‘อนุชา’ โชว์ผลงาน ‘ลุงตู่’ ตลอด 4 ปีที่ผ่านมา พาไทยพัฒนารุดหน้า-ก้าวข้ามวิกฤต จนต่างชาติซูฮก

(18 มี.ค. 66) นายอนุชา บูรพชัยศรี ได้พูดถึงผลงานรัฐบาล พล.อ. ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม ตลอดระยะเวลา 4 ปีที่ผ่านมา (พ.ศ.2562-2566) ในรายการคุยนอกเวลากับอนุชา บูรพชัยศรี โดยระบุว่า

การระบาดของโควิด 19 ถือเป็นปัญหาและความท้าทายที่สำคัญของรัฐบาลไทยและรัฐบาลทั่วโลก นับตั้งแต่การแพร่ระบาดในปี 2563 รัฐบาลภายใต้แกนนำของ พล.อ. ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี ได้ผนึกกำลังทุกภาคส่วน เพื่อร่วมมือกันต่อสู้กับวิกฤตครั้งนี้ ตั้งแต่วินาทีแรก ด้วยการควบคุมการแพร่ระบาดให้อยู่ในวงจำกัดแบบ Single command การจัดหาวัคซีนและยารักษาโรค ตลอดจนการช่วยเหลือเยียวยา ฟื้นฟู ผู้ที่ได้รับผลกระทบทุกกลุ่ม ไม่ว่าจะเป็น ผู้ใช้แรงงาน เจ้าของกิจการ ผู้ประกอบการอาชีพอิสระ เกษตรกร และผู้มีรายได้น้อย 

การบริหารจัดการของรัฐบาลไทย ได้รับการยกย่องจากองค์การอนามัยโลกหรือ WHO ให้เป็นต้นแบบของการรับมือกับโควิด 19 ที่ดีที่สุดแห่งหนึ่งของโลก 

โดยประชาชนได้รับวัคซีนในระดับความครอบคลุมสูง ทำให้จำนวนผู้ติดเชื้อลดลงอย่างต่อเนื่อง การตั้งเป้าหมายเชิงรุกให้ประชาชนอยู่กับโควิดได้อย่างปลอดภัยและดำเนินชีวิตได้อย่างเป็นปกติ ประกาศยกเลิกโควิดออกจากการเป็นโรคติดต่ออันตราย ควบคุมไปกับการยกเลิกกฎหมายที่เข้มงวดและเปิดประเทศอย่างเต็มรูปแบบ เพื่อฟื้นฟูเศรษฐกิจ ไม่เพียงเท่านั้นประเทศไทยยังต้องเผชิญกับปัญหาเศรษฐกิจที่มาจากปัจจัยภายนอก 

โดยเฉพาะความขัดแย้งระหว่างรัซเซียและยูเครน ซึ่งส่งผลให้เกิดปัญหาราคาพลังงานเพิ่มสูงขึ้นและมีเงินเฟ้อ รัฐบาลได้เร่งแก้ปัญหาเฉพาะหน้าเพื่อประคับประคอง ให้ทุกกิจกรรมเดินหน้าต่อไปได้ ไม่ว่าจะเป็นเรื่องของการช่วยเหลือผู้ถือบัตรสวัสดิการแห่งรัฐ อุดหนุนเงินโครงการคนละครึ่ง ตึงราคาน้ำมันดีเซล ช่วยเหลือค่้าก๊าซหุงต้ม ค่าน้ำ ค่าไฟ เยียวยาผู้ใช้แรงงานนายจ้างและผู้ประกอบการ การประกันราคาสินค้าเกษตร ส่งเสริมธุรกิจ SME และ Start up ให้เข้าถึงการจัดซื้อจัดจ้างภาครัฐ รวมทั้งกระตุ้นการท่องเที่ยวผ่านโครงการ เราเที่ยวด้วยกัน

