Monday, 20 May 2024
จีน

สหรัฐฯ เดือด!! ปูติน เปิดทำเนียบรับ ‘หวังอี้’ พร้อมชวน ‘สีจิ้นผิง’ เยือนยกระดับความสัมพันธ์

ท่ามกลางความตึงเครียดในสงครามรัสเซีย-ยูเครน แต่นโยบายด้านการต่างประเทศก็ยังต้องดำเนินต่อไป ซึ่งวันนี้ (23 ก.พ.66) วลาดิมีร์ ปูติน ผู้นำรัสเซีย ได้เปิดทำเนียบต้อนรับ หวัง อี้ รัฐมนตรีต่างประเทศจากจีน ที่ได้มาเยือนกรุงมอสโก ก่อนวันครบรอบ 1 ปี วันเริ่มต้นปฏิบัติการทางทหารของรัสเซียในยูเครนเพียงวันเดียว สะท้อนให้เห็นถึงความสัมพันธ์ที่แน่นแฟ้นระหว่าง จีน และ รัสเซีย ยังคงเดิม ไม่เปลี่ยนแปลง

โดย นาย หวัง อี้ รัฐมนตรีต่างประเทศจีนได้กล่าวกับปูติน ว่า จีน และ รัสเซีย พร้อมที่จะยกระดับความร่วมมือเชิงยุทธศาสตร์ และ เชิงพาณิชย์ให้มากขึ้นกว่าเดิม และคาดหวังว่าจะได้ฉันทามติในข้อตกลงใหม่ๆ เพิ่มขึ้นอีกในอนาคต

ด้าน ปูติน ผู้นำรัสเซีย ได้กล่าวกับตัวแทนจากจีนว่า ความร่วมมือด้านการค้าระดับทวิภาคีของทั้ง 2 ประเทศ ได้ผลลัพธ์ที่ดีเกินคาดมาก ทำรายได้โตขึ้นถึงเกือบ 2 แสนล้านเหรียญ คาดว่าน่าจะโตกว่าปีที่ผ่านมาที่ 1.85 แสนล้านเหรียญอย่างแน่นอน 

นอกจากนี้ ปูติน ยังกล่าวกับ หวัง อี้ อีกด้วยว่า ทางรัฐบาลรัสเซียรอคอยการมาเยือนของผู้นำจีน ที่เคยมีกระแสข่าวว่ามีแผนการเยือนรัสเซียในเร็วๆนี้ เพื่อหารือข้อตกลงใหม่ๆ โดยย้ำว่าข้อตกลงที่ผ่านมาล้วนคืบหน้าไปด้วยดี และราบรื่น รวมถึงความร่วมมือระหว่างจีน และ รัสเซีย มีความสำคัญอย่างยิ่งในการสร้างเสถียรภาพในสถานการณ์ของโลกในวันนี้ 

หากมองดูให้ดีแล้ว ในรอบสัปดาห์ที่ผ่านมา ความเคลื่อนไหวของผู้นำชาติมหาอำนาจอย่าง โจ ไบเดน ประธานาธิบดีสหรัฐ ที่ได้เดินทางไปเยือนกรุงเคียฟแบบ Surprise Visit เป็นการตอกย้ำบทบาทของสหรัฐฯ ในสงครามรัสเซีย-ยูเครน ขณะที่ หวัง อี้ รัฐมนตรีต่างประเทศจีน ซึ่งได้มาเยือนกรุงมอสโก ก็สร้างความวิตกกังวลกับนานาชาติว่า ความขัดแย้งจะเพิ่มดีกรีให้ร้อนแรงขึ้นจนเลยขีดความสงครามเย็น จนกลายเป็นสงครามโลกหรือไม่ 

นี่ยังไม่นับความสัมพันธ์ระหว่างสหรัฐฯ และ จีน ซึ่งเข้าสู่ภาวะตึงเครียดอีกครั้ง จากกรณีพบบอลลูนสัญชาติจีนเหนือน่านฟ้าสหรัฐฯ 

