Sunday, 19 May 2024
น้ำท่วม

'ธนกร' ขอบคุณนายกฯ สั่งช่วยเหลือกลุ่ม SMEs หลังได้รับผลกระทบจากเหตุการณ์น้ำท่วม

'ธนกร' ขอบคุณนายกฯ สั่งการเยียวยาผู้ได้รับผลกระทบจากน้ำท่วมทุกกลุ่ม ล่าสุด บยส. รับไม้ต่อช่วยทันทีกลุ่ม SMEs ใน 25 จังหวัดพักชำระค่าธรรมเนียม-ค่างวดชำระ-ประนอมหนี้ นานสูงสุด 6 เดือน แนะฝ่ายค้านเพลาการเมืองหยุดสาดโคลนดิสเครดิตรัฐบาล

(16 ต.ค. 65) นายธนกร วังบุญคงชนะ ส.ส.บัญชีรายชื่อ พรรคพลังประชารัฐ และอดีตโฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี กล่าวว่า ขอชื่นชมรัฐบาลที่ช่วยเหลือ เยียวยา ประชาชน ผู้ประกอบการ SMEs ที่ประสบภัยน้ำท่วมขณะนี้ในทุกมิติ โดย พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม สั่งการหน่วยงานของรัฐให้ความสำคัญกับการช่วยเหลือและบรรเทาความเดือดร้อนให้กับผู้ประสบภัย โดยเฉพาะอย่างยิ่งการช่วยเหลือลูกหนี้สถาบันการเงินภาครัฐ ซึ่งธนาคารออมสิน ธนาคารอาคารสงเคราะห์ (ธอส.) และธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร (ธ.ก.ส.) ได้ออกมาตรการช่วยเหลือประชาชนตามนโยบายการดูแลและช่วยเหลือความเดือดร้อนของประชาชนอย่างเร่งด่วนและทันท่วงทีของรัฐบาลแล้ว 

นอกจากนี้ในส่วนของผู้ประกอบการ SMEs ซึ่งเป็นกลุ่มใหญ่ที่ได้รับผลกระทบจากอุทกภัย ล่าสุดคณะกรรมการบรรษัทประกันสินเชื่ออุตสาหกรรมขนาดย่อม หรือ บสย. ได้อนุมัติมาตรการพักชำระค่าธรรมเนียมการค้ำประกันสินเชื่อ - ค่าจัดการค้ำประกันสินเชื่อ และ อนุมัติมาตรการช่วยลูกหนี้ ที่เข้าโครงการประนอมหนี้กับ บสย. ที่ได้รับผลกระทบจากอุทกภัยในพื้นที่ 25 จังหวัด เพื่อบรรเทาความเดือดร้อนผู้ประกอบการ SMEs  สำหรับลูกค้าและลูกหนี้ค้ำประกันสินเชื่อ บสย. และติดตามให้ความช่วยเหลือต่อเนื่องโดยเฉพาะกลุ่มเปราะบาง ได้แก่

'บิ๊กป้อม' พร้อมคณะ ลงพื้นที่ จ.สุราษฎร์ธานี ติดตามสถานการณ์น้ำ - แผนรับมือน้ำท่วม

เมื่อเวลา 08.40 น.วันที่ (17 ต.ค. 65) ที่ท่าอากาศยานทหาร 2 กองบิน 6 (บน.6) ดอนเมือง พล.อ.ประวิตร วงษ์สุวรรณ รองนายกรัฐมนตรี พร้อมนายชัยวุฒิ ธนาคมานุสรณ์ รมว.ดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม นายสันติ พร้อมพัฒน์ รมช.คลัง พล.อ.ชัยชาญช้างมงคล รมช.กลาโหม เดินทางลงพื้นที่ตรวจราชการ จ.สุราษฎร์ธานี ติดตามสถานการณ์น้ำและแผนงานด้านทรัพยากรน้ำ จากสำนักงานทรัพยากรน้ำแห่งชาติ และแผนการดำเนินงานโครงการแก้มลิงสระบัว (อ่างเก็บน้ำทุ่งกระจูด) ของกรมชลประทาน รวมถึงกรมโยธาธิการและผังเมือง จะนำเสนอแผนการดำเนินงานโครงการก่อสร้างระบบป้องกันน้ำท่วมพื้นที่ชุมชนเมืองสุราษฎร์ธานี และเตรียมรับมือสถานการณ์อุทกภัยในพื้นที่ 

ขณะเดียวกันรับฟังรายงานสถานการณ์ปาล์มน้ำมันในประเทศ โดยสำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร พบปะประชาชน และเกษตรกรผู้ปลูกปาล์มน้ำมัน จากนั้นช่วงบ่าย พล.อ.ประวิตร จะลงพื้นที่ติดตามโครงการก่อสร้างระบบป้องกันน้ำท่วมพื้นที่ชุมชนเมืองสุราษฎร์ธานี และติดตามโครงการแก้มลิงสระบัว (อ่างเก็บน้ำทุ่งกระจุด) ต.ท่าสะท้อน อ.พุนพิน และพบปะประชาชน ก่อนเดินทางกลับ กทม.

