Friday, 29 March 2024
อนุชาบูรพชัยศรี

ห่วงประชาชน!! ‘บิ๊กตู่’ สั่งเข้มทุกฝ่าย ยกระดับแก้ปัญหา PM 2.5 บังคับใช้ กม. ‘ติดตาม-ประเมิน-ปรับแผน’ ลดผลกระทบทุกด้าน

(13 มี.ค. 66) นายอนุชา บูรพชัยศรี รองเลขาธิการนายกรัฐมนตรีฝ่ายการเมือง ปฏิบัติหน้าที่โฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี กล่าวว่า พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม ติดตามสถานการณ์ปัญหาฝุ่นละอองขนาดเล็ก PM 2.5 ของประเทศไทย ห่วงใยประชาชนที่อาศัยและทำกิจกรรมในพื้นที่ที่สถานการณ์ฝุ่น PM 2.5 รุนแรง กำชับทุกหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ทั้งกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม กระทรวงมหาดไทย กระทรวงอุตสาหกรรม กระทรวงคมนาคม กระทรวงสาธารณสุข สำนักงานตำรวจแห่งชาติและกรุงเทพมหานคร ตลอดจนกระทรวงต่างประเทศและหน่วยงานอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้องทุกระดับ บูรณาการการทำงานร่วมกันอย่างใกล้ชิดในการเร่งแก้ไขปัญหา PM 2.5 ตามแนวทางปฏิบัติการขับเคลื่อนวาระแห่งชาติ “การแก้ไขปัญหามลพิษด้านฝุ่นละออง” ภายใต้ 3 มาตรการสำคัญ คือการเพิ่มประสิทธิภาพในการบริหารจัดการเชิงพื้นที่ การป้องกันและลดการเกิดมลพิษที่ต้นทาง (แหล่งกำเนิด) และการเพิ่มประสิทธิภาพการบริหารจัดการมลพิษ รวมทั้งแผนปฏิบัติการป้องกันและแก้ไขปัญหาฝุ่นละออง PM2.5 ภายใต้แผนเฉพาะกิจเพื่อการแก้ไขปัญหามลพิษด้านฝุ่นละออง ปี 2566  

นายอนุชา กล่าวว่า นายกรัฐมนตรีกำชับให้ยกระดับเชิงปฏิบัติการให้เข้มข้นขึ้น ทั้งการปรับแผนเพิ่มตรวจสกัดรถควันดำ เข้มงวดเรื่องการก่อสร้าง ตรวจโรงงาน การบังคับใช้กฎหมายที่เกี่ยวข้องอย่างเข้มข้นจริงจัง ควบคู่ส่งเสริมการใช้รถไฟฟ้า รถยนต์ไฟฟ้า รวมถึงงดการเผาในที่โล่งทุกชนิด (เช่น พืชทางการเกษตร วัชพืชต่าง ๆ ขยะ และการเผาป่า) ซึ่งเป็นแหล่งกำเนิดมลพิษทางอากาศ หากเผา มีความผิดตามกฎหมาย ทั้งนี้ ศูนย์แก้ไขปัญหามลพิษทางอากาศ ได้มีการประกาศห้ามเผา ปี 2566 ในพื้นที่ 17 จังหวัดภาคเหนือแล้วจนถึง 30 เม.ย. 66 ยกเว้นจังหวัดพิษณุโลกและจังหวัดเพชรบูรณ์ที่ประกาศห้ามเผาที่ในโล่งถึง 16 เม.ย. 66 อีกทั้งนายกรัฐมนตรีเน้นย้ำถึงการดำเนินการตามแผนเฉพาะกิจเพื่อการแก้ไขปัญหามลพิษด้านฝุ่นละอองปี 2566 ที่ผ่านความเห็นชอบจากคณะรัฐมนตรีแล้ว โดยผู้ว่าราชการจังหวัดเป็น Single Command ในการยกระดับการลดการเผาอย่างเด็ดขาดในช่วงวิกฤต รวมทั้งการบริหารจัดการเชื้อเพลิงผ่านโปรแกรม Burn Check เพื่อให้สามารถควบคุมจุดความร้อนได้ในระดับที่เหมาะสม ไม่ทำให้ค่า PM 2.5 เกินค่ามาตรฐานจนสูงเกินไป เพราะเหตุการณ์ไฟป่าและจุดความร้อน เป็นอีกปัจจัยและสาเหตุสำคัญของปัญหา PM 2.5 ที่เกิดขึ้นขณะนี้ ทั้งนี้ ขอให้ทุกหน่วยงานที่เกี่ยวข้องมีการติดตามเฝ้าระวังและประเมินสถานการณ์อย่างใกล้ชิด เพื่อปรับแผนและการปฏิบัติให้สอดคล้องทันกับสถานการณ์ เพื่อลดผลกระทบด้านสุขภาพ เศรษฐกิจ สังคม สิ่งแวดล้อม และการดำเนินชีวิตประจำวันของประชาชนให้มากที่สุด 