เกี่ยวกับกรณีนี้ นายแอนโทนี บลิงเคน รัฐมนตรีต่างประเทศสหรัฐฯ ได้ออกมาให้สัมภาษณ์ผ่านสื่อว่า จีนกำลังเตรียมที่จะส่งอาวุธสนับสนุนให้กับฝ่ายรัสเซีย เพื่อใช้ในการสู้รบที่ยูเครน ตามมาด้วยคำขู่ของ โวโลดิมีร์ เซเลนสกี ผู้นำยูเครนที่ออกมาโจมตีว่า เมื่อใดก็ตามที่จีนส่งอาวุธสนับสนุนรัสเซีย จะเป็นจุดเริ่มต้นของสงครามโลกครั้งที่ 3 และรัสเซียจะเป็นฝ่ายพ่ายแพ้

‘เซเลนสกี’ ผู้นำยูเครน เผย อยากพบ ‘สี จิ้นผิง’ หารือช่วยเจราสงบศึก หวัง จีนไม่ส่งอาวุธช่วย ‘รัสเซีย’

(25 ก.พ. 66) ‘ประธานาธิบดี โวโลดิมีร์ เซเลนสกี’ แห่งยูเครนประกาศวานนี้ (24 ก.พ.) ว่า อยากจะพบ’ประธานาธิบดี สี จิ้นผิง’ ของจีน หลังปักกิ่งออกมาเสนอ ‘แผนสันติภาพ 12 ข้อ’ เพื่อนำไปสู่การยุติสงครามยูเครนโดยด่วน

“ผมมีแผนที่จะพบกับ สี จิ้นผิง” เขาให้สัมภาษณ์สื่อที่กรุงเคียฟในวาระครบรอบ 1 ปีที่สงครามรัสเซีย-ยูเครน พร้อมย้ำว่าที่ผ่านมาตนพยายามอย่างยิ่ง ที่จะขัดขวางไม่ให้จีนส่งอาวุธช่วยรัสเซีย เพราะอาจนำไปสู่ ‘สงครามโลกครั้งที่ 3’ ได้

“มันสำคัญอย่างยิ่งต่อความมั่นคงของโลก” เซเลนสกี กล่าว

ผู้นำยูเครนไม่ได้เอ่ยชัดเจนว่าจะพบกับ สี ที่ไหนและเมื่อไหร่ แต่แสดงความคาดหวังให้ปักกิ่งช่วยสนับสนุนยูเครน และ ‘สันติภาพที่เป็นธรรม’ (just peace)

“ผมอยากจะเชื่อจริง ๆ ว่า จีนจะไม่ส่งอาวุธให้รัสเซีย นี่เป็นเรื่องสำคัญมากสำหรับผม” เขากล่าว

เซเลนสกี ยังระบุด้วยว่า ตนเชื่อว่าประเทศที่ถูกรุกรานเท่านั้นที่มีสิทธิ ‘เสนอแผนริเริ่มเพื่อสันติภาพ’

กระทรวงการต่างประเทศจีนได้เผยแพร่แผน 12 ข้อ เพื่อยุติสงครามและฟื้นฟูสันติภาพในยูเครน แต่ปรากฏว่า โดนชาติตะวันตกวิจารณ์แหลก ว่าเป็นข้อเสนอที่เอื้อประโยชน์ให้รัสเซียมากกว่า แถมยังส่งสัญญาณปรามปักกิ่งว่า อย่าได้ส่งอาวุธให้มอสโกเป็นอันขาด

สำหรับแผนสันติภาพที่กระทรวงการต่างประเทศจีน เผยแพร่เมื่อเช้าวันศุกร์ (24 ก.พ.) มีใจความสำคัญเรียกร้องให้ทุกฝ่ายที่เกี่ยวข้องหยุดกระพือความขัดแย้งและความตึงเครียด เพื่อไม่ให้สงครามยูเครนทวีความรุนแรงหรือลุกลามจนไม่อาจควบคุมได้ โดยรายละเอียดของแผนทั้ง 12 ประการ มีดังต่อไปนี้

