Friday, 19 April 2024
ผลงานรัฐบาล

'ลุงตู่' ขอวัยรุ่นอย่าใจร้อน! ฟุ้งผลงาน 7 ปี ถือว่าทำเร็วแล้ว

‘บิ๊กตู่’ ขอวัยรุ่นอย่าใจร้อน ฟุ้งผลงาน 6-7 ปี ที่ทำไว้ถือว่าเร็วแล้ว ภายใต้เงื่อนไขกฎหมาย และกระแสต่อต้าน

30 พ.ค. 2565 – เมื่อเวลา 08.30 น. ที่ห้องสีม่วง ตึกไทยคู่ฟ้า ทำเนียบรัฐบาล นายชัยวุฒิ ธนาคมานุสรณ์รัฐมนตรีว่าการกระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม นำคณะนักกีฬาอีสปอร์ตทีมชาติไทยที่ได้รับเหรียญทองจากกีฬาซีเกมส์ ที่ประเทศเวียดนาม (Fifa online, ROV) และ นักกีฬาอีสปอร์ตที่ได้รับรางวัลแชมป์โลก (เกมส์ Free fire ทีม Attack All Around) เข้าพบ พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี และ รมว.กลาโหม

โดย พล.อ.ประยุทธ์ กล่าวว่า ขอแสดงความยินดีด้วยใจจริง ยินดีที่ประสบความสำเร็จ เป็นสิ่งที่นายกรัฐมนตรีคาดหวังมานานแล้ว และได้ให้แนวนโยบายในการสนับสนุนกีฬาประเภทดังกล่าว เพื่อให้พัฒนาบุคลากรของเราด้วย ซึ่งจะเป็นส่วนช่วยในการเพิ่มรายได้ทางเศรษฐกิจ ซึ่งนักกีฬาทุกคนถือเป็นทรัพยากรที่สำคัญในอนาคตของประเทศไทยซึ่งถือเป็นคนรุ่นใหม่ จะเท่าทันการเปลี่ยนแปลงของสถานการณ์โลก ในนามของนายกรัฐมนตรีและรัฐบาลยินดีกับทุกคนด้วยใจจริงและจะให้การสนับสนุนต่อไป เพื่อให้เกิดเป็นมูลค่าสร้างสรรค์ประเทศเราให้เจริญก้าวหน้าต่อไป เพราะเรามักมีรายได้ของประเทศจากสิ่งเดิมๆ ดังนั้นจำเป็นต้องหาแหล่งรายได้ใหม่ นอกจากเรื่องของกีฬา การท่องเที่ยวของเราก็พัฒนาให้มีคุณภาพ พัฒนาสาธารณณูปโภคพื้นฐาน แต่ที่สำคัญคือการพัฒนาทรัพยากร มนุษย์ ซึ่งบางครั้งจำเป็นเราต้องเรียนรู้จากคนอื่นด้วย
 

'เพื่อไทย' ซัด!! รัฐบาลใช้งบพีอาร์หลายพันล้าน แต่สู้ 'ผู้ว่าฯ กทม.' ที่ใช้แค่มือถือไลฟ์ลงเฟซบุ๊กไม่ได้

เมื่อวันที่ (5 ก.ค.) น.ส.อรุณี กาสยานนท์ รองเลขาธิการพรรคเพื่อไทย (พท.) กล่าวกรณีที่นายชัยวุฒิ ธนาคมานุสรณ์ รมว.ดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม ให้สัมภาษณ์ว่าพูดคุยกับนายชัชชาติ สิทธิพันธุ์ ผู้ว่าฯ กทม.กรณีการจัดการสายสื่อสาร พร้อมระบุว่ารัฐบาลทำงานมาตลอด แต่ยอมรับว่าประชาสัมพันธ์สู้นายชัชชาติไม่ได้ว่า สะท้อนแนวคิดการทำงานแบบน้ำเต็มแก้วของนายชัยวุฒิและรัฐบาลชุดนี้ ที่ชอบพูดเสมอว่ารัฐบาลพล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกฯ มีผลงานมากมาย แต่อ่อนด้อยการประชาสัมพันธ์ ประชาชนจึงไม่ทราบ ปัญหาการบริหารที่ผ่านมาของรัฐบาล หากมองแค่การอ่อนประชาสัมพันธ์คงเป็นการมองปัญหาที่ปลายเหตุ เพราะต้นเหตุแห่งปัญหาคือผลงานของรัฐบาลและของ รมว.ดิจิทัล หากมีผลงานที่ประชาชนจับต้องได้ ต่อให้ไม่ต้องทำการประชาสัมพันธ์ก็จะมีการพูดถึงปากต่อปากโดยประชาชน ซึ่งเป็นการประชาสัมพันธ์ที่ยั่งยืน 