นายอนุชา กล่าวว่า จากรายงาน GISTDA เผยข้อมูลจากดาวเทียมซูโอมิ เอ็นพีพี (Suomi NPP) (วันที่ 11 มีนาคม 2566) ระบุไทยพบจุดความร้อนจำนวน 1,061 จุด ซึ่งส่วนใหญ่พบในพื้นที่ป่าอนุรักษ์ 383 จุด  พื้นที่ป่าสงวนแห่งชาติ 278 จุด พื้นที่เกษตร 192 จุด พื้นที่เขต สปก. 123 จุด พื้นที่ชุมชนและอื่น ๆ 78 จุด และพื้นที่ริมทางหลวง 7 จุด โดยจังหวัดที่พบจุดความร้อนมากที่สุดคือแม่ฮ่องสอน 127 จุด ขณะที่ประเทศเพื่อนบ้าน ได้แก่ เมียนมา พบจุดความร้อนจำนวน 4,363 จุด สปป.ลาว 2,868 จุด กัมพูชา 1,182 จุด เวียดนาม 647 จุด และมาเลเซีย 32 จุด โดยสถานการณ์จุดความร้อนจากประเทศเพื่อนบ้านอาจส่งผลให้เกิด PM 2.5 ได้ในพื้นที่บริเวณชายแดนเนื่องจากได้รับอิทธิพจากกระแสลมที่จะพัดผ่านเข้ามา ซึ่งปัญหาไฟป่า หมอกควัน และ PM2.5 นอกจากส่งผลกระทบกับสุขภาพประชาชนแล้วยังส่งผลกระทบต่อระบบต่าง ๆ ด้วย ทั้งระบบเศรษฐกิจ และระบบสังคม เป็นต้น ดังนั้น การแก้ปัญหาไฟป่า หมอกควันและ PM 2.5 นอกจากการบูรณาการร่วมมือร่วมใจกันภายในประเทศแล้ว นายกรัฐมนตรียังให้ความสำคัญกับการแก้ปัญหาดังกล่าวอย่างยั่งยืนผ่านกลไกระหว่างประเทศเพื่อให้การป้องกัน และแก้ไขปัญหาหมอกควันข้ามแดนมีประสิทธิภาพสูงสุด 