'วรวัจน์' จี้ กกต. ผ่อนกฎให้ส.ส. ช่วยปชช. ช่วงน้ำท่วม ชี้!! รัฐบาลมีอำนาจหน้าที่ แต่ไม่มีท่าทีใส่ใจดูแล

เมื่อวันที่ (17 ต.ค. 65) นายวรวัจน์ เอื้ออภิญญกุล คณะกรรมการยุทธศาสตร์พรรคเพื่อไทย (พท.) กล่าวถึงสถานการณ์น้ำท่วมล่าสุดที่จ.ภูเก็ตว่า ตั้งแต่มีสถานการณ์พายุโนรูที่ทำให้น้ำท่วมบริเวณภาคอีสาน ภาคเหนือและภาคกลางไปแล้ว วันนี้น้ำก็ท่วมหนักอีกที่จ.ภูเก็ต ซึ่งสถานการณ์ขณะนี้กฎหมายเลือกตั้งคุมฝ่ายการเมือง ทำให้ไม่สามารถลงไปดำเนินการให้ความช่วยเหลือพี่น้องประชาชนได้ แต่ทางรัฐบาลที่มีอำนาจหน้าที่ทำได้ กลับไม่ได้แสดงท่าทีอะไรที่เป็นความใส่ใจลงไปช่วยเหลือพี่น้องประชาชนอย่างทันท่วงทีเลย 

นอกจากนี้ยังไม่เห็นแนวทางการแก้ปัญหาที่ชัดเจนจากทางรัฐบาล ไม่รู้ว่าทางรัฐบาลมัวแต่ห่วงเรื่องของตัวเองอยู่หรือไม่ จนละเลยพี่น้องประชาชนเช่นนี้ วันนี้น้ำท่วมทั่วทุกพื้นที่ตั้งแต่เหนือจรดใต้แล้วแต่ทางรัฐบาลก็ยังไม่ได้ขยับดำเนินการอะไรที่จริงจัง ขณะเดียวกันก็มีข่าวว่าให้อีก 8 จังหวัดภาคใต้เตรียมรับมือน้ำ ซึ่งขณะนี้ฝนก็ยังไม่หยุดตก รัฐบาลทำให้คนไทยรู้สึกเหมือนกับว่าไม่มีรัฐบาล เรายังไม่เคยเห็นแผนการจัดการน้ำทั้งระยะสั้นและระยะยาวจากรัฐบาลนี้เลย 

นายวรวัจน์ กล่าวต่อว่า ภาคใต้จัดว่าเป็นเมืองท่องเที่ยวหลัก และเป็นเมืองเศรษฐกิจสำคัญ วันนี้จังหวัดหลัก ๆ เช่น ภูเก็ต กระบี่ พังงา สตูล สุราษฎร์ธานี และนครศรีธรรมราช กำลังได้รับผลกระทบทั้งหมด แต่กลับไม่ได้รับความสนใจจากรัฐบาลเท่าที่ควร ที่ผ่านมาเราเข้าใจได้ว่าพื้นที่ภาคเหนือและภาคอีสาน ทางรัฐบาลอาจมองว่าไม่ใช่พื้นที่ฐานเสียงของพรรคการเมืองฝ่ายตน แต่ขณะนี้ปัญหาก็เกิดที่ภาคใต้แต่รัฐบาลยังกลับนิ่งนอนใจ ไม่ได้สนใจสถานการณ์ที่เกิดขึ้นอยู่ดี รัฐบาลโยนภาระการช่วยเหลือประชาชนให้เป็นหน้าที่ของท้องถิ่นเท่านั้น ส่วนตัวเองกลับไม่มีใจให้ประชาชน เท่าที่ควรจะเป็น