แต่รัฐบาล พล.อ.ประยุทธ์กลับใช้เงินภาษีของประชาชนประชาสัมพันธ์นโยบายของภาครัฐต่อปีไม่ต่ำกว่า 2,400 ล้านบาท โดยในปีงบประมาณ 2565 เฉพาะกรมประชาสัมพันธ์ได้งบประมาณ 2,423 ล้านบาท ปีงบประมาณ 2566 ได้งบประมาณเพิ่มขึ้นอีก 70 ล้านบาทเป็น 2,493 ล้านบาท ยังไม่รวมการประชาสัมพันธ์ผลงานของรัฐบาลผ่านกระทรวงและหน่วยงานอื่น ๆ ซึ่งประชาชนเจ้าของภาษีมีสิทธิที่จะตั้งคำถาม ว่าเป็นการใช้งบประมาณแผ่นดินคุ้มค่าหรือไม่

'อัษฎางค์' ยก 15 ผลงานใหญ่ '8 ปี ประยุทธ์' ก้าวไปไกล จนก้าวไกล ก้าวตามไม่ทัน

นายอัษฎางค์ ยมนาค นักวิชาการอิสระ โพสต์เฟซบุ๊ก 'เอ็ดดี้ อัษฎางค์ ยมนาค' โดยระบุว่า...

8 ปีประยุทธ์ ก้าวไปไกลจนก้าวไกล ก้าวตามไม่ทัน 

อัษฎางค์ ขอยก 15 ผลงานเรื่องใหญ่ๆ ที่รัฐบาลประยุทธ์สร้างสรรค์เอาไว้ จนก้าวไปไกลสุดสายตา จนพรรคชื่อก้าวไกลแต่ย่ำอยู่กับที่ก้าวไม่ไปไหนไกลและคนใจบอด 3 นิ้วไม่สามารถจะเห็นได้

15 ผลงานรัฐบาลประยุทธ์
•1 First S-curve การส่งเสริม 12 อุตสาหกรรมเป้าหมาย การต่อยอด-ยกระดับ 5 อุตสาหกรรมเดิมที่ไทยมีศักยภาพ

•2 EEC โครงการเขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก เพื่อเป็นพื้นที่การลงทุนและแหล่งบ่มเพาะ 12 อุตสาหกรรมเป้าหมายของประเทศ 

•3 EECi พัฒนาเมืองแห่งนวัตกรรม หรือเขตนวัตกรรมระเบียงเศรษฐกิจพิเศษภาคตะวันออก ให้เป็น 'ซิลิคอนวัลเลย์' 'เมืองใหม่อัจฉริยะ' ด้วยนวัตกรรมของเมืองไทย

•4 EECd เขตส่งเสริมอุตสาหกรรมและนวัตกรรมดิจิทัล

•5 5G โครงสร้างพื้นฐานด้านดิจิทัล ครอบคลุมถึงการพัฒนาเทคโนโลยี 5G ทั่วประเทศ เพื่อเปลี่ยนผ่านสู่โลกดิจิทัล โดยในปี 2564 ความเร็วเฉลี่ยอินเตอร์เน็ตบ้านของไทย ที่ 308 ล้านบิทต่อวินาที (Mbps) ถือว่าแรงเป็นอันดับ 1 ของโลก 

•6 Digital Government การนำเทคโนโลยีดิจิทัลมาปรับใช้ในการบริหารราชการแผ่นดิน โดยมุ่งเป้าการเปลี่ยนแปลงสู่ 'รัฐบาลดิจิทัล' เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการให้บริการของภาครัฐ โครงการเน็ตหมู่บ้าน 74,987 หมู่บ้าน ทั้งประเทศ โครงการสายเคเบิ้ลใต้น้ำ การนำเทคโนโลยีดิจิทัลมาปรับใช้ในการบริหารราชการแผ่นดิน โดยมุ่งเป้าการเปลี่ยนแปลงสู่รัฐบาลดิจิทัล เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการให้บริการของภาครัฐ 