นายอนุชา กล่าวว่า ล่าสุดเมื่อเดือนมกราคม 2566 ที่ผ่านมา กรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่า และพันธุ์พืช ขับเคลื่อนโครงการรณรงค์ประชาสัมพันธ์ฝึกซ้อมระดมพล ดับไฟป่าและจัดทำแนวกันไฟ 2 แผ่นดิน โดยส่งเสริมความร่วมมือในการแก้ไขปัญหาหมอกควันกับประเทศเพื่อนบ้าน (เมียนมา) ทั้งนี้ นายกรัฐมนตรีได้เน้นย้ำให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องทั้งส่วนกลางและระดับพื้นที่ โดยเฉพาะจังหวัดที่ติดกับพื้นที่บริเวณชายแดนประเทศเพื่อนบ้านให้ประสานความร่วมมือกับประเทศเพื่อนบ้านในการแก้ปัญหาไฟป่า หมอกควันและ PM 2.5 อย่างใกล้ชิดต่อเนื่อง เช่น ประสานขอความร่วมมือประเทศเพื่อนบ้านในการใช้รถไฟฟ้า รวมถึงการปรับใช้พลังงานหมุนเวียน หรือพลังงานสะอาดเพิ่มขึ้นและลดใช้พลังงานหรือเชื้อเพลิงจากฟอสซิล ซึ่งสอดคล้องกับทิศทางการพัฒนาด้านพลังงานของทั่วโลกในการที่จะร่วมมือกันลดโลกร้อน และลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจก เพื่อไปสู่การพัฒนาและการเจริญเติบโตอย่างยั่งยืนร่วมกัน

‘อนุชา’ โชว์ผลงาน ‘ลุงตู่’ ตลอด 4 ปีที่ผ่านมา พาไทยพัฒนารุดหน้า-ก้าวข้ามวิกฤต จนต่างชาติซูฮก

(18 มี.ค. 66) นายอนุชา บูรพชัยศรี ได้พูดถึงผลงานรัฐบาล พล.อ. ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม ตลอดระยะเวลา 4 ปีที่ผ่านมา (พ.ศ.2562-2566) ในรายการคุยนอกเวลากับอนุชา บูรพชัยศรี โดยระบุว่า

การระบาดของโควิด 19 ถือเป็นปัญหาและความท้าทายที่สำคัญของรัฐบาลไทยและรัฐบาลทั่วโลก นับตั้งแต่การแพร่ระบาดในปี 2563 รัฐบาลภายใต้แกนนำของ พล.อ. ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี ได้ผนึกกำลังทุกภาคส่วน เพื่อร่วมมือกันต่อสู้กับวิกฤตครั้งนี้ ตั้งแต่วินาทีแรก ด้วยการควบคุมการแพร่ระบาดให้อยู่ในวงจำกัดแบบ Single command การจัดหาวัคซีนและยารักษาโรค ตลอดจนการช่วยเหลือเยียวยา ฟื้นฟู ผู้ที่ได้รับผลกระทบทุกกลุ่ม ไม่ว่าจะเป็น ผู้ใช้แรงงาน เจ้าของกิจการ ผู้ประกอบการอาชีพอิสระ เกษตรกร และผู้มีรายได้น้อย 

การบริหารจัดการของรัฐบาลไทย ได้รับการยกย่องจากองค์การอนามัยโลกหรือ WHO ให้เป็นต้นแบบของการรับมือกับโควิด 19 ที่ดีที่สุดแห่งหนึ่งของโลก 

โดยประชาชนได้รับวัคซีนในระดับความครอบคลุมสูง ทำให้จำนวนผู้ติดเชื้อลดลงอย่างต่อเนื่อง การตั้งเป้าหมายเชิงรุกให้ประชาชนอยู่กับโควิดได้อย่างปลอดภัยและดำเนินชีวิตได้อย่างเป็นปกติ ประกาศยกเลิกโควิดออกจากการเป็นโรคติดต่ออันตราย ควบคุมไปกับการยกเลิกกฎหมายที่เข้มงวดและเปิดประเทศอย่างเต็มรูปแบบ เพื่อฟื้นฟูเศรษฐกิจ ไม่เพียงเท่านั้นประเทศไทยยังต้องเผชิญกับปัญหาเศรษฐกิจที่มาจากปัจจัยภายนอก 