นายวรวัจน์ กล่าวอีกว่า ตนขอเสนอให้รัฐบาลเข้ามาเยียวยา และเร่งให้ความช่วยเหลือประชาชนให้มากกว่าที่ท้องถิ่นทำอยู่ อาจจะมีงบประมาณพิเศษจัดสรรลงไปให้ หรือเปิดช่องให้จังหวัดสามารถใช้งบกรณีฉุกเฉินล่วงหน้าเพื่อป้องกันน้ำท่วมได้ ไม่ใช่ให้ยึดเพียงแต่กรอบงบประมาณเยียวยาแบบเดิม ทั้งนี้ สมัยรัฐบาลน.ส.ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร อดีตนายกฯ เคยจัดวางงบประมาณโดยแบ่งเป็น 2 กรอบ คือกรอบป้องกันน้ำท่วม คือให้มีการเตรียมการก่อนที่น้ำจะท่วม และกรอบที่จะใช้หลังจากเกิดสถานการณ์น้ำท่วมแล้ว รัฐบาลนี้ก็น่าจะผลักดันให้มีมติเหมือนสมัย ครม.น.ส.ยิ่งลักษณ์ คือให้จังหวัดสามารถใช้วงเงินงบประมาณได้ก่อนจะเกิดเหตุ เช่น อาจจะวางช่องทางการระบายน้ำ การทำแผงกั้นน้ำ หรือการขุดลอกเพิ่มเติมเพื่อเป็นการป้องกันไม่ให้สถานการณ์หนัก ในช่วงที่พายุลูกใหม่กำลังจะเข้ามานี้ รัฐบาลพล.อ.ประยุทธ์ควรดูแบบอย่างของรัฐบาล น.ส.ยิ่งลักษณ์ว่าคนที่คิดถึงประชาชนเป็นหลักก่อนนั้น เขาทำงานกันอย่างไร

'บิ๊กป้อม’ ลงจี้ 13 มาตรการรับฤดูฝนป้องอุทกภัยใต้ พร้อมติดตามการแก้ปัญหาราคาปาล์มน้ำมัน

พล.อ.คงชีพ ตันตระวาณิชย์ โฆษกประจำรองนายกรัฐมนตรี เปิดเผยว่า พล.อ.ประวิตร วงษ์สุวรรณ รอง นายกฯ พร้อม รมว.ดีอีเอส, รมช.คลัง, รมช.กห. พร้อมคณะ ได้เดินทางลงใต้ ติดตามสถานการณ์น้ำและเตรียมการรับมือฤดูฝน รวมทั้งความคืบหน้าการแก้ปัญหาปาล์มน้ำมันในพื้นที่ภาคใต้ โดยรับฟังการบรรยายสรุป ณ ศาลากลาง จ.สุราษฎร์ธานี โดยมี ผวจ. และ หน.ส่วนราชการให้การต้อนรับ

สำหรับภาพรวมภาคใต้ กำลังเข้าสู่ฤดูฝน คาดการณ์สถานการณ์น้ำในพื้นที่ภาคใต้ จากร่องมรสุมพาดผ่านและพายุโซนร้อนจากทะเลจีนใต้ ส่งผลฝนตกหนัก ปริมาณน้ำสะสมในพื้นที่มากขึ้น เสี่ยงต่อน้ำป่าไหลหลากและน้ำท่วมฉับพลันใน จ.ชุมพร, ระนอง, พังงา, กระบี่, ภูเก็ต, สุราษฎร์ธานี, นครศรีธรรมราช และสตูล การบริหารจัดการลุ่มน้ำและโครงการแหล่งเก็บกักน้ำ มุ่งแก้ปัญหาอุทกภัยเป็นหลักและภัยแล้งไปพร้อมกัน 

สำหรับการแก้ปัญหาปาล์มน้ำมัน ได้รับการแก้ไขจากรัฐบาลปัจจุบันมาตลอด จากมาตรการต่าง ๆ ทั้ง ส่งผลราคาปาล์มน้ำมันดีขึ้นต่อเนื่องกว่า ร้อยละ 150 และสามารถทำสถิติส่งออกสูงสุด 6.2 แสนตันในปี 64 และคาดว่าราคาปาล์มน้ำมันในปี 65 เฉลี่ยอยู่ที่ 7.5 บาท/กก.