•7 Prompt Pay พัฒนาระบบ 'พร้อมเพย์' เพื่อสนับสนุนการชำระเงินและโอนเงินแบบทันที พัฒนาระบบพอร์ทัลกลางเพื่อประชาชน (Citizen Portal) เพื่ออำนวยความสะดวกแก่ประชาชน ในการติดต่อขอรับบริการผ่านช่องทางออนไลน์ 

จากอดีต 'ถนนลาดพร้าว' จราจรสุดโหด สู่ 'ถนนลาดพร้าว ยุคใหม่' ที่มาด้วย 'รถไฟฟ้าสายสีเหลือง'

ถามว่า ถนนเส้นไหนใน กทม. ที่ขึ้นชื่อว่า ติดโหดที่สุด แน่นอนว่า หนึ่งในเส้นที่หนักหนาสาหัสสากรรจ์ที่สุด คงหนีไม่พ้น ถนนลาดพร้าว

ถนนลาดพร้าว เริ่มต้นตั้งแต่บริเวณห้าแยกลาดพร้าว (หรือที่เรียกจนคุ้นเคยว่า ปากทางลาดพร้าว) โดยมีทิศทางมุ่งไปทางทิศตะวันออกเฉียงใต้ของ กทม. ผ่านจุดตัดกับถนนรัชดาภิเษก ข้ามคลองน้ำแก้ว คลองบางซื่อ ข้ามคลองลาดพร้าว เข้าสู่พื้นที่เขตวังทองหลาง ตัดกับถนนโชคชัย 4 และถนนประดิษฐ์มนูธรรม จากนั้นเป็นเส้นแบ่งระหว่างแขวงคลองเจ้าคุณสิงห์กับแขวงพลับพลา จากนั้นตัดกับถนนลาดพร้าว 101 เข้าสู่พื้นที่แขวงคลองจั่น เขตบางกะปิ ผ่านสามแยกบางกะปิ ซึ่งเป็นจุดตัดกับถนนศรีนครินทร์ ไปสิ้นสุดที่สี่แยกบางกะปิ ซึ่งเป็นจุดตัดกับถนนนวมินทร์และถนนพ่วงศิริ โดยมีถนนที่ตรงต่อเนื่องต่อไปคือ ถนนเสรีไทย

‘อนุชา’ โชว์ผลงาน ‘ลุงตู่’ ตลอด 4 ปีที่ผ่านมา พาไทยพัฒนารุดหน้า-ก้าวข้ามวิกฤต จนต่างชาติซูฮก

(18 มี.ค. 66) นายอนุชา บูรพชัยศรี ได้พูดถึงผลงานรัฐบาล พล.อ. ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม ตลอดระยะเวลา 4 ปีที่ผ่านมา (พ.ศ.2562-2566) ในรายการคุยนอกเวลากับอนุชา บูรพชัยศรี โดยระบุว่า

การระบาดของโควิด 19 ถือเป็นปัญหาและความท้าทายที่สำคัญของรัฐบาลไทยและรัฐบาลทั่วโลก นับตั้งแต่การแพร่ระบาดในปี 2563 รัฐบาลภายใต้แกนนำของ พล.อ. ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี ได้ผนึกกำลังทุกภาคส่วน เพื่อร่วมมือกันต่อสู้กับวิกฤตครั้งนี้ ตั้งแต่วินาทีแรก ด้วยการควบคุมการแพร่ระบาดให้อยู่ในวงจำกัดแบบ Single command การจัดหาวัคซีนและยารักษาโรค ตลอดจนการช่วยเหลือเยียวยา ฟื้นฟู ผู้ที่ได้รับผลกระทบทุกกลุ่ม ไม่ว่าจะเป็น ผู้ใช้แรงงาน เจ้าของกิจการ ผู้ประกอบการอาชีพอิสระ เกษตรกร และผู้มีรายได้น้อย 

การบริหารจัดการของรัฐบาลไทย ได้รับการยกย่องจากองค์การอนามัยโลกหรือ WHO ให้เป็นต้นแบบของการรับมือกับโควิด 19 ที่ดีที่สุดแห่งหนึ่งของโลก 