พญามังกรจัดเต็ม!! จีน อัดงบฯกลาโหม ปีนี้ 1.55 ล้านล้านหยวน เตรียมพร้อมต้านภัยคุกคามจาก "ภายนอก"

สำนักข่าวเอเอฟพีรายงานว่า จีนประกาศจะเพิ่มงบประมาณด้านกลาโหมอีก 7.2% ในปี 2566 สูงขึ้นเล็กน้อยจาก 7.1% ในปีที่แล้ว โดยนายกรัฐมนตรีหลี่ เค่อเฉียง เตือนถึงภัยคุกคาม "ภายนอก" ที่เพิ่มมากขึ้นต่อการผงาดขึ้นของปักกิ่ง

รายงานของกระทรวงการคลังจีนที่เผยแพร่นอกรอบการประชุมประจำปีของสภาประชาชนแห่งชาติจีน (NPC) ในวันนี้เปิดเผยว่า รัฐบาลจีนจะจัดสรรเงิน 1.55 ล้านล้านหยวน (2.25 แสนล้านดอลลาร์) สำหรับการใช้จ่ายด้านกลาโหมในปีนี้ ซึ่งเป็นการเพิ่มงบประมาณในอัตราที่สูงกว่าเป้าหมายการเติบโตของ GDP ในปีนี้ที่ 5%

เป็นที่น่าสังเกตว่างบประมาณทางทหารของจีนนั้นมากเป็นอันดับ 2 ของโลกรองจากสหรัฐ โดยปีที่แล้วจีนใช้เงินด้านกลาโหมไป 1.45 ล้านล้านหยวน (2.10 แสนล้านดอลลาร์) อย่างไรก็ตาม นักวิเคราะห์ในต่างประเทศหลายคนเชื่อว่าจริง ๆ แล้วจีนอาจใช้จ่ายเงินมากกว่าตัวเลขที่ประกาศอย่างเป็นทางการ ถึงกระนั้น งบประมาณด้านกลาโหมของจีนก็ยังคงน้อยกว่าของสหรัฐอย่างมาก โดยสหรัฐได้จัดสรรงบประมาณกว่า 8 แสนล้านดอลลาร์สำหรับการทหารในปีนี้
.
ในช่วงไม่กี่ปีที่ผ่านมา จีนได้ทุ่มเงินหลายพันล้านดอลลาร์เพื่อปรับปรุงการป้องกันประเทศให้ทันสมัย โดยมีเป้าหมายที่จะเปลี่ยนกองทัพขนาดมหึมาให้กลายเป็นกองกำลังระดับโลกทัดเทียมกับสหรัฐและชาติมหาอำนาจตะวันตกอื่น ๆ ได้ อย่างไรก็ตาม ความตึงเครียดทางทหารระหว่างจีนกับสหรัฐได้เพิ่มสูงขึ้นในปีที่ผ่านมา โดยเฉพาะอย่างยิ่งในกรณีของไต้หวัน

นายกฯ หลี่ เค่อเฉียง กล่าวสุนทรพจน์นำเสนอรายงานการทำงานของรัฐบาลในวันนี้ โดยเตือนว่า "ความพยายามจากภายนอกที่จะปราบปรามและควบคุมจีนกำลังบานปลาย" พร้อมเน้นย้ำว่ากองทัพจำเป็นต้องฝึกฝนและเตรียมความพร้อมทางทหารให้เข้มข้นขึ้น ทุ่มเทเรี่ยวแรงมากขึ้นในการฝึกภายใต้เงื่อนไขการสู้รบ และเสริมความแข็งแกร่งให้กับงานทางทหารในทุกทิศทุกด้าน


 

‘หลี่ เฉียง’ จ่อนั่งนายกฯ จีน แทน ‘หลี่ เค่อเฉียง’ เชื่อ!! ‘ผลงาน-แนวคิด’ โดนใจ ‘ท่านผู้นำจีน’