รัฐบาลได้สร้างความมั่นใจให้กับประชาชนในประเทศ และตอกย้ำความเชื่อมั่นจากนานาชาติ โดยการเป็นเจ้าภาพจัดการประชุมผู้นำกรอบความร่วมมือทางเศรษฐกิจในภูมิภาคเอเชียแปซิฟิก หรือ APEC 2022 ในช่วงปลายปี 2565 ได้สำเร็จ ราบรื่นและได้รับเสียงชื่นชมเป็นอย่างมาก โดยได้ต้อนรับผู้นำและผู้แทนจาก 21 เขตเศรษฐกิจ แขกพิเศษและสื่อต่างชาติกว่า 4,000 คน ผู้นำเขตเศรษฐกิจได้ร่วมลงนามรับรองเป้าหมายกรุงเทพฯ ว่าด้วยเศรษฐกิจชีวภาพ เศรษฐกิจหมุนเวียน และเศรษฐกิจสีเขียว หรือ BCG Economy เพื่อขับเคลื่อนนโยบายระดับภูมิภาคเอเชียแปซิฟิก ที่มุ่งเน้นการรักษาสิ่งแวดล้อม ควบคู่กับการเติบโตทางเศรษฐกิจ โดยมีการประเมินว่าการประชุมครั้งที่ผ่านมา สร้างเม็ดเงินเข้าสู่ระบบเศรษฐกิจมากถึง 20,000 ล้านบาท ช่วยตอกย้ำบทบาทและยกระดับความเชื่อมันทุกด้านของไทยในเวทีโลก 

และอีกผลงานที่สำคัญ คือ การฟื้นฟูความสัมพันธ์ระหว่าง ไทย-ซาอุดีอาระเบีย ในรอบ 30 ปี ส่งผลให้เกิดความร่วมมืออย่างก้าวกระโดดในทุกมิติ ทั้งด้านการเมือง การค้า การลงทุนแรงงาน การศึกษา การท่องเที่ยว และด้านอื่นๆอีกมากมาย

สิ่งสำคัญอย่างยิ่งในการพลิกโฉมประเทศไทย เพื่อก้าวสู่ศตวรรษที่ 21 และการเป็นประเทศชั้นนำของโลก ก็คือการปฏิรูปกฎหมาย เพื่ออำนวยความสะดวกให้กับประชาชนและทุกภาคส่วนของประเทศ ตลอดจนการลงทุนเพื่ออนาคตอย่างต่อเนื่อง ได้แก่ การพัฒนาโครงสร้างพื้นฐาน ด้านคมนาคมขนส่ง ทั้งทางบก ทางราง ทางน้ำ และทางอากาศ รวมถึงการลงทุนโครงสร้างพื้นฐานดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม การส่งเสริมเศรษฐกิจสร้างสรรค์ การขับเคลื่อนประเทศด้วยนวัตกรรม ผลักดันการพัฒนาเศรษฐกิจในพื้นที่ต่างๆ เช่น EEC การพัฒนาชุมชนสู่เมืองอัจฉริยะ การสร้างเกษตรอัจฉริยะ และการเป็นศูนย์กลางการผลิตยานยนต์ไฟฟ้าที่สำคัญแห่งหนึ่งของโลกในอนาคตอันใกล้ รวมทั้งการลดต้นทุน เพิ่มผลผลิตสินค้าเกษตร ส่งเสริมการขึ้นทะเบียน GI จัดสรรที่ดินทำกิน ส่งเสริมเกษตรแปลงใหญ่แก้ปัญหาความยากจน จัดสวัสดิการชุมชนแก้ไขปัญหาหนี้สิน ผลักดัน Soft Power สู่ระดับโลก และยกระดับอุตสาหกรรมไทยสู่ 12 อุตสาหกรรมแห่งอนาคต 

ด้านความมั่นคง รัฐบาลปกป้อง เชิดชู สถาบันพระมหากษัตริย์ สืบสานรักษาต่อยอดงานตามพระบรมราโชบาย สร้างเครือข่ายความมั่นคงชุมชน ปรับปรุงกฎหมายยาเสพติด เน้นยึดทรัพย์ และทำลายเครือข่าย ปราบปรามการค้ามนุษย์ สร้างตำบลมั่นคง มั่งคั่ง ยั่งยืน ในจังหวัดชายแดนใต้ บริหารจัดการน้ำทั้งระบบ แก้ปัญหาน้ำท่วมน้ำแล้ง 

ด้านสังคม อุดหนุนเงินเด็กแรกเกิด ปฏิรูปการเรียนรู้ทุกระดับเพื่อเตรียมพร้อมสู่ศตวรรษที่ 21 พัฒนาโรงเรียนคุณภาพและจัดทำโครงการ 1 ตำบล 1 มหาวิทยาลัย พัฒนาระบบสาธารณะสุขถูกมิติ สานต่อโครงการการลงทะเบียนเพื่อสวัสดิการแห่งรัฐ จ่ายเงินสวัสดิการสังคมผ่านระบบออนไลน์และปรับเบี้ยความพิการแบบถ้วนหน้า 