โดยประชาชนได้รับวัคซีนในระดับความครอบคลุมสูง ทำให้จำนวนผู้ติดเชื้อลดลงอย่างต่อเนื่อง การตั้งเป้าหมายเชิงรุกให้ประชาชนอยู่กับโควิดได้อย่างปลอดภัยและดำเนินชีวิตได้อย่างเป็นปกติ ประกาศยกเลิกโควิดออกจากการเป็นโรคติดต่ออันตราย ควบคุมไปกับการยกเลิกกฎหมายที่เข้มงวดและเปิดประเทศอย่างเต็มรูปแบบ เพื่อฟื้นฟูเศรษฐกิจ ไม่เพียงเท่านั้นประเทศไทยยังต้องเผชิญกับปัญหาเศรษฐกิจที่มาจากปัจจัยภายนอก 

โดยเฉพาะความขัดแย้งระหว่างรัซเซียและยูเครน ซึ่งส่งผลให้เกิดปัญหาราคาพลังงานเพิ่มสูงขึ้นและมีเงินเฟ้อ รัฐบาลได้เร่งแก้ปัญหาเฉพาะหน้าเพื่อประคับประคอง ให้ทุกกิจกรรมเดินหน้าต่อไปได้ ไม่ว่าจะเป็นเรื่องของการช่วยเหลือผู้ถือบัตรสวัสดิการแห่งรัฐ อุดหนุนเงินโครงการคนละครึ่ง ตึงราคาน้ำมันดีเซล ช่วยเหลือค่้าก๊าซหุงต้ม ค่าน้ำ ค่าไฟ เยียวยาผู้ใช้แรงงานนายจ้างและผู้ประกอบการ การประกันราคาสินค้าเกษตร ส่งเสริมธุรกิจ SME และ Start up ให้เข้าถึงการจัดซื้อจัดจ้างภาครัฐ รวมทั้งกระตุ้นการท่องเที่ยวผ่านโครงการ เราเที่ยวด้วยกัน

รัฐบาลได้สร้างความมั่นใจให้กับประชาชนในประเทศ และตอกย้ำความเชื่อมั่นจากนานาชาติ โดยการเป็นเจ้าภาพจัดการประชุมผู้นำกรอบความร่วมมือทางเศรษฐกิจในภูมิภาคเอเชียแปซิฟิก หรือ APEC 2022 ในช่วงปลายปี 2565 ได้สำเร็จ ราบรื่นและได้รับเสียงชื่นชมเป็นอย่างมาก โดยได้ต้อนรับผู้นำและผู้แทนจาก 21 เขตเศรษฐกิจ แขกพิเศษและสื่อต่างชาติกว่า 4,000 คน ผู้นำเขตเศรษฐกิจได้ร่วมลงนามรับรองเป้าหมายกรุงเทพฯ ว่าด้วยเศรษฐกิจชีวภาพ เศรษฐกิจหมุนเวียน และเศรษฐกิจสีเขียว หรือ BCG Economy เพื่อขับเคลื่อนนโยบายระดับภูมิภาคเอเชียแปซิฟิก ที่มุ่งเน้นการรักษาสิ่งแวดล้อม ควบคู่กับการเติบโตทางเศรษฐกิจ โดยมีการประเมินว่าการประชุมครั้งที่ผ่านมา สร้างเม็ดเงินเข้าสู่ระบบเศรษฐกิจมากถึง 20,000 ล้านบาท ช่วยตอกย้ำบทบาทและยกระดับความเชื่อมันทุกด้านของไทยในเวทีโลก 

และอีกผลงานที่สำคัญ คือ การฟื้นฟูความสัมพันธ์ระหว่าง ไทย-ซาอุดีอาระเบีย ในรอบ 30 ปี ส่งผลให้เกิดความร่วมมืออย่างก้าวกระโดดในทุกมิติ ทั้งด้านการเมือง การค้า การลงทุนแรงงาน การศึกษา การท่องเที่ยว และด้านอื่นๆอีกมากมาย

