Monday, 6 May 2024
กรุงเทพ

กรุงเทพมิติใหม่!! ส่องวิสัยทัศน์ 'ผู้สมัคร สก.’ | Click on Clear THE TOPIC EP.188

📌สัมผัสกรุงเทพฯ จากมุม ‘ผู้สมัคร ส.ก.’ ไปกับ! ‘ดร.อนันตชาติ บัวสุวรรณ’ ผู้สมัคร ส.ก. เขตจตุจักร!

📌 ใน Topic : กรุงเทพมิติใหม่!! ส่องวิสัยทัศน์ 'ผู้สมัคร สก.’ !

ในรายการ Click on Clear THE TOPIC จับประเด็น เน้นความรู้

ดำเนินรายการโดย ปริม กุญชนิตา กุญชร ณ อยุธยา PROGRAM DIRECTOR THE STATES TIMES

.

.

กรุงเทพมิติใหม่!! ส่องวิสัยทัศน์ 'ผู้สมัคร สก.’ ! | Click on Clear THE TOPIC EP.189

📌สัมผัสกรุงเทพฯ จากมุม ‘ผู้สมัคร ส.ก.’ ไปกับ! ‘นที ศิริธรรมวัฒน์’ ผู้สมัคร ส.ก. เขตพญาไท และ ‘อรไพลิน อัครเลิศวรปรีชา’ ผู้สมัคร ส.ก. เขตบางกอกใหญ่ พรรคกล้า!

📌 ใน Topic : กรุงเทพมิติใหม่!! ส่องวิสัยทัศน์ 'ผู้สมัคร สก.’ !

ในรายการ Click on Clear THE TOPIC จับประเด็น เน้นความรู้

ดำเนินรายการโดย ปริม กุญชนิตา กุญชร ณ อยุธยา PROGRAM DIRECTOR THE STATES TIMES

.

.

หั่นงบโปรโมตรัฐ!! ‘วิโรจน์’ ชี้ รัฐสวัสดิการที่ดีทำได้ เพียงแบ่งเค้กเท่าเทียม แนะ หั่นงบ PR รัฐ เพิ่มขนาดเค้ก กทม.

วิโรจน์ชี้ สร้างรัฐสวัสดิการที่ดีทำได้จริง ไม่ใช่แค่เพิ่มขนาดเค้ก แต่ต้องแบ่งเค้กเท่าเทียม ปกป้องเค้กของประชาชนไม่ให้มือดีแอบกิน พร้อมเสนอ 5 นโยบายทำได้ทันทีเพื่อเพิ่มขนาดเค้ก กทม. รวมถึงการตัดงบ PR ภาครัฐ ซึ่งใช้เงินมหาศาลโดยประชาชนไม่ได้ประโยชน์ 

วิโรจน์ ลักขณาอดิศร ผู้สัครผู้ว่าฯ กรุงเทพ เบอร์ 1 พรรคก้าวไกล โพสต์เฟซบุ๊กถึงกรณีที่กำลังเป็นที่วิพากษ์วิจารณ์กันอย่างกว้างขวางในโซเชียลมีเดีย ว่าด้วยการจัดทำรัฐสวัสดิการที่ดี ต้องเพิ่มขนาดเค้ก หรือขนาดรายได้ของรัฐก่อน โดยวิโรจน์ยืนยันว่าการเพิ่มขนาดเค้กเพียงอย่างเดียวไม่เพียงพอ แต่ต้องแบ่งเค้กอย่างเป็นธรรม และปกป้องเค้กของประชาชนไม่ให้ถูกเบียดบัง มิฉะนั้นต่อให้เค้กก้อนใหญ่ขึ้นแค่ไหน ประชาชนก็จะไม่ได้รับผลประโยชน์ 