'เพื่อไทย' จี้รัฐเร่งส่งปัจจัย 4 ช่วยปชช. พร้อมเตรียมมาตรการเยียวยาหลังน้ำลด

เมื่อเวลา 13.00 น. วันที่ (17 ต.ค. 65) ที่พรรคเพื่อไทย (พท.) น.ส.ชญาภา สินธุไพร รองโฆษกพรรคเพื่อไทย กล่าวว่า สถานการณ์น้ำท่วมในหลายพื้นที่ เช่น ที่ จ.อุบลราชธานี บางพื้นที่ปริมาณน้ำท่วมสูงกว่า 3-6 เมตร ประชาชนต้องออกจากบ้านมาอาศัยที่ศูนย์อพยพโดยไร้การช่วยเหลือที่เพียงพอ หรือล่าสุดที่ จ.กาฬสินธุ์ พนังกั้นลำน้ำชีขาด ทำให้กระแสน้ำท่วมไหลเข้าท่วม 4 หมู่บ้านของ อ.ฆ้องชัย ต้องเร่งอพยพประชาชนออกจากหมู่บ้านอย่างเร่งด่วน ที่ จ.ร้อยเอ็ด ถูกน้ำท่วมขังแล้ว 14 อำเภอ ที่ปริมาณน้ำในลำน้ำชี ลำน้ำมูล และลำน้ำข้างเคียง รวมถึงบางพื้นที่ถูกน้ำท่วมขังมาแล้ว 3 เดือน ขาดน้ำ อาหารและยารักษาโรค จนถึงวันนี้ยังไม่มีการเข้าไปดูแลช่วยเหลือจากภาครัฐอย่างเพียงพอ

ทั้งนี้ ปัญหาเดิมในเรื่องการดูแลทุกข์ของพี่น้องประชาชนที่ถูกน้ำท่วมขังเป็นระยะเวลานานนับเดือน และปัญหาใหม่ที่การบริหารจัดการน้ำในเขื่อน แม่น้ำ และน้ำทุ่งที่ไม่ได้รับการดูใจ หรือดูแลแก้ไขอย่างดีพอของรัฐบาลที่นำโดยพล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกฯ ที่คาดการณ์สถานการณ์ผิดพลาด การบริหารจัดการน้ำ และการให้ความช่วยเหลือไม่เป็นที่พึ่งที่หวังให้กับพี่น้องประชาชนได้

น.ส.ชญาภา กล่าวต่อว่า พรรคเพื่อไทยเห็นใจและเข้าใจถึงความเดือดร้อนของพี่น้องประชาชนเป็นอย่างมาก โดยเฉพาะพี่น้องในจ.อุบลราชธานี ที่ถูกน้ำท่วมสูงที่สุดในรอบ 44 ปี น้ำท่วมจนมองไม่เห็นฝั่ง พื้นที่การค้าขาย ขับเคลื่อนเศรษฐกิจท้องถิ่นถูกปิดตาย ไม่สามารถกลับมาได้ในเร็ววัน หลายพื้นที่ในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ภาคเหนือ และภาคกลางก็ล้วนได้รับความเดือดร้อนทั่วทุกหัวระแหง แต่พล.อ.ประยุทธ์เป็นผู้นำของประเทศยังเงียบหาย แม้ในวันเสาร์อาทิตย์ ยังคงเป็นวันหยุดที่นายกฯ ของประเทศ ทำตัวไม่รู้ร้อนรู้หนาว ทำงานเหมือนคนหมดไฟ ขณะที่ประชาชนต้องทนหนาวแช่น้ำท่วมที่ไม่รู้ปลายทางว่าน้ำจะลดลงเมื่อไหร่ และวันไหนที่จะมีภาครัฐเข้ามาช่วยเหลือ

'ส.ส.ก้าวไกล’ ซัดรัฐจัดการน้ำล้มเหลว เร่งรัฐจ่าย 3 พันต่อหัว กลุ่มพื้นที่รับภัยรุนแรง

ณัฐวุฒิ บัวประทุม รองหัวหน้าพรรค นิติพล ผิวเหมาะ ส.ส.แบบบัญชีรายชื่อ สัดส่วนสิ่งแวดล้อม พรรคก้าวไกล ลงสำรวจผลกระทบจากน้ำท่วมพร้อมกับ ทวิวงศ์ โตทวิวงศ์ ว่าที่ผู้สมัครส.ส.เขต1จังหวัดพระนครศรีอยุธยา พบว่าหลายแห่งยังคงประสบปัญหาน้ำท่วมอย่างหนัก บางหลังมิดหลังคามาแล้ว 3 เดือน เช่นที่บ้านกุ่ม โดยระดับน้ำยังคงไม่มีทีท่าว่าจะลด ประกอบกับลมหนาวที่กำลังมาทำให้ผู้ประสบภัยลำบากมาก ทั้งเปียก ทั้งหนาว ไม่มีที่พักอาศัย สุขอนามัยไม่ต้องพูดถึง อยู่กันอย่างยากลำบากมาก แต่รัฐบาลยังคงทำตัวเป็นทองไม่รู้ร้อนอยู่เช่นเดิม