สิ่งสำคัญอย่างยิ่งในการพลิกโฉมประเทศไทย เพื่อก้าวสู่ศตวรรษที่ 21 และการเป็นประเทศชั้นนำของโลก ก็คือการปฏิรูปกฎหมาย เพื่ออำนวยความสะดวกให้กับประชาชนและทุกภาคส่วนของประเทศ ตลอดจนการลงทุนเพื่ออนาคตอย่างต่อเนื่อง ได้แก่ การพัฒนาโครงสร้างพื้นฐาน ด้านคมนาคมขนส่ง ทั้งทางบก ทางราง ทางน้ำ และทางอากาศ รวมถึงการลงทุนโครงสร้างพื้นฐานดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม การส่งเสริมเศรษฐกิจสร้างสรรค์ การขับเคลื่อนประเทศด้วยนวัตกรรม ผลักดันการพัฒนาเศรษฐกิจในพื้นที่ต่างๆ เช่น EEC การพัฒนาชุมชนสู่เมืองอัจฉริยะ การสร้างเกษตรอัจฉริยะ และการเป็นศูนย์กลางการผลิตยานยนต์ไฟฟ้าที่สำคัญแห่งหนึ่งของโลกในอนาคตอันใกล้ รวมทั้งการลดต้นทุน เพิ่มผลผลิตสินค้าเกษตร ส่งเสริมการขึ้นทะเบียน GI จัดสรรที่ดินทำกิน ส่งเสริมเกษตรแปลงใหญ่แก้ปัญหาความยากจน จัดสวัสดิการชุมชนแก้ไขปัญหาหนี้สิน ผลักดัน Soft Power สู่ระดับโลก และยกระดับอุตสาหกรรมไทยสู่ 12 อุตสาหกรรมแห่งอนาคต 

ด้านความมั่นคง รัฐบาลปกป้อง เชิดชู สถาบันพระมหากษัตริย์ สืบสานรักษาต่อยอดงานตามพระบรมราโชบาย สร้างเครือข่ายความมั่นคงชุมชน ปรับปรุงกฎหมายยาเสพติด เน้นยึดทรัพย์ และทำลายเครือข่าย ปราบปรามการค้ามนุษย์ สร้างตำบลมั่นคง มั่งคั่ง ยั่งยืน ในจังหวัดชายแดนใต้ บริหารจัดการน้ำทั้งระบบ แก้ปัญหาน้ำท่วมน้ำแล้ง 

ด้านสังคม อุดหนุนเงินเด็กแรกเกิด ปฏิรูปการเรียนรู้ทุกระดับเพื่อเตรียมพร้อมสู่ศตวรรษที่ 21 พัฒนาโรงเรียนคุณภาพและจัดทำโครงการ 1 ตำบล 1 มหาวิทยาลัย พัฒนาระบบสาธารณะสุขถูกมิติ สานต่อโครงการการลงทะเบียนเพื่อสวัสดิการแห่งรัฐ จ่ายเงินสวัสดิการสังคมผ่านระบบออนไลน์และปรับเบี้ยความพิการแบบถ้วนหน้า 

ด้านสิ่งแวดล้อม รัฐบาลประกาศเป้าหมายมุ่งสู่การเป็นกลางทางคาร์บอน ภายในปี 2050 และปล่อยก๊าซเรือนกระจกสุทธิเป็นศูนย์ภายในปี 2065 ส่งเสริมเศรษฐกิจภายใต้ BCG Model ฟื้นฟูทรัพยากรธรรมชาติสร้างอุตสาหกรรมพลังงานชีวภาพ ชีวมวล และไฟฟ้า

ด้านการบริหารจัดการภาครัฐ ‘สมัยใหม่’ ยกระดับการให้บริการภาครัฐแบบเบ็ดเสร็จ ทางอิเล็กทรอนิกส์จัดทำบัญชีข้อมูลภาครัฐ พัฒนา Platform Digital ของรัฐ ส่งเสริมระบบธรรมาภิบาลและอำนวยความสะดวก ในการประกอบธุรกิจ สำหรับในระยะยาวรัฐบาลเดินหน้าขับเคลื่อนประเทศตามยุทธศาสตร์ชาติและแผนปฏิรูปประเทศ เพื่อความมั่นคง มั่งคั่ง ยั่งยืน แล้ววางรากฐานการพัฒนาประเทศเพื่ออนาคต ตามแนวทาง 3 แกน คือการผลักดันโครงสร้างพื้นฐานที่ใหญ่ที่สุดและบูรณาการมากที่สุดในประวัติศาสตร์ไทย ส่งเสริมภาคอุตสาหกรรมทั้งหมดให้ต่อเนื่องเชื่อมโยงกัน และการใช้ประโยชน์จากภาคการธนาคาร เพื่อกระตุ้นความมั่งคั่ง รุ่งเรือง 