โดยเฉพาะความขัดแย้งระหว่างรัซเซียและยูเครน ซึ่งส่งผลให้เกิดปัญหาราคาพลังงานเพิ่มสูงขึ้นและมีเงินเฟ้อ รัฐบาลได้เร่งแก้ปัญหาเฉพาะหน้าเพื่อประคับประคอง ให้ทุกกิจกรรมเดินหน้าต่อไปได้ ไม่ว่าจะเป็นเรื่องของการช่วยเหลือผู้ถือบัตรสวัสดิการแห่งรัฐ อุดหนุนเงินโครงการคนละครึ่ง ตึงราคาน้ำมันดีเซล ช่วยเหลือค่้าก๊าซหุงต้ม ค่าน้ำ ค่าไฟ เยียวยาผู้ใช้แรงงานนายจ้างและผู้ประกอบการ การประกันราคาสินค้าเกษตร ส่งเสริมธุรกิจ SME และ Start up ให้เข้าถึงการจัดซื้อจัดจ้างภาครัฐ รวมทั้งกระตุ้นการท่องเที่ยวผ่านโครงการ เราเที่ยวด้วยกัน

รัฐบาลได้สร้างความมั่นใจให้กับประชาชนในประเทศ และตอกย้ำความเชื่อมั่นจากนานาชาติ โดยการเป็นเจ้าภาพจัดการประชุมผู้นำกรอบความร่วมมือทางเศรษฐกิจในภูมิภาคเอเชียแปซิฟิก หรือ APEC 2022 ในช่วงปลายปี 2565 ได้สำเร็จ ราบรื่นและได้รับเสียงชื่นชมเป็นอย่างมาก โดยได้ต้อนรับผู้นำและผู้แทนจาก 21 เขตเศรษฐกิจ แขกพิเศษและสื่อต่างชาติกว่า 4,000 คน ผู้นำเขตเศรษฐกิจได้ร่วมลงนามรับรองเป้าหมายกรุงเทพฯ ว่าด้วยเศรษฐกิจชีวภาพ เศรษฐกิจหมุนเวียน และเศรษฐกิจสีเขียว หรือ BCG Economy เพื่อขับเคลื่อนนโยบายระดับภูมิภาคเอเชียแปซิฟิก ที่มุ่งเน้นการรักษาสิ่งแวดล้อม ควบคู่กับการเติบโตทางเศรษฐกิจ โดยมีการประเมินว่าการประชุมครั้งที่ผ่านมา สร้างเม็ดเงินเข้าสู่ระบบเศรษฐกิจมากถึง 20,000 ล้านบาท ช่วยตอกย้ำบทบาทและยกระดับความเชื่อมันทุกด้านของไทยในเวทีโลก 

และอีกผลงานที่สำคัญ คือ การฟื้นฟูความสัมพันธ์ระหว่าง ไทย-ซาอุดีอาระเบีย ในรอบ 30 ปี ส่งผลให้เกิดความร่วมมืออย่างก้าวกระโดดในทุกมิติ ทั้งด้านการเมือง การค้า การลงทุนแรงงาน การศึกษา การท่องเที่ยว และด้านอื่นๆอีกมากมาย

สิ่งสำคัญอย่างยิ่งในการพลิกโฉมประเทศไทย เพื่อก้าวสู่ศตวรรษที่ 21 และการเป็นประเทศชั้นนำของโลก ก็คือการปฏิรูปกฎหมาย เพื่ออำนวยความสะดวกให้กับประชาชนและทุกภาคส่วนของประเทศ ตลอดจนการลงทุนเพื่ออนาคตอย่างต่อเนื่อง ได้แก่ การพัฒนาโครงสร้างพื้นฐาน ด้านคมนาคมขนส่ง ทั้งทางบก ทางราง ทางน้ำ และทางอากาศ รวมถึงการลงทุนโครงสร้างพื้นฐานดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม การส่งเสริมเศรษฐกิจสร้างสรรค์ การขับเคลื่อนประเทศด้วยนวัตกรรม ผลักดันการพัฒนาเศรษฐกิจในพื้นที่ต่างๆ เช่น EEC การพัฒนาชุมชนสู่เมืองอัจฉริยะ การสร้างเกษตรอัจฉริยะ และการเป็นศูนย์กลางการผลิตยานยนต์ไฟฟ้าที่สำคัญแห่งหนึ่งของโลกในอนาคตอันใกล้ รวมทั้งการลดต้นทุน เพิ่มผลผลิตสินค้าเกษตร ส่งเสริมการขึ้นทะเบียน GI จัดสรรที่ดินทำกิน ส่งเสริมเกษตรแปลงใหญ่แก้ปัญหาความยากจน จัดสวัสดิการชุมชนแก้ไขปัญหาหนี้สิน ผลักดัน Soft Power สู่ระดับโลก และยกระดับอุตสาหกรรมไทยสู่ 12 อุตสาหกรรมแห่งอนาคต 