ทวิวงศ์ โตทวิวงศ์ ว่าที่ผู้สมัครส.ส.เขต1จังหวัดพระนครศรีอยุธยา เพิ่มเติมว่า ขณะนี้ประชาชนตำบลบ้านกุ่ม รวมตัวกันแสดงออกเชิงสัญลักษณ์ ‘ชูธงขาว’ ไม่ใช่เพื่อยอมแพ้ แต่ต้องการเจรจาเพื่อหาทางแก้ปัญหาน้ำท่วมสูงกว่า 2 เดือนแล้ว บ้านกุ่มเป็นตำบลที่ได้รับผลกระทบเป็นพื้นที่แรก ๆ และหนักหนาสาหัสตำบลหนึ่งของ อ.บางบาล ในตอนนี้ ระดับน้ำสูงกว่า 2.5 - 3 เมตร เป็นเวลาจะเข้าเดือนที่ 3 แล้ว 

สิ่งที่พี่น้องประชาชนประสบคือไม่มีน้ำสะอาดเพื่อใช้ในชีวิตประจำวันการเดินทางถูกตัดขาด และไม่ห้องน้ำเพื่อทำกิจหนักเบา ทั้งที่ปัจจัยเหล่านี้ควรได้รับการดูแลจากหน่วยงานภาครัฐที่เกี่ยวข้องตั้งแต่น้ำท่วมในช่วงแรกด้วยซ้ำ

'ก้าวไกล' ซัดรัฐแก้ปัญหาน้ำท่วมไม่ครอบคลุม ปล่อยให้ประชาชนหนี้สินท่วมหัวพร้อมกับน้ำ

'ก้าวไกล' ซัดรัฐบาลไม่รู้ร้อนรู้หนาว จี้เร่งเยียวยาน้ำท่วมรวดเร็ว-ครอบคลุม-ทั่วถึง อย่าปล่อยให้ประชาชนหนี้สินท่วมหัวพร้อมกับน้ำ

(21 ต.ค. 65) กรุณพล เทียนสุวรรณ รองโฆษกพรรคก้าวไกล ร่วมกับพงษ์เดช เดชกล้า ว่าที่ผู้สมัคร ส.ส. พรรคก้าวไกล เขต 9 จ.ศรีสะเกษ สำรวจความเดือดร้อนพี่น้องประชาชนใน อ.ยางชุมน้อย และ อ.ราษีไศล จ.ศรีสะเกษ เพื่อรวบรวมข้อมูลความเดือดร้อนของพี่น้องประชาชนที่ประสบภัยน้ำท่วม แล้วนำไปประมวลเป็นรายละเอียดเพื่อเสนอต่อรัฐบาลในการออกมาตรการช่วยเหลือและเยียวยาผู้ประสบภัยน้ำท่วมต่อไป

โดยในหลายพื้นที่มีน้ำท่วมไร่นาทำลายพืชผลการเกษตรของชาวบ้าน 100% ทำให้ชาวบ้านไม่มีข้าวสำหรับบริโภคภายในครัวเรือนและไม่มีรายได้จากการประกอบอาชีพเกษตรเนื่องจากไร่นาเสียหายถูกน้ำท่วม เมื่อไม่มีรายได้ก็กระทบต่อวงจรการชำระหนี้ ทำให้มีหนี้สินพอกพูนขึ้นไปอีก

ส่วนบ้านเรือนก็ถูกท่วมมิดหลังคา จนต้องย้ายออกมาอยู่ศูนย์อพยพที่ทางองค์การปกครองส่วนท้องถิ่นจัดหาไว้ให้ เบื้องต้นประเมินว่ามีชาวบ้านจำนวนไม่น้อยต้องซ่อมแซมบ้านทั้งหลังเนื่องจากจมน้ำมิดหลังคา บางรายอาจต้องใช้เงินซ่อมกว่า 100,000 บาท แต่เมื่อย้ายออกมาแล้ว ก็ประกอบอาชีพลำบาก หุงหาอาหารทุลักทุเล แม้จะพอได้รับความช่วยเหลืออยู่บ้างแต่ก็มีต้นทุนชีวิตที่สูงกว่าปกติ

'เพื่อไทย' อัด 'ประยุทธ์' ปล่อยชาวอุบลฯ จมบาดาลหลายเดือน ฟาก 'อิงค์' เตรียมหอบคณะลุยน้ำให้กำลังใจ 24 ต.ค.นี้