6 ภาพจำ ‘ผลงานรัฐบาล’ ที่อยู่ในความทรงจำของประชาชน

เริ่มจากภาพการต่อสู้กับวิกฤติโควิด-19 ซึ่งใช้เวลากว่า 3 ปี นับตั้งแต่ปี 2563 มาจนถึงปี 2566 ระหว่างทางต้องแก้ไขปัญหาเฉพาะหน้ามากมาย เพราะอย่างที่ทราบกันดีว่า โรคระบาดนี้เกิดขึ้นครั้งแรกของโลก ไม่มีใครรู้ดีกว่าใคร และที่สำคัญ ไม่มีใครที่มีวัคซีน แต่ผลสุดท้าย รัฐบาลก็สามารถฝ่าทุกกระแสดรามา ทำให้ประชาชนคนไทย ก้าวข้ามจากโควิด-19 และได้ฉีดวัคซีนกันถ้วนหน้า

เชื่อมโยงจากเรื่องโควิด-19 มาถึงการได้เปิดประเทศ ต้อนรับนักท่องเที่ยว ซึ่งไม่ใช่เรื่องง่าย และหลาย ๆ ประเทศที่มีวิทยาการก้าวล้ำกว่าประเทศไทย ยังเปิดบ้านเปิดเมือง ‘ช้ากว่า’ เราอยู่ไม่น้อย ถึงวันนี้ นักท่องเที่ยวเดินแบกเป้กันเต็มเมือง ส่วนหนึ่งเพราะการวางมาตรการการดูแลป้องกันที่เข้มงวด จึงสามารถเปิดประตูประเทศได้อย่างรวดเร็ว เป็นที่น่าประทับใจ

พูดถึงความสัมพันธ์ต่างประเทศ ‘รัฐบาล’ ถือว่ามีภาพจำที่ดีไม่น้อย โดยเฉพาะกับงานใหญ่อย่าง ‘การประชุมเอเปค’ เมื่อปลายปี 2565 ซึ่งการจัดงานผ่านพ้นไปด้วยดี และที่ดีมากกว่านั้น คือภาพความสัมพันธ์ของลุงตู่กับผู้นำหลายต่อหลายชาติ แม้จะเป็นเพียงภาพถ่ายไม่กี่ช็อต ที่ถูกนำเสนอตามหน้าสื่อ แต่สำหรับในเวทีโลกแล้ว นี่คือ ‘พลัง’ ของความเป็นประเทศไทย ที่จะถูกฉายและขับเคลื่อนต่อไปในเวทีระดับนานาชาติ

‘รมต.พวงเพ็ชร’ เผย ‘นายกฯ’ กำชับ ใช้สื่อรัฐเผยผลงานรัฐบาลให้มากที่สุด

(8 พ.ย.66) ที่ทำเนียบรัฐบาล นางพวงเพ็ชร ชุนละเอียด รัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรี เปิดเผยภายหลังเข้าพบนายกรัฐมนตรีที่ตึกไทยคู่ฟ้าว่า ตนได้เข้าพบนายกฯ คนละวงประชุมกับรัฐมนตรีท่านอื่น โดยนายกฯ เรียกตนไปหารือเพื่อเตรียมความพร้อมเกี่ยวกับการจัดงานที่จะมีขึ้นในวันที่ 9 พ.ย. คืองานแถลงนโยบายครบรอบ 2 เดือนของรัฐบาล และในวันที่ 10 พ.ย. จะมี 2 งานคือแถลงเรื่องนโยบายเงินดิจิทัล 1 หมื่นบาท และงาน Thailand Winter Festival ซึ่งตนต้องมีหน้าที่ดูแลการถ่ายทอดสด ในฐานะกำกับดูแลกรมประชาสัมพันธ์ โดยนายกฯ กำชับว่าอะไรที่เป็นผลงานของรัฐบาลให้เผยแพร่ให้ประชาชนรับทราบให้มากที่สุดและถึงกลุ่มเป้าหมายมากที่สุด