“หากเราไม่สนใจที่จะจัดสรรอย่างเป็นธรรม ไม่ว่าเค้กจะใหญ่ขึ้นสักเท่าใดคนที่ได้รับประโยชน์ก็จะไม่ใช่ประชาชนอยู่ดี และอันที่จริง เค้กของประเทศไทยไม่ใช่ว่าจะไม่ใหญ่ขึ้น แม้ GDP ไทยจะโตช้ากว่าเพื่อนบ้าน แต่ก็โตทุกปี แต่ในขณะที่เค้กใหญ่ขึ้น คนจนกลับจนลง คนรวยกลับยิ่งรวย จนประเทศไทยกลายเป็นหนึ่งในประเทศที่เหลื่อมล้ำที่สุดในโลก การจัดสรรอย่างเป็นธรรมจึงต้องทำทันที ไม่จำเป็นต้องรอให้เค้กใหญ่ขึ้นก่อนแล้วค่อยจัดสรร” วิโรจน์กล่าว

วิโรจน์ยังเสนออีกว่า หากเปรียบงบประมาณทั้งหมดเป็น เค้ก 1 ก้อน เพื่อสร้างรัฐสวัสดิการ เพื่อสร้างเมืองที่คนเท่ากัน มี 3 สิ่งที่ต้องทำไปพร้อมกัน ได้แก่

1. ปกป้องเค้กของประชาชน มีตัวอย่างมากมายที่เค้กถูกตัดไปใช้ในโครงการที่ประชาชนแทบไม่ได้ประโยชน์ หนักไปกว่านั้นคือมีคนแอบกินเค้ก จากที่เล็กแทบจะไม่พออยู่แล้วก็ยิ่งเหลือน้อยลงไปอีก แต่เราก็ไม่เคยเห็นผู้ว่าฯ คนไหนลุกขึ้นมาปกป้องเค้กของประชาชน

ต่างเอาหูไปนาเอาตาไปไร่ เพราะคนที่จะมาปาดหน้าหรือแอบกินได้ หากไม่ใช่พวกพ้องที่ต้องคอยเกรงอกเกรงใจแล้ว ก็ต้องเป็นคนใหญ่โต ผู้มีบารมี ไม่ใช่ตาสีตาสา อะไรที่ไม่จำเป็น อะไรที่ฟุ่มเฟือย ผู้ว่าฯ ต้องกล้าหาญพอที่จะตัดทิ้ง รวมถึงการแอบเบียดบังเค้กก็ต้องถูกจัดการให้หมดไป เพื่อรักษาไว้ซึ่งเค้กของประชาชน

2.แบ่งเค้กอย่างเป็นธรรม ไม่ว่าเค้กจะก้อนเล็กหรือใหญ่ มันจะต้องถูกจัดสรรอย่างเป็นธรรมและรัฐสวัสดิการคือหนึ่งในสิ่งที่จะลดความเหลื่อมล้ำและทำให้เกิดความเป็นธรรมมากขึ้นในสังคม

3. ทำให้เค้กก้อนใหญ่ขึ้น หากเราทำข้อ 1 และ 2 ได้ดี เค้กก็จะดูใหญ่ขึ้นโดยอัตโนมัติ เพราะการแบ่งที่เท่าเทียม และการป้องกันไม่ให้ใครมาเบียดบังแอบกินเค้ก

อย่างไรก็ตามด้วยงบประมาณที่มี แม้เราจะสามารถสร้างรัฐสวัสดิการได้ แต่ก็ยังไม่ดีพอเพื่อสร้างรัฐสวัสดิการที่ดีกว่านี้ เราจำเป็นต้องทำให้เค้กใหญ่ขึ้นด้วยเช่นเดียวกัน