(23 ต.ค.65) น.ส.ชญาภา สินธุไพร รองโฆษกพรรคเพื่อไทย (พท.) กล่าวถึงสถานการณ์น้ำท่วมที่ยังน่ากังวลในหลายพื้นที่ทั่วประเทศในขณะนี้ว่า ปริมาณน้ำท่วมในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ บางพื้นที่น้ำท่วมหนักกว่าปี 2554 และปี 2562 เช่น จ.อุบลราชธานี ประชาชนต้องทนอยู่กับน้ำท่วมนานหลายเดือน บางพื้นที่บ้านเรือนท่วมจมบาดาลมาเกือบ 4 เดือนแล้ว แต่ยังคงไม่ได้รับการช่วยเหลือและเยียวยาจากภาครัฐเท่าที่ควร มีแต่หน่วยงานท้องถิ่นที่ร่วมแก้ปัญหาเฉพาะหน้าตามยถากรรม ซึ่งยังไม่เพียงพอและไม่ทั่วถึงกับวิกฤติการณ์อุทกภัยที่เกิดขึ้น

ทั้งนี้ พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกฯ ไม่ได้มีข้อจำกัดหรือถูกผูกมัดด้วยกฎเหล็กของ กกต.180 วัน เหมือน ส.ส.และพรรคการเมือง พล.อ.ประยุทธ์มีอำนาจสูงสูดของฝ่ายบริหาร สามารถสั่งการเพื่อช่วยเหลือประชาชนได้ทันที แต่กลับกลายเป็นว่าการลงพื้นที่น้ำท่วมของพล.อ.ประยุทธ์เป็นเพียงแค่ไปรับฟังการรายงานจากหน่วยงานเฉพาะหน้าเท่านั้น เป็นนายกฯ ที่มองไม่เห็นปัญหาของประชาชนอย่างแท้จริง ถึงแม้ว่าปัญหาจะกองอยู่ตรงหน้าก็ตาม ไร้มาตรการช่วยเหลือเร่งด่วนจากภาครัฐที่เป็นรูปธรรมจับต้องได้  ปล่อยให้ประชาชนลอยคอรอความช่วยเหลือนับเดือน

น.ส.ชญาภา กล่าวต่อว่า ถึงแม้พรรคพท.จะเป็นฝ่ายค้าน ไม่มีอำนาจบริหารในมือ แต่ที่ผ่านมาพรรคพท.และ ส.ส.ของพรรคก็ไม่เคยนิ่งดูดายต่อความทุกข์ยากของพี่น้องประชาชน โดยเฉพาะในสภาวะที่ยากลำบากแสนสาหัสที่ต้องเผชิญกับปัญหาอุทกภัยในขณะนี้ ที่ผ่านมาพรรคพท.ได้ลงพื้นที่เพื่อติดตามสถานการณ์น้ำท่วมอย่างต่อเนื่องในหลายจังหวัด อีกทั้งยังมีหลายข้อเสนอแนะทั้งในระยะสั้นและระยะยาวให้แก่รัฐบาลมาโดยตลอด เพื่อที่จะนำไปช่วยเหลือแก้ไขปัญหาให้ตรงจุดและทันท่วงที แต่ก็ไม่ได้รับการตอบรับเท่าที่ควร

ทั้งนี้ ในวันที่ 24 ต.ค.น.ส.แพทองธาร ชินวัตร ประธานที่ปรึกษาด้านการมีส่วนร่วมและนวัตกรรม พรรคพท.และหัวหน้าครอบครัวเพื่อไทย นพ.ชลน่าน ศรีแก้ว หัวหน้าพรรค นายประเสริฐ จันทรรวงทอง เลขาธิการพรรค นายเกรียง กัลป์ตินันท์ รองประธานคณะกรรมการยุทธศาสตร์และทิศทางการเมือง พร้อมด้วย ส.ส.อุบลราชธานี จะลงพื้นที่ จ.อุบลราชธานี เพื่อให้กำลังใจและสอบถามรับฟังปัญหาความทุกข์ร้อนของพี่น้องชาวอุบลราชธานีเพิ่มเติม หลังจากที่ก่อนหน้านี้ส.ส.เพื่อไทยได้เคียงข้างร่วมทุกข์กับพี่น้องชาวอุบลราชธานีมาอย่างต่อเนื่อง