‘ภูมิธรรม’ เบรกเสียงวิจารณ์ ผลงานรัฐบาล 60 วันไม่คืบ ขอฝ่ายค้านใจเย็นๆ มั่นใจ ผลงานชัดเจนใน 100 วัน ลั่น!! มีเวลา 4 ปี ให้ ปชช.ตัดสินว่าผ่านไม่ผ่าน

(10 พ.ย. 66) ที่ทำเนียบรัฐบาล นายภูมิธรรม เวชยชัย รองนายกรัฐมนตรี และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์ ให้สัมภาษณ์ถึงเสียงวิจารณ์จากฝ่ายค้านว่าการแถลงผลงาน 60 วัน ของรัฐบาล ไม่มีอะไรใหม่ ว่า ไม่เป็นไร เป็นธรรมดา และพยายามจะบอกกับฝ่ายค้านว่ารัฐบาลทำงานสร้างสรรค์ อย่าคิดว่าเป็นรัฐบาลกับฝ่ายค้าน อยากให้มองว่าอะไรที่รัฐบาลทำ และเห็นว่าจะมีผลดีเกิดขึ้นในอนาคต อย่าซีเรียส อย่ามองทุกอย่างเป็นการเมืองหมด แต่เมื่อมีความเห็นก็สะท้อนได้เพราะรัฐบาลก็จะได้เป็นกระจกสะท้อนตัวเองด้วย ว่าทำอะไรไปแล้วเข้ายังไม่เข้าใจ

หน้าที่รัฐบาล คือ ทำให้เกิดความเข้าใจ และขณะนี้ทุกอย่างได้เริ่มต้นหมดแล้ว และที่วางไว้จริงๆ คือช่วง 100 วันแรก ที่จะปรากฏผลงาน แต่นายกรัฐมนตรี ต้องการชี้แจง 30 วัน 60 วัน เพื่อจะได้เห็นว่ามีความคืบหน้าในการทำงานอะไรบ้าง เชื่อว่าช่วง 90 วัน และ 100 วัน จะเป็นรูปธรรมชัดเจนขึ้น เช่น กระทรวงพาณิชย์ ได้ทำอะไรหลายอย่างแต่ยังไม่ได้เอามาพูดออกสื่อ เช่น แก้ปัญหาสินค้าราคาแพง การบุกตลาดเชิงรุกไปมณฑลต่างๆ และคิกออฟเรื่องการส่งออก

“นายกฯ ต้องการจะบอกว่ามีอะไรคืบ แต่ต้องใช้เวลา 90 วัน 100 วัน ถึงจะเห็น อย่าเพิ่งวิจารณ์ วันนี้รัฐบาลทำงานหนักมากอยู่แล้ว นายกฯ บุกทุกด้าน และวันที่ 21 พ.ย.นี้ จะเป็นการรวมทีมระหว่างบีโอไอ เอกอัครราชทูต และทูตพาณิชย์ทั่วโลก สภาอุตสาหกรรมสภาหอการค้าสภาการท่องเที่ยว จะประชุมที่กรุงเทพฯ กำหนดรูปแบบการทำงานร่วมกัน เพื่อรุกตลาดต่างประเทศ การทำงานได้วางรูปแบบไว้และเคลียร์เรื่องต่างๆ ผลจึงยังไม่เกิด ขอให้อดใจรอ 100 วัน จะแถลงว่ามีอะไรบ้างที่เกิดเป็นรูปธรรม เรื่องไหนที่เริ่มต้นแล้วและจะดำเนินการต่อไปอย่างไร เรื่องใดที่ทำสำเร็จในขั้นต้นแล้ว ใจเย็นๆ รอจะเห็นภาพชัดเจนขึ้น ขอย้ำว่าทุกอย่างเริ่มต้นแล้ว ขอให้รอดูวัดกัน รัฐบาลมีโอกาส 4 ปี ค่อยๆ ดูไป ถ้า 4 ปี คิดว่าไม่สามารถทำอะไรได้เลย มาเสวยอำนาจเสวยสุขอย่างเดียว งวดหน้าก็พร้อมให้ประชาชนพิจารณา แต่ผมเชื่อว่าเราตั้งแต่เวลาหลายวันทุกอย่างจะค่อยๆ ปรากฏให้เห็นผล”