วิโรจน์เสนอว่า สำหรับ กทม. สิ่งที่ผู้ว่าฯ สามารถทำได้ทันทีเพื่อให้ได้เค้กก้อนที่ใหญ่ขึ้น ได้แก่การเก็บภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้างและภาษีป้ายให้ครบถ้วน เพราะทุกวันนี้ กทม. ปล่อยให้เจ้าของอสังหาริมทรัพย์ขนาดใหญ่ เจ้าของห้างสรรพสินค้า นายทุนพลังงาน นายทุนทหาร เอาที่ไปล้อมรั้วปลูกกล้วย แยบยลกว่านั้นคือการซอยที่ให้เป็นที่เส้นก๋วยเตี๋ยวหรือที่ตาบอดเพื่อเลี่ยงภาษี ส่วนภาษีป้ายโฆษณา ปัจจุบัน กทม. จัดเก็บเข้าระบบได้เพียง 30-40% เท่านั้น ที่เหลือเป็นป้ายเถื่อนที่ใช้ระบบมาเฟียเส้นสาย ทำกำไรมหาศาลโดยไม่เข้ารัฐ

อีกช่องทางในการเพิ่มรายได้ให้กทม. คือการกำหนดค่าธรรมเนียมขยะใหม่ กทม. มีค่าใช้จ่ายในการจัดการขยะปีละ 7,000 ล้าน (หรือ 12,000 ล้าน หากรวมค่าจ้าง ค่าเสื่อมราคา ค่าซ่อมแซมรถขนส่งขยะ)  ต่เก็บค่าธรรมเนียมจัดการขยะได้เพียง 500-600 ล้านบาทต่อปี วิโรจน์ยืนยันว่ารัฐสามารถขาดทุนเพื่อให้บริการสาธารณะได้ แต่รัฐไม่ควรขาดทุนเพื่อโอบอุ้บนายทุน เพราะเมื่อลงไปดูรายละเอียดเราจะพบว่าเหล่าห้างสรรพสินค้าทั้งหลายที่ผลิตขยะเป็นจำนวนมหาศาลกลับจ่ายค่ากำจัดขยะเพียงเดือนละไม่กี่หมื่นบาทเท่านั้น

ปริญญ์เอฟเฟค! ‘ซูเปอร์โพล’ เผย ‘ปริญญ์เอฟเฟค’ เขย่าศึกชิงเก้าอี้ผู้ว่าฯ กทม. ส่งผลเพิ่มคะแนนนิยม ‘สกลธี-วิโรจน์’ ขณะ ‘ชัชชาติ’ ยังนำ

(17 เม.ย. 65) ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.นพดล กรรณิกา ผู้อำนวยการสำนักวิจัยซูเปอร์โพล (SUPER POLL) เสนอผลสำรวจ เรื่อง ปริญญ์ เอฟเฟค เลือกตั้ง กทม. กรณีศึกษาประชาชนทุกสาขาอาชีพผู้มีสิทธิเลือกตั้งในเขตกรุงเทพมหานครโดยดำเนินโครงการทั้งการวิจัยเชิงปริมาณ และการวิจัยเชิงคุณภาพ จำนวน 1,548 ตัวอย่าง ระหว่างวันที่ 15 – 16 เมษายน 2565 ที่ผ่านมา พบว่าส่วนใหญ่หรือร้อยละ 48.5 ติดตามข่าว เลือกตั้งผู้ว่าฯกทม. มากถึงมากที่สุด ร้อยละ 32.3 ติดตามปานกลาง และร้อยละ 19.2 ติดตาม น้อยถึงไม่ติดตามเลย

เมื่อถามถึง การรับรู้ข่าว นายปริญญ์ พานิชภักดิ์ ของคน กทม. พบว่าส่วนใหญ่หรือร้อยละ 46.3 รับรู้มากถึงมากที่สุด ร้อยละ 31.3 รับรู้ปานกลาง และร้อยละ 22.4 รับรู้น้อย ถึงไม่รู้เลย

