อนเศรษฐกิจและยกระดับคุณภาพชีวิตของคนไทย

ทั้งนี้ ปตท. ร่วมกับ สำนักงานส่งเสริมเศรษฐกิจสร้างสรรค์ (องค์การมหาชน) หรือ CEA ในการเปิดคอร์สอบรมพัฒนาทักษะ สำหรับนักสร้างสรรค์คอนเทนต์ ภายใต้ “โครงการ Content Lab สร้างสรรค์คอนเทนต์ไทย ดันไกลสู่สากล” ในโปรแกรมดิจิทัลคอนเทนต์ (Digital Content) สำหรับนักสร้างสรรค์คอนเทนต์ นักเรียน นักศึกษา และบุคคลทั่วไป ได้มีโอกาสเรียนรู้การใช้เทคโนโลยีประกอบการสร้างสรรค์ผลงาน พร้อมเรียนรู้ทักษะการใช้เทคโนโลยีสมัยใหม่อย่างเข้มข้นจากผู้เชี่ยวชาญในแต่ละสาขา ทั้ง Virtual Production, AR/XR, AR location base, CG, 3D Model ฯลฯ

ผู้เข้าร่วมโครงการทั้งหมด 13 ทีม ได้นำความรู้และประสบการณ์มานำเสนอ Proposal ครั้งที่ 1 ภายใต้หัวข้อ “Meaningful Travel” ส่งเสริมการท่องเที่ยวไทยพร้อมสร้างประสบการณ์ใหม่  แบ่งเป็น 3 หมวด ได้แก่ หมวด Location Base & Platform หมวด Game และหมวด Film & Advertising

ทั้งนี้ มีการคัดเลือก 7 ทีม ผ่านเข้ารอบการนำเสนอสุดท้าย (Final Pitching Day) ผู้ที่ผ่านการคัดเลือกจะได้รับการสนับสนุนการผลิตชิ้นงาน จาก บริษัท ปตท. จำกัด (มหาชน) และ การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย (ททท.) เพื่อเตรียมนำเสนอผลงานสุดท้ายต่อคณะกรรมการผู้เชี่ยวชาญ และตัวแทนจากองค์กรชั้นนำของเมืองไทยในวัน Final Product Pitching  วันที่ 26 สิงหาคมนี้ โดยจะมีคัดเลือกผลงานสุดท้ายที่จะได้รับเงินรางวัล พร้อมการประชาสัมพันธ์สู่สาธารณะ หวังต่อยอดและสร้างสรรค์ผลงานในระดับสากล ซึ่งถือเป็นซอฟท์พาวเวอร์ (Soft Power) ที่สำคัญ ให้ประเทศไทยเป็นจุดหมายปลายทางการท่องเที่ยวที่มีคุณค่าควบคู่กับการสร้างมาตรฐานความยั่งยืน

ทีมที่ผ่านการเข้ารอบ ได้แก่
• หมวด Location Base & Platform  
1. ทีมที่ 6 Travel Platform & Virtual Influencer 
2. ทีมที่ 11 Thailand Culture Guide (สายมู) 
3. ทีมที่ 14 Foodscape

• หมวด Game 
1. ทีมที่ 8 Muay Thai VR Game 
2. ทีมที่ 10 Survive the Streets

• หมวด Film & Advertising 
1. ทีมที่ 1 Thatien 
2. ทีมที่ 3 One free day

ผู้ที่สนใจสามารถติดตามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ Facebook : Content Lab และ Creative Economy Agency

PTTEP ผนึก 5 พันธมิตรเดินเครื่องผลิตกรีนไฮโดรเจนในโอมาน  ตั้งเป้าแหล่งพลังงานสะอาดรูปแบบใหม่ คาด!! เริ่มผลิตปี 73

(22 มิ.ย. 66) บมจ.ปตท.สำรวจและผลิตปิโตรเลียม (PTTEP) หรือ ปตท.สผ. ร่วมมือกับ 5 บริษัทชั้นนำของโลก ผลักดันโครงการผลิตกรีนไฮโดรเจนขนาดใหญ่ในรัฐสุลต่านโอมาน เพื่อเป็นแหล่งพลังงานสะอาดรูปแบบใหม่ซึ่งเป็นไปตามเป้าหมายการเป็นองค์กรคาร์บอนต่ำและการเติบโตอย่างยั่งยืนตามแผนกลยุทธ์ ตั้งเป้าเริ่มการผลิตกรีนไฮโดรเจนในปี 2573

นายมนตรี ลาวัลย์ชัยกุล ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร PTTEP เปิดเผยว่า ปตท.สผ. โดยบริษัท ฟิวเจอร์เทค เอนเนอร์ยี่ เวนเจอร์ส จำกัด (FTEV) ซึ่งเป็นบริษัทย่อย พร้อมด้วย 5 บริษัทพันธมิตรชั้นนำจากประเทศเกาหลีใต้ และประเทศฝรั่งเศส ได้ชนะการประมูลแปลงสัมปทานและลงนามสัญญาพัฒนาโครงการ (Project Development Agreement) และสัญญาเช่าแปลงสัมปทาน (Sub-usufruct Agreement) กับบริษัท ไฮโดรเจน โอมาน หรือ Hydrom ซึ่งเป็นหน่วยงานของรัฐบาลโอมาน เพื่อเข้ารับสิทธิในการพัฒนาโครงการผลิตกรีนไฮโดรเจน ในแปลงสัมปทาน Z1-02 เป็นระยะเวลา 47 ปี

แปลงสัมปทาน Z1-02 ครอบคลุมพื้นที่ประมาณ 340 ตารางกิโลเมตร ตั้งอยู่ในจังหวัดดูคุม ประเทศโอมาน