ด้านความมั่นคง รัฐบาลปกป้อง เชิดชู สถาบันพระมหากษัตริย์ สืบสานรักษาต่อยอดงานตามพระบรมราโชบาย สร้างเครือข่ายความมั่นคงชุมชน ปรับปรุงกฎหมายยาเสพติด เน้นยึดทรัพย์ และทำลายเครือข่าย ปราบปรามการค้ามนุษย์ สร้างตำบลมั่นคง มั่งคั่ง ยั่งยืน ในจังหวัดชายแดนใต้ บริหารจัดการน้ำทั้งระบบ แก้ปัญหาน้ำท่วมน้ำแล้ง 

ด้านสังคม อุดหนุนเงินเด็กแรกเกิด ปฏิรูปการเรียนรู้ทุกระดับเพื่อเตรียมพร้อมสู่ศตวรรษที่ 21 พัฒนาโรงเรียนคุณภาพและจัดทำโครงการ 1 ตำบล 1 มหาวิทยาลัย พัฒนาระบบสาธารณะสุขถูกมิติ สานต่อโครงการการลงทะเบียนเพื่อสวัสดิการแห่งรัฐ จ่ายเงินสวัสดิการสังคมผ่านระบบออนไลน์และปรับเบี้ยความพิการแบบถ้วนหน้า 

ด้านสิ่งแวดล้อม รัฐบาลประกาศเป้าหมายมุ่งสู่การเป็นกลางทางคาร์บอน ภายในปี 2050 และปล่อยก๊าซเรือนกระจกสุทธิเป็นศูนย์ภายในปี 2065 ส่งเสริมเศรษฐกิจภายใต้ BCG Model ฟื้นฟูทรัพยากรธรรมชาติสร้างอุตสาหกรรมพลังงานชีวภาพ ชีวมวล และไฟฟ้า

ด้านการบริหารจัดการภาครัฐ ‘สมัยใหม่’ ยกระดับการให้บริการภาครัฐแบบเบ็ดเสร็จ ทางอิเล็กทรอนิกส์จัดทำบัญชีข้อมูลภาครัฐ พัฒนา Platform Digital ของรัฐ ส่งเสริมระบบธรรมาภิบาลและอำนวยความสะดวก ในการประกอบธุรกิจ สำหรับในระยะยาวรัฐบาลเดินหน้าขับเคลื่อนประเทศตามยุทธศาสตร์ชาติและแผนปฏิรูปประเทศ เพื่อความมั่นคง มั่งคั่ง ยั่งยืน แล้ววางรากฐานการพัฒนาประเทศเพื่ออนาคต ตามแนวทาง 3 แกน คือการผลักดันโครงสร้างพื้นฐานที่ใหญ่ที่สุดและบูรณาการมากที่สุดในประวัติศาสตร์ไทย ส่งเสริมภาคอุตสาหกรรมทั้งหมดให้ต่อเนื่องเชื่อมโยงกัน และการใช้ประโยชน์จากภาคการธนาคาร เพื่อกระตุ้นความมั่งคั่ง รุ่งเรือง 