ที่น่าพิจารณาคือ ผลกระทบของข่าว นายปริญญ์ พานิชภักดิ์ ต่อการตัดสินใจเลือกตั้งผู้ว่า กทม. หลังจากทดสอบค่านัยสำคัญทางสถิติ พบว่าไม่มีนัยสำคัญทางสถิติ ต่อนายสุชัชวีร์ สุวรรณสวัสดิ์ ผู้สมัครรับเลือกตั้งผู้ว่าฯกทม. ในนามพรรคประชาธิปัตย์ แม้มีค่าติดลบ คือ -.029 ก็ตาม นอกจากนี้ ไม่มีนัยสำคัญต่อผู้สมัครคนอื่นด้วย เช่น พล.ต.อ.อัศวิน ขวัญเมือง แม้ติดค่าลบจากข่าวนายปริญญ์ฯ เช่นกัน คือ -.054 แต่ไม่มีนัยสำคัญทางสถิติ แต่นายชัชชาติ สิทธิพันธุ์ มีค่าเป็นบวก คือ +.054 แต่ไม่มีนัยสำคัญ

ที่น่าสนใจคือ มีผู้สมัครรับเลือกตั้ง ผู้ว่าฯ กทม. สองคนที่ผลการทดสอบ ปริญญ์เอฟเฟค พบว่า มีค่าผลกระทบเป็นบวก และมีนัยสำคัญทางสถิติคือนายสกลธี ภัททิยกุล ได้ +.161 และมีนัยสำคัญทางสถิติกว่าร้อยละ 99 รวมถึงนายวิโรจน์ ลักขณาอดิศร ที่ได้รับผลกระทบในทางบวกคือได้ +.091 และมีนัยสำคัญทางสถิติกว่าร้อยละ 90 ตามลำดับ ส่วนผู้สมัครท่านอื่น ทดสอบผลกระทบของ ปริญญ์ เอฟเฟค แล้ว ไม่มีนัยสำคัญทางสถิติ ความหมายคือ ไม่มีผลกระทบอะไรต่อการตัดสินใจเลือกตั้ง ผู้ว่าฯกทม. ของคน กทม.

เมื่อถามถึง การตัดสินใจเลือกตั้ง ผู้ว่าฯกทม. ของ คน กทม. เปรียบเทียบระหว่าง ครั้งแรก และ ครั้งที่สอง หลังมีการลงสมัครรับเลือกตั้งอย่างเป็นทางการแล้ว พบว่าแนวโน้มคนจะเลือก เพิ่มขึ้นทุกคน แต่อันดับสลับกันอยู่บ้าง กล่าวคือ นายชัชชาติ สิทธิพันธุ์ ยังคงนำเพิ่มจาก ร้อยละ 20.3 ในครั้งที่ 1 มาเป็นร้อยละ 24.5 ในครั้งที่ 2 นายสุชัชวีร์ สุวรรณสวัสดิ์ เพิ่มขึ้นจากร้อยละ 9.8 ในครั้งที่ 1 มาเป็น ร้อยละ 13.9 ในครั้งที่ 2

อัตลักษณ์กรุงเทพฯ คืออะไร? ภูมิปัญญาแบบไหนที่ควรรักษา!! | Click on Clear THE TOPIC EP.197

📌 ‘อัตลักษณ์กรุงเทพฯ’ แบบไหน ที่ต้องคงไว้และรักษา!! พูดคุยไปกับ ‘คุณรสนา โตสิตระกูล’ ผู้สมัครชิงตำแหน่งผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร และคณะอนุกรรมการด้านบริการสาธารณะ พลังงาน และสิ่งแวดล้อม สภาองค์กรของผู้บริโภค
📌ใน Topic : อัตลักษณ์กรุงเทพฯ คืออะไร? ภูมิปัญญาแบบไหนที่ควรรักษา !!

ในรายการ Click on Clear THE TOPIC จับประเด็น เน้นความรู้

ดำเนินรายการโดย ปริม กุญชนิตา กุญชร ณ อยุธยา PROGRAM DIRECTOR THE STATES TIMES

.

.

‘กรุงเทพฯ แบบไหนที่ 'ผม' ต้องการ?’ | Click on Clear THE TOPIC EP.198

🔥Rerun🔥 
📌 ‘กรุงเทพฯ’ ในฝันต้องเป็นแบบไหน? หาคำตอบไปกับ ‘วิโรจน์ ลักขณาอดิศร’ ผู้สมัครผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร ฝีปากกล้าแห่งพรรคก้าวไกล! 
📌ใน Topic : ‘กรุงเทพฯ แบบไหนที่ 'ผม' ต้องการ?’ 