(7 มี.ค. 66) ปักกิ่ง (เอเอฟพี/รอยเตอร์ส/ซีซีทีวี) - จีนเตรียมตั้งนายหลี่ เฉียง ขึ้นดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรีแทนที่ หลี่ เค่อเฉียง ในการประชุมสภาผู้แทนประชาชนแห่งชาติที่กำลังดำเนินการอยู่ในขณะนี้

สื่อต่างประเทศและสื่อของรัฐบาลจีนรายงานว่า จีนเตรียมแต่งตั้งหลี่ เฉียง วัย 63 ปี คนสนิทของประธานาธิบดีสี จิ้นผิง ขึ้นดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรีของจีนอย่างเป็นทางการ แทนที่ หลี่ เค่อเฉียง ในระหว่างการประชุมสภาผู้แทนประชาชนแห่งชาติ หรือเอ็นพีซี ที่กำลังดำเนินการอยู่ในขณะนี้ มีข้อมูลว่า นายกรัฐมนตรีหลี่ เค่อเฉียง ที่ดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรีคนปัจจุบันได้รับการยอมรับว่าเป็นผู้เชี่ยวชาญทางด้านการปฏิรูปตลาด เริ่มถูกจำกัดบทบาท หลังจากที่นายสี จิ้นผิง กระชับอำนาจและเข้ามาจัดการด้านเศรษฐกิจ

‘รมว.กต.จีน’ ชี้!! สหรัฐฯ สกัดกั้นจีนไม่ได้ช่วยอะไร เตือน หากไม่เหยียบเบรก ระวังพลิกคว่ำ ตกราง

(7 มี.ค. 66) นายฉิน กัง รัฐมนตรีต่างประเทศจีน ซึ่งเป็นอดีตเอกอัครราชทูตจีนประจำสหรัฐอเมริกา ก่อนได้รับการแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งล่าสุดนี้ กล่าวว่า ความสัมพันธ์จีน-สหรัฐฯ เบี่ยงเบนไปอย่างร้ายแรง พร้อมเตือนถึงความขัดแย้งที่อาจเกิดขึ้นตามมา

“การสกัดกั้นและปราบปรามจีน ไม่ได้ทำให้สหรัฐฯ ยิ่งใหญ่ และไม่อาจหยุดยั้งการฟื้นคืนพลังกลับขึ้นมาใหม่ของจีนได้” นายฉินกล่าว ระหว่างการแถลงข่าวอย่างเป็นทางการครั้งแรก ในฐานะรัฐมนตรีต่างประเทศจีนคนใหม่

เมื่อถูกถามว่า ความสัมพันธ์ที่ดีระหว่างจีน-สหรัฐฯ ยังคงเป็นไปได้หรือไม่ ท่ามกลางความแตกต่างที่เพิ่มมากขึ้นระหว่างสองประเทศ นายฉินกล่าวว่า สหรัฐฯ ถือว่าจีนเป็นคู่แข่งหลักและเป็นความท้าทายทางภูมิรัฐศาสตร์ที่มากที่สุด แต่นี่ไม่ต่างจากการติดกระดุมเม็ดแรกผิด

“สหรัฐฯ เรียกร้องให้มีการสร้างแนวป้องกัน แต่สิ่งที่สหรัฐฯ ต้องการจริง ๆ คือ ไม่ต้องการให้จีนตอบโต้ด้วยคำพูดหรือด้วยการกระทำเมื่อถูกยั่วยุ” นายฉินกล่าว โดยอ้างถึงการแสดงความเห็นของประธานาธิบดีโจ ไบเดน ของสหรัฐฯ เมื่อเดือนก่อนที่ว่า สหรัฐฯ จะแข่งขันอย่างเต็มที่กับจีน แต่ไม่ได้จะมองหาความขัดแย้ง