‘บิ๊กตู่’ ยันตามติด!! ไม่ปล่อยน้ำท่วมทุ่งนาน พร้อมเทงบ 504 ล้าน ดูแล 16 โครงการ

นายกฯ ยันรัฐบาลไม่ปล่อยน้ำท่วมทุ่ง ระบุไม่นิ่งนอนใจสั่งเร่งระบายน้ำออกทันที พร้อมจัดสรรงบบริหารจัดการในพื้นที่ 16 โครงการ วงเงิน 504 ล้าน

เมื่อ (24 ต.ค. 65) พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรีและ รมว.กลาโหม ภายหลังรับฟังบรรยายสรุปสถานการณ์น้ำท่วมในพื้นที่จังหวัดสิงห์บุรี กล่าวว่า ได้ติดตามสถานการณ์มาโดยตลอด ซึ่งได้กำชับทุกหน่วยงานที่เกี่ยวข้องให้เร่งแก้ปัญหาการระบายน้ำ และรัฐบาลได้ดูแลจัดสรรงบประมาณแผนงาน โครงการบริหารจัดการทรัพยากรน้ำในพื้นที่จังหวัดสิงห์บุรี ปี 65 มีจำนวนโครงการทั้งสิ้น 16 โครงการ วงเงิน 504 ล้านบาท ประชาชนได้รับประโยชน์ 3,476 ครัวเรือน และพื้นที่ได้รับการป้องกัน 6,569 ไร่ ตัวอย่างโครงการ ได้แก่...

1. แก้มลิงลำบางชัน ต.บ้านแป้ง อ.พรหมบุรี (สำนักชลประทาน) 

2. อาคารป้องกันตลิ่งแม่น้ำน้อย ต.ไม้ดัด อ.บางระจัน (สำนักชลประทาน) 

3. ก่อสร้างระบบป้องกันน้ำท่วมพื้นที่ชุมชนเมืองสิงห์บุรี ระยะที่ 2 (กรมโยธาธิการและผังเมือง) 

4. งานวางท่อขยายเขตจำหน่ายน้ำ ต.ม่วงหมู่ อ.เมืองสิงห์บุรี (การประปาส่วนภูมิภาค) โดยได้กำหนดแผนงานร่วมกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ต้องเร่งสำรวจดูแลความเดือดร้อน เพื่อลดและบรรเทาความเดือดร้อนของประชาชนให้เหลือน้อยที่สุด รวมทั้งเร่งระบายน้ำให้เร็วขึ้น เพื่อลดความเสียหายให้กับประชาชน และมีระบบการแจ้งเตือนให้ประชาชนเตรียมความพร้อมให้ทันต่อสถานการณ์ที่จะเกิดขึ้น

เปิด 8 ผลกระทบ ส่งฝนกระหน่ำหนักไทยครึ่งปีหลัง 65 ภายใต้การกู้สถานการณ์เร็ว ลดสูญเสียหนัก จากรบ. 'บิ๊กตู่'

นับตั้งแต่ต้นเดือนสิงหาคมที่ผ่านมา ประเทศไทยได้รับอิทธิพลจากสภาพภูมิอากาศ เกิดร่องมรสุม และพายุอย่างต่อเนื่อง ส่งผลให้มีปริมาณฝนตกเป็นจำนวนมาก สร้างความเดือดร้อนให้แก่พี่น้องประชาชนอย่างต่อเนื่อง 

ส่งผลให้ในปีนี้ประเทศไทยมีสถิติฝนตกสูงมากกว่าปกติ และในบางจังหวัดทุบสถิติฝนตกมากที่สุดในรอบ 30 ปี

ลำดับเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นมีดังนี้...

1. ร่องมรสุมพัดพาดผ่านภาคเหนือและภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ระหว่างวันที่ 2 - 8 สิงหาคม 

ส่งผลให้ฝนตก และฝนตกหนักเป็นบริเวณกว้าง ครอบคลุมทั่วทั้งประเทศไทย หลายพื้นที่ในภาคเหนือ, ตะวันตก, ตะวันออก, ตะวันออกเฉียงเหนือ และภาคใต้ มีปริมาณฝนตกหนักมากกว่า 125  มิลลิเมตร (125 ลิตรต่อตารางเมตร) ในหลายพื้นที่

2. พายุดีเพรสชัน มู่หลาน ระหว่างวันที่ 11 – 13 สิงหาคม

ส่งผลให้ฝนตกเป็นบริเวณกว้าง ครอบคลุมแทบจะทุกภูมิภาคของประเทศไทย พื้นที่ที่ฝนตกอย่างหนักคือจังหวัดน่านตอนบนที่ รองลงมาคือเชียงรายและเชียงใหม่, กาญจนบุรี, สระแก้ว และปราจีนบุรี 