การเข้าร่วมในการพัฒนาโครงการผลิตกรีนไฮโดรเจนขนาดใหญ่ครั้งนี้ นับเป็นความสำเร็จของ ปตท.สผ. ที่มุ่งขยายธุรกิจไปสู่พลังงานสะอาด โดยตั้งเป้าหมายกำลังการผลิตกรีนไฮโดรเจนประมาณ 2.2 แสนตันต่อปี

หลังจากนี้ กลุ่มผู้ร่วมทุนจะทำการศึกษาความเป็นไปได้ (Feasibility study) และการศึกษาเชิงเทคนิค (Technical study) ของโครงการดังกล่าว และจะประเมินมูลค่าการลงทุนต่อไป

โดยกลุ่มผู้ร่วมทุนประกอบด้วย FTEV, กลุ่มบริษัทจากประเทศเกาหลีใต้ ประกอบด้วยบริษัท POSCO Holdings บริษัท Samsung Engineering Co., Ltd. บริษัท Korea East-West Power Co., Ltd และบริษัท Korea Southern Power Co., Ltd และบริษัท MESCAT Middle East DMCC ซึ่งเป็นบริษัทย่อยของ ENGIE จากประเทศฝรั่งเศส ที่มีความเชี่ยวชาญด้านการพัฒนาพลังงานหมุนเวียนชั้นนำของโลก

โครงการผลิตกรีนไฮโดรเจนในประเทศโอมานครั้งนี้ ครอบคลุมกระบวนการผลิตไฮโดรเจนแบบครบวงจร (Hydrogen Value Chain) ตั้งแต่การพัฒนาโรงไฟฟ้าพลังงานแสงอาทิตย์และพลังงานลม ซึ่งเป็นพลังงานหมุนเวียน (Renewable Energy) กำลังการผลิตรวมประมาณ 5 กิกะวัตต์ (GW), การพัฒนาโรงงานผลิตกรีนไฮโดรเจนโดยใช้พลังงานไฟฟ้าดังกล่าวในกระบวนการผลิต ซึ่งทั้ง 2 ส่วนจะตั้งอยู่ในแปลงสัมปทาน Z1-02 และการพัฒนาโรงงานที่เปลี่ยนสถานะไฮโดรเจนให้เป็นกรีนแอมโมเนียซึ่งเป็นของเหลว เพื่อสะดวกในการขนส่ง จะตั้งอยู่ในเขตพัฒนาเศรษฐกิจพิเศษที่จังหวัดดูคุม โดยคาดว่าจะเริ่มการก่อสร้างในปี 2570 และเริ่มการผลิต (Commercial Operations Date) กรีนแอมโมเนียได้ในปี 2573 ในอัตราประมาณ 1.2 ล้านตันต่อปี โดยจะส่งออกกรีนแอมโมเนียไปยังประเทศเกาหลีใต้ซึ่งเป็นผู้ซื้อ ส่วนกรีนไฮโดรเจนส่วนที่เหลือ จะใช้ภายในประเทศโอมาน

“ประเทศโอมานเป็นหนึ่งในประเทศอันดับต้น ๆ ของโลก ที่มีศักยภาพด้านพลังงานแสงอาทิตย์และพลังงานลม และมีความคืบหน้าในการผลักดันให้มีการพัฒนาโครงการไฮโดรเจนอย่างเป็นรูปธรรม การที่ ปตท.สผ. และบริษัทพันธมิตรได้รับเลือกให้เป็นหนึ่งในผู้พัฒนาโครงการกรีนไฮโดรเจนขนาดใหญ่ครั้งนี้ ถือได้ว่าเป็นความสำเร็จและเป็นก้าวที่สำคัญในการขยายการลงทุนในธุรกิจพลังงานสะอาดในพื้นที่ที่มีศักยภาพของโลก ซึ่ง ปตท.สผ. จะนำประสบการณ์และความเข้าใจในการดำเนินธุรกิจในประเทศโอมานที่มีมากว่า 20 ปี มาช่วยเสริมให้การพัฒนาโครงการกรีนไฮโดรเจนครั้งนี้ประสบความสำเร็จ ซึ่งจะเป็นประโยชน์ต่อการพัฒนาแหล่งพลังงานรูปแบบใหม่ต่าง ๆ ที่จะเป็นพลังงานแห่งอนาคตต่อไป รวมทั้ง ยังเป็นส่วนหนึ่งในการสนับสนุนเป้าหมายองค์กรคาร์บอนต่ำ เพื่อสร้างการเติบโตอย่างยั่งยืนด้วย” นายมนตรี กล่าว

ปัจจุบัน ปตท.สผ. มีการลงทุนในธุรกิจสำรวจและผลิตปิโตรเลียมในประเทศโอมาน ทั้งธุรกิจขั้นต้น (Upstream) และธุรกิจขั้นกลาง (Midstream) ได้แก่ โครงการโอมาน แปลง 61 ซึ่งเป็นแหล่งก๊าซธรรมชาติบนบกขนาดใหญ่ของประเทศ โครงการพีดีโอ (แปลง 6) โครงการมุคไคซนา (แปลง 53) ซึ่งเป็นแหล่งผลิตน้ำมันดิบบนบกขนาดใหญ่ โครงการโอมาน ออนชอร์ แปลง 12 และโครงการโอมาน แอลเอ็นจี ซึ่งเป็นโรงงานผลิตก๊าซธรรมชาติเหลวแห่งเดียวในโอมาน


TRENDING
© Copyright 2021, All rights reserved. THE STATES TIMES
Take Me Top