รัฐมนตรีต่างประเทศจีนกล่าวว่า หากสหรัฐฯ ไม่เหยียบเบรก และยังคงร้องคำรามไปตามเส้นทางที่ผิด ราวกั้นเท่าใดก็ไม่สามารถหยุดยั้งไม่ให้ตกรางและเกิดพลิกคว่ำได้ มันจะต้องเกิดความขัดแย้งและการเผชิญหน้า ใครจะเป็นผู้แบกรับหายนะที่จะเกิดขึ้นตามมา

สารพัดข้ออ้าง!! 'เยอรมนี' อ้างเหตุภัยไซเบอร์ ขอเดินตามเกมสหรัฐฯ ร่วมแบนเทคโนโลยี 5G ของ Huawei และ ZTE

กลายเป็นประเด็นร้อนขึ้นมาทันที เมื่อสำนักข่าว Zeit Online ของเยอรมนีเปิดเผยว่า ทางรัฐบาลเยอรมนี ภายใต้การนำของนายกรัฐมนตรี โอลาฟ ซอลซ์ มีแผนที่จะประกาศห้ามใช้อุปกรณ์เทคโนโลยี 5G ของบริษัทผู้ผลิต Huawei และ ZTE ของจีน ตามชาติพันธมิตรอย่าง สหรัฐอเมริกา, อังกฤษ, ออสเตรเลีย และญี่ปุ่น 

โดยได้อ้างมติที่พิจารณาร่วมกันระหว่างเจ้าหน้าที่ของกระทรวงมหาดไทย และหน่วยด้านความมั่นคงทางไซเบอร์ของเยอรมนีที่หารือกันมานานหลายเดือน จนได้ข้อสรุปให้ระงับสัญญาการติดตั้งอุปกรณ์เครือข่ายเทคโนโลยี 5G สัญชาติจีน ด้วยเหตุผลด้านภัยคุกคามความมั่นคงทางไซเบอร์ และความปลอดภัยทางข้อมูลของผู้ใช้งาน 

แต่เหตุผลหลักคือ ความสัมพันธ์ระหว่างบริษัทสัญชาติจีนทั้ง 2 แห่งกับรัฐบาลปักกิ่ง ที่สร้างความไม่ไว้วางใจให้กับมหาอำนาจตะวันตก ที่มองว่าไม่เหมาะสมที่จะใช้เป็นเครือข่ายการคมนาคมยุคใหม่ในประเทศ

ก่อนหน้านี้รัฐบาลได้ตอบตกลงในการติดตั้งระบบเครือข่าย 5G ของบริษัทจีนในประเทศไปแล้วบางส่วน และหากรายงานข่าวของสื่อเยอรมันเป็นความจริง ก็จะครอบคลุมถึงระบบอุปกรณ์ที่ได้ติดตั้งไปแล้วด้วย ที่ต้องรื้อถอนออกไป ซึ่งสร้างความไม่พอใจอย่างมากให้แก่รัฐบาลจีน

นายเซียง ลี่กัง ผู้อำนวยการสำนัก Information Consumption Alliance ในกรุงปักกิ่งกล่าวว่า จนถึงตอนนี้ ยังไม่มีการยืนยันกับทางจีนว่าข่าวนี้เป็นจริงหรือไม่ แต่ถ้าเยอรมนียืนกรานที่จะแบนอุปกรณ์เทคโนโลยี 5G ของจีนจริง จะสร้างผลเสียให้เยอรมนีมากกว่า

เพราะจากข้อมูลของสำนักสำรวจ Strand Consult พบว่าบริษัทเทเลคอมของเยอรมันในคลื่นสัญญาณ 5G จากอุปกรณ์ของ Huawei แล้วถึง 59% แซงหน้าระบบเก่า 4G ที่ใช้อยู่ 57% ไปแล้ว 

และหากต้องรื้อถอนระบบที่ติดตั้งไปแล้วของบริษัทจีน เพื่อวางระบบใหม่หมด รัฐบาลเยอรมนีต้องเสียค่าใช้จ่ายอีกหลายพันล้านยูโรโดยไม่จำเป็น และฟันธงได้เลยว่าไม่มีทางหาผู้รับเหมาประเทศไหนสามารถวางระบบได้ในราคาที่จีนเสนอให้แน่นอน 
 