‘อนุชา’ เผย ยอดจดทะเบียนรถยนต์ไฟฟ้าในไทยเติบโต สะท้อนผลสำเร็จมาตรการของ รบ. ผลักดันไทยเข้าสู่สังคมคาร์บอนต่ำ

(23 มี.ค. 66) นายอนุชา บูรพชัยศรี รองเลขาธิการนายกรัฐมนตรีฝ่ายการเมือง ปฏิบัติหน้าที่โฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี เปิดเผยว่า พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี และรมว.กลาโหม รับทราบและยินดีที่มียอดจดทะเบียนรถยนต์ไฟฟ้าในประเทศไทย เดือน ม.ค.ที่ผ่านมา ถึง 317,502 คัน เพิ่มขึ้นร้อยละ 39.47 จากช่วงเดียวกันของปี 2565 และมีแนวโน้มเพิ่มขึ้นต่อเนื่อง ถือเป็นพัฒนาการที่สำคัญของไทยในการเข้าสู่สังคมคาร์บอนต่ำในอนาคต และเป็นผลสำเร็จจากการดำเนินมาตรการเชิงรุกของรัฐบาลที่สนับสนุนให้เกิดการผลิตและใช้ยานยนต์ไฟฟ้าภายในประเทศมากขึ้น โดยยอดจดทะเบียนรถยนต์ไฟฟ้า 3 ประเภท ในกลุ่มรถยนต์นั่ง ล่าสุดในเดือน ก.พ. มียอดจดทะเบียนสะสม 331,885 คัน ยอดจดทะเบียนสูงสุดคือรถยนต์ไฟฟ้าไฮบริด (Hybrid Electric Vehicle: HEV) รองลงมาได้แก่ รถยนต์ไฟฟ้าไฮบริดปลั๊กอิน (Plug-in Hybrid Electric Vehicle: PHEV) และรถยนต์ไฟฟ้าแบตเตอรี่ (Battery Electric Vehicle: BEV) 

‘อนุชา’ เผย ความคืบหน้าสิทธิเบิกจ่ายตรงผ่านแอปฯ ‘เป๋าตัง’ สำหรับเข้ารักษาพยาบาล อำนวยความสะดวก-ลดการรอคิวจ่ายเงิน

(27 มี.ค. 66) นายอนุชา บูรพชัยศรี รองเลขาธิการนายกรัฐมนตรีฝ่ายการเมือง ปฏิบัติหน้าที่โฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี กล่าวถึงความคืบหน้าการใช้สิทธิเบิกจ่ายตรงผ่านแอปพลิเคชันเป๋าตัง สำหรับการเข้ารับการรักษาพยาบาลที่สถานพยาบาล (Onsite) ว่า สถานพยาบาลจำนวนหลายแห่ง ให้ความสนใจและประสานงานจากขอเข้าร่วมโครงการ โดยกรมบัญชีกลาง คาดว่า ภายในไตรมาส 2 ของปีงบประมาณ พ.ศ. 2566 จะมีสถานพยาบาลที่เข้าร่วมโครงการและพร้อมให้บริการเพิ่มอีกจำนวน 2 แห่ง

ตั้งแต่วันที่ 7 ธ.ค. 2565 กรมบัญชีกลางได้อำนวยความสะดวกและเพิ่มการเข้าถึงการใช้สิทธิเบิกจ่ายตรงให้แก่ผู้มีสิทธิและบุคคลในครอบครัว ผ่านการเพิ่มช่องทางการใช้สิทธิเบิกจ่ายตรงเงินสวัสดิการเกี่ยวกับการรักษาพยาบาลประเภทผู้ป่วยนอก ผ่านกระเป๋าสุขภาพบนแอปพลิเคชันเป๋าตัง สำหรับการเข้ารับการรักษาพยาบาลที่สถานพยาบาล ซึ่งได้นำร่องกับสถานพยาบาลของทางราชการแล้วจำนวน 7 แห่ง ได้แก่