นายภูมิธรรม กล่าวว่า ยังมีเรื่องที่นายกฯ สั่งการให้ผู้ว่าฯ ผู้บังคับการตำรวจภูธรจังหวัด ฝ่ายที่เกี่ยวข้อง ร่วมมือกันเคลียร์เรื่องปัญหาหนี้นอกระบบ ขณะที่ระดับอำเภอ ให้นายอำเภอและผู้กำกับการตำรวจ ร่วมมือจัดการปัญหาโดยเชิญทุกฝ่าย ทั้งคนที่ให้เงินกู้กับผู้กู้มาหารือ สมมติกู้ 1 หมื่นบาท ผ่อนไป 3-4 หมื่นบาทก็น่าจะพอแล้ว เพราะที่ทำมาก็ผิดกฎหมาย เก็บดอกเบี้ยไม่ใช่ดอกเบี้ยตามกฎหมายอยากให้ยุติ เรื่องนี้ทำแล้วแต่ยังไม่เกิดผล และนายกฯ เตรียมที่จะแถลงเรื่องแก้หนี้นอกระบบ

นอกจากนั้น ที่เราทำยังมีเรื่องของยาเสพติดที่จะดำเนินการ โดยนายกฯ สั่งการเสมอว่ามีการวัดเคพีไอผู้ว่าฯ ต้องบอกได้ว่าดีขึ้นอย่างไร ต้องยอมรับว่าเป็นเรื่องยากที่จะเข้ามาทำงานแก้ฐานรากให้ดี แต่พอจะแก้บางทีมีอุปสรรคมาก เพราะสังคมไทยมีความหลากหลาย ดังนั้น หน้าที่รัฐบาลคืออดทน ชี้แจง ทำความเข้าใจ และปรับปรุงให้สอดรับกับสิ่งที่คิดให้เกิดประโยชน์กับประชาชนมากที่สุด

ผู้สื่อข่าวถามว่านายกฯ ควรจะแบ่งหรือกระจายงานให้คนอื่นเป็นเจ้าภาพหลักดูแล เช่น เรื่องกฎหมาย เศรษฐกิจ ความมั่นคง โดยไม่ต้องดูแลหรือพูดเองทุกเรื่อง หรือไม่ นายภูมิธรรม กล่าวว่า ไม่ใช่นายกฯ แย่งงานทำคนเดียวทำคนเดียวทุกเรื่อง เวลานี้งานที่นายกฯ แบ่งให้รองนายกฯ และรัฐมนตรี ก็เต็มไปหมดทุกเรื่อง ผู้ที่รับมอบก็หนักพอสมควร ทุกอย่างอยู่ในขึ้นเตรียมการ

ทั้งนี้ เราเข้ามาในช่วงที่ประเทศ เผชิญกับวิกฤตการณ์เศรษฐกิจภายในที่สะสม ทั้งเรื่องเศรษฐกิจและการเมือง และวิกฤตการณ์ของโลก เช่น วิกฤตการณ์การเงินที่เฟดขึ้นดอกเบี้ย เราจึงต้องเร่งทำงาน และเป็นข้อดีที่นายกฯ ลงรายละเอียดทั้งหมดและสั่งทุกเรื่อง แต่ไม่ใช่แย่งงานไปทำ

เวลานี้ ครม.มี 35 คน อยากจะมี 50 คน 100 คนด้วยซ้ำ เพราะงานหนัก แต่ไม่หวั่น พร้อมสู้ โดยมีนายกฯ เป็นธงนำให้ลงพื้นที่ต่างๆ การที่นายกฯ ออกต่างจังหวัดตลอด ได้เรียนรู้และเข้าใจ และทราบปัญหาแท้จริง เพราะเจอทั้งเกษตรกร และกลุ่มต่างๆ และกำชับว่าไม่ต้องตามไป ใครมีงานที่เกี่ยวข้องก็ไป ใครไม่เกี่ยวก็ไม่ต้องไป ให้ทำงานของตัวเอง

เมื่อถามว่ามั่นใจว่า รัฐบาลจะสอบผ่านหรือไม่ นายภูมิธรรม กล่าวว่า มั่นใจแน่นอน เราตั้งใจ 100% เอาความรู้และประสบการณ์ เรามีความสามารถ ส่วนจะมั่นใจหรือไม่มั่นใจประชาชนจะเป็นคนตอบ


TRENDING
© Copyright 2021, All rights reserved. THE STATES TIMES
Take Me Top