ในหลายพื้นที่มีฝนตกหนักมากกว่า 100 มิลลิเมตร (100 ลิตรต่อตารางเมตร)

3. ร่องมรสุมพัดพาดผ่านภาคเหนือ ระหว่างวันที่ 20 – 22 สิงหาคม

ส่งผลให้ฝนตกเป็นบริเวณกว้าง ครอบคลุมทุกภูมิภาคของประเทศไทย พื้นที่ที่ฝนตกอย่างหนักคือจังหวัดยโสธร, ร้อยเอ็ด, กาฬสินธุ์, น่าน, พังงา และระนอง รองลงมาคือจังหวัด สกลนคร, อุดรธานี, พิษณุโลก, จันทบุรี และตราด 

ในหลายพื้นที่มีฝนตกหนักมากกว่า 100 มิลลิเมตร (100 ลิตรต่อตารางเมตร)

4. พายุดีเพรสชัน หมาอ๊อน ระหว่างวันที่ 24 – 26 สิงหาคม

ส่งผลให้ฝนตกเป็นบริเวณกว้าง ครอบคลุมทุกภูมิภาคของประเทศไทย พื้นที่ที่ฝนตกอย่างหนักคือจังหวัดปราจีนบุรี, ลำปาง, พังงา และภูเก็ต รองลงมาคือจังหวัดลพบุรี, นครสวรรค์, ชัยนาท, สิงห์บุรี และกระบี่ 

ในหลายพื้นที่มีฝนตกหนักมากกว่า 100 มิลลิเมตร (100 ลิตรต่อตารางเมตร)

5. ร่องมรสุมกำลังแรงพัดพาดผ่านภาคเหนือและภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ระหว่างวันที่ 5 – 9 กันยายน

ส่งผลให้ฝนตก และฝนตกหนักเป็นบริเวณกว้าง ครอบคลุมทั่วทั้งประเทศไทย พื้นที่ที่ฝนตกอย่างหนักคือกรุงเทพมหานคร, สมุทรปราการ, ปทุมธานี, ชลบุรี, ระยอง, จันทบุรี, ตราด, เลย, ตาก, นครสวรรค์, พิษณุโลก, ระนอง, พังงา และสุราษฎร์ธานี รองลงมาคือจังหวัดปราจีนบุรี, นครราชสีมา, บุรีรัมย์, มหาสารคาม, เชียงใหม่, เชียงราย และ กำแพงเพชร

บางพื้นที่มีปริมาณฝนตกหนักมากกว่า 200 มิลลิเมตร (200 ลิตรต่อตารางเมตร)

6. ร่องมรสุมพัดพาดผ่านภาคเหนือ ภาคกลางและภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ระหว่างวันที่ 6 – 11 กันยายน

ส่งผลให้ฝนตก และฝนตกหนักเป็นบริเวณกว้าง ครอบคลุมทั่วทั้งประเทศไทย พื้นที่ที่ฝนตกอย่างหนักคือกรุงเทพมหานคร, สมุทรปราการ, ปทุมธานี, ชลบุรี, ระยอง, จันทบุรี, ตราด, สระแก้ว, ปราจีนบุรี, นครราชสีมา, เลย, อุดรธานี, หนองบัวลำภู, อุตรดิตถ์, พิษณุโลก, นครสวรรค์, เชียงใหม่, เชียงราย, แม่ฮ่องสอน, ลำพูน, ลำปาง, ระนอง และพังงา

บางพื้นที่มีปริมาณฝนตกหนักมากกว่า 300 มิลลิเมตร (300 ลิตรต่อตารางเมตร)

7. พายุดีเพรสชัน โนรู ระหว่างวันที่ 28 – 30 กันยายน

ส่งผลให้ฝนตก และฝนตกหนักเป็นบริเวณกว้าง ครอบคลุมทั่วทั้งประเทศไทย พื้นที่ที่ฝนตกอย่างหนักคือจังหวัดอุบลราชธานี, อำนาจเจริญ, ยโสธร, ศรีสะเกษ, สุรินทร์, บุรีรัมย์, นครสวรรค์, เพชรบูรณ์, ลพบุรี, ระนอง, พังงา. สุราษฎร์ธานี และสตูล รองลงมาคือจังหวัดเลย, อุดรธานี, ตาก และชุมพร


TRENDING
© Copyright 2021, All rights reserved. THE STATES TIMES
Take Me Top