‘อนุชา’ ลาออกจากตำแหน่งรองเลขาธิการนายกฯ พร้อมกราบลา ‘บิ๊กตู่’ ไปทำหน้าที่ ส.ส. ในสภาฯ

(10 ก.ค. 66) ที่ทำเนียบรัฐบาล นายอนุชา บูรพชัยศรี รองเลขาธิการนายกรัฐมนตรีฝ่ายการเมือง ปฏิบัติหน้าที่โฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี แถลงว่า ในช่วงเช้าวันเดียวกันนี้ (10 ก.ค.66) ตนได้ยื่นหนังสือลาออกจากตำแหน่งรองเลขาธิการนายกรัฐมนตรี และได้กราบลา พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี และรมว.กลาโหม เพื่อไปทำหน้าที่ ส.ส.ในสภา

ทั้งนี้ นายกฯ อวยพรให้มีกำลังกาย กำลังใจที่ดี เพื่อปฏิบัติหน้าที่ ส.ส.ได้อย่างเต็มความสามารถ เพื่อประโยชน์ของประเทศชาติบ้านเมืองและประชาชน ตนขอขอบคุณนายกฯ ที่กรุณาให้ความไว้วางใจตลอดเวลากว่า 3 ปีที่ผ่านมาให้ดำรงตำแหน่งโฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี 2 ครั้ง และมอบหมายให้ปฏิบัติหน้าที่รองเลขาธิการนายกรัฐมนตรีฝ่ายการเมือง กำกับดูแลงานสำคัญ ทั้งเรื่องต่างประเทศ เรื่องนโยบายและยุทธศาสตร์ การประสานงานการเมือง และภารกิจของนายกฯ ในด้านต่าง ๆ รวมถึงกำกับดูแลสำนักโฆษกฯ

“ขอบคุณนายกฯ ที่ไว้วางใจให้ดำเนินการในช่วงที่ผ่านมา และขอบคุณเพื่อนร่วมงานที่ทำงานมากว่า 3 ปีในสำนักนายกฯ สำนักเลขาธิการคณะรัฐมนตรี ที่ปฏิบัติภารกิจร่วมกันมา และขอบคุณสื่อมวลชน ที่กรุณานำเสนอข่าวเพื่อเป็นประโยชน์กับประชาชนตลอดเวลาที่ผ่านมา ส่วนภารกิจโฆษกฯ นายกฯ ได้มอบหมายให้รองโฆษกฯ ที่เหลืออยู่สามคนทำงานไปอย่างต่อเนื่อง” นายอนุชา กล่าว

นายอนุชา กล่าวอีกว่า ขณะนี้อยู่ในระหว่างรอเอกสารจากสภาฯที่จะส่งไปที่พรรครวมไทยสร้างชาติ (รทสช.) ในวันเดียวกันนี้ เพื่อเตรียมนำไปรายงานตัวต่อสภาฯในวันที่ 12 ก.ค.และจะได้ร่วมโหวตเลือกนายกรัฐมนตรีในวันที่ 13 ก.ค.นี้ผู้สื่อข่าวถามว่า ในการประชุมพรรค รทสช.ในวันที่ 11 ก.ค.นี้ จะมีทิศทางการโหวตเลือกนายกรัฐมนตรีอย่างไร นายอนุชา กล่าวว่า ยังไม่ทราบวาระการประชุม ที่ผ่านมาไปตนไปร่วมในฐานะผู้ติดตามของนายกฯ จึงไม่รู้ว่าจะคุยเรื่องใดบ้าง ต้องรอดูว่าในพรรคจะเสนอความเห็นอย่างไร จากนั้นโฆษกพรรคจะเป็นผู้แถลงรายละเอียดเพื่อให้ ส.ส.ทุกคนเข้าใจก่อนประชุมสภาฯ


TRENDING
© Copyright 2021, All rights reserved. THE STATES TIMES
Take Me Top