ด้านสิ่งแวดล้อม รัฐบาลประกาศเป้าหมายมุ่งสู่การเป็นกลางทางคาร์บอน ภายในปี 2050 และปล่อยก๊าซเรือนกระจกสุทธิเป็นศูนย์ภายในปี 2065 ส่งเสริมเศรษฐกิจภายใต้ BCG Model ฟื้นฟูทรัพยากรธรรมชาติสร้างอุตสาหกรรมพลังงานชีวภาพ ชีวมวล และไฟฟ้า

ด้านการบริหารจัดการภาครัฐ ‘สมัยใหม่’ ยกระดับการให้บริการภาครัฐแบบเบ็ดเสร็จ ทางอิเล็กทรอนิกส์จัดทำบัญชีข้อมูลภาครัฐ พัฒนา Platform Digital ของรัฐ ส่งเสริมระบบธรรมาภิบาลและอำนวยความสะดวก ในการประกอบธุรกิจ สำหรับในระยะยาวรัฐบาลเดินหน้าขับเคลื่อนประเทศตามยุทธศาสตร์ชาติและแผนปฏิรูปประเทศ เพื่อความมั่นคง มั่งคั่ง ยั่งยืน แล้ววางรากฐานการพัฒนาประเทศเพื่ออนาคต ตามแนวทาง 3 แกน คือการผลักดันโครงสร้างพื้นฐานที่ใหญ่ที่สุดและบูรณาการมากที่สุดในประวัติศาสตร์ไทย ส่งเสริมภาคอุตสาหกรรมทั้งหมดให้ต่อเนื่องเชื่อมโยงกัน และการใช้ประโยชน์จากภาคการธนาคาร เพื่อกระตุ้นความมั่งคั่ง รุ่งเรือง 

ตลอด 4 ปีที่ผ่านมา เป็นที่ประจักษ์ว่ารัฐบาลได้นำพาประเทศไทยก้าวข้ามผ่านวิกฤตและความท้าทายต่างๆ และเร่งรัดพัฒนาประเทศในทุกมิติ จนได้รับการยอมรับจากนานาชาติ เช่น 
ไทยเป็นอันดับ 1 อาเซียน 4 ปีซ้อน ในฐานะประเทศที่มีประสิทธิภาพเพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืน เป็นที่ 1 ของโลกด้านสถานบริการเพื่อสุขภาพ ติดอันดับกลุ่มประเทศ ‘รัฐบาลดิจิทัล’ ที่มีพัฒนาสูงมาก เป็นที่ 1 ใน 3 ประเทศที่มีความเร็วอินเทอร์เน็ตบรอดแบนด์สูงสุดในโลก ติดอันอันดับ 2 ครองตลาดอีคอนเมิร์ซสูงสุดในอาเซียน ติดอันดับ 5 ของเอเชีย ประเทศที่ดีที่สุดในโลก มีดัชนีการพัฒนามนุษย์สูงและมีอัตรารายได้ต่อหัวเพิ่มสูงขึ้นอย่างต่อเนื่อง เป็นอันดับ 2 ของอาเซียนและอันดับ 28 ของโลกในประเทศที่ดีที่สุดในปี 2022 เป็นประเทศที่ธนาคารโลก  IMF 

และ Fitch Ratings ประเมินว่าเศรษฐกิจมีแนวโน้มการขยายตัวที่ดี และมีการฟื้นตัวทางวิกฤตเร็วเกินคาดในปี 2565  รวมทั้งเป็น 1 ในไม่กี่ประเทศเอเชียที่ IMF มองว่าเศรษฐกิจ ปี 2566 จะยังขยายตัวได้ท่ามกลางภาวะชะลอตัวทั่วโลก ทั้งหมดนี้คือบทพิสูจน์ศักยภาพของประเทศไทย ด้วยความร่วมมือ ร่วมใจ ร่วมแรงของคนไทยและการขับเคลื่อนของรัฐบาลที่มุ่งเน้นประโยชน์สูงสุดของประเทศชาติและประชาชนเป็นสำคัญ


ที่มา : https://www.youtube.com/watch?v=7WUj8WJ5F48