พลิกชีวิตผู้พิการ ‘จีน’ ลุยพัฒนา นวัตกรรมสุดล้ำ ‘ชุดไอรอนแมน’  เทคโนโลยีช่วยผู้พิการอัมพาต ให้เดินได้อีกครั้ง

เฉิงตู, 8 มี.ค. (ซินหัว) — หลินหาน ชายหนุ่มผู้ป่วยพิการอัมพาตท่อนขา สามารถลุกขึ้นยืนเดินเหินและทำกิจกรรมต่าง ๆ อาทิ เดินขึ้นลงบันไดได้เหมือนคนปกติ หลังสวมใส่หุ่นยนต์โครงกระดูกภายนอก (Exoskeleton) ที่ได้รับการพัฒนาขึ้นโดยมหาวิทยาลัยวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีอิเล็กทรอนิกส์แห่งประเทศจีน ในนครเฉิงตู เมืองเอกของมณฑลซื่อชวน (เสฉวน) ทางตะวันตกเฉียงใต้ของจีน ทำให้เขากลายเป็น ‘ไอรอนแมน’ ในชีวิตจริง

สหพันธ์วอลเลย์ฯ เผย ‘จีน’ เตรียมเป็นเจ้าภาพรอบคัดเลือก การแข่งขัน ‘วอลเลย์บอล โอลิมปิก’ ในเดือน ก.ย. นี้

เมื่อวานนี้ (8 มี.ค. 66) สำนักข่าวซินหัว รายงานว่า สหพันธ์วอลเลย์บอลนานาชาติ (FIVB) ประกาศว่าจีนและประเทศอื่นๆ อีก 3 แห่ง จะเป็นเจ้าภาพจัดการแข่งขันวอลเลย์บอล โอลิมปิก รอบคัดเลือก ในเดือนกันยายนนี้

เจ้าภาพการแข่งขันวอลเลย์บอลหญิง รอบคัดเลือก ระหว่างวันที่ 16-24 ก.ย. ได้แก่ จีน ญี่ปุ่น และโปแลนด์ ขณะเจ้าภาพการแข่งขันวอลเลย์บอลชาย รอบคัดเลือก ระหว่างวันที่ 30 ก.ย.-8 ต.ค. ได้แก่ จีน ญี่ปุ่น และบราซิล

ส่วนพิธีจับฉลากแบ่งสายสำหรับการแข่งขันรอบคัดเลือกของสหพันธ์ฯ จะจัดขึ้นที่เมืองโลซานน์ของสวิตเซอร์แลนด์ วันที่ 17 มี.ค. นี้

รักชาติผิดตรงไหน? ตัดชื่อพระเอก 'ยิปมัน' ออกจากผู้ประกาศออสการ์ เหตุ 'รักชาติ-หนุนรัฐบาลจีน' แบบออกนอกหน้า

รักชาติ ผิดตรงไหน? ผิด!! ถ้าชาตินั้น คือ ชาติจีน

ไม่นานมานี้ ได้มีเหตุการณ์การระดมรายชื่อ 8.4 หมื่นคน เพื่อร้องเรียน 'ออสการ์' (Oscars) ให้ถอด 'เจินจื่อตัน' (ชื่อฝรั่ง 'ดอนนี่ เยน') ผู้โด่งดังจากบท 'ยิปมัน' อาจารย์บรู๊ซ ลี (ภาษาฮ่องกง เรียก 'หยิบหมั่น' / จีนกลางเรียก 'เยี่ยเวิ่น') ว่า...

ช้าก่อน อย่าเพิ่งนึกว่าเป็นฝรั่ง ตัวตั้งตัวตี คือ คนฮ่องกง!!