ในรายการ Click on Clear THE TOPIC จับประเด็น เน้นความรู้

ดำเนินรายการโดย ปริม กุญชนิตา กุญชร ณ อยุธยา PROGRAM DIRECTOR THE STATES TIMES

.

.

เปิดใจ ‘สกลธี’ ลงศึกชิงเก้าอี้ ‘ผู้ว่าฯ กทม.' ชู กรุงเทพฯ ที่ดีกว่า!! | Click on Clear THE TOPIC EP.199

🔥Rerun🔥 
📌 ‘กรุงเทพฯ’ จะดีกว่าเดิมได้อย่างไร?! พูดคุยไปกับ ‘สกลธี ภัททิยกุล’ ผู้สมัครรับเลือกตั้งชิงเก้าอี้ผู้ว่าฯกทม.!
📌ใน Topic : เปิดใจ ‘สกลธี’ ลงศึกชิงเก้าอี้ ‘ผู้ว่าฯ กทม.' ชู กรุงเทพฯ ที่ดีกว่า!!

ในรายการ Click on Clear THE TOPIC จับประเด็น เน้นความรู้

ดำเนินรายการโดย ปริม กุญชนิตา กุญชร ณ อยุธยา PROGRAM DIRECTOR THE STATES TIMES

.

.

เปิดใจ ‘เอ้ สุชัชวีร์’ ศึกชิงผู้ว่ากทม.! | Click on Clear THE TOPIC EP.200

🔥Rerun🔥
📌เปิดอกหมดเปลือก!! ไปกับ ‘ศ.ดร.สุชัชวีร์ สุวรรณสวัสดิ์’ ผู้สมัครผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร ในนามพรรคประชาธิปัตย์!!
📌ใน Topic : เปิดใจ ‘เอ้ สุชัชวีร์’ ศึกชิงผู้ว่ากทม.!

ในรายการ Click on Clear THE TOPIC จับประเด็น เน้นความรู้

ดำเนินรายการโดย ปริม กุญชนิตา กุญชร ณ อยุธยา PROGRAM DIRECTOR THE STATES TIMES

.

.

อดีต - ปัจจุบัน มองวิวกรุงเทพ จากมุมเดียวกัน ผ่านห้วงเวลา 100 ปี ณ ยอดภูเขาทอง

วิวกรุงเทพจากภูเขาทอง
มุมเดียวกัน ห่างกัน 100 กว่าปี

ภาพบน
วิวกรุงเทพจากภูเขาทองที่เก่าแก่ที่สุดเท่าที่แอดเคยเห็น
สะพานผ่านฟ้ายังไม่มี
ถนนราชดำเนินยังไม่สร้าง
(ถนนราชดำเนิน เริ่มสร้างปี พ.ศ. 2442)

รออีกไม่นาน!! สะพานข้ามแม่น้ำเจ้าพระยาแห่งใหม่ อลังการคู่ขนานสะพานพระราม 9

รอยลโฉม สะพานข้ามแม่น้ำเจ้าพระยาแห่งใหม่ ที่คู่ขนานสะพานขึงพระราม9

เป็นส่วนหนึ่งของทางด่วนสายพระราม3- ดาวคนอง-วงแหวนรอบนอก 

ที่ตั้งอยู่บนเกาะกลางถนนพระราม 2

กำหนดเปิดใช้งาน พ.ศ. 2567

ถ่ายภาพ 26 มกราคม พ.ศ. 2565


ที่มา : https://web.facebook.com/photo/?fbid=499214318228898&set=a.242244413925891


👍มาหลงกรุงไปด้วยกันได้ที่ : https://thestatestimes.com/tag/หลงกรุง


TRENDING
© Copyright 2021, All rights reserved. THE STATES TIMES
Take Me Top