โดยปกติแล้ว งานออสการ์จะมีการประกาศรายชื่อพรีเซนเตอร์ออกมาล่วงหน้า ซึ่งพวกเขาจะมีหน้าที่ตั้งแต่ประกาศรางวัล แนะนำการแสดงต่าง ๆ ไปจนถึงแนะนำผลงานของตัวเอง และในปีนี้ก็มีมากมายหลายคน อาทิ ฮัลลี เบลีย์, อลิซาเบธ แบงค์, แอนดรูว การ์ฟิลด์, ฟลอเรนซ์ พิวจ์ และ ฮิวจ์ แกรนด์

แต่ปัญหาคือ หนึ่งในนั้นกลับมีชื่อ 'ดอนนี่ เยน' ที่เคยแสดงจุดยืนสนับสนุนรัฐบาลจีนจากคำพูดของเขาที่เอ่ยถึงการประท้วงในฮ่องกงเมื่อปี 2019 ว่า เป็นการ “ละเมิดเจตนารมณ์ของเสรีภาพในการพูด” จนทำให้มีการแห่ลงชื่อเพื่อเรียกร้องให้มีการถอดเขาออกจากการเป็นพรีเซนเตอร์หลายหมื่นคน

โดยมี ทงไวฮุง นักกิจกรรมชาวฮ่องกงผู้สร้างแคมเปญดังกล่าวอ้างว่า การที่อคาเดมีเชิญเยนให้รับหน้าที่เป็นพรีเซนเตอร์งานออสการ์ปีนี้ เป็นการ “ดูหมิ่นชาวฮ่องกง” และการปรากฏตัวของเขาในงานจะเป็นการ “ทำลายภาพลักษณ์และชื่อเสียงของอุตสาหกรรมภาพยนตร์”

ทงยังบอกอีกว่า “เยนแสดงออกอย่างชัดเจนว่าเขาต้องการใช้ภาพยนตร์เป็นสื่อที่บอกเล่าเรื่องราวเชิงบวกของจีนและฮ่องกง เขากำลังฟอกขาวให้กับระบอบการปกครองของจีน" และจากการออกมาเคลื่อนไหวในครั้งนี้ จึงทำให้มีผู้ลงชื่อสนับสนุนบน Change.org มากกว่า 8 หมื่นคนแล้ว

สรุปแล้ว นักเคลื่อนไหวฮ่องกงและสาวก ตั้งข้อหาว่า เยน หลู่เกียรติชาวฮ่องกง และการเฉิดฉายของเขาบนเวทีออสการ์ จะทำลายภาพลักษณ์ รวมถึงชื่อเสียงของอุตสาหกรรมภาพยนตร์ ทำให้ออสการ์เสื่อมสี แปดเปื้อนมลทิน ทำนองนั้น

แต่โดยแท้จริงแล้ว เพราะเขาเห็นว่า เยน มักมีความเห็นแย้งกับผู้ประท้วงฮ่องกง และมีการแสดงออกชัดเจน อีกทั้งเขามีสายสัมพันธ์แนบแน่นกับพรรคคอมมิวนิสต์จีน ซึ่งต้นเดือนนี้ ก็เพิ่งปรากฏกายในงานประชุมใหญ่ประจำปีของพรรค
 

พญามังกรผงาด 'สี จิ้นผิง' นั่ง 'ประธานาธิบดีจีน สมัยที่ 3' อย่างเป็นทางการ พ่วง ปธ.กรรมาธิการทหารกลางของจีนอีกหนึ่งสมัย

ปักกิ่ง, (10 มี.ค.66) (ซินหัว) — วันศุกร์ (10 มี.ค.) สีจิ้นผิง ได้รับเลือกตั้งเป็นประธานาธิบดีแห่งสาธารณรัฐประชาชนจีน (PRC) และประธานคณะกรรมาธิการการทหารส่วนกลาง (CMC) อย่างเป็นเอกฉันท์ ณ การประชุมสภาผู้แทนประชาชนแห่งชาติจีน (NPC) ชุดที่ 14 ซึ่งกำลังดำเนินการประชุมอยู่ในปัจจุบัน
 


TRENDING
© Copyright 2021, All rights reserved. THE STATES TIMES
Take Me Top